แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

ชื่อกระทู้: ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ [สั่งพิมพ์]

โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 06:11     ชื่อกระทู้: ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่

เวียงกุมกาม.JPG



ย้อนรอยประวัติศาสตร์ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่

แหล่งอารยธรรมแรกเริ่มแห่งล้านนา



ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ให้ความรู้ว่าในปี พ.ศ.๒๕๕๙ นี้ นับเป็นระยะเวลาร่วม ๗๓๐ ปี แล้วที่พญามังราย ปฐมกษัตริย์ของแคว้นล้านนาในอดีต ได้ก่อตั้งเวียงกุมกามขึ้นโดยหมายจะให้เป็นเมืองหลวงแคว้นภายหลังจากที่ยึดครองเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ได้ และผนวกรวมเอาดินแดนเขตลุ่มแม่น้ำปิง สาย อิง และโขง เข้าไว้ด้วยกัน

ซึ่งจากการที่พญามังรายได้สร้างเวียงกุมกามและประทับอยู่ที่เวียงแห่งนี้ ในช่วงระยะร่วม ๑๐ ปี ก่อนการย้ายไปสร้างเมืองเชียงใหม่ ทำให้พิจารณาได้ว่า เวียงกุมกามเป็นราชธานีแห่งแรกของแคว้นล้านนา อันหมายถึงแคว้นหรือรัฐแห่งใหม่ ที่รวมเอาบ้านเมืองในเขต ๒ พื้นที่แอ่งที่ราบลุ่มน้ำใหญ่ทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทต่อรูปแบบการปกครองและวิถีชีวิตของประชาชนพลเมืองต่างๆ อีกทั้งพบหลักฐานการก่อสร้างวัดมากมาย ทั้งในเขตเวียงกุมกามเมืองเชียงใหม่ รวมถึงในเขตหัวเมืองบริวารแวดล้อม




รูปภาพที่แนบมา: เวียงกุมกาม.JPG (2016-6-17 22:11, 831.89 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 68
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzODd8ZWI5OTQzZTB8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 06:15

DSC01219.jpg



ข้าพเจ้าขอนำสมาชิกทุกท่านร่วมย้อนรอยประวัติศาสตร์ ณ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพญามังรายทรงสร้างเวียงกุมกามขึ้นด้วยพระราชหฤทัยรักในดินแดนแห่งนี้มาก ดังจะเห็นได้จากพระราชดำรัสที่ตรัสก่อนที่จะเคลื่อนพลย้ายจากเวียงกุมกามไปยังนครเชียงใหม่ว่า

“ ก่อได้เวลาจากเวียงกุมกาม เพื่อย้ายไปสู่นครแห่งใหม่ "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" จึงขึ้นสู่ตี้ประทับ แห่แหนกลับสู่เมืองใหม่ พอจะพ้นเขต เวียงกุมกาม ก่อหื้อหยุดขบวน และหันหลังกลับมาผ่อ “เวียงกุมกาม” แล้วตรัสออกมาเป๋นครั้งสุดท้ายพร้อมน้ำต๋าตี้คลอต๋า “ลาแล้วหนอ เวียงแห่งนี้ ตี้กูได้สร้างมา ไปคราวนี้จะบ่อได้ปิกคืนมาสู่เวียงแล้วหนา เวียงของกู เวียงกุมกาม” จากนั้นก่อนเสด็จไปยังเวียงใหม่ จากนั้นแหมบ่อเมิน เวียงกุมกามก่อได้ถูกม่าน (พม่า) เข้ายึด “เวียงกุมกาม” จึงได้ร่ำไห้ออกมาเป๋นน้ำต๋า ฟ้าห่าใหญ่ คราวนั้น น้ำปิง ”




DSC01211.jpg



เวียงกุมกาม ชื่อ กุมกาม ปรากฏในหลักฐานชัดเจนเป็นครั้งแรก ในหลักฐานเอกชั้นที่ ๑ คือศิลาจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน จารึกขึ้นใน พ.ศ.๑๙๑๓ เป็นอักษรสุโขทัย คำว่ากุมกามอยู่ในด้านที่ ๑ บันทึกที่ ๓๑ ว่า “…ฝูงชนอันอยู่ภาย กูมกามเชียงใหม่ พ้น…” เขียนกูมกาม คำอ่านปัจจุบันคือ กุมกาม

เวียงกุมกาม คือชื่อของเวียงโบราณแห่งหนึ่ง บริเวณพื้นที่ระหว่างแนวสายน้ำแม่ปิงปัจจุบัน ในเขตตอนใต้ตัวเมืองเชียงใหม่ลงมาราว ๕ กิโลเมตร คือท้องที่ส่วนใหญ่ของตำบลท่าวังตาล บางส่วนของตำบลหนองผึ้ง เขตอำเภอสารภี รวมถึงตำบลป่าแดด และตำบลหนองหอย เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่เฉลี่ยกว่า ๓ ตารางกิโลเมตร บนแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน  


ตามตำนานเล่าขานของล้านนา

พญามังราย ทรงสร้างเวียงกุมกามเพื่อเป็นศูนย์กลางของล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สันนิษฐานว่าเป็นเมืองที่สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.๑๘๒๙ มีความสัมพันธ์กับอาณาจักรหริภุญชัยในฐานะชุมชนโบราณแห่งหนึ่งที่ขยายตัวเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรล้านนา ในเวลาต่อมา เวียงกุมกามมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ก่อนที่พญามังรายจะทรงสร้างนครเชียงใหม่ เวียงกุมกามยังคงมีความสำคัญและเป็นเมืองหน้าด่านต่อมาอีกหลายร้อยปี จนกระทั่งยุคเสื่อมของล้านนา พม่าเข้ายึดครองเวียงกุมกาม และถูกน้ำท่วมใหญ่จนถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้างในเวลาต่อมา และเงียบหายไปจากความทรงจำ ปัจจุบันยังคงปรากฎหลักฐานซากวัดร้างทางด้านสถาปัตยกรรม และโบราณคดีจำนวนมากมาย ในระดับต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบันเฉลี่ย ๑.๒ เมตร


DSC01214.jpg



พัฒนาการทางประวัติศาสตร์และโบราณสถานของเวียงกุมกาม

มูลเหตุกำเนิดเวียงกุมกาม เวียงกุมกามกำเนิดขึ้นเพราะพญามังรายทรงประสงค์จะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่แทนที่เมืองหริภุญชัย หลังจากที่พญามังรายยึดครองเมืองหริภุญชัยสำเร็จ พระองค์ประทับที่หริภุญชัยเพียง ๒ ปี ก็แสดงความไม่พอใจจะใช้เมืองหริภุญชัยเป็นเมืองหลวงอีกต่อไป แม้ว่าเมืองหริภุญชัยจะเป็นศูนย์กลางทางการเมือง การค้า ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นเวลาช้านาน ความไม่พอใจในเมืองหริภุญชัย คงเป็นเพราะข้อบกพร่องของตัวเวียงที่สร้างมาประมาณ ๕๐๐ ปี เวียงมีขนาดเล็กและคับแคบ ไม่สามารถขยายตัวเวียงได้ เป็นไปได้ว่าคงเต็มไปด้วยวัสดุและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพื่อความเหมาะสมกับรัฐที่อาณาเขตกว้างขวางขึ้น

พญามังรายจึงหาสถานที่สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ โดยให้เมืองหริภุญชัยมีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางพุทธศาสนา ขณะที่เมืองหลวงแห่งใหม่จะเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการเมือง ซึ่งเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูนเป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีที่ราบติดต่อกันไปเป็นผืนใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ จะสามารถปลูกข้าวได้อย่างกว้างขวาง และยังสามารถทำการค้ากับเมืองทางตอนใต้ได้อย่างสะดวก



DSC01216.jpg



ความรุ่งเรืองของเวียงกุมกาม ในรัชสมัยพญามังราย เวียงกุมกามมีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาจนกระทั่งถึงสิ้นสมัยราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๑๘๓๙ - ๒๑๐๑) ในช่วงระยะเวลาสองร้อยกว่าปีที่เวียงกุมกามมีความเจริญรุ่งเรืองนั้น เป็นผลจากที่ตั้งของเวียงกุมกามซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง (ปิงห่าง) ซึ่งในอดีตแม่น้ำปิง เป็นเส้นทางการคมนาคมสายสำคัญ จะไหลผ่านเวียงเชียงใหม่ เวียงกุมกามและเวียงลำพูน และไหลไปสู่เมืองทางตอนใต้ เมืองที่แม่น้ำปิงไหลผ่านสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวก ทำให้เวียงกุมกามซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมและเป็นเส้นทางผ่านของสินค้า จึงมีฐานะเป็นศูนย์การค้า และส่งผลให้แม่น้ำปิง (ปิงห่าง) เปรียบเสมือนเส้นชีวิตของเวียงกุมกามที่ทำให้เวียงกุมกามกำเนิดและเจริญรุ่งเรือง


DSC01217.jpg



ลักษณะทางกายภาพเวียงกุมกาม ลักษณะที่ตั้งและรูปร่างของเวียงกุมกามนั้น จากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและจากการสำรวจร่องรอยของคูน้ำคันดินที่เป็นกำแพงเวียงโบราณที่เหลืออยู่พบว่า เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ ๘๕๐ เมตร ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและกว้างประมาณ ๖๐๐ เมตร แล้วไขแม่น้ำปิงเข้าใส่ไว้ในคูเมือง

แต่ปัจจุบันตื้นเขินลงมากกลายเป็นลำเมืองสาธารณะเล็กๆ โดยมีขอบเขตเป็นวงคล้ายรูปสี่เหลี่ยมและตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่ แต่เนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำดังกล่าวคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๓



DSC01220.jpg


การล่มสลายของเวียงกุมกาม พญามังรายประทับอยู่ที่เวียงกุมกามได้เพียง ๕ ปี เนื่องจากเวียงกุมกามเป็นที่ลุ่ม ปรากฏว่าในฤดูฝนเกิดน้ำท่วมเมืองทุกปี ผู้คนและสัตว์เลี้ยงได้รับความเดือดร้อนมาหลายครั้ง  และน้ำป่าท่วมอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนเดือดร้อนไม่เหมาะจะเป็นเมืองหลวงถาวรได้ จึงทรงแสวงหาสถานที่ที่มีชัยภูมิอันเหมาะแก่การตั้งเมืองใหม่ เพื่อจะให้เป็นศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรล้านนามั่นคงถาวร และหลังจากที่พญามังรายย้ายมาอยู่ในนครเชียงใหม่แล้ว ในที่สุดแม่น้ำปิงก็ท่วมท้นทำลายเวียงกุมกาม

น้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่ ทำให้แม่น้ำปิงเปลี่ยนเส้นทางจากเดิมซึ่งเคยไหลในแนวปิงห่าง คือไหลไปทางด้านตะวันออกของเวียงกุมกาม เปลี่ยนมาไหลทางด้านตะวันตกของเวียงกุมกาม ซึ่งกลายเป็นแนวแม่น้ำปิงในปัจจุบัน อุทกภัยครั้งใหญ่นี้ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมอยู่ใต้ดินตะกอนที่พัดมา จนยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม สภาพวัดต่างๆ เหลือเพียงแต่ซากวิหารและเจดีย์ร้าง ถูกทิ้งร้างอยู่ใต้ดินตะกอนนับร้อยปี ชื่อของ เวียงกุมกาม จึงเป็นเพียงเมืองในตำนานเหมือนกับชื่อเมืองอีกหลายๆ เมือง

สาเหตุที่เวียงกุมกามถูกทิ้งร้าง ไปนานหลายร้อยปี ในช่วง พ.ศ.๒๑๐๑ เป็นต้นมา จากประวัติศาสตร์สันนิษฐานสาเหตุว่า เวียงกุมกามร้างลงไปก่อนหน้าเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่โดยตรง แต่เป็นเพราะผลพวงจากสงครามเวียงกุมกามเป็นพันนาที่อยู่ห่างจากเมืองเชียงใหม่ เพียง ๕ กิโลเมตร เท่านั้น คราวใดที่ผู้รุกรานยกกองทัพตีเมืองเชียงใหม่ ก็มักจะยึดเอาเวียงกุมกามเป็นที่ตั้งทัพและกวาดครัวเป็นกำลังในกองทัพ ต่อมาเมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า (๒๑๐๑) เวียงกุมกามจึงได้ระสำระส่าย ผู้คนหลบหนีไปบ้าง จนกระทั่งเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัดวาอารามและบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด

แล้วต่อมาอีกระยะเวลาหนึ่ง (ที่เป็นเวลานานมากพอที่วัสดุสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของวัดจะเสื่อมโทรมลง และได้พังทลายตกลงมากองอยู่รอบๆ ส่วนฐานบนพื้นดินใช้งานเดิมของวัด) จึงเกิดเหตุการณ์น้ำแม่ปิงท่วมใหญ่ไหลหลากล้นฝั่งพุ่งตรงลงมาผ่านทับพื้นที่เวียงกุมกาม จากการที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแนวโค้งแม่น้ำปิงดังกล่าว ขณะเดียวกันสายน้ำที่ได้พัดพาเอาตะกอนดินและกรวดทรายมาทับถมใหญ่ในคราวเดียว เป็นปริมาตรของตะกอนดินกรวดทรายที่มากมายมหาศาล โดยตลอดทั่วทั้งบริเวณเวียงกุมกาม ซึ่งจมอยู่ใต้ดินในระดับความลึกจากพื้นดินปัจจุบันลงไปเฉลี่ยประมาณ ๑.๕๐ - ๒.๐๐ เมตร จนทำให้เวียงกุมกามล่มสลายและกลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด



รูปภาพที่แนบมา: DSC01214.jpg (2016-6-16 21:06, 98.23 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 61
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NTl8MDJhYWYxMzR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01216.jpg (2016-6-16 21:06, 99.76 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 55
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NjF8MDI5N2ZlN2F8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01217.jpg (2016-6-16 21:08, 98.54 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 58
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NjJ8ZTBlZDAyOWN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01220.jpg (2016-6-16 21:09, 99.9 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 53
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NjN8NWRkZmU1ZmV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01211.jpg (2016-6-16 23:44, 99.76 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 66
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwOTF8ZjI5NDg0YTF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01219.jpg (2016-6-17 22:11, 99.2 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 62
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzODh8OTI3OTA3MGF8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 06:20

DSC01208.jpg


การฟื้นฟูชุมชนเวียงกุมกาม ต่อมาระยะหลังในสมัยธนบุรี เมื่อลำน้ำแม่น้ำปิงได้เปลี่ยนเส้นทางมาไหลผ่านทางด้านตะวันตกของเวียงกุมกามแล้ว ก็ปรากฏหลักฐานชื่อชุมชนในพื้นที่เขตนี้ใหม่ว่า ท่าวังตาล อันหมายถึงชุมชนที่ตั้งบ้านเรือน และทำมาหากินในเขตฝั่งตะวันออกใกล้แม่น้ำปิง ขณะเดียวกันพื้นที่เขตเวียงกุมกามเดิมได้ใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร ทำไร่นาปลูกพืชผักผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการทำสวนลำไยกันมาก หรือปลูกไว้ตามเขตบ้านพักอาศัยแทบทุกหลังคาเรือน การเริ่มมีชุมชนบ้านเรือนขยายตัวออกไปอยู่อาศัยกันมากขึ้นในปัจจุบันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเติบโตขยายตัวของเมืองและชุมชน จากการใช้วิเทโศบาย เก็บผักใส่ซ้า-เก็บข้าใส่เมือง ของเจ้าหลวงกาวิละ (พ.ศ.๒๓๒๔ - ๒๓๕๘) ประมาณระยะเวลาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา


DSC01215.jpg



เวียงกุมกาม อาจจะยังเป็นชื่อที่ยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.๒๕๒๗ ที่ผ่านมานั้น ได้มีการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณเวียงกุมกาม ปรากฏว่าได้พบหลักฐานที่สำคัญและน่าสนใจเป็นอันมาก ซึ่งหลักฐานดังกล่าวเหล่านั้นจะช่วยคลี่คลายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์บางตอน โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างแคว้นหริภุญชัยมาสู่แคว้นล้านนา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลาจารึกที่ขุดค้นพบที่บริเวณแหล่งขุดค้นเวียงกุมกามนี้นั้น เป็นหลักฐานชิ้นที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของอักษรไทย ซึ่งยังไม่ปรากฏพบที่แห่งใดมาก่อน ด้วยเหตุนี้บทความดังกล่าวจึงมุ่งเน้นที่จะแสดงเรื่องราวของเวียงกุมกามให้รู้จัก และแสดงหลักฐานที่สำคัญที่ค้นพบดังกล่าวให้เป็นที่ประจักษ์แจ้งต่อไป

สภาพปัจจุบันของเวียงกุมกาม เวียงกุมกามถูกทำลายลงไปมาก จากรายงานของหน่วยศิลปากรที่ ๔ กองโบราณคดี กรมศิลปากรได้สำรวจไว้ ปรากฏพบร่องรอยแนวกำแพงเมือง ซากโบราณสถานและวัตถุและเศษเครื่องปั้นดินเผามากมาย ดังนั้นจึงได้บูรณะในส่วนที่เป็นซากโบราณสถานขึ้น วัดต่างๆ ในเวียงกุมกาม (โบราณสถานที่ขุดแต่งบูรณะแล้ว) วัดร้าง ๒๔ แห่ง และวัดที่มีพระสงฆ์ ๖ แห่ง รวมพิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกามอีก ๑ แห่ง


DSC01209.jpg



การย้อนรอยประวัติศาสตร์ ณ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนี้ เราจะไปทั้งหมด ๓๐ แห่ง ดังนี้


๑.  วัดเสาหิน  

๒.  วัดศรีบุญเรือง  
๓.  วัดพันเลา  
๔.  วัดหัวหนอง  
๕.  วัดกู่ต้นโพธิ์  
๖.  วัดกู่มะเกลือ
๗.  วัดกู่อ้ายหลาน

๘.  วัดกุมกามหมายเลข ๑  
๙.  วัดกุมกาม    
๑๐.  วัดธาตุน้อย
๑๑.  วัดอีค่าง  

๑๒.  วัดหนานช้าง  
๑๓.  วัดปู่เปี้ย  
๑๔.  วัดกู่ป้าด้อม  
๑๕.  พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม
๑๖.  วัดกู่ขาว  

๑๗.  วัดกุมกามทีปราม  
๑๘.  วัดกุมกามทีปราม หมายเลข ๑ (วัดข่อยสามต้น)  
๑๙.  วัดกู่ไม้ซ้ง   
๒๐.  วัดกู่ริดไม้  
๒๑.  วัดกู่อ้ายสี
๒๒.  วัดกอมะม่วงเขียว  

๒๓.  วัดบ่อน้ำทิพย์  
๒๔.  วัดโบสถ์ (อุโบสถ)  
๒๕.  วัดป่าเปอะ  
๒๖.  วัดพญามังราย  
๒๗.  วัดพระเจ้าองค์ดำ
๒๘.  วัดธาตุขาว
๒๙.  วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ)  (พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุคางเบื้องขวา)           
๓๐.  วัดช้างค้ำ (วัดกานโถม) (พระบรมธาตุเจดีย์)
        

tumblr_mpjrgjDVov1r0sn0fo1_500.png



DSC00187.jpg


ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอเชิญชวนสมาชิกทุกท่านร่วมเดินทางย้อนรอยประวัติศาสตร์ไปด้วยกันในครั้งนี้  ด้วยความเคารพความกล้าหาญของบรรพชนในอดีตกาล...

โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การศึกษาเรื่องราวประวัติพัฒนาการและโบราณสถานของเวียงกุมกามครั้งนี้ จะก่อให้เกิดความภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ที่บรรพชนล้านนาได้สร้างสรรค์ไว้ และเพื่อการเผยแผ่และสืบทอดพระพุทธศาสนาสืบต่อไป อันจะน้อมนำมาสู่การมุ่งมั่นสร้างคุณงามความดีของคนในสังคมปัจจุบัน

ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ มหาราช ว่า


“.....การสร้างอาคารสมัยนี้เป็นเกียรติของคนสร้างผู้เดียว

แต่โบราณสถานนั้น เป็นเกียรติของชาติ

      อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรรักษาไว้

        ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯ แล้ว

            ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย…..”






รูปภาพที่แนบมา: DSC01208.jpg (2016-6-16 21:24, 98.21 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 54
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NjR8ZmU4ODlhNzZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00187.jpg (2016-6-16 21:24, 99.51 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 55
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NjV8MTJkZmQzYzR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01215.jpg (2016-6-16 21:24, 99.8 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 54
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NjZ8M2NhZDk4Nzd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: tumblr_mpjrgjDVov1r0sn0fo1_500.png (2016-6-16 21:31, 8.64 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 53
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5Njd8NGNjM2Q5NTl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01209.jpg (2016-6-17 22:10, 100 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 58
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzODZ8MTJjMTQwNzl8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 06:48

๑. วัดเสาหิน




DSC00686.jpg


วัดเสาหิน ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ของตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ติดต่อกับเขตตำบลท่าวังตาล และตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี อันเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของเวียงกุมกามทางด้านทิศใต้ บริเวณวัดตั้งอยู่บนเนินที่มีพื้นที่ราบลุ่มทางด้านทิศเหนือ และสองข้างด้านตะวันตกและตะวันออก ที่เดิมเคยเป็นที่ลุ่มต่ำทำนา ปัจจุบันมีบ้านจัดสรรอยู่แวดล้อมยกเว้นแนวทางด้านทิศใต้ ด้านหลังวัดห่างออกไปที่เป็นบริเวณที่สูง และเป็นแนวตลิ่งของสายน้ำแม่ปิงแต่เดิมที่เคยไหลผ่านทางด้านแนวทิศเหนือของเวียงกุมกาม

ผังรูปแบบการสร้างวัดเสาหิน วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พระเจดีย์และวิหาร เป็นกลุ่มโบราณสถานที่เป็นสิ่งก่อสร้างดั้งเดิมภายในวัด แต่ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานบันทึกทางประวัติศาสตร์กล่าวถึงการก่อตั้งวัดนี้ในอดีต


DSC00687.jpg



ประตูทางเข้า/ออกด้านหลัง วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00689.jpg



DSC00688.jpg


ศาลาพระแม่กวนอิม มหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) วัดเสาหิน ค่ะ



DSC00691.jpg



DSC00693.jpg



พระเจดีย์ วัดเสาหิน ค่ะ


พระเจดีย์ วัดเสาหิน มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะแบบพม่า โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๕ ที่คนพม่าได้เข้ามารับจ้างสัมปทานตัดไม้ในเขตภาคเหนือ จากความเชื่อว่าเรื่องเทวดาอารักษ์ที่สิงสถิตกับต้นไม้ ประกอบกับความศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าอยู่แล้ว ก็ได้มาซ่อมบูรณปฏิสังขรณ์วัดที่มีสภาพทรุดโทรม ทั้งในเขตเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองสำคัญอื่นๆ ในระยะ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา

ต่อมาในระยะหลังประมาณหลังจากที่พระเจ้ากาวิละ เป็นเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ในระยะต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เดินทางเข้ามาครองเมืองเชียงใหม่หลังจากที่เมืองเชียงใหม่ร้างไปแล้วรวม ๒๐ ปี แต่รูปทรงการประดับตกแต่งในรุ่นก่อนหน้าขึ้นไป จึงไม่อาจทราบหรือสันนิษฐานกันได้ เพราะว่าได้สร้างหรือซ่อมทับเอาของเดิมไว้ภายใน โดยอาจจะขยายขนาด หรือก่อสร้างศิลปะสถาปัตยกรรมในรุ่นหลังมาก็ได้ ดังนั้นการพิจารณารูปทรงโครงสร้าง และลักษณะทางสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่ปรากฏในปัจจุบันล้วนเป็นผลงานการซ่อมเสริมในระยะหลังมาทั้งสิ้น



รูปภาพที่แนบมา: DSC00686.jpg (2016-6-16 21:45, 95.47 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 56
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5Njh8ZjA1YjYyNGR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00687.jpg (2016-6-16 21:45, 98.31 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 54
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5Njl8MzdhZjg2Njl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00688.jpg (2016-6-16 21:46, 99.67 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 54
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NzB8YmU5MGU4Mzl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00689.jpg (2016-6-16 21:46, 99.69 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 54
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NzF8OWI3NGVkZTF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00693.jpg (2016-6-16 21:47, 99.03 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 52
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NzJ8Y2U2YjdiMDN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00691.jpg (2016-6-16 21:47, 99.36 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 48
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NzN8Mjk5NzE0Yjd8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 15:35

DSC00697.jpg


DSC00698.jpg



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำ พระเจดีย์ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00694.jpg



กู่อัฐิ อยู่ด้านข้าง พระเจดีย์ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00699.jpg



DSC00696.jpg



วิหาร วัดเสาหิน เป็นอาคารขนาดค่อนข้างเล็ก ยกพื้นส่วนฐานทำสูงขึ้นมามาก เป็นการป้องกันน้ำท่วม ตัวหัวบันไดเป็นรูปนกการเวกและตัวนรสิงห์ด้านหลัง อิทธิพลศิลปะพม่า ที่เข้าใจว่าซ่อมใหม่ในสมัยเดียวกับพระเจดีย์ประธาน ด้านหน้าวิหาร หันไปทางทิศเหนือค่อนมาทางตะวันออก ไม่ได้หันไปทางทิศตะวันออกตามคติก่อสร้างวัดดั้งเดิม อีกทั้งไม่ได้หันเข้าสู่แม่น้ำปิงห่าง (ทิศใต้ของวัด)

การประดับตกแต่งในส่วนต่างๆ ของวิหาร กล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบเอกลักษณ์ของล้านนาดั้งเดิม กล่าวคือทรงหลังคาทำลดหน้าและหลัง โครงสร้างหน้าแหนบหรือหน้าจั่วแบบม้าต่างไหม มุงกระเบื้องดินขอ ปากนกแก้วหรือปากแล ตกแต่งส่วนปิดส่วนคอสองด้านหน้า ส่วนหน้าแหนบหรือหน้าบันตกแต่งลายไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกแก้ว (แก้วอังวะ) เป็นรูปดอกประจำยาม รวมถึงในส่วนของปีกนกทั้งสองข้าง โก่งคิ้ว หูข้าง ฯลฯ


ปัจจุบันผนังด้านหลังวิหาร มีรอยผุกร่อนแตกร้าว ควรหางบประมาณมาซ่อมบูรณะโดยด่วนต่อไป เนื่องจากผนังด้านหลังวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยล้านนาที่สวยงามมาก ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เคยเสด็จมาทอดพระเนตรภาพจิตรกรรม และที่ผ่านมากรมศิลปากรก็ได้เข้ามาซ่อมและอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมวัดเสาหินนี้ไว้แล้ว แต่ว่ายังไม่เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวกันมากนักค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00694.jpg (2016-6-16 21:54, 99.32 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 55
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NzR8YzM3M2NiMTd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00696.jpg (2016-6-16 21:54, 99.45 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 52
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NzV8MDIxNjZlZjF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00697.jpg (2016-6-16 21:54, 99.17 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 55
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5NzZ8ZDJiZmI2MWV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00698.jpg (2016-6-16 21:54, 97.84 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 58
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5Nzd8NmI5ZDVjNWR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00699.jpg (2016-6-16 21:54, 96.17 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 53
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5Nzh8YzA2OTNlOTJ8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 15:39

DSC00708.jpg



วิหารใหม่ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00702.jpg


อุโบสถ วัดเสาหิน สร้างหันหน้าขวางแนวทิศหน้าวัด คือทิศตะวันตก (เฉียงเหนือ) ค่ะ


ประวัติอุโบสถ วัดเสาหิน ในสมัยพญาสามฝั่งแกน (กษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังราย องค์ที่ ๘) ที่ได้โปรดให้สร้างอุโบสถขึ้นที่วัดหนึ่งทางด้านเหนือของเวียงกุมกาม ซึ่งก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าวัดทางด้านเหนือที่กล่าวถึงนั้นจะเป็นวัดในเขตตัวเวียงกุมกาม หากว่าเป็นวัดนอกเขตเวียงกุมกาม (คนละฝั่งแม่น้ำปิงห่าง) ก็มีอยู่หลายวัด คือวัดศรีบุญเรือง วัดกู่ขาว วัดพันเลา หรือวัดสันป่าเลียง ล้วนอยู่ด้านทิศเหนือของเวียงกุมกามทั้งสิ้น และที่มีการตีความกันในแผ่นป้ายประวัติวัดว่า เสาหิน คือหลักสีมาของอุโบสถนั้นเอง



DSC00704.jpg



DSC00706.jpg



DSC00707.jpg



ฆณฑปเสาหินจำลอง วัดเสาหิน ค่ะ


ฆณฑปเสาหินจำลอง วัดเสาหิน เป็นอาคารชั้นเดียว โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐถือปูนทรงจตุรมุขประยุค ยกพื้นสูง ๑ เมตร ขนาดความกว้างของตัวอาคาร ๘ คูณ ๘ เมตร ความกว้างของฐานด้านนอก ๘๐๘ เมตร ความสูงจากพื้นดินถึงยอดฉัตรประมาณ ๑๕ เมตร ประดับช่อฟ้าใบระกา ดอกปูนปั้นประดับกระจกสี

เสาหินจำลอง รูปทรงแปดเหลี่ยมขนาด ๑๒ นิ้ว สูง ๑.๙๙ เมตร ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๓ เวลา ๑๓.๐๙ น. โดยมีพระญาณสมโพธิเจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ประธานฝ่ายสงฆ์ และได้ทำบุญฉลองสมโภชถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ ก.พ. ๒๕๔๗

มีความสำคัญเกี่ยวกับเวียงกุมกามที่พญามังรายได้ก่อสร้างขึ้นก่อนที่จะไปสร้างเมืองเชียงใหม่ที่อยู่ทิศเหนือของเวียงกุมกาม ตามตำนานเล่าขานของคนโบราณท่านว่า เมื่อเวียงกุมกามล่มสลายไปแล้ว ที่ใดก็ตามถ้ามีเสาหินปรากฏขึ้นในบริเวณอาณาเขตเวียงกุมกาม และมีคนเคารพกราบไหว้บูชา เวียงกุมกามที่ล่มสลายไปแล้วจะฟื้นกลับมามีความเจริญรุ่งเรือง



รูปภาพที่แนบมา: DSC00702.jpg (2016-6-16 21:59, 99.42 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 50
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5Nzl8YjQ0YjM3MjN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00704.jpg (2016-6-16 21:59, 99.58 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 50
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5ODB8YjQ1Njk0YWJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00706.jpg (2016-6-16 21:59, 98.25 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 54
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5ODF8ZmFmMGUyZGF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00707.jpg (2016-6-16 21:59, 92.83 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 56
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5ODJ8MGUxYTA5Y2V8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00708.jpg (2016-6-16 21:59, 99.99 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 54
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5ODN8MjMzYzA4ZjJ8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 15:41

DSC00711.jpg


DSC00712.jpg



รูปพระสีวลีมหาเถระ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00710.jpg


หอธรรม วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00715.jpg



อาคารอเนกประสงค์ วัดเสาหิน ค่ะ


DSC00709.jpg



ศาลาบำเพ็ญบุญ วัดเสาหิน ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00709.jpg (2016-6-16 22:03, 97.95 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 15
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5ODR8Y2UyNjRmMzV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00710.jpg (2016-6-16 22:03, 98.46 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 21
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5ODV8NDI1MDk1NWZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00711.jpg (2016-6-16 22:03, 99.35 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 20
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5ODZ8MGQwMDAwZjF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00712.jpg (2016-6-16 22:03, 98.81 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 25
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5ODd8NjI0MmNiNGN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00715.jpg (2016-6-16 22:03, 98.14 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 23
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5ODh8YzhkM2M0Zjh8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 15:47

๒. วัดศรีบุญเรือง




DSC00902.jpg


DSC00954.jpg



วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่ในเขต ต.หนองหอย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เส้นทางสะดวกที่เดินทางเข้าวัด คือตามเส้นทางเชื่อมระหว่างถนนสายเกาะกลาง กับถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน (๑๐๖) โดยวัดอยู่ใกล้ปากทางเชื่อมถนนสายเกาะกลางฝั่งทิศใต้ สภาพพื้นที่แวดล้อมโดยทั่วไปภายในบริเวณวัดเป็นสิ่งก่อสร้างพุทธศาสนาต่างๆ โดยรอบวัดเป็นบ้านเรือนและเรือกสวนของชุมชน

บริเวณวัดนี้เรียงตัวอยู่ตลอดชายแนวตลิ่งน้ำแม่ปิงสายเดิม (ปิงห่าง) อยู่นอกเขตเวียงกุมกาม เป็นวัดที่ได้รับการฟื้นฟูบูรณะขึ้นมาใหม่ในสมัยหลัง ปัจจุบันเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ จากข้อมูลของท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน (๒๕๔๙) ท่านพระครูสุเทพสิทธิคุณ อดีตเจ้าคณะตำบลหนองหอย ได้ทราบว่ากลุ่มพระเจดีย์และวิหารของวัดสร้างอยู่ในจุดที่ตั้งของพระเจดีย์และวิหารของวัดร้างมาแต่เดิม ซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่คนละฝั่งฟากแม่น้ำปิง (ห่าง) กับเขตตัวเวียงกุมกาม ถือเป็นวัดเขตนอกเมืองด้านทิศเหนือของเวียงกุมกามค่ะ


DSC00929.jpg


ประตูทางเข้า/ออก วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00905.jpg


พระเจ้าทันใจ วัดศรีบุญเรือง ค่ะ  


DSC00911.jpg



DSC01603.jpg



DSC01602.jpg



ศาลาเก๋งจีน วัดศรีบุญเรือง ภายในประดิษฐานรูปพระแม่กวนอิม มหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00902.jpg (2016-6-16 22:06, 97.98 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 25
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5ODl8ZWRmMGFiMmZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00954.jpg (2016-6-16 22:06, 97.2 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 19
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5OTB8NjE0N2YxMWJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00929.jpg (2016-6-16 22:07, 97.21 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 24
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5OTF8MTdhOWE5OTR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00905.jpg (2016-6-16 22:09, 99.38 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 20
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5OTJ8YjQ2MzJkYTN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01602.jpg (2016-6-16 22:10, 99.03 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 19
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5OTN8YThkZmE3Y2R8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01603.jpg (2016-6-16 22:10, 99.44 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 19
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5OTR8ODM2NTc3NmZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00911.jpg (2016-6-16 22:10, 98.58 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 21
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5OTV8ZGEwMjE4ZWR8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 15:51

DSC01573.jpg



พระธาตุเกตุแก้วจุฬามณี วัดศรีบุญเรือง ภิกษุศรัทธาวัดศรีบุญเรืองร่วมสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ในวาระครบ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ค่ะ


DSC00076.jpg


วิหารพระเจ้า ๑๐๘ องค์ วัดศรีบุญเรือง อยู่ด้านหน้าวิหารหลวงค่อนมาทางใต้ค่ะ


DSC00947.jpg


หอพระไตรปิฏก (หอธรรม) วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่ทางด้านหน้าวิหารค่อนมาทางทิศเหนือ ลักษณะเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนมีระเบียงโดยรอบ หลังคาทรงหน้าจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินเผาตอนบน และมีหลังคาคลุมส่วนระเบียงรอบทั้งสี่ด้านค่ะ


DSC00931.jpg


ผาสุกวิหารครูบาศรีวิชัย วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00074.jpg


DSC01585.jpg



วิหารพ่อขุนมังรายมหาราช วัดศรีบุญเรือง สร้างถวายพระราชมารดา คือพระนางเทพคำขยาย ในปี ๑๘๕๐ แล้วพระครูสุเทพกิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดท่านทรงมาบูรณะใหม่ อยู่ด้านข้างวิหารพระเจ้า ๑๐๘ องค์ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00947.jpg (2016-6-16 22:13, 97.96 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 21
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5OTZ8ZjNmYTEzMjN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01573.jpg (2016-6-16 22:13, 99.92 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 20
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5OTd8YzI0NmYzOWV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00076.jpg (2016-6-16 22:14, 98.79 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 25
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDU5OTl8ODY5ZGE0ZGZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00074.jpg (2016-6-16 22:14, 99.81 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 20
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMDB8YjI0MTM2Zjl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00931.jpg (2016-6-16 22:14, 98.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 19
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMDF8MWQ0MTcyZTV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01585.jpg (2016-6-16 22:16, 98.81 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 16
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMDJ8MjczOTQ3YzB8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 15:59

DSC01576.jpg



DSC01584.jpg



วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


วิหาร วัดศรีบุญเรือง เป็นอาคารหลังคาหน้าจั่วมีส่วนปีกนก ๒ ข้าง ขนาดค่อนข้างใหญ่ สร้างก่ออิฐถือปูนยกพื้นสูง ไม่มีการทำย่อเก็จลดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บันไดทางขึ้นลงหลักมี ๒ แห่ง คือทางตอนกลางในส่วนใต้จั่วหลังคาด้านหน้า และบันไดด้านข้างตอนกลางทิศเหนือที่ทำมุขมีหลังคายื่นออกมาเล็กน้อย

บันไดทั้ง ๒ สองแห่งตกแต่งตัวบันได ๒ ข้างเป็นรูปพญานาคปูนปั้นทาสี และประดับกระจกรวมถึงดินเผาเคลือบสีต่างๆ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ ตกแต่งแผ่นปูนปั้นแบบรูปพญานาคในส่วนปั้นลมและหางหงส์

ในส่วนหน้าบันที่อื่นๆ ตกแต่งลวดลายปูนปั้นแบบพรรณพฤกษาก้านขด-ดอกลาย มีทั้งแวดล้อมองค์พระพุทธรูป และรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ รวมถึงการทาสีและประดับกระจกอย่างสวยงาม เช่นเดียวกับการตกแต่งโขงประตูและโขงหน้าต่างทั้งหมด



DSC01600.jpg


DSC01589.jpg



DSC00935.jpg



พระพุทธรูปประธาน และพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


พระครูสุเทพกิตติคุณ เจ้าอาวาสวัด เปิดเผยว่า สาเหตุที่นำพระพุทธรูปจำนวน ๖ องค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุนับร้อยปีขึ้นแขวนในวิหาร ก็เพื่อป้องกันถูกคนร้ายขโมย ตอนแรกท่านคิดจะทำกรงหรือห้องในวิหารแล้วนำพระพุทธรูปไปเก็บไว้ แต่มาคิดว่าพระพุทธรูปท่านผิดอะไร ทำไมจะต้องทำกรงขัง ต่อมาจึงคิดออกว่าน่าจะนำไปแขวนไว้ข้างบนวิหารเสียเลย โดยใช้เชือกสลิงที่รับน้ำหนักได้มากมารั้ง มีพระหลายขนาด เป็นพระพุทธรูปสิงห์ ๑ เนื้อสำริดอายุนับร้อยปีหายาก ๕ องค์ และพระพุทธรูปแบบยืนปางลีลาอีก ๑ องค์

ซึ่งที่วัดศรีบุญเรืองแห่งนี้เคยถูกแก๊งโจรกรรมพระพุทธรูปเข้ามาโจรกรรมพระไปแล้วหลายครั้ง แต่เป็นพระพุทธรูปใหม่ ส่วนพระพุทธรูปสิงห์ ๑ ไม่ได้ถูกขโมยไป ทางวัดจึงตัดสินใจนำขึ้นแขวนไว้กับเพดานวิหาร ซึ่งหากคนร้ายคิดจะมาโจรกรรมก็จะทำได้ยาก สำหรับพระพุทธรูปดังกล่าวเหลืออยู่ที่วัดศรีบุญเรืองและอีก ๔-๕ วัดเท่านั้น ส่วนวัดอื่นที่เคยมีถูกขโมยไปหมดแล้วค่ะ



DSC00943.jpg



DSC00934.jpg


รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ประดิษฐานภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC01576.jpg (2016-6-16 22:20, 99.74 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 24
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMDN8ZmIyZTc2YzR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01589.jpg (2016-6-16 22:21, 97.03 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 20
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMDV8ZDU1MDliMWJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01600.jpg (2016-6-16 22:21, 99.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 19
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMDZ8NjQ3YWYzYmJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00934.jpg (2016-6-16 22:21, 98.88 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 23
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMDd8OWMwMmNiNDl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01584.jpg (2016-6-16 22:25, 88.37 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 23
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMDh8Y2YyY2ZlMjh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00935.jpg (2016-6-16 22:27, 98.83 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 22
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMDl8Y2RlOTVjZTl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00943.jpg (2016-6-16 22:27, 99.45 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 19
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMTB8ODFlZDUxNDd8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 16:07

DSC00936.jpg


รูปพระอุปคุตมหาเถระ พระอรหันต์ ผู้ปราบพญามารให้ลาภแก่คน ประดิษฐานภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00939.jpg


DSC00945.jpg



ภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00940.jpg


รูปภาพของสมเด็จพระบรมครู หลวงพ่อกบเขาสาริกา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และจิตรกรรมฝาผนังภาพครูบาเจ้าศรีวิชัย ภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ



DSC00941.jpg


พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และจิตรกรรมฝาผนังภาพพุทธประวัติ ภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00942.jpg


รูปภาพของครูบาเจ้าศรีวิชัย และพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ (เรียงจากซ้าย – ขวา) ภายใน วิหารหลวง วัดศรีบุญเรือง ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00936.jpg (2016-6-16 22:29, 99.41 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 14
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMTF8YTdhM2E0MjR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00939.jpg (2016-6-16 22:29, 99.09 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMTJ8YWI4NmVkNTd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00940.jpg (2016-6-16 22:29, 98.52 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMTN8ZDgwZjk0ZmV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00941.jpg (2016-6-16 22:29, 98.53 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMTR8OGNjYzQwNjB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00942.jpg (2016-6-16 22:29, 98.87 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMTV8YzNjOTNmMGZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00945.jpg (2016-6-16 22:29, 98.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 14
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMTZ8YjMxYmMzNDh8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 16:10

DSC00920.jpg


DSC01569.jpg



DSC01567.jpg



DSC00922.jpg



DSC01580.jpg



พระเจดีย์ ประดิษฐานด้านหลัง วิหาร วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


พระเจดีย์และวิหาร วัดศรีบุญเรือง สร้างเป็นแนวต่อเนื่องกันโดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามคติการก่อสร้างเดิม พระเจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร เป็นเจดีย์ทรงมณฑปยอดระฆัง ก่ออิฐถือปูน ที่ผิวภายนอกประดับกระจกสีเหลืองอร่ามตลอดองค์



รูปภาพที่แนบมา: DSC01567.jpg (2016-6-16 22:38, 98.61 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMjJ8NDZlNGZiOTJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01569.jpg (2016-6-16 22:38, 98.71 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMjN8ZGRlMjZmOTF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01580.jpg (2016-6-16 22:38, 99.99 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMjR8OGU4MzAxZDd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00922.jpg (2016-6-16 22:38, 99.56 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMjV8NzlmNjkwNzV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00920.jpg (2016-6-16 22:38, 92.94 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMjZ8ZTdiNGQ2ODZ8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 16:12

DSC00075.jpg



ธัมศาลา พุทธานุภาพ ชุมนุมเทพสถิตย์ พ.ศ. ๒๕๒๓-๔๖ วัดศรีบุญเรือง ค่ะ



DSC00932.jpg



หอระฆัง  วัดศรีบุญเรือง ค่ะ



DSC00946.jpg



บาตรใส่ความชั่ว วัดศรีบุญเรือง ค่ะ


DSC00930.jpg


อาคารเรียนปริยัติศึกษาโรงเรียน วัดศรีบุญเรือง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC00075.jpg (2016-6-16 22:36, 99.24 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMTd8Mzk2NzFkZjB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00930.jpg (2016-6-16 22:36, 99.5 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMTl8ZmJjNzJlODB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00932.jpg (2016-6-16 22:36, 99.2 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMjB8MTRjNmEyODR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00946.jpg (2016-6-16 22:36, 99.66 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMjF8ZGZiZTE2OTJ8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 16:21

๓. วัดพันเลา




DSC01550.jpg



วัดพันเลา ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ฝั่งด้านใต้ติดถนนเส้นทางเชื่อมระหว่างถนนเชียงใหม่-ลำพูน (๑๐๖) กับถนนสายเกาะกลาง ตรงกันข้ามกับสำนักงานทนายความ ขึ้นบัญชีเป็นวัดร้างกรมศาสนา กรมศิลปากรจ้างเหมาเอกชนเข้าไปขุดแต่งในปี พ.ศ.๒๕๔๕ และบูรณะในปี พ.ศ.๒๕๔๖ สภาพพื้นที่โดยรอบเป็นเขตที่อยู่อาศัยของชุมชน โดยทางด้านทิศใต้ใกล้เคียงกับวัด เป็นแนวเส้นทางแม่น้ำปิงสายเก่า (ปิงห่าง) อยู่นอกเขตเวียงกุมกามไปทางทิศเหนือของแม่น้ำปิง ยังไม่ทราบประวัติความเป็นมาที่แน่นอน


DSC01555.jpg


ประวัติวัดพันเลา เป็นวัดร้างชื่อดั้งเดิมที่ชุมชนเรียกสืบทอดต่อกันมา วิเคราะห์จากชื่อวัดที่มีคำว่า พัน นำหน้านั้น น่าจะหมายถึงยศทางทหารหรือขุนนาง ที่เดิมวันนี้อาจจะเป็นวัดในอุปถัมภ์ของนายทหารหรือขุนนางชื่อ เลา วัดนี้ไม่พบหลักฐานการก่อสร้างด้านบันทึกเอกสาร แต่จากรูปแบบการก่อสร้างและลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรม ที่จากการขุดแต่งนั้น ไม่พบพระเจดีย์ วิหาร อันเป็นตัวแทนของสิ่งก่อสร้างประเภทวัดอย่างชัดเจน แต่ข้อมูลในพื้นที่ ระบุว่าส่วนองค์เจดีย์นั้นอยู่ในเขตพื้นที่ของที่ดินอีกแปลงหนึ่งที่ติดกันทางด้านตะวันตก ซึ่งผลของการขุดแต่งในปัจจุบันยังพบส่วนฐานของอาคาร ที่ยังไม่ได้ขุดแต่งต่อเนื่องเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว

จากการจ้างเหมาขุดแต่งวัดพันเลาของกรมศิลปากร ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ นั้น ได้พบซากเหลือของฐานอาคารกระจายตัวอยู่ทั่วบริเวณวัด นับจำนวนอาคารได้ ๑๑ หลัง ที่มีทั้งอยู่ภายในและสร้างติดกับส่วนกำแพง หลักฐานของสิ่งก่อสร้างต่างๆ เหล่านี้ยากต่อการสันนิษฐานรูปแบบการก่อสร้างได้อย่างชัดเจน เพราะมีสภาพพังทลายจากการไถปรับพื้นที่

วัดพันเลา มีกลุ่มศาสนสถานแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือพื้นที่ส่วนแรก เป็นกลุ่มที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก-ตะวันตก และพื้นที่ส่วนที่สอง เป็นกลุ่มที่ตั้งอยู่ในแถบทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ทิศตะวันตกเฉียงใต้ กล่าวได้ว่ามีการบูรณะต่อเติมอย่างต่อเนื่อง นับเป็นวัดที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของเวียงกุมกาม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ก่อนที่จะถูกทิ้งร้างไว้

โบราณวัตถุที่สำคัญที่ขุดพบที่วัดพันเลา ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ คือเศียรพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทอง สูง ๖๗.๓ เซนติเมตร ศิลปแบบเชียงแสน อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ค่ะ



DSC01559.jpg


DSC01564.jpg



DSC01565.jpg



DSC00963.jpg



ฐานอาคารด้านเหนือตอนหน้า พื้นที่ส่วนแรก วัดพันเลา ค่ะ


ฐานอาคารด้านเหนือตอนหน้า พื้นที่ส่วนแรก วัดพันเลา เป็นฐานอาคารที่ซับซ้อนอยู่ต่ำลงพื้นดินปัจจุบันประมาณ ๓๐ เซนติเมตร บริเวณวัดได้รับความเสียหายโดยทั่วไป เนื่องจากการไถปรับพื้นที่ ปัจจุบันซากโบราณสถานสภาพส่วนหนึ่งอยู่ใต้ถนน อีกส่วนหนึ่งยังอยู่ใต้ดินของบ้านราษฏร ทำให้ไม่สามารถศึกษารูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมได้อย่างชัดเจน



รูปภาพที่แนบมา: DSC01550.jpg (2016-6-16 22:41, 97.07 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMjd8ZTJjNmM0NGF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01555.jpg (2016-6-16 22:41, 94.7 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMjh8NmE0OTk2NDZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01559.jpg (2016-6-16 22:45, 92.91 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMjl8ZGEyY2FkNzB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01564.jpg (2016-6-16 22:45, 94.55 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMzB8MGFkOWJhZGN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01565.jpg (2016-6-16 22:45, 93.57 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMzF8YjkzZjljMWR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00963.jpg (2016-6-16 22:45, 97.73 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMzJ8ZTA1ZmUxZmF8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 16:25

DSC00965.jpg


ปล้องไฉนเจดีย์ วัดพันเลา ลักษณะเป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กๆ ค่ะ


DSC00976.jpg


ซากแนวกำแพงแก้ว วัดพันเลา ค่ะ


DSC01557.jpg


เดินตามทางอิฐส่วนซากกำแพงที่เหลืออยู่จะพบบ่อน้ำก่ออิฐรูปโดม ด้านเหนือตอนหน้า วัดพันเลา อยู่ด้านซ้ายติดกับกำแพง เมื่อก่อนจะเป็นสิ่งก่อสร้างก่ออิฐทรงกลมกลวงใน แต่ตอนนี้มีดินและเศษหญ้าอยู่ภายในค่ะ



DSC01553.jpg


DSC01563.jpg



ฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตอนหลัง วัดพันเลา ที่เหลืออยู่กระจัดกระจายภายหลังการบูรณะ พ.ศ.๒๕๔๖ (ฐานอาคารยังจมอยู่ในชั้นทรายแม่น้ำปิงพัดพา) ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC01557.jpg (2016-6-16 22:47, 99.57 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMzN8ZDAzODUxMjJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00965.jpg (2016-6-16 22:47, 99.13 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMzR8ZjI1NTAwYTZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00976.jpg (2016-6-16 22:47, 97.19 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMzV8OGRiMzBhZjh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01553.jpg (2016-6-16 22:49, 94.48 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMzZ8ZDFhOGE2MDJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01563.jpg (2016-6-16 22:49, 98.44 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMzd8MGE4NWY1NWF8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 16:38

๔. วัดหัวหนอง




DSC00991.jpg


วัดหัวหนอง ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของเวียงกุมกาม ชาวบ้านเรียกชื่อวัดตามสภาพภูมิประเทศของหนองน้ำ ซึ่งใกล้กับลำน้ำแม่ปิงสายเดิม (ปิงห่าง) ที่เคยไหลผ่านทางด้านเหนือของวัด สภาพทั่วไปแวดล้อมสวนลำไย ที่นา และบ้านจัดสรร ในปัจจุบันได้รับการขุดแต่ง-บูรณะแล้ว เนื้อที่ของวัดมีจำนวนกว่า ๔ ไร่


DSC00994.jpg


สิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานในเขตวัดหัวหนอง มีกลุ่มโบราณสถานกระจายตัวถึง ๕ กลุ่ม ที่แต่ละกลุ่มมีสิ่งก่อสร้างที่แตกต่างกัน กล่าวคือ


กลุ่มที่หนึ่ง   ตั้งอยู่ในเขตทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ของวัด
กลุ่มที่สอง   ตั้งอยู่ระหว่าง โบราณสถานกลุ่มแรกกับแนวแม่น้ำปิง
กลุ่มที่สาม   อยู่ด้านทิศเหนือ ตั้งอยู่ใกล้ชิดลำน้ำแม่ปิงสายเดิม
กลุ่มที่สี่       อยู่ด้านหลังทิศใต้โขงประตูวัด
กลุ่มที่ห้า     อยู่ทางด้านตะวันออกของกลุ่มที่สี่ จัดเป็นวัดที่มีสิ่งก่อสร้างมากแห่งที่สุดในเขตเวียงกุมกาม


หลักฐานโบราณวัตถุที่พบวัดหัวหนอง คือเศียรพระพุทธรูปหินทรายที่เป็นศิลปะล้านนา-พะเยา, เศียรพระพุทธรูปสำริดอิทธิพลศิลปะสุโขทัย, เศียรพระพุทธรูปสำริดอิทธิพลศิลปะเชียงแสน, เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น, และชิ้นส่วนพระพุทธรูปอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงภาชนะดินเผาประเภทน้ำต้น (คนโฑ) แบบหริภุญไชย, เครื่องถ้วยลายครามของจีน และจารึกอักษรล้านนา (ตั๋วเมือง) บนแผ่นอิฐ ฯลฯ


อนุมานจากหลักฐานสิ่งก่อสร้างต่างๆ วัดหัวหนอง ที่มีจำนวนมากแห่ง และมีรูปแบบแผนผังการก่อสร้างที่สลับซับซ้อนหลายกลุ่มดังกล่าว จึงอาจสมมติฐานได้ว่าวัดหัวหนองน่าจะเป็นวัดหลวงประจำวัง เพราะมีสิ่งก่อสร้างมากแห่งกระจายตัวในกลุ่มใกล้เคียงกัน ซึ่งปัจจุบันยังขุดแต่งไม่หมด โดยเฉพาะการตามหาแนวขอบเขตกำแพงวัดต่างๆ เหล่านี้ล้วนแสดงถึงความสำคัญในอดีตของวัดหัวหนองได้โดยแท้

เรามาเดินสำรวจกลุ่มโบราณสถาน กลุ่มที่สาม อยู่ด้านทิศเหนือ ตั้งอยู่ใกล้ชิดลำน้ำแม่ปิงสายเดิมก่อนนะคะ



DSC00988.jpg


DSC00995.jpg



ซุ้มประตูโขง และแนวกำแพงวัดด้านทิศเหนือ วัดหัวหนอง ค่ะ


แนวกำแพงวัดด้านทิศเหนือ วัดหัวหนอง เป็นช่องทางเข้า/ออกวัด สร้างก่ออิฐถือฉาบปูน มีส่วนฐานและห้องลักษณะร่วมกับวัดล้านนาหลายๆ แห่ง ซึ่งสามารถกำหนดอายุได้ในช่วงเวลาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐

ซุ้มประตูโขง วัดหัวหนอง อยู่ที่กำแพงด้านทิศเหนือ บริเวณท่าน้ำแม่ปิง ที่ฐานประตูประดับลวดลายปูนปั้นอย่างสวยงามมีรูปหงส์  กิเลน ลายดอกไม้ ใบไม้ และลายประจำยามตามชั้นในส่วนย่อเก็จย่อมุมต่างๆ และมีร่องรอยการก่อสร้างทับซ้อนกันค่ะ


DSC00102.jpg



ลายรูปสัตว์หิมพานต์ และประจำยามก้ามปู ซุ้มประตูโขงด้านทิศเหนือ วัดหัวหนอง ค่ะ


DSC00996.jpg


เมื่อเดินผ่านซุ้มประตูโขง จะมีทางเดินปูอิฐสู่บริเวณภายในซากโบราณสถานกลุ่มที่สี่ อยู่ด้านหลัง ทิศใต้โขงประตู วัดหัวหนอง ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00991.jpg (2016-6-16 22:50, 99.94 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwMzh8YjE0YmVlNDV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00994.jpg (2016-6-16 22:51, 99.15 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNDB8YjZmNGExOWV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00988.jpg (2016-6-16 22:52, 95.82 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNDF8NGMzMDU5ZTB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00995.jpg (2016-6-16 22:52, 99.81 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNDJ8NzdlNjU0YjZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00102.jpg (2016-6-16 22:52, 99.37 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNDN8YTY0MzcwZDR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00996.jpg (2016-6-16 22:53, 99.98 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNDR8ZGNlMDI2ZTB8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 17:04

DSC01040.jpg


ซากฐานอาคาร วัดหัวหนอง อยู่ด้านหลัง ซุ้มประตูโขงด้านทิศเหนือค่ะ


DSC01038.jpg


ซากฐานอาคาร โบราณสถานกลุ่มที่สี่ วัดหัวหนอง อยู่ตรงข้ามกับกลุ่มโบราณสถานกลุ่มที่สองค่ะ


DSC01037.jpg


ฐานซุ้มประตู อยู่ติดกับแนวกำแพงแก้วซากฐานอาคาร โบราณสถานกลุ่มที่สี่ วัดหัวหนอง

เดี๋ยวเราจะไปสำรวจกลุ่มโบราณสถาน กลุ่มที่สอง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างโบราณสถานกลุ่มแรกกับแนวแม่น้ำปิงต่อนะคะ


DSC00997.jpg


DSC01000.jpg



กลุ่มฐานอาคารด้านตะวันตก วัดหัวหนอง เป็นฐานวิหาร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือมีทางเดินเชื่อมมณฑปฐานปัทม์สี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จค่ะ


DSC01011.jpg


ด้านบน วิหารด้านตะวันตก วัดหัวหนอง ค่ะ


DSC01002.jpg



ทางเดินเชื่อมวิหารกับมณฑปฐานปัทม์สี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จ ด้านหลัง วิหารด้านตะวันตก วัดหัวหนองนี้ยังมีอาคารเพิ่มต่ออย่างซับซ้อนค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC01040.jpg (2016-6-16 22:56, 99.82 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNDV8MDk3MjE5Njl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01038.jpg (2016-6-16 22:56, 98.54 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNDZ8NWIwMWFkYmJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01037.jpg (2016-6-16 22:56, 99.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNDd8NTAwNWY4NWF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00997.jpg (2016-6-16 22:56, 97.77 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNDh8NmZkZDAxODF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01000.jpg (2016-6-16 22:56, 98.39 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNDl8YmQ3NmQwMDl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01011.jpg (2016-6-16 22:56, 99.69 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNTB8OGQzNTc2MzR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01002.jpg (2016-6-16 22:56, 99.06 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNTF8ZWQ2NDJjNzl8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 17:08

DSC01005.jpg


DSC01007.jpg



ศาลพระภูมิ อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ วัดหัวหนอง ค่ะ


DSC01008.jpg



ทางเดินไปยังกลุ่มโบราณสถาน กลุ่มที่หนึ่ง วัดหัวหนอง ตั้งอยู่ในเขตทางตะวันตกเฉียงใต้ของวัดค่ะ


DSC01009.jpg


ฐานวิหารด้านตะวันตกเฉียงใต้ วัดหัวหนอง เป็นกลุ่มอาคารประธานซึ่งพังทลายหมดแล้ว วิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออกค่ะ


DSC01011.jpg



DSC01010.jpg



ด้านบน ฐานวิหารด้านตะวันตกเฉียงใต้ วัดหัวหนอง เราจะเห็นซากฐานซุ้มประตูและส่วนฐานชุกชีพระประธานที่เหลืออยู่ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC01005.jpg (2016-6-16 23:00, 99.88 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNTJ8MTc4ZmVmNTV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01007.jpg (2016-6-16 23:00, 99.72 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNTN8N2I4OTZiYzJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01008.jpg (2016-6-16 23:00, 99.23 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNTR8ZTA0OTk2ODh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01009.jpg (2016-6-16 23:00, 99.97 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNTV8ZWNjNWNmYjN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01010.jpg (2016-6-16 23:00, 98.96 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNTZ8ZDIxMWM5YWN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01011.jpg (2016-6-16 23:00, 99.69 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNTd8MDk5NzZmNWF8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 17:10

DSC01021.jpg


พระเจดีย์ช้างล้อม วัดหัวหนอง ตั้งอยู่ด้านหลัง วิหารด้านตะวันตกเฉียงใต้ของวัด มีแท่นบูชาอยู่ด้านหน้า-หลังของพระเจดีย์ช้างล้อมด้วยค่ะ  


DSC01014.jpg



พระเจดีย์ช้างล้อม วัดหัวหนอง เป็นลักษณะร่วมกันกับศิลปะสถาปัตยกรรมลังกา ที่รับผ่านเข้ามาทางแคว้นสุโขทัยในระยะต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งการพบหลักฐานเจดีย์สร้างครอบทับซ้อนกัน เช่นเจดีย์ช้างล้อมองค์นี้ น่าจะทำในสมัยพญาสามฝั่งแกน (พ.ศ.๑๙๔๕ - ๑๙๘๕) เป็นต้นมา เพราะล้านนามีสำนักสงฆ์กลุ่มใหม่ (สายวัดป่าแดง) ที่ขัดแย้งกับสำนักสงฆ์กลุ่มเดิม (สายวัดสวนดอก) ค่ะ


DSC01016.jpg


ฐานพระเจดีย์ช้างล้อม วัดหัวหนอง เป็นเจดีย์ลักษณะทรงปราสาทจีน อยู่บนฐานปัทม์ลูกแก้วอกเก้า  มีประติมากรรมรูปช้างมอบในท่าคู้ขาหน้าอยู่ที่ฐาน ถูกซ่อมแซมมาแล้วอย่างน้อยหลายครั้ง จึงทำให้ช้างถูกปิดทับไว้ ปัจจุบันเปิดให้เห็นเฉพาะด้านทิศใต้ค่ะ


DSC01017.jpg



รูปปั้นช้างล้อม พระเจดีย์ช้างล้อม วัดหัวหนอง ค่ะ


DSC01028.jpg



ฐานเจดีย์เล็ก อยู่ด้านทิศใต้ วิหารด้านตะวันตกเฉียงใต้ วัดหัวหนอง ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC01014.jpg (2016-6-16 23:04, 95.88 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNTh8ZDEwNWRjN2N8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01016.jpg (2016-6-16 23:04, 99.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNTl8ZTlhNTMyNjN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01017.jpg (2016-6-16 23:04, 99.31 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNjB8YmNmY2RmMzl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01021.jpg (2016-6-16 23:04, 99.44 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNjF8Y2JiOTA3NjF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01028.jpg (2016-6-16 23:05, 99.43 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNjJ8MTU3YWYwM2J8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 17:14

DSC01031.jpg


เดี๋ยวเราจะมาเดินสำรวจโบราณสถานกลุ่มที่ห้า วัดหัวหนอง ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของกลุ่มที่สี่ เดินตรงมาเรื่อยๆ เลยนะคะ


DSC01033.jpg



พื้นที่ทางตะวันออกติดกับกำแพงวัด วัดหัวหนอง พบซากคูหามากมายและบ่อน้ำ สันนิษฐานว่าเป็นหมู่กุฏิสงฆ์ ในเขตสังฆาวาส ใกล้กันนั้นเป็นเขตพุทธาวาสค่ะ


DSC01035.jpg


ฐานพระเจดีย์ และฐานวิหารด้านตะวันออก วัดหัวหนอง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดเชื่อมต่อวิหาร ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการเสริมพื้นวิหารให้สูงขึ้นและขยายขนาดวิหารค่ะ


DSC01045.jpg


ฐานพระเจดีย์ด้านตะวันออก วัดหัวหนอง อยู่ด้านหลังวิหารค่ะ


DSC01047.jpg



ร่องรอยฐานชุกชีพระประธานเดิม วิหารด้านตะวันออก วัดหัวหนอง ค่ะ


DSC01048.jpg


ด้านบน วิหารด้านตะวันออก วัดหัวหนอง ยังคงเหลือร่องรอยเสาหินของวิหารอยู่ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC01031.jpg (2016-6-16 23:06, 99.44 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNjN8ZDU5NGYxZjd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01033.jpg (2016-6-16 23:06, 98.42 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNjR8MDA3OTU2MjB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01035.jpg (2016-6-16 23:06, 98.79 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNjV8YTBhY2Q1ZTN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01045.jpg (2016-6-16 23:06, 99.36 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNjl8ZGM2Yjg5Yjl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01047.jpg (2016-6-16 23:09, 99.99 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNzB8NGRlNDNlMWV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01048.jpg (2016-6-16 23:10, 97.86 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNzF8ZGQ1N2MwOTF8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 17:18


DSC01052.jpg


ฐานอาคารด้านหน้าวิหารด้านตะวันออก และอุโบสถ ด้านทิศเหนือของวิหาร วัดหัวหนอง บริเวณนี้ได้พบชิ้นส่วนของศิลาจารึกฝักมะขาม นับว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบสถาปัตยกรรมและศิลปะอื่นอีกในบริเวณนี้ แต่อาจถูกทำลายไปแล้วค่ะ


DSC01050.jpg


ฐานอาคารด้านหน้าวิหารด้านตะวันออก  วัดหัวหนอง เข้าใจว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้สร้างเสริมเพิ่มเติมกันมาหลายสมัยค่ะ



DSC01056.jpg



ด้านบน อาคารด้านหน้าวิหารด้านตะวันออก วัดหัวหนอง  มีร่องรอยประตูโขงของอาคารเหลืออยู่ค่ะ


DSC01051.jpg


ฐานอุโบสถ วัดหัวหนอง อยู่ด้านทิศเหนือของวิหารด้านตะวันออกค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC01050.jpg (2016-6-16 23:12, 99.31 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNzJ8ZTEwNGZmYTl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01051.jpg (2016-6-16 23:12, 98.64 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNzN8NDU5ODAyYjN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01052.jpg (2016-6-16 23:12, 99.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 14
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNzR8Y2Y3NDFmMGR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01056.jpg (2016-6-16 23:12, 99.19 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNzV8NzYyYTRmOTF8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 17:43

๕. วัดกู่ต้นโพธิ์




DSC00089.jpg


วัดกู่ต้นโพธิ์ ชื่อวัดชาวบ้านสมัยก่อนเรียกเนื่องจากบริเวณนี้เป็นวัดที่มีต้นโพธิ์ขึ้น แต่ปัจจุบันต้นโพธิ์ตายลงไปแล้ว และมีการปรับไถที่ดินบริเวณวัดกู่ต้นโพธิ์เป็นที่ดินของชาวบ้านแถวนี้ ชาวบ้านก็สร้างบ้านทับที่ดินบริเวณวัดกู่ต้นโพธิ์ ซากโบราณสถานของวัดกู่ต้นโพธิ์เลยสูญหายไปเหลือแต่ซากอิฐเล็กๆ ที่พอจะให้เห็นบ้างค่ะ



DSC00096.jpg



คุณลุงเจ้าของบ้าน ที่อยู่ติดกับเสาป้ายชื่อวัดกู่ต้นโพธิ์ ท่านเล่าว่าเดิมประมาณ ๑๐ กว่าปีมาแล้วที่บริเวณวัดกู่ต้นโพธิ์ถูกไถปรับถมที่ดินเพื่อเป็นที่ดินของชาวบ้านค่ะ  


DSC00092.jpg



DSC00095.jpg


บริเวณที่ต้นโพธิ์ถูกปลูกไว้ อยู่ภายในบ้านคุณลุง ซึ่งก็คือวัดกู่ต้นโพธิ์ค่ะ


DSC00093.jpg


DSC00094.jpg



ร่องรอยซากอิฐ วัดกู่ต้นโพธิ์ ซึ่งถูกทับถมบนพื้นถนนบริเวณหน้าบ้านคุณลุงค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00089.jpg (2016-6-16 23:14, 99.46 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNzZ8MGQ1OTYzOTF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00092.jpg (2016-6-16 23:14, 99.2 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNzd8ZjFhYjk2OTV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00093.jpg (2016-6-16 23:14, 99.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNzh8Yjc4YjU3MzZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00094.jpg (2016-6-16 23:14, 94.57 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwNzl8ZDc4MzZlMGZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00095.jpg (2016-6-16 23:14, 99.79 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwODB8YzYyZjRiYzN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00096.jpg (2016-6-16 23:14, 92.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwODF8MGJjZjRiOWV8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 17:49

๖. วัดกู่มะเกลือ




DSC00078.jpg


วัดกู่มะเกลือ ตั้งอยู่บ้านเสาหิน ตำบลบ้านหนองผึ้ง อยู่ในเขตกำแพงเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออก ห่างจากคูเมืองไปทางตะวันตก ประมาณ ๕๐ เมตร วัดกู่มะเกลือเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกตามต้นมะเกลือใหญ่อยู่บนเนินวัดค่ะ


DSC00081.jpg


ศาลพระภูมิ วัดกู่มะเกลือ ค่ะ


DSC00079.jpg



DSC00082.jpg



ฐานวิหาร วัดกู่มะเกลือ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้ายกเก็จ ๓ ชั้น และด้านหลังวิหารยกเก็จ ๒ ชั้น มีการก่อสร้างทับซ้อนกัน ๒ สมัย

โบราณวัตถุสำคัญที่ขุดพบที่วัดกู่มะเกลือ คือพระพุทธรูปปูนปั้น และชิ้นส่วนพระพุทธรูปสำริด ลักษณะคล้ายวัดปู่เปี้ย วัดอีค่าง และวัดกู่ไม้ซ้ง มีอายุก่อสร้างสมัยล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ค่ะ


DSC00088.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้า วิหาร วัดกู่มะเกลือ มีการปูอิฐเป็นรูปครึ่งวงกลมค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00078.jpg (2016-6-16 23:18, 99.05 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwODJ8YzgxYmU2Zjd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00079.jpg (2016-6-16 23:18, 95.27 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwODN8MDY2NDhlNGN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00081.jpg (2016-6-16 23:18, 98.51 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwODR8MzE2YmVkY2N8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00082.jpg (2016-6-16 23:18, 98.6 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwODV8ZmMzMDUwM2R8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00088.jpg (2016-6-16 23:18, 95.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwODZ8YWMzZGFlZjB8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 17:51

DSC00083.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน
วิหาร วัดกู่มะเกลือ ค่ะ



DSC00087.jpg



ฐานพระเจดีย์ และฐานวิหาร วัดกู่มะเกลือ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันค่ะ



DSC00084.jpg



ฐานพระเจดีย์
วัดกู่มะเกลือ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกของวัด คงเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐาน เป็นฐานหน้ากระดาษ ๒ ชั้น เหนือฐานปัทม์ขึ้นไปพังทลายหมดแล้วค่ะ  



DSC00086.jpg



กำแพงแก้ว วัดกู่มะเกลือ อยู่ด้านทิศตะวันตกของพระเจดีย์ คงเหลือหลักฐานยาวประมาณ ๖ เมตร และซากโบราณสถานส่วนฐานอาคาร วัดกู่มะเกลือ ที่ปกคลุมด้วยหญ้าเต็มไปหมดค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00083.jpg (2016-6-16 23:20, 98.48 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwODd8MDlkYjdiZGZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00084.jpg (2016-6-16 23:20, 98.92 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwODh8OWE4MTZmYmF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00086.jpg (2016-6-16 23:20, 94.21 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwODl8NzZjZWUxNjZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00087.jpg (2016-6-16 23:20, 99.77 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwOTB8M2EwZTE2ZTl8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-9-16 17:59

๗. วัดกู่อ้ายหลาน




Resize-of-DSC00815.jpg


วัดกู่อ้ายหลาน ตั้งอยู่บ้านช้างค้ำ ต.ท่าวังตาล ทางทิศเหนือในเขตเวียงกุมกาม ห่างแม่น้ำปิงสายเดิม (ปิงห่าง) ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑๐๐ เมตร ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้วค่ะ



Resize-of-DSC00816.jpg



ทางเข้า/ออก วัดกู่อ้ายหลาน และวัดกุมกามหมายเลข ๑ เราก็จะเห็นซอยเล็กๆ ติดกับกำแพงใหญ่บ้านคนค่ะ


Resize-of-DSC00831.jpg


Resize-of-DSC00817.jpg



ทางเข้า/ออก วัดกู่อ้ายหลาน อยู่ด้านซ้ายของซอย จะมีหญ้าขึ้นเต็มไปหมด เราก็เดินตามรอยทางหญ้าที่ถูกเหยียบแล้วเข้าไปในวัดกู่อ้ายหลานเลยนะคะ


Resize-of-DSC00818.jpg



ฐานพระเจดีย์ใหญ่ และวิหาร วัดกู่อ้ายหลาน ค่ะ


Resize-of-DSC00821.jpg



ฐานพระเจดีย์ใหญ่ที่เหลืออยู่
วัดกู่อ้ายหลาน ลักษณะของเจดีย์เป็นแบบสมัยล้านนาคล้ายกับเจดีย์กู่ป้าด้อมและวัดหัวหนอง ซึ่งสร้างในพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ และมีแท่นบูชา ๓ แท่นรอบพระเจดีย์ค่ะ



Resize-of-DSC00823.jpg



กำแพงแก้ว ที่สร้างไว้ล้อมรอบวิหารและเจดีย์ แต่เมื่อถูกน้ำท่วมพังทลายลงมาแล้วก็เหลือแต่ฐานกำแพงแก้ว จากเอกสารกล่าวว่ากำแพงแก้วที่เหลืออยู่เหลือเฉพาะทางด้านทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือ ค่ะ


Resize-of-DSC00826.jpg



โขงประตูทางเข้า วิหาร วัดกู่อ้ายหลาน ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่เหลือเฉพาะแต่ส่วนฐาน อยู่ติดกับฐานกำแพงด้านหน้าบันไดขึ้นวิหารค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00815.jpg (2016-6-17 01:24, 99.8 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwOTJ8YTI1NjExNzl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00816.jpg (2016-6-17 01:24, 98.8 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwOTN8M2Y5NDBiYzR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00818.jpg (2016-6-17 01:24, 99.76 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwOTR8NDIxM2FmMDh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00821.jpg (2016-6-17 01:24, 99.74 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwOTV8ZTc4ZDFkOTZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00823.jpg (2016-6-17 01:24, 99.57 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwOTZ8MjQzNGNiNWN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00826.jpg (2016-6-17 01:24, 98.88 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwOTd8MDEwNGY2OGN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00831.jpg (2016-6-17 01:24, 99.36 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwOTh8OTc2YjE0ZTh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00817.jpg (2016-6-17 01:31, 99.52 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYwOTl8MjI2YmIyNzJ8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 01:32

๘. วัดกุมกามหมายเลข ๑




Resize-of-DSC00809.jpg


Resize-of-DSC00812.jpg



วัดกุมกามหมายเลข ๑
ตั้งอยู่ใกล้กับวัดกุมกามในเขตเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออก ไม่ปรากฏประวัติความเป็นมาในตำนานทางประวัติศาสตร์และพงศาวดาร เมื่อกรมศิลปากรดำเนินการขุดพบ และบูรณะแต่งแล้วระหว่าง พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๑๖ จึงได้กำหนดชื่อชัดเจนว่า วัดกุมกามหมายเลข ๑

สำหรับโบราณวัตถุที่ขุดพบที่วัดกุมกามหมายเลข ๑ คือ ชิ้นส่วนพระพักตร์ เม็ดพระศกของพระพุทธรูปปูนปั้นและชิ้นส่วนพระบาทกับพระกรของพระพุทธรูปสำริด พิจารณาจากรูปแบบสถาปัตยกรรมสามารถกำหนดอายุของวัดได้ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ค่ะ


Resize-of-DSC00805.jpg


Resize-of-DSC00801.jpg



ฐานวิหาร วัดกุมกามหมายเลข ๑
หันหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียงตรง แตกต่างจากแผนผังวิหารที่พบในเวียงกุมกาม ซึ่งมักจะหันหน้าวิหารไปด้านหน้า และเจดีย์อยู่ด้านหลังวิหารแต่พังมาหมดแล้ว เหลือเพียงฐานชั้นแรกในบริเวณนี้น่าจะมีส่วนประกอบสถาปัตยกรรมและอาคารอื่นอีก แต่อาจถูกทำลายไปแล้ว หรืออาจจะยังคงถูกฝังไว้ใต้ดินค่ะ


Resize-of-DSC00797.jpg


ฐานพระเจดีย์ วัดกุมกามหมายเลข ๑ อยู่ด้านหลังวิหารค่ะ


Resize-of-DSC00802.jpg



แท่นบูชา วัดกุมกามหมายเลข ๑ อยู่ด้านหลัง พระเจดีย์ ลักษณะเป็นฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กๆ ค่ะ


Resize-of-DSC00800.jpg



กำแพงแก้ว ที่สร้างล้อมรอบวิหารและเจดีย์ วัดกุมกามหมายเลข ๑ ค่ะ


Resize-of-DSC00808.jpg


ร่องสายน้ำปิงเดิม ก่อนที่จะเปลี่ยนเส้นทางไปหลังจากน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งนั้นค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00797.jpg (2016-6-17 01:32, 99.68 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMDB8OGNiNjhlNzl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00800.jpg (2016-6-17 01:32, 98.43 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMDF8ZWUzMGVmZGJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00801.jpg (2016-6-17 01:32, 96.33 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMDJ8MGQzYzQ4MDV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00802.jpg (2016-6-17 01:32, 99.68 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMDN8ZTM3Yzg1NDh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00805.jpg (2016-6-17 01:32, 98.75 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMDR8ZTE1MWNhYTl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00808.jpg (2016-6-17 01:32, 99.31 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMDV8NmMyY2RkN2V8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00809.jpg (2016-6-17 01:32, 98.72 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMDZ8M2JkYmJjNDl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00812.jpg (2016-6-17 01:32, 98.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMDd8YjZjNjk5M2R8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 01:40

๙. วัดกุมกาม




Resize-of-DSC00796.jpg



วัดกุมกาม แต่เดิมบริเวณนี้เป็นที่ดินขนาดใหญ่ และมีการบุกรุกสร้างบ้านเรือนในเนินดิน ปีพ.ศ.๒๕๒๙ กรมศิลปากรได้เข้าดำเนินการขุดแต่ง

โบราณวัตถุที่สำคัญในการขุดพบที่วัดกุมกาม คือ ชิ้นส่วนพระพุทธรูปทำจากปูนปั้นศิลา และชิ้นส่วนพระพุทธรูปทำจากปูนปั้นสำริด ชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น ส่วนพระศกพระพุทธรูปจำนวนมาก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖-๘ เซนติเมตร แสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในวัดนี้มีขนาดใหญ่มาก พิจารณาจากสถาปัตยกรรม สามารถกำหนดอายุของวัดได้ว่าอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ค่ะ


Resize-of-DSC00790.jpg



Resize-of-DSC00793.jpg



ฐานวิหาร  วัดกุมกาม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารขนาดใหญ่ ที่มีขนาดใหญ่กว่าวิหารของวัดกุมกามหมายเลข ๑ มากค่ะ


Resize-of-DSC00792.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดกุมกาม ลักษณะเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม อยู่ด้านหลังวิหารค่ะ



Resize-of-DSC00791.jpg



ฐานมณฑป วัดกุมกาม เป็นซากโบราณสถานฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดกุมกามค่ะ


Resize-of-DSC00794.jpg



ภาพซ้าย คือ ฐานวิหาร และฐานพระเจดีย์ และภาพขวา คือ ฐานมณฑป วัดกุมกาม ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00790.jpg (2016-6-17 01:41, 99.87 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMDh8Yjg5NTkwNTZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00791.jpg (2016-6-17 01:41, 99.78 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMDl8Y2M2MGUwNjd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00792.jpg (2016-6-17 01:41, 98.43 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMTB8ZDY0MDcyYzR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00793.jpg (2016-6-17 01:41, 99.23 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMTF8YmJlMzkxZTB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00794.jpg (2016-6-17 01:41, 92.73 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMTJ8NWFiMzY2Yzl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC00796.jpg (2016-6-17 01:41, 99.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMTN8Y2Q3ZWIzYWV8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 01:47

๑๐. วัดธาตุน้อย




Resize-of-DSC01256.jpg


Resize-of-DSC01255.jpg



วัดธาตุน้อย ตั้งอยู่ปากทางเข้าด้านตะวันตกวัดกานโถม (ช้างค้ำ) สามารถเดินทางเข้าถึงอย่างสะดวก ตามเส้นทางที่แยกมาจากถนนที่เชื่อมถนนเกาะกลาง และถนนเชียงใหม่-ลำพูน (ต้นยาง) เข้ามาในหมู่บ้านช้างค้ำ หมู่ ๑๑ ของตำบลท่าวังตาล สภาพพื้นที่โดยรอบเป็นเขตที่อยู่อาศัยของชุมชน วัดน้อยได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๑๐๘ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ ค่ะ



Resize-of-DSC01259.jpg



ฐานวิหาร วัดธาตุน้อย สร้างก่ออิฐถือปูน ฐานเป็นแบบปัทม์หรือฐานบัวทำย่อเก็จลดด้านหน้าและหลัง  เป็นวิหารแบบโถง พื้นปูอิฐเต็มที่ โครงสร้างเสาปรากฏร่องรอยเสาเดิมเป็นแบบก่ออิฐสูงขึ้นไป

ผังการก่อสร้างวัดธาตุน้อย พบว่า วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือเข้าสู่สายน้ำปิงห่าง โดยมีพระเจดีย์เป็นสิ่งก่อสร้างหลัก และมีวิหารสร้างตั้งอยู่ทางด้านหน้า องค์พระเจดีย์เหลือหลักฐานเฉพาะเพียงส่วนฐานเขียงก่ออิฐทรงสี่เหลี่ยมสูงตอนล่าง และมีร่องรอยการก่ออิฐตอนบนเป็นชั้นไม่ชัดเจนค่ะ


Resize-of-DSC01263.jpg



Resize-of-DSC01260.jpg



Resize-of-DSC01261.jpg



ส่วนด้านหลัง ฐานวิหาร วัดธาตุน้อย รูปแบบการก่อสร้างวิหารปรากฏส่วนที่เรียกว่า มูลคันธกุฎี อันเป็นสถานที่ประดิษฐานพระประธานแบบมีผนัง ลักษณะเดียวกับวิหารของบางวัดในเขตเมืองศรีสัชนาลัย-สุโขทัย รวมถึงวัดพระธาตุปูเข้า-สามเหลี่ยมทองคำในเขตเวียงสบรวกค่ะ


Resize-of-DSC01257.jpg



ฐานพระเจดีย์ ประดิษฐานด้านหลัง วิหาร วัดธาตุน้อย ค่ะ


รูปแบบพระเจดีย์ วัดธาตุน้อย เป็นทรงมณฑปแบบเจดีย์ ๕ ยอด เช่นเดียวกับเจดีย์วัดเชียงยัน-ลำพูน เจดีย์พระธาตุสองพี่น้อง(องค์พี่) เวียงปรึกษา และเจดีย์วัดป่าสักเมืองเชียงแสน ที่มีระยะเวลาก่อสร้างในรุ่นต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งวิเคราะห์จากชิ้นส่วนปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมที่พบจากการขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ ที่เป็นปูนปั้นรูปบัวกลุ่มหัวเสากรแบบซุ้มนั้น เป็นรูปแบบเก่าของเจดีย์ทรงมณฑปล้านนา แต่รูปแบบการก่อสร้างของเจดีย์ วัดธาตุน้อย อาจจะรับนำมาก่อสร้างในระยะหลัง เพราะหากพิจารณาร่วมกับทิศทางการหันหน้าวัดที่สร้างหันหน้าเข้าสู่แม่น้ำปิงสายเดิมนั้น จัดว่าเป็นวัดที่สร้างหรือซ่อมเสริมในระยะหลัง โดยเฉพาะสมัยที่เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางราชธานีของรัฐสมัยล้านนาแล้ว



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01255.jpg (2016-6-17 01:48, 99.92 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMTR8MTk3YjU4NjR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01256.jpg (2016-6-17 01:48, 99.14 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMTV8ZTFiZGRlODR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01257.jpg (2016-6-17 01:48, 98.72 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMTZ8ZjNhYTA3YTF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01259.jpg (2016-6-17 01:48, 99.65 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMTd8MDlhYWE5OTF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01260.jpg (2016-6-17 01:48, 99.4 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMTh8ZjhiYjA2M2J8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01261.jpg (2016-6-17 01:48, 99.2 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMTl8NjYyMzZjOGZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01263.jpg (2016-6-17 01:48, 99.95 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMjB8Yjk4OGYxZTB8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 01:57

๑๑. วัดอีค่าง




DSC01225.jpg



วัดอีค่าง ตั้งอยู่ห่างจากวัดปู่เปี้ยออกมาทางทิศตะวันออก ระยะห่างกันประมาณ ๒๕๐ เมตร สถานภาพเป็นวัดร้างในบัญชีของกรมศาสนา แวดล้อมด้วยเขตที่ดินของเอกชน บริเวณวัดก่อนเข้าดำเนินงานขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ สภาพเป็นป่ารกชัฏมีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นเจริญเติบโตหนาแน่น หลังจากดำเนินการขุดแต่ง-บูรณะแล้วเสร็จ พบว่าสิ่งก่อสร้างมีสภาพโดยทั่วไปพังทลายเสียหาย พื้นที่โดยรอบเป็นเขตสวนลำไยและเขตที่อยู่อาศัยของชาวบ้านค่ะ


DSC01230.jpg



ประวัติวัดอีค่าง
วัดอีค่างสร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือ ที่เดิมเป็นเส้นทางการไหลของแม่น้ำปิง ไม่ปรากฏหลักฐานด้านเอกสารกล่าวถึงวัดนี้ แต่เข้าใจว่าต้องเป็นวัดสำคัญมากแห่งหนึ่งของเวียงกุมกาม เพราะว่าสิ่งก่อสร้างภายในบริเวณวัดล้วนมีขนาดใหญ่ ทั้งพระวิหารและพระเจดีย์ อีกทั้งการที่ที่ตั้งของวัดอยู่ในเขตกึ่งกลางเวียงและมีการก่อสร้างในส่วนพระเจดีย์-วิหาร ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเวียงกุมกาม จึงอาจเข้าลักษณะคติการสร้างวัดมหาธาตุประจำเมือง

ที่เรียกชื่อว่าวัดอีค่าง เนื่องมาจากแต่เดิมที่บริเวณวัดมีสภาพเป็นป่ารกร้างนั้น ได้มีฝูงค่างใช้ซากวัดร้างแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งค่างในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า อีก้าง (นางค่าง) ชาวบ้านจึงเรียกวัดร้างแห่งนี้ว่าวัดอีก้างกันสืบต่อกันมา



DSC01231.jpg



ผังบริเวณวัดอีค่าง ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างต่างๆ คือ พระเจดีย์ ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารค่ะ  


ฐานวิหาร ขนาดใหญ่ (ฐานเฉลี่ย ๑๓.๕๐ คูณ ๒๐.๐๐ เมตร) สร้างก่ออิฐสอดินฉาบผิวด้วยปูนขาว คงเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐานที่สร้างยกพื้นสูง เดิมเป็นวิหารแบบโถง (ไม่มีผนัง) หลังคาทรงหน้าจั่ว โครงสร้างเสาประกอบด้วย เสากลมก่ออิฐทรงโค้งของคู่กลาง ที่ใช้รองรับเครื่องหลังคาในส่วนแนวใต้จั่ว และเสาคู่ริมที่รองรับเครื่องหลังคาในส่วนปีกนก


DSC01251.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้า วิหาร วัดอีค่าง เป็นบันไดทางขึ้น-ลงหลักทางด้านหน้าตอนกลางวิหารที่มีตัวบันได ๒ ข้างชำรุด จึงได้มีการสร้างสะพานไม้เชื่อมแทนเพื่อรักษาบันไดเก่าเอาไว้ค่ะ



DSC01249.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้า มุมทิศตะวันออก และรูปปั้นตัวมกรคายพญานาค ๕ เศียร วิหาร วัดอีค่าง ค่ะ


DSC01235.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านข้าง ในส่วนย่อเก็จตอนหน้า (ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ) วิหาร วัดอีค่าง ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC01225.jpg (2016-6-17 01:58, 99.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMjF8NjFjNDhhZDN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01231.jpg (2016-6-17 01:58, 99.33 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMjJ8NDE2ZTQ2Mzh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01230.jpg (2016-6-17 01:58, 99.63 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMjN8YTU3Mjg4MWV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01251.jpg (2016-6-17 01:59, 99.7 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMjR8MjIxZWIxY2Z8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01249.jpg (2016-6-17 01:59, 95.78 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMjV8ODM3OTgxMzR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01235.jpg (2016-6-17 02:07, 94.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMzN8OTk1MDljNjV8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 02:03

DSC01238.jpg



พระเจดีย์
วัดอีค่าง เป็นทรงระฆังกลมแบบมาตรฐานล้านนาแท้ ตั้งอยู่บนฐานลานปทักษิณสูง และปรากฏร่องรอยแท่นฐานศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปตอนบน ๓ ด้าน ยกเว้นส่วนที่เป็นด้านหลังวิหารค่ะ

องค์เจดีย์ในส่วนฐานล่าง เป็นแบบเขียงสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ชั้นหน้ากระดาน ๘ เหลี่ยม รองรับส่วนฐานปัทม์ย่อเก็จ ๒ ตอนที่ท้องไม้ประดับชั้นบัวคว่ำ (ตอนล่าง) และบัวหงาย (ตอนบน)

ส่วนองค์ระฆังเจดีย์ ตั้งอยู่บนชั้นมาลัยเถากลม แบบชั้นฐานปัทม์ท้องไม้ลูกแก้วอกไก่คู่ บัลลังก์เป็นแบบแท่นฐานปัทม์สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ปัจจุบันส่วนของก้านฉัตร ปล้องไฉน และปลียอดพังทลายลงมาไม่เหลือหลักฐานแล้ว จัดเป็นเจดีย์ทรงระฆังรูปแบบมาตรฐานของแคว้นล้านนาในระยะพุทธศตวรรษที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๐๐๑-๒๑๐๐) ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชุมชนเมืองสำคัญต่างๆ ของล้านนา โดยมีต้นแบบที่สำคัญคือ องค์เจดีย์พระธาตุหริภุญไชย กล่าวคือ มีลักษณะเด่นอยู่ที่ส่วนองค์ระฆัง ที่ตั้งอยู่บนชั้นมาลัยเถาสูงหลายชั้น และมักจะมีฐานปัทม์แบบย่อเก็จรองรับไว้เสมอ แต่เจดีย์ประธานวัดอีค่างนี้แตกต่างไปจากเจดีย์องค์อื่นๆ คือการทำชั้นหน้ากระดาน ๘ เหลี่ยมรองรับส่วนฐานปัทม์ย่อเก็จ (รูปแบบเดิมอาจจะเป็นเจดีย์ทรง ๘ เหลี่ยม)



DSC01233.jpg



ส่วนแท่นฐานชุกชีพระประธาน วัดอีค่าง ลักษณะย่อเก็จออกมาทางด้านหน้า ตั้งอยู่ด้านหลังตอนบนทับซ้อนกับส่วนฐานลานปทักษิณของพระเจดีย์ค่ะ


DSC01243.jpg


แท่นบูชา อยู่รอบทั้งสี่ทิศ พระเจดีย์ วัดอีค่าง ค่ะ


DSC01236.jpg


ฐานอาคาร ฝังตัวอยู่ใต้ระดับดินเดียวกับวิหารทางด้านทิศตะวันออกใกล้วิหาร วัดอีค่าง ขุดแต่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ ค่ะ


DSC01237.jpg


กำแพง วัดอีค่าง ขุดตรวจพบใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ ค่ะ



DSC01234.jpg


DSC01247.jpg



ฐานอาคารก่ออิฐ วัดอีค่าง อยู่บริเวณหลังพระเจดีย์ ซึ่งขุดแต่งในปี พ.ศ.๒๕๔๗ (ปัจจุบันยังไม่ได้ขุดแต่งอย่างครอบคลุมพื้นที่ของวัดเดิมทั้งหมด) ค่ะ


DSC01239.jpg



ซากฐานเจดีย์ราย วัดอีค่าง ก่ออิฐฐานทรง ๘ เหลี่ยมค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC01238.jpg (2016-6-17 02:03, 99.47 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMjZ8ZDdkZDgzNDV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01243.jpg (2016-6-17 02:03, 98.4 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMjd8ODQ3MTJiYzh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01233.jpg (2016-6-17 02:04, 99.43 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMjh8MmE3ZTlhMmN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01247.jpg (2016-6-17 02:05, 97.46 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMjl8N2M0NDA1MWZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01234.jpg (2016-6-17 02:05, 98.83 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMzB8NzViODFhZWJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01236.jpg (2016-6-17 02:05, 98.88 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMzF8MTE5NDNhNDJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01237.jpg (2016-6-17 02:06, 99.34 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMzJ8NjAxODBjZmF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01239.jpg (2016-6-17 02:10, 98.11 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMzR8MGY3MjU4OTF8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 02:13

๑๒. วัดหนานช้าง




Resize-of-DSC01296.jpg



Resize-of-DSC01298.jpg



Resize-of-DSC01297.jpg



วัดหนานช้าง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สวนลำไยของเอกชน ระหว่างกลางกลุ่มโบราณสถาน วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดปู่เปี้ย วัดธาตุขาว และวัดอีค่าง ในระยะที่ผ่านมากรมศิลปากรใช้เงินงบประมาณซื้อที่ดินบริเวณวัด พร้อมกับได้ดำเนินการขุดแต่ง-บูรณะโบราณสถานที่เป็นซากเหลืออาคารสิ่งก่อสร้างของวัดนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๗ ค่ะ


ประวัติวัดหนานช้าง เป็นชื่อที่เรียกกันใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ โดยตั้งตามชื่อเดิมของเจ้าของที่ดินบริเวณวัด (บางท่านเรียกว่าวัดปิงห่าง) สภาพก่อนดำเนินงานขุดแต่งพบเพียงเนินดินปรากฏเศษและแนวก่อเรียงอิฐกระจัดกระจาย หลังการขุดแต่งจึงพบว่าใต้ดินลึกลงไปเฉลี่ย ๒ เมตรนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างและอาคารประเภทต่างๆ ของวัดจำนวนร่วม ๑๐ แห่ง แม้ว่าวัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงในเอกสารบันทึกทางประวัติศาสตร์ แต่หากพิจารณาจากรูปแบบการก่อสร้างและลักษณะทางสถาปัตยกรรมต่างๆ แล้ว อนุมานว่าคงก่อสร้างเป็นวัดขึ้นแล้วตั้งแต่สมัยที่รัฐล้านนารุ่งเรือง (ยุคทอง) ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑


Resize-of-DSC01301.jpg



เดี๋ยวเรามาเดินสำรวจบริเวณวัดหนานช้างกันเลยนะคะ  



Resize-of-DSC01305.jpg



ศาลาชั้นดินทางโบราณคดี  วัดหนานช้าง สร้างหลังคาคลุมชั้นดินเอาไว้บังฝนและแดด เพื่อรักษาไม่ให้ชั้นดินได้รับความเสียหายค่ะ


ชั้นดินทางโบราณคดี วัดหนานช้าง แบ่งออกเป็น ๕ ชั้น ดังนี้

ชั้นดินที่ ๑ เกิดจากการปรับถมพื้นที่ใน พ.ศ.๒๕๔๕ ลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายผสมเศษกระเบื้องดินของมุงหลังคา ชั้นดินนี้พบเฉพาะบริเวณนอกกำแพงวัดด้านทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก

ชั้นดินที่ ๒ แสดงการใช้พื้นที่บริเวณนี้หลังน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่ ลักษณะเป็นดินร่วน ดินเหนียวสีน้ำตาลดำ มีรากไม้และเศษอิฐปะปนชั้นดินนี้หนา ๐.๒๐-๐.๓๐ เมตร

ชั้นดินที่ ๓ ชั้นตะกอนพัดพาจากแม่น้ำปิงเมื่อน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่บริเวณด้านทิศตะวันออกของวัด ซึ่งมีแนวผนังดินกลบอยู่ พบชั้นทรายทับถมหนา ๐.๑๐-๐.๑๕ เมตร

ชั้นดินที่ ๔ เป็นส่วนดินด้านทิศตะวันตกของวัด ชั้นทรายหยาบ ผสมเศษอิฐและเศษกระเบื้องดินของมุงหลังคา โดยทั่วไปชั้นดินหนา ๐.๒๐ เมตร แต่ในตำแหน่งใกล้โบราณสถานชั้นดินนี้มีความหนาตั้งแต่ ๐.๖๐-๑.๐๐ เมตร

ชั้นดินที่ ๕ เกิดจากการขุดทับถมเป็นแนวผนังดิน ลักษณะเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลและมีกลุ่มทรายแทรกปะปนพบเฉพาะด้านทิศตะวันออกของวัด ผนังดินนี้วางตัวในแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ ขนาดฐานกว้าง ๘-๑๐ เมตร สูง ๐.๘๐-๑.๒๐ เมตร สันนิษฐานว่าผนังดินนี้สร้างหลังการสร้างวัดหนานช้าง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ และสร้างก่อนน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่


Resize-of-DSC01304.jpg


Resize-of-DSC01308.jpg



โขงประตู-กำแพงด้านหน้า วัดหนานช้าง ในส่วนของกำแพงวัดนี้ พบว่าสร้างโขงประตูทางเข้าออกหลักทางด้านหน้าตรงแนวกึ่งกลางวิหาร โดยสร้างทางเดินยกพื้นก่ออิฐเชื่อมต่อถึงกัน และพบช่องประตูเล็กเข้าออกมาที่กำแพงวัดด้านข้างซ้ายตอนกลางค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01296.jpg (2016-6-17 02:14, 99.76 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMzV8YTgxMWUzNTN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01297.jpg (2016-6-17 02:14, 99.74 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMzZ8NjE4ZTM1MDh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01298.jpg (2016-6-17 02:14, 99.03 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 16
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMzd8ODE1M2U4YjZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01301.jpg (2016-6-17 02:14, 98.78 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMzh8Y2Y1YjA1ZmJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01304.jpg (2016-6-17 02:14, 99.3 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 15
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxMzl8ODcyNWQzNzF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01305.jpg (2016-6-17 02:14, 98.75 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 18
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNDB8ZDhjMDQ1YTN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01308.jpg (2016-6-17 02:17, 99.42 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 16
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNDF8OWZiMDhlZGV8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 02:21

Resize-of-DSC01307.jpg



Resize-of-DSC01313.jpg



แนวกำแพงวัดด้านหน้า และบ่อน้ำ อยู่ตอนซ้าย ประตูโขง วัดหนานช้าง ค่ะ

บ่อน้ำ วัดหนานช้าง ลักษณะเป็นบ่อน้ำก่ออิฐทรงกลม ซึ่งในเขตบริเวณวัดพบมากถึง ๔ แห่ง



Resize-of-DSC01310.jpg



Resize-of-DSC01315.jpg


ฐานวิหารด้านหน้า วัดหนานช้าง ค่ะ


วิหารด้านหน้า วัดหนานช้าง ลักษณะเป็นอาคารแบบโถง ส่วนฐานก่ออิฐสร้างยกพื้นสูงในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีย่อเก็จลดด้านหน้า ๑ ชั้น โดยพบร่องรอยการฉาบปูนตกแต่งลายช่องกระจกหรือลายเมฆในส่วนท้องไม้ มีบันไดหลักขึ้นลงทางด้านหน้าตอนกลาง และพบบันไดขนาดเล็กด้านหลังตอนซ้าย ที่ยังคงปรากฏตัวหัวบันไดเป็นรูปตัวหางวัน (เหงา) ปูนปั้นอย่างชัดเจน พื้นตอนบนวิหารปูอิฐและฉาบปูน โครงสร้างเสาน่าจะเป็นเสาไม้ที่มีหินธรรมชาติรองตีนเสา แท่นแก้วพระประธานอยู่ตอนหลังวิหาร ส่วนด้านหน้าทำย่อเก็จลดหลายชั้น ตกแต่งลวดลายเครือเถาและรูปสัตว์หิมพานต์ปูนปั้น (ชำรุด) ที่ส่วนท้องไม้


Resize-of-DSC01316.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดหนานช้าง ค่ะ


พระเจดีย์ วัดหนานช้าง แม้ว่าจะเหลือหลักฐานการก่อสร้างเพียงส่วนฐานก่ออิฐฉาบปูนลักษณะเขียงซ้อนกัน ๓ ชั้น และชั้นปัทม์ย่อเก็จเล็กเดี่ยวตอนกลางที่ชิ้นส่วนปล้องไฉนทรงกลม บัลลังก์และชั้นรองรับปล้องไฉนทรง ๘ เหลี่ยม ที่พบร่วงหล่นตกลงมาบนพื้นระดับดินเดิมของวัดในพื้นที่ด้านหลังวิหารตอนขวา ทำให้วินิจฉัยได้ว่ารูปทรงเต็มๆ เดิมของเจดีย์ควรจะเป็นทรงระฆังแบบ ๘ เหลี่ยม ประกอบกับการที่ไม่พบหลักฐานลวดลายปูนปั้น ประเภทลายกรอบซุ้มในจำนวนมากพอ ซึ่งโดยทั่วไปเจดีย์ทรงมณฑป มักทำซุ้มประกอบที่ตอนกลางในส่วนห้องมณฑป


Resize-of-DSC01319.jpg



ลักษณะพิเศษของพระเจดีย์ วัดหนานช้าง คือ การทำเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กที่มุมฐานเขียงตอนล่างทั้ง ๔ มุม ตกแต่งลายปูนปั้นนูนรูปดอกประจำยาม ๔ ด้าน (เหลือร่องรอยหลักฐานเฉพาะองค์ที่อยู่ ๒ มุมด้านหน้า) ตอนกลางติดกับฐานเขียงชั้นแรกของเจดีย์ เป็นที่ตั้งของแท่นบูชา ลักษณะฐานปัทม์ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเว้นทางด้านหน้าที่เป็นมณฑปโถงขนาดย่อม


Resize-of-DSC01323.jpg



ส่วนฐานรองรับเสามณฑปย่อเก็จ ที่ตอนบนมุมทั้ง ๔ ยังมีร่องรอยหลักฐานของปูนฉาบรอบเสา ส่วนก่อสร้างตอนบนพังทลายหมด มีส่วนฐานเขียงประดับเจดีย์เล็กที่มุมทั้งสี่แท่นแก้วค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01313.jpg (2016-6-17 02:21, 98.8 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNDJ8MzRkNWZmYzZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01307.jpg (2016-6-17 02:21, 99.9 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 19
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNDN8NTk5MjYzM2J8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01310.jpg (2016-6-17 02:23, 99.38 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 14
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNDR8YmE1OTgzNDV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01315.jpg (2016-6-17 02:23, 97.9 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 15
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNDV8OWQxNWUwZDh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01316.jpg (2016-6-17 02:23, 98.8 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNDZ8NTIzNzNkN2R8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01319.jpg (2016-6-17 02:23, 99 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 15
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNDd8YTI2NTdmMjB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01323.jpg (2016-6-17 02:23, 99.62 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNDl8ZjUwMTM0ZGN8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 02:28

Resize-of-DSC01321.jpg



Resize-of-DSC01325.jpg



ชิ้นส่วนของปล้องไฉนเจดีย์ และมณฑปเล็กด้านหน้า
วัดหนานช้าง ค่ะ

โบราณวัตถุสำคัญที่พบจากการขุดแต่ง
บริเวณด้านหลังมณฑปเสาสี่ต้น วัดหนานช้าง คือ เครื่องเคลือบเนื้อขาวแบบลายครามสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.๑๙๑๑-๒๑๘๗) ของจีน ที่มีผู้นำมาบรรจุไหใบใหญ่ฝังไว้ในระยะที่วัดได้ร้าง และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้พังทลายลงไปแล้ว จำนวนถึง ๔๓ ใบ (จากทั้งหมด ๕๒ รายการ), ไหบรรจุกระดูก ที่พบฝังไว้ใต้กำแพงวัดด้านข้างซ้าย (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) ใต้ประตูทางเข้า-ออก ลักษณะเคลือบสีเขียว และเคลือบสีน้ำตาล(หลุดร่อน), จานเครื่องเคลือบลายครามฝังตัวตะแคงซ้อนกันรวม ๘ ใบในชั้นตะกอนทรายที่น้ำพัดพามาด้านหน้าโขงวัดฝั่งขวา

แสดงถึงการร้างของเวียงกุมกามในลักษณะที่ผู้คนไม่ได้นำเอาของข้าวเครื่องใช้ติดตัวไป และประการสำคัญเวียงกุมกามได้ร้างลงไปนานระยะหนึ่งก่อนที่น้ำจะพัดพาตะกอนดินและทรายมาทับถม ประมาณช่วงเวลากลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ภายหลังจากที่พม่าเข้ายึดครองล้านนาได้แล้วระยะหนึ่ง


Resize-of-DSC01324.jpg



านอาคารมณฑป วัดหนานช้าง อยู่ด้านหลัง ฐานพระเจดีย์ค่ะ

อาคารมณฑป วัดหนานช้าง เป็นอาคารโถงก่ออิฐผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานเป็นแบบปัทม์ท้องไม้ลูกแก้วอกไก่คู่ที่พบหลักฐานเฉพาะด้านข้างซ้าย ส่วนด้านอื่นๆ เหลือหลักฐานเฉพาะส่วนบัวคว่ำ และท้องไม้ลูกแก้วอกไก่ตอนล่าง ประกอบการขุดแต่งได้ขุดเลยระดับพื้นมณฑปไปมากจนฐานเสาลอย ทำให้ดูเหมือนฐานมณฑปไม่สูง บันไดหลักอยู่ทางด้านหน้าที่พบหลักฐานตัวบันไดเป็นรูปตัวมกร (ชำรุด)


Resize-of-DSC01326.jpg



ตัวบันไดรูปมกรปูนปั้น อาคารมณฑป วัดหนานช้าง ค่ะ


Resize-of-DSC01327.jpg



ด้านบน อาคารมณฑป วัดหนานช้าง ค่ะ


Resize-of-DSC01332.jpg


ฐานอาคารวิหารเล็ก วัดหนานช้าง เป็นอาคารอยู่ด้านหลังตอนซ้ายวิหารค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01321.jpg (2016-6-17 02:28, 99.31 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 15
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNTB8YWNjZWNlZGJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01325.jpg (2016-6-17 02:28, 99.8 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 14
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNTF8MDExY2QyNjd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01324.jpg (2016-6-17 02:29, 99.47 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 15
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNTJ8YzE2M2Q5NWF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01326.jpg (2016-6-17 02:29, 98.2 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 18
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNTN8MmI1Yzk5YjF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01327.jpg (2016-6-17 02:29, 98.5 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 15
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNTR8ZWJhZjQ2YzZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01332.jpg (2016-6-17 02:31, 98.31 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 14
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNTd8ZjMwYzIzNjN8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 02:35

Resize-of-DSC01330.jpg



แนวฐานของกำแพงวัดผ่านใต้ฐานมณฑป วัดหนานช้าง และพบหลักฐานร่องรอยก่ออิฐของกำแพงวัดด้านข้างขาวตอนหลัง (หรืออาจจะขยายออกไปในส่วนที่ขุดแต่งไม่ถึง) ส่วนกำแพงวัดด้านหลังพบร่องรอยหลักฐานชัดเจนเฉพาะที่มุมหลังวัดตอนซ้าย
ค่ะ



Resize-of-DSC01331.jpg


ส่วนแนวกำแพงวัด วัดหนานช้าง จากหลักฐานการขุดแต่งได้พบการขยายพื้นที่วัดด้านหลัง และด้านข้างตอนขวาออกมาค่ะ


Resize-of-DSC01336.jpg



Resize-of-DSC01337.jpg



ฐานอาคารแนวยาวตอนขวา วัดหนานช้าง ค่ะ


Resize-of-DSC01338.jpg



ซากโบราสถานส่วนห้องน้ำ วัดหนานช้าง ค่ะ


Resize-of-DSC01339.jpg



ซากโบราณสถานด้านหลังตอนขวา
วัดหนานช้าง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01330.jpg (2016-6-17 02:36, 99.4 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 16
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNTh8MDNiZWFlOTh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01331.jpg (2016-6-17 02:36, 99.64 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNTl8NzgwYTNlN2Z8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01336.jpg (2016-6-17 02:36, 99.91 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNjB8ZGM0NTgyYzB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01337.jpg (2016-6-17 02:36, 98.69 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNjF8ZWUxYjIxZTJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01338.jpg (2016-6-17 02:36, 99.15 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNjJ8Y2Y0MTU0ZDN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01339.jpg (2016-6-17 02:36, 99.31 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNjN8ZjIwYzIwNTh8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 02:39

๑๓. วัดปู่เปี้ย





Resize-of-DSC01267.jpg



ประวัติวัดปู่เปี้ย ไม่ปรากฏหลักฐานด้านเอกสารใดๆ กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดนี้ แต่สันนิษฐานว่าคงได้สร้างมาแล้ว ตั้งแต่ในสมัยที่เวียงกุมกามเป็นราชธานี (พ.ศ.๑๘๒๙-๑๘๒๘) และร่วมสมัยเอกราชของแคว้นล้านนา (พ.ศ.๑๘๓๙-๒๑๐๑) ในระยะหลังมาความสำคัญของวัดนี้ในปัจจุบันอยู่ที่รูปแบบผังการก่อสร้างวัด และรูปแบบพระเจดีย์ทรงมณฑปมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ วิหารสร้างยกพื้นสูง และอุโบสถที่ปรากฏหลักฐานหลักสีมาหินทรายสีแดงทรงแท่งกลม

ส่วนชื่อวัดปู่เปี้ย เป็นชื่อที่เรียกกันในชั้นหลังจากการที่เวียงกุมกามได้ร้าง ภายหลังจากที่เวียงกุมกามร้างแล้วเกิดอุทกภัยใหญ่ที่น้ำได้พัดพาเอาตะกอนดินและกรวดทรายมาทับถม อันมีผลทำให้แนวแม่น้ำปิงเปลี่ยนเส้นทางการไหลในเวลาต่อมา จนเมื่อได้มีผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยตั้งบ้านเรือนในเขตนี้ระยะหลัง ขณะที่วัดได้ร้างลงไปหมดแล้ว ที่บริเวณวัดนี้แต่เดิมคงมีบ้านของชายชราร่างเล็ก (ที่คำในภาษาท้องถิ่นเรียกว่าปู่เปี้ย) หรือในละแวกวัดนี้เป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านชื่อ เปี้ย จึงเรียกชื่อวัดตามชื่อคนสืบต่อกันมา


Resize-of-DSC01272.jpg


ผังรูปแบบการก่อสร้างวัดปู่เปี้ย ตัววัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามคติดั้งเดิม โดยมีสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เป็นโบราณสถานของวัดประกอบด้วย พระเจดีย์ ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร ส่วนวิหาร วัดปู่เปี้ย สร้างยกพื้นแบบเขียงสี่เหลี่ยมสูง ปรากฏร่องรอยหลักฐานการสร้างทับซ้อนกันสองสมัย กล่าวคือ ในระยะสมัยแรก เป็นวิหารขนาดเล็กที่เป็นแนวการก่ออิฐและโครงสร้างของเสาที่อยู่ภายใน สมัยที่สอง เป็นการขยายขนาดวิหารให้กว้างและยาวออกไปทางตอนหน้าค่ะ


Resize-of-DSC01274.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้าวิหาร วัดปู่เปี้ย ปรากฏเฉพาะทางด้านหน้าตอนกลาง ที่ตัวราวบันไดเป็นรูปหางวันค่ะ


Resize-of-DSC01285.jpg



โครงสร้างเสาวิหาร วัดปู่เปี้ย เป็นแบบ ๒ คู่ คือคู่กลางที่รองรับส่วนแนวในส่วนหน้าจั่ว และคู่ริมที่รองรับส่วนชายคาปีกนกทั้ง ๒ ข้าง แสดงถึงการสร้างทับซ้อนกันสองสมัยค่ะ



Resize-of-DSC01278.jpg



Resize-of-DSC01282.jpg



พระเจดีย์ วัดปู่เปี้ย ค่ะ


ส่วนฐานล่าง พระเจดีย์ วัดปู่เปี้ย เป็นแบบเขียงสี่เหลี่ยม ชั้นหน้ากระดาน และชั้นปัทม์ย่อเก็จ ๒ ตอน ๒ ชั้น ส่วนของห้องมณฑปทำย่อเก็จล้อจากตอนล่างขึ้นไป

ส่วนตอนกลาง พระเจดีย์ วัดปู่เปี้ย เป็นแบบทรงระฆังบนชั้นมาลัยเถาสูงแบบปัทม์ท้องไม้ ๘ เหลี่ยม

ส่วนเหนือขึ้นไป พระเจดีย์ วัดปู่เปี้ย ที่เป็นบัลลังก์ ก้านฉัตร ปล้องไฉน และปลียอดนั้นชำรุดและหมดสภาพไม่เหลือหลักฐานแล้ว


Resize-of-DSC01279.jpg



การศึกษาเปรียบเทียบและกำหนดอายุสมัยวัดปู่เปี้ย พิจารณาว่าระยะแรกน่าจะอยู่ในสมัยแรกสร้างเวียงกุมกาม แล้วในสมัยล้านนาระยะหลังมาคงได้ซ่อมบูรณปฏิสังขรณ์กันเรื่อยมา ดังปรากฏหลักฐานการสร้างทับซ้อนกัน ๒ สมัยในส่วนวิหาร ในส่วนของพระเจดีย์ จากรูปแบบระเบียบการก่อสร้างในส่วนต่างๆ พิจารณาได้ว่าเป็นเจดีย์ทรงมณฑปแบบล้านนาแท้ที่นิยมก่อสร้างกันในระยะพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เปรียบเทียบได้กับเจดีย์วัดหัวหนอง ๗ ลิน (ร้าง)-เมืองเชียงใหม่ แต่ว่าเจดีย์วัดปู่เปี้ยดูเหมือนว่ามีทรวดทรงที่ดูสมส่วนมากกว่า

ลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมของพระเจดีย์ วัดปู่เปี้ย เป็นรูปทรงมณฑป สร้างก่ออิฐสอดินฉาบผิวด้วยปูนขาวโครงสร้างขององค์เจดีย์ก่ออิฐตันเต็มพื้นที่ (ยกเว้นส่วนห้องกรุ) โดยส่วนองค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานลานปทักษิณ มีทางขึ้นที่มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้หลังวิหาร



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01267.jpg (2016-6-17 02:40, 99.94 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNjR8N2Q5NjY2Mzd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01272.jpg (2016-6-17 02:40, 98.36 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNjZ8NmUyZmI3YzZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01274.jpg (2016-6-17 02:40, 98.53 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 16
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNjd8NTBmYjllODF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01285.jpg (2016-6-17 02:41, 98.63 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNjh8ODZkODYyNmN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01278.jpg (2016-6-17 02:42, 99.88 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNjl8NjlmNmMxYTF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01279.jpg (2016-6-17 02:42, 98.78 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNzB8MjdmMDdkYWV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01282.jpg (2016-6-17 02:42, 99.93 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNzF8MzU5ZjlmY2J8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 02:54

Resize-of-DSC01292.jpg



อุโบสถ
วัดปู่เปี้ย ค่ะ


อุโบสถ ตั้งอยู่ใกล้วิหารด้านเหนือ  ด้านหน้าอุโบสถเยื้องไปทางทิศเหนือเล็กน้อยเป็นที่ตั้งของกู่ (เจดีย์ราย) ที่เหลือเฉพาะส่วนฐานทรง ๘ เหลี่ยม และแท่นบูชาที่ใช้วางขันข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน  สร้างก่ออิฐสอดินฉาบปูนขาว และมีหลักสีมาหินทรายสีแดงทรงแท่นกลมปักไว้โดยรอบ ตัวพระอุโบสถขนาดค่อนข้างเล็ก สร้างยกพื้นฐานเตี้ยย่อเก็จทางด้านหน้า ๒ ชั้น และด้านหลัง ๑ ชั้น



Resize-of-DSC01286.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้า อุโบสถ วัดปู่เปี้ย ปรากฏทางด้านหน้าทิศตะวันออกเช่นเดียวกัน ไม่ปรากฏโครงสร้างเสา ผนังก่ออิฐ ที่น่าจะใช้เป็นส่วนรับน้ำหนักของเครื่องหลังคาด้วยค่ะ


Resize-of-DSC01276.jpg


แท่นแก้ว (ฐานชุกชี) พระประธาน อุโบสถ วัดปู่เปี้ย ที่อยู่ด้านหลังซึ่งไม่เหลือหลักฐานขององค์พระประธานแล้วค่ะ


Resize-of-DSC01271.jpg



กู่ (เจดีย์ราย-บรรจุกระดูก/อัฐิผู้อุปถัมภ์หรือพระสงฆ์รูปสำคัญ) และแท่นบูชา อุโบสถ วัดปู่เปี้ย ค่ะ


สภาพหลังการขุดแต่งกู่ วัดปู่เปี้ย พบลักษณะร่องรอยถูกขุดเป็นหลุมตอนกลาง คงเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐาน แบบปัทม์ก่ออิฐดินสอรูปทรง ๘ เหลี่ยม มีส่วนกำแพงระเบียงเหนือขึ้นมาที่ตกแต่งลายช่องปรุเป็นรูปกากบาท ส่วนขององค์เจดีย์ (กู่) พังทลายไม่เหลือหลักฐาน และแท่นบูชา ลักษณะเป็นแบบฐานปัทม์สี่เหลี่ยมผืนผ้าก่ออิฐสอดิน มีส่วนท้องไม้ประดับลกแก้วอกไก่เดี่ยว



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01271.jpg (2016-6-17 02:54, 99.54 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNzJ8NTIzMDBhODl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01276.jpg (2016-6-17 02:54, 98.84 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNzN8NmZhYTk0NzZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01286.jpg (2016-6-17 02:54, 98.74 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNzR8YTMzZmZjOGF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: Resize-of-DSC01292.jpg (2016-6-17 02:54, 99.96 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNzV8YTcyNjc4ZmR8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:00

๑๔. วัดกู่ป้าด้อม




DSC00674.jpg



วัดกู่ป้าด้อม ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกของเวียงกุมกาม สามารถเดินทางมาจากวัดปู่เปี้ยหรือตามถนนทางแยกเข้าเวียงกุมกามด้านหน้าวัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) บริเวณวัดอยู่ในเขตที่ดินของคุณป้าด้อม ทำให้เรียกกันในหมู่ชาวบ้านว่า กู่ป้าด้อม (กู่ เป็นภาษาท้องถิ่นมีความหมายเดียวกับ เจดีย์) สภาพแวดล้อมบริเวณวัดเป็นเขตที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น และเขตสวนลำไย วัดกู่ป้าด้อมถือว่าเป็นซากโบราณสถานที่สมบูรณ์ที่สุดในเวียงกุมกามที่เหลืออยู่


DSC00677.jpg


ประวัติวัดกู่ป้าด้อม (ชื่อวัดกู่ป้าด้อม เรียกกันตามชื่อเดิมของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน) น่าจะก่อสร้างขึ้นแล้วในระยะแรกๆ ของการก่อตั้งเวียงกุมกามในสมัยพญามังราย และคงสภาพเป็นวัดมีการซ่อมสร้างอยู่เรื่อยตลอดมาในระยะเอกราชของล้านนา ระหว่างปีพ.ศ.๑๘๒๙-๒๑๐๑ จากหลักฐานการพบพระพิมพ์แบบหริภุญไชย (พระคงและพระอื่นๆ) รวมถึงบรรดาสิ่งก่อสร้างต่างๆ ของวัด ที่มีระดับพื้นดินเดิมต่ำกว่าระดับผิวดินปัจจุบันเฉลี่ยถึง  ๒ เมตร โดยยังคงปรากฏร่องรอยการฉาบผิวนอกของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ด้วยปูนขาวมากที่สุดในบรรดาวัดร้างในเขตเวียงกุมกามค่ะ


DSC00678.jpg



กำแพง วัดกู่ป้าด้อม ที่คงสภาพเดิมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของเวียงกุมกามค่ะ


กำแพง
วัดกู่ป้าด้อม พบเป็นกำแพงชั้นนอกถัดจากกำแพงแก้วที่สร้างล้อมรอบส่วนพระเจดีย์-วิหาร ปัจจุบันพบหลักฐานชัดเจนเฉพาะทางด้านทิศเหนือ


DSC00112.jpg



ร่องรอยของอาคาร ที่สร้างชิดด้านในกำแพงวัดด้านทิศเหนือ วัดกู่ป้าด้อม ค่ะ


DSC00679.jpg



DSC00681.jpg



เดี๋ยวเรามาเดินสำรวจบริเวณรอบๆ วัดกู่ป้าด้อมกันเลยนะคะ


DSC00682.jpg



ฐานอาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัส วัดกู่ป้าด้อม มีบ่อน้ำอยู่ด้านหลัง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นห้องน้ำสำหรับพระสงฆ์ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00674.jpg (2016-6-17 03:01, 99.36 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNzZ8NjU0YTE2MDZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00677.jpg (2016-6-17 03:01, 98.12 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNzd8ZTcxMzA1ZTN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00678.jpg (2016-6-17 03:01, 99.5 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNzh8YmVmZWIxNGN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00112.jpg (2016-6-17 03:01, 98.13 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxNzl8MmVlMTE5MDJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00679.jpg (2016-6-17 03:01, 97.14 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxODB8ZTNiMzk5NzV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00681.jpg (2016-6-17 03:01, 99.48 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxODF8ODg3NzgyYzZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00682.jpg (2016-6-17 03:10, 99.2 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxOTF8ZjdlZTk4ZGN8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:04


DSC00683.jpg



ฐานอาคารวิหารเล็กด้านทิศเหนือ วัดกู่ป้าด้อม อยู่ใกล้กับวิหารหลวงและพระเจดีย์ ตรงบันไดอาคารวิหารเล็กมีลายปูนปั้นแบบนูนต่ำลวง (นาคพื้นเมือง) ค่ะ


DSC00103.jpg



ลายปูนปั้นแบบนูนต่ำลวง (นาคพื้นเมือง) บันได อาคารวิหารเล็กด้านทิศเหนือ วัดกู่ป้าด้อม ค่ะ


DSC00111.jpg



ฐานอาคารวิหารเล็กด้านทิศตะวันตก วัดกู่ป้าด้อม อยู่ด้านหลัง อาคารวิหารเล็กด้านทิศเหนือกำแพงแก้วที่สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันตกค่ะ


DSC00684.jpg



ฐานวิหารหลวง
วัดกู่ป้าด้อม ค่ะ


ผังรูปแบบการก่อสร้างวัดกู่ป้าด้อม สิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถานในบริเวณวัดประกอบด้วย พระเจดีย์และวิหาร ซึ่งวิหารตั้งอยู่ด้านหน้าพระเจดีย์ และหันหน้าไปทางทิศตะวันออก


DSC00104.jpg



บันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้าตอนกลางทางเข้า วิหารหลวง วัดกู่ป้าด้อม เป็นแบบมีราวและหัวบันไดตกแต่งรูปตัวหางวันค่ะ


DSC00105.jpg



ด้านข้าง วิหารหลวง วัดกู่ป้าด้อม จะเห็นบันไดเล็กที่ช่องย่อเก็จตอนหลังทั้งสองข้างค่ะ


วิหารหลวง วัดกู่ป้าด้อม ลักษณะฐานสร้างยกพื้นไม่สูงมากทำย่อเก็จลดทั้งด้านหน้าและหลัง พื้นตอนบนพบร่องรอยการปูอิฐ และฉาบปูนขาว


DSC00106.jpg


ส่วนฐานชุกชีพระประธาน (แท่นแก้ว) วิหารหลวง วัดกู่ป้าด้อม สร้างเต็มพื้นที่ ในส่วนห้องด้านหลังเป็นแบบฐานปัทม์ท้องไม้ลูกแก้วอกไก่ย่อเก็จ และพบฐานปัทม์สี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่ด้านหน้าตอนเหนือของแท่นฐานพระประธานอีกแห่งหนึ่งค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC00683.jpg (2016-6-17 03:06, 97.16 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxODN8Yzk3MTc1MWJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00103.jpg (2016-6-17 03:06, 99.83 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxODR8MWZlZDJjNzl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00111.jpg (2016-6-17 03:07, 99.48 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxODV8ZmQxMGY5YTV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00684.jpg (2016-6-17 03:07, 99.94 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxODZ8NjIxZjhjOGJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00105.jpg (2016-6-17 03:08, 99.86 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxODh8MGVjNDdlNGR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00104.jpg (2016-6-17 03:08, 99.81 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxODl8YWJkZjkzNTN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00106.jpg (2016-6-17 03:09, 98.77 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxOTB8ZTU0YzMxZGV8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:13

DSC00107.jpg



ฐานพระเจดีย์
วัดกู่ป้าด้อม ค่ะ


พระเจดีย์ วัดกู่ป้าด้อมเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐาน ที่มีลักษณะเขียงสี่เหลี่ยมรองรับชั้นหน้ากระดานแบบย่อเก็จ ๒ ชั้น จากรูปแบบการก่อสร้างในส่วนฐานเจดีย์ประธาน ที่ทำชั้นย่อเก็จ ๒ ชั้นของส่วนฐานปัทม์ตอนล่างนั้น พิจารณาว่าเป็นไปได้ทั้งรูปแบบของเจดีย์ทรงระฆัง หรือทรงมณฑปในระยะพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ลงมา เช่นเดียวกับเศียรพระพุทธรูป (ชำรุด) ที่พบขณะขุดแต่งที่มีลักษณะแบบพระสิงห์รุ่นแรกและรุ่นหลังและพระพิมพ์อีกจำนวนหนึ่ง


DSC00108.jpg


แท่นบูชา วัดกู่ป้าด้อม ตั้งอยู่ทางด้านหลังพระเจดีย์ เป็นฐานปัทม์สี่เหลี่ยมผืนผ้าท้องไม้แบบมีชั้นลูกฟักคู่ค่ะ


DSC00109.jpg


กำแพงแก้วด้านหลังตอนเหนือ วิหารหลวง วัดกู่ป้าด้อม พบหลักฐานค่อนข้างสมบูรณ์ ลักษณะก่ออิฐถือปูนขาว ส่วนของกำแพงมีบังหลังเจียด (หลังเต่า) ตอนบน ส่วนโขงประตูทางเข้าออกด้านหน้า และแนวด้านหลังสร้างเว้นส่วนแท่นบูชาออกมา มีเครื่องยอดแต่พังทลายลงหมดแล้ว และมีร่องรอยของช่องสอดวงกบไม้ที่แสดงถึงว่าแต่เดิมเคยติดตั้งบานประะตูไม้ปิดเปิดได้ค่ะ


DSC00685.jpg



กลุ่มอาคารด้านทิศเหนือ ภายนอกกำแพง วิหารหลวง วัดกู่ป้าด้อม อันเป็นกลุ่มอาคารที่สร้างในแกนเดียวกับแนวเจดีย์ประธาน-พระวิหาร โดยมีอาคารหลังหนึ่งด้านหลังก่อสร้างให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ดำเนินงานขุดแต่งในปี พ.ศ.๒๕๔๖

ด้านทิศเหนือใกล้กับแนวกำแพงแก้ว วัดกู่ป้าด้อม เป็นที่ตั้งของกลุ่ม(ฐาน) อาคาร ๓ หลัง วางตัวในแนวตะวันตก-ตะวันออก อีกทั้งทางด้านหลังตอนขวาของวัดได้พบกลุ่มอาคารที่สร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือ ปัจจุบันยังคงมีแนวสิ่งก่อสร้างฝังตัวเข้าไปใต้ถนนที่ได้สร้างผ่านทับเขตวัดด้านตะวันตก

สิ่งที่น่าสนใจของวัดกู่ป้าด้อม นอกจากระดับความลึกของพื้นดินเดิมของวัดที่ลึกเฉลี่ยถึง ๒ เมตรแล้ว จำนวนโบราณสถานโดยเฉพาะอาคารวิหารใหญ่/เล็กต่างๆ มีจำนวนมากถึง ๖-๗ หลัง รวมถึงสภาพเดิมของกำแพงวัด และกำแพงแก้วที่ยังคงมีสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ (ปัจจุบันยังขุดแต่งไม่ครอบคลุมตลอดทั่วบริเวณวัด)

โบราณวัตถุสำคัญที่ถูกขุดพบวัดกู่ป้าด้อม
คือ พระพิมพ์แบบหริภุญไชย และเศียรพระพุทธรูปสำริดแบบสิงห์หนึ่ง ขุดแต่งพบที่วัดกู่ป้าด้อม ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ ค่ะ



DSC00110.jpg


กลุ่มอาคาร / สิ่งก่อสร้างที่หันไปด้านทิศเหนือ วัดกู่ป้าด้อม มีร่องรอยการก่อสร้างทับซ้อนกันหลายสมัย ข้างบนบันไดพบหลักฐานเทวดาปูนปั้น (ชำรุด) ลักษณะนั่งขัดสมาธินุ่งผ้ามีลายคล้ายกับเทวดาปูนปั้นบางองค์ของวัดเจ็ดยอด (โพธารามมหาวิหาร) เมืองเชียงใหม่ ซึ่งตอนนี้กรมศิลปากรฝังเก็บไว้ใต้ดินที่เดิมที่ค้นพบแล้วค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00107.jpg (2016-6-17 03:15, 99.17 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxOTJ8Y2NiMGE2NTl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00108.jpg (2016-6-17 03:15, 99.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxOTN8NzhmYjE4MTJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00109.jpg (2016-6-17 03:15, 98.55 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxOTR8ZTVkNjRlZDJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00110.jpg (2016-6-17 03:15, 98.94 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxOTV8OWRhNjNjZjd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00685.jpg (2016-6-17 03:15, 98.61 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxOTZ8Y2ZjZmE3ZjN8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:19

๑๕. พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม




DSC00113.jpg



DSC00114.jpg



จากถนนวงแหวนรอบกลาง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เราจะเห็นป้ายชื่อ พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม อยู่ด้านซ้ายติดริมถนนเลยค่ะ


DSC00115.jpg



ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม เดี๋ยวเราเข้าไปข้างในกันเลยนะคะ


DSC00116.jpg



ภายใน บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม เดี๋ยวเราไปหาข้อมูลเพิ่มเติมและถ่ายรูปโบราณวัตถุที่กรมศิลปกรขุดพบเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ แล้วนำมาเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นบางส่วนค่ะ


DSC00117.jpg



ร้านขายของ ภายใน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม แต่วันนี้ปิดเกือบทุกร้านดูเงียบมากๆ เลยค่ะ


DSC00118.jpg



สำนักงานศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม เบอร์ติดต่อ ๐๕๓-๒๗๗๓๒๒ ค่ะ


รายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่าบริการนำชม “เวียงกุมกาม”

๑. รถม้า  ๒๐๐ บาท
๒. รถราง ๑ – ๕ คน ๒๕๐ บาท / ๖ – ๑๐ คน ๓๐๐ บาท / ๑๑ – ๑๕ คน ๓๕๐ บาท / ๑๖ ขึ้นไป ๔๐๐ บาท




รูปภาพที่แนบมา: DSC00113.jpg (2016-6-17 03:21, 98.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxOTd8ZWUwYjA5OGZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00114.jpg (2016-6-17 03:22, 99.17 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxOTh8NjU3OGY5YTZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00115.jpg (2016-6-17 03:22, 98.11 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 15
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYxOTl8NmYxYmZmYmZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00116.jpg (2016-6-17 03:22, 99.78 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMDB8NTFlOTc0YzJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00117.jpg (2016-6-17 03:22, 98.86 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMDF8ZGZhNGYyNzR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00118.jpg (2016-6-17 03:22, 98.64 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMDJ8NmFjZmExOGR8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:26

DSC00119.jpg



พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00120.jpg



แผนผังห้องจัดแสดงต่างๆ เกี่ยวกับเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


รายละเอียด

ห้องที่ ๑    เป็นโถงต้อนรับ
ห้องที่ ๒    เป็นห้องประวัติพญามังราย
ห้องที่ ๓    เป็นห้องประวัติเวียงกุมกาม
ห้องที่ ๔    เป็นห้องโบราณสถาน
ห้องที่ ๕    เป็นห้องวิถีชีวิตล้านนา
ห้องที่ ๖    เป็นห้องแสดงดนตรีพื้นบ้าน


DSC00122.jpg


ห้องที่ ๒ ห้องประวัติพญามังราย พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



DSC00123.jpg



DSC00127.jpg



อนุสาวรีย์พญามังรายมหาราช ประดิษฐานภายใน ห้องประวัติพญามังราย พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



DSC00124.jpg



ป้ายข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายมังรายศาสตร์ ภายใน ห้องประวัติพญามังราย พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00119.jpg (2016-6-17 03:26, 98.52 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMDN8M2NlNmQzYmJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00120.jpg (2016-6-17 03:26, 98.13 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 14
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMDR8NDIzNjRjNDZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00122.jpg (2016-6-17 03:26, 96.16 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMDV8ZmI4NGJhMDF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00123.jpg (2016-6-17 03:26, 99.2 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMDZ8MDg5OGMyY2N8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00124.jpg (2016-6-17 03:26, 99.32 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMDd8ZmRlZThjZjV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00127.jpg (2016-6-17 03:26, 99.11 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMDh8NjU2ZDZhZTd8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:31

DSC00128.jpg



ห้องที่ ๓ ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00136.jpg



ศิลาจารึก วัดพระยืนอักษรล้านนา ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


ศิลาจารึก วัดพระยืนอักษรล้านนา มีป้ายประวัติคำแปลเป็นภาษาไทย กล่าวว่า...


“นโมตสส ภควโต อันว่าพระเสลาจาฤก เจ้าท้าวสองแสนนาอันธรรมิการาช ผู้เป็นลูกรักแก่พระยาผายูเป็นหลานพระยาคำพูเป็นเหลน พญามังรายหลวงเจ้าท้าวนิรมิตร สุชะนะมาพิธีปีเดือนมาพอตนดั่งอั้น จึงได้เสวยราชไชยศรีมีบุญเดชะตะบะหนักหนา เป็นพระยาธรรมิกราช อาจบังเกิดในศาสนาศรัทธา พระศรีระตะนะตรัย แลจึ๋งให้ไปอารธนานิมนต์พระมหาเถระเป็นเจ้าผู้หนึ่ง ชื่อมหาครูสุมนเถระอันอยู่ในสุโขทัย คาบนั้นบ่มิได้มาและพลอยจึงให้ไปอารธนาหน่วงเหนี่ยวพระมหาเถระเป็นเจ้าด้วยความเคารพหนักหนา

คาบหนึ่งโสด คาบนั้นท่านเป็นเจ้าจึ่งลีลามาด้วยศิษย์ตนคนล้านผู้ดีย่อม อริยสงฆ์ทรงศิลาจาริย์อุกฤตนักหนา พระมหาเถระเจ้านั้นโสดประกอบด้วยอริยบทอันดี มีอินทรีย์ล้านทรงอรรถและธรรมทั้งหลาย รู้สั่งสอนคนเข้าในตรัยสรณคม และผู้ใดจะจำไปในจตุราบายนรกไซร์ท่านยกออกหนทางสวรรค์ ด้วยอันว่าในจำศีลภาวนากระทำเพียน เมื่อท่านเป็นเจ้ามานั้น ในปีระกาเดือนเจี่ยงวันศุกร์ วันตนเป็นเจ้าจักมาถึงนั้น ท่านพระยาธรรมิกราชปรินิพพานด้วยฝูงรายโยธามหาชนพลลูกขุนมาตรีทั้งหลายยายกันให้ถือจ่อธงข้าวตอกดอกไม้ เตียน ตีพาทย์ ตังพิณ ฆ้องสะระไนยไชยทะโกลาหลแตรสังข์พานกังสะดานมะระทงดงเดียดเสียงกลองทั้งคนร้องปรีดาสะท้านทั่วทั่งหริภุญไชย

แลจึ่งไปรับมหาเถระเป็นเจ้าอัญเชิญเข้ามา ในวิหารโอยทานเวนกุฏิสถานอาวาสนี้แก่มหาเถระเป็นเจ้า แล้วจึ่งบำเรอพระมหาเถระเจ้าและฝูงสงฆ์ทั้งหลาย ด้วยจตตุปัจจัยล้วนดี ฝูงชนอันอยู่ในเมืองหริภญไชยก็ดี ฝูงชนอันอยู่ภายในกุมกามมีเชียงใหม่พ้นก็ดี ฝูงคนทั้งหลายเขามีใจศรัทธาแก่พระมหาเถระเป็นเจ้าตนนั้น จึงบังเกิดศรัทธาบุญธรรมนักหนา พระมหาเถระเป็นเจ้ามาอยู่บมินานเท่าใดท่านจึงรำเพิงไปมาพิจารณา (ตอนนี้ศิลาชำรุดแตกออกไม่มีตัวอักษร) กับพระพุทธรูปอันสถิตย์อยู่ด้าน (ศิลาแตกชำรุดอีก แต่ยังมีส่วนต่อไปอีก ๒ –๓ บรรทัดยังฝังอยู่ในฐานที่ก่อหุ้ม)”



DSC00138.jpg



ศิลาจารึก วัดกานโถม พร้อมป้ายคำแปลภาษาไทย ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


คำแปลศิลาจารึก วัดกานโถม กล่าวว่า...


“พ.ศ.๒๐๓๒ เจ้าหมื่นจ่าบ้าน เข้าเฝ้ากษัตริย์เชียงใหม่ กษัตริย์ฯรับสั่งจัดคน ๔ หมู่บ้าน (เดิม ๗) ซึ่งเป็นข้าคนของอาจารย์กานโถมไว้เพื่อดูแลพระพุทธรูปที่วัดกานโถมพร้อมกันนี้ นางบุญยวงได้ถวายข้าคน ๑๒ คน และหมู่บ้าน ๔ หมู่บ้านแด่พระพุทธรูปด้วย พ.ศ. ๒๐๔๒ นางบุญยวงหล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์น้ำหนักประมาณ ๑๕๐ กก. ประดิษฐาน ณ วัดกานโถม และทำพินัยกรรมว่า หลังจากเสียชีวิตแล้วสมบัติของนางมอบถวายแด่พระพุทธรูปองค์นี้”


DSC00130.jpg



DSC00131.jpg



DSC00132.jpg



รอยจารึกบนผิวหน้าอิฐ ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00128.jpg (2016-6-17 03:32, 95.56 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMDl8MzEzMjE4MTF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00136.jpg (2016-6-17 03:32, 98.49 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 15
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMTB8Njc2MmMwZDh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00138.jpg (2016-6-17 03:32, 96.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMTF8YzA0YWRkNTB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00130.jpg (2016-6-17 03:34, 99.47 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMTN8NTQxZjQ2MzJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00131.jpg (2016-6-17 03:34, 99.99 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMTR8MzNlNWFlMjJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00132.jpg (2016-6-17 03:34, 99.48 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMTV8OTQ0MDU4Zjh8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:35

DSC00133.jpg



DSC00134.jpg



DSC00139.jpg



DSC00140.jpg



รอยจารึกบนผิวหน้าอิฐ
ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



DSC00142.jpg



สภาพจำลองระบบการผันน้ำในล้านนา
ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC00133.jpg (2016-6-17 03:36, 99.88 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMTZ8YTc5YzZjZDZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00134.jpg (2016-6-17 03:36, 98.26 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMTd8NzgwNWVjYmF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00139.jpg (2016-6-17 03:36, 98.24 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMTh8OTgyZTQ0MmV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00140.jpg (2016-6-17 03:36, 99.11 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMTl8OTc5NjNiYmV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00142.jpg (2016-6-17 03:36, 99.25 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMjB8MGViMjQyOWF8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:38

DSC00143.jpg



เศียรพระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00144.jpg


พระพิมพ์ดินเผาจำลอง ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00145.jpg


เศียรพระพุทธรูป และโบราณวัตถุต่างๆ ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00146.jpg


เครื่องใช้โบราณต่างๆ จำพวกเครื่องถ้วยลายคราม ไห กระปุก ภายใน ห้องประวัติเวียงกุมกาม พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00147.jpg


ทางเดินไป ห้องที่ ๔ ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม จะมีรูปภาพวัดต่างๆ ในเวียงกุมกามติดตามผนังเรียงรายเป็นแถวค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC00143.jpg (2016-6-17 03:39, 99.96 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMjF8OWNiZmRkZjF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00144.jpg (2016-6-17 03:39, 98.55 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMjJ8OTQ3ZjhlMmN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00145.jpg (2016-6-17 03:39, 98.59 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMjN8Mzk1OWNkMzB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00146.jpg (2016-6-17 03:39, 98.24 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMjR8YTQyOTRkMjV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00147.jpg (2016-6-17 03:39, 97.28 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMjV8ZmQ4ZjE1NzF8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:42

DSC00170.jpg



DSC00148.jpg



ห้องที่ ๔ ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม จะมีข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุที่ถูกค้นพบที่เวียงกุมกามต่างๆ ค่ะ


DSC00151.jpg


รูปแบบจำลองเจดีย์เจ็ดเหลี่ยม ภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00149.jpg


ภาพเครื่องถ้วยจีน ภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00150.jpg


ภาพถ้วยลายคราม ภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ส่วนใหญ่เป็นถ้วยลายครามผลิตภัณฑ์จากเมืองจีนในสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.๑๙๑๑-๒๑๘๗) ที่ถูกค้นพบที่วัดหนานช้างค่ะ


DSC00152.jpg


นิทรรศการข้อมูลโบราณวัตถุ ที่ถูกค้นพบในเวียงกุมกามต่างๆ ภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00148.jpg (2016-6-17 03:42, 98.14 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMjZ8Y2Q2YWU3OGF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00149.jpg (2016-6-17 03:42, 96.18 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMjd8OWMwYTBkZTR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00150.jpg (2016-6-17 03:42, 99.9 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMjh8ODRjODUzNmR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00151.jpg (2016-6-17 03:42, 97.9 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMjl8MzgyOGU3NTh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00152.jpg (2016-6-17 03:42, 98.3 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMzB8MjQ4ODFkOGV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00170.jpg (2016-6-17 03:42, 99.89 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMzF8NzVhYWJjNmZ8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:45

DSC00153.jpg



ตู้จัดนิทรรศการแสดงโบราณวัตถุที่ถูกค้นพบ ในเวียงกุมกามต่างๆ จัดแสดงภายใน ห้องโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกามค่ะ


DSC00154.jpg


เศียรนาคปูนปั้น ถูกค้นพบจากวัดกุมกามค่ะ


DSC00155.jpg


บัวกลุ่ม ถูกค้นพบจากวัดกู่ป้าด้อมค่ะ


DSC00156.jpg


เศียรนาค ถูกค้นพบจากวัดหนานช้างค่ะ


DSC00157.jpg


ลายประจำยามปูนปั้นประดับส่วนท้องไม้เจดีย์ (ภาพตรงกลาง) ถูกค้นพบจากวัดกู่อ้ายหลานค่ะ


DSC00377.jpg


บัวกลุ่มปูนปั้น ถูกค้นพบจากวัดกู่อ้ายหลานค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC00153.jpg (2016-6-17 03:46, 99.82 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMzJ8ZjczNTQxOTd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00154.jpg (2016-6-17 03:46, 98.66 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMzN8OTczOWI4NGN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00155.jpg (2016-6-17 03:46, 99.98 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMzR8ZjU4NjUzZDl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00156.jpg (2016-6-17 03:46, 99.19 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMzV8OTQzMzA3MWF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00157.jpg (2016-6-17 03:46, 98.58 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMzZ8MzVjNzljMTJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00377.jpg (2016-6-17 03:47, 99.18 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMzd8NzA3ODI0YjZ8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:49

DSC00158.jpg



ซุ้มจระนำลายพันธ์พฤกษา ถูกค้นพบจากวัดหนานช้างค่ะ


DSC00159.jpg


ลายประจำยามปูนปั้น ถูกค้นพบจากวัดกู่อ้ายหลานค่ะ


DSC00160.jpg


กิเลน ถูกค้นพบจากวัดหนานช้างค่ะ


DSC00161.jpg


ซุ้มจระนำลายพันธ์พฤกษา ถูกค้นพบจากวัดหนานช้างค่ะ


DSC00162.jpg


กลีบบัวฟันยักษ์ปูนปั้น
ประดับส่วนฐานอุโบสถ วัดกู่ป้าด้อม ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00158.jpg (2016-6-17 03:50, 98.99 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMzh8ZWI1ZWIxYWN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00159.jpg (2016-6-17 03:50, 99.56 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyMzl8NTJiMTdmOTR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00160.jpg (2016-6-17 03:50, 99.15 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNDB8MmU5Mjg2MzN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00161.jpg (2016-6-17 03:50, 99.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNDF8OWZlYjk5MWJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00162.jpg (2016-6-17 03:50, 99.98 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNDJ8ZjNiNmEyMDZ8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:52

DSC00163.jpg



ภาชนะดินเผาเคลือบสีเขียว ถูกค้นพบหลังเตาสันกำแพงในเวียงกุมกามค่ะ


DSC00164.jpg



DSC00165.jpg



ภาชนะดินเผา (กระปุก) ถูกค้นพบในเวียงกุมกามค่ะ


DSC00166.jpg


ภาชนะดินเผาเคลือบสีน้ำตาลเข้ม
ถูกค้นพบจากวัดพันเลาค่ะ


DSC00167.jpg


ภาชนะดินเผา (กระปุก) เคลือบสีน้ำตาล ถูกค้นพบในเวียงกุมกามค่ะ


DSC00169.jpg


หม้อดินเผาเนื้อไม่แกร่ง
ถูกค้นพบจากวัดพันเลาค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC00163.jpg (2016-6-17 03:53, 98.53 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNDR8NWFjYzk1Y2Z8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00164.jpg (2016-6-17 03:53, 98.17 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNDV8M2U3MDUzMDF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00165.jpg (2016-6-17 03:53, 99.26 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNDZ8MGQ0MGM3YzN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00166.jpg (2016-6-17 03:53, 99.28 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNDd8NGE2YTA2MWZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00167.jpg (2016-6-17 03:53, 98.31 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNDh8YjA3NjEwMGV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00169.jpg (2016-6-17 03:53, 97.82 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNDl8OTE2YzMxZjN8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:56

DSC00171.jpg



ห้องที่ ๕ เป็นห้องวิถีชีวิตล้านนา พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00172.jpg


จำลองวิถีชีวิตล้านนา ภายใน ห้องวิถีชีวิตล้านนา พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00173.jpg


ภาพการแต่งตัวของคนล้านนา ภายใน ห้องวิถีชีวิตล้านนา พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ


DSC00174.jpg


เสาหินจำลอง อยู่กลางสวน พิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ค่ะ



ส่วนห้องที่ ๖ เป็นห้องแสดงดนตรีพื้นบ้าน วันนี้ประตูปิด เพราะไม่มีการแสดงนะคะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00171.jpg (2016-6-17 03:56, 99.38 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNTB8ZTRkMDA4Nzl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00172.jpg (2016-6-17 03:56, 99.77 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNTF8MzljZWJhMDR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00173.jpg (2016-6-17 03:56, 99.69 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNTJ8NmMxNTcyY2J8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00174.jpg (2016-6-17 03:56, 97.38 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNTN8ODFkMDlmODB8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 03:58

๑๖. วัดกู่ขาว




DSC00593.jpg



วัดกู่ขาว ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายเชียงใหม่ - ลำพูน (สายเก่า) ตรงกิโลเมตรที่ ๕ ปากทางเข้าสู่เวียงกุมกามด้านถนนเชียงใหม่-ลำพูน (ต้นยาง) ในเขตตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่อยู่เขตนอกเวียงกุมกามด้านตะวันออกเฉียงเหนือใกล้กับบริเวณริมฝั่งแม่น้ำปิงสายเดิมหรือปิงห่าง ปัจจุบันมีถนนสร้างผ่ากลางวิหาร สถานะเป็นวัดร้าง เขตที่ดินประมาณ ๑๐ ไร่เศษ กินพื้นที่บริเวณสุสาน บ้านเรือน และร้านค้าของราษฎรที่ดินเขตวัดร้างหลายสิบหลังคาเรือน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของกรมศาสนา


DSC00596.jpg



วัดกู่ขาว สร้างหันไปทางทิศใต้เข้าสู่ลำน้ำปิงห่าง มีสิ่งก่อสร้างปรากฏหลักฐานชัดเจนคือ พระเจดีย์และวิหาร ที่มีถนนทางเข้าเวียงกุมกามทางด้านนี้สร้างผ่ากลาง รวมถึงหลักฐานจากการขุดแต่งบูรณะโดยกรมศิลปากรในระยะที่ผ่านมา ที่ได้พบร่องรอยหลักฐานที่เป็นแนวกำแพงแก้ว และโขงประตูทางด้านทิศเหนือใกล้กับส่วนฐานพระเจดีย์ (ปัจจุบันเอาดินถมกลบไว้) ค่ะ


ประวัติวัดกู่ขาว สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว คำว่ากู่ ในภาษาถิ่นเหนือ หมายถึงเจดีย์สีขาว ซึ่งคงจะเรียกตามลักษณะของเจดีย์ ประดับลวดลายปูนปั้นและฉาบปูนสีขาว กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งและบูรณะวัดกู่ขาว พ.ศ.๒๕๓๒

โบราณวัตถุสำคัญที่พบจากการขุดแต่งพระธาตุกู่ขาว ได้แก่ พระพุทธรูปศิลา และพระพุทธรูปแก้วสีเขียวปางมารวิชัย


DSC00595.jpg



พระเจดีย์ วัดกู่ขาว ค่ะ


วิหาร วัดกู่ขาว คงเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนหน้าท้ายอาคาร อันเป็นส่วนของแท่นแก้วพระประธาน มีร่องรอยแสดงการก่อสร้างซ้อนทับกันสองครั้ง ซึ่งหากได้รับการขุดแต่งตามแนวฐานไปทางด้านใต้แล้ว ก็จะพบหลักฐานในส่วนฐานวิหารนี้ต่อยาวออกไป วัสดุก่อสร้างเป็นอิฐก่อสอด้วยดินและฉาบปูนขาว ที่ปัจจุบันส่วนของปูนขาวฉาบหลุดออกร่อนไปแล้วเสียส่วนมาก ยกเว้นในส่วนองค์เจดีย์ตอนบนที่คงเหลือร่องรอยมากอยู่ ลายประจำยามประดับเจดีย์บางแห่งยังคงเห็นรายละเอียดที่ชัดเจน


DSC00597.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานบนฐานชุกชีส่วนวิหาร วัดกู่ขาว ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00593.jpg (2016-6-17 12:47, 98.53 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNTR8YmE1YWIxMTR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00596.jpg (2016-6-17 12:47, 99.62 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNTV8ZDliNGFhYTF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00597.jpg (2016-6-17 12:47, 98.39 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNTZ8MjRkMzZiZTl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00595.jpg (2016-6-17 12:58, 99.88 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNjN8NTcxNjY1NjR8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 12:56

DSC00594.jpg



พระเจดีย์
วัดกู่ขาว เป็นเจดีย์แบบล้านนา ฐานล่างเป็นหน้ากระดาน สี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนลดหลั่น ๓ ชั้นขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วซ้อนกันอยู่ ๒ ชุด ย่อเก็จ มีฐานพระพุทธรูปอยู่ระหว่างเจดีย์และวิหาร จะเห็นว่าแนวกำแพงก่ออิฐแบบสลับสั้นยาว ลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์กู่ขาว วัดกู่ขาว ส่วนสำคัญอยู่ที่มุมย่อเก็จบริเวณหน้ากระดานท้องไม้ใหญ่ระหว่างฐานบัวลูกแก้ว ๒ ชั้น ลักษณะคล้ายลายประจำยามมุม เป็นลวดลายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กรอบนอกเป็นเส้นโค้งหนา กึ่งกลางเป็นรูปดอกกลมล้อมด้วยกลีบดอกและลายก้านขด อีกแห่งหนึ่งอยู่ที่ฐานชุกชี (ฐานพระประธาน) ของวิหารเดิมมีลายปูนปั้นรูปกลีบบัวและรูปสิงห์ที่ประดับไว้ค่ะ  


DSC00605.jpg


ด้านข้าง พระเจดีย์ วัดกู่ขาว แต่ละชุดมีเส้นบัวลูกแก้วคาด ๒ เส้น ระหว่างฐานบัวแต่ละชุดคั่นด้วยกระดานท้องไม้ใหญ่ ประดับลวดลายปูนปั้นที่มุมของย่อเก็จทุกแห่งโดยรอบค่ะ


DSC00598.jpg


พระเจดีย์ วัดกู่ขาว จากลักษณะรูปทรงของพระเจดีย์ ที่เป็นแบบทรงระฆังที่ทำชั้นฐานปัทม์ย่อเก็จแบบมีการตกแต่งลูกแก้วอกไก่ หรือชั้นบัวคว่ำบัวหงายตอนกลาง รวมถึงลักษณะของลายปูนปั้นแบบประจำยาม ซึ่งกำหนดอายุได้ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑ หรือในระยะที่รัฐล้านนามีความเจริญรุ่งเรือง แต่ว่าอาจจะเป็นหลักฐานการซ่อมเสริมเจดีย์องค์นี้ในระยะเวลาดังกล่าว เพราะสิ่งก่อสร้างในสมัยโบราณย่อมทรุดโทรม และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์กันเรื่อยมา


ดังนั้นจึงอาจจะเป็นไปได้ว่า เดิมอาจเป็นวัดในรุ่นสมัยเวียงกุมกามระยะก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งต่อไปควรมีการขุดแต่งศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะแนวกำแพงแก้วและร่องรอยโบราณสถานแห่งอื่นๆ โดยรอบ อีกทั้งขุดแต่ง-ขุดค้นทางโบราณคดี เพื่อหาหลักฐานร่องรอยกิจกรรมการอยู่อาศัยต่อไปค่ะ  


DSC00602.jpg


พระเจดีย์ด้านทิศเหนือ วัดกู่ขาว เป็นทรงระฆังที่เหลือหลักฐานเฉพาะส่วนมาลัยเถาทรง ๘ เหลี่ยมลงมา ส่วนฐานเขียงตอนล่างทำสูง มีชั้นฐานปัทม์ย่อเก็จรองรับส่วนมาลัยเถาแบบ ๘ เหลี่ยม ในส่วนท้องไม้ตอนกลางพบการตกแต่งลายปูนปั้นแบบประจำยาม ส่วนบนยอดพระเจดีย์มีต้นไม้ขึ้นเต็มไปหมดเลยค่ะ


DSC00600.jpg


ด้านหลัง พระเจดีย์ด้านทิศเหนือ  วัดกู่ขาว เราจะเห็นส่วนฐานปัทม์ย่อเก็จที่ยังคงร่องรอยปูนปั้นประจำยามประดับ และบริเวณโล่งๆ คือลานกิจกรรมใช้เตะตะกร้อค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC00598.jpg (2016-6-17 12:57, 97.56 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNTh8Nzk3ZTFhNzR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00600.jpg (2016-6-17 12:57, 99.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNTl8ZDFlZTMzYzV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00602.jpg (2016-6-17 12:57, 97.69 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNjB8MTBjMDNmYjJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00605.jpg (2016-6-17 12:57, 99.19 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNjF8MjI2YTg4OTF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00594.jpg (2016-6-17 12:57, 98.5 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNjJ8OWRmNjc0NGN8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 13:04

๑๗. วัดกุมกามทีปราม   




DSC01064.jpg


วัดกุมกามทีปราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดชียงใหม่ ในเขตเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในเขตพื้นที่ดินสวนลำไยของเอกชน สามารถเดินทางเข้าถึงโดยใช้เส้นทางใหม่ ที่สร้างเวียงกุมกามทางด้านตะวันออก โดยเริ่มจากวัดกู่ขาว (ร้าง) ที่อยู่คนละฝั่งของสายน้ำปิงเก่าทางด้านเหนือผ่านเข้ามาทางป่าช้าหนองผึ้งแล้วเลี้ยวขวาข้ามลำน้ำปิงห่าง วัดตั้งอยู่ในเขตที่ดินของเอกชนด้านซ้ายก่อนถึงวัดข่อยสามต้นหรือวัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ค่ะ  


DSC01063.jpg


ประวัติวัดกุมกามทีปราม
ปรากฏหลักฐานด้านเอกสารกล่าวถึงวัดนี้ว่า ในสมัยล้านนามีกษัตริย์ได้เข้ามาทำบุญรับศีลและฟังเทศนาธรรมที่วัดแห่งนี้ ซึ่งชื่อของวัดนี้ยังวิเคราะห์ได้ไม่ชัดเจนว่าเป็นวัดเดียวกันกับวัดที่กล่าวถึงในเอกสารหรือไม่ แต่จากรูปแบบผังการก่อสร้างและลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมต่างๆ ของวัด อนุมานได้ว่าวัดกุมกามทีปรามแห่งนี้เป็นวัดสำคัญอีกแห่งหนึ่งของเวียงกุมกาม จึงเรียกชื่อโบราณสถานตามชื่อเวียงกุมกาม หมายถึงอารามของเวียงกุมกาม ในปี ๒๕๑๒-๒๕๑๖ กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งบูรณะ


DSC01088.jpg


วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม ค่ะ

วัดกุมกามทีปราม มีวิหาร ๒ แห่ง คือวิหารใหญ่ และวิหารเล็ก  


DSC01082.jpg


ด้านบน วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม ค่ะ  

วัดกุมกามทีปราม สร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือเข้าสู่แม่น้ำปิง (ห่าง) อยู่ลึกจากผิวดินปัจจุบันประมาณ ๐.๕๐ เมตร เหลือหลักฐานเฉพาะส่วนฐานตอนล่างที่สร้างก่ออิฐยกพื้นขึ้นมาไม่สูงมาก วิหารใหญ่มีลักษณะเป็นวิหาร-โถง มีบันได ๓ ด้าน


DSC01079.jpg


บันไดทางขึ้น/ลงหลักด้านหน้า วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม ค่ะ

บันไดทางขึ้น/ลงหลักด้านหน้า วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม พบก่อสร้างทางด้านหน้าตอนกลาง ที่มีลักษณะตัวบันไดเป็นปูนปั้นรูปตัวมกรคายพญานาค ๕ เศียร อันมีรูปแบบคล้ายกับตัวบันไดของพระเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ รวมไปถึงวัดสวนดอก และบันไดขึ้นลานปทักษิณเจดีย์วัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม ในเขตเมืองเชียงใหม่ อันพิจารณาว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยใกล้เคียงกัน คือตั้งแต่ระยะสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา


DSC01071.jpg


บันไดเล็กทางขึ้น/ลงด้านข้างทิศตะวันออกตอนหลัง วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม เป็นบันไดส่วนของย่อเก็จลดอีกแห่งหนึ่ง อันน่าจะเป็นบันไดสำหรับพระสงฆ์ไว้ขึ้น/ลงวิหารใหญ่โดยเฉพาะค่ะ


DSC01078.jpg


รูปปั้นตัวมกรคายนาค ๕ เศียร (ชำรุด) บันไดทางขึ้น/ลงหลักด้านหน้า วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม มีร่องรอยการสร้างสองสมัยค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC01063.jpg (2016-6-17 13:05, 99.19 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNjR8ODQzNTA0ZTl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01064.jpg (2016-6-17 13:05, 99.21 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNjV8NDgxZTcwMGJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01088.jpg (2016-6-17 13:05, 325.72 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNjZ8NTZkODljNWF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01082.jpg (2016-6-17 13:05, 98.47 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNjd8MDQzZjhhZGF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01078.jpg (2016-6-17 13:06, 99.98 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNjh8ZWRkMGNkZmZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01079.jpg (2016-6-17 13:06, 99.67 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNjl8ZTAxYmUyYTB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01071.jpg (2016-6-17 13:06, 98.91 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNzB8ZGY2NzJjYzF8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 13:11

DSC01075.jpg



ฐานชุกชีพระประธาน
วิหารใหญ่ วัดกุมกามทีปราม อยู่ด้านข้างทิศตะวันออกตอนหลังของวิหารใหญ่ค่ะ


DSC01094.jpg


DSC01089.jpg



วิหารเล็ก วัดกุมกามทีปราม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ฐานรากอยู่ต่ำกว่าวิหารใหญ่ ประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตรค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC01075.jpg (2016-6-17 13:11, 98.65 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNzF8Y2IyNTQ2Zjd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01089.jpg (2016-6-17 13:11, 99.2 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNzJ8OTdkZjhiYTN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01094.jpg (2016-6-17 13:11, 98.3 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNzN8NWQ5MWYxMzN8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 13:13

๑๘. วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑

(วัดข่อยสามต้น)





DSC01100.jpg


วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ (วัดข่อยสามต้น) ตั้งอยู่ในบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเวียงกุมกาม ใกล้กับปากทางเข้าวัดกุมกามทีปราม (ร้าง) เดินทางเข้าถึงได้จากแยกถนนเชียงใหม่-ลำพูน (ต้นยาง) เข้าสู่เวียงกุมกามโดยใช้เส้นทางถนนเลียบเวียงในแนวทางด้านตะวันออก วัดอยู่ตรงสี่แยกทางไปวัดต้นโพธิ์ (ร้าง) สภาพแวดล้อมทั่วไปเป็นเรือกสวนไร่นา และที่อยู่อาศัยของชุมชนค่ะ


DSC01110.jpg


ประวัติวัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ (วัดข่อยสามต้น)

ชื่อวัดข่อยสามต้น เป็นชื่อใหม่ที่คณะอบรมอาสาสมัครนำชมเวียงกุมกามรุ่นที่ ๑ ปี พ.ศ.๒๕๔๕ ตั้งขึ้นตามจุดสังเกตที่เป็นต้นข่อยจำนวน ๓ ต้น ที่ขึ้นเจริญเติบโตในพื้นที่บริเวณวัด ความสำคัญของวัดนี้นอกจากเป็นวัดร้างร่วมสมัยกับกลุ่มวัดอื่นๆ ของเวียงกุมกามแล้ว ด้านการวางผังการก่อสร้างวัด ที่พบหลักฐานทั้งพระเจดีย์-วิหาร อาคารวิหารเล็ก และกำแพงวัดพร้อมโขงประตู ไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เดิมถูกฝังใต้ดิน ๑ เมตร  กรมศิลปากรขุดแต่งบูรณะ ๒๕๑๕-๒๕๑๖

จากรูปแบบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น ชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น ๓ ชิ้น เม็ดพระศก พระเก่าเปลวรัศมี อย่างไรก็ตามเชื่อได้ว่าน่าจะมีสถาปัตยกรรมและอาคารอีกในบริเวณนี้ แต่อาจถูกทำลายและฝังดิน


DSC01107.jpg


ฐานวิหาร วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ค่ะ  


วิหาร วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะสร้างฐานยกพื้นไม่สูงมากนักโดยก่ออิฐเป็นฐานบัวหรือฐานปัทม์ พื้นตอนบนปูอิฐและฉาบปูน ไม่มีการทำย่อเก็จลดทั้งทางตอนหน้าและตอนหลัง มีบันไดหลักขึ้น/ลงทางด้านตอนกลาง ลักษณะเป็นขั้นบันไดเรียบๆ ไม่มีการตกแต่งบันไดอย่างชัดเจน และอิฐปูยกพื้นทางเดิน โครงสร้างเสาเดิมน่าจะเป็นเสาไม้ เพราะไม่พบหลักฐานของอิฐทรงโค้งแบบหน้าวัว ที่มักใช้ก่อเป็นเสากลมดังเช่นที่พบในวัดอื่นๆ ของเวียงกุมกาม เดิมเป็นวิหารโถงแบบมีผนังเตี้ยๆ บนส่วนฐาน เพราะเหตุที่ขุดแต่งพบหลักฐานที่ด้านข้างขวาตอนหน้า


DSC01103.jpg


DSC01102.jpg



พระประธาน วิหาร วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ประดิษฐานบนแท่นแก้วชุกชีแบบย่อเก็จออกมา เพราะทางด้านหน้าขนาดเล็กพอเหมาะสำหรับประดิษฐานพระประธานองค์เดียวที่ได้พังทลายไม่เหลือหลักฐานแล้วค่ะ


DSC01113.jpg


ฐานวิหาร และฐานพระเจดีย์ วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC01100.jpg (2016-6-17 13:14, 99.54 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNzR8NDk4NzcyNTB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01102.jpg (2016-6-17 13:14, 99.53 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNzV8NjA0NWQ3MDR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01103.jpg (2016-6-17 13:14, 98.21 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNzZ8NjU0ZGU1MDh8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01107.jpg (2016-6-17 13:14, 95.11 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNzd8NWU1MDBkZjR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01110.jpg (2016-6-17 13:14, 94.07 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNzh8OGFhMjdkM2R8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01113.jpg (2016-6-17 13:20, 96.98 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyODd8MzhiNDYwN2Z8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 13:18

DSC01114.jpg


ฐานพระเจดีย์  วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ ค่ะ



พระเจดีย์ สร้างก่ออิฐฉาบปูนมีลักษณะระเบียบการก่อสร้างเป็นทรงมณฑป พบร่องรอยการทำซุ้มทางด้านทิศเหนือ ซึ่งเอกลักษณ์ของวัดนี้คือการทำพระเจดีย์ประธานขนาดเล็ก ตกแต่งเสาหลอกในส่วนของย่อเก็จย่อมุมต่างๆ ด้านผังรูปแบบการก่อสร้างนั้น วัดนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือ เข้าสู่สายน้ำแม่ปิง (ห่าง) สภาพปัจจุบันได้รับการขุดแต่งในปี พ.ศ.๒๕๔๕


DSC01116.jpg


DSC01115.jpg



พระเจดีย์ วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ บางส่วนเหลือหลักฐานและบางส่วนเสียหาย สันนิษฐานเป็นเจดีย์ทรงบัว  หลักฐานการก่อสร้างตอนบนเจดีย์พังทลาย แต่คงเหลือรูปแบบเดิมในส่วนฐานปัทม์ลักษณะย่อเก็จตื้น แบบที่มีการทำเสาหลอกตามมุมย่อเก็จต่างๆ ค่ะ


DSC01106.jpg


กำแพง วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ อยู่ด้านหน้า วิหารค่ะ


กำแพง วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ พบร่องรอยการก่อสร้างมาถึงส่วนหักมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งแนวกำแพงและโขงประตูวัดด้านหน้าฝังตัวอยู่ในพื้นดินใต้ระดับผิวถนน ดังนั้นการขุดแต่งหาร่องรอยการก่อสร้างของวัดนี้ทั้งหมด จึงยังขุดแต่งได้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์


DSC01104.jpg


ร่องรอยหลักฐานโขงประตู กำแพง วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ อยู่ด้านหน้า วิหารใหญ่ค่ะ


DSC01109.jpg


DSC01111.jpg



ฐานอาคารวิหารเล็ก วัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ อยู่ด้านตะวันตกกลุ่มเจดีย์-วิหาร พบฐานบัวคว่ำขนาดใหญ่ และยังมีบางส่วนตอนหลังที่มีแนวเข้าไปในพื้นที่เอกชนเขตติดกันใกล้เคียงค่ะ  




รูปภาพที่แนบมา: DSC01104.jpg (2016-6-17 13:19, 97.13 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyNzl8Yjc0MzBmNmN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01106.jpg (2016-6-17 13:19, 98.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyODB8NDlkNmM4M2Z8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01109.jpg (2016-6-17 13:19, 99.45 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyODF8NTJiZTBjOTR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01111.jpg (2016-6-17 13:19, 99.58 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyODJ8ODMxNWI3Zjl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01114.jpg (2016-6-17 13:19, 99.49 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyODR8ZDc1MThmYTN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01115.jpg (2016-6-17 13:19, 99.26 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyODV8MjI5ZjZiNGZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01116.jpg (2016-6-17 13:19, 98.27 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyODZ8YjFlYjA5NmJ8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 13:25

๑๙. วัดกู่ไม้ซ้ง




DSC01125.jpg



วัดกู่ไม้ซ้ง
ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเวียงกุมกาม เดินทางเข้าถึงได้โดยใช้เส้นทางถนนผ่านมาทางวัดกุมกามทีปรามและวัดกุมกามทีปรามหมายเลข ๑ (วัดข่อย ๓ ต้น) หรือใช้เส้นทางในหมู่บ้านช้างค้ำผ่านเข้ามาทางทิศตะวันตก วัดที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงคือวัดกู่มะริดไม้ ห่างออกมาทางตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะประมาณ ๑๕๐ เมตร และตั้งอยู่ใกล้ถนนสายวงแหวนรอบกลางทางด้านใต้ในระยะที่มองเห็นได้ค่ะ


DSC01124.jpg



ประวัติวัดกู่ไม้ซ้ง วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือ แม้ว่าไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้าง จากหลักฐานทางด้านบันทึกเอกสารหรือตำนานบอกเล่าในท้องถิ่น แต่หากได้พิจารณาจากทิศทางการหันหน้าวัดที่หันเข้าสู่สายน้ำแม่น้ำปิง (เก่า) หรือในทิศเหนือ ประกอบกับด้านรูปแบบแผนผังการก่อสร้างและลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมต่างๆ ของวัด รวมไปถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ล้านนาโดยรวมแล้ว

วัดนี้น่าจะก่อสร้างขึ้นแล้วในระยะล้านนารุ่งเรือง หรือราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นอย่างน้อย ประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดี จากการดำเนินงานขุดแต่ง-บูรณะ โดยหน่วยศิลปากรที่ ๔ ในระยะที่ผ่านมา ที่เป็นพระพิมพ์ศิลปะแบบปาละ-พุกาม (รุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙) น้ำต้น (คนโฑ) ดินเผาแบบหริภุญไชย จารึกอักษร/ภาษาล้านนาบนแผ่นอิฐ และลวดลายปูนปั้นจำนวนหนึ่ง

สภาพพื้นที่วัดกู่ไม้ซ้ง เป็นที่ลุ่มต่ำทำให้เกิดน้ำท่วมขังเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในหน้าฝนจะมีน้ำขังมากและเป็นที่เจริญเติบโตของผักบุ้งที่ขึ้นเป็นเถาเครือเขียวชะอุ่มคลุมพื้นที่ตอนในกำแพงแก้วในส่วนของพระเจดีย์ค่ะ


DSC01138.jpg


DSC01127.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดกู่ไม้ซ้ง มีขอบเขตกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง องค์เจดีย์เหลือหลักฐานก่ออิฐเฉพาะในส่วนฐาน ลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยมสูงตอนล่าง และส่วนของฐานปัทม์ย่อมุม ๒๐ ตอนบน ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปของเจดีย์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นรูปแบบของเจดีย์ทรงมณฑป ที่จากหลักฐานการขุดแต่งได้พบชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้นประเภทลายประดับกรอบซุ้มประเภทลายพรรณพฤกษาค่ะ


DSC01139.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานบน พระเจดีย์ วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC01124.jpg (2016-6-17 13:27, 99.18 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyODh8NmM5YWRlOWF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01125.jpg (2016-6-17 13:27, 99.03 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyODl8MGQ4Y2RhN2V8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01127.jpg (2016-6-17 13:27, 100 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyOTB8YWNjNTRiYWJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01138.jpg (2016-6-17 13:27, 99.57 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyOTF8NWM2NzVmNzl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01139.jpg (2016-6-17 13:27, 98.34 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyOTJ8Yzg4ZTEwNDJ8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 13:26

DSC01140.jpg



DSC01135.jpg



ฐานวิหาร
วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ



วิหาร วัดกู่ไม้ซ้ง หันหน้าค่อนไปทางตะวันตก สร้างก่ออิฐดินฉาบผิวด้วยปูนขาว มีส่วนฐานเป็นแบบปัทม์ท้องไม้ลูกแก้วอกไก่ ทำย่อเก็จลดตอนหน้า ๑ ครั้ง และมีบันไดทางขึ้น/ลงหลักอยู่ทางด้านหน้า โดยมีทางเดินยกพื้นก่ออิฐเชื่อมต่อไปถึงส่วนโขงประตูกำแพงแก้ว ลักษณะวิหารเป็นแบบโถงและพื้นปูอิฐ


DSC01130.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน ด้านบน วิหาร วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ


DSC01134.jpg


โขงประตูกำแพงแก้ว ด้านหน้า วิหาร วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ


DSC01136.jpg


แนวกำแพงแก้วด้านหน้าด้านตะวันออก วิหาร วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ


DSC01133.jpg


เจดีย์รายหรือกู่บรรจุกระดูกผู้อุปถัมภ์ หรือเจ้าอาวาสของวัดเดิม วัดกู่ไม้ซ้ง ลักษณะเป็นฐานทรง ๘ เหลี่ยม สภาพปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนฐาน ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางด้านหน้าตอนขวา (ทิศตะวันออก) วิหาร ค่ะ


DSC01128.jpg


สภาพปัจจุบันวัดกู่ไม้ซ้ง เป็นที่ลุ่มต่ำ อันทำให้เกิดน้ำท่วมขังเกือบตลอดปี แม้ว่าในปัจจุบันได้ทำการบูรณะโบราณสถานของวัดไว้ทั้งหมดแล้ว แต่หากปล่อยให้มีน้ำขังอยู่ดังเช่นในปัจจุบันแล้ว อายุการใช้งานของวัสดุก่อสร้างต่างๆ คงอยู่ไปได้อีกไม่นาน ควรที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังวัดนี้กันต่อไป เช่นเดียวกับวัดกู่มะริดไม้(ร้าง) ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงด้านตะวันตก ที่ภายหลังการขุดแต่ง-บูรณะแล้ว ก็ควรดูแลถากถางทำความสะอาดเป็นประจำ ไม่ปล่อยวัชพืชให้ขึ้นปกคลุมมิดเป็นป่ารกจนไม่เห็นวัดดังเช่นในปัจจุบันค่ะ


DSC01121.jpg



ศาลาพักร้อน บริเวณ ทางเข้า/ออก วัดกู่ไม้ซ้ง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC01128.jpg (2016-6-17 13:31, 99.92 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyOTN8NzgxYTk0OGV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01130.jpg (2016-6-17 13:31, 98.24 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyOTR8MGQ5ZGEwNGJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01133.jpg (2016-6-17 13:31, 99.49 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyOTV8NjM5NDdlNGF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01134.jpg (2016-6-17 13:31, 96.15 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyOTZ8ZGM2OGY1N2Z8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01135.jpg (2016-6-17 13:31, 98.86 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyOTd8OWQwM2NmNTd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01136.jpg (2016-6-17 13:31, 99.91 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyOTh8ZWNkYTMzNjB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01140.jpg (2016-6-17 13:31, 98.74 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYyOTl8YzZmNTY5YzJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01121.jpg (2016-6-17 13:32, 95.96 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMDB8Zjk0ZjlmMzN8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 13:35

๒๐. วัดกู่ริดไม้




DSC00180.jpg


DSC00175.jpg



วัดกู่ริดไม้ ตั้งอยู่ในเขตบ้านช้างค้ำ ตำบลท่าวังตาล อยู่ทางทิศใต้ในเขตเวียงกุมกาม อยู่ทางทิศใต้ในเขตเวียงกุมกามห่างจากแนวคูเมือง-กำแพงเมืองประมาณ ๑๕๐ เมตร วัดกู่ริดไม้เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันเนื่องจากมีต้นเพกา (ต้นริดไม้) ขึ้นอยู่บนเนินวัดและวัดน่าจะมีอายุร่วมสมัยกับวัดปู่เปี้ย คือราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้วค่ะ


DSC00178.jpg


ฐานวิหาร วัดกู่ริดไม้ เราจะเห็นส่วนของฐานชุกชีพระประธานด้วยค่ะ


DSC00182.jpg


ฐานพระเจดีย์ วัดกู่ริดไม้ ค่ะ


พระเจดีย์ วัดกู่ริดไม้ มีลักษณะการวางตัวของเจดีย์แตกต่างจากลักษณะเจดีย์อื่นๆ ฐานเจดีย์ค่อนข้างเล็กและตอนนี้ถูกปกคลุมไปด้วยหญ้าจนแถบมองไม่เห็นฐานเจดีย์เลยค่ะ


DSC00177.jpg


ศาลผีเสื้อ วัดกู่ริดไม้ ลักษณะเป็นอาคารแปดเหลี่ยม อยู่ด้านทิศใต้ของเจดีย์อยู่ชิดกับกำแพงแก้วค่ะ


DSC00176.jpg


ซุ้มประตูโขง (ภาพด้านซ้าย) วัดกู่ริดไม้ อยู่ทางด้านทิศใต้ของวัด ส่วนภาพตรงกลางคือ ส่วนฐานชุกชีพระประธานของวิหาร และภาพด้านขวาคือ ศาลผีเสื้อ อยู่บริเวณใกล้ๆ กันค่ะ


DSC00183.jpg


กำแพงแก้ว วัดกู่ริดไม้ ปรากฏให้เห็นเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ของวัดค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00175.jpg (2016-6-17 13:36, 99.9 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMDF8Njc4ZjcwMjF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00176.jpg (2016-6-17 13:36, 98.63 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMDJ8YmVhYjNjODF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00177.jpg (2016-6-17 13:36, 99.28 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMDN8YzI1YjdmNzV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00178.jpg (2016-6-17 13:36, 99.44 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMDR8MDQ0OGI2NTR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00180.jpg (2016-6-17 13:36, 99.88 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMDV8NDU4YWJhZDZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00182.jpg (2016-6-17 13:36, 98.3 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMDZ8YTBiMTIzNjd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00183.jpg (2016-6-17 13:36, 99.39 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMDd8ZGU1ZmZiMTB8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 13:57

๒๑. วัดกู่อ้ายสี




DSC01143.jpg


วัดกู่อ้ายสี ตั้งอยู่ในเขตบ้านช้างค้ำ ตำบลท่าวังตาล อยู่ภายในเขตเวียงกุมกาม ห่างจากวัดช้างค้ำไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดกู่อ้ายสีเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันตามชื่อของนายสีเจ้าของที่ดินค่ะ


DSC01144.jpg


DSC01152.jpg



ฐานวิหาร
วัดกู่อ้ายสี ค่ะ


DSC01151.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน วิหาร วัดกู่อ้ายสี อยู่ตอนหลังวิหาร ค่ะ


DSC01154.jpg


ฐานพระเจดีย์ วัดกู่อ้ายสี อยู่ด้านหลังวิหาร มีหญ้าปกคลุมเต็มไปหมดแถบจะไม่เห็นฐานเจดีย์เลยค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC01143.jpg (2016-6-17 13:57, 98.75 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMDh8ZTIxN2M3YjV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01144.jpg (2016-6-17 13:57, 99.53 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMDl8NTAwMzczMTF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01151.jpg (2016-6-17 13:57, 98.93 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMTB8MTQyZjNmOTZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01152.jpg (2016-6-17 13:57, 98.49 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMTF8MTc3YjlkZGF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01154.jpg (2016-6-17 13:57, 98.56 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMTJ8ZjkzODg2N2V8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 14:01

๒๒. วัดกอมะม่วงเขียว




DSC00380.jpg


DSC00381.jpg


วัดกอมะม่วงเขียว ตั้งอยู่นอกเวียงกุมกาม ห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ ๕ กิโลเมตร เนื่องจากมีต้นมะม่วงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ในบริเวณวัด ประชาชนในท้องถิ่นจึงเรียกชื่อวัดร้างว่า “วัดกอมะม่วงเขียว” หรือ “กอมะม่วงเขียว” ตามภาษาท้องถิ่น อย่างไรก็ตามยังไม่พบความเป็นมาในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ซึ่งกรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดี และบูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์วัดกอมะม่วงเขียว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖-๒๕๔๗ ค่ะ


DSC00383.jpg


DSC00386.jpg



ฐานวิหาร วัดกอมะม่วงเขียว ค่ะ


วิหาร วัดกอมะม่วงเขียว สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จด้านหน้า ๒ ช่วง ตามประวัติทางวัดบอกว่ามีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อยู่ทางด้านทิศใต้ของวิหาร แต่เดินสำรวจไม่พบซากโบราณสถานดังกล่าว สันนิษฐานว่ามีโบราณสถานอื่นๆ อีก แต่อาจถูกฝังใต้ดิน หรือถูกทำลายไปแล้ว


จากรูปแบบสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุ ได้แก่ เศษภาชนะเครื่องเคลือบแหล่งเตาภาคเหนือ และเครื่องถ้วยจีนราชวงศ์หมิง กำหนดอายุได้ว่าวัดนี้สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒


DSC00388.jpg



DSC00382.jpg



ฐานชุกชีพระประธาน อยู่ส่วนตอนหลัง วิหาร วัดกอมะม่วงเขียว ค่ะ


DSC00384.jpg


กำแพงแก้ว วัดกอมะม่วงเขียว พบอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัดกอมะม่วงเขียวค่ะ


DSC00385.jpg


ศาลเจ้าพ่อคำตัน วัดกอมะม่วงเขียว ค่ะ





รูปภาพที่แนบมา: DSC00381.jpg (2016-6-17 14:01, 97.51 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMTN8YzlmZjI1Mjd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00382.jpg (2016-6-17 14:01, 99.15 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMTR8ODEzNjI0M2V8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00383.jpg (2016-6-17 14:01, 91.44 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMTV8YjY5YzcyZDd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00384.jpg (2016-6-17 14:01, 99.89 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMTZ8YTQ3MzMyMmN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00385.jpg (2016-6-17 14:01, 99.16 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMTd8MGZmYTIxY2V8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00386.jpg (2016-6-17 14:01, 96.87 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMTh8NDNmOTMzMzd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00388.jpg (2016-6-17 14:01, 92.87 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMTl8YzdlODI5MWV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00380.jpg (2016-6-17 14:02, 97.72 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMjB8MTllNGE1OWZ8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 14:06

๒๓. วัดบ่อน้ำทิพย์




DSC00606.jpg


วัดบ่อน้ำทิพย์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในส่วนของเวียงกุมกามชั้นนอก เป็นวัดโบราณในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ตั้งอยู่ริมน้ำปิง (ห่าง) ท่าน้ำปิงที่ใช้ขึ้นสู่หมู่บ้านแถบนี้ชื่อท่าป่ากล้วยและท่าม่วงเขียว ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของท่าป่ากล้วย ริมถนนเชียงใหม่-ลำพูน สายเดิม ซึ่งแต่เดิมเป็นพนังกั้นน้ำของลำน้ำปิง เส้นทางนี้เป็นเส้นทางเดินทัพและเส้นทางค้าขายมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยขุนหลวงวิลังคะ แม่ทัพของกองทัพชาวลัวะ ซึ่งอยู่ทิศเหนือของเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน ยกทัพตีเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ของพระแม่เจ้าจามเทวีและพ่ายแพ้ต่อกองทัพของพระแม่เจ้าจามเทวีในเวลาต่อมา

หลังจากนั้นพระยามังรายก็ใช้เส้นทางนี้ตีนครหริภุญชัย (ลำพูน) ได้ ในปีที่พระยามังรายตีเมืองลำพูนจากพระยายีบาได้ จากหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่งเขียนโดยพระรัตนปัญญาเถระเมื่อ พ.ศ.๒๐๖๗ ระบุว่าตีได้เมื่อจุลศักราช ๖๕๔ ซึ่งตรงกับ พ.ศ.๑๘๓๕ หลังจากนั้นก็สร้างเมืองแซ่วซึ่งต่อมาถูกน้ำท่วม จากนั้นมาสร้างเวียงกุมกามใน พ.ศ.๑๘๓๗ และเวียงเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๙ ในเวลาต่อมาค่ะ


DSC00616.jpg


ศาลา วัดบ่อน้ำทิพย์ ค่ะ



DSC00609.jpg


DSC00610.jpg



DSC00611.jpg



พระพุทธรูป
ประดิษฐานภายใน ศาลา วัดบ่อน้ำทิพย์ ค่ะ  



รูปภาพที่แนบมา: DSC00606.jpg (2016-6-17 14:06, 98.99 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMjF8MjUzZWFmNjN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00609.jpg (2016-6-17 14:06, 98.41 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMjJ8MTdlYTE0ZDl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00610.jpg (2016-6-17 14:06, 99.26 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMjN8MjkzYjI0MGN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00611.jpg (2016-6-17 14:07, 99.02 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMjR8MzU1Njg5MzJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00616.jpg (2016-6-17 14:07, 99.66 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMjV8N2YzMjQ4M2N8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 14:06

DSC00634.jpg



ฐานซากโบราณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
วัดบ่อน้ำทิพย์ อยู่ด้านข้าง ศาลา ค่ะ


DSC00629.jpg


ฐานอาคาร วัดบ่อน้ำทิพย์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อยู่ด้านหลัง ศาลา ค่ะ


DSC00623.jpg



DSC00626.jpg


วิหาร
วัดบ่อน้ำทิพย์ เหลือแต่เฉพาะส่วนฐานค่ะ


DSC00632.jpg


บ่อน้ำทิพย์ วัดบ่อน้ำทิพย์ ค่ะ


ประวัติวัดบ่อน้ำทิพย์


ในระหว่างที่พญามังรายสร้างเวียงกุมกามอยู่นั้น ได้ประทับชั่วคราวอยู่ที่บริเวณวัดบ่อน้ำทิพย์ พญามังรายนั้นเชี่ยวชาญทุกด้าน และด้านที่ไม่มีหนังสือเล่มใดกล่าวถึงคือด้านการแพทย์ โดยการใช้ว่านทำสมุนไพรเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เมื่อประชาชนขอรักษามากขึ้นเรื่อยๆ กองแพทย์ของพญามังรายจึงรักษาไม่ไหว จึงได้ปรึกษาพญามังราย พญามังรายจึงบรรชาให้ขุดย่อย่ำขึ้น ๓ บ่อ ในแนวตะวันออก ตะวันตก และทำยาสมุนไพรซึ่งเป็นว่านต่างๆ ปั้นเป็นรูปพระพุทธรูปวางประดิษฐานไว้ในบ่อน้ำทั้ง ๓ บ่อ

บ่อที่ ๑ อยู่ในแนวตะวันตกสุดเป็นบ่อขนาดเล็ก ขอบบ่อกว้างแค่ประมาณ ๑ เมตร เป็นบ่อน้ำทิพย์ที่ใช้รักษาเฉพาะราชวงศ์ มีผู้พบเห็นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๐ มีข่าวลือว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์ ปัจจุบันหายสาบสูญไป ผู้พบเห็นปัจจุบันยังคงมีชีวิตอยู่หลายคน


บ่อที่ ๒ คืออยู่ที่วัดบ่อน้ำทิพย์แห่งนี้ เป็นบ่อที่อยู่ตรงกลาง ปัจจุบันขุดพบเพียงบ่อเดียว เป็นบ่อที่พญามังรายสร้างไว้สำหรับทหารข้าศึกแม่ทัพนายกอง เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ


บ่อที่ ๓ อยู่ในทิศตะวันออกสุด เป็นบ่อที่ใช้รักษาโรคของประชาชนทั่วไป ปัจจุบันคาดว่าจะอยู่ในแนวถนนวงแหวนรอบกลาง

หลังจากพญามังรายได้สร้างเวียงกุมกามและเชียงใหม่เสร็จแล้ว เชื่อว่ายังคงมีการนำน้ำทิพย์จากบ่อน้ำทั้ง ๓ แห่งนี้ ไปใช้รักษาโรค หรือใช้ในการทำพิธีศาสนาสำคัญ รวมทั้งในการทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับออกศึกสงครามหลายชั่วชีวิตคน และในสมัยพม่าปกครองล้านนา พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗ ประชาชนได้หลบหนีภัยสงครามเข้าไปอยู่ในป่าเขาประกอบกับลำน้ำปิงเปลี่ยนเส้นทาง ชุมชนวัดบ่อน้ำทิพย์ได้ลดความสำคัญลงไปและร้างไปในที่สุด

ชุมชนวัดบ่อน้ำทิพย์ คงเริ่มมีบ้านเรือนผู้คนอาศัยอยู่หลังจากพระยากาวิละฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่อีกหลายสิบปีเนื่องจากสมัยนั้นผู้คนมีน้อยมีการอพยพประชาชนจากเมืองต่างๆ ทางทิศเหนือของประเทศปัจจุบันมาอยู่อาศัยในบริเวณนี้ที่เรียกว่า เทครัว ด้านทิศเหนือของชุมชนวัดบ่อน้ำทิพย์เรียกว่า บ้านเขิน ซึ่งเป็นการอพยพประชาชนจากเมืองเขิน ประเทศพม่าในปัจจุบัน

สำหรับปัจจุบันชุมชนบ่อน้ำทิพย์ เป็นที่รวมตัวกันอนุรักษ์โบราณสถานแห่งนี้ ไม่ได้หวังว่าวัดบ่อน้ำทิพย์แห่งนี้จะเป็นที่รักษาโรคภัยไข้เจ็บให้หายเหมือนในสมัยพญามังรายยังคงมีชีวิตอยู่ เพียงแต่เห็นว่าเป็นสถานที่ที่ร่มรื่นสวยงาม เป็นปอดของชุมชนในภาวะอากาศเป็นพิษเหมาะสมต่อการพักผ่อนและออกกำลังกาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่จำหน่ายสินค้าชุมชนของหมู่บ้านในอนาคต รวมทั้งยังเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของพญามังรายผู้สร้างเวียงกุมกามและนครเชียงใหม่




รูปภาพที่แนบมา: DSC00623.jpg (2016-6-17 14:10, 99.99 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMjZ8NjU1ZmEzYzN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00626.jpg (2016-6-17 14:10, 97.02 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMjd8NGZlNDI3YmZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00629.jpg (2016-6-17 14:10, 99.54 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMjh8M2Y4OTE2NGF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00632.jpg (2016-6-17 14:10, 96.22 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMjl8YmQ1ZTU0Y2N8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00634.jpg (2016-6-17 14:10, 99.47 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMzB8ZTFkZGFhMzh8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 14:18

๒๔. วัดโบสถ์ (อุโบสถ)




DSC00390.jpg


วัดโบสถ์ (อุโบสถ) ตั้งอยู่ในเขตบ้านป่าเปอะ ตำบลท่าวังตาล อยู่นอกเขตเวียงกุมกาม ด้านทิศตะวันตก ห่างจากแนวคูเมือง-กำแพงเมือง ประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดโบสถ์มีเนื้อที่ ๘๕ ตารางเมตร ซึ่งพื้นที่บางส่วนอยู่ในที่ดินของประชาชน ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะแล้ว


DSC00391.jpg


ทางเข้า/ออก
วัดโบสถ์ (อุโบสถ) ค่ะ


DSC00392.jpg


วัดโบสถ์ (อุโบสถ) แต่เดิมพื้นที่วัดนี้เป็นโบราณสถาน ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นโบสถ์ของวัดร้าง ชาวบ้านจึงเรียกกันเนื่องจากเป็นเนินลักษณะคล้ายอุโบสถ และเคยมีการขุดพบพระพิมพ์จำนวนมาก ชาวบ้านจึงเชื่อว่าเป็นอุโบสถของวัดร้าง โบราณสถานแห่งนี้อยู่ลึกลงไปจากพื้นดินปัจจุบันมาก จึงประสบกับปัญหาน้ำท่วมขัง ภายหลังการขุดแต่งและบูรณะเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๔ จึงได้นำทรายมากลบปิดโบราณสถานบางส่วนไว้ เพื่อให้คงสภาพอยู่ต่อไปได้ กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่ง เมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๓ พบโบราณสถานประกอบด้วย วิหาร และเจดีย์ ค่ะ


DSC00395.jpg


ฐานวิหาร วัดโบสถ์ (อุโบสถ) หันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คงเหลือเพียงฐานหน้ากระดานบัวคว่ำ และท้องไม้บางส่วน พื้นวิหารปูด้วยอิฐและฉาบปูนขาว พบร่องรอยฐานเสาทำจากศิลาค่ะ


DSC00399.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน ส่วนตอนหลังวิหาร วัดโบสถ์ (อุโบสถ) วางตัวตามแนวทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ค่ะ


DSC00402.jpg


ฐานพระเจดีย์
วัดโบสถ์ (อุโบสถ) ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร เหลือหลักฐานเพียงชั้นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมชั้นล่าง ลักษณะเป็นเจดีย์สมัยล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ซึ่งคล้ายวัดกู่ป้าด้อม มีแท่นบูชาตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ และทิศตะวันตก

จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุสำคัญ เช่น ยอดเจดีย์ทำจากสำริด ปะติมากรรมปูนปั้น รูปเศียรเทวดา พระพิมพ์ดินเผาชิ้นส่วนพระพุทธรูปทำจากปูนปั้น สำริดดินเผาและหินทราย นอกจากนี้ยังพบแผ่นอิฐจารึกอักษาฝักขาม จำนวน ๑๐ แผ่น ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC00390.jpg (2016-6-17 14:19, 99.23 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMzF8MGFhZDI2MmR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00391.jpg (2016-6-17 14:19, 98.75 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMzJ8ODEwMjBmMzB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00392.jpg (2016-6-17 14:19, 92.67 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMzN8NWRkYTg0MTZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00395.jpg (2016-6-17 14:19, 95.36 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMzR8MDBkNDQ5OTN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00399.jpg (2016-6-17 14:19, 99.03 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMzV8NzRlNGI3MWF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00402.jpg (2016-6-17 14:19, 99.27 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMzZ8ZDY0ZTM0NDJ8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 14:25

๒๕. วัดป่าเปอะ




DSC00404.jpg


วัดป่าเปอะ ตั้งอยู่ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่บริเวณใกล้กับวัดโบสถ์ (อุโบสถ) ค่ะ


DSC00403.jpg


ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00405.jpg


วิหารหลังใหญ่ วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00408.jpg


วิหารหลังเล็ก วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00412.jpg


DSC00413.jpg



บรรยากาศภายใน วัดป่าเปอะ ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00403.jpg (2016-6-17 14:29, 97.56 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMzd8NTdkYTBhZWN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00404.jpg (2016-6-17 14:29, 98.83 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMzh8NjJhNWEyNGJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00405.jpg (2016-6-17 14:29, 98.67 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzMzl8OGMwNjVlNzl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00408.jpg (2016-6-17 14:29, 99.61 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 11
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNDB8YTk0OTBmNWF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00412.jpg (2016-6-17 14:29, 99.75 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNDF8ODJmMDA0MDN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00413.jpg (2016-6-17 14:29, 99.88 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNDJ8NTYyNjQ4ZDd8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 14:33

DSC00414.jpg



DSC00419.jpg



พระเจดีย์
วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00418.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ พระเจดีย์ วัดป่าเปอะ ค่ะ


DSC00416.jpg


DSC00417.jpg



รูปพระสังกัจจายน์จีน ประดิษฐานภายใน ซุ้ม ฐานองค์พระเจดีย์ วัดป่าเปอะ ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC00414.jpg (2016-6-17 14:33, 92.76 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNDN8M2QyYTU2MWN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00416.jpg (2016-6-17 14:33, 99.92 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNDR8Y2M4ZGEwYzd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00417.jpg (2016-6-17 14:33, 99.8 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNDV8OWYyNWY3YmJ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00418.jpg (2016-6-17 14:33, 97.92 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNDZ8MTFkNGI2Y2R8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00419.jpg (2016-6-17 14:33, 97.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNDd8MzJjYjE0YzN8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 14:36

๒๖. วัดพญามังราย




DSC00421.jpg



วัดพญามังราย ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระเจ้าองค์ดำ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สามารถเดินทางเข้าถึงจากสามแยกถนนสายเกาะกลางด้านหน้าวัดเจดีย์เหลี่ยม เลาะเสียบถนนในหมู่บ้านตามแนวลำเหมืองก็ถึงบริเวณวัด ปัจจุบันวัดอยู่ในเขตที่ดินสวนลำไยของเอกชน แปลงเดียวกันกับวัดพระเจ้าองค์ดำ วัดหนานช้างและวัดปู่เปี้ย ที่ตั้งอยู่ห่างออกมาทางทิศใต้ตามลำดับ


DSC00432.jpg


ประวัติวัดพญามังราย วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (๔๕ องศา) เข้าหาลำแม่น้ำปิงสายเก่า (ปิงห่าง) ชื่อวัดพญามังราย เป็นชื่อเรียกที่ตั้งกันขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากรในระยะที่ผ่านมา เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดนี้ แต่เมื่อพิจารณาจากที่ตั้งที่อยู่ใกล้วัดกู่คำ-เจดีย์เหลี่ยม มีบริเวณแวดล้อมที่อยู่ใกล้ชิดกับวัดพระเจ้าองค์ดำมากดังกล่าว จนดูเหมือนว่าเดิมเป็นวัดเดียวกัน ที่ผู้อุปถัมภ์วัดน่าจะมีสถานภาพทางสังคมในระดับสูง อาจจะเป็นกษัตริย์หรือเจ้านายที่เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ จึงสามารถสร้างวัดที่มีสิ่งก่อสร้างหลายๆ แห่งในบริเวณเดียวกัน โดยก่อสร้างกันในระหว่างหมู่เครือญาติ หรือสร้างประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญต่างๆ ประการสำคัญค่ะ


DSC00430.jpg


ฐานวิหาร วัดพญามังราย ค่ะ


วิหาร วัดพญามังราย ขนาดค่อนข้างใหญ่ สร้างก่ออิฐสอดินฉาบปูน มียกพื้นฐานสูงทำย่อเก็จลดทางด้านหน้า (เฉพาะข้างขวา-ข้างซ้ายเป็นบันได) ๒ ช่วง ส่วนบนวิหาร พื้นปูอิฐเดิม ปรากฏร่องรอยของฐานเสาแบบใช้ก้อนหินธรรมชาติรองรับ การที่วัดนี้มีวิหารมากหลังย่อมแสดงถึงคนหลายกลุ่มของสายตระกูลผู้อุปถัมภ์เดียวกัน ที่ได้เข้ามาทำกิจกรรมทำบุญฟังเทศนาธรรมกันมาก จึงได้สร้างวิหารไว้หลายหลัง วัดนี้มีเอกลักษณ์อยู่ที่การสร้างวิหารที่ไม่มีทางขึ้นลงหลักไว้ที่ด้านหน้า แต่สร้างไว้ที่ด้านข้างซ้าย (เมื่อหันหน้าไปทางหน้าวัด) ตอนหน้า


DSC00431.jpg


บันไดทางขึ้น/ลงหลัก อยู่ด้านข้างซ้ายทิศเหนือตอนหน้า วิหาร วักพญามังราย ค่ะ



DSC00433.jpg


แท่นแก้ว (ฐานชุกชีพระประธาน) ส่วนห้องตอนหลังวิหาร วัดพญามังราย เป็นที่ทำย่อเก็จยื่นออกมาข้างหน้า เพื่อประดิษฐานพระประธาน ซึ่งปัจจุบันพังทลายไม่เหลือหลักฐานแล้วค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00421.jpg (2016-6-17 14:41, 99.07 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNDh8M2Y1ZGU4OWV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00432.jpg (2016-6-17 14:41, 99.67 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNDl8MjRmM2Y3YWV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00430.jpg (2016-6-17 14:41, 99.4 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNTB8NzQxMmE4NjF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00431.jpg (2016-6-17 14:41, 99.77 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNTF8NDY1ZDYzOWN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00433.jpg (2016-6-17 14:41, 99.65 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNTJ8NDJmN2I5MmN8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 14:37

DSC00435.jpg



DSC00427.jpg



ฐานพระเจดีย์
วัดพญามังราย ค่ะ


พระเจดีย์ วัดพญามังราย ก่ออิฐสอดินฉาบปูน ปัจจุบันคงเหลือหลักฐานเฉพาะในส่วนฐาน จากระเบียบการก่อสร้างในส่วนฐานนี้ พิจารณาว่าเป็นเจดีย์ทรงมณฑปโดยเฉพาะการทำชั้นฐานปัทม์ย่อเก็จท้องไม้ลูกแก้วอกไก่สูง ๒ ชั้น พบหลักฐานลวดลายปูนปั้นประดับส่วนซุ้มพระพุทธรูปจากการขุดแต่ง และมีร่องรอยการตกแต่งปูนปั้นลายช่องกระจกสอดไส้ ลักษณะคล้ายคลึงกับที่เจดีย์วัดป่าสัก-เชียงแสน ทำให้พิจารณาได้ว่าวัดนี้อาจจะมีอายุเก่าแก่ไปถึงประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ค่ะ


DSC00428.jpg


ฐานอาคารโบราณสถาน และมีบันไดทางขึ้น/ลงด้านข้างสองแห่ง วัดพญามังราย อยู่ด้านหลังวิหารและด้านหน้าพระเจดีย์ค่ะ


DSC00434.jpg


อาคารจัตุรมุข วัดพญามังราย ลักษณะผังพื้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำย่อเก็จเป็นมุขยื่นออกไปทั้ง ๔ ด้าน เดิมคงจะประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ มีโครงสร้างและเครื่องยอดหลังคาที่งดงามค่ะ


DSC00429.jpg


กำแพงแก้ว และประตูโขงด้านหน้า วัดพญามังราย ปัจจุบันยังขุดแต่ง-บูรณะเพียงเฉพาะด้านหน้าโดยที่ส่วนของกำแพงแก้วเหลือหลักฐานเฉพาะส่วนตอนล่าง ซึ่ง ณ เวลาปัจจุบันยังขุดแต่งขอบเขตกำแพงแก้วไม่ครบทุกด้าน ส่วนประตูโขงทำย่อเก็จในส่วนฐาน อันแสดงถึงว่าแต่เดิมเคยมีส่วนของเสาและสิ่งก่อสร้างในส่วนเครื่องหลังคา


กำแพงแก้ว และประตูโขงด้านหน้า
วัดพญามังราย เป็นรูปแบบที่พบเห็นได้ของวัดในเขตล้านนาโดยทั่วไป ซึ่งอาจจะมีการสร้างเสริมขึ้นมาในระยะหลังก็ได้ ซึ่งการทำประตูโขงกำแพงแก้วที่สร้างล้อมรอบเขตพุทธาวาสของวัดนี้ พบหลักฐานการอ้างอิงถึงในเอกสารโบราณอย่างน้อยอยู่ในสมัยยุคทองของล้านนา-สมัยพญาติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๑) เป็นต้นมา ดังเช่นที่ได้กล่าวการสร้างกำแพงแก้วไว้ในประวัติวัดเจ็ดยอด (โพธารามมหาวิหาร) อันเป็นสถานที่กระทำมหาสังคายนพระไตรปิฏกครั้งที่ ๘ ของโลก ในวาระพุทธศาสนายังมีอายุครบ ๒,๐๐๐ปี ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00428.jpg (2016-6-17 14:47, 99.11 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNTN8NzQ4ZmU5N2Z8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00434.jpg (2016-6-17 14:47, 99.35 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNTR8ZjY5MzllYmF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00435.jpg (2016-6-17 14:47, 99.76 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNTV8NTY2OTViNzd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00429.jpg (2016-6-17 14:47, 98.3 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNTZ8Mzk3YTVkMjR8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00427.jpg (2016-6-17 14:47, 95.16 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNTd8NGUxMTg4NDl8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 14:52

๒๗. วัดพระเจ้าองค์ดำ




DSC00421.jpg


DSC00426.jpg



วัดพระเจ้าองค์ดำ ตั้งอยู่ในเขตที่ดินเอกชน บริเวณพื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือเวียงกุมกาม กลางทางระหว่างวัดเจดีย์เหลี่ยม และวัดธาตุขาว (ร้าง) แต่เดิมน่าจะเป็นอาคารพุทธศาสนสถานกลุ่มเดียวกับวัดพญามังราย ที่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือในเขตใกล้เคียงกัน พื้นที่โดยรอบเป็นเขตสวนลำไย ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ใกล้กับเขตวัดศรีบุญเรือง ด้านทิศใต้ใกล้เคียงกับวัดหนานช้าง (ร้างและวัดปู่เปี้ย (ร้าง) ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่าวัดพระเจ้าองค์ดำ อันเนื่องมาจากการที่เคยมีผู้ขุดพบพระพุทธรูปองค์สีดำ ณ วัดนี้

โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง-บูรณะวัดพระเจ้าองค์ดำ ได้แก่ พระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กศิลปะแบบล้านนาหลายองค์ พระพุทธรูปสำริดนาคปรกทรงเครื่องแบบศิลปะเขมร-ลพบุรี พระพิมพ์แบบหริภุญไชย (พระสิบสอง) ลวดลายปูนปั้นตกแต่งประดับต่างๆ และ (เศษ) ภาชนะดินเผา ผลิตภัณฑ์ของเตาสมัยล้านนาในหลายรูปแบบค่ะ


DSC00441.jpg


กลุ่มพระเจดีย์-วิหาร วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


ประวัติวัดพระเจ้าองค์ดำ แต่เดิมมีบริเวณวัดที่กว้างขวาง สิ่งก่อสร้างพบ ๒ กลุ่ม ที่เป็นกลุ่มเจดีย์-วิหาร และอาคารประเภทวิหารทางด้านทิศใต้ เดิมวัดนี้คงเป็นวัดที่สำคัญของเวียงกุมกามอีกวัดหนึ่ง เพราะได้พบหลักฐานสิ่งก่อสร้างหลายแห่ง อีกทั้งรูปแบบของอาคารแต่ละแห่งนั้นมีลักษณะเฉพาะของตนเอง โดยเฉพาะการทำย่อมุมในส่วนฐานเจดีย์ประธาน รวมถึงฐานพระพุทธรูปต่างๆ

ผังรูปแบบการก่อสร้าง วัดพระเจ้าองค์ดำ สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่สายแม่น้ำปิง (ห่าง) ในแนวแกนทิศเดียวกันกับวัดพญามังราย การศึกษาเปรียบเทียบและกำหนดอายุสมัยวัดพระเจ้าองค์ดำ กล่าวได้ว่า บรรดาสิ่งก่อสร้างของทั้งวัดพระเจ้าองค์ดำและวัดพญามังราย แต่เดิมน่าจะเป็นกลุ่มวัดเดียวกัน เพราะเหตุที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันมาก อีกทั้งยังสร้างพระเจดีย์-วิหารหันหน้าไปในแนวเดียวกัน ซึ่งจากทำงานขุดแต่ง-บูรณะของกรมศิลปากรแต่เดิมในปีพ.ศ.๒๕๓๐ นั้นก็เรียกชื่อรวมเป็นวัดเดียวกันว่า กลุ่มวัดพระเจ้าองค์ดำ จนมาในระยะหลังได้มีการแยกออกเป็น ๒ วัด ดังเช่นในปัจจุบันนี้


DSC00440.jpg


ฐานวิหาร วัดพระเจ้าองค์ดำ ส่วนฐานก่อสร้างด้วยอิฐสอดินฉาบผิวนอกด้วยปูนขาว โดยทำมุขด้านหน้าลดระดับกับส่วนท้องใหญ่ของวิหารอย่างชัดเจนค่ะ


DSC00444.jpg


แท่นแก้ว (ฐานชุกชีพระประธาน) ส่วนห้องตอนหลังวิหาร วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


DSC00442.jpg


รูปปั้นตัวหัวบันไดแบบขดก้นหอย วิหาร วัดพระเจ้าองค์ดำ เป็นรูปขดก้นหอยปูนปั้นลักษณะเดียวกับหัวบันไดขึ้นลานปทักษิณฝั่งตะวันออกของเจดีย์ประธานวัดอีค่างค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00426.jpg (2016-6-17 14:54, 97.61 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNTh8MTJjZDk4NzF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00441.jpg (2016-6-17 14:54, 99.19 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNTl8ZmE3OGJiNGF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00440.jpg (2016-6-17 14:54, 99.05 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNjB8NjE4MTJkNTd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00444.jpg (2016-6-17 14:54, 98.43 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNjF8NDNiMTExMGZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00442.jpg (2016-6-17 14:54, 99.42 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNjJ8MjUxZmFkN2R8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00421.jpg (2016-6-17 14:54, 99.07 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNjN8ZGE4ODYyNDd8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 14:53

DSC00439.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


พระเจดีย์ วัดพระเจ้าองค์ดำ ทำฐานพระเจดีย์เป็นแบบย่อมุม ๒๐ ย่อเก็จในส่วนฐาน รูปทรงเดิมพระเจดีย์น่าจะเป็นทรงระฆัง เพราะไม่การทำฐานย่อเก็จแบบเจดีย์ทรงมณฑป ซึ่งไม่เหมือนกับวัดแห่งอื่นๆ ในเขตเวียงกุมกาม นอกจากการมีฐานย่อมุม ๒๐ ดังกล่าวแล้ว พิจารณาว่าน่าจะก่อสร้างร่วมสมัยกับอยุธยา โดยเฉพาะระยะหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐ อีกทั้งการทำแท่นบูชาไว้ตอนบนส่วนฐานเขียงตอนล่างนั้น ไม่ค่อยพบในเจดีย์ที่อื่นๆ เพราะโดยทั่วไปที่พบเห็นมักจะทำไว้นอกส่วนของฐานเจดีย์ ด้านโบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง ก็พบคล้ายกับที่พบจากการขุดแต่งวัดพญามังราย

ดังนั้นการกำหนดอายุสมัยของวัดนี้ โดยเฉพาะจากรูปแบบเจดีย์ประธาน ที่มีการทำย่อมุมคล้ายกับเจดีย์แบบอยุธยา จึงพิจารณาว่าการก่อสร้าง (หรือซ่อมบูรณะ) ในระยะหลังกว่าพระเจดีย์วัดพญามังราย แต่จากรูปแบบการทำหัวบันไดปูนปั้นแบบขดก้นหอย พิจารณาได้ว่าน่าจะสร้างระยะใกล้เคียงกับฐานลานปทักษิณพระเจดีย์วัดอีค่างในระยะพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา


DSC00448.jpg


ฐานอาคาร ๓ แห่งทางด้านข้าง (ทิศใต้) และพระเจดีย์ วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


DSC00443.jpg


ฐานอาคารแห่งแรก ของกลุ่มอาคาร ๓ แห่งทางด้านข้าง (ทิศใต้) วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


DSC00445.jpg


ฐานอาคารแห่งที่สอง ของกลุ่มอาคาร ๓ แห่งทางด้านข้าง (ทิศใต้) วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ


DSC00446.jpg


ฐานอาคารแห่งที่สาม ของกลุ่มอาคาร ๓ แห่งทางด้านข้าง (ทิศใต้) วัดพระเจ้าองค์ดำ ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00439.jpg (2016-6-17 15:00, 99.67 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNjR8N2NjNWIwZDN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00448.jpg (2016-6-17 15:00, 99.5 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNjV8YWNiNTdjMTZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00443.jpg (2016-6-17 15:00, 99.97 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNjZ8ODA1MGJkZjZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00445.jpg (2016-6-17 15:00, 99.72 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNjd8ODlmNjIyMDZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00446.jpg (2016-6-17 15:00, 98.26 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 10
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNjh8ZmZmODBlN2R8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 15:05

๒๘. วัดธาตุขาว




DSC00451.jpg


วัดธาตุขาว ตั้งอยู่ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่  ทางทิศใต้วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ในเส้นทางผ่าทางเข้าวัดพญามังราย-พระเจ้าองค์ดำมาทางใต้ ในเขตพื้นที่ทางด้านตะวันตกของเวียงกุมกามและวัดปู่เปี้ย (ร้าง) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สภาพปัจจุบันเป็นวัดร้าง และขึ้นบัญชีเป็นวัดของกรมศาสนา สภาพแวดล้อมทั่วไปแวดล้อมด้วยสวนลำไยของเอกชน มีถนนบุญรักษ์สายใหม่ตัดผ่านด้านหน้าวัดค่ะ


DSC00453.jpg


ผังรูปแบบการก่อสร้างและลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรม วัดธาตุขาว ค่ะ

วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จากหลักฐานด้านเอกสารไม่ปรากฏการกล่าวอ้างอิงถึงถึงประวัติของวัดนี้ว่าการก่อสร้างขึ้นเมื่อใด แต่เข้าใจว่าสภาพความเป็นวัดคงเกิดขึ้นแล้วในสมัยเวียงกุมกาม และดำรงอยู่ร่วมสมัยล้านนาเรื่อยมา ที่เรียกกันว่า วัดธาตุขาว ก็เนื่องมาจากแต่เดิมเจดีย์ยังคงปรากฏผิวฉาบปูนสีขาว (ธาตุ หรือ กู่ เป็นคำเรียกขานในท้องถิ่นล้านนา หมายถึง เจดีย์) ลักษณะพิเศษทางด้านการก่อสร้างพบการทำ (ฐาน) มณฑปหรือแท่นแก้วชุกชี ที่สร้างอยู่ตรงกลางอาคารใกล้เคียงทางด้านใต้พระเจดีย์


DSC00455.jpg


ฐานวิหาร วัดธาตุขาว ค่ะ


วิหาร วัดธาตุขาว สภาพคงเหลือหลักฐานเพียงส่วนฐานก่ออิฐสอดินเช่นเดียวกัน ลักษณะเดิมเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งและร่องรอยโครงสร้างเสาแล้ว เป็นวิหารที่มีหลังคาทรงหน้าจั่วเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา และเนื่องจากการขุดแต่งไม่พบหลักฐานการก่อเรียงอิฐในส่วนผนัง ทำให้เข้าใจว่าเป็นวิหารแบบโถง องค์พระประธานพังทลายไม่เหลือหลักฐานแล้ว


DSC00456.jpg


ฐานชุกชีพระประธาน ส่วนด้านหลัง วิหาร วัดธาตุขาว ที่คงเหลือร่องรอยเฉพาะค่ะ


DSC00458.jpg


DSC00465.jpg



ฐานพระเจดีย์ วัดธาตุขาว สร้างก่ออิฐสอดินฉาบผิวด้วยปูนขาว จากรูปแบบสภาพปัจจุบันที่คงเหลือเฉพาะส่วนฐานเขียงเตี้ยตอนล่าง และชั้นปัทม์ย่อเก็จ ๒ ฐานซ้อนกัน พิจารณาว่าน่าจะเป็นเจดีย์ทรงระฆังค่ะ


DSC00466.jpg


แท่นบูชา อยู่ด้านหน้า พระเจดีย์ วัดธาตุขาว ค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: DSC00451.jpg (2016-6-17 15:06, 98.98 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNjl8Y2M1NzNlM2N8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00458.jpg (2016-6-17 15:06, 92.13 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 9
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNzF8NWRkZDljMDN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00455.jpg (2016-6-17 15:06, 98.12 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNzJ8MjU0ZDE2YTZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00456.jpg (2016-6-17 15:06, 99.25 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNzN8MGUwNmVhYTN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00465.jpg (2016-6-17 15:06, 98.03 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNzR8MTQ3NDAwYjd8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00466.jpg (2016-6-17 15:06, 94.24 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNzV8ZTVjNjE5MTl8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00453.jpg (2016-6-17 15:19, 99.46 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzODN8YWZlZjY5OGV8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 15:11

DSC00457.jpg



ฐานอาคารวิหารเล็ก
วัดธาตุขาว ค่ะ



DSC00460.jpg


โขงพระเจ้า ตรงกลางอาคารวิหารเล็ก อาคารวิหารเล็ก วัดธาตุขาว ค่ะ



DSC00463.jpg


ชิ้นส่วนปูนปั้นลายพรรณพฤกษา ส่วนด้านหลัง อาคารวิหารเล็ก วัดธาตุขาว ค่ะ


DSC00462.jpg


DSC00461.jpg



พระพุทธรูปปูนปั้น (พระประธาน) วัดธาตุขาว ค่ะ   


ประวัติพระพุทธรูปปูนปั้น วัดธาตุขาว

จากการขุดแต่งวัดนี้เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๘ ได้พบองค์พระพุทธรูปปูนปั้นที่แต่เดิมเคยตั้งประดิษฐานบนอาคารวิหารเล็ก แต่ได้ล้มตกหงายพระองค์ลงมาที่ขอบฐานล่าง ที่ส่วนขององค์ค่อนข้างสมบูรณ์แต่พระเศียรชำรุด ระยะต่อมาชาวบ้านได้หาช่างมาปั้นแต่งเสริมใหม่ให้มีลักษณะพื้นเมือง และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้ที่สะดือของพระพุทธรูปดังเช่นปัจจุบัน

ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ได้มีผู้พบพระพุทธรูปสำริดขนาดเล็กรูปแบบศิลปะอินเดียที่มีร่องรอยเดือยแกนด้านหลังสำหรับติดกับวัตถุหรือสิ่งก่อสร้างอื่น ลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัย แบบมีวงโค้งประภามณฑล ด้านหลังมีจารึกรูปแบบอักษรอินเดีย เป็นข้อความคาถาหัวใจพุทธศาสนา (เย ธัมมา)


DSC00464.jpg



ฐานอุโบสถ วัดธาตุขาว  สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกใกล้กับพระเจดีย์ทางด้านใต้ ปรากฏหลักฐานเพียงส่วนกรอบฐานก่ออิฐในผังสี่เหลี่ยมสร้างยกพื้นเตี้ย โดยรอยพบก้อนหินธรรมชาติตั้งวางไว้แสดงขอบเขตพัทธสีมาค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC00457.jpg (2016-6-17 15:12, 99.43 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 14
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNzZ8MWFiZTU2ZWN8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00460.jpg (2016-6-17 15:12, 99.47 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 15
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNzd8MjAwMGMyODF8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00461.jpg (2016-6-17 15:12, 99.84 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 15
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNzh8YTNhMzU0MjB8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00462.jpg (2016-6-17 15:12, 99.79 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 15
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzNzl8Yzc1MTYyYTV8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00463.jpg (2016-6-17 15:12, 99.06 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 12
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzODB8MTc4NGM0Y2J8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC00464.jpg (2016-6-17 15:13, 98.65 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 14
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzODF8NzVkNzdkYzN8MTczMjcyNjEwNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2016-6-17 15:24

๒๙. วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ)

ม.๑  ต.ท่าวังตาล  อ.สารภี  จ.เชียงใหม่

(พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุคางเบื้องขวา)


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทีเว็บแดนนิพพาน...

http://www.dannipparn.com/thread-136-1-5.html



baUChom-11.png




๓๐ . วัดช้างค้ำ (วัดกานโถม)

บ.ช้างค้ำ  ม.๑๑  ต.ท่าวังตาล  อ.สารภี  จ.เชียงใหม่

(พระบรมธาตุเจดีย์)


ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทีเว็บแดนนิพพาน...

http://www.dannipparn.com/thread-130-1-6.html




baUChom-1.png



ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูง สำหรับผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจก่อให้เกิดงานชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา ไว้ในบวรพระพุทธศาสนาสืบต่อไป และน้อยถวายพระราชกุศลแด่หลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นที่สุด จาก :

บุคคล
(๑) คุณลุงลูกป้าด้อม (จากวัดกู่ป้าด้อม) และคุณลุง (จากวัดกู่ต้นโพธิ์) สำหรับข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) บุคคลทุกท่านที่ไม่ได้เอ่ยนามถึงที่เมตตาช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในการทำงานชิ้นนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมาย

เอกสารและหนังสือ
(๑) ประวัติวัดบ่อน้ำทิพย์. สุบิล อรุณศิโรจน์ ประธานกลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร จ.เชียงใหม่
(๒) แผ่นป้ายประวัติวัดและโบราณสถานทุกแห่งในเวียงกุมกาม กรมศิลปากร พ.ศ.๒๕๔๕
(๓) ข้อมูลและหลักฐานต่างๆ จากพิพิธภัณฑ์และศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม
(๔) แผ่นป้ายประวัติและข้อมูลภายในวัดและโบราณสถานทุกแห่งในเวียงกุมกาม
(๕) ประวัติเมืองเชียงใหม่. ท่านพระครูอดุลลีลกิตต์ (เจ้าอาวาสวัดพระธาตุคำ)
(๖) ไกรสิน อุ่นใจจินต์. เวียงกุมกาม : ราชธานีแรกเริ่มของล้านนา.พิมพ์ครั้งที่ ๒. จรัสธุรกิจการพิมพ์: เชียงใหม่, ๒๕๔๘.
(๗) นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ๑ ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลกฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่๑). เชียงใหม่ : ลานนาการพิมพ์.

สื่ออินเตอร์เน็ต
(๑) http://www.thai-tour.com/thai-to ...ic_vieng-kumkam.htm
(๒) www.geocities.com/wiangkoomkam/index1.html


หมายเหตุ
ถ้าหากว่างานชิ้นนี้มีความผิดพลาดบกพร่องประการใดขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว และขออภัยในความบกพร่องต่างๆในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปหวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย



ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตาม...ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ณ เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ มาจนถึงตอนสุดท้าย ข้าพเจ้าก็ขอสิ้นสุดการเดินทางเพียงเท่านี้นะคะ สวัสดีค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: baUChom-11.png (2016-6-17 15:36, 11.65 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 16
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzODR8NjI0MzJkOTZ8MTczMjcyNjEwNXww



รูปภาพที่แนบมา: baUChom-1.png (2016-6-17 15:36, 13.35 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 13
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDYzODV8M2ZiNDgwMzV8MTczMjcyNjEwNXww






ยินดีต้อนรับสู่ แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน" (http://dannipparn.com/) Powered by Discuz! X1.5