แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"
ชื่อกระทู้: ตอบคุณจิดาภา [สั่งพิมพ์]
โดย: มารน้อย เวลา: 2013-8-13 09:12 ชื่อกระทู้: ตอบคุณจิดาภา
ดิฉันอยากรบกวนถามคุณมารน้อยเกี่ยวกับการอุทิศบุญถวายสังฆทานหลังเที่ยงค่ะ ดิฉันจะถวายสังฆทานให้หมา แมว พ่อ พี่ หลาน ฯ เมื่อก่อนพอทำแล้ว(ซึ่งคิดว่าหลังเที่ยงตลอด) ก็เห็นทุกคนไปสวรรค์หมด บ้างก็ไปดาวดึงส์ บ้างก็ชั้นจาตุมหาราช และตอนนี้ก็เห็นพวกเขายังอยู่ มีวิมาร มีเสื้อผ้า การถวายสังฆทานหลังเที่ยงจะมีผลกับพวกเขาอย่างไรคะ เพราะถ้าไปถวายสังฆทานที่ซอยสายลม ก็หลังเที่ยงทุกที(ไม่แน่ใจว่าเคยมีก่อนเที่ยงไหม) รอจนฝึกมโนมยิทธิเสร็จจึงถวาย ถวายช่วงเช้าไม่ได้ค่ะอยู่ต่างจังหวัดไปไม่ทัน จะถามพวกเขาโดยตรงก็ทำไม่ได้ค่ะ เพราะมโนมยิทธิไม่แจ่มใส ไม่เคยได้ยินเสียงสักครั้งค่ะ แล้วถ้าไม่ควรอุทิศบุญถวายสังฆทานหลังเที่ยง ควรใช้เบิกบุญอุทิศให้ในภายหลังหรือเปล่าคะ
โดย: มารน้อย เวลา: 2013-8-13 09:59
จากคำถาม ของคุณจิดาภา ผมหาข้อมูลมาให้แล้วครับ เรื่องการถวายสังฆทาน หลังเวลาเที่ยง มีผลอย่างไร จากข้อมุลนี้ผมขอตอบแบบนี้ครับ การถวายสังฆทาน คำว่าสังฆทานคือ การทำทานให้แก่หมู่สงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปโดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่งเป็นพิเศษ หรือมีการตั้งองค์แทนคณะสงฆ์เพื่อรับ ทานนั้นๆ ก็ได้ สังฆทานไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารอย่างเดียว จะเป็นสิ่งของอื่นที่หมู่สงฆ์สามารถใช้ประโยชน์ก็ได้ จะเป็นสิ่งอื่นก็ไม่ผิด ผมเองก็เคยถวายเครื่องมือช่างให้กับพระในวัด เพื่อที่ท่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวัดต่อไป ทีนี้ประเด็นที่ว่าเราถวายสังฆทานในตอนหลังเทียงได้ไหม เรื่องนี้ตอบได้ทันทีเลยว่าได้ครับ แต่(มีแต่)สังฆทานนั้นต้องไม่มีอาหาร เพราะหากเป็นอาหารพระท่านไม่สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารนั้นได้ มันผิดวินัย หากจะถามว่าสังฆทานที่ดี(ผีหรือวิญญาณชอบ) ต้องเป็นอย่างไร ต้องประกอบด้วยอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และ พระพุทธรูป สิ่งเหล่านี้วิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้วชอบ เพราะนำไปใช้ได้เลย แต่ทีนี้มีเรื่องอาหารเข้ามาเกี่ยวข้อง เราควรถวายพระท่านก่อนเที่ยงจึงจะดี พระท่านจะไม่ผิดวินัย ผมต้องขอโมทนากับคุณจิดาภาด้วยที่ได้มโน แล้วรู้ว่าผู้ที่ตายไปแล้วเขาสะบายกันหมด มีเรื่องหนึ่งที่เกิดกับตัวผมเองขอเล่าแบบย่อๆ ว่า ครั้งที่คุณตาของผมตายใหม่ๆ ผมได้ถวายเงินพระ พร้อมกับอุทิศบุญ ผลปรากฎว่า ผลบุญนั้นเป็นวิมานสวยงาม แต่ตาผมใช้ไม่ได้ เข้าไปก็ปรากฏเป็นไฟลุกท่วมเลย จากการสอบถามผลบุญนั้นปนบาปด้วเลยไม่สามารถใช้ได้ ทุกวันนี้วิมานนั้นก้ยังอยู่แต่ไม่สามารถใช้ได้ แต่สังฆทานนี่พระท่านไม่ได้ใช้อาหารผลเลยไม่มากนัก แต่ผลบุญก็น้อยกว่าเมื่อเปรียบกับเราถวายก่อนเพลครับ
โดย: webmaster เวลา: 2013-8-13 11:38
การถวายเงิน หรือสังฆทานเงิน ค่าเท่ากันนะ ที่ซอยสารลมก็ทำออกบ่อย ในช่วงคนเยอะๆ ก็จะทำถวายสังฆทานเป็นเงินได้ เราถวายแล้วเราได้อานิสงฆ์ในตอนถวายแล้วนะ บุญจะมากน้อยขึ้นอยู่คนทำด้วยนะ ถ้าคนทำสังแต่ว่าทำ ไม่มีปิติยินดีในบุญที่ตนเองทำ ผลที่จะอุทิให้ก็น้อยนะ เพราะ ทาน จะสมบูรณ์ ต้องประกอบด้วย ผู้ให้บริสุทธิ์ และผู้รับบริสุทธิ์ และวัตถุทาน บริสุทธิ์ ถ้าครบแสดงว่าบุญนั้นสมบุรณ์ นะ ส่วนถวายอาหารต้องระบุด้วยอาหารแบบไหน ถ้าอาหารแห้งพวกมาม่า ปลากระป๋องก็ถวายได้ เพราะเก็บใว้ฉันต่อไปได้ แต่ถ้าอาหารแบบเก็บใว้ไม่ได้ต้องถวายก่อนเพลนะ ต้องบอกให้ชัดเจนด้วยกันเข้าใจผิด และการให้ทานผลของท่านมันจะเกิดกับคนทำก่อน คนรับนะ อย่าไปมองว่าทำทานแล้วให้คนนั้นคนนี้ ผลมีกับตนเองก่อน และได้มากกว่าผู้ที่จะได้รับ เขาได้รับก็รับแบบโมทนาบุญนั้น ยิ่งฝึกมโนเสร็จ ก็ได้บุญในพระกรรมฐานด้วย บุญก็ยิ่งเยอะ บุญต้องเต็มที่เราก่อนถึงจะแผ่ให้คนอื่นได้เต็มที่นะ.... เอวังโหตุ
โดย: กำไร เวลา: 2013-8-13 12:00
สาธุค่ะ
โดย: จิดาภา เวลา: 2013-8-13 12:48
ขอบคุณคุณมารน้อย และwebmasterมากค่ะ ที่กรุณาตอบ
โดย: มารน้อย เวลา: 2013-8-13 19:48
ขอบคุณ คุณธนาด้วยที่ร่วมวงสนทนาด้วยครับ ที่แรกผมว่าจะเงียบเพราะผมไม่รู้ว่าจะนำมะพร้าวห้าวมาขายสวนไหม พอดีอย่างนี้ครับจากที่ผมพอมีความรู้ที่ได้ศึกษามาปัญญาก็เท่าหางอึ่งตลอด๔ปีที่ได้มีกลุ่มญาติธรรมที่ได้ทิพย์ญาณเหมือนกันจำนวนหนึ่ง พวกเราก็อยากรู้ว่าให้เงินพระบุญหรือบาป เลยพิสูจน์ด้วยหลากหลายวิธีด้วยกัน เอาอย่างนี้ก่อนอื่นอธิบายอย่างนี้ก่อนว่าการถวายเงินให้แก่พระภิกษุ เป็นบุญหรือบาปนั้น มีอยู่สองกรณี
' `! V: i! _8 ~7 D๑. เราถวายเงินให้แก่พระภิกษุโดยให้เป็นสินส่วนตัว ของท่าน แบบนี้บาปอันนี้เนื่องจากสาเหตุเพราะมีวินัยบัญญัติไว้ว่า "ห้ามภิกษุเก็บเงินไว้แม้แต่ ๑ มาสก" สิ่งนี้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ประมาณ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว ดังนั้นการถวายเงินพระจึงเป็นการสนับสนุนให้พระผิดศีล หรือวินัยสงฆ์ ในทางโลกหากเราสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมายเรายังต้องรับโทษทางคดีความเหมือนกัน นั้นก็เช่นกันในทางธรรมหากเราสนับสนุนพระให้ทำผิดศีลหรือข้อปฏิบัติจะไม่ผิดได้อย่างไร งั้นเราถวายเงินพระไม่ได้หรืออย่างไร แต่เราก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าโลกปัจจุบันนี้เงินเป็นสิ่งสำคัญ (ผมเองก็ยังต้องการ) ดังนั้นเวลาถวายเงินพระก็ถวายไปเลยไม่ต้องคิดว่าเป้นอย่างไรต่อ ไม่ต้องอุทิศให้กับใครทั้งนั้น เพราะเป็นเรื่องของ มนุษยธรรม ไม่ต้องคิดอะไรมาก
: n" \9 J7 W R9 v! S! C๒. เราจะถวายเงินให้พระอย่างไรไม่บาป พระบางวัดท่านจะตั้งเงินกองกลางสำหรับสงฆ์(ไม่ได้เป็นส่วนตัวใครคนใดคนหนึ่ง) พระรูปใดจะเดินทางก็มาเบิกไป เราก็ถวายเป็นเงินกองกลางก็ได้ หรือตามตู้บริจาค ก็ได้เพราะตู้ไม่หลอก ส่วนใครจะไปใช้อย่างไรนั้นก็เป็นเรื่องของเขา
# R8 \/ E& ?( r* H) e" O' W พระที่ท่านเคร่งครัดวินัยท่านจะไม่ยอมให้ตัวท่านมีสิ่งใดผิดเลย4 j) g4 V$ c; R5 n1 X$ r- r
อีกเรื่องหนึ่ง การทำบุญด้วยอาหารแห้ง สิ่งนี้ก็ไม่ดีเช่นกัน ถามว่าทำไม มีบัญญัติเช่นกันสำหรับเรื่องนี้ว่า "ภิกษุห้ามเก็บอาหารไว้ค้างคืน" การถวายอาหารแห้งเลยไม่สมควร งั้นทำอย่างไร ก็นำไปให้ที่โรงครัว ให้แม่ครัวเขาดำเนินการ จะได้ไม่ผิดวินัย ควรถวายของที่สามารถฉันท์ได้ทันที เช่น นม น้ำผลไม้ หรือในเวลาเย็น นมถั่วเหลืองยังไม่สมควรเลย เพราะถั่วเหลืองถือเป็นอาหาร ผมอาจจะผิดมาตลอดก็ได้ ก็ลองพิจารณาก็แล้วกันว่า สิ่งใดเหมาะสิ่งใดควร ส่วนเรื่องทำบุญไม่ว่าคุณจะอุทิศให้ใครหรือไม่ผลบุญนั้นก็ตอบแทนคุณทันทีอยู่แล้ว ไม่ต้องเชื่อผมให้พิสูจน์เอง พุทธองค์ท่านทรงตรัสไว้ อย่าเชื่อในสิ่งที่ทำสืบต่อๆกันมา อย่าเชื่อในหนังสือ อย่าเชื่อสิ่งที่ครูสอน
. H6 @- E* u! Z
โดย: visutti เวลา: 2013-8-13 23:51
ที่คุณมารน้อยอธิบายก็ถูกนะ แต่ก็ถูกในสมัยพุทธกาลนะ แต่ไม่ถูกในสมัยนี้ การถวายอาหารแห้ง หมายถึง มาม่าปลากระป๋อง ที่เขาบรรจุใว้แล้ว นั้นสามารถวายได้ เพราะไม่ใช่อาหารสดแล้วเก็บใว้จะเสียมิใช่ มันต้องเป็นไปตามยุกต์สมัยนะ และการถวายเงินสมัยนั้น ไม่มีไฟฟ้าไม่มีน้ำปะปา และพระอยู่ตามป่า ไม่ได้มีวัดประจำเหมือนกับ สมัยปัจจุบัน มันก็ตามยุกต์ตามสมัย แต่การถวายคือการตั้งจิต ถ้าตั้งใจและไม่อุทิศในผล บุญก็ไม่เกิด เหมือนสักแต่ว่าทำ ธรรมะบางอย่างก็ตามยุกต์ตามสมัย พระวินัยบางอย่างก็อลุ่มอลวยกันได้ ตามยุกต์ตามสมัย ไม่งั้นที่คุณมารน้อยอธิบายมา พระวัดท่าซุงก็ผิดวินัยหมด ซึ่งหลวงพ่อ ท่านแตกฉานพระไตรปิฏก และก็วางกฏเกณฑ์ภายในวัดใว้หมดแล้ว แล้วการที่จะทำบุญทำทาน ถ้ายังกลัวหรือคิดมาก ทำให้ทำแล้วไม่สะบายใจ มันก็ไม่มีประโยชน์นะ การถวายเงินนั้นเรียกว่า การให้ทานในส่วนของอามิสทาน อย่างปัจจุบัน เห็นพระสงฆ์ใช้มือถือ อันนี้ผิดวินัยสงฆ์ไหม มันก็ไม่มีระบุในพระไตรยปิฏก แต่มันก็เป็นสิ่งจำเป็นใช้ในการติดต่อตามยุกต์ตามสมัย ธรรมะ หรือ พระวินัยบางข้อ ก็พิจารณาตามยุกต์ตามสมัยเช่นกัน
โดย: มารน้อย เวลา: 2013-8-14 12:56
ตอบกระทู้ visutti ตั้งกระทู้. L& `( S8 }8 g. b& l0 ], ?5 x1 x5 E
2 t7 c; Q: i2 ^4 s' q
การสังคายนาครั้งที่ ๒" c$ U0 T2 w$ G0 G7 l" t5 u
เมื่อพุทธศักราช ๑๐๐4 R3 t+ q; |2 b R7 V# L; p6 L$ f0 V0 e
ณ วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
การสังคายนาครั้งที่ ๒ ปรารถพวกภิกษุวัชชีบุตรกแสดงวัตถุ ๑๐ ประการนอกธรรมนอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตรเป็นผู้ชักชวน ได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชนา ได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้สิสัชนาประชุมทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี เมื่อุทธศักราช ๑๐๐ โดยพระกาลาโศกราชเป็นศาสนูปภัมภก์ สิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จ
c/ y* u5 d, r2 i- b3 q2 @) R7 j หลังจากพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานผ่านไปได้ ๑๐๐ ปี พระภิกษุที่จำพรรษาในเมืองเวสาลี ได้ประพฤติผิดวินัย ๑๐ ประการเรียกว่าวัตถุ ๑๐ ประการคือ
9 E7 O! {6 V/ ` E ๑. ภิกษุจะเก็บเกลือไว้ในเขนง (ภาชนะที่ทำด้วยเขาสัตว์) แล้วนำไปฉันปนกับอาหารได้
' z* W M7 g! _: I ๒. ภิกษุจะฉันอาหารหลังจากตะวันบ่ายผ่านไปเพียง ๒ องคุลี
: c. T! _- i' A, V, \8 n ๓. ภิกษุฉันภัตตาหารในวัดเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้วเข้าไปสู่บ้านจะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนและไม่ได้ทำวันัยกรรมตามพระวินัยได้2 y7 J" x' [) h' z+ {, Q+ j, f2 g
๔. ในอาวาสเดียวมีสีมาใหญ่ ภิกษุจะแยกกันทำอุโบสถได้
+ n9 J$ f) k# l4 I5 Y, U$ r8 I ๕. ในเวลาทำอุโบสถ แม้ว่าพระจะเข้าประชุมยังไม่พร้อมกันจะทำอุโบสถไปก่อนได้ โดยให้ผู้มาทีหลังขออนุมัติเอาเองได้
% Y( B- h$ h: t& {3 ], J ๖. การประพฤติปฏิบัติตามพระอุปัชฌายะอาจารย์ ไม่ว่าจะผิดหรือถูกพระวินัยก็ตาม ย่อมเป็นการกระทำที่สมควรเสมอ
$ c) E% O8 I6 n5 l8 m/ Q& Y/ v5 i5 I/ _ ๗. นมส้มที่แปรมาจากนมสดแต่ยังไม่กลายเป็นทธิ(นมเปรี้ยว)ภิกษุฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้ว จะฉันนมนั้นทั้งที่ยังไม่ได้ทำวินัยกรรม หรือทำให้เดนตามพระวินัยก็ได้; ^8 @7 r, L( @' W5 k H
๘. สุราที่ทำใหม่ ๆ ยังมีสีแดง เหมือนสีเท้านกพิราบ ยังไม่เป็นสุราเต็มที่ ภิกษุจะฉันก็ได้
* z2 m4 \$ B; g2 C9 u9 `- Y/ C ๙. ผ้าปูนั่งคือนิสีทนะอันไม่มีชาย ภิกษุจะบริโภค ใช้สอยก็ได้
( m- T3 M6 Q: v( `8 N$ Q ๑๐. ภิกษุรับและยินดีในทองเงินที่เขาถวายหาเป็นอาบัติไม่# y+ C6 r! S2 t5 t6 V6 i2 z
ต่อมาพระเถระอรหันต์ รูปหนึ่งชื่อพระยสกากัณฑกบุตร จากเมืองโกสัมพีได้ไปที่เมืองเวสาลี ได้พบเห็นพระภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี นำถาดทองสำริดเต็มด้วยน้ำ นำมาวางไว้ที่โรงอุโบสถ แล้วประกาศเชิญชวนให้ชาวบ้านบริจาคเงินใส่ลงในถาดนั้น โดยบอกว่าพระมีความต้องการด้วยเงินทอง แม้พระยสเถระจะห้ามปรามไม่ให้มีการถวายเงินทองในทำนองนั้น พระภิกษุวัชชีบุตรก็ไม่เชื่อฟังชาวบ้านเองก็คงถวายตามที่เคยปฏิบัติมา พระเถระจึงตำหนิทั้งพระวัชชีบุตรและชาวบ้าน ที่ถวายเงินทองและรับเงินทองในลักษณะนั้นเมื่อพระภิกษุวัชชีบุตรได้รับเงินแล้ว นำมาแจกกันตามลำดับพรรษานำส่วนของพระยสการัณฑบุตรมาถวายท่าน พระเถระไม่ยอมรับและตำหนิอีก" W5 o6 I' |, T. k: |
ภิกษุวัชชีบุตรไม่พอในที่พระเถระไม่ยอมรับตำหนิ จึงประชุมกันฉวยโอกาสลงปฏสาราณียกรรม คือการลงโทษให้ไปขอขมาคฤหัสถ์โดยกล่าวว่าพระเถระรุกรานชาวบ้าน ซึ่งพระเถระก็ยิยยอมไปขอขมาโดยนำภิกษุอนุฑูตไปเป็นพยานด้วย เมื่อไปถึงสำนักของอุบาสก พระเถระได้ชี้แจงพระวินัยให้ฟัง และบอกให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบว่า การกระทำของพระภิกษุวัชชีบุตรเป็นความผิด โดยยกเอาพระพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าทรงไว้ความว่า6 M( T4 G4 e, J+ T }/ m- J
"พระจันทร์และพระอาทิตย์ไม่ได้ร้อนแรงและรุ่งเรืองด้วยรัศมีเพราะโทษมลทิน ๔ ประการ คือ หมอก ควัน ธุลี และอสุรินทราหู กำบังฉันใด ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะไม่มีตบะรุ่งเรืองด้วยศีล เพราะโทษมลทิน ๔ ประการปิดบังไว้ คือ ดื่มสุราเมรัย เสพเมถุนธรรม ยินดีรับเงินและทองอันเป็นเหมือนภิกษุนั้นยินดีบริโภคซึ่งกามคุณ และภิกษุเลี้ยงชีพในทางมิชอบด้วย เวชชกรรม กุลทูสกะ (ประจบเอาใจคฤหัสถ์ด้วยอาการอันผิดวินัย) อเนสนา (การหาลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรภิกษุ) และวิญญัติ (ขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ที่ไม่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา) พร้อมด้วยกล่าวอวดอตตริมนุษย์ธรรม อันไม่มีจริง"
7 p2 _9 @% P; Y$ z' Z; f เมื่อพระยสกากัณฑกบุตรชี้แจง ให้อุบาสกอุบาสิกาเข้าใจแล้ว คนเหล่านั้นเกิดความเลื่อมใสพระเถระ อาราธนาให้ท่านอยู่จำพรรษา ณ วาลการาม โดยพวกเขาจะอุปฐากบำรุงและได้อาศัยท่านบำเพ็ญกุศลต่อไป ฝ่ายภิกษุที่เป็นอนุฑูตไปกับพระเถระ ได้กลับมาแจ้งเรื่องทั้งปวงให้ภิกษุวัชชีบุตรทราบ ภิกษุวัชชีบุตรจะใช้พวกมากบีบบังคับพระเถระด้วยการลงอุปเขปนียกรรม (ตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว) แก่ท่านได้พากันยกพวกไปล้อมกุฏิของพระเถระ แต่พระเถระทราบล่วงหน้าเสียก่อนจึงได้หลบออกไปจากที่นั้น
" L9 L: I7 o, B+ H) x พระยาสกากัณฑกบุตรพิจารณาเห็นว่า เรื่องนี้หากปล่อยไว้เนิ่นนานไป พระธรรมวินัยจะเสื่อมถอยลง พวกอธรรมวาทีอวินัยวาทีได้พวกแล้วจักเจริญขึ้น จึงได้ไปเมองปาฐา เมืองอวันตี และทักขิณาบถแจ้งให้พระที่อยู่ในเมืองนั้น ๆ ทราบ เพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไข และได้ไปเรียนให้พระสาณสัมภูตวาสี ซึ่งพำนักอยู่ ณ อโหคังคบบรรพตทราบและขอการวินิจฉัยจากพระเถระ พระสาณสัมภูตวาสีมีความเห็นเช่นเดียวกับพระยาสกากัณฑกบุตรทุกประการ% I# F. a2 C) Q* r' Z# I) h
ในที่สุดพระเถระอรหันต์จากเมืองปาฐา ๖๐ รูป จากแคว้นอวัตีและทักขิณาบถ ๘๐ รูป ได้ประชุมร่วมกับพระสาณสัมภูตวาสีและพระยสกากัณฑกบุตร ณ อโหคังคบพรรพต มติของที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าเรื่องนี้จะต้องมีการชำระกันให้เรียบร้อย โดยตกลงให้ไปอาราธนาพระเรวตเถระ ซึ่งเป้นพระอรหันต์ที่เป็นพหูสูตร ชำนาญในพระวินัยทรงธรรมวินัยมาติกาฉลาดเฉียบแหลม มีความละอายบาปรังเกียจบาปใคร่ต่อสิขาและเป็นนักปราชญ์ ให้เป็นประธานในการวินิจฉัยตัดสินเรื่องวัตถุ ทั้ง ๑๐ ประการนี้ Z- b& \- `0 ~ }: V7 B' \( H
พระสาณสัมภูตวาสีได้นำเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ เรียนถวายให้พระเรวตเถระทราบ และขอให้ท่านวินิจฉันทีละข้อ ปรากฏว่าทุกข้อที่ภิกษุวัชชีบุตรกระทำนั้น เป็นความผิดทางวินัยทั้งหมด จึงตกลงร่วมกันที่จะชำระเรื่องนี้ และจัดการสังคายนาพระธรรมวินัยทั้งหมด จึงตกลงร่วมกันที่จะชำระเรื่องนี้ และจัดการสังคายนาพระธรรมวินัยตามที่พระสังคีติกาจารย์ได้กระทำมาแล้วในคราวสังคายนา6 x0 E) J5 s0 [: L, k* _ A4 N
ในที่สุดที่ประชุมของพระอรหันต์ทั้งหลายได้ตกลงกันว่า อธิกรณ์ (เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ) เกิดขึ้นในที่ใด ควรไปจัดการระงับในที่นั้นโดยพระเรวตเถระได้ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ขอให้สงฆ์ระงับอธิกรณ์ด้วยอพุพาหิกา คือ การยกอธิกรณ์ไปชำระในที่เกิดอธิกรณ์ สงฆได้คัดเลือกพระเถระ ๘ รูปคือ4 C' i5 Z. A: ^, ?2 e
- พระสัพพากามีเถระ พระสาฬหเถระ พระขุชชโสภิตเถระ พระวาสภคามีเถระทำหน้าที่แทนฝ่ายปราจีนคือพวกวัชชีบุตร ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยอธิกรณ์
- y7 |* {0 y1 c d - พระเรวตเถระ พระสาณสัมภูตวาสี พระยสกากัณฑกบุตร เถระพระสุมนเถระเป็นตัวแทนฝ่ายเมืองปาฐา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายเมืองปาฐา ทำน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายสงฆ์ธรรมวาที มีหน้าที่ในการเสนออธิกรณ์ต่อสงฆ์3 r% f1 O# Z! ]( L
สงฆ์ได้มอบหมายการสวดปาติโมกข์ การจัดแจงเสนาเสนะให้เป็นหน้าที่ของพระอชิตะ ซึ่งพรรษาได้ ๑๐ พรรษา และตกลงเลือกเอาวาลิการามหรือวาลุการาม เมืองเวสาลี อันเป้นที่เกิดเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ เป็นศิษย์ของพระอนุรุทธเถระ อีก ๖ รูป เป้นศิษย์ของพระอานนท์เถระซึ่งเป็นสังคีติกาจารย์สำคัญในราวปฐมสังคายนา0 j/ C- i) _$ T6 h0 v
เมื่อพระเจ้ากาลาโศกราชรับสั่งให้พระสงฆ์ทัเง ๒ ฝ่ายประชุมร่วมกัน และขอให้แต่ละฝ่ายแถลงเหตุผลให้ทราบ ทรงโปรดในเหตุผลของฝ่ายพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงปวารณาพระองค์ที่จะให้การอุปถัมภ์ฝ่ายอาณาจักรทุกประการ และโปรดให้ชำระมลทินพระศาสนา พร้อมด้วยการทำทุติยสังคายนา (การร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒) ที่วาลุการาม เมืองเวสาลี พระอรหันต์เข้าร่วม ๗๐๐ รูปโดยมีการทำตามลำดับดังนี้ w* U! m) v4 j' R- {& V
๑. พระเถระที่ได้กำหนดหน้าที่กันฝ่ายละ ๔ รูปนั้น พระเรวตเถระเอาวัตถุ ๑๐ ประการขึ้นมาถามทีละข้อ พระสัพพากามีเถระได้ตอบไปตามลำดัสว่า
1 d8 D0 U3 ?6 E; l; _0 ` ๑.๑ การเก็บเกลือไว้ในแขนง โดยตั้งใจว่าจะใส่ลงในอาหารที่จืดฉันเป้นอาบัติปาจิตตีย์ (จัดไว้ในจำพวกอาบัติเบา พ้นได้ด้วยการแสดง) เพราะการสะสมอาหารตามโภชนสิกขาบท
$ I: H1 P4 n7 [& A8 ]% u7 K ๑.๒ การฉันโภชนะในเวลาวิกาลเมื่อตะวันบ่ายคล้อยไปแล้ว ถึง ๒ องคุลี ผิดต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะในยามวิกาล' I& B( R- u$ Z
๑.๓ ภิกษุฉันอาหารเสร็จแล้วคิดว่าจักฉันอาหารเข้าไปในบ้านแล้วฉันโภชนะที่เป็นอนติริตตะ (อาหารซึ่งไม่เป็นเดน ที่ว่าเป็นเดนมี ๒ คือ เป็นเดนภิกษุไข้ ๑ เป็นของที่ภิกษุทำให้เป็นเดน ๑) ผิดเป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้ และไม่ได้ทำวินัยกรรมก่อน# c8 Z! O( L/ Q" } }) F6 r
๑.๔ สงฆ์ทำสังฆกรรมด้วยคิดว่าให้พวกมาทีหลังอนุมัติทั่งที่ยังประชุมไม่พร้อมหน้ากัน ผิดหลักที่ทรงบัญญัติไว้ในจัมเปยขันธกะ ใครทำต้องอาบัติทุกกฏ+ _- h2 \( o- a
๑.๕ อาวาสแห่งเดียวมีสีมาเดียวเท่านั้น ภิกษุจะแยกกันทำอุโบสถสังฆกรรมไม่ได้ ผิดหลักที่สรงบัญญัติไว้ในอุปโบสถขันธกะ ใครขืนทำต้องอาบัติทุกกฏ' {% F P+ g& N7 p$ {( G7 V
๑.๖ การประพฤติปฏิบัติด้วยความเข้าใจว่าอุปัชฌาย์อาจจารย์ของเราเคยประพฤติมาอย่างนี้ ไม่ถูกต้องนัก เพราะท่านเหล่านั้นอาจจะประพฤติผิดหรือถูก ก็ได้ ต้องยึดหลักพระวินัยจึงจะสมควร
# m& P6 V( U$ S ๑.๗ นมส้มที่ละความเป็นนมสดไปแล้ว แต่ยังไม่กลายเป็นทธิภิกษุฉันภัตตาหารส้มห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนมนั้นอันไม่เป็นเดนภิกษุไข้หรือยังไม่ทำวินัยกรรมไม่ควรต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่เป็นอนติริตตะ/ j2 H( n9 N4 f2 f* p) a1 h W
๑.๘ การดื่มสุราอย่างอ่อนที่มีสีเหมือนเท้านกพิราบ ซึ่งยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมาไม่ควร เป็นปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย4 n6 _/ u1 y( Y( C
๑.๙ ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชายภิกษุจะใช้ไม่ควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ซึงต้องตัดเสียจึงแสดงอาบัติตก% F7 d0 a& K- M# r
๑.๑๐ การรับเงินทองหรือยินดีทองเงินที่เขาเก็ไว้เพื่อตนไม่ควรต้องอาบัตินิสสัคคียะ ปาจิตติยะ เพราะรับทองและเงินซึ่งจะต้องสละจึงแสดงอาบัติตก
6 G6 u- N4 }& {+ W( U8 h ทุกข้อที่พระสัพพกามีวิสัชชนา ฝ่ายพระเรวตเถระได้เสนอให้สงฆ์ทราบทุกข้อและขอมติจากสงฆ์เพื่อให้ยอมรับว่า( e* c8 G& f$ |
"วัตถุเหล่านี้ผิดธรรม ผิดวินัย เป็นการหลีกเลี่ยงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า" และได้ขอให้สงฆ์ลงมติทุกครั้นที่พระสัพพากมีเถระตอบ มติของสงฆ์จึงเห็นว่าวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ผิดธรรม ผิดวินัย โดยเสียงเอกฉันท์# M& B/ E, b& W
๒. จากนั้นพระเถระทั้งหลายจึงเริ่มสังคายนาพระธรรมวินัยตามแบบที่พระมหากัสสปเถระ เป็นต้น ได้กระทำในคราวปฐมสังคายนากระทำสังคายนาคราวนี้ใช้เวลา ๘ เดือนจึงสำเร็จ
$ {' Y- J0 b0 v' l3 G
โดย: มารน้อย เวลา: 2013-8-14 13:15
ต้นฉบับโพสต์โดย visutti เมื่อ 2013-8-13 23:51 8 ~7 p6 f m# [# T% A T2 U# k
ที่คุณมารน้อยอธิบายก็ถูกนะ แต่ก็ถูกในสมัยพุทธกาลนะ ...
- M: D& M; @8 @2 R' c3 O
ตามที่คุณvisutti) C3 r9 k0 k2 W; T5 d) S
ให้ความเห็นเรื่องวัดท่าซุงที่ปฏิบัติมา หากเป็นเรื่องนี้ ผมเองไปวัดท่าซุงเกือบทุกเดือน ไปที่ศาลา ๑๐๐ เมตร ก่อนเพล ก่อนเวลาที่จะมีสอนปฏิบัติกัน จากนั้นผมจะถวายสังฆทาน ชุดละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๕ ชุด แล้วอุทิศบุญให้กับนายเวรที่มาถึงตัว ญาติที่ตายไปแล้ว กับคนที่ญาติธรรมฝากมาให้ช่วยเหลือ E% `8 C6 l7 n
ต่อจากนั้นผมจะทำบุญเหรียญทอง อีก ๕๐๐ บาท โดยแลกเหรียญทอง ต่อจากนั้นมานั่งบริเวณ หน้าสมเด็จองค์ปฐม เพื่อตรวจสอบว่าผู้ที่เราช่วยเหลือเขามาสู่สุขติภพ หรือยัง ถ้าอยู่แล้วผมก็จะไปไหวยังจุดต่างๆ แต่ถ้ายังผมก็จะมาทำที่เหรียญทองอีก จนเขาสบายขึ้น ทำเช่นนี้เป็นประจำ ด้วยความชาญฉลาด ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ฤาษี ลิงดำ ท่านจัดสังฆทานไว้ดีแล้วจนครบ ซึ่งประกอบด้วย อาหาร ผ้าอาบน้ำฝน เครื่องเวชภัณฑ์ และพระพุทธรูป * b/ Z: i4 p+ s# \ h9 A
เมื่อผมมีโอกาส ได้เขียนหนังสือเรื่อง “ประสบการณ์วิญญาณกับการอุทิศบุญ” ก็ได้นำเรื่องของวัดท่าซุงมาเขียนไว้ในบางส่วนบางตอน ด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกอย่างก็ต้องขึ้นอยู่กับกฎไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามกาลเวลา ไม่เว้นแม้กระทั้งตัวเรา
โดย: webmaster เวลา: 2013-8-14 16:10
ต้นฉบับโพสต์โดย มารน้อย เมื่อ 2013-8-14 13:15 x* E& O( ^& i: @% j. z- T7 V& s
ตามที่คุณvisutti
: ]. R( R4 {- u: ~( T$ Zให้ความเห็นเรื่องวัดท่าซุงที่ปฏิบัติม ...
" {& S- e8 N- E- \- u
เมื่อก่อนผมเองก็ทำแบบคุณมารน้อยนะ คือ ท่องคาถาเงินล้านแล้วเอาเงินใส่บาตรวิระทะโย แล้วก็มีโอกาสไปวัดท่าซุงก็ทำบุญ ตามตู้ เอาเหรียญทองบูชาพระธาตุ... แต่ตอนนี้ก็ศึกษาด้านอภิญญา เลย มาศึกษาเรื่อง เจ้าและนายเวร เพราะการจะฝึกอภิญญาได้ ต้องหยุดเจ้ากรรมและนายเวร ไม่งั้นก็ไม่มีทางฝึกได้ เลยได้สูตรสำเร็จมาทดสอบ แล้วก็ได้ผลสบายเลย ตั้งแต่อธิษฐานจิตตั้งกองบุญ 24 กองบุญ ไม่ต้องอธิษฐานจิตบ่อย แล้วสูตร ปิดวัน ปิดเดือน ปิดปี แล้วต่อด้วย ทำให้เทวดารัก โดยการทำ เทวตาพลี และ ทำเปตรยะพลี ในการอุทิศบุญให้เปรต และอุทิศให้ผีอดผีอยาก และเชื้อโรคเวลาทานข้าว ก็เหลือข้าวกับกองใว้มุมจาน สองกอง และก็ฝึกตามสูตรอธิษฐานจิต... เมื่อก่อน แบบท่องจำ แต่ตอนนี้ ใช้ระบบ อัญชัญวสี จนไปถึง อารมณ์ในปัสสธิ แล้วเข้าถึงระบบการอธิษฐานจิต และอุทิศบุญ ต่อด้วยการตัดสัญญากรรม "เนวะสัญญา นาสัญญา ยะตะนะ" ดับในสัญญากรรมในจิต เจตสิก แต่ละดวง ...เรื่อง ท่องนรก หนะผมเองไม่ค่อยท่องหรอก แต่เชื่อว่ามี เพราะพระพุทธเจ้าบอกว่ามี เมื่อก่อนฝึกใหม่ basic ก็ชอบท่องเที่ยวเป็นธรรมดา แต่ตอนนี้ไม่รู้จะท่องเที่ยวทำไมสู้เอาเวลามาฝึกจิตให้มี พลังอำนาจดีกว่า ดั่งคำว่า "ความคิดดี สมาธิไม่ดี สมาธิดี ญานไม่ดี ญานดี ฌานไม่ดี ฌานดี อภิญญาไม่ดี อภิญญาดี วิปัสสนาไม่ดี วิปัสสนาดี นิพพานเกิด" ... ก็วัดตามนี้ว่าเราติดตรงไหนก็พยายามผ่านให้ได้
โดย: ณัฐดนัย เวลา: 2013-8-15 20:24
สาธุครับ แล้วอย่างไรดีครับ กันไว้ดีกว่าแก้ใช่ไหมครับ อนุโมทนาสาธุครับ สาธุครับ
ยินดีต้อนรับสู่ แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน" (http://dannipparn.com/) |
Powered by Discuz! X1.5 |