แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

ชื่อกระทู้: รวมบทความพระอริยะ [สั่งพิมพ์]

โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-23 18:14     ชื่อกระทู้: รวมบทความพระอริยะ

S__42418183.1.jpg



รวมบทความพระอริยะ



     ข้าพเจ้าได้คัดลอกและรวบรวมบทความธรรมะจากหนังสือธรรมะต่างๆ โดยมีเนื้อหาทั้งหมด ๕๖ ตอน หวังเล็กๆ ว่าท่านผู้อ่านทุกท่านจะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดจากบทความดังกล่าว และได้เป็นข้อคิดแห่งธรรมะกลับไปพิจารณาด้วยการมีสติ ที่รู้จักใคร่ครวญไตร่ตรองตามอัธยาศัยแต่ละบุคคล ขอความสวัสดี และสมประสงค์ในธรรมอันบริสุทธิ์ จงมีแด่ท่านผู้อ่านทั้งหลาย จงทุกคนเทอญ


l7.png



สารบัญ


๑.   พระอมตมหานิพพาน; สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี


๒.   ตีเหล็กร้อนๆ; สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี


๓.   ความโกรธ; สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี


๔.   ปฏิปทาภินิหารพระอาจารย์ในดง; พระอาจารย์ชาญณรงค์ อภิชิโต (ศิริสมบัติ) (ศิษย์ผู้น้องของพระครูเทพโลกอุดร)


๕.   พระพุทธวจนะ; หลวงปู่ปาน โสนันโท


๖.   จตุรารักษ์; หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล


๗.   หลวงปู่มั่น แสดงธรรมในวันวิสาขบูชา ณ วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่


๘.   ความเพียรที่สละตาย; พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ


๙.   เหตุใด ? อริยธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว แต่ผู้ศรัทธาไม่ได้ทำให้เป็นจริงขึ้น; พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ


๑๐.  คบคนพาล พาลไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล; พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ


๑๑.  อย่าให้ใจเหมือน; พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ


๑๒.  การฝึกซ้อมสติปัญญากับความเจ็บป่วย; พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ


๑๓.  ปัจฉิมโอวาทของหลวงปู่มั่นในวาระสุดท้ายของชีวิต; พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ


๑๔.  ใต้รอยบาทหลวงพ่อเดิม; ท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์


๑๕.  พิจารณาเห็นธรรมในธรรม; หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


๑๖.  อาหารของผู้บรรลุธรรมชั้นสูง; หลวงปู่ดูลย์ อตุโล


๑๗.  บทสวดทิพย์มนต์สมัยพระสมณโคดมเสวยพระชาติเป็นพระฤาษี; ท่านพ่อลี วัดอโศการาม


๑๘.  คำเตือนสติและโอวาทของท่านธัมมวิตักโก; เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต


๑๙.  ทำอะไรไม่ผิดเลย; เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต


๒๐.  สันติสุขจากการพึ่งตน; เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต


๒๑.  ละจนถึงที่สุด; พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด)


๒๒.  ค้นพบสัจธรรม; พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด)


๒๓.  ปัจจุบันธรรมเป็นธรรมโม; หลวงปู่แหวน สุจิณโณ


๒๔.  ให้ตั้งสัจจะ; หลวงปู่แหวน สุจิณโณ


๒๕.  คติธรรม…ธัมมุทเทส ๔; หลวงปู่แหวน สุจิณโณ


๒๖.  หลวงปู่เล่าเรื่อง ประวัติพระแก้วมรกต; หลวงปู่สิม พุทธาจาโร


๒๗.  พระคติธรรม; หลวงปู่สิม พุทธาจาโร


๒๘.  มรรคผลนิพพาน อยู่ที่ตนเอง; หลวงปู่โต๊ะ


๒๙.  การกำจัดความโกรธ; หลวงปู่โต๊ะ


๓๐.  ธรรมวิจักขณกถา; พุทธทาสภิกขุ

        - ๑.   ธรรมวิจักขณกถา

        - ๒.   ส่วนสำคัญของพุทธศาสนาที่ทุกคนควรรู้

        - ๓.   ลักษณะที่น่าอัศจรรย์บางประการของพุทธศาสนาอย่างเถรวาท

        - ๔.   ข้อควรทราบเกี่ยวกับหลักพุทธศาสนานิกายต่างๆ

        - ๕.   สิ่งที่เรายังสนใจกันน้อยไป

        - ๖.   การเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง (อาสาฬหบูชาเทศนา)


๓๑.  ความสำเร็จ; พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)


๓๒.  ที่แท้ – ก็ใบลานเปล่า; พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)


๓๓.  ธรรม คือ ธรรมชาติ ธรรมชาติ คือ ธรรม; หลวงปู่สี ฉันทสิริ


๓๔.  เทพเทวดานิมนต์ให้หลวงปู่สีเทศน์; หลวงปู่สี ฉันทสิริ


๓๕.  การแสวงหาสัจธรรมคืออะไร?; หลวงปู่สุภา กันตสีโล


๓๖.  อริยทรัพย์; สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถระ) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๘


๓๗.  หลวงพ่อโอภาสี ผู้บูชาเพลิง เป็นพุทธบูชา; พระมหาชวน มะลิพันธ์


๓๘.  ธรรมทั้งหลายย่อมมาจากเหตุ; หลวงปู่หล้า จันโทภาโส


๓๙.  วิธีขจัดความว้าเหว่ ท้อแท้ และเกิดปัญหา; หลวงปู่หล้า จันโทภาโส


๔๐.  ภิกษุผู้ถือการไม่นอนเป็นวัตร; หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต


๔๑.  กามกิเลสอนุสัย; หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


๔๒.  เทศนาปาฏิหาริย์ของหลวงปู่; หลวงพ่อเกษม เขมโก


๔๓.  หลักคำสอนของหลวงปู่มอก


๔๔.  ปรัชญาธรรมจากหลวงปู่; หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ


๔๕.  ปัจฉิมโอวาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า; สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙


๔๖.  ธรรมะในปริศนา ๑๒ ข้อ; หลวงปู่จันทร์ กุสโล


๔๗.  มนต์รัก; หลวงปู่จันทร์ กุสโล


๔๘.  ทำไฉน ? จึงจะฝันดี; หลวงปู่จันทร์ กุสโล


๔๙.  ธรรมจากหลวงพ่อ; พระนพีสีพิศาลคุณ


๕๐.  เอกลักษณ์เฉพาะตัวของหลวงปู่ยิด; หลวงปู่ยิด จันทสุวัณโณ


๕๑.  เทคนิคการฝึกสมาธิ; พระอาจารย์โชติ อาภัคโค


๕๒.  มหาสติปัฏฐานสูตร; หลวงพ่อกิตติศักดิ์ กิตติสาโร


๕๓.  อภัยทาน; พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป


๕๔.  ธรรมดาของชีวิต เป็นเช่นนั้นเอง


๕๕.  บัณฑิตสามเณร


๕๖.  ประวัติและข้อธรรม-คำสอน และการใช้พระผงจักรพรรดิและลูกแก้วจักรพรรดิ; พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า)




l28.png


ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :


ตอนที่ 1 - 9

http://www.dannipparn.com/thread-61-1-1.html


ตอนที่ 10 - 19

http://www.dannipparn.com/thread-61-2-1.html


ตอนที่ 20 - 29

http://www.dannipparn.com/thread-61-3-1.html


ตอนที่ 30 - 33

http://www.dannipparn.com/thread-61-4-1.html


ตอนที่ 34 - 43

http://www.dannipparn.com/thread-61-5-1.html


ตอนที่ 44 - 48

http://www.dannipparn.com/thread-61-6-1.html


ตอนที่ 49 - 56

http://www.dannipparn.com/thread-61-7-1.html



(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 7 กันยายน 2566)



รูปภาพที่แนบมา: S__42418183.1.jpg (2023-6-9 13:47, 535 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMxOTJ8MGE5MjkyOWV8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: l28.png (2023-6-9 13:47, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMxOTN8MGRmNmY2ODJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: l7.png (2023-6-9 14:39, 8 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMxOTl8MTNkZDgwNzh8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:15

S__43982856.jpg


ตอนที่ ๑

พระอมตมหานิพพาน

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

(วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ)

pngegg.5.3.3.png



สมเด็จพระพุทธเจ้าของเราผู้เป็นพระสัพพัญญูตรัสรู้แจ้งในธรรมทั้งปวง พระองค์จึงทรงแสดงธรรมที่จริง ๔ ประการไว้ให้สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้ง คือ

๑. ความทุกข์มีจริง
๒. สิ่งให้เกิดทุกข์มีจริง
๓. ธรรมเป็นที่ดับทุกข์มีจริง
๔. ข้อให้ปฏิบัติถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์มีจริง


นี่แหละเรียกว่า อริยสัจสี่ คือ เป็นความจริงสี่ประการ ซึ่งเพิ่มอริยเข้าอีกคำหนึ่งนั้น คือ อริย แปลว่า พระผู้รู้อย่างหนึ่ง พระผู้ไกลจากกิเลสอย่างหนึ่ง รวมอริยสัจจะสองคำเป็นนามเดียวกัน เรียกว่า อริยสัจ

พระอมตมหานิพพาน ไม่มีเกิดแก่เจ็บตาย เป็นที่ดับทุกข์จริงแลสุขจริง พระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมเห็นจริงแจ้งประจักษ์ในธรรม ๔ อย่างดังนี้ แลสั่งสอนสัตว์ให้รู้ความจริง เพื่อจะให้ละทุกข์ เข้าหาความสุขที่จริง แต่ฝ่ายปุถุชนนั้นเห็นจริงบ้างแต่เล็กน้อย ไม่เห็นความจริงแจ้งประจักษ์ เหมือนอย่างพระอริยเจ้าทั้งปวง


พวกปุถุชนเลยเห็นกลับไปว่า เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดก็ดี ไม่เป็นทุกข์อะไรนัก บ้างก็ว่าเจ็บก็เจ็บ สนุกก็สนุก ทุกข์ก็ทุกข์ จะกลัวทุกข์ทำไม บ้างก็ว่าถ้าตายแล้วเกิดใหม่ ได้เกิดที่ดีๆ เป็นท้าวพระยาเศรษฐีมั่งมีทรัพย์สมบัติมากมายแล้ว ก็หากลัวทุกข์อะไรไม่ ขอแต่อย่าให้ยากจนเท่านั้น

บ้างก็ว่าถ้าตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ ได้เสวยทิพยสมบัติ มีนางฟ้านับพันแวดล้อมเป็นบริวารเป็นสุขสำราญชื่นอกชื่นใจดังนั้นแล้ว ถึงจะตายบ่อยๆ เกิดบ่อยๆ ก็ไม่กลัวทุกข์กลัวร้อนอะไร

บ้างก็ว่า ถ้าไปอมตมหานิพพาน ไปนอนเป็นสุขอยู่นมนานแต่ผู้เดียว ไม่มีคู่เคียงเรียงหมอนจะนอนด้วยแล้ว เขาก็ไม่อยากจะไป เขาเห็นว่าอยู่เพียงเมืองมนุษย์กับเมืองสวรรค์เท่านั้นดีกว่า เขาหาอยากไปหาสุขในนิพพานไม่ พวกปุถุชนที่เป็นโลกีย์ชนย่อมเห็นไปดังนี้

อมตธรรม ธรรมที่ทำให้ไม่ตาย คือ พระนิพพานนี้ ใครได้ดื่มแล้วจะไม่ต้องมาเวียนว่ายเกิดในโลกสงสารอีก

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นิพพานมีอยู่ แต่ในนิพพานไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ มีแต่ความสุขอย่างเดียว

ครั้งหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้พระนครราชคฤห์ ท่านพระสารีบุตร กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า

“ดูกรอาวุธโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข ดูกรอาวุธโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข”

ท่านพระอุทายี ขณะนั้นยังเป็นเสขบุคคล บุคคลที่ยังต้องศึกษาต่อไป กล่าวถามท่านพระสารีบุตรว่า

“ดูกรอาวุธโสสารีบุตร นิพพานไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร”
เวทนา คือ อารมณ์สุข ทุกข์หรือเฉยๆ เมื่อในนิพพานไม่มีอารมณ์ เช่นนั้นแล้ว พระอุทายีจึงเกิดความสงสัยดังกล่าว


ท่านพระสารีบุตรกล่าวตอบ

“ดูกรอาวุธโส นิพพานนี้ไม่มีเวทนา นั้นแหละเป็นสุข”


“สุข” ในที่นี้ ตามพระสารีบุตรกล่าวถึงในพระนิพพาน จึงมิใช่ความสุขแบบโลกียสุขซึ่งเป็นของคู่กับทุกข์อีก ในภาษาธรรมมักเรียกว่า “เกษม” นั่นเอง

ในนิพพานมีความ “เกษม” นิพพานจึงมิใช่สูญเปล่า มิใช่เฉยไม่รู้ไม่ชี้เหมือนพรหมลูกฟัก มิใช่ไม่มีความรู้สึกอะไรเลยเหมือนชาด้าน เพราะในนิพพานยังมี “อายตนะ” คือความรู้เชื่อมต่อ ดังที่พระพุทธองค์ตรัส

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ในอายตนะนั้นไม่มีดินน้ำไฟลม ไม่มีอากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกอื่น ไม่มีพระจันทร์ ไม่มีพระอาทิตย์ ทั้งสอง เราย่อมกล่าวอายตนะนั้นว่า มิใช่การมา มิใช่การไป มิใช่การตั้งอยู่ มิใช่การจุติ มิใช่การเกิดขึ้น ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีความเป็นไป ไม่มีอารมณ์ นั้นแหละ เป็นที่สุดแห่งทุกข์”

ในนิพพานมีความรู้เชื่อมต่อ คือ ความรู้สึกอันเป็นที่สุดแห่งทุกข์ มีความสุขสถานเดียวที่เรียกว่า ความเกษม

ผู้ปรารถนานิพพาน จะยังไม่ถึงนิพพาน เพราะอะไร……….
เพราะ “ปรารถนา” เป็นความประสงค์ ความต้องการ ความอยาก เป็นกิเลส จึงไม่นำสู่ความเกษมอันแท้จริง ในอภิธรรมปิฎกมีกล่าวไว้


“ศรัทธาและโมหะ เป็นปัจจัยแห่งราคะ”


ตัวศรัทธานั่นแหละคือ ปรารถนาเป็นตัวติด ทำให้เกิดตัณหาราคะ จึงทำให้ไปไม่ถึงดวงดาวคือ นิพพาน ผู้จะถึงนิพพานจำต้องหลุดพ้นแม้กระทั่งศรัทธาเป็นที่สุด

แต่การจะเริ่มต้นไปสู่นิพพานคือ อมตธรรมนั้น จะต้องเริ่มที่ศรัทธา ดังที่พระพุทธองค์ทรงกล่าว


“เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง จงปล่อยศรัทธามาเถิด”


ต้องเริ่มที่ศรัทธาเป็นตัวต้นและปล่อยศรัทธาเป็นตัวสุดท้าย ความที่สุดแห่งทุกข์จะพึงบังเกิดนิพพานจะปรากฏ ใครๆ ก็ไปนิพพานได้ ถ้าศรัทธาปรารถนาเสียแต่เดี๋ยวนี้ แต่เมื่อปรารถนาปุ๊บจะถึงนิพพานปั๊บนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะคำปรารถนามันเริ่มง่ายแต่ตัดยาก


การจะตัดตัวอยากตัวเดียวนี่แหละ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้เวลา ๔ อสงไขยกับแสนกัป ความจริงมากกว่านั้นนับแต่การปรารถนาเวียนว่ายตายเกิดในโลกสงสารของพระพุทธองค์ พระองค์เกิดตายมาหลายชาติหลายภพ ก่อนที่จะมาเกิดเป็นสุเมธดาบสในสมัยพระเจ้าทีปังกรพุทธเจ้า ซึ่งถือเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑ ในพุทธวงศ์

พราหมณ์สุเมธ เกิดศรัทธาตั้งแต่ที่ได้ยินคำว่า พระพุทธเจ้า “พุทโธ” ก่อนที่พระพุทธเจ้าทีปังกรพุทธเจ้าจะเสด็จมาให้เห็น เมื่อได้พบเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ได้กระทำการปรนนิบัติเป็นเอกอุปวารณาอธิษฐานอธิการบารมีเพื่อบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้นโอฆสงสารต่อไปภายภาคหน้า

นับจากพราหมณ์สุเมธอธิษฐานเป็นพระพุทธเจ้า จากสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า จนบรรลุเป็นพระสมณโคดมพุทธเจ้า เป็นพุทธเจ้าองค์ที่ ๒๕ แห่งพุทธวงศ์ ใช้เวลาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสารอีก ๔ อสงไขยแสนกัป จึงปล่อยตัว “อยาก” หลุดไปได้


“………การบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว”
ทรงเปล่งพระพุทธอุทานในวรรคสุดท้ายของประโยคแรกแห่งการตรัสรู้ไว้เช่นนั้น


ระยะเวลาอันยาวนาน แม้จะมีแต่ผลที่เกิดชั่ววิบเดียวก็สำเร็จแล้ว ปัจจุบันแห่งการบรรลุสั้นนัก ยิ่งกว่าลมหายใจเข้าออกของตัวเอง ถ้ามีจุดเริ่ม ต้องมีจุดจบ ตรงกับธรรมจักษุที่กล่าวรับรอง


“สิ่งใดมีเกิด สิ่งนั้นมีดับ”


จงปล่อยศรัทธามาเถิด เมื่อศรัทธาเกิดขึ้นแล้ว แน่นอนสักวันหนึ่งมันย่อมดับลง เมื่อเริ่มศรัทธาเป็นตัวต้น วันหนึ่งมันจะดับเป็นตัวสุดท้าย วันนั้นท่านจะหลุดพ้น จะเป็นวันที่บรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้วของท่าน นิพพานจะมาถึงท่านเอง เพราะความปรารถนาหมดไป

ถ้าไม่ปล่อยศรัทธาออกมา ความรู้แจ้งก็ไม่บังเกิด ไม่มีความรู้จริงที่จะไปดึงศรัทธาออกดับลงได้ เมื่อศรัทธายังเป็นปัจจัยแห่งราคะในกมลสันดาน ตราบนั้นตัณหาเจ้าแห่งกิเลสก็จะเจริญงอกงามขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด โลกสงสารที่ห่อหุ้มด้วยความทุกข์ก็จะยิ้มร่าต้อนรับท่านอยู่ตลอดไป จนกว่าศรัทธาจะเริ่มต้นปล่อยออกมาสู่ประตูอมตะที่พระพุทธองค์ทรงเปิดรับ เมื่อนั้นจุดจบแห่งความทุกข์ในอนาคตจึงจะเริ่มขึ้น

จงรีบปล่อยศรัทธาออกมาเถิด

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • หลวงปู่โต: อนุสรณ์ ๑๓๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี: ทีมงานพระเครื่องเมืองพระพุทธบาท เรียบเรียง, ๒๕๔๕. หน้า ๓๙-๔๐.
          • หลวงพ่อพุทธะ. “หลวงพ่อพุทธะ จุดจบต้องมีจุดเริ่ม” โลกลี้ลับ ๑๔๑ ปีที่ ๑๓ ประจำเดือนกันยายน ๒๕๓๙: บัญช์ บงกช เรียบเรียง. หน้า ๑๐๒-๑๐๙.



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.3.png (2023-6-12 07:24, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMTB8MDUzYTJjMGF8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-7-23 04:31, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NDB8ZWU0OWFjYmR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: S__43982856.jpg (2023-8-4 21:09, 99.5 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2Njh8NDA5NDdiY2J8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:23

ตอนที่ ๒

ตีเหล็กร้อนๆ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

(วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ)

pngegg.5.3.3.png



ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี โดยปกติในหลวงรัชกาลที่ ๔ มักนิมนต์สมเด็จโตเข้ามาเทศน์ในวังเสมอ วันหนึ่งที่ท่านนิมนต์สมเด็จโตมาเทศน์ พอดีวันนั้นท่านมีกิจธุระที่จะต้องไปทำต่อ เมื่อสมเด็จโตมาเทศน์ ท่านทราบดีว่าในหลวงมีเรื่องร้อนพระทัยอยู่จะรีบไป ท่านก็เทศน์ให้ในหลวงฟังอยู่เสียนานกว่าจะจบลงได้

ครั้งต่อมาในหลวงนิมนต์สมเด็จโตเข้ามาเทศน์ในวังอีก วันนั้นท่านว่างจากธุระการงานดีแล้ว ตั้งใจจะฟังเทศน์สมเด็จเต็มที่ สมเด็จโตแทนที่จะเทศน์อะไรให้ในหลวงฟัง วันนั้นท่านกลับไม่แสดงธรรมและไม่เทศน์เลย เพียงแต่ขึ้นต้นว่าธรรมใดๆ มหาบพิตรก็ทรงทราบดีอยู่แล้ว เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

เรื่องๆ นี้สอนให้รู้ว่า จะตีเหล็กให้ตีตอนร้อนๆ ในวันแรกในหลวงทรงมีเรื่องกังวลพระทัยจิตใจไม่ปกติ สมเด็จโตท่านจึงต้องเทศน์นานหน่อย แต่วันต่อมาท่านสบายพระทัยจิตใจเป็นปกติดี ก็ไม่มีเหตุอันใดที่จะต้องเทศน์สอนอีก


ฉันใด การพิจารณาทุกข์ให้เข้าใจทุกข์ให้ผ่านทุกข์ให้ได้ ก็ต้องพิจารณาในยามที่เผชิญทุกข์มากๆ ยามที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเช่นนี้ฉันนั้น

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • พรหมปัญโญบูชา: เมธา พรพิพัฒน์ไพศาล เรียบเรียง, ๒๕๔๑. หน้า ๒๐๖-๒๐๗.



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.3.png (2023-6-12 07:28, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMTJ8NWNiYjIxYWV8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-7-23 04:32, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NDF8NWJhMTBhODJ8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:26

ตอนที่ ๓

ความโกรธ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

(วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ)

1.png



บางโอกาสท่านได้แสดงพฤติกรรมบางอย่างบางประการออกไปในทางพิลึกพิเรนทร์ที่มนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาๆ เขาไม่นิยมกระทำกัน แต่ทว่าท่านกลับเป็นผู้กระทำเสียเอง แต่ถ้าเราดูกันอย่างผิวเผินจักเห็นว่าท่านเป็นคนสติเฟื่องจึงกระทำเรื่องบ๊องๆ เช่นนั้น แต่ถ้าได้พิจารณากันอย่างถ่องแท้ให้ถึงซึ่งความเป็นจริงและเป็นสัจธรรมคำสอนตามพุทธธรรมในพุทธองค์แล้วการกระทำของท่านเจ้าประคุณสมเด็จท่านได้สอดแทรกแก่นแท้ของหลักธรรมเอาไว้ทั้งสิ้น

อย่างเช่น กรณีที่พระลูกวัดของท่านสองรูปกำลังทะเลาะกันอย่างรุนแรงถึงขั้นจะลงไม้ลงมือกันทีเดียว ถ้าท่านเป็นเจ้าอาวาสก็จะเข้าไปห้ามปรามนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่ทว่าท่านรีบขวนขวายหาดอกไม้ ธูป เทียน แล้วรีบไปหาสองพระลูกวัดที่กำลังทะเลาะกันอยู่นั้น พร้อมกับก้มลงกราบ แล้วพูดว่า “ท่านทั้งสองเก่งมาก อาตมากลัวแล้ว ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย”

พระภิกษุทั้งสองรูป เมื่อเห็นเช่นนั้นก็ต้องเลิกรากันในทันที แล้วรีบคุกเข่ากราบท่านเจ้าประคุณสมเด็จ และแทนที่ท่านจะดุว่าพระทั้งสองรูปแม้สักคำน้อยก็หาไม่ ท่านกลับว่า ที่ท่านทั้งสองทะเลาะเบาะแว้งกันนั้น “เพราะอาตมาปกครองท่านไม่ดีต่างหาก หาได้เป็นความผิดของท่านทั้งสองไม่” ท่านเคยได้พบเห็นหรือท่านเคยได้ยินพฤติกรรมอย่างนี้ที่ไหนบ้าง ?

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จท่านได้นำหลักธรรมคำสอนที่ว่าด้วย “ชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ” และ “เวรระงับด้วยการไม่จองเวร” ทำนองนี้

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • หลวงปู่โต: อนุสรณ์ ๑๓๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี: ทีมงานพระเครื่องเมืองพระพุทธบาท เรียบเรียง, ๒๕๔๕. หน้า ๒๖.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 07:33, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMTR8MWViZjA1Mzh8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-7-23 04:35, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NDJ8Zjg5MzViZDV8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:30

พระอาจารย์ชาญณรงค์.JPG


ตอนที่ ๔

ปฏิปทาภินิหารพระอาจารย์ในดง

พระอาจารย์ชาญณรงค์ อภิชิโต (ศิริสมบัติ)

(ศิษย์ผู้น้องของพระครูเทพโลกอุดร)

1.png



พระอาจารย์ชาญณรงค์ อภิชิโต นามสกุล ศิริสมบัติ เป็นบุตรของ พระยาศิริสมบัติ มหาเศรษฐีระดับพันล้าน สมัยก่อนสงครามโลก ซึ่งเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศไทยในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ท่านเรียนจบแพทย์ศิริราชรุ่นหลักสูตรเร่งรัด ๒ ปี ในสมัยสงครามโลก เมื่อเรียนจบยังไม่ทันได้ทำงาน ท่านไปเที่ยวกับเพื่อนสนิท ๒ ท่าน คือ หม่อมเจ้าไชยเดช พัฒนเดช และ อาจารย์เฉลียว เพื่อนร่วมรุ่น ซึ่งสนิทกันมาก

อยู่มาวันหนึ่ง ท่านประสบอุบัติเหตุ แข้งขาหัก ญาติผู้ใหญ่พาไปรักษากับ หลวงปู่พลอย วัดเงิน (วัดรัชฎาธิษฐาน) ตลิ่งชัน เพราะท่านเก่งเรื่องหมอ โดยเฉพาะเกี่ยวกับกระดูกแล้วเชี่ยวชาญที่สุด หลวงปู่บอกว่าถ้ารักษาหายแล้วให้บวชเณร เจ้าตัวก็ยอมรับ หลวงปู่จึงรักษาให้ทางไสยศาสตร์ โดยให้พากลับบ้านได้ แล้วท่านก็นั่งปั้นหุ่นรักษาแข้งขาหักที่ร่างของหุ่น ไม่กี่วันเจ้าของร่างที่ป่วยก็หายเดินได้เป็นปกติ

เมื่อหายแล้วจึงรักษาสัจจะกับหลวงปู่ ไปบรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับท่าน ทั้งได้ชวนเพื่อนสนิทไปด้วย คือ หม่อมเจ้าไชยเดช พัฒนเดช และอาจารย์เฉลียว อยู่กับหลวงปู่พลอยระยะหนึ่ง หลวงปู่ได้ส่งสามเณรทั้ง ๓ ไปเรียนวิชากับ หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากวัดพระปฐมเจดีย์นัก

สามเณรทั้ง ๓ อายุ ๑๘-๑๙ ปี อยู่ในวัยกำลังซุกซน วันหนึ่งชวนกันไปเที่ยวขุดหัวมันในป่าอยู่ติดกับวัดนั่นเอง กำลังขุดกันเพลินก็มีเสียงทักขึ้นมาว่า “เณร ทำอะไรกัน” สามเณรพากันเหลียวดู ก็เห็นตาแก่ผิวดำ รูปร่างสูงใหญ่ยืนยิ้มอยู่ จึงพากันตอบว่า “ขุดหัวมันจะเอาไปต้มกิน” ตาแก่บอกว่า “มันสุกอยู่ในดินแล้ว ขุดขึ้นมาก็กินได้ทันที ไม่ต้องเอาไปต้มหรอก”

เมื่อสามเณรขุดขึ้นมาก็สุกจริงดุจที่ตาแก่บอก จึงมองหน้ากันด้วยความฉงน ตาแก่ถามว่า “พวกแกว่าฉันเก่งมั้ย อยากเป็นศิษย์ของฉันมั้ย” ทั้ง ๓ ท่านมาจากตระกูลสูง เมื่อมีตาแก่บ้านนอกมาใช้วาจาไม่เป็นที่เคารพขึ้นฉัน ขึ้นแก แล้วยังมาอาสาเป็นอาจารย์อีกจึงแสดงความไม่พอใจ พูดสวนขึ้นว่า “ตาแก่ แกมีดีอะไรนักหนาถึงบังอาจมาอาสาเป็นอาจารย์ของพวกข้า”


ตาแก่หัวเราะฮาๆ กล่าวว่า “เอางี้ไหมพนันกัน ฉันจะให้พวกแก ๓ คนนี่ทำร้ายโดยวิธีไหนก็ได้ ถ้าฉันได้รับอันตรายใดๆ จะไม่ถือโทษ แต่ถ้าไม่เป็นอะไรแล้ว พวกแกต้องเป็นศิษย์ไปเรียนวิชากับฉัน”

ทั้ง ๓ ท่านได้คำรับท้า ดังนั้น จึงรีบลุกขึ้นพากันทำร้ายตาแก่คนนั้น บ้างเตะ ต่อย เอาท่อนไม้ตี เอาก้อนหินทุบขว้าง พยายามลงมือกันเป็นเวลานานจนสิ้นเรี่ยวแรง ตาแก่ก็นั่งบนขอนไม้ให้ทำร้ายอย่างไม่สะทกสะท้าน และไม่แสดงกิริยาอาการบาดเจ็บอย่างใดทั้งสิ้น จนทั้งสามท่านนั่งด้วยความเหนื่อยอ่อน


ตาแก่หัวเราะฮาๆ พูดว่า “พวกแกแพ้ฉันแล้ว ต้องกราบรับฉันเป็นอาจารย์เดี๋ยวนี้ สิ้นคำสามเณรทั้งสามก็ลุกขึ้นนั่งกราบท่านพร้อมๆ กัน ตาแก่จึงเอาแขนโอบสามเณรทั้งสามท่านแล้วหายแว็บ จากที่นั่นไปโผล่ในดงลี้ลับแห่งหนึ่งในชั่วพริบตา

พระอาจารย์ชาญณรงค์ เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า...
ในดงนั้นมีพระและฆราวาสที่อยู่ฝึกวิชากับตาแก่ประมาณ ๕๐ ท่าน มีฆราวาสมากกว่าพระ และทุกท่านเรียกตาแก่ว่า “หลวงตาดำ” พระอาจารย์ชาญณรงค์เคยถามชื่อของท่านว่าชื่ออะไรกันแน่ ท่านให้เรียกว่า “หลวงตาดำ” ก็ใช้ได้แล้ว

ถามว่าเป็นคนหรือภูตผี หรือเทวดา ท่านก็ให้จับดู เห็นเป็นคนมีเลือดเนื้อเหมือนกัน เมื่อถามถึงอายุ ท่านบอกว่าไม่รู้กี่ปี ท่านได้ร่วมงานพระศพของพระพุทธเจ้า

ท่านหลวงตาดำ เป็นศิษย์ของพระมหากัสสปะ ได้รับมอบหมายให้บำเพ็ญอิทธิบาทธรรม มีชีวิตอยู่ยืนยาวเพื่อรักษาพระศาสนา คราวใดที่พระศาสนาเริ่มเสื่อมเศร้าหมอง มีอลัชชีเข้ามาอาศัยในพระศาสนามาก คำสอนอันแท้จริงเริ่มเสื่อม ท่านต้องฝึกลูกศิษย์ขึ้นมาช่วยกันสั่งสอนใหม่ ให้กลับคืนสู่เนื้อหาพุทธศาสนาอันจริงแท้

พระอาจารย์ในดง ลูกศิษย์ของหลวงตาดำ


พระอาจารย์ชาญณรงค์ บอกว่า... เท่าๆ ที่เคยพบเห็นและเรียกกันในดง มีหลวงพ่อตีนโต เป็นพระที่มีรูปร่างสูงใหญ่ ฝ่าเท้ายาวใหญ่ วัดจากล่างถึงหัวเข่าได้ ๘๑ เซนติเมตร ท่านเปิดเผยตัวเองบ่อย เพราะชอบสอนคน จึงมีคนพบเห็นท่านเสมอ ที่มักเรียกขานกันว่า หลวงปู่เทพโลกอุดร ความจริงชื่อนี้ไม่มีใครเรียก หรือรู้จักกันในดง เห็นเรียกรูปพระที่ปรากฏในภาพถ่ายโบราณว่า พระครูเทพโลกอุดร

ความจริงเป็นรูปของหลวงพ่อตีนโต ท่านเป็นพระกรรมฐานนิกายธรรมยุต เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ และท่านเข้าเป็นศิษย์ของหลวงตาดำ รุ่นเดียวกับกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ หรือพระองค์ดำ

ท่านเป็นคนร่วมสมัยกับ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อโพรงโพธิ์ ผู้มักชอบท่องเที่ยวอยู่ในแถวจังหวัดกาญจนบุรี เหตุที่ชื่ออย่างนั้น เพราะท่านปลูกต้นโพธิ์เป็นวงกลม ปลูกติดๆ กัน พอต้นโพธิ์ใดขึ้นก็มีโพรงใหญ่อยู่ข้างใน ท่านก็ใช้เป็นที่อยู่ของท่าน

พระในดงเขาไม่เรียกชื่อจริง ใครมีลักษณะแบบไหนก็เรียกตามนั้น ลืมชื่อสมมุติในโลกให้หมด หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า ท่านมีลักษณะสกปรกมอมแมมด้วยฝุ่นขี้เถ้า เพราะท่านนิยมก่อไฟบูชาไฟ เพ่งกสิณไฟ และไม่เคยอาบน้ำ


ศิษย์ของท่านที่ผู้คนรู้จักกันดี คือ หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา และ หลวงพ่อโอภาสี หลวงพ่อเศียรบาตร (หลวงปู่หัวยุบ) มีชื่อตามลักษณะของท่าน ซึ่งมีศีรษะโตใหญ่ และ หลวงปู่ย่ามแดง

ตามบันทึกของอาจารย์พันเอกชม บอกว่า


๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๕ เยี่ยมอาจารย์ชาญณรงค์ ไปกับ พ.อ.ยนต์ ท่านเล่าว่า หลวงพ่อตีนโต หลวงปู่สุข (อาจารย์แจ้งฌานแห่งเขาใหญ่) หลวงตาแป้น และ ท่านเจ้า (เสด็จในกรมวังหน้า ร.๔) และ หลวงพ่อโพรงโพธิ์ เรียนกับหลวงตาดำรุ่นเดียวกัน เป็นคนไทย ๕ คน ที่เรียนจบแล้วเป็นครูฝึก รุ่นเดียวกับอาจารย์ชาญณรงค์

และมี อาจารย์ประทุม อาจารย์เฉลียว อีกคนตายชื่อ ศิริ หลวงปู่แป้น หลวงปู่พลอย เป็นศิษย์นอกดงของหลวงตาดำ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่ออี๋ สัตหีบ เป็นศิษย์นอกดง (ไม่บ่งว่าเป็นศิษย์ของใคร) อาจารย์ฉลอง ผู้ทำยาทูลฉลอง อาจารย์พัว แก้วพลอย เป็นศิษย์นอกดง เรียนกับ หลวงปู่สุข (แจ้งฌาน) ที่เขาใหญ่

๖ สิงหาคม ๒๕๓๕ อาจารย์ชาญณรงค์ เล่าว่า ลูกศิษย์นอกดงที่เก่งพิเศษอย่าง หลวงตาพุก เป็นเจ้าอาวาสวัดเชิงเลน


๔ ตุลาคม ๒๕๒๙ จากคำเล่าของอาจารย์พันเอกชม ทำให้ทราบว่า ศิษย์ในดงนั้น มีหลายชาติ หลายภาษา หลายทวีป

เมื่อใครเข้าไปอยู่ในข่ายฌานของหลวงตาดำ ท่านก็จะไปทรมานแล้วก็รับมาเป็นศิษย์ฝึกวิชากับท่านในดงลี้ลับ ซึ่งดงนี้ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนกันแน่ เพราะไม่ว่าจะอยู่ประเทศไทย เมื่อหลวงตาดำพาไป ก็ใช้เวลาพริบตาเท่ากัน คนอยู่ในประเทศไหนก็เลยคิดว่าดงนั้นอยู่ในประเทศของตน

ในบันทึกของพ.อ.ชม
กล่าวว่า... สามสหาย (พระอาจารย์ชาญณรงค์ หม่อมเจ้าไชยเดช พัฒนเดช และอาจารย์เฉลียว) อยู่ฝึกวิชาฌาน ๘ กับหลวงตาดำในดงลี้ลับเป็นเวลาเกือบ ๔ ปี

เมื่อสำเร็จฌาน ๘ ท่านก็ส่งตัวออกมาสู่โลกภายนอก เพื่อมาฝึกวิชาภาคสนามต่อสู้กับกิเลสตัณหา อันจะเป็นบรรทัดฐานให้ฝึกจิตชั้นสูงโลกุตรธรรมตราบจนสิ้นพระอรหันต์เป็นที่สุด สหายอีก ๒ ท่าน ได้สึกออกมาฝึกในเพศฆราวาส มีเพียงท่านพระอาจารย์ชาญณรงค์เท่านั้นที่ยังคงเป็นบรรพชิต

เมื่อจบออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว หลักสูตรขั้นแรก คือ ต้องฝึกลูกศิษย์ให้ได้ ๑๐ คน เป็นอย่างน้อย ตามหลักวิชาฤทธิ์อภิญญาที่เรียนมาจากในดง เพื่อสร้างคนมีคุณภาพไว้สืบพระศาสนา ศิษย์ที่ไปเรียนในดงลี้ลับ เรียกว่า "ศิษย์ในดง" ส่วนศิษย์ที่เรียนต่อจากศิษย์ในดงเรียกว่า "ศิษย์นอกดง" ถึงแม้นจะอยู่ในป่าเขาตลอด ก็เรียกว่าศิษย์นอกดงอยู่นั่นเอง


ศิษย์นอกดงรุ่นแรกของพระอาจารย์ชาญณรงค์เท่าที่ทราบ มี หลวงพ่อคูณ ผู้โด่งดังในยุคปัจจุบัน เสือดำ ผู้ล่องหนหายตัว ซึ่งต่อมามีบารมีธรรมถึงขนาดหลวงตาดำมารับเข้าไปอยู่ในดงลี้ลับแล้ว อีกท่านมีนามว่า อาจารย์ละมูล ส่วนอาจารย์พันเอกชม เป็นศิษย์รุ่นหลัง และหลายสิบท่าน ซึ่งไม่ขอเอ่ยชื่อ เพราะไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของชื่อ

การศึกษาในดงของพระอาจารย์ชาญณรงค์ มีขั้นตอนต่างๆ ตามลำดับ ดังนี้


(จากบันทึกของอาจารย์พันเอกชม ซึ่งไต่ถามพระอาจารย์ของท่าน)

๑. เมื่อเริ่มต้นไปฝึกสมาธิในดง ท่านสั่งให้นั่งสมาธิ รู้สึกนานเตรียมเลิกเอง พระอาจารย์ใหญ่ (หลวงตาดำ) จะก้าวข้ามหัวไปเหยียบมือไว้ พูดว่า “เอ้านั่งให้มันตายไป”


๒. สมาธิดีพอควรแล้ว ให้ไปนั่งสมาธิในทางเสือผ่าน และสั่งว่า ถ้าไม่อยากตายให้นั่งสมาธิ


๓. กำหนดให้เดินธุดงค์คู่ แล้วเดินเดี่ยวไปในป่าลึก ในป่าประเทศต่างๆ หลายแห่ง บางครั้งต้องอดอาหารหลายวัน


๔. สอนให้ใช้พลังจิตจากง่ายไปหายากตามลำดับขั้นของสมาธิ การทำใบไม้ให้เป็นสัตว์ เดินลอดภูเขา เป็นต้น


๕. นั่งเข้าฌานให้ได้ในสภาพอากาศต่างๆ กัน เช่น เข้าฌานในทะเลทรายที่ร้อนจัดตามที่ท่านกำหนดให้ ฝึกอยู่ในทะเล ๒๐ วัน


๖. เดินในเมืองตามเส้นทางที่ท่านกำหนด โดยไม่ให้พักเลย นอนได้วันละ ๓ ชั่วโมง ไม่ให้เข้าอยู่ใต้ชายคา

๗. ไม่ให้พูด ๑๕ วัน และกำหนดเส้นทางให้เดิน


๘. ให้เป็นคนขอทานครบ ๒๗ วัน ไม่ให้เงิน วันหนึ่งให้ขอ ๒ คน ขออาหารกิน ๕ แห่ง ขอเงินจากคนหนึ่งเพียงบาทเดียว ต่อไปต้องหาใช้คืนเขา ๒,๕๐๐ บาท


๙. ช่วยแก้ทุกข์ของคนตามกำหนด เช่น ช่วยรักษาคนป่วยโรคมะเร็ง คนติดเฮโรอีน คนขอย้ายที่ทำงาน เป็นต้น


๑๐. เรียนจบปีที่ ๖ แล้ว ให้โดดลงเหวลึก สลบไป ๔ วัน ให้รู้เห็นว่ามีกายทิพย์ออกจากร่างไปเที่ยวไกลๆ เหมือนคนตายแล้วฟื้น หรือที่ตายจริง เป็นการเรียนรู้การตายว่าตายอย่างไร


๑๑. นั่งบนน้ำแข็ง ๒๐ วัน ที่เมืองซีแอตเทิล ในอเมริกา เมื่อ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๒๖


๑๒. ขั้นสุดท้าย ฝึกล่องหนหายตัว ขั้นนี้รวมฝึกพร้อมๆ กันทั้ง ๘ ท่าน เมื่อมาถึงขั้นนี้ หากเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคอะไรก็ดี ท่านห้ามรักษา ไม่ว่าจะด้วยยาสมุนไพรหรือพลังจิต ให้เรียนรู้การเจ็บป่วย

ท่านอาจารย์ชาญณรงค์ ท่านเป็นโรคริดสีดวงทวาร ท่านก็ปล่อยไว้อย่างนั้นไม่ยอมรักษาจนอาการหนักเข้า ลูกศิษย์นำท่านไปโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ก่อนจะสิ้นใจ ท่านสั่งโยมอุปัฏฐากไว้ว่า ให้จัดศพอย่างไร ห้ามหมอฉีดยากันเน่าเหม็น ให้คงธรรมชาติไว้ที่สุด


เมื่อท่านสิ้นใจแล้ว เขาก็แต่งศพท่านตามคำสั่ง แล้วนำศพไปเก็บไว้ที่ศูนย์ฝึกวิชาของท่านแก่ศิษย์ๆ แถวถนนวงแหวนพุทธมณฑล เมื่อครบ ๗ วัน ก็ทำบุญให้ท่าน เขาเปิดดูศพก็เหมือนคนนอนหลับ ทั้งไม่มีกลิ่นเหม็นใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากกลิ่นอับเท่านั้น พอครบ ๕๐ วัน ก็เปิดศพอีกทีหนึ่ง ปรากฏรูปหน้าไม่ใช่ท่านแล้ว

อาจารย์พันเอกชมเอามือเข้าไปควานดูภายในก็มีแต่ว่างเปล่า หามีร่างกายของท่านไม่ คงเห็นแต่ภายนอกว่ามีศีรษะ เท้า ๒ ข้าง และมือ ๒ ข้าง ที่โผล่ออกจากผ้า ท่านจึงถ่ายรูปไว้ แล้วนำมาขยายให้เท่ากับใบหน้าคน ปรากฏว่าใบหน้าศพกับหน้าของท่านไม่มีร่องรอยสักนิด แต่ใบหน้านั้นเหี่ยวแห้งแล้ว เป็นหน้ายาวรูปหน้าเหมือนหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี มีไฝเม็ดใหญ่ที่แก้มขวา ฟันล่างเกและห่าง

ซึ่งจากคำบอกเล่าของศิษย์บอกว่า ฟันของท่านอาจารย์ชาญณรงค์ขาวสะอาด เรียงเป็นแถวสวยงามดุจไข่มุกที่ร้อยเป็นทาง ไม่มีลักษณะฟันเกเลย ซึ่งผิดกับศพอย่างเห็นได้ชัด จึงสันนิษฐานว่า ท่านใช้วิชาสับเปลี่ยนร่าง หรือเนรมิตร่างตายแทน แล้วล่องหนหายตัวไปอยู่ในดงลี้ลับแล้ว

ซึ่งเรื่องนี้มีตัวอย่างของพระในดงรูปอื่นๆ ในอดีต เป็นเรื่องเทียบเคียง เช่น หลวงปู่โพรงโพธิ์ ทนคนมารบกวนมาขอหวยไม่ไหว จึงให้เสือมาคาบร่างไปกลางคืน วันต่อมาชาวบ้านไปพบศพของท่านก็เสียใจร้องไห้ แล้วทำการฌาปนกิจศพของท่าน อยู่ไม่นานก็มีคนไปพบท่านยังมีชีวิตอยู่ในโพรงโพธิ์เหมือนเดิม จึงไปนิมนต์มาอยู่วัดที่สร้างขึ้นมานั้นอีก


แล้วต่อมาก็มีคนไปพบท่านอีกที่นั่นบ้าง ที่นี่บ้าง และหลวงพ่อโอภาสี ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่ขรัวขี้เถ้า เมื่อมรณภาพแล้ว มีชาวอินเดียที่มาเมืองไทยมาเห็นภาพของท่านบอกว่า เขาเห็นพระรูปนี้อยู่ที่อินเดีย ยืนยันว่าเป็นคนเดียวกับภาพที่เห็นนี้จริง

ผู้ที่ฝึกสำเร็จ เมื่อไปอยู่ในดงลี้ลับแล้ว เมื่อจากไปมีอายุเท่าไรก็จะมีอายุเท่านั้น เป็นอมตะหรือยืนยาวถึงหมื่นปี เพราะโลกของชาวบังบดหรือเมืองลับแล คนที่ไปอยู่ที่นั่นจะต้องอายุยืนยาว


พระอาจารย์ชาญณรงค์ท่านเล่าให้ศิษย์ฟังว่า เมื่อเข้าไปอยู่ดงใหม่ๆ นั้น ท่านเห็นพระรูปหนึ่งแก่หง่อมมาก ตัวสั่นงกเงิน เดินหลังโกงเหมือนมีอายุมากที่สุดในดง เมื่อสอบถามดูปรากฏว่ามีอายุน้อยกว่ารูปอื่นๆ ที่มีใบหน้าอ่อนเยาว์ราว ๕๐-๖๐ ปี ที่เป็นเช่นนี้ เพราะฝึกตอนแก่ เมื่อสำเร็จแล้วเข้าไปอยู่ในดง ท่านก็จะปรากฏในวัยนั้นตลอดไป บางท่านเห็นใบหน้าในวัยกลางคน เมื่อถามอายุกลับประมาณไม่ได้ว่ากี่ร้อยปี

การมีอายุยืนยาวของท่านเหล่านี้ จะเป็นด้วยการบำเพ็ญอิทธิบาทธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ถ้าทรงบำเพ็ญอิทธิบาทธรรมก็ต้องอยู่ในอีกมิติหนึ่งเช่นท่านเหล่านี้ จึงสามารถมีอายุได้เป็นกัลป์ดุจพระไตรปิฎกกล่าวถึง หรือว่าเพราะบรรดาท่านที่อยู่ในดงลี้ลับฉันยาอายุวัฒนะ แล้วเข้าสมาบัติทุกเดือน จึงมีอายุนานเป็นร้อยเป็นพันปี


พระอาจารย์ชาญณรงค์ เคยเล่าให้ศิษย์ฟังว่า... เรื่องบุญบารมีของคนนี้ มันแตกต่างกัน มีวาสนาบารมีทางไหนก็ไปทางนั้น ถ้ามีทางธรรมแก่กล้ามาแต่ชาติปางก่อนและมีความเกี่ยวพันกับพระอาจารย์ในดงมาก่อน ท่านจะรับตัวไปฝึกตั้งแต่เด็ก เช่น ผู้ที่หลวงตาดำมารับเข้าไปอยู่ในดงตั้งแต่เด็กน้อย มีอยู่คนหนึ่ง มีปานเป็นรูปใบโพธิ์อยู่หน้าผาก

ความพยายามเฟ้นหาลูกศิษย์ เพื่อถ่ายทอดวิชาของพระอาจารย์ในดงนี้ มีจุดประสงค์ก็เพื่อแก้ไขพระศาสนาในยุคกึ่งพุทธกาลและรับสงครามใหญ่ที่จะเกิดขึ้น จากนั้นท่านจะเปิดตัวและทำการชำระพระศาสนาให้บริสุทธิ์

ตั้งแต่นั้นคนจะเห็นโทษเห็นภัยของความชั่ว คนชั่วจะพากันตายในสงครามเป็นจำนวนมาก คนที่เหลือเป็นคนมีบารมีพอโปรดได้ พระศาสนาจะเจริญรุ่งโรจน์ขึ้นอีกครั้ง บรรดาเหลือบศาสนาต่างๆ จะหมดไป มิจฉาทิฐิก็จะหมดไป เพราะเห็นแจ้งถึงความจริงต่างๆ ทุกวันนี้ท่านก็เริ่มเปิดตัวขึ้นมากแล้ว เพื่อเตรียมการ

ประเทศไทยเรานี้มีอะไรดีๆ ที่แตกต่างจากประเทศอื่น ถึงจะดีจะชั่วอย่างไรเราก็มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองป้องกันมาตลอด ผู้ที่ป้องกันเราไว้คือ พระอาจารย์ในดงนี่เอง


เสียงจากในดงเล่าว่า...

การที่ไทยเราไม่เสียเมืองให้ประเทศอังกฤษ เพราะอภินิหารของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ อาจารย์ในดง ซึ่งไปเหยียบเรืออังกฤษหรือฝรั่งเศสก็ไม่แน่ใจจนเรือเอียง ทำให้ฝรั่งเห็นว่าในหลวงของเราทรงมีพระบรมเดชานุภาพมาก จึงพากันถอยออกไป

พระอาจารย์ในดงได้ช่วยเหลือประเทศชาติของเราให้หลุดพ้นจากมหาวิบากในรูปแบบที่แตกต่างกัน เราจึงเป็นหนี้บุญคุณของท่าน โดยไม่มีโอกาสได้รู้ได้เห็น เพราะท่านเหล่านี้ทำอะไรไม่หวังผลตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นเกียรติยศ ชื่อเสียง หรือลาภสักการะ ทำแล้วก็แล้วกัน ขอให้ผลเกิดขึ้นมาเป็นดี ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุขก็เป็นอันใช้ได้

ในวงการปฏิบัติธรรม หากพระภิกษุสงฆ์หรือฆราวาสท่านใดมีจิตใจมุ่งมั่นในการปฏิบัติกรรมฐาน ชอบหลีกเร้นท่องเที่ยวอยู่ในดงดุจพญาราชสีห์ พระอาจารย์ในดงท่านจะไปโปรดช่วยเหลือแนะนำสั่งสอนเอง


แม้แต่ หลวงปู่ทวด และ หลวงปู่โต สมัยที่ท่านหายไปหลายปี ท่านก็เข้าไปอยู่ในดงกับหลวงตาดำเช่นกัน สิ่งละอันพันละน้อยที่หยิบออกมาจากบันทึก เท่าที่ข้าพเจ้าจะพอสรุปได้มีเพียงเท่านี้ พอเป็นหลักฐานของครูบาอาจารย์ในดงลี้ลับ

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • หนังสือโลกทิพย์ ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๓๐๘ ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๘: สันยาสี เรียบเรียง. หน้า ๑๘-๕๘.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 07:35, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMTZ8MTY0ZDViYzB8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: พระอาจารย์ชาญณรงค์.JPG (2023-6-16 04:25, 99.12 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzODJ8OTgzZGZlNzN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-7-23 04:44, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NDN8NzZjNGZhNTd8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:41

DSC08838.1.JPG


ตอนที่ ๕

พระพุทธวจนะ

หลวงปู่ปาน โสนันโท

(วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา)

1.png



อัญเชิญพระพุทธวจนะจากพระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ นวกนิบาตอังคุตตรนิกาย ท้ายสีหนาทวรรคแนะข้อปฏิบัติง่ายๆ เพียง ๔ ประการ ซึ่งไม่ต้องลงทุนลงแรงหรือสิ่งของเงินทองใดๆ แต่มีผลยิ่งใหญ่กว่าการถวายทานแด่พระพุทธเจ้า หรือแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

รื่องน่าอัศจรรย์ของการปฏิบัติง่ายๆ ก็คือ ต้องการให้การปฏิบัติมาอยู่ที่แต่ละบุคคล ผู้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ไม่ใช่คอยแต่ชื่นชมตื่นเต้นในคุณงามความดีของบุคคลสำคัญท่านอื่นๆ ซึ่งเปรียบเหมือนการพบมหาเศรษฐีผู้มีทรัพย์หลายหมื่นแสนล้าน แต่เสร็จแล้วผู้พบและแสดงน้ำใจอันดีงามต่อท่านมหาเศรษฐีนั้นก็ยังคงไม่มีทรัพย์หรือไม่มีคุณความดีเพิ่มขึ้นกว่าเดิม เพราะมิได้ลงมือปฏิบัติอะไรด้วยตนเอง

พระพุทธวจนะที่ตรัสสอนข้อปฏิบัติง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนลงแรงมาก เพียง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้

• เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ หรือที่พึ่งที่ระลึก

• เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสตั้งใจรักษาศีลห้า

• เจริญหรือแผ่เมตตาจิต คือ ไมตรีจิตคิดจะให้ผู้อื่นเป็นสุข แม้กระทั่งระยะเวลาอันสั้นเพียงแค่รีดนมโคจากบนลงล่าง


• เจริญอนิจจสัญญา หรือกำหนดหมายความไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนของสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลาย แม้ชั่วระยะเวลาสั้นๆ แค่งอนิ้วหรือเหยียดนิ้ว


คุณธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้ ปฏิบัติได้ง่ายและมีคุณค่ามาก เพราะไม่ใช่คุณธรรมของผู้อื่น แต่เป็นการลงมือกระทำด้วยตนเองของแต่ละบุคคล เป็นคุณธรรมจากระดับต่ำสุดถึงสูงสุด ซึ่งจะเพิ่มคุณค่าให้แก่ผู้ปฏิบัติ


ขนาดที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า มีผลมากกว่าการถวายทานแด่พระอริยบุคคล ๔ ระดับ แด่พระปัจเจกพระพุทธเจ้า แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นพระประมุข มีผลมากกว่าการสร้างที่อยู่อาศัยถวายพระสงฆ์จากสี่ทิศ

เมื่อทุกคนมีสิทธิ์จะได้รับผลดีและสูงยิ่งด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเสียกำลังแรงงานหรือค่าใช้จ่ายใดๆ อย่างนี้ จึงน่าจะได้รับพระพุทธวจนะนี้ไว้เป็นแนวปฏิบัติประจำวันของเราทั้งหลาย อันเป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่ามีค่ายิ่งกว่าการบูชาด้วยอามิสมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นต้น      

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • ประวัติย่อ พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์. หน้า บทนำ.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 08:41, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMTh8NGJkOTFlOTR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: DSC08838.1.JPG (2023-6-16 05:37, 98.68 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzOTV8YjRhNzg3ODh8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-7-24 02:54, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NDR8MmZhMDE0YWN8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:43

ตอนที่ ๖

จตุรารักษ์

หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

(วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี)

1.png



หลวงปู่เสาร์ ได้แต่งหนังสือธรรมปฏิบัติเล่มหนึ่งชื่อ จตุรารักษ์ ซึ่งแสดงถึงการนึกถึงคุณพระรัตนตรัย เจริญเมตตา อสุภ และมรณสติ ทั้ง ๔ อย่าง ซึ่งว่ามานี้ ท่านกล่าวว่า จตุรารักษ์ เป็นธรรมป้องกันปกครองรักษาผู้ที่เจริญนั้น ให้พ้นจากทุกข์ภัยอันตรายวิบัติทั้งสิ้นได้ และเป็นทางสวรรค์และนิพพานด้วย

รักษาใจโดยใช้กรรมฐาน ๔

๑. ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย


อนึ่ง เมื่อระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย พึงระลึกได้ดังนี้ก็ได้ว่า เพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ลุกโพลงรุ่งเรืองไหม้สัตว์เผาสัตว์ให้รุ่มร้อนอยู่เป็นนิตย์ในภพทั้ง ๓ เพลิงกิเลสนั้นคือ ราคะ ความกำหนัดยินดี โทสะ ความเคืองคิด ประทุษร้าย และโมหะ ความหลงไม่รู้จริง

ราคะ โทสะ โมหะ ทั้ง ๓ นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นเพลิงเป็นเครื่องร้อนกระวนกระวายของสัตว์ เพลิงทุกข์นั้นคือ ชาติ ความเกิดคือ ขันธ์ อายตนะ และนามรูปที่เกิดปรากฏขึ้น ชรา ความแก่ทรุดโทรมคร่ำคร่า และมรณะ ความตายคือ ชีวิตขาดกายแตกวิญญาณดับ โสกะ ความเหือดแห้งใจเศร้าใจ ทุกข์ ทนยากเจ็บปวดเกิดขึ้นในกาย โทมนัส ความเป็นผู้มีใจชั่วเสียใจ อุปายาส ความคับแค้นอัดอั้นใจ


ทุกข์ มีชาติเป็นต้น เหล่านี้ท่านกล่าวว่าเป็นเพลิง เพราะเป็นทุกข์ให้เกิดความร้อนรนกระวนกระวายต่างๆ แก่สัตว์ เพลิงกิเลสทุกข์เหล่านี้ ยกพระพุทธเจ้าเสียแล้ว ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งในโลกดับได้ แต่ผู้ที่จะรู้ว่าเป็นเพลิงเครื่องร้อนเท่านั้น ก็หายากเสียแล้ว

ผู้ที่จะดับเพลิงนั้นจะได้มาแต่ไหนเล่า ก็ในโลกทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งดับได้ จึงพากันร้อนรนกระวนกระวายอยู่ด้วยเพลิงหมดทั้งโลก ก็ไม่รู้สึกตัวว่าเพลิงไหม้มันเผาเอาให้เร่าร้อนอยู่เป็นนิตย เพราะอวิชชาความหลงไม่รู้จริง

สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พระผู้มีพระภาค เป็นที่พึ่งของเรา พระองค์ตรัสรู้จริงเห็นจริง ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ของพระองค์ได้แล้วคือ ทำให้แจ้งซึ่งกิเลสนิพพานได้แล้วทรงสั่งสอนสัตว์ให้รู้ตามเห็นตาม ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ ทำให้รู้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ด้วยพระองค์นั้น จึงเป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ประเสริฐ เป็นผู้อัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนัก ควรเลื่อมใสจริงๆ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม พระธรรมที่เป็นที่พึ่งของเรา ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วทรงคุณคือ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ของสัตว์ผู้ปฏิบัติชอบ ช่วยให้พ้นทุกข์ภัยทั้งสิ้นได้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล นิพพาน พระธรรมนั้นท่านทรงคุณคือ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ได้อย่างนี้ จึงเป็นอัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนัก ควรเลื่อมใสจริงๆ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ พระสงฆ์ผู้สาวกของพระผู้มีพระภาค ที่เป็นที่พึ่งของเรา ท่านปฏิบัติดีแล้ว ทำให้บริบูรณ์ในศีล สมาธิ ปัญญา บรรลุมรรคผล ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ของตนได้แล้ว สั่งสอนให้ผู้อื่นรู้เห็นรู้ตาม ดับเพลิงกิเลสทุกข์ได้ และเป็นเหตุให้เกิดบุญเกิดกุศลแก่เทวดา มนุษย์มากมายนัก พระสงฆ์นั้นท่านปฏิบัติอย่างนี้จึงเป็นอัศจรรย์ใหญ่ยิ่งนัก ควรเลื่อมใสจริงๆ

เมื่อนึกถึงคุณพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ รัตนะนี้ ตรึกตรองด้วยปัญญา ครั้นเห็นจริงเกิดความเลื่อมใสขึ้นแล้ว เมื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ รัตนะนี้ เป็นที่พึ่งของตนจริงๆ เสมอด้วยชีวิตแล้ว ท่านกล่าวว่าถึงสรณะแล้ว มีผลานิสงส์ใหญ่ยิ่งกว่าทานหมดสิ้น ผลที่สุดวิเศษย่อมมีแก่ผู้เลื่อมใสในรัตนะทั้งสามนั้น และย่อมให้สำเร็จความปรารถนาแก่สัตว์ผู้เลื่อมใสได้ทุกประการ


เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอุตส่าห์นึกถึงพระคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เกิดความเลื่อมใสทุกๆ วันเถิด จะได้ไม่เสียทีประสบพบพระพุทธศาสนานี้


๒. เจริญเมตตา

อนึ่ง เมื่อเจริญเมตตาภาวนานี้ เป็นข้าศึกแก่พยาบาทโดยตรง เมื่อเจริญเมตตานี้ ย่อมละพยาบาทเสียโดยดี เมตตานี้ชื่อว่าเจโตวิมุตติ เพราะเป็นเครื่องหลุดพ้นจากพยาบาทของใจ มีผลานิสงส์ยิ่งใหญ่กว่าทานและศีลหมดทั้งสิ้น เมตตามีอานิสงส์วิเศษมากต่างๆ ดังว่ามานี้

เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอย่าได้ประมาทในเมตตาภาวนานี้เลย อุตส่าห์เจริญเถิด จะได้ประสบอานิสงส์วิเศษต่างๆ ซึ่งว่ามานี้เทอญ


๓. เจริญอสุภ


อนึ่ง เมื่อเจริญอสุภกรรมฐาน (อสุภสัญญา) นี้ เป็นข้าศึกแก่ราคะ ความกำหนัดยินดีโดยตรง ผู้ใดเจริญอสุภเห็นเป็นของไม่งามในกาย เห็นกายเป็นของไม่งามปฏิกูลน่าเกลียด จะเกิดความเบื่อหน่ายไม่กำหนัดยินดี ดับราคะ โทสะ โมหะเสียได้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าดื่มกินซึ่งรสคือ พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง

เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสรรเสริญกายคตาสติอสุภกรรมฐานนี้ว่า

“ผู้ใดได้เจริญกายคตาสตินี้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าบริโภคซึ่งรสคือ นิพพาน เป็นธรรมมี ผู้ตายไม่มี อมตธรรม” ดังนี้

นิพพานนั้นก็ดับราคะ โทสะ โมหะนั้นเอง


เหตุนั้น เราทั้งหลายจงอย่าได้ประมาทในกายคตาสตินี้เลย อุตส่าห์เจริญเถิด จะได้ประสบพบนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เลิศกว่าธรรมทั้งสิ้น


๔. เจริญมรณสติ


อนึ่งการเจริญมรณสติ พึงเจริญดังนี้ ก็ได้ว่า


“เรามีความตายเป็นธรรมดา ล่วงความตายไปไม่ได้แล้ว”


ความตายนั้น คือ สิ้นลมหายใจ กายแตก วิญญาณดับ

เหตุนั้น เราจงเร่งขวนขวายก่อสร้างบุญกุศล ซึ่งเป็นที่พึ่งของตนเสียให้ได้ทันขณะมีชีวิตอยู่นี้เถิด อย่าให้ทันความตายมาถึงเข้า ถ้าความตายมาถึงเข้าแล้ว จะเสียทีที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนานี้ทีเดียว

ผู้ใดได้เจริญมรณสติ นึกถึงความตายได้เห็นจริง จนเกิดความสังเวชได้ ผู้นั้นย่อมไม่เมาในชีวิต ละอาลัยในชีวิตเสียได้ เป็นผู้ไม่ประมาท รีบร้อนปฏิบัติละบาปบำเพ็ญบุญกุศล ชำระตนให้เป็นผู้บริสุทธิ์โดยเร็วพลัน


เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสสรรเสริญมรณสติที่บุคคลเจริญทำให้มากนี้ ว่ามีผลานิสงส์ใหญ่ยิ่งมากนัก นับเข้าในพระนิพพาน เป็นธรรมมี ผู้ตายไม่มี ดังนี้

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • “ประวัติย่อและธรรมปฏิบัติของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล”: โลกลี้ลับ ฉบับที่ ๖๘ ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๓๓. หน้า ๑๗-๒๒.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 08:45, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMjB8YzNiNDA0YjJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-7-24 03:25, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NDV8NTQ5NWJiZjB8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:47

IMG_0973.JPG


ตอนที่ ๗

หลวงปู่มั่น แสดงธรรมในวันวิสาขบูชา

ณ วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่

1.png



บันทึกโดย: พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน



ใจความสำคัญของธรรมที่ท่านแสดงในวันนั้นมีว่า วันนี้ตรงกับวันวิสาขบูชา พระพุทธเจ้าเกิดกับสัตว์โลกเกิดต่างกันมาก ตรงที่ท่านเกิดแล้วไม่หลงโลกที่เกิด ที่อยู่ และที่ตาย มิหนำยังกลับรู้แจ้งที่เกิด ที่อยู่ และที่ตายของพระองค์ด้วยพระปัญญาญาณโดยตลอดทั่วถึง ที่เรียกว่าตรัสรู้นั้นเอง


เมื่อถึงกาลอันควรจากไป ทรงลาขันธ์ที่เคยอาศัยเป็นเครื่องมือบำเพ็ญความดี มาจนถึงขั้นสมบูรณ์เต็มที่ แล้วจากไปแบบสุคโต สมเป็นศาสดาของโลกทั้งสาม ไม่มีที่น่าตำหนิแม้นิดเดียว ก่อนเสด็จจากไปโดยพระกายที่หมดทางเยียวยา ก็ได้ประทานพระธรรมไว้เป็นองค์แทนศาสดา ซึ่งเป็นที่น่ากราบไหว้บูชา คู่พึ่งเป็นพึ่งตายถวายชีวิตจริงๆ

เราทั้งหลายต่างเกิดมาด้วยวาสนา มีบุญพอเป็นมนุษย์ได้อย่างเต็มภูมิ ดังที่ทราบอยู่แก่ใจ แต่อย่าลืมวาสนาของตัว โดยลืมสร้างคุณงามความดี เสริมต่อภพชาติของเราที่เคยเป็นมนุษย์ จะเปลี่ยนแปลงและกลับกลายหายไป ชาติต่ำทรามที่ไม่ปรารถนาจะกลายเป็นตัวเข้าแล้วแก้ก็ไม่ตก

ความสูงศักดิ์ ความต่ำทราม ความสุขทุกชั้นจนถึงบรมสุข และความทุกข์ทุกขั้นจนเข้าขั้นมหันตทุกข์เหล่านี้ มีได้กับทุกคนตลอดสัตว์ ถ้าตนเองทำให้มี เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสมบัติกลาง แต่กลับกลายมาเป็นสมบัติจำเพาะของผู้ผลิตผู้ทำก็ได้


ฉะนั้น ท่านจึงสอนไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกัน เมื่อเห็นเขาตกทุกข์หรือกำลังจนจนน่าทุเรศ เราอาจมีเวลาเป็นเช่นนั้นหรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ เมื่อถึงวาระเข้าจริงๆ ไม่มีใครมีอำนาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกรรมดีชั่วเรามีทางสร้างได้เช่นเดียวกับผู้อื่น จึงมีทางเป็นได้เช่นเดียวกับผู้อื่น และผู้อื่นก็มีทางเป็นได้เช่นที่เราเป็นและเคยเป็น

ศาสนาเป็นหลักวิชาตรวจตราดูตัวเองและผู้อื่นได้อย่างแม่นยำ และเป็นวิชาเครื่องเลือกเฟ้นได้อย่างดีเยี่ยม ไม่มีวิชาใดในโลกเสมอเหมือนนับแต่บวชและปฏิบัติมาอย่างเต็มกำลังจนถึงวันนี้ มิได้ลดละการตรวจตราเลือกเฟ้นสิ่งดีสิ่งชั่วที่มี และเกิดอยู่กับตนทุกระยะ มีใจเป็นตัวการพาสร้างกรรมประเภทต่างๆ จนเห็นได้ชัดว่า กรรมมีอยู่กับผู้ทำ มีใจเป็นต้นเหตุของกรรมทั้งมวล ไม่มีทางสงสัย


ผู้สงสัยกรรมหรือไม่เชื่อกรรมมีผล คือคนลืมตนจนกลายเป็นผู้มืดบอดอย่างช่วยอะไรไม่ได้ คนประเภทนั้น แม้เขาจะเกิดและได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ว่าได้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูตนมาอย่างไรบ้าง แต่เขาจะมองเห็นเฉพาะร่างกายเขา ที่เป็นคนซึ่งกำลังรกโลกอยู่โดยเจ้าตัวไม่รู้เท่านั้น ไม่สนใจคิดว่าเขาเกิดและเติบโตมาจากท่านทั้งสอง ซึ่งเป็นแรงหนุนร่างกาย ชีวิต จิตใจ เขาให้เจริญเติบโตจนถึงปัจจุบัน

การดื่มและการรับประทานอาหารทุกประเภท ล้วนเป็นการเสริมสร้างและความเจริญเติบโตแก่ร่างกาย ให้เป็นอยู่ตามกาลของมัน การทำเพื่อร่างกาย ถ้าไม่จัดว่าเป็นกรรมคือการทำ จะควรจัดว่าอะไร สิ่งที่ร่างกายได้รับมาเป็นประจำ ถ้าไม่เรียกว่าผล จะเรียกว่าอะไร จึงจะถูกตามความจริง


ดี ชั่ว สุข ทุกข์ ที่สัตว์ทั่วโลกได้รับกันมาตลอดสาย ถ้าไม่มีแรงหนุนเป็นต้นเหตุอยู่แล้ว จะเป็นมาได้ด้วยอะไร ใจอยู่เฉยๆ ไม่คะนองคิดในลักษณะต่างๆ อันเป็นทางมาแห่งดีและชั่ว

คนเราจะกินยาตายหรือฆ่าตัวตายได้ด้วยอะไร สาเหตุแสดงอยู่อย่างเต็มใจ ที่เรียกว่าตัวกรรมและทำคนจนถึงตาย ยังไม่ทราบว่าตนทำกรรมแล้ว ถ้าจะไม่เรียกว่ามืดบอด จะควรเรียกว่าอะไร กรรมอยู่กับตัวและตัวกรรมอยู่ทุกขณะ ผลก็เกิดอยู่ทุกเวลา ยังสงสัยหรือไม่เชื่อกรรมว่าให้ผลแล้ว ก็สุดหนทาง


ถ้ากรรมวิ่งตามคนเหมือนสุนัขวิ่งตามเจ้าของ เขาก็เรียกว่าสุนัขนั้นเอง ไม่เรียกว่ากรรม นี่กรรมไม่ใช่สุนัข แต่คือการกระทำดีชั่ว ทางกาย วาจา ใจ ต่างหาก ผลจริงคือความสุขที่ได้รับกันอยู่ทั่วโลก กระทั่งสัตว์ผู้ไม่รู้จักกรรม รู้แต่กระทำคือหากิน ที่ทางศาสนาเรียกว่า กรรมของสัตว์ของบุคคล และผลกรรมของสัตว์ของบุคคล

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • รอยธรรม พระวิหารหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต. คณะศิษยานุศิษย์ รวบรวม. พิมพ์ครั้งที่ ๑ วันศุกร์ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๖. หน้า ๔๐-๔๒.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 08:47, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMjJ8NTdhODI0NDh8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: IMG_0973.JPG (2023-6-16 04:35, 93.74 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzODR8NDE0OWY2Nzh8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-7-24 04:45, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NDZ8ZjQ4NjIyZGR8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:49

ตอนที่ ๘

ความเพียรที่สละตาย

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

(วัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร)

1.png



ธรรมนั้นอยู่ฟากตาย ถ้าใครกลัวตายเสียดายทุกข์ ชอบถือเอาความสนุกในการเกิดว่าเลิศเลอ ผู้นั้นต้องจัดว่าลืมตัวมัวประมาทและชอบผัดเพี้ยนเลื่อนเวลาว่า เช้า สาย บ่าย เย็น ไม่อยากบำเพ็ญความดีสำหรับตน ในเวลาที่เป็นฐานะพอทำได้อยู่ ความประมาททั้งที่ยังจะพาให้หลั่งน้ำตาด้วยความทุกข์ในสงสาร ไม่อาจประมาณได้ว่า ยังอีกนานเท่าไรจึงจะผ่านพ้นแหล่งกันดารอันเป็นที่ทรมานไปได้

จึงขอฝากปัญหาธรรมเหล่านี้ไว้กับท่านทั้งหลายนำไปขบคิดด้วยว่า เราจะเป็นฝ่ายคืบหน้ากล้าตายด้วยความเพียรหมายพึ่งธรรม ไม่เหลียวหลังไปดูทุกข์ที่เคยเป็นภาระให้แบกหาม ด้วยความเจ็บแสบและปวดร้าวในหัวใจมาเป็นเวลานาน หรือยังจะเป็นฝ่ายเสียดายความตายแล้วกลับเกิดอีก อันเป็นตัวมหันตทุกข์ที่แสนทรมานอีกต่อไป รีบพากันนำไปพิจารณา อย่ามัวเมาเฝ้าทุกข์และหายใจทิ้งเปล่าๆ ดังที่เป็นมาและเป็นอยู่เวลานี้ จะช้าทางและเสียใจไปนาน

เพราะโรงดัดสันดานกิเลสตัวพาให้ว่ายบกอกแตกแบกกองทุกข์ไม่มีเวลาปลงวางนั้น มิได้มีอยู่ในที่อื่นใดและโลกไหนๆ แต่มีอยู่กับผู้ตั้งหน้าบำเพ็ญด้วยการใช้หัวคิดปัญญาศรัทธาความเพียร เป็นเครื่องมือบุกเบิกเพื่อพ้นไปนี้เท่านั้น ไม่หยุดหย่อนนอนใจว่ากาลเวลาอีกนาน สังขารยังไม่ตายร่างกายยังไม่แก่ ซึ่งเป็นความคิดที่ทำให้ผิดพลาดและพาให้ฉลาดแหลมคมก็มีอยู่กับใจดวงเดียวจะเป็นผู้ผลิตไม่มีอยู่ในที่ใดๆ จึงไม่ควรตั้งความหวังไว้กับที่ใดๆ ที่มิได้สนใจดูตัวเอง

ตัวจักรเครื่องทำงานคือ กายวาจาใจที่กำลังหมุนตัวกับงานทุกประเภทอยู่ทุกขณะ ว่าผลิตอะไรออกมาบ้าง ผลิตยาถอนพิษหรือธรรมเพื่อแก้ความไม่เบื่อหน่ายและอิ่มพอในความเกิดตายหรือผลิตยาบำรุงส่งเสริมความมัวเมาเหมาทุกข์ ให้มีกำลังขยายวัฏฏะ วนให้ยืดยาวกว้างขวางออกไปไม่มีสิ้นสุด หรือผลิตอะไรออกมาบ้าง ควรตรวจตราดูให้ละเอียดถี่ถ้วน ไม่เช่นนั้นจะเจอแต่ความฉิบหายล่มจม ไม่มีวันโผล่ตัวขึ้นจากทุกข์ที่โลกทั้งหลายกลัวๆ กันได้เลย

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี. ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ, ๒๕๓๘. หน้า ๑๘๙-๑๙๐.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 08:49, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMjR8YTVlNmQ0NjZ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-7-24 04:45, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NDd8YjliZDY5ZjR8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:50

ตอนที่ ๙

เหตุใด ? อริยธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว

แต่ผู้ศรัทธาไม่ได้ทำให้เป็นจริงขึ้น

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

(วัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร)

1.png



ในวันหนึ่งขณะที่หลวงปู่มั่นนั่งสมาธิได้รับความสว่างอยู่นั้น ท่านทวนพิจารณาถึงความรู้ของท่านและที่ได้แนะนำสั่งสอนผู้อื่นได้ปรากฏว่า อันที่จริงอริยธรรมเหล่านี้พระพุทธเจ้าแสดงไว้แล้วอย่างชัดเจน แต่เพราะเหตุที่ผู้ศึกษาไม่ได้ทำให้เป็นจริงขึ้น จึงปรากฏว่าเป็นสิ่งที่ลึกลับยากแก่การจะรู้จริงได้

แม้ว่าพระพุทธองค์จะทรงแสดงแจ้งชัดสักเท่าใดก็ตาม เช่นพระองค์แสดงอนัตตลักขณสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ให้ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์นั้น พระองค์ก็ทรงแสดงชี้ลงไปที่กาย คือรูปของปัญจวัคคีย์นั่นเอง ได้ทรงแสดงว่า แม้รูปของปัญจวัคคีย์ก็มีอยู่แล้ว ทำไมปัญจวัคคีย์จึงไม่พิจารณาเอาเองเล่า มารู้แจ้งเห็นจริงเอาตอนที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้ดูจึงค่อยมาได้สำเร็จ


ข้อนี้ก็เป็นเช่นกับตัวของเรานั่นเอง ได้อุตส่าห์เที่ยวไปแสวงหาอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิกระทั่งทั่วประเทศและต่างประเทศ แต่ครั้นจะมารู้จริงได้ก็คือ การมาปฏิบัติเอาโดยตนเองตามแนวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง แต่ว่าเท่าที่เราเองได้เข้าใจนั้นก็เพราะเราไปเห็นความจริงเท่านั้น ทั้งๆ ที่ความจริงก็อยู่ใกล้นิดเดียว

แต่ว่าการปฏิบัติเพื่อความรู้จริงนี้มันเป็นสิ่งที่แปลก เพราะเหตุว่าการทำจิตเป็นนามธรรม เมื่อเกิดความอัศจรรย์หรือความสบายก็ไปเข้าใจเสียว่าดีเสียแล้ว จึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถจะรู้ยิ่งขึ้นได้ จึงไม่ควรตำหนิผู้ที่เขาพากันทำสมาธิแล้วหลงใหลไปตามโลกียฌาน หรือตามวิปัสนูปกิเลส เพราะเขาเหล่านั้นก็ได้รับความสงบความเย็นใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยาก

แต่ที่ควรตำหนิก็เพราะว่าเขาไม่พยายามหาโลกุตรธรรมนั่น แม้แต่เราในเบื้องแรกเราก็ได้พบโลกียฌาน ฌานมากมาย ซึ่งมันก็ทำให้เราหลงใหลมันไปพักใหญ่ แต่เราพยายามที่จะแสวงหาได้ยิ่งขึ้น เราจึงไม่ติดอยู่เพียงแค่นั้น อันการติดอยู่หรือเข้าใจผิดในธรรมปฏิบัติจิตอันเป็นภายในนี้ มันไม่ไปนรกดอก แต่ว่าการที่ไปติดมัน มันทำให้ต้องล่าช้าต่อการรู้ยิ่งเห็นจริงต่างๆ


หากเราเองเมื่อได้ความรู้แจ้งนี้แล้ว จึงได้พยายามเพื่อความที่จะทำจิตให้ก้าวหน้าโดยไม่หยุดยั้ง ทุกหมู่ทุกจำพวกในบรรดาผู้บำเพ็ญจิตในกัมมัฏฐานทั้งหลายนั้น ต่างก็มุ่งหวังเพื่อความดีความเจริญทุกหมู่ทุกคณะ แต่เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นเองที่ทำให้เขาต้องเสียประโยชน์

ท่านได้ปรารภไปถึง อาฬารดาบสกาลามโคตร และ อุทกดาบสรามบุตร ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “ฉิบหายเสียจากคุณอันยิ่งใหญ่” เนื่องด้วยดาบสทั้ง ๒ นั้น ได้มรณะไปเสียก่อนที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ความจริงดาบสทั้งสองก็เป็นผู้สำเร็จฌานชั้นสูงกันทั้งนั้น


อันว่าฌานชั้นสูงนี้ ก็เป็นการให้ความสุขอันยิ่งแก่ผู้ที่ได้สำเร็จอยู่มากแล้ว แต่เพราะเหตุใดเล่า พระพุทธองค์จึงทรงแสดงว่า “ฉิบหายเสียจากคุณอันยิ่งใหญ่” ก็เพราะว่ายังไม่หมดจดจากกิเลส เพราะเพียงแต่ข่มกิเลสไว้ เหมือนกับศิลาทับหญ้าเท่านั้น

อันที่จริงฌานชั้นสูงนั้น
ก็เป็นเบื้องต้นแห่งการดำเนินไปสู่ความหมดจดจากกิเลส แต่เพราะความที่ดาบสนั้นไม่เข้าใจวิธีแห่งการอันจะพึงทำจิตเข้าสู่อริยสัจเท่านั้น ข้อนี้เป็นประการสำคัญนัก เพราะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็เพราะเหตุนี้ คืออริยสัจนี้

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • บันทึกโดย พระญาณวิริยาจารย์. เวียนว่าย/ตายเกิด. ราช เลอสรวง บรรณาธิการ: ตรงหัว. หน้า ๕๘-๕๙.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 08:53, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMjZ8NTU2Y2YwOTJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-7-24 04:46, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NDh8NmU0ZjE2ZWR8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:52

ตอนที่ ๑๐

คบคนพาล พาลไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

(วัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร)

1.png



ในหนังสือ “ประวัติหลวงปู่มั่น” โดยท่านหลวงตามหาบัวได้กล่าวถึงเรื่องนี้น่าสนใจมากว่า

“ที่ท่านสอนว่าให้คบนักปราชญ์นั้น เป็นความจริงหาที่แย้งไม่ได้เลย ดังคณะลูกศิษย์เข้าอยู่อาศัยสดับตรับฟังความดีงามจากครูอาจารย์วันละเล็กละน้อย ทำให้เกิดกำลังใจและซึมซาบเข้าภายในไปทุกระยะจนกลายเป็นคนดีตามท่านไปได้ แม้ไม่เหมือนท่านทุกกระเบียด ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ของลูกศิษย์ที่มีครูอาจารย์สั่งสอน อนึ่งการคบคนพาลก็ทำให้มีส่วนเสียได้มากน้อยตามส่วนแห่งความสัมพันธ์กัน

ที่ท่านสอนไว้ทั้งสองภาคนี้มีความจริงเท่ากัน คือทำให้คนเป็นคนดีได้เพราะการคบกับคนดี และทำให้คนเสียได้เพราะการคบกับคนไม่ดี เราพอทราบได้ระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ที่คบกันนานๆ อย่างน้อยลูกศิษย์นั้นๆ ย่อมพอมีหลักยึดได้จากอาจารย์ และคนที่หลวมตัวเข้าไปอยู่กับคนพาล อย่างน้อยย่อมมีการแสดงออกในลักษณะแห่งคนพาลจนได้ มากกว่านั้นก็ดังที่เห็นๆ กันไม่มีทางสงสัย นี่กล่าวถึงพาลภายนอก


แต่ควรทราบว่า พาลภายใน ยังมีและฝังจมอยู่อย่างลึกลับในนิสัยของมนุษย์เราแทบทุกราย คำว่าพาลในที่นี้ หมายถึง ความขลาดเขลาย่อหย่อนต่อกลมารยาของใจที่เป็นฝ่ายต่ำ ซึ่งคอยแสดงออกในทางชั่วและต่ำทรามโดยเจ้าตัวไม่รู้ หรือแม้รู้แต่เข้าใจว่าเป็นเพียงอยู่ภายในไม่ได้แสดงออกภายนอกให้เป็นสิ่งที่น่าเกลียด

ความจริงขึ้นชื่อว่าของไม่ดีแล้ว จะมีอยู่ ณ ที่แห่งใด ย่อมเป็นของน่าเกลียดอยู่ในตัวของมันเอง ไม่ถึงกับต้องแสดงออกมาจึงจะเป็นของน่าเกลียด เพราะมันเป็นของน่าเกลียดน่ากลัวอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมปราชญ์ฉลาดแหลมคม จึงทรงสอนให้ละและถอดถอนโดยลำดับจนหมดสิ้น ไม่มีคำว่า “สิ่งไม่ดี” เหลืออยู่เลยนั่นแล”

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • ลิขิตธรรมโดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี. ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ, ๒๕๓๘. หน้า ๒๔๓-๒๔๔.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 08:54, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMjh8MWZiYWNhNDd8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 02:09, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NDl8YWIwNTVlZjd8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:54

ตอนที่ ๑๑

อย่าให้ใจเหมือน

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

(วัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร)

1.png


ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเขียนโดย ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เล่าถึงคราวที่หลวงปู่ขาวเกิดความสงสัยในการปฏิบัติและได้เรียนถามหลวงปู่มั่นว่า

“ในครั้งพุทธกาล ตามประวัติว่ามีผู้สำเร็จมรรคผลนิพพานมาก และรวดเร็วกว่าสมัยนี้ ซึ่งไม่ค่อยมีผู้ใดสำเร็จกัน แม้ไม่มากเหมือนครั้งโน้น หากมีความสำเร็จได้ ก็รู้สึกจะช้ากว่ากันมาก”

หลวงปู่มั่น ท่านตอบว่า……

“กิเลสของคนในพุทธสมัย มีความเบาบางมากกว่าในสมัยปัจจุบัน แม้การอบรมก็ง่าย ผิดกับสมัยนี้อยู่มาก ประกอบกับผู้สั่งสอนในสมัยนั้นก็เป็นผู้รู้ยิ่งเห็นจริงเป็นส่วนมาก มีพระศาสดาเป็นพระประมุขประธานแห่งพระสาวกในการประกาศสอนธรรมแก่หมู่ชน

การสอนจึงไม่ค่อยผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความจริง ทรงถอดออกมาจากพระทัย และใจที่บริสุทธิ์ล้วนๆ หยิบยื่นให้ผู้ฟังอย่างสดๆ ร้อนๆ ไม่มีธรรมแปลกปลอมเคลือบแฝงออกมาด้วยเลย ผู้ฟังก็เป็นผู้มุ่งต่อความเจริญอย่างเต็มใจ ซึ่งเป็นความเหมาะสมทั้งสองฝ่าย ผลที่ปรากฏเป็นขั้นๆ ตามความคาดหมายของผู้มุ่งความจริง

จึงไม่มีปัญหาที่ควรขัดแย้งได้ว่า สมัยนั้นคนสำเร็จมรรคผลกันทีละมากๆ จากการแสดงธรรมแต่ละครั้งของพระศาสดาและพระสาวก ส่วนสมัยนี้ไม่ค่อยมีใครสำเร็จได้ คล้ายกับคนไม่ใช่คน ธรรมไม่ใช่ธรรม ผลจึงไม่มี

ความจริงคนก็คือคน ธรรมก็คือธรรมอยู่นั่นเอง แต่คนไม่สนใจธรรม ธรรมก็เข้าไม่ถึงใจ จึงกลายเป็นว่า คนก็สักว่าคน ธรรมก็สักว่าธรรม ไม่อาจยังประโยชน์ให้สำเร็จได้

แม้คนจะมีจำนวนมากและแสดงให้ฟังทั้งพระไตรปิฎก จึงเป็นเหมือนเทน้ำใส่หลังหมา มันสลัดออกเกลี้ยงไม่มีเหลือ ธรรมจึงไม่มีความหมายในใจของคน เหมือนน้ำไม่มีความหมายบนหลังหมาฉะนั้น”

ข้าพเจ้าอดนำมาถามตัวเองไม่ได้ว่า……..
“แล้วเราล่ะ เวลานี้ใจเราเป็นเหมือนหลังหมาหรือเปล่า”

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • พรหมปัญโญบูชา: เมธา พรพิพัฒน์ไพศาล เรียบเรียง, ๒๕๔๑. หน้า ๑๒๗-๑๒๘.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 08:55, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMzB8MmE5YTdmNTZ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 02:20, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NTB8MDJiODU4NzB8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:56

ตอนที่ ๑๒

การฝึกซ้อมสติปัญญากับความเจ็บป่วย

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

(วัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร)

1.png



การฝึกซ้อมสติปัญญากับความเจ็บป่วย คือ ต้องพิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยสติปัญญาอย่างเข้มแข็งและแหลมคม ไม่เช่นนั้นก็แก้ทุกขเวทนาไม่ได้ ไข้ไม่สร่างไม่หายได้เร็วกว่าธรรมดาที่ควรเป็นได้

ผู้ที่สติปัญญาผ่านทุกขเวทนาในเวลาเป็นไข้ไปได้อย่างอาจหาญ ย่อมได้หลักยึดทั้งเวลาปกติและเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์ ตลอดเวลาจวนตัวจริงๆ ไม่ท้อแท้อ่อนแอและเสียทีในวาระสุดท้าย เป็นผู้กำชัยชนะในทุกขสัจไว้ได้อย่างประจักษ์ใจ และอาจหาญต่อคติธรรมดาคือ ความตาย

การรู้ทุกขสัจด้วยสติปัญญาจริงๆ ไม่มีการอาลัยในเวลาต่อไป จิตยึดความจริงที่เคยพิจารณารู้แล้วเป็นหลักในใจตลอดไป เมื่อถึงคราวจวนตัวเข้ามา สติปัญญาประเภทนั้นจะเข้ามาเทียมแอกเพื่อลากค้นทุกข์ด้วยการพิจารณาให้ถึงความปลอดภัยทันที ไม่ยอมทอดธุระนอนจมทุกข์อยู่ดังแต่ก่อนที่ยังไม่เคยกำหนดรู้ทุกข์เลย แต่สติปัญญาประเภทนี้จะเข้าประชิดข้าศึกทันที

กิริยาท่าทางภายนอกก็เป็นเหมือนคนไข้ทั่วไป คือมีการอิดโหยโรยแรงเป็นธรรมดา แต่กิริยาภายใน คือใจกับสติปัญญาจะเป็นลักษณะทหารเตรียมออกแนวรบ ไม่มีการสะท้านหวั่นไหวต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นมากน้อยในขณะนั้น มีแต่การค้นหามูลความจริงของกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นที่รวมแห่งทุกข์ในขณะนั้นอย่างเอาจริงเอาจัง


ไม่กลัวว่าตนสู้หรือทนทุกข์ไม่ไหว กลัวแต่สติปัญญาจะไม่รู้รอบทันกับเวลาที่ต้องการเท่านั้น การพิจารณาธรรมของจริง มีทุกขสัจเป็นต้น กับผู้ต้องการรู้ความจริงอยู่อย่างเต็มใจที่เคยรู้เห็นมาแล้วนั้น ท่านไม่ถือเอาความลำบากมาเป็นเครื่องกีดขวางทางเดินให้เสียเวลาและทำความอ่อนแอแก่ตนอย่างไร้ประโยชน์ที่ควรจะได้เลย

มีแต่คิดว่าทำอย่างไรจึงจะรู้ประจักษ์ขึ้นมาในปัจจุบัน ไม่พ้นสติปัญญาศรัทธาความเพียรไปได้ เมื่อรู้ความจริงแล้ว ทุกข์ก็จริง กายก็จริง ใจก็จริง ต่างอันต่างจริง ไม่มีอะไรรังควานรังแกบีบคั้นกัน สมุทัยที่ก่อเหตุให้เกิดทุกข์ก็สงบลง ไม่คิดปรุงว่ากลัวตายหรือไข้ไม่หายอันเป็นอารมณ์เขย่าใจให้ว้าวุ่นขุ่นมัวไปเปล่าๆ

เมื่อสติปัญญารู้รอบแล้ว ไข้ก็สงบลงในขณะนั้น หรือแม้ไข้ยังไม่สงบลงในขณะนั้น แต่ไม่กำเริบรุนแรงต่อไป และไม่ให้ใจให้เกิดทุกขเวทนาไปด้วย ที่เรียกว่าป่วยกายป่วยใจกลายเป็นไข้สองซ้อน เพราะคำว่าธรรมแล้วเหตุกับผลลงกันได้ จึงจะเรียกว่า สวากขาตธรรม ตามที่ประทานไว้

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี. ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ, ๒๕๓๘. หน้า ๒๕๘-๒๕๙.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 08:57, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMzJ8OWMwM2M2ZTh8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 02:22, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NTF8YjdiZDcyYWV8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:57

ตอนที่ ๑๓

ปัจฉิมโอวาทของหลวงปู่มั่นในวาระสุดท้ายของชีวิต

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

(วัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร)

1.png



ตอนสุดท้ายแห่งธรรมที่พอยึดได้ว่าเป็นปัจฉิมโอวาท เพราะท่านมาลงเอยในสังขารธรรมเช่นเดียวกับพระปัจฉิมโอวาทที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่สงฆ์เวลาจะเสด็จปรินิพพาน โดยท่านยกเอาพระธรรมบทนั้นขึ้นมาว่า

“ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเตือนท่านทั้งหลาย สังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง มีความเกิดหรือเจริญขึ้นแล้ว เสื่อมไปดับไป จงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

จากนั้นท่านก็อธิบายต่อใจความว่า คำว่าสังขารในพระปัจฉิมโอวาทนั้นเป็นยอดธรรม พระองค์ทรงประมวลมาในคำว่าสังขารทั้งสิ้น แต่พระประสงค์ทรงมุ่งสังขารภายในมากกว่าสังขารอื่นใดในขณะนั้น เพื่อเห็นความสำคัญของสังขารอันเป็นตัวสมุทัย เครื่องก่อกวนจิตให้หลงตาม ไม่สงบลงเป็นตัวของตัวได้


เมื่อพิจารณาสังขารคือ ความคิดปรุงของใจทั้งหลาย ละเอียดรู้ตลอดทั่วถึงแล้ว สังขารเหล่านั้นก็ดับ เมื่อสังขารดับ ใจก็หมดการก่อกวน แม้มีการคิดปรุงอยู่บ้างก็เป็นไปตามปกติขันธ์ ที่เรียกว่าขันธ์ล้วนๆ ไม่แฝงขึ้นมาด้วยกิเลสตัณหาอวิชชา ถ้าเทียบกับการนอนก็เป็นการนอนหลับอย่างสนิท ไม่มีการละเมอเพ้อฝันมาก่อกวนในเวลาหลับ

ถ้าหมายถึงจิตก็คือ “วูปสมจิต” เป็นจิตสงบที่ไม่มีกิเลสนอนเนื่องอยู่ภายใน จิตของพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งปวงเป็นจิตประเภทนี้ทั้งนั้น ท่านจึงไม่หลงใหลใฝ่ฝันหาอะไรกันอีก นับแต่ขณะที่จิตประเภทนี้ปรากฏขึ้น คำว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ก็มีมาพร้อมกัน ความสิ้นกิเลสก็สิ้นไปในขณะเดียวกัน ความเป็นพระอรหันต์ก็เป็นขึ้นพร้อมในขณะเดียวกัน จึงเป็นธรรมอัศจรรย์ก็ไม่มีอะไรเทียบได้ในโลกทั้งสาม


พอแสดงธรรมถึงที่นี้แล้วท่านก็หยุด นับแต่วันนั้นมาไม่ปรากฏว่าได้แสดงที่ไหนในเวลาใดอีกเลย จึงได้ยึดเอาว่าเป็นปัจฉิมโอวาท และได้นำลงในประวัติท่านเป็นวาระสุดท้าย สมนามว่าเป็นปัจฉิมโอวาท

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี. ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ, ๒๕๓๘. หน้า ๓๓๓-๓๓๔.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 08:58, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMzR8YTM2MDAwMGF8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 02:23, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NTJ8MjAwMGRiZTB8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:58

ตอนที่ ๑๔

ใต้รอยบาทหลวงพ่อเดิม

ท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์

(วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์)

1.png



หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์) อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นพระผู้เปี่ยมล้นไปด้วยบารมีอันสูงส่ง ได้รับการถวายนามจากศิษยานุศิษย์ว่าคือ “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว”

โดยแท้จริง อภินิหารของหลวงพ่อเดิมทั้งจากตัวของหลวงพ่อเองและจากวัตถุมงคลเป็นที่โจษขานกันมานานแสนนานจนถึงปัจจุบันนี้ หนึ่งในนั้นคือ
รอยเท้าของหลวงพ่อเดิม

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ศิษย์ผู้สืบทอดวิชาคชศาสตร์จากหลวงพ่อเดิม ได้เล่าเรื่องราวสมัยที่หลวงพ่อเดิมท่านยังมีชีวิตอยู่ว่า ในสมัยนั้นนิยมมาขอให้หลวงพ่อเดิมประทับรอยเท้าบนผ้าขาว สีที่ใช้ก็คือครามผงผสมน้ำนี่เอง เอามาทาฝ่าเท้าหลวงพ่อให้ท่านเหยียบ และการเหยียบตอนแรกเหยียบกระดานเปล่า ติดขัดบ้าง ไม่ติดขัดบ้าง ก็ว่ากันไปตามสะดวก


ต่อมามีผู้คนไปเกิดประสบการณ์ต่างๆ เช่น ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า ตีไม่แตก บางทีก็เอาไปโบกไล่เครื่องบินให้วนไปที่อื่นหรือโบกปัดระเบิดบ้าง โดยบางบ้าน รอบๆ บ้านพินาศยับเยินด้วยแรงระเบิดทำลาย แต่บ้านที่มีรอยเท้าหลวงพ่อเดิมกลับปลอดภัย ไม่มีกระเบื้องแตกสักแผ่น เล่าลือกันหนักเข้า หลวงพ่อก็ต้องนั่งประทับรอยเท้าจนขาเมื่อย

หลวงพ่อจรัญได้ถามหลวงพ่อเดิมตรงๆ ว่า

หลวงพ่อจรัญ :
“ที่หลวงพ่อเหยียบรอยเท้าให้เขาไปนั้นมันคืออย่างไรครับ บอกให้กระผมได้ตาสว่างสักครั้งหนึ่งเถิด”

หลวงพ่อเดิม :
เทพเจ้าแห่งวัดหนองโพมองดูหน้าหลวงพ่อจรัญก่อนจะกล่าวตอบด้วยน้ำเสียงอันดังกังวานว่า “เฮ้อ ตาดีก็ได้ ตาร้ายก็เสีย หูดีก็ได้ หูร้ายก็เสีย”

หลวงพ่อจรัญ :
ถึงกับงงเป็นไก่ตาแตก เพราะหลวงพ่อเดิมท่านตอบไม่ตรงคำถาม จึงรุกเข้าถามไปว่า “ไม่ใช่อย่างนั้นหลวงพ่อ กระผมต้องการรู้ว่าที่เขาเอาไปใช้กันนะ ดีทางไหนกันแน่ ถึงได้มาขอกันจนเหยียบไม่ได้หยุด”

หลวงพ่อเดิม :
“เอ้องั้นเรอะ ฟังน่ะ เขาว่าดีเอาไปโพกหัวแล้วยิงไม่ออก โพกหัวแล้วตีไม่แตก นั่นเขาว่ากันอย่างนั้น ฉันไม่ได้ว่าน่ะ เขาว่ากันไปเองแหละ

หลวงพ่อจรัญ :
“อ้าวแล้วงั้นหลวงพ่อให้เขาเอาไปทำไมกันล่ะ ถ้าหลวงพ่อไม่ได้ว่าดี เขาว่ากันเองล่ะก็”

หลวงพ่อเดิม : “เรื่องนั้นไม่เกี่ยวกับฉัน ที่คุณธรรมะของฉันที่ฉันฝากไว้ในรอยเท้ามันไม่ใช่อย่างที่เขาเล่าลือกัน”

หลวงพ่อจรัญ :
ธรรมะอะไรกันครับหลวงพ่อ ช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจหน่อย ผมงงไปหมดแล้ว

หลวงพ่อเดิม :
“รอยเท้าของฉันเหยียบไว้เป็นที่ระลึกว่า ฉันคือหลวงพ่อเดิมที่ในหลวงท่านพระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นครูนิวาสธรรมขันธ์ หมายถึงว่า เป็นที่ตั้งแห่งธรรมทั้งปวง ฉันปฏิบัติในกรอบแห่งความดี ฉันไม่เบียดเบียน ฉันสร้างความเจริญในถิ่นกันดาร ฉันทำดีเพื่อให้พระศาสนารุ่งเรือง

เมื่อได้รอยเท้าของฉันไปแล้ว ก็จะระลึกว่าหลวงพ่อเดิมท่านทำดี เราควรทำความดีความเจริญตามรอยเท้าของท่านไป เป็นคนดี คิดดี ทำดี อยู่แต่ในศีลธรรมอันดีงาม นั้นแหละรอยเท้าของฉันจึงจะขลัง ไม่ใช่เอาไปโพกหัวแล้วยิงไม่ออก แต่ไม่เคยมีใครถามฉันสักราย เห็นแต่เอารอยเท้าไปติดตัวแล้วหายเงียบ”

หลวงพ่อเดิม :
“เอารอยเท้าฉันไปนะ ฉันเป็นอุปัชฌาย์ของเธอ ฉันเป็นพระที่เธอนับถือ ฉันไม่เก่งอะไรหรอก แต่ฉันสร้างความดี เธอจงเอารอยเท้าฉันไปดูให้ติดตาม แล้วทำความดีตามรอยเท้าของฉัน แล้วเธอจะประสบความสุขความเจริญทั่วหน้า

มีหลายรายเอารอยเท้าฉันไป แล้วเอาไปประกอบกรรมชั่ว ไปปล้นเขา ไปจี้เขา ไปลักวัวควายเขา ถูกยิงตายคาที่ตายโหง รอยเท้าฉันอยู่กับตัวช่วยอะไรไม่ได้ เพราะเขาไม่เดินตามรอยเท้าฉันไปในทางดี กลับแหกคอกไปในทางชั่ว แล้วจะมาหวังพึ่งอะไรได้เล่า”

นี่คือ ปรัชญาชีวิตในรอยเท้าของหลวงพ่อเดิม ที่ท่านฝากเอาไว้กับบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายให้ได้คิดกันต่อมา

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • คุณประเจียด คงศาสตรา และคุณสุรเวท เสนภูษา ผู้เขียน: สำนักพิมพ์ ๙๙ มีเดีย, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๕. หน้า ๔๖-๔๘.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 08:59, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMzZ8NjI0OTU4OTR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 02:25, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NTN8ZjI2ZWE5ZWR8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 06:59

ตอนที่ ๑๕

พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

(วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์)

1.png



การปฏิบัติธรรม หมายถึง การปฏิบัติฝึกจิตให้ปลอดพ้นจากกิเลสอย่างแท้จริง ด้วยวิถีทางสมถะและวิปัสสนากรรมฐานตามลำดับ

จิต คือ พุทโธ

จิต นี้ก็คือ ธรรม เป็นสภาวะพิเศษที่ไม่ไปไม่มา เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ เหนือความดีและความชั่วทั้งปวง ไม่อาจจัดเป็นลักษณะรูปหรือนามได้

เมื่อได้เข้าถีงสภาวะดังกล่าวของจิตแล้ว อาการต่างๆ ของจิตที่เป็นไป หรือจะเรียกว่ากิริยาแห่งจิตก็ได้ ทั้งในภาคสมถะและวิปัสสนาตามลำดับ ย่อมต้องถือว่าเป็นของภายนอก เป็นสิ่งแปลกปลอมปรุงแต่ง ไม่ควรยึดถือเอาเป็นแก่นสารสาระ


แม้แต่ฌานสมาบัติก็เป็นเพียงของประจำโลกเท่านั้น มิใช่เป็นหนทางวิเศษแต่อย่างใดเลย จะเห็นได้จากการบำเพ็ญเพียรของสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ พระองค์ทรงละเสียซึ่งลักษณะธรรมเหล่านี้โดยสิ้นเชิง คือ

เมื่อพระองค์ออกจาก จตุตถฌาน ละเวทนาขาดสิ้น สภาวะจิตถึงการดับรอบตัวเองแล้ว ภวังคจิตขาดแล้วไม่สืบต่ออีกเลย สิ้นสุดสังสารวัฏฏ์ ณ ขณะนั้นเลย เรียกว่า นิพพาน

ฉะนั้น ไม่ว่าแสง สี ฌานสมาบัติใดๆ หรือแม้แต่ภวังคจิตเองก็ไม่น่าจะไปกำหนดรู้เพื่อการถืออะไร เพราะเป็นของเกิดๆ ดับๆ เป็นของปรุงแต่งขึ้น เป็นของประจำโลก จิตที่กล่าวถึงนี้แลแท้จริงก็มีการเกิดๆ ดับๆ อยู่ร่ำไป จึงกล่าวได้ว่า ตัวจิตเองก็ไม่คงทนถาวรอะไร ถึงซึ่งการดับรอบ โดยสิ้นเชิงเช่นกัน เมื่อกล่าวเป็นธรรมเป็นจริงแล้ว แม้พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ยังหมายถึง สมมติบัญญัติอยู่นั่นเอง

สมเด็จพระบรมศาสดา จึงตรัสว่า พระองค์ได้ทำลายเรือน หรืออาณาจักรของตัณหาแล้ว ตัณหาไม่สามารถสร้างเหย้าเรือนให้เป็นภพเป็นชาติ แม้ตัวจิตเองยังสภาพเดิม คือ ฐีติจิต ฐีติธรรม อันเป็นธรรมดา


ด้วยเหตุนี้เอง ภิกษุทั้งหลายพึงสังวรอย่างยิ่งยวด ไม่พึงปรับอาบัติหรือโทษต่างๆ แก่พระอรหันต์ ก็อย่าว่าแต่ความผิดบาปเลย แม้ความดี พระอรหันต์ท่านก็ละได้เด็ดขาด ท่านอยู่เหนือความดีความชั่วทั้งหลายแล้วโดยสิ้นเชิง อย่าถือพระสูตรบางอย่างที่ว่า มีการปรับโทษพระอรหันต์ เช่น ความผิดที่ไม่ร่วมสมาคม หรือสังฆกรรมกับหมู่สงฆ์ดังนี้

เมื่อจักปฏิบัติธรรมแล้วก็ไม่ควรวุ่นวายกับชาดกนิทาน ของแปลกของปลอมอะไรนั่น มุ่งพิจารณาจิตไม่ว่าพบเห็น ได้ยิน ได้ฟังสิ่งใด ให้ย้อนเข้ามาในจิตให้ได้ จนสามารถรู้จิต เห็นจิต เข้าถึงสภาวะความรู้แจ้งแทงตลอดในธรรม จนถึงความดับรอบของจิตใจในขั้นสุดท้าย

การพ้นสมมติบัญญัติย่อมหมายรวมไปถึงธรรมด้วย เช่นอายตนะทั้งหลาย ซึ่งเปรียบเสมือนฉายา หรือแม้ตัวจิตเองก็ตาม มิว่าจะพูดกันครั้งใด ก็ไม่พ้นสมมติบัญญัติไปได้

การหยุดคิดลึก นั่นก็หมายถึง หยุดพูด หยุดเคลื่อนไหว หยุดกิริยาแห่งจิต ซึ่งหมายถึง หยุดสังสารวัฏฏ์นั่นเอง เพราะไม่ว่าเราจะกำหนดจิตคิดถึงสิ่งใดๆ สิ่งนั้นก็ยังเป็นสิ่งภายนอก เป็นของปรุงแต่งขึ้นในโลก เช่น การกำหนดรู้ ย่อมมีสิ่งที่ต้องกำหนด (อาจจะเป็นรูปก็ดี นามก็ดี) เสื่อมสลาย เพราะเป็นของปรุงแต่งจากเหตุปัจจัยทั้งสิ้น

ฉะนั้น สภาวะของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ จึงเป็นของยากที่จะแสดงออกเป็นคำพูด มีแต่ความนิ่งวางเฉย พร้อมกับรู้ชัดเลยทีเดียวว่า สรรพสิ่งทั้งหลายเสมอกันสิ้น ไม่ว่าสัตว์ บุคคล เรา เขา หรือแม้พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และสัตว์โลกทั้งหลาย ก็มีสภาพอันเดียวกันเสมอกัน แต่ที่เห็นแตกต่างกัน เพราะการยึดถือในสิ่งที่แตกต่างกันคือ ผิดไปจากสัจธรรมแท้เท่านั้น

(สัจธรรมแท้มีหนึ่งเดียว แต่คนเราไปยึดถือสิ่งที่ไม่ใช่สัจธรรมแท้ จึงกลายเป็นนานาทัศนะแตกต่างกัน….ผู้เขียน) ความประพฤติปฏิบัติและจริยธรรมก็แลดูผิดแผกกันไปต่างๆ นานา

การที่บุคคลใดสามารถปฏิบัติเข้าถึงสภาวะที่จะตัดสินใจได้ว่าสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งภายนอกกับตัวเรานี้ แท้จริงเป็นของสิ่งเดียวกันโดยแท้ (นี่คือสภาวะของความเป็นอยู่ของผู้บรรลุพระนิพพาน)


จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า สภาวะเป็นจริง หรือที่เรียกว่าสัจธรรมนั้นมีอยู่ตลอดกาล หากไม่ท้อถอยหรือละความเพียรเสียก่อน ย่อมมีโอกาสเข้าถึงสัจธรรมได้เป็นที่แน่นอน

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • พลังเหนือโลก ฉบับที่ ๓๑ ปีที่ ๑๓ ประจำเดือนเมษายน ๒๕๒๘: สุภักดิ์ ตลับทอง เรียบเรียง. หน้า ๒๗-๒๙.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:01, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyMzh8ZGUwOTUyNWJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 02:28, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NTR8ZjZmYjg0NTV8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:03

ตอนที่ ๑๖

อาหารของผู้บรรลุธรรมชั้นสูง

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

(วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์)

1.png



ตลอดระยะเวลาเดือนกว่าที่ถ้ำผาบึ้ง หลวงปู่ได้ปฏิบัติฝึกฌานสมาบัติ หรือฌานสมาธิ ปฐมมรรรค ทุติยมรรค ตติยมรรค และจตุตถมรรค จนได้พระนิพพานเป็นอารมณ์ได้อย่างถาวร สามารถระงับดับสังขารทั้งหลาย จนหมดทั้งเหตุ หมดทั้งปัจจัย รวมเรียกว่า ปสโมสุโข คือ ดับไปโดยไม่มีส่วนเหลือ “ธรรมสากัจฉา” ในความเป็นพระอรหันต์

ออกจากถ้ำผาบึ้ง ก็ถึงเขตสกลนคร อำเภอวาริชภูมิ หลวงปู่ดูลย์ ท่านได้พบกับพระปรมาจารย์มั่นที่นี่ ในต้นปี ๒๔๖๖ และในครั้งนี้ ไม่มีการกราบเรียนผลการปฏิบัติหรือแนะนำแนวทางปฏิบัติต่อไปอันใดอีก

นั้นเป็นเพราะท่านปรมาจารย์ทราบด้วยญาณทัศนะแห่งตนว่า “ณ บัดนี้เป็นต้นไป ท่านดูลย์คือพระอรหันต์องค์ต่อจากท่าน” รวมการเจริญอายุครองเพศแห่งร่มผ้ากาสาวพัสตร์ได้ ๑๔ พรรษากว่า” ในบัดนี้ หลวงปู่ดูลย์ท่านถือว่าเป็นเพียงการเริ่มต้นเดินทางบนสายธารแห่งความเป็นพระอรหันต์เท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ การพบปะกันในครั้งนี้ของพระอรหันต์ ๒ ท่าน จึงมีแต่การสนทนาธรรม หรือการกระทำธรรมสากัจฉาในเรื่องทางจิตวิญญาณล้วนๆ ซึ่งพอนำสรุปได้ดังนี้

หลักของความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ของความเป็นพระอรหันต์ คือ มีพรหมวิหารธรรม ๔
เป็นธรรมประจำใจ ในการครองชีวิตและปฏิบัติต่อเพื่อนสัตว์โลกทั้งหลาย

มีเมตตา เจริญธรรมข้อนี้ในเวลาปกติได้ทุกๆ ขณะจิต โดยตั้งเจตนาไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งหลายจงอย่าได้มีเวรแก่กันและกัน จงอย่าได้มีความลำบากกายและใจ จงมีความสุขรักษาตนให้พ้นภัยยิ่งๆ ขึ้นไป เป็นไปเพื่อละความพยาบาท

กรุณา เจริญเมื่อได้รู้ได้เห็นว่า เพื่อนสัตว์โลกได้รับความทุกข์ร้อน ต้องช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว หรือหนีเอาตัวรอดเพียงคนเดียว เป็นไปเพื่อละวิหิงสา

มุทิตา เจริญเมื่อทราบว่า ผู้นั้นได้รับความสุข ความเจริญหรือความสำเร็จ เป็นไปเพื่อละความริษยาให้คงทน

และอุเบกขา เจริญเมื่อความทุกข์ความวิบัติได้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นแต่สุดวิสัยที่จะช่วยได้ ต้องเจริญอุเบกขา คือวางใจให้เป็นกลาง ปรารภว่าสัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เขาทำกรรมเช่นนั้นมาก็ต้องได้รับกรรมเช่นนั้น ซึ่งเป็นการรักษาอาการละความทุกข์ ความฟุ้งซ่าน ละความหงุดหงิดให้อยู่ยืนนาน

ขณะเดียวกันต้องห่างไกลจากโลกธรรม ๘ อยู่ทุกขณะจิต มีลาภ – อลาภ – ยศ – อยศ – นินทา – สรรเสริญ – สุข - ทุกข์

และปัจจัย ๔ คือเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยาและอุปกรณ์รักษาโรค ล้วนแล้วแต่เป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งที่แตกดับได้ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ มีความแปรปรวนเป็นสาระ จึงไม่โลภอยากได้และหลงใหลหลุ่มหลงหมกหมุ่นมัวเมาเคลิ้มลำพอง ไปตามบารมีอำนาจ ยศ ฐาน บรรดาศักดิ์และความมั่งคั่งที่ปรารถนาให้มีอยู่ และจิตไม่น้อยเนื้อต่ำใจ ไม่โทษฟ้าโทษดิน ก้าวพ้นจากความเศร้าโศกร่ำไร ดับความทุกข์ มีแต่ความกระปรี้กระเปร่า ชื่นบาน สงบกาย สบายใจ”

นอกจากพรหมวิหาร ๔ แล้ว ปฏิปทาของหลวงปู่ดูลย์ก็ยังมี คือ มากด้วยขันติ โสรัจจะ อดทน สงบเสงี่ยม เยือกเย็น ไม่แสดงกิริยาอันเคลื่อนคลายจากสมณสารูปมาโดยตลอด

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • พลังเหนือโลก ฉบับที่ ๓๑ ปีที่ ๑๓ ประจำเดือนเมษายน ๒๕๒๘: สุภักดิ์ ตลับทอง เรียบเรียง. หน้า ๒๑-๒๒.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:02, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNDB8MTYxMDVkMDh8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 02:31, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NTV8NTBjZDA1Nzd8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:07

IMG_7340.JPG


ตอนที่ ๑๗

บทสวดทิพย์มนต์สมัยพระสมณโคดมเสวยพระชาติเป็นพระฤาษี

ท่านพ่อลี

(วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ)

1.png



ในสมัยหนึ่งที่พระพุทธเจ้าพระสมณโคดม เสวยพระชาติเป็นพระฤาษีอยู่ในป่า ท่านได้สวดบททิพย์มนต์ เป็นประจำทุกวัน มีสิ่งน่าอัศจรรย์เกิดขึ้นคือ บรรดาสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่านั้น เมื่อได้เข้ามาสู่บริเวณที่พำนักของพระฤาษี สัตว์ทั้งหลาย อาทิเช่น ช้างป่า เสือ หมี เก้ง กวาง เหล่านี้ จะกลายเป็นมิตรกันทันที ไม่มีการไล่ล่าทำลายกัน สัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ต่างก็พากันเป็นมิตรต่อกันด้วยอานุภาพแห่งทิพย์มนต์ที่แผ่ออกไปทุกวันในเขตที่พระฤาษีบำเพ็ญพรตอยู่

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ หลวงปู่หลอดได้เดินทางจากป่ามาสู่กรุงเทพเป็นครั้งแรก ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอโศการามของท่านพ่อลี ศิษย์หลวงปู่มั่น ซึ่งบททิพย์มนต์นั่นเอง ท่านพ่อลีเป็นผู้ค้นพบจากพระไตรปิฎก ท่านนำมาศึกษาและนำมาให้พระ เณร แม่ชี ที่วัดอโศการามสวดกัน หลังจากทำวัตรเช้าวัตรเย็นทุกวัน

การสวดทิพย์มนต์เพื่อสิริมงคลแก่ผู้สวด เพื่อให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ เพื่อส่งกุศลให้ผู้ป่วยให้ทุเลาจากอาการเจ็บป่วย หรือสวดส่งกุศลให้หลวงปู่ ครูอาจารย์ที่มีอายุมากให้มีพละกำลัง หรือสวดเพื่อบรรเทาเวทนา หรือสืบชะตาต่ออายุ


ทิพย์มนต์



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สามจบ)


พุทธัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง อายุวัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

๑. วาโย จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ


วาโย จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ


วาโย จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

๒. เตโช จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

เตโช จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ

เตโช จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

๓. อาโป จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

อาโป จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ

อาโป จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

๔. ปะฐะวี จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

ปะฐะวี จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ

ปะฐะวี จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สุปะฏิปันโน ภะคะ
วะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

๕. อากาสา จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

อากาสา จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ

อากาสา จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

๖. วิญญาณัง จะ พุทธะคุณัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

วิญญาณัง จะ ธัมเมตัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ

วิญญาณัง จะ สังฆานัง อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรังปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

ธาตุประริสุทธานุภาเวนะ สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา วิมุจจันติ อิติ อุทธะมะโธ ติริยัง สัพพะธิ สัพพัตตะตายะ สัพพาวันตังโลกัง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา สะหะคะเตนะ เจตะสา จะตุททิสัง ผะริตตะวา วิหะระติ สุขัง สุปะติ สุขัง ปะฎิพุชฌะติ นะปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ มะนุสสานัง ปิโย โหติ อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ เทวะตา รักขันติ นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ มุขวัณโณ วิปปะสีทะติ อะสัมมุฬะโห กาลังกะโรติ อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโล กูปะโค โหติ อิติ อุทธะมะโธ ติริยัง อะเวรัง อะเวรา สุขะชีวิโน กะตัง ปุญญัง ผะลัง มัยหัง สัพเพภาคี ภะวันตุเต ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะ เทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สัพพะธัมมานุภาเวนะ สัพพะสังฆานุภาเวนะ โสตถี โหนตุ นิรันตะรุง อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • เจริญสุข ยืนตระกูล เรียบเรียง. "ความเป็นมาของบทสวดทิพย์มนต์" โลกทิพย์ ๒๕๘ ปีที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๖. หน้า ๖๙-๗๑.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:03, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNDJ8NDM1MmRlYzV8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: IMG_7340.JPG (2023-6-16 05:22, 99.09 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzOTR8YjVkMjI2Y2J8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 02:33, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NTZ8NDBiYmYwZTR8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:16

สมเด็จเจ้าคุณนรฯ๑.JPG


ตอนที่ ๑๘

คำเตือนสติและโอวาทของท่านธัมมวิตักโก

เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต

(วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ)

1.png



จาก...พระครูปัญญาภรณ์โศภน



เห็นเสือหมอบ    อย่าเชื่อ        ว่าเสือไหว้
เผลอเมื่อไร       เสือกิน          สิ้นทั้งขน
เป็นคนต้อง       เกรงเยงยำ     น้ำใจคน
เขาถ่อมตน       อย่าเหมา       ว่าเขากลัว

เขาไม่สู้           อย่าเหมา       ว่าเขาแพ้
คชสีห์แท้         หรือจะสู้         หมูชั่ว
วางตนสม        คมประจักษ์    ในฝักตัว
ชาติคนชั่ว        ลบหลู่           อย่าสู้มัน

เมื่อน้ำไหว      ไหลเชี่ยว        เป็นเกลียวกล้า
เอานาวา         ขวางไว้         ภัยมหันต์
เรื่องของคน     ปนยุ่ง           นังนุงครัน
ต้องปล่อยมัน   เป็นไป          ใจสบาย

อวดฉลาด       พูดออก          บอกว่าโง่
ฟังเขาโอ้        อวดอ้าง         อย่าขวางเขา
ขัดคอเขา       เขาโกรธ         พิโรธเรา
เป็นเรื่อง         เร่าร้อนใจ       ไม่เป็นการ

ใครมีปาก       อยากพูด         ก็พูดไป
เรื่องอะไร       ก็ช่าง              อย่าฟังขาน
เราอย่าต่อ      ก่อก้าน           ให้ร้าวราน
ความรำคาญ   ก็จะหาย          สบายใจ

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • ท่านผู้ให้แสงสว่าง: จากบันทึกของคุณตริ จินตยานนท์: ท.เลียงพิบูลย์ เรียบเรียง: กรมช่างอากาศ สะพานแดง, ๒๕๒๐. หน้า ๑๘๓-๑๘๔.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:04, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNDR8M2NjODg5OGR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: สมเด็จเจ้าคุณนรฯ๑.JPG (2023-6-16 05:03, 99.9 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzODl8N2M2MTkxMmN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 02:35, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NTd8ZDI3NzdjYWF8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:17

ตอนที่ ๑๙

ทำอะไรไม่ผิดเลย

เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต

(วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ)

1.png



จงระลึกถึงคติพจน์ ว่า
“ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือ คนไม่ทำอะไรเลย”

ความผิดนี้แหละเป็นครูอย่างดี ควรจะรู้สึกบุญคุณของตัวเองที่ทำอะไรผิดพลาด และควรสบายใจที่ได้พบกับอาจารย์ผู้วิเศษคือ ความผิด จะได้ตรงกับคำว่า “เจ็บแล้วต้องจำ”


ตัวทำเองผิดเอง นี้แหละเป็นอาจารย์ผู้วิเศษ เป็นตัวอย่างที่ดี เพื่อจะได้จดจำไว้สำรวมระวังไม่ให้ผิดต่อไป แล้วตั้งต้นใหม่ด้วยความไม่เลินเล่อเผลอประมาท อดีตที่ผิดไปแล้วก็ผ่านพ้นล่วงเลยไปแล้ว แต่อาจารย์ผู้วิเศษยังคงอยู่คอยกระซิบเตือนใจอยู่เสมอทุกขณะว่า ระวัง ! อย่าประมาท !  อย่าให้ผิดพลาดเช่นนั้นอีกนะ !

จงสังเกตพิจารณาดูให้ดีเถิด จะเห็นได้ว่า นักค้นคว้าวิทยาศาสตร์ทางโลกก็ดี และทางผู้วิเศษที่เป็นศาสดาจารย์ในทางธรรมทั้งหลายก็ดี ล้วนแต่ผ่านพ้นอุปสรรคความผิดพลาดนับครั้งไม่ถ้วนด้วยกันทุกคน


ความระลึกได้และความรู้ตัว ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่ สติ ถ้ามีสติคุ้มครองกายวาจาใจอยู่ทุกขณะ จะทำอะไรไม่ผิดพลาดเลย ที่ผิดพลาดเพราะขาดสติ คือ เผลอ เหม่อ เลินเล่อ ประมาท ละเลิง หลงลืม จึงผิดพลาด

ธรรมดาชีวิตทุกชีวิต ทั้งมนุษย์และสัตว์ ตลอดทั้งพืชพันธ์พฤกษาชาติเป็นอยู่ได้ด้วยต่อสู้ ตรงกับคำว่า “ชีวิตคือการต่อสู้” เมื่อต่อสู้ไม่ไหวขณะใจก็ต้องถึงที่สุดแห่งชีวิต คือ ความตาย เพราะฉะนั้นยังมีสติอยู่ตราบใด ถึงตายก็ตายแต่กาย


เช่นเดียวกับชีวิตพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ท่านมีสติไพบูลย์อยู่ทุกขณะจิต ท่านจึงทำอะไรไม่ผิดและถึงซึ่งอมตธรรมคือ ธรรมที่ไม่ตาย ตรงกับคำว่า ปรินิพพาน คือ นามรูปสังขารร่างกายที่เรียกว่า เบญจขันธ์ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกดับไปเท่านั้น

เพราะฉะนั้นความฝึกฝนสติ (ความระลึกรู้ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด) สัมปชัญญะ (รู้ตัวทุกขณะที่กำลังทำอยู่ พูดอยู่ คิดอยู่) เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็มีสติตรวจตราพิจารณาดูว่าบกพร่องอย่างไร หรือเรียบร้อยบริบูรณ์ดี ถ้าบกพร่อง ก็รีบแก้ไขเพื่อให้สมบูรณ์ต่อไป ถ้าเรียบร้อยดีแล้ว ก็พยายามให้เรียบร้อยดียิ่งๆ ขึ้นไปจนถึงที่สุด

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • ท่านผู้ให้แสงสว่าง: จากบันทึกของคุณตริ จินตยานนท์: ท.เลียงพิบูลย์ เรียบเรียง: กรมช่างอากาศ สะพานแดง, ๒๕๒๐. หน้า ๑๗๖-๑๗๙.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:05, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNDZ8NGViNmVkOWR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 02:35, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NTh8NWE3Mzc4ZTl8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:19

ตอนที่ ๒๐

สันติสุขจากการพึ่งตน

เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต

(วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ)

1.png



พระพุทธเจ้าสอนว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี”

หมายความว่า ความสุขอื่นมี เช่น ความสุขในการดูละคร ดูหนัง ในการเข้าสังคม ในการมีคู่รักคู่ครอง หรือในการมีลาภยศ ได้รับความสุขสรรเสริญและได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ ก็สุขจริง
แต่ว่าสุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อนอยู่ทุกอย่าง ต้องคอยแก้ไขปรับปรุงกันอยู่เสมอ

ไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากสันติสุขความสงบ ซึ่งเป็นความสุขที่เยือกเย็นและไม่ซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมาก เป็นความสุขที่ทำได้ง่ายๆ เกิดกับกายใจของเรานี่เอง
อยู่ในที่เงียบๆ คนเดียวก็ทำได้ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้ ถ้ารู้จักแยกใจหาสันติสุข กายนี้ก็เพียงสักแต่ว่าอยู่ในที่ระคนด้วยความยุ่ง สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งมาถึงใจและประสบสันติสุข ซึ่งไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น

พระพุทธเจ้าให้ฝึกเป็น ๓ ทาง คือ
๑. สอนให้สงบกาย วาจา ด้วยศีล
๒. สอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจ ด้วยสมาธิ
๓. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางทิฏฐิ ความเห็น ด้วยปัญญา


* อย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลังใจ
* จงรักษาใจให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอ
* ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น
* เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ในสันติสุข
* เป็นอิสระ เกิดอำนาจทางจิต ที่จะใช้ทำกรณียะ อันเป็นหน้าที่ของตนได้สำเร็จสมประสงค์


จงพึ่งตนเอง           จงเป็นแสงสว่างของตัวเอง
จงเป็นผู้นำตนเอง    จงรับผิดชอบตัวเอง
จงพิจารณาตัวเอง    จงมีตนเป็นที่พึ่ง


เต็มไปด้วยความเชื่อในสมรรถภาพของตนเอง
ก้าวไปข้างหน้าด้วยความกล้าหาญ เข้มแข็ง เด็ดขาดมั่นคงไม่ท้อถอย
มุ่งไปข้างหน้าด้วยความหวังสู่จุดหมายที่ตนปรารถนาอันสูงสุด แล้วก็จะบรรลุความสำเร็จที่ประสงค์และมุ่งหมายทุกประการ


จงพึ่งตัวของตัวเอง อัตตา หิ อัตตโน นาโถ - ตนเองเป็นที่พึ่งของตน โก หิ นาโถ ปโร สิยา -ใครอื่นเล่าจะเป็นที่พึ่งของตนได้ นี้เป็นคำสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นความจริงยั่งยืน

ก่อนที่จะอ้อนวอน ขอให้ผู้อื่นช่วย ต้องพึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวมาแล้วก่อน ที่พึ่งภายในตนเองสำคัญมากกว่าที่พึ่งภายนอก ซึ่งมาจากคนอื่น ถึงคนอื่นจะช่วยได้ก็ช่วยได้เฉพาะ เพราะตนเองช่วยตนเองก่อน พระพุทธเจ้าก็เป็นแต่ผู้ชี้ทางแนะนำสั่งสอนให้เท่านั้น

จงพึ่งตนเอง จงเป็นแสงสว่างนำตนเอง อย่าหวังพึ่งสิ่งภายนอก ทุกคนต้องต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคแห่งวิถีชีวิตของตนเองด้วย พระพุทธเจ้าก็ดี ครูบาอาจารย์ บิดามารดา ญาติ มิตรสหาย ผู้มีไมตรีจิตสนิทสนมรักใคร่ ก็เพียงแต่เป็นผู้เอาใจช่วยเป็นกำลังใจ เป็นเครื่องกระตุ้นบำรุงขวัญเท่านั้น

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • ท่านผู้ให้แสงสว่าง: จากบันทึกของคุณตริ จินตยานนท์: ท.เลียงพิบูลย์ เรียบเรียง: กรมช่างอากาศ สะพานแดง, ๒๕๒๐. หน้า ๑๗๓-๑๗๖, ๑๘๗-๑๘๘.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:07, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNDh8NzM1YzVlYTF8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 15:36, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NTl8ZDVmNjY3OTV8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:21

หลวงพ่อสด.JPG


ตอนที่ ๒๑

ละจนถึงที่สุด

พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด)

(วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ)

1.png



หลวงพ่อสด ท่านบอกว่า ปัจจุบันนี้ยังมีอีกหลายคนที่ยังมัวแต่ชมสวนดอกไม้อยู่ในโลกนี้ บ้างก็ชมรูปบ้าง เสียงบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ไม่ได้ไปไหนกับเขาเลย บางคนก็ไปแล้วเลี้ยวกลับไม่ไปจริงๆ ไปเพลิดเพลินในบ้านเรือนกันอีกแล้ว ทำกลับๆ กลอกๆ อย่างนี้ จะเอาชีวิตไม่รอด ท่านให้เหตุผลว่า

ด้วยความหมั่นมั่นใจไม่ประมาท      รักษาอาตม์ข่มใจไว้เป็นศรี
ผู้ฉลาดอาจตั้งหลักพำนักดี             อันห้วงน้ำไม่มีมารังควาน


หลวงพ่อท่านสอนว่า การปฏิบัตินั้นต้องให้ที่สุด อย่าหยุด ไม่ว่าเราจะเห็นหรือไม่เห็น ก็ให้ปฏิบัติเรื่อยไป อย่าปล่อยให้กาลเวลาล่วงเลยไปเปล่าประโยชน์ ท่านจะเน้นเช่นนี้เสมอ


เพราะความเพียรก็ต้องมีที่สุดของความเพียร ความอดทนก็ต้องมีที่สุดของความอดทน ถ้าเรายังปฏิบัติความเพียรยังไม่ถึงที่สุด แล้วเราก็บอกว่าเราอดทนแล้ว เพราะที่สุดของคนแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน เปรียบเสมือนการอ่านหนังสือ บางคนอ่านเพียงครั้งเดียวก็เข้าใจมีความรู้ทันที บางคนเปิดอ่านหลายครั้งหลายคราวจึงจะเข้าใจ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับปัญญาบารมีของแต่ละคนซึ่งมีไม่เท่ากัน

ท่านสอนว่า การจะเข้าถึงธรรมต้องปล่อยชีวิตจิตใจ ไปรักไปห่วงอะไรไม่ได้ ปล่อยกันให้หมดสิ้นทีเดียว ถ้ายังมีรักมีห่วงอยู่ เป็นไปไม่ถึงเด็ดขาด ท่านให้ข้อเตือนใจว่า

พายเถอะนะเจ้าพาย            ตลาดจะวายสายบัวจะเน่า
โซ่ไม่แก้กุญแจไม่ไข            จะไปได้อย่างไรกันล่ะเจ้า


ไอ้ที่ทุกคนต้องทนทุกข์อยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะว่ามันยึด ไม่ยอมปล่อย คือไม่ยอมวางนี่แหละ

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • หนังสือหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ. สายธาร ศรัทธาธรรม เรียบเรียง. หน้า ๗๐-๗๒.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:08, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNTB8ODc4ZDBjYmN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 15:57, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NjB8YzI4ZDAwZTV8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: หลวงพ่อสด.JPG (2023-8-4 21:06, 99.14 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2Njd8ZTIyMzRjMDR8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:22

ตอนที่ ๒๒

ค้นพบสัจธรรม

พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด)

(วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ)

1.png



พระสด แสวงหาอาจารย์ ใฝ่หาผู้รู้อยู่นาน พอมีความรู้ช่วยตัวเองได้แล้ว จึงปลีกตัวออกไปหาที่วิเวกบำเพ็ญเพียร ท่านออกปฏิบัติในที่สงบสงัด คราวนี้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์บนตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

วันหนึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เวลาเย็น ท่านได้เจริญกัมมัฏฐาน โดยตั้งจิตอธิษฐานว่า

“ถ้ายังไม่เห็นธรรม ตามที่พระพุทธองค์ทรงเห็น จะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่ จนตลอดชีวิต”

ทั้งได้ตั้งจิตกราบทูลพระพุทธองค์ว่า


“ขอให้พระองค์ทรงเมตตาโปรดประทานธรรม ที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยนิดก็ยินดี ถ้าหากการบรรลุธรรมของพระองค์แล้ว จักเกิดโทษแก่พระศาสนา ก็ขออย่าได้ทรงประทานเลย แต่ถ้าจะเป็นคุณแก่ศาสนาแล้ว ขอได้โปรดประทานแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระพุทธเจ้าขอรับเป็นทนายพระพุทธศาสนาต่อไป จนตลอดชีวิต”

เมื่ออธิษฐานจิตแล้ว คุณตรียา เนียมขำ ศิษย์สำคัญคนหนึ่งได้เล่าว่า

“เมื่อตั้งสัจจะอธิษฐานแล้ว ท่านก็เริ่มนั่งขัดสมาธิปฏิบัติกัมมัฏฐาน พอดีมีมดที่อยู่ในช่องแผ่นหิน ที่ท่านนั่งอยู่นั้นกำลังไต่ไปมารบกวนสมาธิท่าน ท่านจึงหยิบขวดน้ำมันก๊าด เอานิ้วจุ่มเพื่อจะเขียนวงให้รอบตัว กันไม่ให้มดเข้ามารบกวน แต่แล้วก็เกิดความคิดว่า ชีวิตของเราๆ ได้สละแล้ว เพื่อการบำเพ็ญเพียร แต่เหตุไฉนจึงยังกลัวมดอยู่อีก จึงวางขวดน้ำมัน


แล้วเจริญกัมมัฏฐานต่อไป จนถึงยามดึกจึงได้เริ่มเห็นดวงปฐมมรรค หรือดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง เมื่อได้รู้เห็นธรรมะแล้ว ท่านจึงเข้าใจแจ่มแจ้งว่าพระธรรมนี้เป็นของลึกซึ้งยิ่งนัก ยากที่มนุษย์จะเข้าถึง

การจะเข้าให้ถึงได้ต้องรู้ตรึก รู้นึก รู้คิด ต้องหยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ ดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับก็ไม่เกิดนี่เป็นของจริง ของจริงอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนนี้แล้วเป็นไม่เห็นเด็ดขาด”

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรมความเมตตา: สายธาร ศรัทธาธรรม เรียบเรียง: กรุงเทพมหานคร, ๒๕๓๙. หน้า ๓๓-๓๔.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:09, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNTJ8MDI1MDhiODN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 15:59, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NjF8NWE3NDVjZDV8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:25

DSC01786.2.JPG


ตอนที่ ๒๓

ปัจจุบันธรรมเป็นธรรมโม

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

(วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่)

1.png


แสดงวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๓



ความคิดทั้งที่เป็นอดีตอนาคต เมื่อเราคิดขึ้นมาพร้อมกันมันก็ดับ ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านกล่าวว่า อดีตและอนาคตมันก็อันเดียวกันนั่นแหละ ความตัวเดียวนี้แหละ อดีตและอนาคตก็อันนี้แหละ ปัจจุบันก็อันนี้แหละ แต่ปัจจุบันนี้เป็นธรรมโม อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา

ของสังขารทั้งหลายมันปรุงมันแต่ง มันเกิดมันดับอยู่นี้ มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่นี้แหละ สมควรจำต้นมันไว้ ต้นเหตุอดีตอนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม จำไว้ให้แม่น น้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจของตน น้อมเข้ามาในกายให้รู้แจ้งเห็นแจ้ง จนเห็นเป็นโครงกระดูก ธรรมทั้งหลายก็ต้องรู้แจ้งกายรู้แจ้งภายในใจนี้ จึงเป็นผู้รู้

ถ้าว่าตามหลักปริยัติธรรมแล้วมันมากมาย แต่ก็เอาของเก่านี้แหละ กลับไปกลับมา เล่นของเก่าอยู่นี้แหละกลับไปกลับมา ไม่มีที่สิ้นสุด ต้องเอาให้เห็นแจ้งรู้รอบสังขาร เมื่อรู้รอบสังขารทั้งหลายแล้วจึงดับต้นเหตุมันได้ รู้เท่าสังขาร สังขารทั้งหลายดับไปหมด ใจมันจึงสงบลง ไปรู้ธรรมเป็นนะก็ว่าเป็นธรรมก็ได้ เป็นนะโมก็ว่า

อตีตาธรรมเมา อนาคตาธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม ตั้งหลักอย่างนี้ไว้เสียก่อน ถ้าเพลิดเพลินหลงไปให้ยกขึ้นพิจารณา อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม มันหลงของเก่านี้แหละ ทำเข้าไปให้จิตมีกำลัง ถ้าจิตยังไม่มีกำลัง ดูประหนึ่งว่าการทำนี้มันลำบาก บุคคลผู้ปกครองคนหมู่มาก ซึ่งแต่ละคนก็มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น ละความชั่ว เอาไปๆ เวลามันหลง ต้องจำที่ต้นเหตุคือ ตัวสังขาร

มันมักจะไปเป็นอตีตธรรมเมา อนาคตธรรมเมา ปัจจุบันธรรมโม ตั้งอยู่ไม่ไป ไม่มา ไม่ออก ไม่เข้า อันนี้เป็นของจริง ไม่ออก ไม่เข้า ไม่เสียหายนี้คือ ใจมันตั้งมั่น มันไม่ไปที่ไหน ถ้าทำให้ได้ของจริง มันต้องอยู่ในนั่นแหละ รู้แจ้ง เห็นแจ้ง


ส่วนมากคนทั้งหลายมักจะได้มากในด้านความจำ แต่ถ้าเอาเข้าจริงๆ หลบเข้าไปตรงนั้นที หลบเข้าไปตรงนี้ที หลงลายเลย การกระทำเป็นสิ่งสำคัญ ทำเข้าๆ เมื่อได้กำลังแล้วมันเกิดเอง ปัจจุบันเป็นธรรมโม อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา จำหลักอันนี้ไว้ให้ดี สังขารมันตั้งอยู่ตรงนี้แหละ

ว่าไปก็ไม่มีที่สิ้นสุด ประเดี่ยวเอาอย่างนั้นประเดี๋ยวเอาอย่างนี้ เอาเข้าๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ก็เลยลืมหลักไปเสีย ให้ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันนี้แหละ เร่งเข้าความเพียร ไม่หลับไม่นอน บางมีก็หลงไปบ้างเหมือนกัน หลวงปู่มั่นท่านว่า ไม่ต้องเอามาก เอาเพียงเล็กน้อยก็พอแล้ว

สติสัมปชัญญะก็ดี สัมมาสติก็ดี ก็อันเดียวกันนั้นแหละ เพราะคิดดีก็ดี คิดชั่วก็ดี เกิดขึ้นแล้วมันก็ดับ มันอันเดียวนั้นแหละ มันหมุนไปหมุนมาอยู่นั่นแหละ เอาสตินำออกเสียจากความชั่ว อันเป็นส่วนดีก็รักษาไว้ อันเป็นเหตุส่วนทุกข์ให้ละเว้นเสีย สติสัมปชัญญะก็ดี สัมมาสติก็ดี ก็อันเดียวกันนั้นแหละ มีกำหนดรู้ ที่เกิดของธรรม ที่ดับของธรรม รู้อยู่ที่เดียวนี้แหละ ละอยู่ที่เดียวนี้แหละ วางอยู่ที่เดียวนี้แหละ

การปรารภความเพียรก็เอาสตินี้แหละ เวลาเกิดความคับขัน ก็ให้น้อมเข้ามา ปฏิบัติอยู่ให้เพียรเพ่งอยู่จนหายสงสัย เพ่งจนหายสงสัย อันนี้สำคัญมาก เพ่งเข้ามาสู่จิตสู่ใจ อย่าไปเพ่งออกภายนอก เพ่งจนหายสงสัยจนไม่มีเกิดไม่มีดับ พราหมณาจารย์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เพียรเพ่งอยู่มันดับไปเอง แม้เกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไปเอง แต่อย่าเข้าไปยึดถือในอะไรๆ สิ่งที่มันปรุงขึ้นแต่งขึ้นมักจับมันไม่ทัน

จิตของผู้มีความเพียรเพ่งอยู่จนหายสงสัย อย่าไปเพ่งออกภายนอก ให้เพ่งเข้าสู่ภายใน เมื่อมีสติมั่นเพ่งอยู่อย่างนี้ สิ่งทั้งปวงเมื่อเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป ให้เพ่งจับอยู่เฉพาะในปัจจุบัน อย่างไปเพ่งอดีต อนาคต อดีตเป็นธรรมเมา อนาคตเป็นธรรมเมา

พราหมณาจารย์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่เพ่งอยู่ภายใน ต้องเพ่งเข้าสู่ภายใน สิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นมันก็ดับไปเอง อย่าเข้าไปยึดถือสำคัญมั่นหมาย ว่าเป็นสิ่งนั่นว่าเป็นสิ่งนี้ เพ่งอยู่จนหายสงสัย ถ้าหายสงสัยมันก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพานเท่านั้นแหละ


การเพ่งอย่าให้มันออกไปข้างนอก ให้เพ่งเข้ามาทางใจ ให้เข้าสู่ใจ ให้เข้าสู่ฐีติภูตัง ให้ตั้งอยู่ในธรรม อันไม่ไป ไม่มา ไม่เข้า ไม่ออก เร่งความเพียรไม่หยุดหย่อน ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป พระอริยเจ้าไม่ว่าสมัยใด ท่านเปลี่ยนอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน มีความเพียรทุกอิริยาบถ ไม่ทอดทิ้ง ขันติบารมี อดทนด้วยกาย อดทนด้วยวาจา อดทนด้วยใจ ท่านไม่ยอมละความเพียร  

“อตีตาธรรมเมา อนาคตธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม จำเอาไว้ให้แม่น

ไม่ต้องพูดมาก พูดมากไม่ใช่ธรรมะ มันเป็นธรรมเมา”

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • ธรรมโอวาท: พระนาค อัตถวโร วัดสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพฯ เรียบเรียง, ๒๕๔๕. หน้า ๑๙-๒๒.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:10, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNTR8ODRkY2ZhYTV8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01786.2.JPG (2023-6-16 05:38, 100 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzOTZ8NjBkOWUzYmR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 16:01, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NjJ8ZWI2YWNhYTZ8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:26

ตอนที่ ๒๔

ให้ตั้งสัจจะ

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

(วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่)

1.png


แสดงแก่พระภิกษุ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๗



การปฏิบัติเราจะเดินก็ให้ตั้งสัจจะไว้ว่า จะเดินเท่านี้เท่านั้น หรือเราจะนั่งวันหนึ่งคืนหนึ่ง หรือถ้าเราสู้ไม่ไหว เราก็เอาแต่พอสมควร ให้ตั้งใจจริงๆ กำหนดตั้งสัจจะไว้ในจิตในใจ ละความมัวเมาออกให้หมด คอยกำหนดจิตเข้ามาสู่ภายในให้ใจเบิกบาน ตั้งความสัตย์ว่าจะภาวนาเป็นเท่านั้นเท่านี้ หรือถ้าจะเดินก็ให้กำหนดระวังรักษาจิตใจของเราให้แช่มชื่นเบิกบาน ไม่ปล่อยใจให้เป็นธรรมเมา รักษาจิตใจให้ตั้งอยู่เฉพาะธรรมโม

อย่าละความเพียรความพยายาม ให้เพียรไปติดต่อกัน จะเป็นวันหนึ่งหรือคืนหนึ่งก็ได้ เช่น ตั้งสัจจะว่าจะนั่งตลอดคืนจะไม่นอนอย่างนี้ ตั้งสัจจะไว้อย่างนี้เป็นการดี ตั้งสัจจะต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วตั้งใจให้ดี คอยระวังรักษาจิตใจของเรานั้นแหละให้ผ่องใสตลอดไป


ให้พยายามรักษาความดีความหมั่น ความขยันของเราไว้ ให้สละความเกียจคร้านออกไปเสีย ปกติจิตของเรานี้มักจะไหลไปสู่ความเกียจคร้านความหลุ่มหลง เราต้องพยายามหาอุบายมาเตือนตนอยู่เสมอ ด้วยความเพียรความหมั่น ให้รักษา กาย วาจา ใจ ของเราให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ในสิกขาวินัย นำความผิดความชั่วออกจากกาย จากวาจา จากใจ

อาศัยความเพียรเป็นไปติดต่อ จึงจะชนะความเกียจคร้านได้ ความมัวเมาความประมาทอันใดมีก็ให้ละเสียให้วางเสีย ทำให้จิตใจของเราตั้งอยู่ในธรรมโม พิจารณากลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ ต้องอาศัยความเพียร ความหมั่นความขยัน ไม่เช่นนั้นจิตมันจะตกไปสู่ความเกียจคร้าน

เราต้องตักเตือนข่มขู่ ชักจูงแนะนำจิตของเราด้วยอุบายแยบคาย ถ้าจิตใจมันเกียจคร้าน เราต้องหาอุบายมาตักเตือน ชักจูงแนะนำให้มีความกล้าหาญ ร่าเริง ให้เกิดความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร ไม่ปล่อยให้จิตเฉยเกียจคร้าน

เราต้องละความเกียจคร้าน ความไม่ดีของจิต ด้วยอบรมภาวนาอย่างนี้ ถ้าเราตักเตือนชี้นำด้วยอุบายอันชอบในที่สุด จิตก็จะฟังเหตุผล เกิดความมุมานะพยายามในความเพียร เราต้องข่มขู่ตักเตือนบ่อยๆ ในสมัยที่จิตนิ่งเฉยต่อความเพียร

ถ้าเราคอยประคับประคองจิต ด้วยอุบายข่มขู่ตักเตือนด้วยอุบายแยบคาย จิตยอมจำนนต่อเหตุผล ระวังรักษาสติไว้อย่าให้หลงลืม ฝึกหัดให้เกิดความรู้ความฉลาดเกิดขึ้นในจิตในใจของตน

จิตของเรา ถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะทำให้เรานอนท่าเดียว ถ้ามันเกิดอย่างนี้ขึ้นมา เราต้องหาอุบายมาข่มขู่ ตักเตือน อุบายใดที่ยกขึ้นมาชี้แจงแล้วจิตยอมเชื่อฟัง นั่นแหละคือ อุบายที่ควรแก่จิตในลักษณะนั้นและในขณะนั้นๆ ถ้าเราไม่ข่มขู่ชี้โทษโดยอุบายที่ชอบ ใครเขาจะมาตักเตือนเรา


บางครั้งจิตถ้ามันเกียจคร้านขึ้นมา มันจะวางเฉยในอารมณ์ทั้งหมด ในลักษณะเช่นนี้แหละ เราต้องหาอุบายมาทำให้จิตตื่นให้ได้ เช่น ไหว้พระสวดมนต์ หรือยกธรรมบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณา

ให้ตั้งอยู่ในความหมั่นความเพียรในคุณงามคนดีของตน พยายามเพ่งดูในจิตในใจของเรานี้แหละ ถ้าไม่อาศัยความขยันหมั่นเพียรไม่ได้ จิตเรามักจะไหลลงสู่อารมณ์ต่างๆ เป็นอดีตอนาคตไป เราต้องหาอุบายมาชี้แจ้งให้ตั้งอยู่ในปัจจุบันธรรม

พระพุทธเจ้าสั่งสอนให้เราตั้งอยู่ในมรรคในผล ให้พยายามรักษาจิตรักษาใจของเรา อาศัยความองอาจกล้าหาญ ในความพากเพียรของเรา อย่าอ่อนแอท้อแท้ เราต้องสู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าองอาจกล้าหาญจึงจะผ่านอุปสรรคไปได้

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • ธรรมโอวาท: พระนาค อัตถวโร วัดสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพฯ เรียบเรียง, ๒๕๔๕. หน้า ๑๓-๑๖.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:12, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNTZ8MDQ3MGY0Y2N8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 16:05, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NjN8Nzk1ZWRlZjR8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:27

ตอนที่ ๒๕

คติธรรม…ธัมมุทเทส ๔

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

(วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่)

1.png



อุปะนียะติ โลโก                โลกคือหมู่สัตว์อันชราต้อนไปอยู่
อะตาโณ โลโก                 โลกที่ไม่มีผู้ต่อต้าน
อะนะภิสสะโร                   ไม่มีผู้เป็นยิ่งใหญ่
อัสสะโก โลโก                  โลกไม่มีสิ่งเป็นของของตน

   
สัพพัง ปะหายะ คะมะนียัง   จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งสิ้นแล้วต้องไป
อูโน โลโก                       โลกยังพร่องอยู่
อะติตโต                          เป็นผู้ยังไม่อิ่ม ไม่เบื่อ
ตัณหา ทาโส.                   จึงต้องเป็นทาสแห่งตัณหา.


สัตว์เดรัจฉานก็ดี มันหมุนอยู่ในไตรโลกอันนี้ ตกอยู่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของจริงมันมีอยู่ประจำอยู่อย่างนี้ มันหมุนเป็นกงจักรบดสัตว์โลกทั้งหลาย อยู่ประจำอิริยาบถเจ็บแข้ง เจ็บขา ปวดหลัง ปวดเอว เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันแสดงให้เราดูอย่างนี้ เว้นแต่เรามองไม่เห็นมันเท่านั้น

ส่วนมากจะตกอยู่ใต้อำนาจของสังขาร มันปรุงมันแต่งเป็นอดีตอนาคตไป ส่วนปัจจุบันสัจธรรมที่เข้าแสดงตัวให้ปรากฏอยู่ มันไม่ใคร่เอามานึกมาคิด ไม่เคยน้อมเข้าหากายหาใจของเรา มันคอยแต่จะเป็นธรรมเมาไป.

อย่าไปรู้เพียงแผนที่ ถ้ารู้เพียงแผนที่มักเกิดการทะเลาะวิวาท ต้องน้อมเข้ามาปฏิบัติในกาย วาจา ใจของเรา ต้องศึกษาให้รู้จักภูมิประเทศคือ กายของเรานี้

รักษาศีล ๕ ประจำ คือ ขาสอง แขนสอง หัวหนึ่งน้อมเข้ามาหาตัวเรานี้แหละ อันนี้แหละคือตัวของศีลแท้ เป็นโลกุตตรศีล หรืออริยกันตศีล ศีลประจำตน

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • ธรรมโอวาท: พระนาค อัตถวโร วัดสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพฯ เรียบเรียง, ๒๕๔๕. หน้า ๑, ๓๐, ๒๗.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:14, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNTh8ZWVlZGM2YmV8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-4 16:07, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NjR8YmViNjhmN2Z8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:28

DSC01786.1.JPG


ตอนที่ ๒๖

หลวงปู่เล่าเรื่อง ประวัติพระแก้วมรกต

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร   

(วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่)

1.png



แต่ว่าเดี๋ยวนี้เราก็จะเห็นแต่พระพุทธรูป หรือรูปวาดเขียนต่างๆ ที่คนเราเขียนไว้หล่อไว้ ที่สำคัญเมืองไทยเราก็เรียกว่า “พระแก้วมรกต” อยู่ที่พระราชวังหลวงโน่น พวกที่เคยมาที่นี่อาจเคยไปไหว้ไปกราบ แต่ว่าที่ท่านจัดไว้นั้นก็สูงไปหน่อย เวลาตาคนเรามองไปถึงพระแก้วนั้นมันเห็นน้อยไปนิดเดียว แต่ไม่ใช่แก้วเขียวเหมือนเมืองไทย เป็นแก้วมรกต

แก้วมรกต ก็คือว่าในประเทศอินเดียในภูเขาหิมาลัยลูกใดลูกหนึ่งนั้นแหละ เขาลูกนั้นเป็นหิน เป็นหินแก้วมรกต เมื่อเป็นหินแก้วมรกต เวลาหินในเขาลูกนั้นกลั่นมาเป็นน้ำแก้ว ก็เป็นแก้วมรกต สีเขียว มีฤทธิ์มีอำนาจ

พระเจ้าแผ่นดินหลายชั่วพระเจ้าแผ่นดินในอินเดียนั้น ก็ไปได้ลูกแก้วลูกนี้มา แต่ยังไม่ได้แกะสลักเป็นพระพุทธรูปเหมือนเราเห็นทุกวันนี้ เป็นแก้วหรือที่ประเทศไทย เราเห็นโป่งข่ามนั้น มันเป็นหกเหลี่ยมบ้าง สี่เหลี่ยมบ้าง แหลมปลายเสีย มันหยดออกมาจากภูเขา

เมื่อเป็นสมบัติพระเจ้าแผ่นดินในอินเดียมานานจนนับประมาณไม่ได้ พอดีมีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งอุบัติบังเกิดขึ้น แล้วก็มาได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินเป็นใหญ่ในแผ่นดินอินเดีย ให้ชื่อว่า พระยามิลินท์ เป็นคนปฏิภาณโวหารดี สมัยนั้นยังพระอรหันต์เยอะแยะ แต่ว่าท่านพระอรหันต์เหล่านั้นก็ไม่กล้าทัดทานวาทะของพระยามิลินท์ พระยามิลินท์เวลานั้นยังไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ไปไหนมาไหนแกก็ปฏิภาณครอบโลกไปอย่างนั้นแหละ คนกลัวเพราะมีอำนาจ


พระอรหันต์เถระสมัยนั้น จึงมาจินตนาการว่า จะทำอย่างไรกับพระยามิลินท์นี้ให้เลื่อมใสในพุทธศาสนา แต่ว่าพวกเราที่เกิดปฏิบัติอยู่นี้ไม่มีใครทัดทานแกได้ คนแบบนี้คงมีอาจารย์ของแกว่าอย่างนั้น ข้อสันนิษฐานของพระเถระในเวลานั้น เมื่อลงสันนิษฐานอย่างนั้นแล้ว ก็ถ้ามีอาจารย์ของท่านพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้มาสอน ที่เคยเป็นอาจารย์จึงจะฟังว่าอย่างนั้น พวกเราสมัยนี้สอนมันไม่ฟัง

พระเถระก็เข้าฌานดูว่าเทวดาหรือมนุษย์คนไหน ที่เคยเป็นครูอาจารย์ของพระยามิลินท์นี้ เมื่อพระเถระท่านให้พระที่มีฌานเหาะเหินเดินอากาศไปทั่วมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ก็ไปเห็นอยู่ในเทวโลก เมื่อสอบถามดูก็เคยเป็นอาจารย์เป็นครูสอนของแกว่าอย่างนั้น “เออ! อย่างนั้น มันก็ขอ(นิ)มนต์ ขอเชิญเทวดาเจ้าจุติไปเกิดในโลกมนุษย์ แล้วจะได้ช่วยกิจการพระศาสนา” ว่าอย่างนั้น


พระอาจารย์ของพระยามิลินท์ที่เป็นเทวดาอยู่ท่านก็รู้ รับรองว่าจะลงมาจุติปฏิสนธิในโลกมนุษย์นี้ให้ตามต้องการของพระอรหันตขีณาสพ จะได้ช่วยกิจการพระศาสนา ว่าอย่างนั้น ก็เลยแนะนำว่า “ถ้าไปเกิดก็ให้ไปเกิดในตระกูลนั้นตระกูลที่ได้รับจะได้รับรอง พระสงฆ์ก็จะได้เตรียมการรับรองมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย” ว่าอย่างนั้น ก็เป็นอันว่าตกลงกันดีแล้ว ก็ลงมา

วันนั้น เทวดาตนนั้นก็ลงมาเกิดที่ว่านั้นแหละ เกิดแล้วก็พระสงฆ์องค์เจ้าก็ไปบิณฑบาตบ้านญาติโยมไว้ให้มันพร้อมมูลทุกอย่าง เตรียมการต้อนรับไว้จนกระทั่งเด็กทารกนั้น เจริญวัยใหญ่โตขึ้นมา พอจะบวชเป็นสามเณรได้ ก็ขอจากญาติโยมมาบวชเป็นสามเณรเรียนธรรมะคำสอน ประพฤติปฏิบัติ ก็เป็นอันว่าตกลงทั้งญาติโยมพ่อแม่ของ “พระนาคเสน” ชื่อ “นาคเสน” ว่าอย่างนั้น


พอใหญ่ขึ้นมาอายุครบ ๒๐ อุปสมบทให้เป็นพระ ส่วนการภาวนาก็เรียกว่าได้สำเร็จเป็นขั้นๆ มาจนถึงเป็นพระอรหันตขีณาสพจบพรหมจรรย์ เรียนพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ จบเรียบร้อย พร้อมด้วยการละกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ให้หมดสิ้นไป แล้วจึงได้ไปโต้วาทีกับพระยามิลินท์ เพราะเป็นอาจารย์เก่า ตามข่าวคราวว่าโต้เถียงกันมาตลอด พระนาคเสนก็มีหน้าที่แสดงธรรม พระยามิลินท์ก็โต้ไปไม่ยอม พอหนักเข้าๆ ก็มาถึงปัญหาข้อนึง

พระนาคเสนท่านก็ตอบแบบเล่นๆ ล่ะ บอกว่า “โยม มหาบพิตร มีน้ำก็มีปลา มีนาก็มีข้าว” ว่าอย่างนั้น “มีอย่างหนึ่งก็ต้องมีอย่างหนึ่ง” ทีนี้พอว่าถึง มีน้ำมีปลา มีนามีข้าว ก็จับจุดเอาตรงที่ว่ามีน้ำมีปลา ก็เรียกลูกน้องมา

พระเจ้าแผ่นดินสั่งลูกน้องว่า “ให้ไปขึ้นมะพร้าวมา มาผ่าดู ว่ามีปลาจริงไหม” นั่นสู้กันด้วยเรื่องเล็กน้อย แขกอินเดียมันมีปัญญาสมัยนั้น ทีนี้ด้วยพระวาจาของพระอรหันต์มันเกิดมีปลาขึ้นมาบัดนี้ มะพร้าวลูกโตๆ มาผ่า มีปลาอยู่ในนั้น จึงยอม ยอมนับถือ จึงยอมนับถือศาสนาพุทธ ยอมเป็นลูกของพระนาคเสน


เมื่อนับถือศาสนาพุทธ ยอมเป็นลูกศิษย์พระนาคเสนแล้ว พระนาคเสนหรือพระอรหันต์ในสมัยนั้น ท่านก็รู้ว่ามีแก้วมรกตลูกหนึ่ง ที่พระแก้วมรกตเมืองไทยเรานี่แหละ “ว่าขอบิณฑบาตแก้วมรกตที่เป็นมูลสังฆญาตินั้น จะได้ไหมมหาบพิตร” ก็ถามไป ท่านก็คงตอบว่า พระเจ้าแผ่นดินน่ะ คงจะถามว่า “จะเอาไปทำไม” ถ้าภาษาไทยเราก็เรียกว่า เอาไปทำไม


พระนาคเสนก็ตอบว่า “คือแก้วนี้เป็นแก้วมีฤทธิ์มีอำนาจ จะนำแก้วไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูป พระศาสนาจะได้เจริญรุ่งเรืองต่อไป” ว่าอย่างนั้น “เอาถ้าอย่างนั้นก็จะเอามาถวาย” เมื่อได้ฤกษ์งามยามดีก็เอามาถวายพระนาคเสน พระนาคเสนก็รับเอาแก้วลูกนี้ พอข่าวคราวว่าพระยามิลินท์ศาสดาหัวแหลมสู้พระนาคเสนไม่ได้ จึงยอมถวายลูกแก้วมรกตว่าอย่างนั้น

ทีนี้ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนักแกะอยู่ ตาวติงสาท่านมีนักแกะที่ดีลงมาขอจากพระนาคเสนรับเอาไปแกะ จะแกะเป็นอย่างดีจะไม่ให้แตกไม่ให้ทำลาย พระนาคเสนก็มอบให้ แกะเสร็จเรียบร้อยก็เอามาถวายพระนาคเสน พระนาคเสนก็ฉลองสมโภชทุกสิ่งทุกอย่างตามธรรมเนียมแขกอินเดียในสมัยนั้น


ในพระแก้วมรกตมีอำนาจคือว่า แก้วนั้นก็มีอำนาจ แล้วแกะเป็นพระพุทธรูปก็เพิ่มขึ้นไปอีก ทีนี้พระนาคเสนก็อธิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเข้าไว้ในองค์พระแก้วนั้น ก็เพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมากมาย

เมื่อล่วงเลยจากนั้นแล้ว ก่อนที่พระแก้วมรกตจะได้เสด็จมาประเทศไทยเราน่ะ มีแขก แขกทางทะเลทรายโน่น เป็นศาสนาอิสลามยกกองทัพมารบอินเดีย ให้เข้าศาสนาอิสลาม แต่ว่าคนแขกสมัยนั้นใจไม่ค่อยสู้เลยยอมให้อิสลามนั้นทำลายสถานที่ จนกระทั่งเผาวัดเผาวา ฆ่าใครไม่นับถือ


คือ ศาสนาอิสลามนี้ สมัยนั้นไม่เลื่อมใสศาสนาพุทธ ค้านทุกอย่าง แล้วยังไม่พอ ถ้ามีพระมีวัดวาที่ไหน ก็ทุบต่อยตี หลวงปู่ได้ไปตั้ง ๒ ครั้งแล้ว พระพุทธรูปต่างๆ นั้นเขาทุบหมด ที่ไหนไปแกะสลักไว้ในภูเขา ในถ้ำ มันก็เอาค้อนเหล็กไปตีจนหน้าตาเสีย ไปตรงไหนที่มันบางๆ อย่างว่าพระกรรณหูนี้ ก็ไม่เหลือล่ะ ทุบเอาทั้งนั้นล่ะ

พระยามิลินท์มาแล้ว ก็ไม่มีใครต่อสู้ ญาติโยมที่เหลืออยู่ พระสงฆ์สามเณรก็ตกลงมติว่า ท่านคงเข้าฌานดูว่า “ในโลกเราต่อไป ประเทศไหนคนพวกใดจะรักษาพระพุทธศาสนา ท่านก็รู้ทีเดียวว่าเมืองไทย ไม่ใช่เป็นเมืองไทยละ (สมัยนั้น) เขาเรียกว่า “ปัจจันตประเทศ” เป็นประเทศที่เรียกว่ายังไม่เจริญ ไม่เหมือนอินเดียว่าอย่างนั้น


เมื่อรู้อย่างนั้นก็เลยเอาลงเรือแบบเรือใบน่ะ จากอินเดีย เกาะลังกานั้นแหละวนรอบมาขึ้นเขมรแล้วก็ขึ้นมาเมืองไทย จนไปหลายที่ เชียงแสน เชียงราย เชียงใหม่ก็มาอยู่ หลังจากนั้นพระแก้วมรกตก็ไปเวียงจันทน์กับหลวงพระบาง รัชกาลที่ ๑ กรุงเทพมหานครเรานี่แหละ สมัยนั้นยังเป็นแม่ทัพใหญ่อยู่ ไปรบทางภาคเหนือทางเวียงจันทน์ ได้ชัยชนะก็เอาพระแก้วมรกตมาไว้ ที่เราท่านทั้งหลายเห็นอยู่ที่วัดพระแก้วนี้  


ดังนั้น แก้วดวงนี้แก้วองค์นี้ จึงเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดเกิดใหม่ใหญ่ทีหลังยังไม่ได้ไปกราบไปไหว้ ก็ให้ไปไหว้ มันเป็นพระพุทธรูป ไปไหว้เมื่อใดวันใดก็ได้ ตามข่าวว่าวันพระท่านก็เปิด ให้ไหว้ได้วันเสาร์ วันอาทิตย์หรือวันใดก็ไหว้ได้ เป็นพระแก้วมรกตโบร่ำโบราณ

ส่วนว่าพระยามิลินท์ และพระนาคเสนก็สู้ความแก่ชราไม่ได้ แก่เฒ่ามาก็ฟันหลุด ผมหงอก พระนาคเสนก็ดับขันธ์เข้าสู่นฤพานไป แต่ตามตำนานของหลวงปู่มั่น ที่รูปของท่านอยู่ข้างหลังหลวงปู่นี้ หลวงปู่มั่นนี้ท่านก็มีความรู้พิเศษทางนี้แหละ ว่าพระนาคเสนท่านก็อยู่โน้นแหละ อินเดีย แต่ว่าตอนแก่ชรามาเห็นว่าไปไม่รอดแล้ว


ท่านก็เสด็จมาไว้สรีระปัจจันตประเทศ ประเทศไทยเรานี่แหละ ที่สมัยนั้นเขาเรียกว่า แต่ก่อน ดงพญาไฟ หรือเขาใหญ่ เดี๋ยวนี้เขาใหญ่ก็สงวนไว้ ป่ายังใหญ่อยู่ มีช้าง มีวัว กระทิง มีพันธุ์สัตว์ต่างๆ ยังเยอะ ช้างก็ยังเยอะอยู่ มานิพพานที่เขาใหญ่ แต่ถ้ำใดก็จำไม่ได้ แต่หลวงปู่มั่นท่านรู้ท่านเล่าให้ฟัง

ส่วนพระยามิลินท์ นักโต้วาที เมื่อแก่ชรามาก็อวดดีกับพญามัจจุราชไม่ไหว พอเห็นท่าว่าไม่ไหวก็เลยลาราชการมาบวช พระยามิลินท์ปฏิภาณดีก็บวช บวชแล้วก็ภาวนาได้สำเร็จเป็นพระอรหันตขีณาสพ
แก่เฒ่าชรากาลเสด็จมานิพพานที่เมืองไทย


ประเทศไทยเราที่ (วัดพระธาตุ) ลำปางหลวง นครลำปาง เดี๋ยวนี้อยู่ในเขตอำเภอเกาะคา ผู้ใดไปแล้วก็ไปไหว้ได้ เป็นที่พระยามิลินท์มานิพพานที่นั้น แล้ววัดพระธาตุลำปางหลวงนั้น เวลานี้ก็มีพระแก้วเหมือนกัน แต่เป็นแก้วเปรียวไม้ไผ่ ไม่ถึงกับเป็นแก้วมรกตเหมือนอยู่ที่พระราชวังเมืองไทยเรานี้


นั่นแหละ พระพุทธรูปท่านก็ดี ท่านไม่โกรธให้ใคร ท่านไม่โลภอยากได้ของใคร แม้จะเป็นพระแก้วมรกต ท่านก็ไม่ดุดันเหมือนคนเรา ท่านก็นั่งภาวนาของท่าน ท่านไม่มีไปซื้อหวยลอตเตอรี่เพื่อให้ร่ำให้รวยเหมือนคนเราหรอก นั่งภาวนาลูกเดียว “พุทโธ-พุทโธ”


ฉะนั้น ผู้ใดได้ไปเห็นก็ให้พากันไหว้พระแก้วมรกตน่ะ ก็ทำใจของเราทุกคนให้ใสเป็นแก้วมรกต


4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • ภาวนา “พุทโธ” ทำใจให้ใสเป็นแก้วมรกต. คณะผู้จัดทำ. สิงหาคม ๒๕๔๖. หน้า ๑-๘.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:15, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNjB8MGExYjAyNWJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01786.1.JPG (2023-6-16 05:39, 98.68 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzOTd8ODhhM2E0ZjR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-5 01:37, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2Njl8ZWQ2ZjBlMjZ8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:32

ตอนที่ ๒๗

พระคติธรรม

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

(วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่)

1.png



เมื่อถึงเวลานั่งสมาธิภาวนา ท่านจึงให้รวมจิตเข้ามา ไม่ให้ตามไป ไม่ให้ไปหลงอายตนะทั้งหลาย ได้แก่ กายเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายกระทบเย็นร้อนอ่อนแข็ง จิตคิดในธรรมารมณ์ต่างๆ ไม่ให้หลงออกไป ก็คือว่า ให้รู้ในจิตนั่นแหละ รู้ว่ารูปก็ตาม เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มันอยู่ในโลกนี้แหละ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น อย่าได้ยินดียินร้าย

จิตนี้หลงกายของตัวเองนั่นแหละ จึงได้หลงกายผู้อื่น จิตหลงอยู่ในตา หู จมูก ลิ้น จึงได้หลงไปตามรูป เสียง กลิ่น รส ความหลงทั้งหลาย เมื่อย่นย่อเข้ามาให้สิ้นที่สุด ก็คือว่า จิตดวงเดียวนี่แหละเป็นผู้หลง

ไม่ต้องกล่าวถึงบุคคลอื่น แม้ตนเองจะไว้ใจตนเองเสมอไปได้หรือ ถ้ายังมีกิเลสคือ โลภ โกรธ หลงอยู่ จะไว้ใจที่มีกิเลสดังกล่าวหาได้ไม่ ฉะนั้นเมื่อไม่ควรจะไว้ใจตนเองได้เสมอไป และจะไว้ใจผู้อื่นโดยไม่เลือกไม่พิจารณาได้อย่างไร

อันมูลเหตุที่เกิดความตึงเครียดขึ้นนั้น โดยตรงที่สุดก็คือ ตัณหาความทะยานอยากในจิตใจของบุคคล หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ กิเลสเหล่านี้เป็นไฟเผาโลกอยู่ทุกกาลสมัย และเป็นนายที่บงการมนุษย์ให้เบียดเบียนทำลายล้างกันและกัน


แม้บุคคลจะมีอำนาจครอบงำผู้อื่นได้มากมาย แต่ก็คงเป็นธาตุของตัณหา จึงได้ขวนขวายเพื่อหักล้างผู้อื่นลงไปให้ย่อยยับ โดยที่ไม่พยายามหักตัณหาในใจของตนเองลงไปได้เลย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ความสงบก็เกิดขึ้นได้ยาก ยิ่งแก้ด้วยวิธีเพิ่มตัณหาให้แก่ตน และหักล้างผู้อื่นให้จำยอม ก็ยิ่งเพิ่มความไม่สงบ เพราะไม่มีใครที่จะยินยอมแก่กัน ต้องพากันพยายามป้องกันตน หรือคือหักล้างเป็นการตอบแทนกันอยู่ตลอดไป

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • เวียนว่าย/ตายเกิด: ราช เลอสรวง บรรณาธิการ: ตรงหัว. หน้า ๑๓๘. และโลกทิพย์ ๓๙๗ ปีที่ ๒๒ ประจำเดือนเมษายน ๒๕๔๖. หน้า ๘.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:16, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNjJ8Zjk3Yjg1ZDZ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-5 02:45, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NzB8ZDFhMDQ1Yzl8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:34

หลวงปู่โต๊ะ.JPG


ตอนที่ ๒๘

มรรคผลนิพพาน อยู่ที่ตนเอง

หลวงปู่โต๊ะ

(วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ)

1.png



ที่จะพึงกระทำในเรื่องการปฏิบัตินี้ได้ เรียกว่าสุดเอื้อมของคนแต่ละคนที่จะพึงเป็นไปได้ ถ้าหากว่าเราจะเทียบดูแต่ละบุคคล บุคคลต่างๆ เขาทำไมจึงทำอย่างเราไม่ได้ ให้เทียบดู บางทีเขาทำได้ก็ทำเป็นพิธีเท่านั้น ทำตามเขาคนที่เขาเรียกว่าเป็นคนใจบุญ ถือศีลกินเจ

เมื่อถึงคราวแล้วก็ถือศีลกินเจบ้าง ทำกันไปตามกันมาเรื่อยๆ ถือศีล ๘ บ้าง ศีล ๕ บ้าง ศีล ๒๒๗ บ้าง ซึ่งทำกันอย่างนี้ เลยเป็นประเพณีไป ไม่ใช่เพราะความมุ่งให้ถึง ไม่ได้ทำให้เห็นแจ้งในทุกข์โทมนัสอุปายาส ที่ทำนี้ทำตามประเพณี

ไปวัดทำไม ?
ไปฟังพระท่านเทศน์
ท่านเทศน์เรื่องอะไร ?
ฉันจำไม่ได้
แล้วได้อะไรมาบ้าง ไปวัดน่ะ ?
ก็ไปตามประเพณี ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ก็ไปเสียที ไปกันคนละทีสองทีสามที


บางคนก็ทนไปแค่รับศีล
บางคนไม่ถึงรับศีลหรอก ออกไปเลย
ทำไมล่ะ ?
ไม่ไหว อยู่ไม่ไหว
ทำไมล่ะ ?
ธุระมันมาก ธุระนี้ ธุระอะไรต่อมิอะไร


ก่อนนี้เป็นอย่างไรจึงทำได้ ?
ทำได้ ก่อนนี้ก็เป็นไปตามประเพณีเคยทำอยู่ เพราะยังไม่เห็นรายได้ของการกระทำ

ทำให้ยิ่งๆ ไป ขึ้นไป วันนี้ไม่ได้ เดือนนี้ไม่ได้ ก็เดือนหน้า เดือนหน้าไม่ได้ ก็ทำในเดือนต่อๆ ไป ทำเป็นปีๆ ไป


เขาลือกันว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้ดับทุกข์ได้ แล้วเราจะต้องทำไปเท่าที่เราจะพึงทำได้ อดอยากเท่าไร คับแค้นเท่าไร ไม่คำนึง ต้องการตามคำที่ร่ำลือว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ท่านช่วยเราให้พ้นจากทุกข์ได้

มันมีจริงแค่ไหนนะที่เขาพูด มันมีจริงแค่ไหน เราไม่ท้อใจ ต้องค้นให้พบ เพราะของจริงมีอยู่ การที่เราเข้าไม่ถึงของจริง มันมีอ้างอย่างโน้นอย่างนี้ อ้างโน่นอ้างนี่อยู่เรื่อยๆ ต่างคนต่างมีความขัดข้องด้วยประการต่างๆ

วามเข้มแข็งในการปฏิบัติศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี ย่อหย่อน ผ่อนไปตามความพอใจของกิเลส แล้วออกนอกทางๆ ไม่เจอของจริงๆ นี่ๆ ถ้าเจอก็จริงบ้างไม่จริงบ้าง ก็ไม่อยากทำอะไร ใจของตัวเองก็ยังสับปลับอยู่ ยังไม่รู้จะแน่นอนอย่างไร เพราะประมาณใจของตัวยาก

พระพุทธเจ้าสาวกท่านปฏิบัติมานาน ทำโดยประเพณีกันมาก ไม่ต้องทำจริงทำจังหรอก ทำตามประเพณีก็ได้ ทำได้แค่บุญ ภาวนาก็ได้บุญ ภาวนาเข้าๆ ทำไปทำมา เอ๊ะ มันผิดท่าแล้ว ปาเข้าไปตั้ง ๔ อสงขัยกำไรแสนมหากัป ก็ไม่เห็นได้อะไรบ้าง ไม่เห็นได้อะไร ไม่เห็นจริงๆ ๔ อสงขัยบ้าง ๘ อสงขัยบ้าง ๑๖ อสงขัยบ้าง ก็พยายามไป ก็ไม่ได้อะไร

เอ๊ะ ผิดแล้วๆ ๆ นี่ ผิดหลักของการกระทำ ผิดหลักของการปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำให้ทำ พระปริยัติก็เป็นแต่ทางแนะนำ ครูบาอาจารย์ทั้งหมดก็เพียงแนะนำให้เท่านั้น ท่านจะยื่นมรรคนิพพานให้ไม่มี ไม่มีอย่างเด็ดขาด

เออ จะว่าอย่างไร ?
ก็เราไปว่ามาเสีย ๔ อสงขัยกำไรแสนมหากัป
อ้อ มันไม่ยาก มันไม่ได้อยู่ที่ครูบาอาจารย์หรอก มันอยู่ที่เราในเราที่จะกระตุ้น มันอยู่ที่ใจเรานี่เอง มรรคก็อยู่ที่นี่ ผลก็อยู่ที่นี่ นิพพานก็อยู่ที่นี่ ไม่ได้อยู่ไหน อยู่ที่ตนเองของตนเอง ศีลก็ของตน ทานก็ของตน สมาธิของตนปัญญาก็ของตน


พระพุทธองค์ทรงชี้สิ่งที่จะเป็นประโยชน์แก่พุทธสาวก ประทานให้จนไม่มีวิชาจะให้ ให้หมด ศีลก็ให้หมด สมาธิก็ให้หมด ปัญญาก็ให้หมด…

10.1.png




๑. ศีลอมตะ...สีลพัต


เจริญวิปัสสนาจนเกิดปัญญา ปัญญาเห็นชอบก็ได้บุญ
เออ มันอยู่ที่ไหนบุญนี่


บุญก็แปลว่าสะอาด สะอาดกาย สะอาดวาจา สะอาดใจ เราเคยสังเกตไหม ยืน ความสะอาดของเรามีครบแล้วหรือยัง เดิน ความสะอาดของเรามีแล้วหรือยัง นั่ง ความสะอาดของเรามีแล้วหรือยัง นอน ความสะอาดของเรามีแล้วหรือยัง ยืน เดิน นั่ง นอน ความสะอาดของเราในอิริยาบถทั้ง ๔ มีหรือยัง อะไรมันบกพร่อง หรือมันไม่บกพร่องให้รู้ไว้

กายสะอาดจริง วาจาสะอาดจริง บริสุทธิ์ของใจด้วยอำนาจของศีลที่เรารักษาไว้ ได้อานิสงส์บ้างไหม ถ้าหากว่าได้ความบริสุทธิ์หมดจด มันก็เป็นศีลที่แท้ ศีลที่เป็นแก่นสาร ถ้าหากว่าไม่ได้อย่างที่ว่ามานั้น มันก็เป็นสีลัพพตปรามาสไป ไม่ใช่ศีลที่เป็นแก่นสารอะไร มันพลาดไปเป็นสีลพัต มันก็ไม่ถ่องแท้อะไร

เราก็เพียงทำความรู้ไว้ว่า นี่เป็นศีลแท้ตามพุทธบัญญัติหรือไม่ หรือเป็นสีลพัตที่ทรงติไว้ ที่เราปฏิบัติอยู่นี่ มันเป็นศีลอะไร เมื่อเราจับเหตุได้ เราก็แก้ได้ เมื่อเราจับเหตุไม่ได้ มันก็แก้ไม่ได้ ไม่รู้จะแก้อย่างไร ไม่รู้ว่าเหตุปัจจัยของมันเป็นอย่างไร มันก็แก้ไม่ได้ ศีลก็เป็นสีลัพพตปรามาส

ศีลที่นักปราชญ์ท่านสรรเสริญไว้แน่ ไม่ให้แก้ เป็นอมตศีล ไม่ใช่สีลพัต ถ้ามันเป็นสีลัพพตปรามาส ไม่ใช่มันเป็นศีลที่กลับกลอก มันเป็นศีลแฝงอะไรๆ อยู่หลายอย่าง เมื่อเรารู้ทางสีลพัตมากๆ ๆ เข้า เราจะไม่พบศีลที่แท้ที่แน่นอน

สีลพัตมีรส ส่วนศีลที่แท้ที่นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญไว้จืดๆ ไม่มีรส ไม่มีรูป ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่มีสัมผัสใดๆ จืดหมด

สีลพัตผ่องรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เราก็ผ่านไปไม่ได้
อันนี้แหละ ศีลที่ผ่านมามันเป็นศีลของใครกันแน่ มันเป็นศีลของโลกหรือเป็นศีลของธรรม

อ้อ มันเป็นศีลของโลกปล่อยเลย เราจะไม่แก้ให้เป็นศีลในธรรมต่อไป ให้เป็นศีลที่จืดไม่มีรสอะไร

เราไม่ได้นินทาใคร เกิดขึ้นเองว่าศีลที่เรารักษาที่มันศีลอะไร
พ่อคุ้ณ เป็นพระ เป็นเณร เป็นชี เป็นอุบาสก อุบาสิกา นั่นมีศีลอะไรกัน เออ มันศีลอะไรกัน


10.2.png




๒. ศีล สมาธิ ปัญญา


เมื่อถึงศีลแล้ว มันก็เป็นสมาธิ แล้วก็โยงไปถึงปัญญา แล้วก็โยงไปถึงวิมุตติ เพราะสายเดียวกัน

เมื่อเราเอ่ยถึงพระพุทธ ก็พบพระธรรมและพระสงฆ์ เมื่อเราเอ่ยถึงพระสงฆ์ ก็พบพระพุทธและพระธรรม เมื่อเราเอ่ยถึงพระธรรม ก็พบพระพุทธและพระสงฆ์ เพราะเป็นสายเดียวกัน

เมื่อเราเอ่ยถึงศีล ก็พบสมาธิและปัญญา ศีลของเรา หรือสมาธิของเรา หรือปัญญาของเรา มันไม่สัมพันธ์กัน มันหลุดไปอยู่ไม่ได้ เพราะความสะอาดของเรามันยังไม่พอ มันก็ติดอยู่แค่สมาธิปัญญานั่นแหละ เพราะศีล สมาธิ ปัญญาของเรามันยังไม่เป็นสิ่งที่แท้ ไม่ใช่ศีลที่เป็นธรรม บางทีรักษากัน ๓ กัปป์ ๓ กัลป์ อย่างที่เราเคยได้ยินอยู่บ่อยๆ ไปวัดทำไม ไปฟังเทศน์ ฟังเทศน์เรื่องอะไรไม่ทราบ

นี่รู้ไหม “ปาณาติปาตา เวรมณี” ว่าตามพระท่านๆ ๆ เอ้า ว่าดังๆ หน่อย ว่าดังๆ เสียงจะได้เข้าทางโสตแล้วไปถึงใจ ว่าดังๆ หน่อยๆ ๆ แล้วจะเป็นอะไร

สะอาดซิ ทางกายก็สะอาด ทางวาจาก็สะอาด ทางใจสะอาด
ถ้ามันยังไม่สะอาดล่ะ จะทำอย่างไร ?
ก็ขัดซิ ขัดเกลา ขัดศีล ขัดสมาธิ ขัดปัญญา ให้มันถึงความหลุดพ้นไปได้

มันก็เป็นกำไรของคนที่ฉลาด
เรียกว่าอะไร ?
พวกนี้เรียกวิชชาทั้งนั้นแหละ “วิชชา จะระณะสัมปันโน” ทั้งนั้น


10.3.png




๓. วิชชา


ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ เป็นวิชชาทั้งนั้น เรามีความรู้แล้ว ก็ต้องใช้ความรู้ที่มีอยู่แล้วให้มันถูกก็แล้วกัน

ผิดเราก็มี ถูกก็มี เราก็ต้องการความถูกมากๆ ๆ ขึ้น ความไม่ถูกมันก็หมดไปๆ ๆ มันก็ไม่เหลืออะไรที่จะพึงเหลือไว้ได้ มีแต่ความรู้อยู่เท่านั้น มันรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่มีอะไรที่จะไม่รู้ ต่อๆ ไปมันก็รู้ดีขึ้นเป็นลำดับๆ ๆ

ความรู้นั้นก็ไม่หายไปไหน รักษากันเอง ความรู้รักษากันเอง เราไม่ต้องเข้าไปช่วยรักสงรักษาอะไรเขาหรอก พูดง่ายๆ ว่าพระธรรมไม่ให้ผู้ประพฤติธรรมแล้วตกไปในทางที่ชั่ว ท่านก็รับประกันอยู่แล้ว เราไม่ต้องไปทำอะไรเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา คนละเรื่องกันแล้ว ถึงที่สุดที่ไหน รู้ด้วยตนของตนเอง แล้วใครเขาจะสอนเสินอะไรให้ ตนสอนตนของตนเอง สอนเสร็จความบริสุทธิ์หมดจดอะไรๆ

ผู้ที่เป็นคนฉลาดเอาตัวรอดได้ นี่ๆ บุญ เรามานี่ก็เพื่อตรวจดูบุญบาปของเรา ให้เห็นอนิจจาตา ทุกขตา อนัตตตา แล้ว เราก็ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติได้

10.4.png




๔. ใจเป็นของกายสิทธิ์


สิ่งที่เสกได้หลายอย่างคือ ใจ มันเสกได้ร้อยแปดพันเก้า ประเดี๋ยวเดียวไปได้ โอ้ โฮ เยอะ พับเดียว เพราะเป็นของกายสิทธิ์ ไปได้ไกลๆ ไปไหนๆ ไม่รู้ เข้าดงเข้าป่าไปไหนไม่รู้

หน้าที่ของจิตก็เป็นอย่างนี้ จะทำอะไรต้องอาศัยอย่างนี้มาช่วยบ้าง อย่างโน้นมาช่วยบ้าง กว่าเขาจะเห็นว่า เออดี อย่างนี้ดี เพราะยังไม่มีคนพยายามเคี่ยวเข็ญให้เขาทำความดี
ทำไปเถอะ ได้บุญ ได้บุญตามฐานะที่เราจะพึงกระทำ

เราก็ลงทุนลงแรงมาลำบากยากเข็ญใจบุกป่าฝ่าดง ไม่ปรารถนากิจการอะไร มุ่งแต่โพธิญาณเรื่อยไป มันได้แค่ไหนก็แค่นั้น ไม่ต้องรีบร้อนอะไร เมื่อถึงคราวถึงสมัยถึงกาลมาเองๆ เห็นเอง ได้เอง รู้เอง ด้วยตนของตนทั้งนั้น

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • หลวงปู่โต๊ะ สอนธรรม “มรรคผลนิพพาน อยู่ที่ตนเอง”. ลานโพธิ์: ฉบับ อภินิหาร-พลังจิต ฉบับที่ ๖. สิงหาคม ๒๕๒๖. หน้า ๖๒-๖๖.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:17, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNjR8NTJiMDM0MzR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.1.png (2023-6-12 09:20, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNjd8Zjk2Y2NhMzJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.2.png (2023-6-12 09:20, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNjh8OGM1MjcyZmJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.3.png (2023-6-12 09:20, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNjl8NDU5ZmI3MWV8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.4.png (2023-6-12 09:21, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNzB8NTljYzg0ZGN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: หลวงปู่โต๊ะ.JPG (2023-6-16 04:58, 87.84 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzODh8NTI2NTM0NjJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-5 04:02, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NzF8NjYzNzIwYzV8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:35

ตอนที่ ๒๙

การกำจัดความโกรธ

หลวงปู่โต๊ะ

(วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ)

1.png



หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ หรือ พระราชสังวราภิมณฑ์ หลวงปู่ท่านเกิดในตระกูลรัตนคอน เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีกุน อัฐศก ตรงกับวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๐ ที่บ้านคลองบางน้อย ต.บางพรม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม และท่านมรณภาพ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๔ นับอายุได้ ๙๓ ปี ๑๑ เดือน กับ ๖ วัน

หลวงปู่โต๊ะ ท่านกล่าวถึงโทสะ หรือความโกรธว่า...
เป็นหนึ่งในกามแห่งรากเหง้าความชั่วร้ายทั้งหลายในโลกนี้ (รากเหง้าความชั่วร้าย หรืออกุศลมูล มี ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ)

เมื่อความโกรธเกิดขึ้น หลวงปู่ท่านสอนให้ดูว่า “เป็นเพราะอะไรจึงเกิดขึ้น” และท่านให้ไปดูที่จิต ดังที่กล่าวว่า จิตเป็นประธาน จิตเป็นใหญ่ จิตสำเร็จที่จิต จิต ๓ ประการนี้ มีสื่อเข้าไปรายงานอยู่ทุกๆ วินาที จิตต้องรับรู้ผู้ที่เข้ามา ดีก็รับไว้ ชั่วก็รับไว้ ไม่ดีไม่ชั่วก็ต้องรับไว้ เพราะจิตเป็นประธานยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ ทาง

ใครเป็นผู้รายงาน ใครเป็นสื่อ
อายตนะภายนอก ๖ อายตนะภายใน ๖
ตากระทบรูป รูปที่ดี ชอบ ใจชอบ รูปที่ไม่ดี ใจไม่ชอบ
เสียงที่ดี ใจชอบ กลิ่นที่ไม่ดี ไม่ชอบ
รสที่ดี ชอบ รสที่ไม่ดี ไม่ชอบ
สัมผัสที่นุ่มนวล ชอบ สัมผัสที่ไม่นุ่มนวลที่กระด้าง ไม่ชอบ
อารมณ์ที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าธัมมารมณ์ที่ดี ชอบ อารมณ์ที่เกิดขึ้นไม่ดี ไม่ชอบ


เป็นเพราะอะไร จึงเป็นอย่างนั้น
นี่เราจะทำอย่างไร ทำจิตอย่างไรจึงจะไม่ให้ความโกรธเกิดขึ้นได้

นี่ต้องมีคนสูงกว่าจิตอีกคนหนึ่ง เรียกว่าประธานเหนือประธาน....สติ


สติมีหน้าที่อะไร

มีหน้าที่คุมจิต เพราะจิตเขาชอบทำงาน เป็นคนขยัน ไม่เลือกงาน งานดีก็ทำ งานไม่ดีก็ทำ เรียกว่าทำตามความพอใจของจิต


เพราะฉะนั้น ผู้ที่ทำงานจึงมีความผิดบ้าง ความถูกบ้าง ที่จะรู้ว่าเราทำผิดหรือทำถูก ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาคิดสติมีที่อยู่ไหน ปัญญามีอยู่ที่นั่น เกิดขึ้นตัดสินได้เด็ดขาดว่า รูปที่ดีรูปที่ไม่ดีมาเกี่ยวข้องอะไรกับท่านด้วย

ถามจิตว่า มันมาเกี่ยวอะไรกับท่านด้วย ปัญญากับสติเขาถาม มันเกี่ยวอะไรกับท่านด้วย ท่านจึงต้องไปรับรู้ในเรื่องจิต เพราะฉะนั้น จิตจึงต้องมีสติสัมปชัญญะเข้ามาควบคุม ถ้าหากว่าปราศจากสติเมื่อใด ความผิดเกิดขึ้นเข้าใจว่าถูก ความดีเกิดขึ้นเข้าใจว่าผิด เพราะเขาทำตามความพอใจของจิต จิตก็ต้องเป็นไปตามความพอใจของจิตที่ไม่มีสติควบคุมไว้ จงทำกิจการอะไรเล็กใหญ่ไม่เลือก โดยมากมีความผิด

ผิดเพราะอะไร
เพราะปราศจากสติเครื่องควบคุมของจิต จิตก็มีอำนาจด้วยไม่หวาดสะดุ้งใดๆ
ธรรมชาติของจิตนั้นบริสุทธิ์หมดจด ไม่มีสิ่งที่ไม่ดีเข้ามาเคลือบแฝงบริสุทธิ์ เรียกว่า จิตบริสุทธิ์

ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น คือดีบ้างชั่วบ้าง
กิเลส กิเลสทำให้จิตมัว มาเคลือบอยู่ที่จิต เห็นผิดเป็นชอบไปได้

กิเลสมันก็สูงกว่าจิต เมื่อกิเลสสูงกว่าจิต อำนาจของจิตถอย ถอยกำลังลงไป กิเลสสูงกว่าก็บังคับเราได้ ทำตามอำนาจของกิเลสที่มาเคลือบอยู่ที่จิต จิตก็มัวหมองไม่ผ่องใส

ที่นี่จะทำอย่างไร

ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม มันเคล้าอยู่กับจิตเสมอ ต้องรู้เท่าทันความเกิดขึ้นของจิตที่เรียกว่าอารมณ์ รัก รักไว้ข้างในก่อน เกลียด เกลียดไว้ข้างในก่อน อย่าให้ความรักแสดงออกมาทางกายวาจา อย่าให้มันออกมา ความไม่พอใจก็ตาม หรือความพอใจก็ตาม อย่าเพิ่งให้มันแสดงออกมา


ต้องให้มีสติควบคุม และปัญญารู้ถ่องแท้แน่ในใจแล้ว จึงปล่อยมันออกมา ที่เราปล่อยมันเข้าออกนั้นเขาเคยตัว เขาเคยเข้าได้ออกได้อย่างสบายโดยไม่มีอะไรมาติดขัดกับการเข้าออกของเขา

เราไม่ยอม ยังไม่โกรธทีเดียว เรียกว่า ปฏิฆะ ข้อง

ข้องเป็นอย่างไร
มัวๆ ขุ่นมัว แต่ไม่ถึงกับแสดงความหยาบคายทางกายวาจา ไม่แสดงออกมาทนอยู่ได้ อดอย่างพอสมควรทนเอาบ้าง เรียกว่าขันติ ต้องทน ทนในอารมณ์ที่เกิดขึ้น ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม เพียงแต่ทำความรู้ไว้ว่า เอ้อ นี่ดี เอ้อ นี่ชั่ว แต่ไม่เก็บเอาไว้เพราะมีปัญญา สติรู้เท่าทันเขา รู้เท่าทันอารมณ์ที่มีอยู่ในตัว

เขาขืนเก็บไว้นาน หนัก แบกไม่ไหว
เพราะฉะนั้นก็รู้ความเป็นไปว่า นี่รูปดี นี่รูปไม่ดี แล้วก็ให้เขาผ่านไป


นี่เกิดอะไร
ปัญญารู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น ทุกครั้ง ทุกตอน ทุกขณะ รูปเสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ก็รู้เท่าทันเขาหมด

เมื่อจิตเศร้าหมองไม่ผ่องใส ก็ต้องยึดหลักของขันติไว้ อดทนไว้ อย่าให้มันออกมาข้างนอก ถ้าให้ออกมาข้างนอกแล้ว มันน่าเกลียด มันหลายอย่าง จับอาวุธยุทธภัณฑ์ด่าว่าหยาบคายด้วยประการต่างๆ โดยเราปราศจากสติ เพราะฉะนั้น อย่าให้มันออกมา อดทนไว้ เมื่อเราทนบ่อยๆ จึงเห็นโทษว่า การที่กระทำด้วยความไม่รู้ อาย

เกิดละอายขึ้นทางใจ ด้วยธรรมะที่เราปฏิบัติได้ปฏิบัติถึงนั่นเอง เกิดขึ้นเอง เห็นขึ้นเองได้ ได้ด้วยตนเอง นี่ธรรมะที่แท้ของเราๆ ต่างหาก

เราต้องการความดี ไม่ต้องการความชั่ว แต่ทำไมจิตจึงตกไปในทางที่ชั่วได้บ่อยๆ เพราะอำนาจของกิเลส เขาสูงกว่าความเฉลียวฉลาด เขาก็หาทางจะมาล่อจิตของเราให้ตกลงไปในหลุมที่เขาต้องการ เมื่อเรามีขันติใช้ได้สม่ำเสมอ ก็ชื่อว่ารู้โทษของจิตว่าจิต

โทสะนี้มันเป็นอย่างไร พระท่านว่าอย่างไร

โทสะนี่นะ หรือไฟสามกอง คือ ราคะ โทสะ โมหะ ท่านว่ามันเป็นไฟราคัคคิ โทสัคคิ โมหัคคิ มันเป็นไฟ
ธรรมดาของไฟมันเกิดขึ้นที่ไหน เขาต้องทำลายในที่เกิดนั้นก่อน

ถ้าเจ้าของรู้เท่าทันก็ไม่ลุกลามไปยังที่อื่น ถ้าหากเจ้าของรู้ไม่เท่าทันเรื่อยๆ ไป มันก็ไปกันใหญ่ เผาๆๆ เรา เผาใจให้เดือดร้อน เห็นผิดเป็นชอบ ไม่เป็นตัวของตัวเอง มีแต่โทษส่วนเดียว คุณหามีไม่ เพราะความโกรธเกิดขึ้น

การโกรธ ไม่ใช่ว่าผลุนผลันแล้วโกรธ อย่างที่พูดมาแล้วว่า ปฏิฆะมันข้องอยู่ก่อน เราก็ต้องอดกลั้น ไม่ตามอารมณ์ของความโกรธที่เกิดขึ้น


เมื่อบ่อยๆ เข้า ชำนิชำนาญเข้า ก็เตือนตนของตนได้ว่า นี่ความโกรธไม่เดือดร้อน เราเดือดร้อนก่อนคนอื่นๆ ความเดือดร้อนนั้นใครชอบบ้าง ไม่มีใครชอบ ตนเองก็ไม่ชอบ คนอื่นก็ไม่ชอบ

นี่ได้ผลตามความคิดของจิตที่ตั้งไว้ผิด ตัวเราเองก็ไม่เป็นตัวของเราเอง จิตของเราต้านทานอะไรที่คนเขามาอาศัยไม่ได้ เราสู้ไม่ได้ คืออารมณ์เขามาประเดี๋ยวเดียว มาทำที่อยู่ของเราแหลกลาญไปหมด บางทีเรานึก อื้อ เสียดาย แล้วจะทำอย่างไรมันหมดไปแล้ว

รู้ไหมว่าไฟไหม้บ้านแล้วมันเสียหายอย่างไร
ไม่อยากดู ดูเป็นอันตรายทุกอย่าง ไม่มีส่วนดีเลย


แล้วต่อไปข้างหน้าเราจะว่าอย่างไร
ต้องระวัง มันเกิดบ่อยๆ เราก็แย่ เครื่องใช้ไม้สอยอะไรต่ออะไรหมด ระวังไม่ให้มันเกิดขึ้นบ่อยๆ นัก เปรียบอย่างนั้น โทสะแหลกลาญหมด นี่ก็เห็นโทษ

ต่อไปก็เห็นโทษ มารๆๆ มีการเข็ดหลาบ เพราะเสียทรัพย์ไปหลายอย่างหลายประการด้วยกัน อย่าก่อไฟภายในเผาบ้านของตนเอง อย่าๆๆๆ

อาศัยบ้านของเราอยู่ กินนอนสบายทุกอย่าง เราต้องหูไวตาไว จึงจะรักษาบ้านของเราอยู่ได้นานๆ โดยไม่มีข้อครหาอะไรว่า บ้านนั้นทำอย่างนี้ บ้านนี้ทำอย่างนั้น มีแต่เสียงที่ไม่น่าฟัง พูดก็พูดเถอะ เจ้าคนที่เขารักษาบ้าน เขารู้เขาสรรเสริญว่าบ้านนี้เขาดี จะพูดจะจา จะรับรองแขกที่ไปมาเรียบร้อยไปหมด
นั่นเขาสรรเสริญเราว่าเรียบร้อยเพราะเรารู้ทัน ไม่ให้ไฟกองนั้นมาเผาบ้านของเราให้เสียหายทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง อดทนเรื่อยๆ ไป

ทีนี้เหตุการณ์ที่มันจะเกิดขึ้น เราก็รู้ทัน เคยโดนมาแล้ว ฉันเคยโดนมาแล้ว ก็มีการกวดขันขึ้นในตัวของเราเอง เคยโดนมาแล้วโทรมทุกที โดนเข้าเมื่อไร โทรมทุกที บางทีทำนอกบ้านเดือดร้อนมา ยังมาร้อนคนในบ้านอีก แล้วก็ร้อนไปที่อื่นๆ ไม่ดีเลย ต้องละเว้นไม่กระทำ

ต่อไป ก็คุ้นกับความไม่กระทำความชั่ว
พูดก็พูดดี ทำก็ทำดี คิดก็คิดดี เป็นสุจริต เกิดมีศีล มีสมาธิ มีปัญญาเกิดขึ้น


ได้ผลอย่างไร มีศีลมีสมาธิได้ผลอย่างไร
เป็นหน้าที่ของพระท่าน เพราะเราพึ่งพระท่าน กายวาจาใจที่ชั่วก็ถวายพระ กายวาจาใจที่ดีก็ถวายพระ ท่านจะบันดาลอย่างไรแล้วแต่พระท่าน


เมื่อกายวาจาใจของเราดี สิ่งที่ชั่วๆ ที่เราเคยล่วงมาแล้ว ท่านไม่ให้กระทำๆ มันไม่งาม เพราะเข้าในวงศ์ของพระแล้ว

ทีนี่เราก็เดินไปตามพระท่าน ความผิดพลาดหรือความไม่เฉลียวฉลาด พระท่านจะสอนเราเอง โดยเรากระทำของเราได้เอง โดยเราเห็นของเราได้เอง โดยเราได้ยินของเราเอง ไม่ต้องเชื่อใคร เชื่อความสามารถของตนว่า สามารถทำได้

มีหลักอะไรมาอ้างว่าสามารถทำได้ด้วยตนเอง
พระพุทธเจ้าเป็นหลัก อาจารย์ที่ไหนดี โน่น อยู่โน่น เมืองน้ำเมืองเหนือดี ไปหาหมด ท่านก็ไปลองดี ท่านองค์นี้ว่าอย่างนั้น ท่านองค์นั้นว่าอย่างนี้ ก็ว่ากันไปต่างๆ ทรงทดลองดูหมด

จึงถึงการตกลงพระทัยว่า ความดีไม่ได้อยู่กับคนอื่นหรอก ความชั่วก็ไม่ได้อยู่กับคนอื่น ตนของตนนั่นเองเป็นความดี เป็นคนทำความชั่ว ก็ทรงทำ ทำที่โคนต้นโพธิ์ ทรงทำจนเห็นโทษของความชั่ว เห็นดีของความดี เพราะมันเป็นแค่ลมเท่านั้น มันเกิดขึ้นแล้วมันก็หายไป ดีก็ผ่านไปชั่วมันก็ผ่านไป

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • หนังสือหลวงปู่โต๊ะ ผู้หยั่งรู้จิตใจคน พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม ๒๕๔๑: สายธาร ศรัทธาธรรม เรียบเรียง. หน้า ๑, ๙๑-๙๗, ๑๔๓.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:24, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNzF8YmRjMjZhNGR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-5 04:07, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NzJ8Yjg3YmFlNjh8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:37

1.png


ตอนที่ ๓๐

ธรรมวิจักขณกถา

พระธรรมเทศนาแสดงถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

และ
ส่วนสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ทุกคนควรรู้


ธรรมปาฐกถาแสดงถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ



โดย

พุทธทาสภิกขุ

3.png



คำนำสำนักพิมพ์


หนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม โดยนำเรื่องที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันมารวมไว้ในเล่มเดียวกัน และใช้ชื่อหนังสือตามชื่อเรื่องที่เด่นที่สุดในบรรดาเรื่องทั้งหมดในเล่ม แบบเดียวกับหนังสือเป็นชุดๆ ตามเรื่องที่คณะเผยแพร่วิธีการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ (ผชป.) เคยจัดทำไว้ในชุดเอกสารชุดมองด้านใน ดังเป็นที่แพร่หลายอยู่โดยทั่วไป


        
เรื่องต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ได้พิมพ์ ให้เป็นที่แพร่หลายมากนัก โดยเฉพาะพระธรรมเทศนาเรื่อง “ธรรมวิจักขณกถา” ซึ่งแสดงถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ ดูเหมือนไม่ปรากฏว่าได้รวมพิมพ์ไว้ในที่ใดเลย เนื้อหาในเรื่องนี้ได้เน้นให้เห็นความสำคัญของคำว่า “ธรรม” เพียงคำเดียว


        
เรื่องที่สอง ส่วนสำคัญของพุทธศาสนาที่ทุกคนควรรู้ ได้แสดงถวายแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ แสดงให้เห็นความสำคัญของธรรม “ผู้ใดเห็นธรรมะ ผู้นั้นเห็นตถาคต, ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรมะ” พร้อมทั้งได้ขยายความของธรรมะ ในประเด็นต่างๆ ที่ควรรู้มากขึ้น


        
เรื่อง “สิ่งที่เรายังสนใจกันน้อยไป” ปาฐกถาท่ามกลางที่ประชุมใหญ่ องค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์แห่งโลก ท่ามกลางชาวพุทธชั้นผู้นำทั่วโลกซึ่งได้มาประชุมกันที่เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ ปาฐกถาครั้งสำคัญครั้งนี้ ท่านได้กล่าวถึงธรรมะในระดับสากล เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาธรรมในมุมมองที่กว้างยิ่งขึ้น


        ส่วนเรื่อง “ลักษณะที่น่าอัศจรรย์บางประการของพุทธศาสนาอย่างเถรวาท” เป็นการทำสังคายนาพุทธศาสนาในประเทศนั้น กับเรื่อง “ข้อควรทราบเกี่ยวกับหลักพุทธศาสนานิกายต่างๆ” แสดง ณ สมาคมพุทธบริษัทไทย-จีนประชา มีผู้แปลเป็นภาษาจีน ทั้งสองเรื่องนี้ได้ให้ความรู้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับหินยาน-มหายาน ซึ่งผู้ศึกษาพุทธศาสนาให้มีความรู้จะต้องศึกษากันอย่างกว้างขวาง


       สำหรับเรื่องสุดท้าย คือเรื่อง “การเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง” เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาคล้ายกับเรื่องที่หนึ่ง หรือเรื่องที่สอง แต่ขยายความมากขึ้น ให้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติได้ดี
        
ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตจากท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุให้จัดพิมพ์เรื่องต่างๆ ของท่านได้ โดยคัดเลือกเรื่องจากเรื่องต่างๆ ท่านได้เน้นว่าควรใช้อักษรตัวใหญ่ และตรวจตราให้ถูกต้องกับต้นฉบับเดิม ทั้งนี้เป็นการอนุญาตด้วยวาจาและหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร ข้าพเจ้ามีเจตนาดีในการช่วยพิมพ์งานของท่านและได้กระทำมายี่สิบกว่าปีแล้ว หากมีข้อผิดพลาดใดๆ เกี่ยวกับการจัดพิมพ์ ขอให้ท่านผู้รู้ได้โปรดทักท้วงด้วย เพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกต้องไม่มีผิดพลาดต่อไป.


อรุณ เวชสุวรรณ

๑๐ มีนาคม ๒๕๓๔


100150prueazd6zzanp4n1.png



สารบาญ


๑.   ธรรมวิจักขณกถา


๒.   ส่วนสำคัญของพุทธศาสนาที่ทุกคนควรรู้


๓.   ลักษณะที่น่าอัศจรรย์บางประการของพุทธศาสนาอย่างเถรวาท


๔.   ข้อควรทราบเกี่ยวกับหลักพุทธศาสนานิกายต่างๆ


๕.   สิ่งที่เรายังสนใจกันน้อยไป


๖.   การเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง


4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :

          อรุณ เวชสุวรรณ. หนังสือธรรมวิจักขณกถา. ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๔.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-8-5 23:09, 390.45 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NzR8MjE1NWM2YjB8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-5 23:56, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NzZ8N2E3M2QwM2Z8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 3.png (2023-8-5 23:56, 13.04 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2Nzd8YmVkMTYwZDR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 100150prueazd6zzanp4n1.png (2023-8-5 23:57, 6.71 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2Nzh8M2ZhMmVlZTF8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:41

๑. ธรรมวิจักขณกถา


ธรรมเทศนาแสดงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ


ในโอกาสทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา
ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร

อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เมื่อวันเพ็ญเดือนหก ที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐


โดย
พุทธทาสภิกขุ

1.png



ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลพระชนมสุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ


บัดนี้ จักรับพระราชทานถวายวิสัชนา ในธรรมวิจักขณกถา ฉลองพระเดชพระคุณประดับพระปัญญาบารมี, ถ้ารับพระราชทานถวายวิสัชนาไป มิได้ต้องตามโวหารอรรถาธิบาย ในพระธรรมเทศนาบทใดบทหนึ่งก็ดี ขอเดชะพระเมตตาคุณ พระกรุณาธิคุณ และพระขันติคุณ ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานอภัยแก่อาตมะผู้มีสติปัญญาน้อย ขอถวายพระพร.


        
          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ
        โย ธัมมัง ปัสสะติ, โส มัง ปัสสะติ โย ธัมมัง นะ ปัสสะติ, โส มัง นะ ปัสสะตีติ ธัมโม สักกัจจัง โสตัพโพ ติ ฯ

        

        ณ บัดนี้ จักได้รับพระราชทานถวายวิสัชนา ในธรรมวิจักขณกถา ดำเนินความตามวาระพระบาลี ดังที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า โย ธัมมัง ปัสสะติ โส มัง ปัสสะติ ฯลฯ เป็นอาทิ


ซึ่งมีใจความว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นไม่เห็นเราตถาคต” ดังนี้ เป็นต้น เพื่อเป็นธรรมเทศนา เนื่องในโอกาสทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ตามพระราชประเพณี


ก็แล ในการกุศลวิสาขบูชานี้ พุทธบริษัททั้งหลายย่อมถวายการบูชาอันสูงสุด ด้วยกาย วาจา ใจ แด่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า การบูชาด้วยกาย ก็คือการเดินเวียนประทักษิณ เป็นต้น และการบูชาด้วยใจ ก็คือการน้อมระลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น อยู่ตลอดเวลาแห่งการกระทำวิสาขบูชา


ก็แต่ว่าการกระทำทั้งสามประการนี้ จักสำเร็จประโยชน์เต็มที่ได้ ก็ด้วยการเห็นธรรมตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต” ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นเอง


ดังนั้น จะได้ถวายวิสัชนาโดยพิสดาร ในข้อความจากพุทธภาษิตนั้น ย่อมแสดงให้เห็นได้โดยประจักษ์อยู่แล้วว่า “พระพุทธองค์จริงนั้น คือสิ่งที่เรียกว่าธรรม” หรือ “ธรรมนั่นแหละ คือพระพุทธองค์องค์จริง” ด้วยเหตุนั้นเอง พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นไม่เห็นเราตถาคต ต่อเมื่อเห็นธรรม จึงชื่อว่าเห็นตถาคต

        
ก็แล ในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น พระสรีระร่างกายของพระองค์ได้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนแห่งธรรมสำหรับรับเครื่องสักการบูชาแห่งสัตวโลกทั้งหลาย เป็นต้น ครั้นพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ก็มีพระบรมสารีริกธาตุ คือธาตุอันเนื่องกับพระสรีระนั้น ได้เหลืออยู่เป็นตัวแทนแห่งธรรมสืบไปตลอดกาลนาน ดังเช่นพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ ที่พุทธบริษัททั้งหลาย มีสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเป็นประธาน ได้กระทำสักการบูชาเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อสักครู่นี้

ข้อนี้สรุปความได้ว่า พระพุทธองค์พระองค์จริงนั้น ยังอยู่ตลอดกาล และเป็นสิ่งเดียวกันเสมอไป ได้แก่สิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” ส่วนนิมิตหรือตัวแทนแห่งธรรมนั้น เปลี่ยนแปลงไปได้ตามควรแก่สถานะ คือจะเป็นสรีระของพระองค์โดยตรงก็ได้ หรือจะเป็นพระบรมสารีริกธาตุก็ได้ หรือจะเป็นอุทเทสิกเจดีย์ มีพระพุทธรูปเป็นต้นก็ได้ แต่ทั้งหมดนั้น ล้วนแต่มีความหมายอันสำคัญ สรุปรวมอยู่สิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” นั่นเอง


คำว่า “ธรรม” คำนี้ เป็นคำพูดที่ประหลาดที่สุดในโลก เป็นคำที่แปลเป็นภาษาอื่นไม่ได้ ได้มีผู้พยายามแปลคำคำนี้เป็นภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ออกไปตั้ง ๒๐-๓๐ คำ ก็ยังไม่ได้ความหมายครบ หรือตรงตามความหมายของภาษาบาลี หรือภาษาของพุทธศาสนา ส่วนประเทศไทยเรานี้ โชคดีที่ได้ใช้คำคำนี้เสียเลย โดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทย เราจึงได้รับความสะดวก ไม่ยุ่งยากลำบากเหมือนพวกที่พยายามจะแปลคำคำนี้เป็นภาษาของตนๆ


คำว่า “ธรรม” เป็นคำสั้นๆ เพียงพยางค์เดียว แต่มีความหมายกว้างขวางลึกซึ้ง และน่ามหัศจรรย์อย่างยิ่งเพียงไร เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาดูอย่างยิ่ง ดังต่อไปนี้

ในภาษาบาลี หรือภาษาพุทธศาสนาก็ตาม คำว่า “ธรรม” นั้น ใช้หมายถึง สิ่งทุกสิ่ง ไม่ยกเว้นสิ่งใดเลย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดี สิ่งชั่ว หรือสิ่งไม่ดีไม่ชั่ว ก็รวมอยู่ในคำว่า “ธรรม” ทั้งหมด ดังพระบาลีว่า กุสลา ธัมมา, อกุสลา ธัมมา, อัพยากะตา ธัมมา, เป็นอาทิ


ลักษณะเช่นที่กล่าวนี้ของคำว่า “ธรรม” ย่อมเป็นอย่างเดียวกันกับคำว่า “พระเป็นเจ้า” แห่งศาสนาที่มีพระเป็นเจ้า เช่น ศาสนาคริสเตียนเป็นต้น คำคำนั้น เขาให้ความหมายว่า สิ่งทุกสิ่ง รวมอยู่ในพระเป็นเจ้าเพียงสิ่งเดียว


ดังนั้น แม้ในวงพุทธศาสนาเรา ถ้าจะกล่าวกันอย่างให้มีพระเจ้ากะเขาบ้างแล้ว เราก็มีสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” นี้เอง ที่ตั้งอยู่ในฐานะเป็น “พระเป็นเจ้า” อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ก็เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” ในพุทธศาสนานั้น หมายถึง สิ่งทุกสิ่งจริงๆ

เพื่อให้เห็นได้อย่างแจ้งชัดและโดยง่าย ว่าสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” หมายถึงสิ่งทุกสิ่งอย่างไรนั้น เราอาจจะทำการจำแนกได้ว่า “ธรรม” หมายถึงสิ่งเหล่านี้ คือ


๑. ธรรมชาติทุกอย่างทุกชนิด ล้วนแต่เรียกในภาษาบาลีว่า “ธรรม” หรือธรรมในฐานะที่เป็นตัวธรรมชาตินั่นเอง


๒. กฎของธรรมชาติ ซึ่งมีประจำอยู่ในธรรมชาติเหล่านั้น ก็เรียกในภาษาบาลีว่า “ธรรม” อีกเหมือนกัน นี้คือ ธรรม ในฐานะที่เป็นกฎของธรรมชาติ และมีความหมายเท่ากันกับสิ่งที่เรียกว่า “พระเป็นเจ้า” ในศาสนาที่ถือว่ามีพระเป็นเจ้าอยู่อย่างเต็มที่แล้ว


๓. หน้าที่ต่างๆ ที่มนุษย์จะต้องประพฤติหรือกระทำ ในทางโลก หรือทางธรรมก็ตาม นี้ก็เรียกโดยภาษาบาลีว่า ธรรม อีกเหมือนกัน มนุษย์ต้องประพฤติให้ถูกให้ตรงตามกฎของธรรมชาติ จึงจะไม่เกิดความทุกข์ขึ้นมา มนุษย์ส่วนมากสมัยนี้หลงใหลในทางวัตถุมากเกินไป ไม่สนใจสิ่งที่เป็น ความสุขทางนามธรรม ข้อนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎของธรรมชาติ จึงเกิดการยากนานาประการที่เรียกว่า “วิกฤติกาล” ขึ้นในโลก จนแก้กันไม่หวาดไม่ไหว


มนุษย์สมัยนี้ ต้องการสิ่งประเล้าประโลมใจเหมือนคนในครั้งพุทธกาล และยิ่งไปกว่านั้นอีกก็คือ มนุษย์สมัยนี้ มีการกักตุนเอาไว้เป็นของตัวหรือพวกของตัวมากเกินไป จนผิดกฎของธรรมชาติ จึงได้เกิดลัทธิอันไม่พึงปรารถนาขึ้นมาในโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดมาแต่ก่อน ดังนี้เป็นต้น


ข้อนี้เป็นตัวอย่างของการที่มนุษย์ประพฤติหน้าที่ของตนอย่างไม่สอดคล้องกันกับกฎของธรรมชาติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือ ประพฤติผิดต่อธรรมฝ่ายที่จะเป็นไปเพื่อดับทุกข์ แต่ได้เป็นไปในฝ่ายที่จะสร้างความทุกข์ขึ้นมาในโลกอย่างไม่มีที่สิ้นสุดนี้อย่างหนึ่ง


๔. ผลของการทำหน้าที่ หรือการปฏิบัติ ที่เกิดขึ้นตามกฎของธรรมชาติ เช่น ความทุกข์ ความสุข หรือการบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือแม้ที่สุดแต่ความเป็นพระพุทธเจ้าของพระพุทธองค์ก็ดี ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นผลของการทำหน้าที่ หรือการปฏิบัติไปทั้งนั้น ทั้งหมดนี้ทุกชนิดทุกอย่างก็ล้วนแต่เรียกโดยภาษาบาลีว่า “ธรรม” อีกเหมือนกัน ทั้งหมดนี้ คือความหมายอันกว้างขวางของคำว่า “ธรรม” ซึ่งมีอยู่เป็นประเภทใหญ่ๆ ๔ ประเภท

สรุปแล้ว คำว่า “ธรรม” เพียงพยางค์เดียว หมายความได้ถึง ๔ อย่าง คือ หมายถึงตัวธรรมชาติก็ได้ หมายถึงกฎของธรรมชาติก็ได้ หมายถึงหน้าที่ ที่มนุษย์ต้องทำให้ถูกตามกฎของธรรมชาติก็ได้ และหมายถึงผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ ก็ได้ นับว่าเป็นคำพูดคำหนึ่งที่ประหลาดที่สุดในโลก และไม่อาจจะแปลเป็นภาษาอื่นได้ ด้วยคำเพียงคำเดียว ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น


เมื่อสิ่งที่เรียกว่า
ธรรม มีมากมายมหาศาลอย่างนี้ ปัญหาจะเกิดขึ้นมา คนเราจะรู้ธรรมหรือเห็นธรรมได้ทั้งหมดอย่างไรกัน?


เกี่ยวกับข้อนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เองแล้วว่า เราอาจจะรู้ได้หมดและปฏิบัติได้ทั้งหมด ในส่วนที่จำเป็นแก่มนุษย์หรือเท่าที่มนุษย์จะต้องเข้าเกี่ยวข้องด้วย ส่วนที่เหลือนอกนั้นไม่ต้องสนใจเลยก็ได้ ข้อนี้ พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า ธรรมที่ตถาคตได้ตรัสรู้ทั้งหมดนั้น มีปริมาณเท่ากับใบไม้กำมือเดียว ข้อนี้หมายความว่า ทรงนำมาสอนเท่าที่จำเป็นแก่การดับทุกข์โดยตรงเท่านั้น


ธรรมที่พระองค์ทรงนำมาสอนนั้น แม้จะกล่าวกันว่า มีถึง ๘๔๐๐๐ ข้อ หรือ ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ก็ตาม ก็ยังสรุปลงได้ในคำพูดเป็นประโยคสั้นๆ เพียงประโยคเดียวว่า “สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ” ซึ่งแปลว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวงอันใครๆ ไม่ควรสำคัญมั่นหมายว่าตัวตนหรือของตน” ดังนี้


การรู้ข้อนี้ คือการรับรู้ธรรมทั้งหมด การปฏิบัติข้อนี้ คือการปฏิบัติธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา และเป็นการมีชัยชนะเหนือความทุกข์ทั้งหมดได้ เพราะเหตุนั้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์ของส่วนบุคคล หรือเป็นทุกข์ของโลกโดยส่วนรวมก็ตาม ถ้าผู้ใดเห็นธรรมส่วนนี้โดยประจักษ์ ผู้นั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นองค์พระตถาคตพระองค์จริงโดยแท้จริง


การเห็นธรรม ในที่นี้ เมื่อกล่าวโดยใจความหมายถึง การมีธรรมที่เป็นความดับทุกข์อยู่แล้วในตน และเห็นประจักษ์อยู่แล้วภายในใจตนว่าความดับทุกข์นั้นเป็นอย่างไร นี่แหละคือหนทางออกทางเดียวของพวกเรา ซึ่งเป็นมนุษย์สมัยปัจจุบันนี้ ที่อาจจะเห็นพระพุทธองค์พระองค์จริงได้ ทั้งนี้เขากล่าวกันว่า พระองค์เสด็จปรินิพพานไปแล้วตั้งสองพันกว่าปี แต่เราอาจจะเห็นพระองค์ได้ โดยการนำมาใส่ไว้ในใจของเราเสียเลย นับว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งขึ้นไปอีก

ข้อที่ควรทราบ ยังมีสืบไปอีกว่า สิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” นั้น นอกจากจะเป็นคำพูดที่ประหลาดที่สุด โดยแปลเป็นภาษาอื่นไม่ได้ และหมายถึงสิ่งทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไรเลยดังนี้แล้ว ยังเป็นของประหลาดในข้อที่ว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง เช่นเดียวกับสิ่งที่เรียกว่า “พระเป็นเจ้า” ในศาสนาของพวกที่มีพระเป็นเจ้านั้นเหมือนกัน ข้อนี้ปรากฏอยู่ในบาลีขุททกนิกายชาดกว่า “ธัมโม หะเว ปาตุระโหสิ ปุพเพ” ซึ่งแปลว่า “ธรรมได้ปรากฏอยู่ก่อนแล้วแล” ดังนี้เป็นต้น


“ธรรม” ในลักษณะเช่นนี้ในทางพุทธศาสนา หมายถึงกฎของธรรมชาติ หรืออำนาจอันลึกลับสูงสุดเหนือสิ่งใด ที่บันดาลให้สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปต่างๆ นานา อยู่ฝ่ายหนึ่งหรือประเภทหนึ่งและอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งตรงกันข้าม คือไม่มีการเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลง อันได้แก่ตัวกฎธรรมชาติ หรืออำนาจอันนั้นนั่นเอง ดังนี้ ถ้าผู้ใดได้รู้ ได้เห็น หรือได้เข้าถึงธรรมประเภทหลังนี้แล้ว ก็จะไม่หลงใหลในธรรมประเภทที่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป นับว่าเป็นสิ่งที่น่าประหลาดมหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่ง
        
อีกประการหนึ่ง สิ่งที่เรียกว่า
ธรรม นี้ ยังเป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดกาล ยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เป็นต้นเสียอีก สมมุติว่า ถ้าเอาอายุของดวงอาทิตย์เป็นต้น ไปเปรียบกับอายุของธรรมแล้ว ก็จะมีลักษณะเหมือนกันกับการเอาอายุของยุงตัวหนึ่งไปเปรียบกับอายุของดวงอาทิตย์อีกนั่นเอง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่น่าขบขันและน่าคิดอย่างไม่มีอะไรเหมือน ทั้งนี้ก็เพราะว่าธรรมนั้น ก็คือสิ่งที่เป็นความสมดุลหรือเหมาะสมที่จะคงอยู่ตลอดกาลนั่นเอง


กฎทางวิทยาศาสตร์ที่ว่าคือ “สิ่งใดเหมาะสมที่จะอยู่ สิ่งนั้นจะคงอยู่หรือเหลืออยู่ สิ่งใดไม่เหมาะสมที่จะอยู่ คือเข้ากันไม่ได้กับสิ่งแวดล้อมเป็นต้นแล้ว สิ่งนั้นจะสูญไป” ดังนี้ นั้นก็คือ กฎของธรรมโดยตรง และธรรมนั่นแหละเป็นเพียงสิ่งเดียว ที่จะยังคงอยู่ตลอดกาลอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ


ดังนั้น สิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” นั้น จึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นสิ่งสูงสุดเหนือสิ่งใด จนกระทั่งแม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกพระองค์ ก็ล้วนแต่ทรงเคารพธรรม มีธรรมเป็นที่เคารพ ไม่อาจจะมีสิ่งอื่นเป็นที่เคารพ นอกจากธรรมเพียงสิ่งเดียว ทั้งที่พระพุทธเจ้าเอง เป็นผู้ที่ได้ตรัสรู้ธรรม หรือทำให้ธรรมนั้นปรากฏแก่สายตาของสัตว์ทั้งปวง ซึ่งไม่อาจจะมองเห็นได้ด้วยสติปัญญาของตนเอง ข้อความนี้ เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงรำพึงและตรัสไว้เองในคราวที่ตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ซึ่งมีปัญหาเกิดขึ้นว่า พระพุทธเจ้าจะทรงอยู่โดยมีอะไรเป็นที่เคารพหรือหาไม่ดังนี้

ข้อความทั้งหมดตามที่กล่าวมานี้ ถ้าจะสรุปความให้สั้นที่สุด ก็จะสรุปได้ความว่า เนื้อตัวจิตใจเราทั้งหมด ก็คือธรรม กฎธรรมชาติที่ควบคุมเราอยู่ ก็คือธรรม หน้าที่ที่เราจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาตินั้นๆ ก็คือธรรม และในที่สุด ผลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นแก่เรา ตลอดจนถึงการบรรลุมรรคผลในขั้นสุดท้ายของเรา ก็คือธรรม อีกนั่นเอง


ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า ธัมมทีปา ธัมมสะระณา ซึ่งแปลว่า ท่านทั้งหลายจงมีธรรมเป็นดวงประทีป จงมีธรรมเป็นที่พึ่งอาศัยเถิด ดังนี้ และพร้อมกันนั้น ก็ได้ตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นไม่เห็นเราตถาคต แม้ว่าผู้นั้นจะจับมุมจีวรของเราถืออยู่แล้วก็ตาม” ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น


บัดนี้ เป็นการกล่าวได้ว่า เป็นโชคดีมหาศาล เป็นบุญกุศลมหาศาลของประชาชนชาวไทย ที่ได้มีมหาอัตตาหรือตนหลวงที่เป็นดวงวิญญาณของประเทศชาติ ที่เป็นธรรมิกราชา คือเป็นตนหลวงที่ประกอบด้วยธรรม เป็นตนหลวงที่ทรงสรรเสริญธรรม เป็นตนหลวงที่ทรงชักชวนประชาชนในธรรม เป็นตนหลวงที่ทรงโปรดปรานผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม และทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภก เพื่อความมีแห่งธรรมในประเทศไทย และตลอดจนโลกทั้งปวง ดังมีพระราชภารกิจต่างๆ ปรากฏเป็นประจักษ์พยานอยู่ แก่สายตาของประชาชนชาวไทยทั้งมวลแล้ว

ส่วนที่ควรนับว่าเป็นกรณีพิเศษในวันนี้นั้น คือสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารได้เสด็จมาถึงเมืองไชยานี้ เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ในที่เฉพาะหน้าที่แห่งพระธาตุเจดีย์ อันเป็นที่ประดิษฐานแห่งพระบรมสารีริกธาตุนี้ ย่อมเป็นการกระทำที่ส่งเสริมความมีอยู่แห่งธรรมในจิตใจของประชาชนให้ยิ่งๆ ขึ้นไป หรืออย่างน้อยก็จะยังคงมีอยู่อย่างพอเพียงแก่การที่จะคุ้มครองประชาชนส่วนนี้ ให้ตั้งอยู่ในธรรมและให้มีความร่าเริงกล้าหาญในการประพฤติธรรมสืบต่อไปตลอดกาลนาน

แม้ว่าเมืองไชยานี้ จะเป็นเมืองโบราณมาแล้วแต่สมัยศรีวิชัย เคยรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนามาแล้วอย่างยิ่ง ถึงกับแม้แต่บทกล่อมลูกของชาวบ้าน ก็มีการกล่าวถึงนิพพานมาแล้วก็ตาม(๑)

ขอแต่บัดนี้ ตกอยู่ในสภาพที่ต้องการสิ่งกระตุ้นเตือนใจในทางธรรมเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการเสด็จพระราชดำเนินมาจนถึงที่นี่ ในลักษณะอย่างนี้ ในสภาวการณ์อย่างนี้ ย่อมเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และสวัสดีมงคลแก่ประชาชนในถิ่นนี้อย่างมหาศาลเหลือที่จะเปรียบปาน


ขอให้สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร จงได้ทรงทราบถึงความจริงข้อนี้โดยประจักษ์ แล้วทรงสำราญพระราชหฤทัยตามวิสัยแห่งธรรมราชา ผู้ทรงชักชวนประชาชนทั้งหลายในทางแห่งธรรม จงทุกประการเถิด

     

ธรรมเทศนา สมควรแก่เวลา เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ ขอถวายพระพร.

4.png


***หมายเหตุ:

(๑) บทกล่อมลูกพื้นเมืองมีว่า...มะพร้าวนาฬิเกร์ ตนเดียวโนเน กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง กลางทะเลขี้ผึ้ง ถึงได้แต่ผู้พ้นบุญ..เอย – ผู้จัดพิมพ์



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:32, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyNzh8ZmUzMWU0MDF8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-5 23:58, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2Nzl8NDYzYTk4NmN8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:46

๒. ส่วนสำคัญของพุทธศาสนาที่ทุกคนควรรู้(๑)


แสดง ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒๘ ธันวาคม ๒๕๐๓


โดย

พุทธทาสภิกขุ
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ

1.png


เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๐๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาล(๒) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ประทานพระราชกรุณาต่อกลุ่มศึกษาพุทธศาสตร์และประเพณีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้มีโอกาสสดับพระธรรมเทศนาจากพระภิกษุผู้ทรงคุณความรู้เยี่ยมในทางธรรม ทรงนิมนต์พระราชชัยกวี (พุทธทาสภิกขุ) มาแสดงธรรมแก่นิสิต และพระองค์ท่านเองก็เสด็จมาทรงเป็นประธานของการแสดงธรรมปาฐกถาในครั้งนี้ด้วย โดยปรากฏว่ามีอาจารย์และนิสิตร่วมศึกษาพุทธธรรมจากพระราชชัยกวี (พุทธทาสภิกขุ) ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณ ๓,๐๐๐ คน และนับเป็นครั้งแรกที่พระราชชัยกวี (พุทธทาสภิกขุ) ได้มาแสดงธรรมปาฐกถาในกลุ่มศึกษาพุทธศาสตร์ฯ.

อาตมภาพขอรับพระราชทานพระราชวโรกาศ เพื่อกล่าวธรรมกถาในรูปและวิธีของปาฐกถาอย่างธรรมดาสามัญเพื่อสำเร็จประโยชน์แก่นิสิตทั้งหลายเท่าที่จะมากที่สุดได้เพียงใด ขอถวายพระพร.

    นิสิต, ท่านสุภาพชน และสาธุชนทั้งหลาย

    โอกาสแห่งการบรรยายธรรมกถาในวันนี้ อาตมภาพมุ่งหมายจะกล่าวถึง “ส่วนสำคัญๆ เท่าที่นิสิตจะพึงทราบเกี่ยวกับพุทธศาสนา” เพราะฉะนั้นท่านสาธุชนทั้งหลายได้โปรดให้อภัย ถ้าหากว่าคำกล่าวทั้งหมดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์แก่นิสิตเป็นส่วนใหญ่ เพราะว่าการกล่าวอย่างกำกวมหรือก้ำกึ่งกันระหว่างความมุ่งหมายสำหรับนิสิตกับสาธุชนทั่วไปนั้น ย่อมที่จะตัดทอนความแจ่มกระจ่างลงไปเป็นอันมาก เพราะฉะนั้นให้ถือว่าความมุ่งหมายส่วนใหญ่นั้นกล่าวเพื่อประโยชน์แก่นิสิต ถ้าตรงกันกับความประสงค์ของท่านสาธุชนทั่วไป ก็เป็นอันว่าเป็นผลพลอยได้

ที่ว่าส่วนสำคัญๆ นั้น หมายถึง ส่วนสำคัญที่เรียกว่า ธรรมะหรือศาสนา เพราะคำว่าธรรมะและคำว่าศาสนาหรือพุทธศาสนานี้ใช้แทนกันได้ และที่เรียกว่า “ส่วนสำคัญๆ” นั้น อาตมาขอตั้งเป็นหัวข้อว่า ทำไมเราจึงต้องมาเกี่ยวข้องกับธรรมะหรือศาสนา และจะเกี่ยวข้องด้วยวิธีอย่างไร และสิ่งที่เรียกว่าธรรมะหรือศาสนานั้นคืออะไร? และในที่สุดก็มีข้อเบ็ดเตล็ดเช่นว่า อุปสรรคหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการเข้ามาเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนานี้ มีอะไรบ้าง? นี้เป็นข้อสำคัญ ซึ่งอาตมาจะได้กล่าวถึงข้อที่ว่า ทำไมเราจึงต้องเกี่ยวข้องกับธรรมะหรือศาสนา? เป็นข้อแรก

ถ้าทุกคนมีความคิดว่า เมื่อมีทรัพย์สมบัติ เกียรติยศชื่อเสียง มีมิตรสหายพร้อมหน้าเพียงเท่านี้เป็นการพอแล้ว ก็นับว่าเป็นเรื่องของพวกวัตถุนิยมจัด ไม่มีอะไรที่จะพูดกันอีกแล้วเกี่ยวกับพุทธบริษัทเรา แต่เนื่องจากพุทธบริษัทเราไม่ได้เป็นพวกวัตถุนิยมจัดหรือวัตถุนิยมโดยส่วนเดียว ย่อมมีความคิดสูงไปกว่านั้น คือต้องการจะถือเอาประโยชน์จากสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุนั้นได้อีกด้วย จึงมีเรื่องทางฝ่ายที่เรียกว่า “จัดนิยม” หรือ “อุดมคติ”

หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือว่า ไม่ใช่วัตถุนิยมก็แล้วกัน นั่นคือส่วนหนึ่ง แปลว่า เรามีความมุ่งหมายเพื่อจะให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ ซึ่งจะเรียกกันง่ายๆ เหมือนที่ใช้เรียกกันเป็นคำกลางระหว่างวิชาธรรมะหรือปรัชญา คือคำสากลที่ใช้สั้นๆ ว่า Summum Bonum หรือที่ขยายให้ชัดว่า The utmost goodness that Bonum หรือที่ขยายให้ชัดว่า The utmost goodness that man can get in this very life.

ขอให้ท่านนิสิตทั้งหลายเปิดดู Dictionary ที่เป็นคำอธิบายของคำว่า Summum Bonum ก็จะพบว่าได้แก่ สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์จะต้องถึงให้ได้ชั่วชาตินี้ในชีวิตนี้เอง เราพุทธบริษัททั้งหลายมีความมุ่งหมายที่จะให้ได้สิ่งนี้ เราจึงรู้สึกว่าเพียงแต่ได้ความสมบูรณ์ในทางวัตถุนั้นไม่พอ เพราะว่ามันยังไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้

ลองเปรียบเทียบดู ขออภัยในการที่ต้องใช้อุทาหรณ์ เช่นว่า เราอยากจะมีชีวิตเหมือนผีเสื้อสีสวยๆ บินลอยไปมา ไม่ชั่วกี่วันก็ตาย อย่างนี้เอาไหม ก็คงจะสั่นหัว แม้ที่สุดแต่คนที่รักสวยรักงามอย่างยิ่ง หรือถ้าว่าเราจะมีชีวิตอยู่อย่างยุง ไม่กี่วันก็ตาย โดยเกิดมาสูบเลือดคน อีกไม่กี่วันก็ตาย คงจะไม่มีคนเอา หรือถ้าตรงกันข้ามกับยุง เราจะเป็นสัตว์ที่แข็งแรง เช่น ช้างหรือสัตว์ที่มีประโยชน์อย่างอื่น ทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย จะเอาไหม? มากเกินไปก็ไม่มีใครเอา


หรือจะเกิดมาเหมือนลิงทะโมนนายฝูง ซึ่งมีลิงเพศตรงกันข้ามเป็นบริวารมากมาย เป็นจอมโจกของฝูงเอาไหม? พวกที่วัตถุนิยมจัดเกินไปเท่านั้นที่จะพอใจ แต่ในที่สุดก็จะสอดส่องหาสิ่งที่ดีที่สุด วนไปวนมาจนกว่าจะพบ ก็จะพบว่าสิ่งที่ดีที่สุดนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ติดเนื่องกับวัตถุอย่างเดียว หรือว่าลำพังวัตถุอย่างเดียว เราไม่สามารถจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุด

เราจะต้องพิจารณาดูให้ดี ว่าคนเราไม่ได้ประกอบด้วยวัตถุ หรือร่างกายอย่างเดียว ย่อมจะมีจิตใจอยู่ด้วย ถ้าหากว่าไม่มีความเต็มเปี่ยมทั้งทางกายและทางใจ ความเป็นมนุษย์ของเราก็จะต้องกลวงเป็นโพรง คือว่าเป็นมนุษย์เต็มเปี่ยมทางกาย หรือทางวัตถุแต่ทางใจนั้นว่างกลวงเป็นโพรง ความเป็นมนุษย์ที่กลวงเป็นโพรงอย่างนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่ง


คิดดูสักหน่อยก็จะเห็นได้ และปัญหายุ่งยากในโลกอื่นก็ตาม ถ้าจะมีย่อมจะเกิดมาจากมนุษย์ที่กลวงเป็นโพรงเช่นนี้ทั้งนั้น คือมีความเป็นมนุษย์สมบูรณ์แต่ทางวัตถุหรือทางร่างกาย ส่วนทางจิตใจนั้นกลวงเป็นโพรง เพราะไร้ความเป็นมนุษย์ในทางจิตใจ

ที่นี้ เรามาพิจารณาดูว่า ทำไมคนจึงสนใจและลุ่มหลงแต่เรื่องทางวัตถุ ส่วนทางเรื่องจิตใจนั้นไม่ค่อยจะเหลียวแล และยิ่งกว่านั้น บางคนก็คัดค้านและขัดขวาง บางคนก็ดูหมิ่นดูถูกเรื่องในทางจิตใจ นี่ก็เพราะว่ามีสิ่งอยู่เหนือความเข้าใจของบุคคลประเภทนั้น แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะได้มีอยู่จริงและจริงอย่างยิ่งกว่าทางวัตถุเสียอีก คนเหล่านั้นก็ไม่เข้าใจและไม่คิดว่ามี เกี่ยวกับเรื่องนี้อยากจะขออธิบายด้วยตัวอย่าง ขออภัยที่จะยกตัวอย่างด้วยเรื่อง “อ้ายอ๊อด”

ท่านที่เป็นนักเรียน ย่อมเคยอ่านหนังสือแบบเรียนชั้นประถมต้นๆ เรื่องลูกสัตว์ คำว่า “อ้ายอ๊อด” หมายถึง ลูกกบในระยะที่มันยังว่าอยู่ในน้ำ ถ้าเผอิญแม่กบบอกว่า “บกมี” เพราะว่าแม่กบเคยขึ้นไปบนบก แม่กบก็บอกว่ามี และมีลักษณะเป็นอย่างนั้นๆ น่าดูกว่าในน้ำ อ้ายอ๊อดมันก็จะไม่ยอมเชื่อว่ามี ถ้าแม่ขืนพูดมากไป อ้ายลูกนั่นเองจะด่าว่าแม่พูดเท็จพูดไม่จริง พูดอย่างไร มันก็ไม่อาจรู้กันได้ จนกว่าอ้ายอ๊อดนั้นจะได้โตเป็นกบขึ้นไปดูบกได้ด้วยตนเอง

แต่ว่าท่านนิสิตทั้งหลายลองพิจารณาดูเถิดว่า มันมีลูกอ๊อดกี่เปอร์เซ็นต์ที่กลายเป็นกบขึ้นบกไปได้ มันน้อยเต็มที เพราะมันไม่รู้เรื่องบกแล้วมันยังดื้อ อ้ายอ๊อดย่อมจะดื้อต่อคำแนะนำสั่งสอนของพ่อ มันจึงตายเสียเป็นส่วนมาก ก่อนแต่ที่จะได้ขึ้นบก ถ้าท่านเข้าใจความข้อนี้ ท่านก็จะพบมูลเหตุของการที่เราไม่ประสบความสำเร็จแม้ในการศึกษาเล่าเรียน แล้วจะประสบความสำเร็จในการเข้าถึงชีวิตในด้านจิต ด้านอุดมธรรมอันสูงสุดอย่างไรได้ ฉะนั้น เราจะต้องระมัดระวัง “ความเป็นอ้ายอ๊อด” นี้ให้มากอย่างยิ่ง เพราะว่าอุปสรรคเป็นศัตรูอย่างยิ่งทีเดียว

นี่ท่านจะเห็นได้ทันทีว่า เรื่องบกนั้นเข้าใจยากสำหรับสัตว์ที่เรียกว่าอ้ายอ๊อดฉันใด เรื่องฝ่ายจิตนิยมหรืออุดมคติที่ไม่ใช่วัตถุนิยมนั้น ย่อมเข้าใจยากสำหรับผู้ที่กำลังลุ่มหลงในฝ่ายวัตถุนิยมฉันนั้น เพราะฉะนั้นเราต้องรู้จักแยกกันออกไปให้เป็น ๒ ส่วน หรือ ๒ ฝ่าย และระมัดระวังให้ดี ทำให้เต็มที่สมบูรณ์ทั้งฝ่ายวัตถุและฝ่ายจิตใจ ไม่เป็นมนุษย์ที่กลวงเป็นโพรงดังที่กล่าวมาแล้ว

เพราะฉะนั้น ท่านนิสิตทั้งหลายควรจะได้กำหนดจดจำความข้อนี้ไว้โดยสรุปสั้นๆ ว่า มันมีอยู่ ๒ อย่าง เช่นว่า ถ้าจะพูดถึงความตาย ก็ต้องมีความตาย ๒ อย่าง คือ ความตายทางร่างกายอย่างหนึ่ง และความตายทางวิญญาณอย่างหนึ่ง หรือถ้าจะพูดถึงความเป็นอยู่ มันก็มีความเป็นอยู่ ๒ อย่าง คือ ความเป็นอยู่ทางร่างกาย และความเป็นอยู่ในทางจิตหรือวิญญาณ หรือจะพูดถึงการได้ คือได้สิ่งที่ดีที่สุด มันก็ต้องแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ได้สิ่งที่ดีที่สุดในทางร่างกาย และได้สิ่งที่ดีที่สุดในทางฝ่ายจิตหรือฝ่ายวิญญาณ

เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาในด้านคำพูด ขอท่านนิสิตได้ทราบว่า เรามีคำ ๒ คำนี้ คือ คำว่า ทางวัตถุ ทางกาย กับทางจิต ทางวิญญาณ เราใช้คำว่า physical เหมือนที่ใช้กันทั่วไปสำหรับทางวัตถุหรือทางกาย แต่ส่วนทางจิตหรือทางวิญญาณ เราไม่ใช้คำว่า mental แต่เราใช้คำว่า spiritual ทีนี้เผอิญคำว่า spiritual นี้ มักจะมองไปในแง่เป็นผี ปีศาจ หรือวิญญาณชนิดเป็นผีเป็นสางทำนองนั้น ไม่ใช่เลย! เราหมายถึงในด้านจิตใจที่เป็นเรื่องที่ละเอียดที่มองด้วยตาเห็นไม่ได้ แต่เป็นส่วนสำคัญ

เพราะฉะนั้น เรื่องทางฝ่าย mental ที่เนื่องอยู่ด้วยมันสมองนี้ เราเอามาไว้ฝ่าย physical คือทางฝ่ายกาย ฝ่ายวัตถุหมด เหลือที่ตรงกันข้ามที่คู่กันก็คือ ฝ่ายวิญญาณหรือ spiritual และเราต้องการสิ่งที่เรียกว่า spiritual experience หมายถึง ความเจนจัด ประจักษ์ด้วยใจเองในเรื่องทางฝ่ายจิตหรือทางฝ่ายวิญญาณ ไม่เกี่ยวกับวัตถุร่างกาย สิ่งของ ได้แก่ การที่เราเคยผ่านสิ่งต่างๆ ปัญหายุ่งยากต่างๆ ทางใจมาแล้วอย่างมากมายเพียงพอ อันนี้จะเป็นมูลฐานสำคัญที่สุดสำหรับศึกษาเรื่องพระธรรมหรือพระศาสนา  

การที่เราไม่มีสิ่งเหล่านี้เพียงพอ นั่นแหละเป็นมูลเหตุให้เราเข้าใจพระพุทธศาสนาไม่ได้ แม้ว่าเราจะไปทำกรรมฐานหรือวิปัสสนาหรืออะไรก็ตามแต่ ถ้าเป็นบุคคลที่ไม่เคยผ่านสิ่งที่เรียกว่า spiritual experience มาอย่างเพียงพอแล้ว ก็ไม่สามารถจะทำได้สำเร็จ มันเป็นกรรมฐานท่องบ่น หรือกรรมฐานพิธีรีตองอะไรไปทำนองนั้น จบหรือสำเร็จอย่างที่เขาเรียกหรือตั้งให้ ไม่สามารถจะทำลายกิเลสอันแท้จริงได้ ฉะนั้นให้ทุกคนที่สนใจจะศึกษา จงได้ใฝ่สนใจศึกษาในด้านที่เกี่ยวกับจิตหรือวิญญาณนี้ให้มากด้วยส่วนหนึ่ง  

ทำไมเราจึงต้องสนใจหรือศึกษาส่วนที่เกี่ยวกับจิตใจหรือวิญญาณนี้ ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวกับธรรมะโดยเฉพาะ? ทั้งนี้เพราะเหตุว่าถ้าทางฝ่ายวัตถุนี้ไม่ได้รับความควบคุมด้วยธรรมะแล้ว จะเป็นไปเพื่อความทุกข์ทั้งนั้น เราจะมีทรัพย์มากมายเท่าใด เราจะมีอำนาจวาสนาเกียรติยศชื่อเสียงเท่าใดก็ตาม ถ้าไม่ได้รับการควบคุมที่ถูกต้องโดยทางธรรมะหรือทางจิตใจทางวิญญาณแล้ว แทนที่ทรัพย์สมบัติ เกียรติยศชื่อเสียง อำนาจวาสนาเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ มันจะกลายเป็นโทษและนำมาซึ่งทุกข์

อาตมาชอบชี้ชัดๆ ด้วยตัวอย่างว่า สมมุติว่ามีเงินล้านหนึ่ง ถ้าผู้มีเงินนั้นไม่ประกอบด้วยธรรมะ เขาจะมีความทุกข์ล้านหนึ่งเท่ากับจำนวนเงิน แต่ถ้าเขามีธรรมะเขาก็จะมีความสุขล้านหนึ่งเท่ากับจำนวนเงิน ฉะนั้นจึงเป็นอันว่า สุขและทุกข์ไม่ได้อยู่ที่เงินอย่างเดียว มันอยู่ที่ว่ามีธรรมะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่


ถ้าธรรมะเข้าไปเกี่ยวข้อง เงินหรืออะไรเหล่านี้ ก็จะอำนวยความสะดวก ไม่ทำความลำบากเดือดร้อนใจ หรือทำอันตรายอันใดให้เกิดขึ้น แต่ถ้าธรรมะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องแล้วมันจะเป็นอันตรายจนหาความสุขไม่ได้เลย ฉะนั้นการที่มีเงินอย่างเดียวโดยไม่มีธรรมะนั้น จะเป็นอันรายหรือเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีธรรมะสำหรับจัดให้สิ่งต่างๆ เป็นไปในทางที่จะไม่ให้เป็นทุกข์

เราจะมีทรัพย์ มีชื่อเสียง มีอำนาจวาสนา มีพวกพ้องบริวาร สังคม สมาคมอะไรก็ตาม ถ้าธรรมะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว ไม่มีทางที่จะเป็นอย่างอื่นได้ ประโยชน์อันแท้จริงของธรรมะมีอยู่อย่างนี้ในส่วนปัจเจกชน ส่วนสังคมที่ขยายออกเป็นวงกว้าง เช่น โลกหรือทั่วโลก มันก็อย่างเดียวกัน เพราะเหตุว่าสังคมมันก็คือส่วนรวมของปัจเจกชน
ถ้าปัจเจกชนเป็นอย่างไรสังคมก็เป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นสังคมของคนไม่ฉลาด มันก็หมายความว่า ทุกคนในสังคมนั้นไม่ฉลาดอย่างนี้เป็นต้น

เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันว่าธรรมะหรือพระศาสนาซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาทางจิตใจ เพราะจะทำให้ความเป็นมนุษย์นี้เป็นมนุษย์ครบทั้ง ๒ ซีก ทั้งภายนอกและภายใน และโดยผลที่ประสบอย่างยิ่งก็คือ ไม่ทำให้ความทุกข์เกิดขึ้น แต่ทำให้ทุกสิ่งเป็นไปในลักษณะที่น่าปรารถนา ผิดจากนี้แล้วก็เป็นไปเพื่อความยุ่งยากโกลาหลวุ่นวาย เป็นความทุกข์ในที่สุดโดยส่วนเดียว

เราจะเห็นได้ว่า แม้คนที่ฉลาดมีการศึกษาอย่างที่เรียกกันว่าอย่างโลกๆ นี้ดี แต่ในที่สุดก็ยังไม่มีความสุข ยังอยู่ในสภาพที่เรียกว่า มีความรู้ท่วมท้นเอาตัวไม่รอด ในที่สุดก็ยังต้องฆ่าตัวตายอย่างนี้เป็นต้น แต่ถ้าว่าธรรมะเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว สิ่งที่ไม่น่าดูน่าปรารถนาเหล่านี้ จะไม่มีไม่เกิดขึ้นได้เลย


เพราะฉะนั้นธรรมะไม่ใช่ยาขม ไม่ใช่เป็นเหมือนยาขมที่ทุกๆ คนเบื่อธรรมะไม่ใช่เหมือนกับของกินที่ไม่จำเป็น แต่ว่าเป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับความเป็นมนุษย์ ธรรมะจึงไม่ใช่ของครึหรือพ้นสมัย เพราะว่าแม้มนุษย์ในสมัยนี้ หรือปัจจุบันนี้ ถ้าปราศจากธรรมะแล้ว จะไม่มีความเป็นมนุษย์ หรืออย่างมากที่สุดก็จะเป็นมนุษย์ที่กลวงเป็นโพรงอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

จึงกล่าวได้ในที่สุดว่า ธรรมะนี้ก็คือ เครื่องมือที่จำเป็นที่สุดในการที่จะทำให้เราได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์เราควรจะได้รับให้ทันในชีวิตนี้ ไม่ใช่ผัดไว้ชาติหน้า คือให้ได้สิ่งที่เรียกว่า อุดมธรรม หรือ Summum Bonum เรียกสั้นๆ อย่างนี้จำง่ายดี นี่เป็นอันกล่าวสรุปสั้นๆ ว่าทำไมเราจึงมาเกี่ยวข้องกับธรรมะหรือศาสนา

ต่อแต่นี้ อาตมาจะขอข้ามไปกล่าวถึงหัวข้อที่ว่า ธรรมะคืออะไร? ขอให้ท่านนิสิตทั้งหลายสนใจจำคำแม้โดยพยัญชนะ ไม่เฉพาะแต่โดยความหมายหรือเรื่องราวโดยส่วนเดียว

ในชั้นแรกเราจะได้วินิจฉัยถึง คำว่า “ธรรม” นี้ โดยตัวหนังสือ คือโดยพยัญชนะนั้น มันหมายถึงอะไร? โดยพยัญชนะมันแปลว่า สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่ได้ ที่นี้มันมีแง่ที่จะอธิบายหรือดูกันให้เข้าใจว่า สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่ได้นี้ ได้แก่สิ่งทุกสิ่ง


เพราะว่าบรรดาสิ่งที่ไม่เที่ยงและไหลเวียนเปลี่ยนแปลงเรื่อยนั้น มันก็เอาการไหลเวียนนั่นเอง เป็นการทรงตัวมันเอง กระแสแห่งการไหลเวียนนั้นเองคือตัวมันเอง หรือการที่ทรงตัวมันเองอยู่ก็ด้วยความเปลี่ยนแปลงหรือไหลเวียน ส่วนสิ่งที่ตรงกันข้ามไม่เปลี่ยนแปลงไม่ไหลเวียนนั่นแหละก็เป็นตัวมันเอง

ฉะนั้น จึงเป็นอันว่า ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรม โดยหลักของภาษาบาลีเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ทราบว่าจะใช้คำว่าอะไรดีในภาษาไทย จึงต้องใช้คำว่า “ธรรมะ” ไปตามเดิม ส่วนฝรั่งเขาพยายามที่จะแปลว่าคำว่าธรรมะนี้ออกไปเป็นภาษาอังกฤษเป็นต้น ทีแรกเขาคิดว่ามันแปลได้ เขาก็แปลเป็นคำต่างๆ ตามที่เขาเห็นว่าสมควร เช่นแปลคำว่าธรรมะว่า Truth คือความจริงบ้าง แปลว่า Law คือกฎบ้าง แปลว่า Norm คือหลักสำหรับยึดถือบ้าง ทำนองนี้ ผลสุดท้ายมันไม่พอทั้งนั้น มันใช้ได้แก่กรณีหนึ่งๆ เท่านั้นเอง ไม่อาจจะตรงกับความหมายของคำๆ นี้ทุกกรณี

เดี๋ยวนี้เขาจึงเลิกแปลธรรมคำนี้กันหมด นักศึกษาที่เป็นชาวต่างประเทศไม่อุตริไปแปลคำว่าธรรมเข้าอีกแล้ว คงใช้ทับศัพท์ว่า Dhamma ไปตามเดิม เช่นเดียวกับภาษาไทยเรา ปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษของเราไม่เคยแปลคำๆ นี้ว่าอะไร จึงต้องใช้คำว่าธรรมะ–ธรรม–ธัมมไปตามเดิม เพราะนี่มันแปลไม่ได้ นี่เป็นหลักที่สำคัญอย่างยิ่ง ภาษาอื่นก็เหมือนกันอีก ฉะนั้นท่านจะต้องทราบไว้ว่าที่เรียกว่าธรรมะนั้น ต้องใช้คำนี้ไปตามเดิมแปลไม่ได้ นี้โดยพยัญชนะ

ทีนี้โดยอรรถะ คือโดยความหมาย อันนี้หมายความได้หลายอย่าง แล้วแต่เราจะให้หมายถึงอะไร จัดเป็นฝ่ายๆ พวกๆ เป็นเรื่องๆ แต่ละกรณีเช่นไร แต่ในกรณีที่สำคัญที่สุดที่ควรจะทราบก่อนอันอื่น ก็คือว่า

คำว่า ธรรม” นี้ หมายความถึงเหตุ หรืออำนาจ คืออำนาจที่บันดาลให้อะไรเป็นไปได้ ตามที่เราเห็นๆ กันอยู่ในฐานะที่เป็นกฎธรรมดาหรืออะไรทำนองนี้ เมื่อถามว่าอะไรเป็นเหตุ ก็ตอบได้สั้นๆ ว่าสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” นั่นแหละเป็นต้นเหตุ

ถ้าท่านถูกชาวต่างประเทศถามว่า ในพระพุทธศาสนานี้มีพระเป็นเจ้าหรือ God ไหม? ก็ต้องตอบได้ว่ามี ถ้าเขาถามว่าอะไร? ก็คือธรรม แต่เราต้องทราบไว้ว่าการกล่าวเช่นนี้เพียงแต่เรามีความหมายอย่างเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างอย่างเดียวกัน


God หรือพระเจ้านั้น มันสำคัญอยู่ที่ความหมาย เช่นอย่างว่า God the Creater พระเจ้าผู้สร้าง อย่างนี้เราก็มี คือ “ธรรม” นั่นเอง “ธรรม” เป็นสิ่งที่สร้างสิ่งทั้งหลาย บันดาลให้สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและเป็นไป โดยอาการอย่างเดียวกันกับที่พระผู้เป็นเจ้าหรือ God สร้างโลกตามลัทธิของศาสนา นี่คือพระเป็นเจ้าสร้างโลก และเราก็มีสิ่งสร้างโลก คือ “ธรรม”

ต่อไปถึง God the Preserver คือ พระเป็นเจ้าที่ควบคุมโลกให้อยู่ในสภาพปัจจุบันอย่างนี้ เช่น ไม่ให้พระอาทิตย์กับพระจันทร์ชนกันอย่างนี้เป็นต้น หรือทุกๆ อย่างต้องเป็นไปตามกฎอย่างนี้ preserve สิ่งต่างๆ ไว้อย่างนี้ เราก็มีสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” อีกนั่นเอง ธรรมในลักษณะที่ควบคุมโลกนี้ ขออย่าเพิ่งเข้าใจเป็นอย่างอื่น ขอให้ท่านเพ่งเล็งถึงว่า มันมีอำนาจอันหนึ่งซึ่งมูลเหตุที่ควบคุมโลกให้เป็นอย่างนี้ก็ได้ แต่เราเรียกว่า “ธรรม” พระพุทธเจ้าท่านก็เรียกมันว่า “ธรรม”

ถ้ากล่าวถึง God the Destroyer คือ พระเจ้าที่จะทำลายโลกให้สิ้นสุดลงเป็นคราวๆ มันก็คือ “ธรรม” อีกนั่นเอง เมื่อโลกนี้หมุนเวียนไปถึงรอบที่จะต้องสลายไป จะเรียกว่ามันถูกทำลายไปด้วยอำนาจของอะไร ก็ด้วยอำนาจของสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” หรือพระเป็นเจ้าในลักษณะเช่นนี้

ทีนี้พระเป็นเจ้าในลักษณะที่เป็น God the Survivor คือ เป็นผู้ช่วยให้รอดพ้น เราก็ไม่มีอะไรนอกจาก “ธรรม” ธรรมเท่านั้นที่จะช่วยสัตว์ให้พ้นจากความทุกข์

ถ้าว่าถึงพระเป็นเจ้า God the Refuge คือ เป็นที่พึ่งอาศัยที่ต้านทานต่อความทุกข์ เราก็ไม่มีอะไรนอกจาก “ธรรมะ”

ในความหมายอันอื่นที่แปลกออกไป เช่น God the Guide คือ ผู้นำสัตว์ไปให้ถูกทาง เราก็ไม่มีอะไรนอกจาก “ธรรมะ”

คำว่า God the Opener คือ ผู้เปิดสิ่งต่างๆ เปิดเผยสิ่งต่างๆ ให้เห็นให้ปรากฏออกมา เหมือนกับที่เขาสอนว่า พระเป็นเจ้าเปิดเผยสิ่งต่างๆ ให้มนุษย์ทราบ นี้เราก็ไม่มีอะไรนอกจาก “ธรรม” เป็นพระเป็นเจ้าผู้เปิด

หรือที่จะแยกออกไปถึงกับว่า พระผู้เป็นเจ้ามีในที่ทุกหนทุกแห่ง เช่น God the Omnipresent มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่เว้นที่ไหนเลยไม่ว่าในใต้ทะเลหรือก้นเหวที่ไหนก็ตาม มีพระเป็นเจ้าอยู่ทั้งนั้น คอยดูเราอยู่ทั้งนั้น พระเจ้าอย่างนี้เราก็มี ก็คือ “ธรรม” อีกนั่นเอง “ธรรมะ” จะมีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง
      
หรือถ้าจะว่า God the Omnipresent เป็นผู้สำคัญเป็นใหญ่เหนือสิ่งใดหมด เราก็ไม่มีอะไรนอกจาก “ธรรม” จนถึงกับพระพุทธเจ้าเองท่านได้ตรัสว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกพระองค์ ทั้งอดีต อีกทั้งอนาคต และปัจจุบันนั้นย่อมเคารพ ธรรม” อย่างนี้เป็นต้น นี้ “ธรรม” ในฐานะเป็น Omnipresent

God the Omnipresent หรือรู้สารพัดอย่าง เป็นสภาพที่มีความรู้ บรรจุอยู่ในสารพัดอย่าง ครบทุกอย่าง เราก็มีพระเป็นพระเจ้าอย่างนั้น และก็คือ “ธรรม” อีกนั่นเอง

ทีนี้เราเอาความหมายให้มันมากไปกว่านั้นจนถึงกับว่า God the Dictionary นี่ท่านทั้งหลายบางคนจะนึกขำ อาตมาเคยพบเขาใช้คำนี้กับพระเป็นเจ้า ในคำอธิบายเรื่องพระเป็นเจ้า เพราะว่า Dictionary หรือปทานุกรมนั้น มันมีอะไรไว้หมด หมายความว่า ปทานุกรมที่ดีนั้น เราไปเปิดค้นอะไรได้ทั้งนั้น พระเป็นเจ้าก็เป็นเหมือนกับปทานุกรม คือเปิดดูอะไรก็ได้ พระเป็นเจ้าอย่างนี้ก็มี คือสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” อีกเหมือนกัน

เป็นอันว่า เมื่อกล่าวโดยความหมายที่ว่าเป็น “เหตุ” ในฐานะอย่างเป็นพระเจ้านั้น เราก็มี คือสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” นี้คือธรรม ที่เรียกว่าโดยเหตุหรือโดยอำนาจที่บันดาลให้สิ่งทั้งหลายเป็นไป และมีอะไรครบถ้วนเหมือนกับที่เขาเรียกกันว่า “พระเป็นเจ้า” สารพัดอย่าง


ถ้าท่านมองเห็นองค์พระเป็นเจ้าองค์นี้ละก็ จะเห็นองค์ “ธรรม” ชนิดที่ดูด้วยตาไม่เห็น แต่ต้องดูด้วยปัญญา อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรมะ ผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นธรรมะ แต่เห็นเนื้อหนังวัตถุร่างกายนี้ไม่ใช่เห็นตถาคต” ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น จึงใช้สติปัญญาเป็นอย่างมาก จึงจะเห็นอำนาจศักดิ์สิทธิ์ลึกลับเด็ดขาดในทำนองที่เป็นเหตุเช่นนี้ นี่แหละคือ ธรรม

ท่านลองคิดดูที ว่าจะเอาภาษาไทยคำไหนมาใช้กับลักษณะต่างๆ เหล่านี้ สิ่งเหล่านี้ เราก็ต้องเรียกว่า “ธรรม” ไปตามเดิม

ถัดไปอีก คือ “ธรรม” ในฐานะเป็นผล คือเป็นเหตุ แล้วก็เป็นผล คำว่า “ผล” นี่เราหมายถึง ปรากฏการณ์ทั่วไปคือ phenomena ทั่วไปที่ปรากฏแก่มนุษย์ นั่นก็เรียกว่า “ธรรม” อีกเหมือนกัน ไม่มีอะไรที่จะเรียกว่า “ธรรม” สิ่งที่ดีก็เรียกว่า “ธรรม” สิ่งที่ชั่วก็เรียกว่า “ธรรม
สิ่งที่มีรูปร่างก็เป็น “ธรรม”

ท่านย่อมเคยฟังพระสวดในที่ศพว่า กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา : - ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลายที่กล่าวไม่ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล เพียง ๓ คำนี้เท่านั้นก็หมดแล้ว คือ ดี ชั่ว และกล่าวไม่ได้ว่า ว่าดีหรือชั่ว ๓ คำนั้น ทั้งหมดนี้เป็น “ธรรม” เสมอกันหมด นี้แปลว่าปรากฏการณ์ทั้งหมด ไม่ได้เป็นอะไรนอกจาก “ธรรม” และบาลีก็เรียกกันว่า “ธัมม” นี้จะชวนให้คนแรกศึกษางงไปหมด เพราะอะไรๆ ก็ “ธรรมะ” แต่ท่านต้องเข้าใจว่า “ธรรมะ” คำนี้มีความหมายอย่างนี้

ธรรมในความหมายต่อไปนี้คือ ธรรมะในฐานะที่เป็นกฎ คือกฎความจริง กฎธรรมชาติต่างๆ ที่เป็นกฎแล้วก็เรียกว่า “ธรรม” ทั้งนั้น กฎธรรมดา หรือกฎธรรมชาติก็ตาม ตรงกับคำว่า law แต่มันก็รวมอยู่ในความหมายว่า “กฎ” ทั้งนั้น

“ธรรม” ในบรรดาที่ออกชื่อมาแล้วนี้ ยังไม่สำเร็จประโยชน์ ต้องมี “ธรรม” อีกความหมายหนึ่งหรือแขนงหนึ่ง คือ “ธรรม” ที่น่าปรารถนา ฉะนั้น จึงได้แก่ธรรมที่เป็นไปเพื่อความดี ความงาม ความจริง ความยุติธรรมที่เราปรารถนากันนัก ที่จะใช้เป็นที่พึ่ง ความดีก็คือธรรมะ ความถูกต้องก็คือธรรมะ ความจริงก็คือธรรมะ ความยุติธรรมก็คือธรรมะ และธรรมะในลักษณะเช่นนี้ ในความหมายเช่นนี้แหละที่เราประสงค์กันนัก

แม้ที่เราจัดกลุ่มเพื่อศึกษาพุทธศาสนาขึ้นเป็นกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนี้ก็เพราะมุ่งหมายจะเข้าถึงสิ่งนี้คือ “ธรรมะ” ในความหมายที่เป็นความดี ความงาม ความจริง ความยุติธรรม หรืออื่นๆ ตามที่เราจะเรียก ซึ่งเป็นเหตุให้มนุษย์เราเป็นอยู่ด้วยสันติสุข ทั้งโดยส่วนตัวหรือโดยทางสังคม ความหมายของคำว่า “ธรรม” มีอยู่อย่างนี้ โดยอรรถะหรือความหมาย

เราจะทำการวิภาค คือจำแนกให้เป็นพวกๆ นั้นไม่ไหว เพราะมีมากมาย แต่เราอาจจะยกพวกใหญ่ๆ มากล่าว เช่นว่า ธรรมที่เป็นพวกศีลธรรมและสัจธรรม ที่เป็นพวกศีลธรรม ก็คือ ระเบียบวางไว้สำหรับความผาสุกของสังคมทั่วไป ไม่อาจประพฤติธรรมสูงสุดถึงมรรคผลนิพพานได้ แต่สามารถประพฤติเสมอหน้ากันในส่วนศีลธรรมที่ทำความสงบสุขของสังคมนี้ เราเรียกว่า “ศีลธรรม”


ส่วนสัจธรรมนั้นลึกซึ้งลงไปถึง การทำจิตใจให้เข้าถึงสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ไม่เคยนึกเคยฝัน คือสิ่งที่เรียกว่า มรรคผลนิพพาน สัจธรรมมีความมุ่งหมายอย่างนี้ นี่แสดงว่าธรรมส่วนที่เป็นศีลธรรม จำเป็นสำหรับสังคม ธรรมที่เป็นสัจธรรมก็มีไว้สำหรับปัจเจกชน แล้วแต่ใครมีความสามารถแสวงหา และประพฤติปฏิบัติได้เพียงไร นี่แหละคำตอบของคำถามที่ว่า “ธรรมคืออะไร” พอเป็นตัวอย่าง

ยังมีคำที่นักศึกษาทั้งหลาย จะผ่านหูผ่านตามากที่สุด คือคำว่า
ธรรม ที่เราได้ยินกันว่า ปริยัติธรรม ปฏิปัตติธรรม ปฏิเวธธรรม

ปริยัติธรรม คือ การเล่าเรียน จะเป็นการเล่าเรียนศึกษาอะไร ก็ย่อมสงเคราะห์เข้าในปริยัติธรรม เรียกว่า
ปริยัติธรรม ทีนี้พอทำจริงๆ ไปตามนั้น ไม่ได้หมายถึงการเรียน แต่หมายถึงการทำจริงๆ ตามนั้น เราเรียกว่า ปฏิปัตติธรรม ทีนี้ถ้าเป็นผลอันใดเกิดขึ้นมาอย่างถูกต้องตามนั้น ก็เรียกว่า ปฏิเวธธรรม คำว่า “ธรรม” จึงได้เป็น ปริยัติธรรม ปฏิปัตติธรรม และ ปฏิเวธธรรม

ถ้าทางฝ่ายศาสนา คำว่า “ปริยัติธรรม” ก็หมายถึง พระไตรปิฎก และเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระไตรปิฎก “ปฏิปัตติธรรม” ก็หมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างที่ได้ยินได้ฟังอยู่ทั่วไปแล้ว “ปฏิเวธธรรม” หมายถึง มรรค ผล นิพพาน แต่ว่าทั้งหมดนี้ เมื่อรวมสรุปแล้วจะเป็นเรื่องเรียนก็ดี เรื่องปฏิบัติก็ดี เรื่องได้ผลก็ดี ต้องเป็นไปเพื่อความดับทุกข์


เพราะฉะนั้นเราจึงเรียนเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ ปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ และได้ผลมาเป็นความดับทุกข์ ทั้งหมดเป็น “ธรรม” หมด ไม่มีอะไรเหลือ สรุปสั้นๆ ว่า สิ่งซึ่งอำนวยความดับทุกข์นี้คือ “ธรรม” ขอให้ทุกท่านมีความมุ่งหมายที่จะเข้าถึงสิ่งนี้ ใจความสำคัญสั้นๆ ของคำว่า “ธรรม” คืออะไร?” ก็มีอยู่อย่างนี้

ทีนี้เราจะมาถึงปัญหาข้อที่ ๓ ที่ว่า เราจะเกี่ยวข้องกับธรรมะด้วยอาการอย่างไร? ขออภัยที่จะขอแทรกคำว่า “เท่าที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า” เสียก่อน เพราะข้อนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องทราบ เพราะว่าเราได้รับธรรมะจากพระพุทธเจ้า ถ้าเอาพระพุทธเจ้ามาเป็นหลักสำหรับศึกษาเกี่ยวกับธรรม เราอาจจะแยกธรรมออกเป็น ๓ ฝ่าย คือ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านนำมาสอน และธรรมะที่ท่านทรงรับจากภายนอกเข้ามา จะกล่าวตามลำดับ :

อย่างแรก ธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ ควรจะเข้าใจถึงคำว่า “สัพพัญญู” คำว่า สัพพัญญู แปลว่า รู้ทุกอย่าง แต่เรามักจะเข้าใจผิดๆ ท่านที่เป็นนักศึกษาไม่ควรจะเข้าใจผิด ควรเข้าใจให้ถูกว่า


คำว่า สัพพัญญู นี้คือ รู้ทุกอย่างเฉพาะที่ควรรู้ เท่าที่ควรรู้ก็คือ เท่าที่จะดับทุกข์ได้สิ้นเชิง ไม่ได้หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างไปหมด

ขออภัย ไม่ใช่ว่าเราจะลบลู่พระคุณของพระพุทธเจ้า แต่เพื่อนิสิตทั้งหลายจะเข้าใจง่าย แม้ว่าท่านเป็นสัพพัญญู ถ้าว่าให้ท่านตรัสพูดเป็นภาษาจีนเดี๋ยวนี้ ท่านจะพูดได้ไหม? นี่มันไม่ใช่เรื่องในวงของสัพพัญญู วงของสัพพัญญูมีอยู่เฉพาะ แต่ว่าจะทำความดับทุกข์ได้หมดไปอย่างไรเท่านั้น แต่ว่าท่านยังคงทำให้คนจีนรู้เรื่องของท่านได้ ทั้งที่ท่านไม่ต้องพูดภาษาจีน ดังนี้เป็นต้น

รวมความแล้วก็คือว่า เรื่องต่างๆ ที่จะทำสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงให้พ้นทุกข์รวมทั้งตัวท่านเองแล้ว ท่านเป็นทราบหมด รู้หมด ไม่มีอะไรเหลือเลย นี่เรียกว่าสัพพัญญู ไม่มีความหมายเหมือนกับรู้ไปหมด รู้อย่างท่วมหัวแล้วเอาตัวไม่รอดซึ่งเราเป็นกันมากในสมัยนี้ หรือแทบทั้งโลก อย่างสมมุติว่าเราจะเอาความรู้ต่างๆ ในโลกที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้มารวมเข้ากันหมดแล้ว มันก็ยังไม่ดับทุกข์ให้แก่โลกได้ ความรู้อย่างนั้นไม่อยู่ในวงของสัพพัญญู สัพพัญญูจึงหมายถึง รู้ทุกอย่างเท่าที่จะดับทุกข์ให้สิ้นไปได้อย่างไร

สัพพัญญูนั้นรู้ธรรมะประเภทที่เรียกว่า อริยะ อริยธรรม. อริยะ แปลว่า ประเสริฐ แต่ความหมายตามตัวหนังสือนั้นแปลว่า ไปจากข้าศึก อริ แปลว่า ข้าศึก, ยะ แปลว่า ไป, อริยะ แปลว่า ไปจากข้าศึก หมายความว่า หมดข้าศึก หมดข้าศึกก็คือว่า หมดกิเลสและหมดทุกข์ ประเสริฐอยู่ตรงที่หมดกิเลสและหมดทุกข์ ฉะนั้นอริยธรรมหรือเญยยธรรม จึงหมายถึง ธรรมะที่ทำให้หมดกิเลสและหมดทุกข์ นี้เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้อย่างครบถ้วน อย่างที่เรียกว่า สัพพัญญู

ถ้าเราจะกล่าวธรรมะในฐานะที่เป็นของจริง หรือเป็นกฎเรียกว่า สัจจะ truth เราก็ยังต้องเรียกว่า อริยสัจจะ เราจะพูดว่าสัจจะเฉยๆ ไม่ได้ ต้องมีคำว่า อริยะ เข้ามาข้างหน้า เพราะว่าสัจจะเฉยๆ ไม่ได้ จริงไปเปล่าๆ ไม่มีประโยชน์อะไร ก็มีแต่ก็เป็นความจริงหรือของจริงเหมือนกัน ดังนั้นคำว่าสัจจะจึงกว้างหรือพร่าไป ต้องเอาคำอริยะมาใส่ไว้ข้างหน้าเป็นอริยสัจจะ จึงเป็นของที่ประเสริฐไปจากข้าศึก คือกิเลสและดับทุกข์ได้ นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้


ฉะนั้นเราจะต้องเข้าใจให้ดีๆ ว่าสิ่งที่เรียกว่าธรรมะหรือสัจจะหรืออะไรก็ตาม จะต้องมีความหมายของคำว่าอริยะ คือการมีค่าในทางดับทุกข์ เข้ามาเป็นความหมายที่สำคัญเสมอ

เดี๋ยวนี้เราไม่ใช้คำ “ธรรมะ” กัน แต่ใช้คำว่า “ศาสนา” แทน เช่นว่า
นับถือศาสนาอะไร พระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนา อย่างนี้เป็นต้น คำว่า “ศาสนา” นี้พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยใช้เลย เราใช้กันเองในภายหลัง ท่านใช้คำว่า ธรรม หรือ พรหมจรรย์

อย่างในประเทศอินเดียสมัยพุทธกาล ถ้าเราพูดกันเดี๋ยวนี้ว่า ท่านนับถือศาสนาอะไร เขาจะพูดว่า ท่านชอบใจธรรมของใคร คือท่านชอบใจ ธรรมะของพระสมณโคดม หรือ ธรรมะของนิคันถนาฏบุตร อย่างนี้เป็นต้น คำว่าศาสนาไม่มีใช้

คำว่าพรหมจรรย์” ไม่ได้แปลว่า เว้นจากการกระทำของบุคคลที่อยู่กันเป็นคู่ระหว่างเพศนั้นไม่ใช่ นั้นแคบที่สุด พรหมจรรย์ คือ การประพฤติอันประเสริฐ จะประเสริฐอย่างใดก็ตาม ที่ยกเป็นข้อประพฤติที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้มันประเสริฐอย่างยิ่ง เหนือกว่าความประพฤติทั้งหลายแล้ว เรียกว่า “พรหมจรรย์” ทั้งนั้น

ฉะนั้นพรหมจรรย์จึงหมายถึง การปฏิบัติเพื่อทำลายกิเลสให้หมดไปจนเป็นพระอริยเจ้า นี่เรียกว่า การประพฤติพรหมจรรย์ ฉะนั้นเมื่อท่านตรัสว่า เอหิ ภิกขุ พรหมจรยํจรถ แปลว่า “มาเป็นภิกษุเถิด จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดของทุกข์” ท่านใช้คำว่า พรหมจรรย์ แทนคำที่เราใช้กันว่า ศาสนา

ขอให้เข้าใจว่า คำว่าธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้นั้นหมายถึงสิ่งนี้ หมายถึง อริยสัจจะ อริยธรรม หรือ พรหมจรรย์ คือแบบแห่งการครองชีวิตอยู่อย่างประเสริฐชนิดที่กิเลสและความทุกข์ย่ำยีไม่ได้ นั้นเรียกว่า “พรหมจรรย์” นี้คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ มันต้องเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ทั้งนั้น


ทีนี้เราไม่ชอบสิ่งนี้เพราะไม่สนุก เราไม่ชอบเรื่องนอกเรื่องที่เรียกว่าปัญหาโลกแตก พออยากจะถามปัญหาทางธรรมะ เราก็ถามว่า ตายแล้วเกิดไหม? อะไรไปเกิด? เกิดอย่างไร? ดังนี้เป็นต้น นี่มันไม่เกี่ยวกับพรหมจรรย์ ไม่เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านไม่ทรงยอมตอบคำถามเหล่านี้ ท่านทรงปัดออกไปว่าไม่ใช่เงื่อนต้นของพรหมจรรย์

เงื่อนต้นของพรหมจรรย์นี้หมายความว่า เรื่องที่ไปจับฉวยเข้าแล้วมันจะนำไปสู่ความดับทุกข์โดยตรง เรียกว่าเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เราจะพูดกันแต่เรื่องที่มันจะนำไปถึงความดับทุกข์สิ้นเชิงเท่านั้น จึงจะเป็นการพูดกันด้วยเรื่องธรรมะหรือเป็นพระพุทธศาสนา ถ้าถามว่าตายแล้วเกิดไหม? อะไรไปเกิด? อย่างนี้ขอยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวข้องธรรมะเลย

ธรรมะหรือพรหมจรรย์ต้องเป็นไปเพื่อดับทุกข์โดยส่วนเดียว นี่เรียกว่ามันมีความหมายจำกัดอย่างยิ่งอย่างนี้ คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้นั้น หมายถึง ธรรมะ หรือสัจจะ หรือพรหมจรรย์ รวมกันเข้าแล้วก็คือ แบบแห่งการเป็นอยู่ชนิดที่ความทุกข์และกิเลสจะเข้าครอบงำย่ำยีไม่ได้
      
ทีนี้ก็มาถึงสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะที่พระองค์ทรงสอน

ขอให้นักศึกษาทั้งหลายจดจำเอาประโยคข้อความที่สำคัญอย่างยิ่งประโยคหนึ่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย! แต่ก่อนนี้ก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี เราบัญญัติขึ้นสอนเฉพาะเรื่องทุกข์กับความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น” มันมี ๒ เรื่องเท่านั้น คือ เรื่องทุกข์ กับเรื่องดับไม่เหลือ เท่านั้น พระพุทธภาษิตยืนยันไว้ชัดอย่างนี้ เรื่องอื่นเป็นไปไม่ได้ตรัส และไม่ยอมตรัสถึง เพราะไม่ใช่เงื่อนต้นของพรหมจรรย์ดังที่กล่าวแล้ว

ถ้าท่านถูกถามโดยชาวต่างประเทศว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร สอนอะไร ต้องตอบเขาด้วยพระพุทธภาษิตนี้แหละว่า ปุพฺเพ จาหํ ภิกฺขเว เอตรหิ จ ทุกฺขญฺเจว ปญฺญาเปมิ ทุกฺขสฺสจ นิโรธํ แปลอย่างเมื่อตะกี้นั่นเอง ว่า “ภิกษุทั้งหลาย! เดี๋ยวนี้ก็ดี ก่อนหน้านี้ก็ดี เราบัญญัติสอนเฉพาะเรื่องทุกข์ และความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น” ฉะนั้นจึงให้ถือว่า นี่คือสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน


แต่สิ่งที่เรียกว่า ทุกข์ นั้นอาจขยายออกไปเป็น มูลเหตุของมัน ด้วย และ ความดับทุกข์ นั้นขยายออกไปเป็น วิธีที่จะให้ได้มาซึ่งความดับทุกข์ นั้นด้วย จึงเป็น ๒ คู่ หรือ ๔ อย่าง นี้เราเรียกว่า อริยสัจจ์สี่ หรือจตุราริยสัจจ์ นิสิตทั้งหลายจะเห็นได้ทันทีว่า มันไม่ใช่เรื่องครึหรือเรื่องพ้นสมัย หรือเรื่องของใครอื่น แต่เป็นเรื่องสำหรับมนุษย์ทุกคนจะต้องรู้และปฏิบัติให้เด็ดขาดลงไปจนทำลายความทุกข์เสียได้

ถ้าจะให้สรุปเป็นรูปปรัชญาหรืออะไรทำนองนั้น มันก็มีอยู่ประโยคหนึ่ง คือเรื่องมีอยู่ว่า เมื่อมีคนไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ในบรรดาคำสอนทั้งหมดที่พระพุทธองค์ได้ทรงสอนไปนี้ ถ้าจะสรุปให้สิ้นเหลือเพียงประโยคเดียวจะได้ไหม? และว่าอย่างไร? พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ได้ และท่านตรัสสรุปว่า “สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” เป็นบาลีว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย


ธรรมทั้งหลายทั้งปวงในที่นี้ หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ว่ามาแล้วข้างต้น โดยไม่ยกเว้นอะไรนับตั้งแต่ฝุ่นละอองเม็ดหนึ่ง จนถึงสิ่งที่มีค่าและถึงที่สุดที่พระนิพพานรวมอยู่ในคำว่า“ธรรม” ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทุกสิ่งนี้ แล้วทรงยืนยันต่อไปอีกว่า ถ้าฟังข้อนี้แล้วเป็นได้ฟังทั้งหมดที่ฉันสอน ถ้าได้ปฏิบัติข้อนี้แล้ว เป็นได้ปฏิบัติทั้งหมดในพระพุทธศาสนานี้ ถ้าได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติในข้อนี้แล้ว เป็นอันว่าได้รับประโยชน์ทั้งหมดที่จะได้รับจากพระพุทธศาสนา

ทั้งนี้ก็เพราะว่า ความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวเราหรือของเรานั่นแหละ เป็นมูลเหตุให้เห็นแก่ตัว และผิดศีลผิดวินัย ผิดอะไรต่างๆ ที่ไม่ควรจะทำทั้งหมด แล้วก่อให้เกิดกิเลสตัณหาต่างๆ นานาชนิด จนกระทั่งเป็นทุกข์สิ้นเชิง มีมูลมาจากความยึดมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่า “เรา” หรือว่า “ของเรา” ทั้งนั้น

ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้งไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็จะไม่มีความเห็นแก่ตัว ก็ไม่มีทางผิดศีล ผิดพระวินัยได้ ไปพิจารณาดูเองจะเห็นได้ว่าขาดศีลข้อไหนก็ตาม ผิดกฎข้อไหนก็ตาม เป็นเพราะความเห็นแก่ตัว อยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งทั้งนั้น จึงขอให้จำไว้สำหรับโต้ตอบกับชาวต่างศาสนาต่างชาติว่า


หัวใจของพุทธศาสนาทั้งหมดอยู่ที่ประโยคๆ นี้ ในฐานะที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้เอง นอกนั้นที่เรียกหัวใจพระพุทธศาสนานั้น พวกเราชั้นหลังว่าเอาเอง พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัส สรุปกันอย่างนั้นอย่างนี้ก็มีเยอะแยะไป แต่ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเองมีอย่างนี้

ถ้าปฏิบัติข้อนี้ก็เป็นอันว่าปฏิบัติครบหมดทุกๆ อย่าง และเพราะว่า ความไม่เห็นแก่ตัว คือความที่ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ว่าตัวว่าของตัวนั่นแหละ คือความดับทุกข์ วิธีดับทุกข์ทั้งหมดไม่ว่าวิธีไหน จะต้องสรุปลงมาที่นี่ เรารักษาศีลทุกข้อ ก็เพื่อขจัดความเห็นแก่ตัว สมาธิ ก็ระงับความเห็นแก่ตัวให้ระงับไป
ทำวิปัสสนาหรือปัญญา ก็เพื่อให้ถอนทำลายล้างรากเง้าของความเห็นแก่ตัวให้หมดจากนิสัยสันดาน

การบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็คือการหมดความเห็นแก่ตัวตามลำดับๆ จนหมดสิ้นเชิง ไม่มีความยึดถือว่าตัวของตัว จึงเป็นที่รวมหมดของใจความสำคัญของพระพุทธศาสนาทั้งหมดอย่างนี้ นี่เรียกว่า ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงสอน

ทีนี้ ก็จะกล่าวถึงธรรมะ ประเภทที่พระพุทธองค์ทรงยอมรับเข้ามาจากภายนอก หมายความว่า แต่ก่อนที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติเหตุบังเกิดขึ้นก็มีคนที่สอนธรรมะอยู่แล้ว พระพุทธองค์ทรงประสบปัญหาที่ว่าจะทรงปฏิเสธหรือรับรองคำสอนเหล่านั้นอย่างไรดี ในที่สุดก็เป็นอันยุติว่า สิ่งใดที่เข้ากันได้กับคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะสอน ก็ทรงยอมรับเอามา ข้อนี้ทำให้เกิดมีคำว่า สนนํตน หรือคำสอนที่เป็นของเก่าขึ้นมา เช่นคำสอนที่ว่า

น หิ เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ แปลว่า เวรย่อมไม่ระงับด้วยเวร ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว อเวเรน จ สมฺมนฺติ เวรย่อมระงับด้วยความไม่มีเวร แล้วก็ลงท้ายด้วยคำว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน - นี้เป็นของเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งไหนไม่มีใครทราบมาก่อน พระพุทธเจ้าท่านรับเอามาสอน แล้วยังบอกว่าเป็น สนนฺตน ที่เก่าโบราณ

หรือคำว่า อหึสา ปรโม ธมฺโม ความไม่เบียดเบียนกันเป็นธรรมะอย่างยิ่ง แม้นี้ก็เป็นของเก่าแก่ เป็น สนนฺตน โบราณ เราไม่อาจจะทึกทักว่าประโยคนี้ เป็นของพระพุทธศาสนา เราหาไม่พบว่าเป็นพุทธภาษิตในพระไตรปิฎก แต่ก็ยอมรับว่านี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง การสอนไม่เบียดเบียนนั้น เป็นธรรมะก็มีอยู่เก่าแก่อย่างนี้

ในส่วนสัจธรรมก็มี เช่นว่า นิพพาน พระอรหันต์ นี้เขาสอนกันอยู่ก่อนพระพุทธเจ้า แต่มีความหมายเป็นอย่างอื่น พระอรหันต์ของเขามีความหมายเป็นอย่างอื่นมาก่อน พอพระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้แล้ว ท่านทรงสอนเกี่ยวกับพระอรหันต์ เกี่ยวกับพระนิพพาน ท่านบัญญัติความหมายว่าเป็นอย่างนี้ๆ


เช่นว่า นิพพานที่จะเป็นความเพียบพร้อมอิ่มเอิบด้วยกามคุณ อย่างที่คนบางพวกบัญญัติดังที่ปรากฏในพรหมชาลสูตรอย่างนี้ไม่ได้ หรือว่านิพพานจะเป็นเพียงสุขที่เกิดจากฌานชั้นลึก อย่างจตุตถฌานเป็นต้น เหมือนที่กล่าวไว้ว่าในพรหมชาลสูตรนั้นอีกเหมือนกัน อย่างนั้นก็ไม่ได้ นิพพานต้องเป็นความสิ้นกิเลสโดยสิ้นเชิงอย่างนี้ๆ ทีเดียว

นี้เรียกว่าท่านทรงรับเอาคำ หรือรับหลักเกี่ยวคำนั้นๆ มาใช้ แล้วท่านก็ให้ความหมายใหม่อย่างนี้ก็มี นี้เรียกว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านทรงรับเข้ามาเป็นคำสอนของท่านด้วย เป็นคำสอนในวงของศาสนานี้ด้วย อย่างนี้ท่านก็ต้องเข้าใจไว้ อย่าไปตู่เขา เพราะพระพุทธเจ้าท่านไม่ทรงประสงค์อย่างยิ่งที่จะตู่คนอื่น หรือจะให้สาวกของท่านตู่คนอื่น เพราะฉะนั้น พวกเราที่เป็นสาวกนี้จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง ที่จะไม่ทำให้พระพุทธเจ้าท่านถูกกล่าวหาว่า ตู่คำสอนของลัทธิหรือของศาสนาอื่น

ท่านจะต้องจำไว้เป็นหลักว่า ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน และธรรมที่พระพุทธองค์ทรงรับเข้ามาจากภายนอก หรือลัทธิอื่นที่มีอยู่ก่อนแต่ยังใช้ได้ นี้ก็รวมอยู่ในคำอธิบายของคำว่า ธรรมะคืออะไร

ข้อสุดท้ายที่ว่า เราจะเกี่ยวข้องกับธรรมะด้วยอาการอย่างไร? เราจะต้องรู้สึกสำนึกได้ดีว่า เราในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งก็มี พร้อมกันนั้นเราในฐานะที่เป็นคนไทยเป็นพุทธบริษัทก็มี และแคบเข้ามาเราในฐานะที่เป็นนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ก็มี

เราจะต้องรู้จักเข้าไปเกี่ยวข้องกับธรรมะให้เหมาะสม ในฐานะที่เป็นมนุษย์ คือมีจิตใจสูงสมคำว่ามนุษย์ ที่แปลว่า มีจิตใจสูงจนน้ำท่วมไม่ได้ กิเลสคือความทุกข์ เรียกว่าน้ำนี่แหละท่วมแล้วก็หมดความเป็นมนุษย์ เราต้องอยู่ในสภาพที่อย่างน้อยก็อยู่เหนือกิเลสไว้ตามสมควร

ในฐานะที่เราเป็นคนไทย ความหมายของคำๆ นี้ ดีที่สุดอยู่แล้ว แปลว่า อิสระ แต่ว่าเราอิสระหรือยัง ก็ต้องวินิจฉัย อะไรเป็นเครื่องทำความอิสระ? ไม่มีอะไรนอกจากธรรมะ! ธรรมะจะให้เราเป็นอิสระจากกิเลส เป็นอิสระจากความรู้สึก ว่าเป็นทาสทุกอย่างว่าทางไหนหมด

ในฐานะที่เราเป็นพุทธบริษัท ก็แปลว่า เราจะต้องเป็นพุทธบริษัทได้ถูกต้องตามความหมาย พุทธ แปลว่า รู้ว่าตื่น ว่าเบิกบาน เราจะต้องรู้ว่า อะไรเป็นอะไร โดยเฉพาะเรื่องความดับทุกข์ เมื่อรู้แล้ว ก็เรียกว่า เราตื่นนอน คือตื่นจากหลับ หลับคือไม่รู้ หลับคือกิเลส พอเราตื่นแล้ว เราก็เบิกบานเหมือนกับดอกไม้ที่กำลังเบิกบานอยู่อย่างนี้

นิสิต นักศึกษาไม่ว่าใครหมด ถ้าจะเป็นพุทธบริษัทกันให้ถูกต้อง ก็จะต้องทำตนให้เข้าถึงความหมายของคำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จึงจะเป็นพุทธบริษัทได้ ทีนี้ถ้าเรายังเป็นเด็กหรือหนุ่มสาวที่กำลังเรียกตัวเองว่านิสิต
กำลังอาศัยผู้รู้ทำการศึกษาอยู่ ก็แปลว่า ผู้ที่จะรู้ จะตื่น จะเบิกบาน กำลังจะรู้ จะตื่น จะเบิกบาน หรือว่าจัก จักคือแน่นอน จักรู้ จักตื่น จักเบิกบานโดยแน่นอน ขอให้เข้าใจความหมายของคำว่า นักศึกษา หรือนิสิตในฐานะที่เป็นพุทธบริษัทไว้อย่างนี้

ถ้าหากว่าความรู้อย่างอื่น ที่เราเรียนเราศึกษากันเป็นควันอยู่นี้ ไม่สามารถทำให้เรารู้ เราตื่น เราเบิกบานได้แล้ว ขอได้เข้าใจเถิดว่ามันยังไม่พอ ที่จะทำให้เราเป็นนิสิตที่ถูกต้องหรือทำให้เราเป็นพุทธบริษัทที่ดี ถ้าความรู้ทางโลกๆ ทั้งหมดให้ได้แต่เพียงทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ ความเด่นในสังคม หรืออะไรทำนองนั้น แต่ไม่ทำให้รู้ ให้ตื่น ให้เบิกบานเกี่ยวกับความดับทุกข์ได้แล้ว พึงถือว่ายังไม่พอต้องขวนขวายต่อไป จนได้ถึงวัตถุที่ประสงค์มุ่งหมายนี้


ขอให้ถือว่าอันนี้แหละวัตถุประสงค์ของการที่เราตั้งกลุ่มเพื่อจะศึกษาพุทธศาสตร์ เพื่อเป็นพุทธบริษัทขึ้นมา ราจะรู้ จะตื่น จะเบิกบาน เรากำลังจะรู้ จะตื่น จะเบิกบาน และเราจักรู้ จักตื่น จักเบิกบานให้จงได้

เมื่อเราจะดูให้ละเอียดออกไปถึงข้อที่ว่า ในชีวิตประจำวันของเราผู้เป็นนิสิตอย่างนี้ เราใช้ธรรมะได้โดยวิธีไหนกัน? ขอให้ระลึกย้อนกลับไปถึงข้อที่ได้กล่าวเมื่อตะกี้หยกๆ ว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวมอยู่ในประโยคว่า “สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น” ข้อนี้อาจเข้าใจผิดกันไปมาก เช่น


เข้าใจไปว่า ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้วจะทำไปทำไม? จะเรียนไปทำไม? แต่ทางที่ถูกนั้น ท่านต้องการให้คนเราทุกคนทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยจิตที่ไม่ยึดมั่น ฉะนั้นจึงเข้าใจยากว่า จิตว่าง หรือ จิตไม่ยึดมั่นถือมั่น นี้มันเป็นอย่างไร? แล้วทำไมมันจึงทำการงานได้ เรียนได้ ทำอะไรก็ได้ ฉะนั้นจะต้องอธิบายคำว่า จิตที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นนี้ ตามสมควร และด้วยการเปรียบเทียบเหมือนอย่างว่า

คนจะยิงปืน ยกปืนขึ้นมาจะยิง ถ้าเขาจะเป็นนักยิงปืนที่ดี เขาจะต้องมีจิตว่างไม่ยึดมั่นถือมั่น คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวเราหรือตัวกูนี้ว่ากูจะยิงให้ถูก จะได้รางวัล จะมีชื่อเสียง เป็นต้น ความคิดที่เป็นความรู้สึกว่ามีตัวเรา หรือมีของเรานี้ต้องเอาออกไปให้หมด ให้เหลือแค่จิตว่าง เหลือแต่จิตที่ตั้งใจจะยิง และมุ่งหมายที่จะยิงให้ถูกเท่านั้น อย่างนี้จึงจะเรียกว่า สมาธิ

คำว่า
สมาธิ นั้นเข้าใจผิดๆ เช่นว่า จะต้องมี ambition ของผู้นั้นรุนแรง แล้วก็ลงมือทำไปอย่างรุนแรง ดังนี้แล้วจะยิ่งไม่ได้ คือจะยิ่งยิงผิด เพราะว่าใจมันสั่นระรัวอยู่ โดยที่หวั่นว่าตัวเราจะยิงไม่ถูกหรืออะไรทำนองนั้น ความยึดมั่นว่าด้วยตัวเราว่าของเรามันเข้าไปทำให้วุ่นไม่ว่าง เอา “ตัวเรา” ออกไปเสียไม่รู้ไม่ชี้ ไม่มีเราในขณะนี้ นี้มีแต่มือหรืออวัยวะพร้อมด้วยความรู้สึกที่ตั้งใจจะยิงให้ถูกอย่างเดียว มันก็เลยยิงถูกทุกที ในนิกายเซ็นของญี่ปุ่นบางแขนง เขาจึงมีพวกที่ฝึกยิงศรอยู่เป็นปีๆ โดยวิธีนี้แหละ ยิงศรแม่นเหมือนกับปาฏิหาริย์อย่างนี้เป็นต้น

อย่างที่ง่ายกว่านั้น ที่ว่าจิตว่างนั้น เช่นว่าเด็กคนหนึ่งร้องเพลงอยู่ตามธรรมดาของเขา ไม่มีความหมายอะไร อย่างที่เราเรียกว่าร้องเพลงหงิงๆ นี่ก็เรียกว่าในขณะนั้นเขามีจิตว่างอยู่ไม่มีความทุกข์ ทีนี้ถ้าคนนั้นร้องเพลงด้วยความกำหนัดด้วยความรัก หรือด้วยมีความหมายระหว่างเพศนั้น ไม่ใช่มีจิตว่าง เป็นจิตวุ่น และจะต้องเป็นทุกข์

อีกตัวอย่างหนึ่งว่า คนแจวเรือจ้างเหงื่อไหลกลางแดดหรือทวนน้ำดังนี้ ถ้าเขามีจิตว่าง เขาก็ร้องเพลงได้ และแจวเรือไปด้วยความสบายใจและร้องเพลงได้ แต่เผอิญประเดี๋ยวนั้นก็เกิดความคิดวุ่นขึ้นมา ก็มีตัวกูตัวตนขึ้นมา คิดถึงลูกเมียครอบครัวขึ้นมา จิตเขาวุ่นเขาก็ร้องเพลงไม่ออก แล้วเป็นทุกข์เหมือนกับตกนรกทั้งเป็นขึ้นมาทันที

ฉะนั้น เป็นอันว่าเราสามารถทำอะไรทุกอย่างด้วยจิตวุ่นหรือจิตว่างแล้วแต่กรณี และขอให้สังเกตว่าในขณะที่ว่างนั้นแหละคือไม่มีความยึดถืออะไร ว่าเป็นเราหรือเป็นของเรา และเรียกว่ามีจิตว่าง

ในการที่จัดดอกไม้จัดแจกันดังนี้ ที่เขาสอนกันมากในประเทศญี่ปุ่นจะต้องทำจิตให้ว่างเสียก่อน แล้วจึงเสียบดอกไม้ลงในที่เสียบ ดังนี้ พอเสร็จแล้วจะมีความหมายอย่างหนึ่งทีเดียวในดอกไม้ทั้งกลุ่มนั้น. ถ้าตนมีจิตวุ่นวายอยู่ด้วยความคิดว่าจะเอาชนะ วุ่นอยู่ด้วยตัวกูจะเด่นในการจัดดอกไม้นี้ เสียบลงไปแล้วมันจะได้เป็นอีกรูปหนึ่งต่างหาก ตัวครูบาอาจารย์ที่สอนวิชานี้ พอเขามาดูก็ดูออกหมดว่า แจกันนี้ถูกจัดด้วยคนจัดที่มีจิตวุ่นหรือจิตว่างมากน้อยเท่าใด

เป็นอันว่าจิตว่างจะทำงานไปได้อย่างหนึ่ง จิตวุ่นจะทำงานได้อีกอย่างหนึ่ง นี่เป็นเรื่องที่ขอแก้ปัญหาของผู้ที่เข้าใจว่า จิตว่างแล้วทำอะไรไม่ได้ บางคนมากกว่านั้น คือเข้าใจไปว่าพอจิตว่างก็แข็งเป็นก้อนหินท่อนไม้ไปเลยดังนี้

ในที่สุดเราต้องใช้หัวใจของพุทธศาสนาในประโยคที่ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเรา ว่าของเรา นั่นแหละเอามาเป็นหลักในการพูด การคิด การทำทุกอย่าง ก่อนทำงานก็ต้องมีจิตว่าง ทำงานอยู่ก็ต้องมีจิตว่าง ได้รับผลของงานก็ต้องมีจิตว่าง มิฉะนั้นเราจะเป็นทุกข์ตลอดสาย


จนถึงกับอาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าจิตว่าง งานทุกอย่างจะเป็นสุข แม้แต่งานถูพื้นหรือว่างานโกยท้องร่องที่เหม็น งานจะเป็นสุขไปหมดถ้าจิตว่าง พอจิตวุ่นแล้ว งานอะไรก็ตามจะเป็นทุกข์ไปหมด แม้แต่งานที่เราเคยพอใจว่าสนุกน่าทำ มันก็ยังเป็นทุกข์ไปหมด เป็นอันว่า จงพยายามอยู่ด้วยจิตที่ว่างจากความเห็นแก่ตัว ว่างจากเรา ว่างจากการยึดถือว่าตัวตนของเรา ก็เป็นอันว่ามีชีวิตประจำวันอยู่ด้วยหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์

ข้อสุดท้าย ที่เป็นปกิณณกะก็คือ ข้อที่ว่าท่านจะต้องระวัง กิเลสนี้เป็นสิ่งที่ละได้โดยยาก ซึ่งอาตมาจะขอเล่าไว้ในรูปของนิทาน โดยที่แท้สิ่งที่เรียกว่านิทาน หรือนิทานชาดกนั้น มันเป็นเหมือนกับภาชนะที่ใส่ของมีค่า หรือเก็บรักษาของมีค่าให้คงอยู่ได้ ขอท่านอย่าได้เห็นว่าภาชนะเป็นของไม่สำคัญ จนถึงกับไม่สนใจไปเสีย เหมือนอย่างว่าเราจะหุงอาหาร โดยไม่มีหม้อมีถาดเราจะทำอย่างไร ฉะนั้นภาชนะจึงเป็นของจำเป็นในกรณีที่จะต้องรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ให้สำเร็จประโยชน์ ธรรมะนี้ก็เหมือนกัน สรุปใส่ไว้ในภาชนะคือ ชาดกหรือนิทาน

ขอให้ไปอ่านพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงวิจารณ์คุณค่าของชาดกไว้ที่เล่มต้นหรือเล่มแรกของหนังสือชุดชาดกที่นิพนธ์ในรัชกาลนั้น ท่านจะเข้าใจความหมายของคำว่าชาดกหรือนิทาน แต่เดี๋ยวนี้ก็อีกนั่นแหละ พอเรามีภาชนะแล้วเราก็ติดอยู่ที่ภาชนะ เห็นชาดกหรือนิทานเป็นเพียงเรื่องอย่างนั้นอย่างนี้เสีย เข้าถึงความหมายของชาดกไม่ได้ เราจึงเลยดูถูกดูหมิ่นชาดก หรือนิทานที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนาตั้งเยอะแยะนั้นแหละ


แต่ให้ลองเอาความจริงของสิ่งนี้ออกมาให้ได้ และอย่าไปเข้าใจว่า ความจริงมันอยู่ที่ว่า สัตว์พูดได้ ต้นไม้พูดได้ดังนี้ไม่ใช่ มันอยู่ที่ว่าเขาพูดว่าอย่างไร นั่นมันสำคัญที่สุดอย่างนั้น อย่างนิทานที่เราชอบเล่ากันมากที่สุดเรื่องหนึ่ง และอาตมาก็อยากจะนำมาฝากนิสิตทั้งหลาย ก็คือ นิทานเรื่อง ตากะยาย

ยายกะตาสองคนผัวเมีย อยู่ด้วยกันมานานแล้ว แต่นิสัยตรงกันข้าม ยายเป็นคนกระด้าง ตานั้นเป็นคนอ่อนโยน เพราะมีธรรมะกับๆ ไม่มีธรรมะนั่นเอง ทีนี้นานเข้าก็เหลือวิสัยที่ตาจะทนไหว เพราะยายกระด้างยิ่งขึ้นทุกที ก็ต้องตัดสินใจบริจาค บริจาคก็คือว่า ห้ามว่าอย่าไปเที่ยวในป่า ก็ยิ่งจะไป ห้ามว่าอย่าเข้าไปใกล้เหวจะตก ก็ยิ่งเข้าไปใกล้ อย่าทูนก้อนหินหนักๆ เข้าไปใกล้เหว ก็ยิ่งจะทูน แล้วยายก็พลัดตกไปจริงๆ

ทีนี้เรื่องมันมีต่อไปว่า ปีศาจที่อยู่ในเหวนั้นขึ้นมาได้ เพราะพ้นจากคำสาปที่ว่าพอมีคนตกลงไปแทนแล้ว ให้ขึ้นมาได้ พอขึ้นมาได้แล้วก็อาละวาดคน เที่ยวสิงคน โลกก็โกลาหลวุ่นวายใหญ่ เพราะว่าแต่ก่อนนี้ไม่เคยมีผีสิงคน เดี๋ยวนี้ผีสิงคนก็เอะอะกันทั้งบ้าน ตาก็มาดูกับเขาด้วยเหมือนกัน


ทีนี้ผีเห็นตามาแต่ไกลก็เลยหนี เพราะผิดสัญญาที่สัญญากะตาไว้ ว่าขึ้นมาจากเหวแล้วอย่าไปเที่ยวยุ่งกับคน ผีวิ่งหนี ตาไล่ตี ในที่สุดผีล้มฟาดภูเขา น้ำมันในกะโหลกศีรษะกระเด็นไปทั่วโลกลงไปในสิ่งที่ต่อมาล้วนเกิดปัญหา เป็นความยุ่งยากของโลก เช่น กัญชา ยาฝิ่น ฯลฯ อย่างนี้

น้ำมันผี ลงไปในสิ่งเสพติดของละยาก ลงไปในบ่อนไพ่ก็ละยาก ลงไปในน้ำชากาแฟ แม้แต่บุหรี่กำลังสูบกันอยู่ นี้ก็ยังละยาก ทำให้เสียเงินไปปีหนึ่งไม่รู้กี่ร้อยล้าน หรือว่ามันจะลงไปในที่บางแห่งที่มากขึ้นไปอีก ที่ทำให้นักศึกษาบางคนแอบขายปากกาหมึกซึมปลอกทอง ไปเสียค่าเต้นรำ ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น แล้วก็ไปบอกพ่อแม่ว่าหายหรือไปซื้อของพอดีพอร้ายมาใช้แทน อย่างนี้คิดดูซิว่ามันเป็นอย่างไร? มันเป็นความละยากของอะไร?

ความละยากของกิเลสนี้ ขอให้แปลความหมายว่า มันเป็นความละยากอย่างยิ่ง จนถึงกับว่าเหมือนกับน้ำมันผี ไม่มีสบู่ที่จะล้างมันออกได้ ปรากฏอยู่แก่ผู้ที่ได้รับผลร้ายของมันอยู่ทุกคนแล้ว ว่าแต่ว่านิทานหรือภาชนะนี้ไม่สำคัญ มันสำคัญอยู่ที่ว่า เขาหมายความว่าอย่างไร เขาหมายความว่าก่อนหน้านี้ไม่มีผีอยู่ในโลก มันเพิ่มขึ้นเมื่อมีกิเลสของคนเรา เพราะมันมีความดึงดูด


ด้วยการที่มนุษย์นั้นฉลาดแต่ในการที่มอมกันด้วยการคิดประดิษฐ์ประดอยสิ่งนั้นสิ่งนี้ต่างๆ มอมกันให้มึนเมาในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสอย่างยิ่ง มันจึงละยาก จนสภาพการณ์อย่างนี้มีขึ้นในโลกทั่วไป จนกระทั่งนักศึกษา เช่น ลูกศิษย์ก็ไม่เคารพครู อย่างนี้เป็นต้น เพราะตกอยู่ในสิ่งที่ดึงดูดเหล่านี้ ความเป็นอ้ายอ๊อดก็ละไม่ได้ คงดื้อต่อบิดามารดาของมันอยู่เรื่อยไป นี้ถ้าไม่ทราบ ไม่เข้าใจถึงสิ่งนี้ละก็ ไม่มีทางที่จะเข้าถึงสิ่งที่จะพึงได้จากธรรมะแต่อย่างใด

ฉะนั้น จึงหวังว่าบรรดานิสิต นักศึกษาทั้งหลายจะได้พิจารณาในสิ่งที่เล่าให้ฟังมาแล้วนี้เป็นอย่างดี จนกระทั่งได้ทราบว่า ธรรมะคืออะไร และเราไปเกี่ยวข้องได้อย่างไร โดยไม่มีอุปสรรคและให้ประสบความสำเร็จในการมุ่งหวังจากการที่สร้างกลุ่มพุทธบริษัท แม้เพียงในวงนักศึกษาขึ้นมาในสโมสรมหาวิทยาลัยนี้ อย่างสำเร็จประโยชน์ทุกประการเทอญ

ธรรมกถาที่บันดาลเกิดมีขึ้นได้โดยพระเมตตา

สิ้นสุดลงด้วยเวลาเพียงเท่านี้ ขอถวายพระพร.


4.png


***หมายเหตุ:

(๑) คัดจาก น.ส.พ.พุทธศาสนา รายตรีมาศ ของคณะธรรมทาน-ไชยา ปีที่ ๒๙ เล่ม ๓-๔ สิงหาคม-พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๔
(๒) พระอิสริยยศในขณะนั้น



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:34, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyODB8MzI4ZGU1ODN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-5 23:59, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2ODB8NGI0MTcwYWF8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 07:59

คำแปลปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษ

เรื่อง

๓. ลักษณะที่น่าอัศจรรย์บางประการของพุทธศาสนาอย่างเถรวาท


แสดงในงานฉัฏฐสังคายนา ที่ประเทศพม่า พ.ศ.๒๔๙๗

โดย
พุทธทาส อินฺทปัญโญ

1.png



      เพื่อนร่วมการเกิดแก่เจ็บตายทั้งหลาย !


     ข้าพเจ้าขอโอกาสเพื่อแสดงธรรมกถานี้ ในฐานะเป็นเครื่องหมายแห่งการแสดงความเคารพสักการะของประชาชนชาวไทยทั้งปวง ต่อความยิ่งใหญ่และสง่างามของการทำฉัฏฐสังคายนาในความอำนวยการของสภาพุทธศาสนาแห่งสหภาพพม่า ภายใต้ความอุปถัมภ์ของ พณฯ ท่านอัคคมหาถิริถุธัมมะดร.บาอู และคณะรัฐบาลของพณฯ ท่าน


     สิ่งแรก ที่ข้าพเจ้าจะกล่าวแก่ท่านทั้งหลายในบัดนี้ ก็คือ ความรู้สึกปิติยินดีของผองพุทธบริษัทชาวไทย ทั้งบรรพชิตและฆราวาส ในการที่ปวงชนชาวพม่าได้พากันทุ่มเทกำลังกายกำลังใจ กำลังทรัพย์ และอื่นๆ ในการประกอบการทำฉัฏฐสังคายนาอันประเสริฐครั้งนี้ เพื่อสักการบูชาความยิ่งใหญ่และสูงส่งของพุทธศาสนา ที่ล่วงกาลมาถึงวาระที่จะครบ ๒๕๐๐ ปี การทำเพื่อความบริสุทธิ์ผุดผ่อง และความยั่งยืนมั่นคงของหลักธรรมแห่งเถรวาทเช่นนี้ อย่าว่าแต่มนุษย์ทั่วไปเลย แม้แต่ทวยเทพในแดนสวรรค์ ซึ่งกำลังเพลิดเพลินอยู่ในกามสุขก็จักต้องหยุดการทำเช่นนั้นชั่วคราว เพื่อมาทำอนุโมทนาสาธุการต่อกิจการของเราด้วยโดยไม่ต้องสงสัยเลย

     สิ่งถัดมา ที่เป็นคุณประโยชน์ในการกล่าว ก็คือ ความภาคภูมิใจในการที่ประเทศทั้งสองของเรานี้ ยังคงเป็นเหมือนป้อมค่าอันมั่นคงของลัทธิเถรวาทแต่ต้นมาจนบัดนี้ แท้จริงลัทธิเถรวาทในผืนแผ่นดินไทย ตามภูมิศาสตร์ในปัจจุบันนั้น ได้เคยประสพวิกฤติการณ์ในการปะทะกับลัทธิอาจาริยวาทหรือมหายานถึงสองสมัย กล่าวคือ ในสมัยศรีวิชัยทางตอนใต้สุดของประเทศครั้งหนึ่ง และในยุคสมัยที่กษัตริย์ผู้นับถือลัทธิมหายานจากต่างประเทศเข้ามายึดครองในบางส่วนทางภาคกลางของประเทศ อันเรียกกันว่าสมัยลพบุรีนั้นอีกครั้งหนึ่ง ในระยะเวลาอันไล่เลี่ยกัน คือในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ แต่อย่างไรก็ตาม ลัทธิเถรวาทของประเทศไทยก็ยังบริสุทธิ์ผุดผ่องมั่นคงสืบมา ทั้งนี้ เป็นเพราะอำนาจความจริงแท้ในตัวลัทธิ ซึ่งเป็นความคงกระพันชาตรีอยู่ในตัวลัทธินั่นเอง ลัทธิเถรวาทในประเทศพม่า ข้าพเจ้าจึงคิดว่าคงไม่เคยประสพโชคชะตาอันขลุกขลักเช่นนี้ หวังว่าเพื่อนพุทธบริษัทชาวพม่าจักมีความเห็นใจพุทธบริษัทในประเทศไทยในข้อนี้เป็นอย่างมาก

     เรื่องถัดไปอีก ก็คือ ความศักดิ์สิทธิ์อย่างน่าอัศจรรย์แห่งสัมพันธไมตรีในระหว่างประเทศของเราทั้งสอง มีคนกล่าวว่า ประเทศไทยกับประเทศพม่านั้น ในสมัยบรรพบุรุษเคยวิวาทกันตลอดเวลา แล้วจักมีไมตรีอันปราศจากความระแวงต่อกันได้อย่างไร ข้าพเจ้าต้องขอโอกาสหยุดสักนิดหนึ่ง เพื่ออดกลั้นการยิ้มหัวในคำกล่าวข้อนี้ จงคิดดูเถิด ! โดยแท้จริงแล้ว กิเลสต่างหากที่ทำการวิวาทกัน หาใช่เราไม่ ! คนเรา เมื่อถูกกิเลสครอบงำเสียแล้วนั้น ก็ยังวิวาทกันถึงกับฆ่ากันตาย คู่สามีภรรยาที่รักเลือกกันอย่างยิ่ง ก็ยังวิวาทกันถึงกับเสียเลือดเนื้อ แต่หลังจากนั้นก็ยังมีทายาทสืบมาจากสามีภรรยาคู่นั้นได้อีกตั้งหลายคน ! ข้อนี้เป็นเพราะปัจจัยสำคัญอันเดียว คือความรักหรือไมตรี อันมีรากฐานตั้งอยู่บนความเคารพในธรรมเป็นสื่อ จึงไม่รู้จักสลาย


ในระหว่างประเทศของเราทั้งสองนั้น มีสัมพันธปัจจัยอันประเสริฐของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือตัวหลักธรรมอันบริสุทธิ์แห่งเถรวาทนั่นเอง เป็นเครื่องยึดหน่วงความรักฉันพี่น้อง และสามารถทำลายความระแวงทั้งปวงแต่หนหลังให้หมดไปโดยสิ้นเชิง ไม่มีอะไรที่น่าชื่นใจสำหรับเรายิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว ในโลกนี้ ! ไม่มีอะไรในพิภพนี้ ที่น่าบูชายิ่งไปกว่าหลักธรรมแห่งเถรวาทแล้ว สำหรับเรา ! ตลอดเวลาที่หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา ยังควบคุมหัวใจเราทั้งหลายอยู่ พายุอันร้ายกาจแห่งความอาฆาตจองเวรจากทุกทิศทางนั้น จักไม่ก่อรูปขึ้นได้อีกเลย ขอให้เราจงพากันยึดมั่นหลักธรรมแห่งเถรวาทนี้ เป็นเครื่องคุ้มครองอันศักดิ์สิทธิ์สำหรับเรา โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ทดลองกันอีกแต่อย่างใด


ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดแก่เราทั้งสองฝ่ายแล้วว่า การเสียสละทุกอย่างที่เราร่วมมือกันทำเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ผุดผ่องของพระพุทธศาสนาอย่างเถรวาท ไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคนทุกคนในประเทศทั้งสองของเรานั่นแหละ คือชีวิตของเรา ! ผิดไปจากนี้แล้ว เราจักต้องตาย ไม่ว่าในทางกายหรือทางวิญญาณ หรืออย่างน้อยก็จะได้รับทุกข์เจียนตาย โดยไม่ต้องสงสัยเลย


ลัทธิพุทธศาสนาของบางนิกาย ซึ่งเจือปนด้วยลัทธิพราหมณ์เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เหมาะสำหรับเราโดยแท้จริง ข้าพเจ้าจึงได้ย้ำมากเป็นพิเศษ ถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่อง และความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของพุทธศาสนาชนิดอย่างเถรวาท ฉะนั้นการร่วมแรงร่วมใจกันในการทำฉัฏฐสังคายนา ซึ่งโดยเนื้อแท้ย่อมเป็นการรักษารากฐานอันมั่นคงของหลักเถรวาทเรา จึงเป็นเสมือนหนึ่งการมีคลังแห่งปัจจัยอันเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงดวงวิญญาณแห่งประเทศของเราทั้งสองโดยตรงและของเพื่อนบ้านอื่นๆ ของเราทั้งโลกโดยปริยาย

     ข้าพเจ้าได้กล่าวอารัมภกถา ถึงเรื่องอันเกี่ยวกับชีวิตและความตายของประเทศทั้งสองของเรา ทั้งโดยตรงและโดยปริยาย มาพอสมควรแก่เวลา ที่จำกัดไว้ทั้งหมดเพียง ๑ ชั่วโมงแล้ว ต่อไปนี้ ข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงเนื้อหาของเรื่องที่จะกล่าวในวันนี้ กล่าวคือ เรื่อง “ลักษณะอันน่าอัศจรรย์บางประการของเถรวาทเรา” ต่อไปเท่าที่เวลาจะอำนวย


โปรดสังเกตว่าข้าพเจ้าจะกล่าวแต่เพียง “บางประการ” เท่านั้น ข้อนี้เพราะว่า นอกจากเวลาจำกัดแล้ว ความน่าอัศจรรย์ของลัทธิเถรวาทเรา ยังมีมาก และลึกซึ้งยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงเหลือวิสัยที่ข้าพเจ้าจะมีนำมากล่าวให้หมดสิ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนใดที่จะเป็นไปเพื่อความสุขสถาพรของมนุษยชาติโดยตรงแล้ว ข้าพเจ้าจะได้พยายามกล่าวถึงส่วนนั้นก่อนส่วนอื่น


หากข้อความตอนใด ได้ทำให้เกิดความรำคาญหรือยิ่งไปกว่านั้นแก่ท่านผู้ใดแล้ว โปรดยกโทษให้ เพราะว่าเจตนาอันแท้จริงของข้าพเจ้าผู้กล่าว ก็คือ “เจตนาเพื่อเสริมสร้างสิ่งสวัสดีร่วมกัน” กล่าวคือ มุ่งหมายจะนำไปสู่ความเข้าใจตามหลักเกณฑ์ของเถรวาทเรา อันถูกต้องแท้จริงเท่านั้น


บัดนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงความน่าอัศจรรย์ของความเป็นเถรวาทบางอย่าง บางประการสืบไป ดังต่อไปนี้ :-


     (ก) พุทธศาสนาอย่างเถรวาท เป็นลัทธินิกายที่โลกยอมรับว่า ประสบความสำเร็จในการรักษาหลักอันบริสุทธิ์ผุดผ่องดั้งเดิมไว้ได้ โดยมีหลักการที่ยอมให้มีแต่การเพิ่มเข้า เพียงเพื่อรักษาความเคร่งครัดของหลักเดิม ไปตามเดิม รังเกียจ เกลียดกลัวการถอดถอน เปลี่ยนแปลงแก้ไขของเดิม แม้ในเรื่องเล็กน้อยที่สุด


ในการกล่าวถึงความน่าอัศจรรย์ประการแรกของเถรวาทเรานั้น ก่อนอื่นทั้งหมด ควรจะได้ทราบกันเสียก่อนว่า ในปัจจุบันนี้ เป็นที่เชื่อถือกันอย่างแน่นอนแล้วว่า ไม่ว่าพุทธศาสนาลัทธินิกายไหน ล้วนแต่มีพระไตรปิฎกเป็นของตัวเอง และล้วนแต่มีสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่เรื่อยๆ ตลอดเวลายุคแรกๆ และยุคถัดมาด้วยกันทั้งนั้น ข้อนี้ เป็นสิ่งที่เห็นกันอยู่อย่างชัดแจ้งโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์กันอีก


สำหรับฝ่ายเถรวาทเรา มีความแปลกประหลาดเป็นพิเศษ ในข้อที่เราไม่มีหลักการที่ให้สิทธิอันถูกต้อง เพื่อการแก้ไขสิ่งต่างๆ ที่พระศาสนาทรงบัญญัติไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นข้อที่เล็กน้อยเพียงไร หรือเพื่อประโยชน์อะไร ทั้งๆ ที่พระพุทธองค์เองได้ทรงอนุญาตไว้ ให้แก้ไขสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ได้ในวันที่จะเสด็จปรินิพพาน(๑) ความเป็นเถรวาทอันเคร่งครัดเช่นนี้ ได้มีมาตั้งแต่ครั้งที่สงฆ์มีพระมหากัสสปะเป็นประธานได้ประกาศตั้งเป็นสถาบันขึ้นไว้ ในฐานะเป็นความสำเร็จชิ้นสุดท้าย แห่งการปฐมสังคายนามาทีเดียว(๒) เพื่อเป็นเครื่องมือป้องกันการเพิกถอนแก้ไขทุกๆ อย่าง แม้จะเล็กน้อยเพียงไร


สำหรับการเพิ่มเข้านั้น หากเราจะมีบ้าง ตามที่เชื่อกันเป็นส่วนมาก ก็มีแต่การเพิ่ม เพื่อคุ้มครองหรือสนับสนุนของเก่า ให้ยังคงเคร่งครัดหรืออธิบายหลักของเดิม ไปตามแนวเดิมให้กว้างขวางออกไปเท่านั้น ของเดิมกับของเพิ่มเติมยังคงอยู่ในร่องรอยอันเดียวกันเสมอ ข้อนี้ ผิดจากหลักการของลัทธินิกายฝ่ายอื่นจากเถรวาท ซึ่งมีการกระทำที่เป็นการแก้ไขของเดิมออกไปจากหลักเดิมตามมากตามน้อยเอาทีเดียว


***หมายเหตุ:
(๑) มหาปรินิพพานสูตร. มหา. ที. (๑๐/๑๗๘/๑๔๑)
(๒) บาลี ปัญจสติกขันธ์ จุลวรรค วินัยปิฎก. (๗/๓๘๕/๖๒๐)



เถรวาทเรา ไม่มีการเพิ่มในลักษณะที่เป็นการงอกเงยเรื่อยเปื่อยไปตามอำนาจของกาลเทศะหรือสิ่งแวดล้อมอย่างอื่นจนกระทั่งสูญเสียหลักเดิม เช่น กลายกลับไปเป็นลัทธิที่มีพระเป็นเจ้า หรืออาตมัน โดยปริยายหรือโดยตรง หรือยิ่งกว่านั้นถึงกับกลายกลับไปเป็นไสยศาสตร์ โบรมโบราณต่างๆ อีก เรายอมรับว่ามีความขลาดต่อการกระทำเช่นนั้น เรายินดีที่จะรับคำกล่าวหาว่าขี้ขลาดตาขาวต่อการกระทำเช่นนั้นอย่างชื่นตา


แต่ก็เพราะความขลาดนี้เอง ที่ได้เป็นและกำลังเป็นเครื่องช่วยรักษาความเป็นเถรวาทของเราไว้ได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่องตั้งแต่ต้นมา ขอให้เรายังคงขลาดโดยทำนองนี้กันสืบไปเถิด การเพิ่มของเรา แม้หากจะมีมากเพียงไรก็ตาม ต้องเป็นเพียงการเพิ่มเพื่อเป็นบริวารแวดล้อมหรือสนับสนุนของเดิม ให้เด่นชัดเคร่งครัดยิ่งขึ้นถึงที่สุดเท่านั้น


ถ้าเผอิญมีของผิดของปลอม ปนติดเข้ามาบ้าง เพราะอำนาจเหตุการณ์บางอย่างบังคับ ก็จะมาปรากฏอยู่ในลักษณะที่เข้ากับเนื้อแท้ของลัทธิเดิมไม่ได้ โดยตัวมันเองเป็นเครื่องแสดงเอง พระพุทธองค์ได้ทรงวางหลัก ซึ่งเรียกว่า “มหาปเทสสี่” ไว้อย่างเฉียบขาดสองหมวด หมวดหนึ่ง สำหรับทางฝ่ายธรรม
(๑) และอีกหมวดหนึ่ง สำหรับฝ่ายวินัย(๒) เพื่อเป็นเครื่องวินิจฉัยความผิดถูกของสิ่งซึ่งเกิดเป็นปัญหาขั้นทุกๆ ประการ


ในที่สุดสิ่งที่ปนปลอมเข้ามาเหล่านั้น เมื่อถูกพิสูจน์โดยหลักมหาปเทสนั้นแล้ว ก็ตกอยู่ในสภาพที่ใครๆ อาจเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นของแปลกปลอมเข้ามา และจะร่วงหล่นไปเองในที่สุด แม้จะยังหลงเหลืออยู่ในคัมภีร์ใดบ้าง ก็จะยังคงอยู่ในสภาพที่ไม่มีใครสนใจ เพราะลักษณะแห่งความขัดต่อหลักเดิมของมันนั่นเอง


     นี้แล นับว่าเป็นความน่าอัศจรรย์ประการแรกของเถรวาท และมีรากฐานอันมั่นคง ตั้งอยู่บนพระพุทธวจนะในมหาปรินิพพานสูตร(๓) ที่ว่า “ยาวกีวญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขู อปญฺญตฺตํ น ปญฺญเปสสนฺติ, ปญฺญตฺตํ น สมุจฺฉินฺทิสฺสนฺติ, ยถาปญฺญตฺเตสุ สิกฺขาปเทสุ สมาทาย วตฺติสฺสนฺติ, วุฑฺฒิเยว ภิกฺขเว ภิกฺขูนํ ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ” ดังนี้


ซึ่งมีใจความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย ยังไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว คงสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด อยู่เพียงใดก็เป็นที่หวังความเจริญได้ ไม่มีความเสื่อมอยู่เพียงนั้น” ดังนี้.


     (ข) พุทธศาสนาอย่างเถรวาท มีอริยอัฏฐังคิกมรรคเป็นหลักสำคัญ และเห็นกันได้ชัดอยู่แล้วว่า เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกันอยู่กับชีวิตมนุษย์โดยตรง ซึ่งถ้าปราศจากหลักธรรมหมวดนี้เสียแล้ว ไม่มีใครในโลกไหนๆ ก็ตามสามารถมีชีวิตอยู่เป็นปกติสุขได้ หรือสามารถดำเนินไปจนลุถึงความรอดพ้นหรือนิพพานของตนได้ ดังนั้น จึงใช้เป็นหลักปฏิบัติได้ ทั้งเพื่อผลทางฝ่ายโลกิยะและโลกุตตระ


***หมายเหตุ:
(๑) มหาปรินิพพานสูตร. มหา. ที. (๑๐/๑๔๔/๑๑๒)
(๒) มหา. วิ. (๕/๑๓๑/๙๒)
(๓) มหาปรินิพพานสูตร. มหา. ที. (๑๐/๙๑/๗๐)



ขอให้ทุกคนถือเอาอริยอัฏฐังคิกมรรค ในฐานะเป็นหัวใจของพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งของฝ่ายเถรวาท โดยปราศจากความลังเลจากทุกคนเถิด พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “อยเมวาริโย อฏฐงฺคิโก มคฺโค ฯลฯ อิทํ วุจฺจติ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ(๑) ภิกษุทั้งหลายเรากล่าวอริยมรรคมีองค์แปดนี้ว่า เป็นตัวพรหมจรรย์” ดังนี้ ซึ่งหมายถึง เป็นตัวพุทธศาสนา


***หมายเหตุ:
(๑) มหาวารวรรค. สํ. (ไทย. ๑๙/๓๑/๑๑๒)


อริยมรรค มีองค์แปดดังนี้ มิใช่อะไรอื่น นอกไปจากการทำถูก หรือพยายามทำให้ถูกในองค์ประกอบ ๘ ประการ คือ ในความขัดแย้ง, ความมุ่งหมาย, การพูดจา, การทำงาน, การเลี้ยงชีวิต, การพากเพียร, การมีเครื่องระลึกประจำใจ, และการตั้งใจแน่วแน่เป็นอันเดียว อันบุคคลจะต้องทำกันในทุกๆ แบบของการดำรงชีพ ในฐานะเป็นศิลปะแห่งการครองชีวิตนั่นเอง สิ่งนี้สิ่งเดียวเท่านั้น ที่พอจะเรียกได้ว่า พุทธศิลปะอย่างถูกต้องตรงตามความหมายของคำๆ นี้


เพราะเหตุที่หลักธรรมหมวดนี้ อยู่ในวิสัยที่วิญญูชนตามปรกติ จะเข้าถึงได้
(๑) นี่เอง พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า อัฏฐังคิกมรรคนี้ เป็นเอหิปสฺสิโก คือเปิดเผยให้แก่ทุกคน หรือทุกคนต้องมาดูและปฏิบัติ พระพุทธองค์ทรงยกย่องธรรมหมวดนี้โดยเกียรตินามว่าเป็น “หนทาง” หรือ “กระแส”(๒) ซึ่งพื้นฐานของมันมีความลาดเอียงเทไปทางนิพพานอยู่ตามธรรมชาติ(๓) สามารถทำบุคคลผู้ก้าวลงสู่ให้ไหลเลื่อนตรงยังพระนิพพาน โดยไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงได้อย่างน่าอัศจรรย์ ดังนั้น จึงจัดว่าเป็นทางแห่งนิพพานสำหรับคนทุกคนโดยแท้ !


องค์ประกอบประการแรก กล่าวคือ การปฏิบัติถูกต้องในทางความคิดเห็น หรือเรียกได้สั้นๆ ว่า ความเข้าใจอันถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) นั้น ย่อมประมวลเอาปัญญา หรือความเข้าใจอันถูกต้องทุกชนิดเข้าไว้ทั้งหมด เช่น โลกุตตรปัญญา ในเรื่องอริยสัจสี่ประการ(๔) อันเกี่ยวกับความทุกข์และความดับทุกข์โดยตรง


***หมายเหตุ:
(๑) มหาโควินทสูตร, มหา. ที. (ไทย. ๑๐/๒๘๕/๒๓๔), และมหาวาร. สํ. (๑๙/๒๓/๖๙), และ จตุก. อํ. (๒๑/๓๒๙/๒๔๕)
(๒) มหาวาร. สํ. (ไทย. ๑๙/๔๓๔/๑๔๓๐)
(๓) มหาวาร. สํ. (ไทย. ๑๙/๔๙/๑๘๙ และ ฯลฯ)
(๔) บาลีมหาสติปัฏฐานสูตร. มหา. ที. (ไทย. ๑๐/๓๔๘/๒๙๙)



เรื่องกฎแห่งการปรุงแต่งกันและกัน เกิดขึ้นเป็นลำดับๆ ของสิ่งทั้งปวง ซึ่งเรียกว่า กฎแห่งปฏิจจสมุปบาท(๑) เรื่องลักษณะอันเด็ดขาดตายตัวของสิ่งทั้งปวง ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจํ-ทุกขํ-อนตฺตา และเรื่องกฎแห่งกรรม หรือกฎแห่งเหตุและผล ซึ่งทุกๆ เรื่อง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว จะนำให้เกิดผลอย่างเดียวกัน กล่าวคือ เกิดนิพพิทา ความหน่ายต่อโลกียธรรมทั้งปวง


***หมายเหตุ:
(๑) นิทาน สํ. (ไทย ๑๖/๒๑/๔๔), และ ติก. อํ. (ไทย. ๒๐/๒๒๗/๕๐๑)



ยิ่งกว่านั้น คำว่า
“สัมมาทิฏฐิ” นี้ ยังครอบคลุมตลอดลงไปถึงปัญญาอย่างโลกิยะ ที่เป็นกุศล ที่สามารถนำบุคคลเข้าถึงประโยชน์สุขอย่างโลกทุกชนิดอีกด้วย


พระพุทธองค์ได้ตรัสเรียก ความเข้าใจอันถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ไว้อย่างเร้าใจคนทุกคนว่า “รุ่งอรุณแห่งกุศลธรรมทั้งมวล” และอีกอย่างหนึ่งว่า “รุ่งอรุณแห่งการแทงตลอดจตุราริยสัจ”
(๒) ซึ่งเป็นนิมิตอันแสดงล่วงหน้าว่า นิพพาน หรือความดับสนิทของปวงทุกข์ จักต้องมีมาโดยแน่แท้ดุจเดียวกับรุ่งอรุณในเวลารุ่งสาง เป็นนิมิตของเวลาเที่ยงวัน อันจักตามมาอย่างแน่นอน ฉันใดก็ฉันนั้น


ทุกคนอาจมองเห็นความจริงในข้อที่ว่า เมื่อมีสัมมาทิฏฐิหรือความเข้าใจอันถูกต้องอย่างสมบูรณ์แล้ว ความมุ่งหมายอันถูกต้อง การพูดจา การทำการงาน การเลี้ยงชีวิต การพยายาม การมีสติครองตัว และการปักใจแน่วแน่อย่างถูกต้อง ย่อมเกิดตามขึ้นมาโดยลำดับ และต่อนั้นไปก็จะลุถึงความพ้นทุกข์ทุกประการได้ในเวลาอันควร

***หมายเหตุ:
(๒) ทสก. อํ. (ไทย ๒๔/๒๕๔/๑๒๑), และ มหาวาร. สํ. (ไทย. ๑๙/๕๕๒/๑๗๒๐)


ความจริงข้อนี้ มีกล่าวไว้ในบาลีอังคุตตรนิกาย(๑) ว่า “สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา สพฺพํ ทุกฺขํ อุปจฺจคา คนล่วงพ้นความทุกข์ทั้งปวงได้ ด้วยการสมาทานสัมมาทิฏฐิ” ดังนี้ ดังนั้นพระองค์จึงทรงยกย่องสัมมาทิฏฐินี้ว่าเป็น “รุ่งอรุณของความรอดพ้น” ผลจึงเท่ากับว่าพระองค์ได้ทรงประทานความหวังอันใหญ่หลวงไว้กับพวกเราอย่างน่าอัศจรรย์ เราควรพยายามรีบบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ อันเป็นองค์ประกอบองค์แรกของอริยมรรคนั้น ด้วยความขยันขันแข็ง และซึมทราบในพระกรุณาคุณจริงๆ


ความหวังอันใหญ่หลวงนั้นคือ ความจริงที่ว่า เมื่อใดเราเพ่งพิจารณาอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความเห็นแจ้ง ที่เรียกให้ถูกต้องในที่นี้ว่า สัมมาทิฏฐิชนิดที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น เมื่อนั้นเราจะได้สมาธิประเภทเดียวกันกับที่เรียกว่า อนันตริยสมาธิ ไม่มากก็น้อยพร้อมกันในขณะนั้น โดยไม่ต้องเจตนาและในลักษณะที่มีสัดส่วนกับการเห็นแจ้งนั้นทุกคราวไป


ตามกฎธรรมชาติแล้ว ไม่มีผู้ใดสามารถเพ่งพิจารณาสิ่งใด โดยปราศจากจากสมาธิที่เกิดขึ้นเอง ถ้าเป็นการเพ่งของสัตว์ตามธรรมชาติธรรมดา สมาธิที่พลอยเกิดนั้น ก็เป็นอย่างธรรมดา ถ้าเป็นการเพ่งพิจารณาอย่างมีระเบียบและตามหลักวิชาสมาธิที่พลอยเกิดนั้น ก็ต้องเป็นอย่างมีระเบียบและเป็นหลักวิชาไปตามกัน เมื่อใดเพ่งพิจารณาเพื่อสัมมาทิฏฐิให้ยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อนั้นสมาธิก็เบ่งตัวสูงขึ้นไปตาม จนเป็นบาทฐานที่เพียงพอแก่การเกิดของสัมมาทิฏฐิอย่างเป็นอัตโนมัติ

***หมายเหตุ:
(๑) จตุก. อํ. (ไทย ๒๑/๖๘/๔๙)


ถ้าปราศจากสัมมาทิฏฐิเสียแล้ว เราก็ไม่ทราบว่าจะเพ่งพิจารณาได้อย่างไรกัน กำลังของสัมมาทิฏฐิที่มีอยู่ก่อนนั่นแหละ จะส่งเสริมกำลังของสมาธิที่กำลังทำหน้าที่ของมันอยู่ตลอดเวลา แล้วสมาธิที่เกิดขึ้นใหม่ ก็จะย้อนกลับไปส่งเสริมกำลังของสัมมาทิฏฐิกำลังจะเกิดใหม่ โดยส่วนสัดของกำลังที่เหมาะสมกันอีก


เกี่ยวกับความจริงเรื่องนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส, นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน, ยมฺหิ ฌานํ จ ปญฺญา จ, ส เวนิพฺพานสนฺติเก. กล่าวคือ ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา, ปัญญาไม่มีแก่คนที่ไม่มีฌาน, ผู้ใดมีทั้งฌานและปัญญา ผู้นั้นอยู่ใกล้ต่อนิพพาน”(๑) ดังนี้ ของสองอย่างนี้ เป็นปัจจัยเกื้อกูลต่อกัน ดังนั้น จึงไม่มีใครสามารถมีสมาธิโดยไม่มีปัญญา หรือมีปัญญาโดยไม่มีสมาธิ ของสองสิ่งนี้ส่งเสริมกันและกันอยู่อย่างอัตโนมัติ คือเป็นไปเอง


***หมายเหตุ:
(๑) บาลีภิกขุวรรค, ธ. ขุ. (ไทย ๒๕/๖๕/๓๕)


ความเป็นอัตโนมัติหรือเป็นไปเองในเรื่องนี้ จะเห็นตัวอย่างได้จากการยิงศร เมื่อคนจับคันศรและลูกศรขึ้น เล็งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น เขาไม่จำเป็นที่จะต้องตั้งเจตนาเพื่อให้เกิดสมาธิ เจตนาเพื่อให้เกิดสมาธินั้น ย่อมเป็นไปเองตามธรรมชาติและพร้อมกันกับเล็ง ถ้าความรู้ในวิธีที่จะยิงให้ถูกมีอยู่อย่างแน่นแฟ้น สมาธิในการเล็งก็แน่นแฟ้นเอง ความรู้ หรือความแน่ใจ ย่อมเพิ่มกำลังให้แก่สมาธินั้นตลอดเวลา


โดยทำนองเดียวกันนี้ ความเข้าใจอันถูกต้องในคุณค่าของความหลุดพ้นที่ตนมุ่งหมาย ย่อมก่อให้เกิดกำลังแก่สมาธิโดยไม่มีทางที่จะเป็นอย่างอื่นได้ และตรงตามคำที่ตรัสว่า “นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส” ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น ฉะนั้น จงพยายามระดมกำลังเพ่งพิจารณา เพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด มันจะดึงดูดให้เกิดสมาธิที่เพียงพอ และเหมาะสมแก่การที่จะใช้เพื่อพิจารณานั้น อยู่ในตัวเองและพร้อมกันนั่นเอง โดยปรกติผู้ที่มีอนามัยดี มีสติปัญญา ย่อมทำเช่นนั้นได้อย่างน่าพอใจ


สำหรับเรื่องเกี่ยวกับสมาธิทั่วไป พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในบาลีอังคุตตรนิกาย(๑) ว่า มีอยู่ ๔ ประเภทด้วยกัน คือ ๑) สมาธิเพื่อการชิมความสุขอย่างสูงในปัจจุบันทันตาเห็นในชาตินี้ ได้แก่ การเจริญรูปฌานสี่ มีปฐมฌานเป็นต้น ๒) สมาธิเพื่อให้เกิดญาณทัสสนะ ซึ่งเป็นตาทิพย์ชนิดหนึ่ง ได้แก่ การเจริญอาโลกสัญญาและทิวาสัญญา ๓) สมาธิเพื่อความสมบูรณ์ของสติและสัมปชัญญะ และการดับไปของเวทนา สัญญา และวิตก ๔) สมาธิเพื่อดับอาสวะทั้งสี่ ได้แก่ การเพ่งพิจารณาดูการก่อขึ้น และการสลายไปของเบญจขันธ์ อันประกอบอยู่ด้วยอุปาทาน


จากเรื่องนี้ เราอาจะเห็นได้ชัดว่า ในบรรดาสมาธิทั้งสี่ประเภทนั้น สมาธิประเภทที่สี่ ก็คือ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ ตามที่กล่าวไว้ทั่วๆ ไป ในคัมภีร์นั่นเอง

***หมายเหตุ:
(๑) บาลี โรหิตัสวรรค, จตุก. อํ. (ไทย ๒๑/๕๗/๔๑)



การเจริญสมาธิประเภทนี้ เห็นได้ชัดทีเดียวว่า เป็นการเจริญปัญญาโดยตรง ข้อนี้ทำให้เห็นว่า คำว่า “การสมาธิ” คำนี้ มีความหมายกว้างกว่าที่เข้าใจกันอยู่ทั่วๆ ไป ซึ่งมักจะหมายถึงกันแต่เพียงการทำรูปฌาน ๔ อย่างเท่านั้น


เพราะฉะนั้น สมาธิตามหลังแห่งการปฏิบัติที่แท้จริงนั้น ไม่สามารถแยกจากปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิไปได้เลย สมาธิตามหลักของฝ่ายเถรวาทเรา จักต้องไปด้วยกันกับปัญญา ที่มุ่งต่อจุดหมายคือวิมุตติเสมอไป ไม่โดยเปิดเผย ก็ต้องโดยเร้นลับ โดยไม่มีทางจะเป็นอื่นไปได้ มันไม่ใช่เป็นเพียงการนั่งสงบๆ และติดต่อกันไป ดังที่เข้าใจกันโดยมากเลย !


สำหรับสัมมาสมาธิ ที่เป็นองค์ประกอบของอัฏฐังคิกมรรคโดยตรงนั้น ในบาลีทั่วไป พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสระบุไว้เป็นรูปฌานทั้งสี่ และทรงระบุไว้ในบาลีมหาจัตตารีสกสูตร
(๑) ว่าได้แก่ เอกัคคตาจิต ที่แวดล้อมและนำทางโดยสัมมาทิฏฐิที่รู้ดีรู้ชอบ ว่าอะไรผิดอะไรถูก ฯลฯ เป็นต้น


เพราะฉะนั้น สมาธิที่จะมีลักษณะว่าเป็น “สัมมา” ได้นั้น จักต้องอาศัยกำลังของสัมมาทิฏฐิเสมอไป ถ้ามิฉะนั้นแล้ว รูปฌานทั้งสี่นั้นจักตกไปเป็นรูปฌานของฝ่ายลัทธิอื่นๆ เช่น ดาบส เป็นต้น และไม่สามารถจะเป็นองค์ประกอบของอัฏฐังคิกมรรคไปได้ และไม่สามารถนำไปสู่จุดหมายปลายทางของพุทธบริษัท กล่าวคือ นิพพานได้


จากข้อเท็จจริงอันนี้ ย่อมเห็นได้ว่า สัมมาทิฏฐิ กับ สัมมาสมาธิ นั้น จักต้องควงแขนไปไหนไปด้วยกันตลอดเวลา จึงจะเป็นหลักธรรมอันถูกต้องของฝ่ายเถรวาทเรา


***หมายเหตุ:
(๑) บาลี มหาจัตตารีสสูตร, อุปริ. ม. (ไทย. ๑๔/๑๘๐/๒๕๓)



ข้อที่น่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นอีก ก็คือว่า เมื่อใดสัมมาทิฏฐิหรือความเข้าใจอันถูกต้อง กำลังทำหน้าที่อยู่อย่างดีแล้ว จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้นเลย ในการเจริญองค์แห่งมรรคที่เหลืออยู่อีก ๖ องค์(๑) กล่าวคือ สัมมาสังกัปโป-ความมุ่งหมายอันถูกต้อง, สัมมาวาจา-การพูดจาอันถูกต้อง, สัมมากัมมันโต-การทำการงานอันถูกต้อง, สัมมาอาชีโว-การดำรงชีพอันถูกต้อง, สัมมาวายาโม-การพยายามอันถูกต้อง, สัมมาสติ-การมีสติเครื่องครองตัวอันถูกต้อง


ธรรมชาติของสัมมาทิฏฐินั้น ย่อมรู้สิ่งทั้งปวงดี ว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรทำได้ อะไรไม่มีทางจะทำได้ อะไรมีผลควรทำ และอะไรไม่มีผลคุ้มค่าของการทำ อะไรต้องทำอย่างไร ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น และยิ่งไปกว่านั้นอีกก็คือว่า อำนาจความเห็นแจ้งอย่างถูกต้องของสัมมาทิฏฐินั้นเอง ช่วยผลักดันบุคคลให้ทำไปแต่ในแนวแห่งความรู้ที่ถูกต้องนั้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้


ดังนั้น ด้วยอำนาจของสัมมาทิฏฐินั่นเอง คนเราจึงสามารถมีและต้องมีการมุ่งหมายแต่ในจุดหมายที่ถูกต้อง พูดจาแต่ในการพูดที่ถูกต้อง ประกอบกรรมแต่ในกรรมที่ถูกต้อง ดำรงชีพแต่ในวิถีทางที่ถูกต้อง ประกอบกรรมแต่ในกรรมที่ถูกต้อง ดำรงชีพแต่ในวิถีทางที่ถูกต้อง ขวนขวายแต่ในความพยายามที่ถูกต้อง ทำสติแต่ในทางแห่งการทำสติที่ถูกต้อง โดยไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงเลยโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุดังกล่าวนี้ องค์ประกอบแห่งอัฏฐังคิกมรรค ๖ องค์ที่เหลือนี้ จึงเป็นของไม่ยากที่จะปฏิบัติ เพราะอำนาจแห่งสัมมาทิฏฐินั่นเอง


***หมายเหตุ:
(๑) ทสก. อํ. (ไทย. ๒๔/๒๕๕/๑๒๑)



เมื่อพิจารณาดูกันอีกทางหนึ่ง ยังจะเห็นได้ต่อไปอีกว่า องค์แห่งมรรคที่เป็นประเภทศีล คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันโต และสัมมาอาชีโวนั้น จำจะต้องมีธรรมะชื่ออื่นที่เป็นเครื่องสนับสนุน เช่น ต้องมีหิริโอตตัปปะ และ อินทรียสังวร เป็นต้น สนับสนุนให้เต็มเปี่ยม อาศัยอำนาจของสัมมาทิฏฐิอีกนั่นเอง ที่ธรรมะประเภทที่เป็นเครื่องสนับสนุนนี้ จะมีขึ้นได้โดยง่ายอย่างน่าอัศจรรย์


แม้องค์มรรคประเภทสมาธิ คือ สัมมาวายาโม สัมมาสติ และสัมมาสมาธิเอง ซึ่งต้องการธรรมะที่มีหน้าที่สนับสนุน เช่น กายปัสสติ เป็นต้น ธรรมเหล่านั้น ก็สามารถมีมาโดยง่าย ด้วยอำนาจของสัมมาทิฏฐิดังกล่าวแล้วอีกนั่นเอง ดังนั้น สัมมาทิฏฐิ จึงเป็นทั้งผู้ทำโปรแกรมการเดินทางและเป็นทั้งมรรคคุเทสก์เสร็จไปในตัว แก่องค์มรรคองค์อื่นๆ ทั้งสิ้น


จนถึงกับพระพุทธองค์ทรงไม่ประทานเกียรตินามให้ในบาลีมหาจัตตารีสกสูตรว่า “ปุพพงฺคมา(๑) ผู้ทำหน้าที่” ดังกล่าวแล้ว แม้ในองค์แห่งมรรคที่เป็นกลุ่มปัญญา ได้แก่ สัมมาสังกัปโป และสัมมาทิฏฐิเองก็เช่นเดียวกัน จักต้องมีวิธีแห่งการบำเพ็ญให้เกิดขึ้น ภายใต้การนำของสัมมาทิฏฐิด้วยกันที่ก้าวล่วงหน้าไปแล้วเท่านั้น


โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่โลกุตตรสัมมาทิฏฐิเป็นเจ้ากี่เจ้าการแล้ว อำนาจของสัมมาทิฏฐิชนิดนี้ สามารถกำจัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นทุกชนิด จากองค์มรรคที่เหลืออีก ๖ องค์ ดังที่กล่าวข้างต้น หรือแม้ของทั้ง ๗ องค์ คือรวมสัมมาสมาธิเข้าด้วยกัน ความเห็นแจ้ง ที่เกิดจากโลกุตตรสัมมาทิฏฐิในตัวอย่าง ๔ ประเภท ที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้น อาจสรุปให้เหลือสั้นๆ แต่เพียงว่า “ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีความเป็นเช่นใดที่น่าเป็นสำหรับเรา” ดังนี้


เมื่อจิตของผู้ปฏิบัติเต็มอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิที่มีหลักว่า “ไม่มีอะไรที่น่าเอา ฯลฯ” ดังนี้แล้ว มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปโป มิจฉาวาจา มิจฉาสติ และมิจฉาสมาธิ ย่อมไม่มีช่องทางที่จะเหลืออยู่ในจิตของบุคคลนั้นได้เลย และที่แน่นอนยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก ก็คือว่า จิตชนิดนั้นจักน้อมไปเอง จากความเป็นผิด (มิจฉัตตะ) ทุกๆ ประการ ไปสู่ความเป็นถูก (สัมมัตตะ) ทุกๆ อย่างในลักษณะที่สมบูรณ์ และในที่สุดก็จักดำเนินต่อไปจนกระทั่งลุถึง “ความดับสิ้นเชิง”


คือ นิพพานอันเป็นที่สิ้นสุดเด็ดขาดของความทุกข์ทั้งปวง พร้อมทั้งต้นเหตุของมัน เพราะอำนาจความที่ไม่เกาะเกี่ยวผูกพันอยู่ในสิ่งใดๆ ในโลกไหนๆ ความเป็นไปได้ถึงเพียงนี้ มีขึ้นได้เพราะอำนาจของสัมมาทิฏฐิที่ว่า “ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีความเป็นเช่นใดที่น่าเป็นสำหรับเรา” ดังนี้ อย่างเดียวเท่านั้น

***หมายเหตุ:
(๑) มหาจัตตารีสกสูตร. อุปริ. ม. (ไทย. ๑๔/๑๘๐/๒๕๔)



ข้อที่น่าอัศจรรย์ที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ อริยมรรค มีองค์แปดนี้ สามารถทำให้โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ เกี่ยวกับความจริงข้อนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ ในราตรีที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ว่า “อิเม จ สุภทฺท ภิกฺขุ สมฺมา วิหเรยฺยํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺส, - ดูก่อนสุภัททะ! ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ พึงอยู่โดยชอบไซร้ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์”(๑) ดังนี้


***หมายเหตุ:
(๑) บาลี มหาปรินิพพานสูตร. (ไทย. ๑๐/๑๗๖/๑๓๘)



คำว่า “อยู่โดยชอบ” นั้น หมายถึง ชอบ ๘ ชนิดในอัฏฐังคิกมรรคนั่นเอง ข้อนี้เป็นเพราะเหตุว่า พระองค์ได้ตรัสไว้ในคราวเดียวกันนั้นว่า ในธรรมวินัยที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์แปด ย่อมไม่มีสมณะที่ ๑-๒-๓-๔ กล่าวคือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ตามลำดับ และว่าอริยมรรคมีองค์แปดนั้น มีในธรรมวินัยของพระองค์(๑)


ทำไมอริยมรรคมีองค์แปด จึงสามารถทำโลกไม่ให้ว่างจากพระอรหันต์เล่า ? ความจริงข้อนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนจะเห็นได้ไม่ยากเลย เมื่อบุคคลใดเป็นอยู่ด้วยความถูกต้อง ๘ ประการ มีความเข้าใจอันถูกต้องเป็นต้น และมีความตั้งใจมั่นชอบเป็นที่สุด ดังนั้นแล้ว ความเป็นอยู่ของบุคคลนั้น ย่อมเป็นการตัดอาหารของกิเลสทุกชนิดและทุกชั้นไปในตัว กิเลสตกอยู่ในฐานะที่ถูกล้อม ปิดทางมาแห่งอาหาร (บอยค็อต) หมดทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จนผอมหนักเข้าและตายไปเองในที่สุด


เพียงแต่ทุกคนเป็นอยู่ให้ถูกต้องตามหลักของอัฏฐังคิกมรรคเท่านั้น กิเลสนั่นจะขาดอาหารและตายไปเองตามลำดับ เมื่อกิเลสสิ้นไป ในอันดับที่เรียกว่า สมณะที่หนึ่งคือโสดาบันแล้ว ย่อมแน่นอนที่จะเลื่อนขึ้นไปจนถึงขั้นที่สี่ คือพระอรหันต์ อย่างไม่มีทางที่จะหลีกเลี่ยงได้(๑) ฉะนั้น จึงนับว่าความหวังอันใหญ่ยิ่งสำหรับทุกคน เพราะการพากเพียรทำเพียงเพื่อบรรลุความเป็นสมณะที่ ๑ นั้น ไม่เป็นการเหลือวิสัยสำหรับใครเลย


การทำจิตใจให้แจ่มอยู่ด้วยการพิจารณาความจริงที่ว่า “ไม่มีความเพลิดเพลินอะไรที่ควรยึดถือ ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีความเป็นอะไรที่น่าเป็นสำหรับเรา” นั่นเอง จะทำให้จิตผละจากสิ่งทั้งปวง น้อมไปสู่ “ความดับไม่มีอะไรเหลือ” อยู่เป็นปรกติ เพราะไม่มีอะไรเป็นเครื่องผูกพันไว้ เมื่อจิตแน่วแน่อยู่กับความจริงข้อนี้ ความเข้าใจก็ถูกต้องอย่างยิ่งอยู่แล้วในตัว


ความมุ่งหมายก็น้อมไปเพื่อนิพพาน อยู่ในตัว วาจา, การงาน, การเลี้ยงชีพ, ความเพียร, สติและสมาธิ ก็ไม่ทางที่จะผิด กลับเป็นความถูกต้องถึงที่สุดอยู่ในตัวและตลอดเวลา เป็นมรรคมีองค์แปดที่สมบูรณ์อยู่จริงตลอดเวลาเหล่านั้น เป็นการตัดอาหารของกิเลสอยู่ตลอดไป ในที่สุดก็มีกิเลสน้อยจนเป็นสมณะอันดับใดอันดับหนึ่ง หรือถึงอันดับที่สุดคือเป็นพระอรหันต์ได้จริง


      นี้คือ ความมหัศจรรย์ข้อสุดท้ายของอริยมรรคมีองค์แปด ที่ทำโลกให้ไม่ว่างจากพระอรหันต์ โดยวิธีที่ทุกคนพอจะทำได้ นับว่าเป็นข้อน่าอัศจรรย์ประการที่สองของเถรวาทเรา ซึ่งน่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง


     (ค) หลักพุทธศาสนาอย่างเถรวาท มีความมุ่งหมายที่จะอยู่เหนืออำนาจของการปรุงแต่งเสกสรรทุกชนิด รวมทั้งอำนาจของสิ่งที่เรียกกันว่า พระเป็นเจ้าด้วย ซึ่งสรุปแล้วจำแนกได้เป็น ๓ อย่าง คือ อำนาจสร้าง อำนาจการควบคุม และอำนาจการทำลาย นิพพาน ซึ่งมีธรรมชาติเป็น อชาตอภูต-อมต นั้น เป็นสภาพที่อยู่นอกเหนืออำนาจทั้งสามนั้น เถรวาทเราจึงถือว่า เป็นบรมธรรม


คำว่า “พระเป็นเจ้า” ตามที่อธิบายไว้ในลักษณะต่างๆ กัน ในคัมภีร์ต่างๆ ของทุกๆ ลัทธินั้น เมื่อนำเข้ามาจับกันกับหลักธรรมของพุทธบริษัทแล้ว อาจสรุปได้เป็น ๓ ประการ คือ พระเป็นเจ้าผู้สร้าง, พระเป็นเจ้าผู้ควบคุม, พระเป็นเจ้าผู้ทำลายล้าง พระเป็นเจ้าผู้สร้าง คือพระเป็นเจ้าในขณะที่ทำการสร้างโลก และสิ่งต่างๆ ทุกชนิด ทำนองเดียวกับที่พระเป็นเจ้าผู้ควบคุม ในขณะที่ทำการควบคุมดูแลสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามอำนาจ และพระเป็นเจ้าผู้ทำลายล้าง ในขณะที่ทำโลกนี้ให้อันตรธานไปอีกครั้งเป็นยุคๆ


***หมายเหตุ:
(๑) บาลี มหาวาร. สํ. (ไทย. ๑๙/ ๔๖๕-๖ / ๑๕๑๑-๒)



ตลอดเวลาที่อำนาจในการทำเช่นนั้น ยังเป็นไปเหนือจิตมนุษย์หรือมนุษย์ยังมีอุปาทาน เชื่อถือในความเป็นเช่นนั้นอยู่เพียงใด เขาก็ยังจะต้องเป็นผู้ถูกสร้าง ถูกควบคุม และถูกทำลายล้างอยู่ได้เพียงนั้น บางศาสนาได้มอบอำนาจทั้งสามนี้ ไว้ในพระเป็นเจ้าองค์เดียว และบางศาสนาจำแนกให้แก่พระเป็นเจ้าตั้งสามองค์หรือมากกว่า แต่ข้อนี้ไม่มีความสำคัญที่จะต้องคำนึงกัน ความสำคัญอยู่ที่ว่า จะมีพระเป็นเจ้าองค์เดียวหรือหลายองค์ก็ตาม ผู้นับถือพระเป็นเจ้าย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องบูชาและอ้อนวอนต่อพระเป็นเจ้านั้นๆ โดยทำนองเดียวกันหมด


การที่ต้องตกอยู่ในอำนาจ ๓ ชนิด ของสิ่งที่เรียกกันว่าพระเป็นเจ้าในทำนองนี้ แม้จะได้อยู่ในสวรรค์ของพระเป็นเจ้าเอง พุทธบริษัทไม่ยอมถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ หรือเป็นอิสรภาพหรือเป็นความรอดพ้น หรือเป็นความหมดทุกข์โดยสิ้นเชิง ซึ่งเรียกว่า นิพพานแต่อย่างใด


การตกอยู่ใต้อำนาจทั้งสามในลักษณะเช่นนั้น ชื่อว่ายังคงตกอยู่ภายใต้อำนาจการเปลี่ยนแปลง ยังจะต้องหมุนเวียนไปในวนของวัฏฏสงสาร ยังอยู่ภายใต้การควบคุม ดลบันดาลของสิ่งอื่นๆ อย่างน้อยก็ของความหวังในอันที่จะเกิดในโลกที่ตนปรารถนา หรือของการกำจัดต้องอยู่ในโลกที่ตนปรารถนานั้นไปตลอดกาลนิรันดร โดยปราศจากอิสรภาพในการที่จะ “ไม่อยู่ หรือไม่เป็นอะไรเลย” ของจิตที่บริสุทธิ์แล้ว


พุทธบริษัทผู้มุ่งหวังแต่จะออกไปให้พ้นอำนาจหมุนเวียนของการสร้าง การควบคุม และการทำลายล้าง อย่างซ้ำซากไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ย่อมพิจารณาเห็นว่า การได้เพียงสวรรค์ในลักษณะเช่นนั้น ยังเป็นของที่เป็นเบื้องต้นเกินไปหรือต่ำเกินไป ยังยอมรับนับถือไม่ได้ เขาเหล่านั้นมุ่งมาดแต่จะได้ อิสรภาพที่ถึงที่สุด ความรอดที่ถึงที่สุด การทำลายความถูกผูกพันที่ถึงที่สุด แม้แต่การถูกผูกพันให้จำต้องอยู่ในสวรรค์นิรันดรนั่นเองด้วย


การปราศจากความผูกพันทุกชนิดที่ถึงที่สุดจริงๆ นั้น ย่อมนำมาซึ่งภาวะแห่งความเกษม (คือไม่มีอำนาจอะไรครอบงำ) อันสูงสุดแท้จริง และทั้งเป็นชนิดที่อาจรับได้ในชีวิตชาตินี้เอง อำนาจดลบันดาลในการสร้าง การควบคุม และการทำลายล้าง ย่อมไม่มีอิทธิพลใดๆ เหนือจิตที่มีอิสระจากเครื่องผูกพันโดยประการทั้งปวง คือทั้งที่เป็นของมนุษย์และของสวรรค์ ภายใต้การนำของพระพุทธองค์ พุทธบริษัทได้พิจารณาเห็นความจริง ดังต่อไปนี้ คือ:-


(๑) อำนาจธรรมชาติในการสร้างสิ่งต่างๆ ที่ทำอะไรบางอย่าง ให้ได้นามว่า พระเป็นเจ้าผู้สร้างนั้น คือ อวิชชา (สภาพที่ปราศจากความรู้) ว่าอะไรเป็นความทุกข์ และอะไรเป็นความดับสนิทของความทุกข์) ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างหรือปรุงแต่ง (อภิสังขาร) สิ่งต่างๆ ขึ้นโดยลำดับๆ ตามกฎในบาลีที่ว่า “อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา, สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ ฯลฯ” จนกระทั่งเกิดมีมนุษย์ที่เต็มอยู่ด้วยกิเลส และทำโลกนี้ให้ปั่นป่วนไปด้วยวิกฤตการณ์นานาประการ


(๒) อำนาจธรรมชาติในการควบคุมสิ่งทั้งปวง ที่ทำอะไรบางอย่าง ให้ได้นามว่า พระเป็นเจ้าผู้ควบคุมในที่ทุกหนทุกแห่งนั้น คือ กฎแห่งกรรมของธรรมชาติหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งก็คือ กฎแห่งความเป็นเหตุและผลอันเนื่องกัน ซึ่งสัตว์ผู้ยังตกอยู่ภายใต้อำนาจ ความยึดถือในความดีความชั่ว ได้ผูกพันตัวเองเข้าไว้กับกฎนั้น โดยอาศัยอำนาจแห่งอวิชชาของสัตว์นั้นๆ เอง อีกนั่นเอง


(๓) อำนาจธรรมชาติในการทำลายล้าง ซึ่งทำอะไรบางอย่าง ให้ได้นามว่าพระเป็นเจ้าผู้ทำลายล้างนั้นก็เหมือนกัน ได้แก่ อวิชชา ที่อยู่ในรูปของตัณหาสามชนิด ซึ่งทำสัตว์โลกให้เดือดพล่านอยู่ ด้วยความทะยานอยากและความขวนขวายนานาชนิด และมึนเมาในกามคุณ รวมทั้งในความมั่งมีและอำนาจวาสนาอย่างปราศจากหิริโอตตัปปะ จนกระทั่งเผชิญกันกับความพินาศของตนเอง


พวกเถรวาทเรามีวิธีการที่ทำให้เกิดการเห็นแจ้งแทงตลอดว่า อวิชชาอย่างเดียวนี่เอง แต่อยู่ในรูปลักษณะต่างๆ กัน ที่บันดาลให้เกิดอำนาจสร้างสรรค์ ควบคุม และทำลายล้างขึ้นในโลกมนุษย์ ในโลกนั้นๆ ให้ติดอยู่ภายใต้อิทธิพลของอำนาจนั้นๆ จนกระทั่งต้องวนเวียนอยู่ในกองทุกข์ ดังตกอยู่ในกระแสน้ำวนไม่มีที่สุด


พวกเรายังได้เห็นแจ้งต่อไปอีกว่า หน้าที่ทางฝ่ายเราผู้เป็นสัตว์ที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้วนี้ ก็คือจะต้องทำการต่อสู้เพื่อทำลายรากเง้าของอำนาจที่ทำการสร้างการควบคุมและการทำลายล้างนั้นเสีย ซึ่งได้แก่อวิชชา ดังกล่าวแล้วข้างต้นนั่นเอง


เราไม่สามารถจะมอบตัวไว้กับความกรุณาของสิ่งที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า พระเป็นเจ้า ซึ่งมีหน้าที่แต่จะสร้าง จะควบคุม และจะทำลายล้าง แล้วย้อนกลับไปตั้งต้นใหม่ในรอบใหม่ ไม่มีที่สิ้นสุดเสียอย่างเดียว ถ้ารวมพระเป็นเจ้าเป็นองค์เดียว ก็คือ อวิชชา ถ้าแยกเป็น ๓ องค์ ก็คือ อภิสังขาร กรรม และตัณหา !


โดยการปฏิบัติตามอริยอัฏฐังคิกมรรค อันพระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนไว้ดังกล่าวแล้วข้างต้น เราจะสามารถสร้างสิ่งที่เรียกว่า วิชชา อันเป็นคู่ปรับของอวิชชาขึ้นมาได้ สิ่งนี้เองจะช่วยให้เราเห็นสิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่เป็นจริง จนถึงกับจิตของเรามีโลกุตตรปัญญา มองเห็นความจริงอันสูงสุดที่ว่า


“ไม่ว่าในโลกไหนๆ ไม่มีอะไรที่ควรยึดถือเอา แม้แต่สวรรค์ของพระเป็นเจ้า ไม่ว่าในภพวิธานใดๆ ไม่มีภาวะอย่างไหน ที่น่าไปเป็นไปอยู่ แม้ที่สุดแต่จะเป็น “ตัวเรา” เอง ซึ่งแท้จริงเป็นเพียงมายาของความยึดถือว่าตัวตน อันเกิดจากอวิชชาเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะเที่ยวสอดส่ายหาความเป็นอย่างใดๆ แม้ที่สุดแต่เป็นเทพเจ้าหรือสัตว์สวรรค์ของพระเป็นเจ้าเหล่านั้น


ความมี ตัวเรา ของเรานี้ ก็มิใช่อะไรอื่น นอกไปจากผลิตผลแห่งมิจฉาทิฏฐิของจิต เมื่อใดจิตหมดจดจากมิจฉาทิฏฐินี้แล้ว เมื่อนั้นความรู้สึกว่า ตัวเรา ก็หมดไป เหลืออยู่แต่จิตที่บริสุทธิ์ ซึ่งอยู่เหนืออำนาจการเสกสรรบันดาลของพระเป็นเจ้าทั้งหลาย จิตที่บริสุทธิ์นั้น ไม่ต้องการอะไร ไม่มีสิ่งผูกพันที่จะต้องเปลื้อง และไม่มี ‘ตัวเอง’ ที่จะต้องแบกต้องขน เพราะฉะนั้นมันจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องการให้ใครช่วยเหลือ และทั้งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรนนิบัติใครที่ไหนเลย


ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จิตที่บริสุทธิ์จึงอยู่นอกขอบเขตอำนาจการเสกสรรบันดาลของพระเป็นเจ้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นในทางสร้าง หรือในทางควบคุม หรือในทางทำลาย ! นี้แล คือ อิสรภาพอันสูงสุด ความรอดพ้นอันสูงสุด ความหลุดจากข้อผูกพันอันสูงสุด และความดับทุกข์ทั้งปวงอันสูงสุด ซึ่งมีได้ในชีวิตชาตินี้เอง โดยไม่ต้องรอคอยโลกพระศรีอารย์หรือสวรรค์ของพระเป็นเจ้าชนิดใดๆ


นี่แหละคือ นิพพานของเถรวาทหรือบรมธรรมอันแท้จริงของมนุษยชาติ สิ่งนี้เป็นคุณประโยชน์อันสูงสุด ที่มนุษย์อาจทำให้มีแก่ตนได้ในชาติทันตาเห็นนี้ และสมตามพระพุทธวจนะที่ว่า นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทธา พุทธบุคคลทั้งหลาย กล่าวนิพพานว่าเป็นบรมธรรม ดังนี้ สิ่งนี้เป็นปัจจัตตัง จะรู้ได้เข้าใจได้ก็ต่อเมื่อเข้าถึงตนเอง และอยู่นอกเหนือความเข้าใจของกลุ่มชนที่ติดแน่นอยู่ในลัทธิที่เอาแต่จะแทรกฝิ่นให้แก่ประชาชนเสียท่าเดียว”


พุทธศาสนาอย่างเถรวาท ไม่มีเมืองพระเจ้า เมืองสวรรค์ที่ไหน ไว้เป็นเหยื่อล่อมหาชน ไม่มีพระเป็นเจ้าที่เป็นตัวเป็นตนหรือสิ่งใดๆ อื่น สำหรับให้คนยึดมั่น นอกจากมีแต่พระรัตนตรัย กล่าวคือ ภาวะแห่งความสะอาด สว่าง สงบของจิตที่บริสุทธิ์จริงๆ แล้ว ภายในของบุคคลนั้นๆ เอง ตั้งอยู่ในฐานะแทนที่พระเป็นเจ้า เพื่อให้เขาทำให้ประจักษ์ขึ้นในใจตน ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้เอง พุทธศาสนาอย่างเถรวาท จึงอยู่ในฐานะที่ใครๆ ไม่สามารถจะจัดเข้าไว้ในกลุ่มที่เป็น “ยาเสพติดของประชาชน” ได้แต่อย่างใดเลย

งานธรรมทูตของลัทธิเถรวาท สามารถดำเนินไปได้ทั่วโลก โดยปราศจากกองทัพและปราศจากเหยื่อล่อ หรือสินจ้างใดๆ ตลอดถึงพิธีรีตองอันครึกครื้นสวยงามต่างๆ ในทางวัตถุนิยม แต่สามารถดำเนินไปได้ด้วยรสแห่งธรรมปฏิบัติที่มีให้ชิมล่วงหน้าทันที ที่แม้แต่ลองปฏิบัติ หรือด้วยอำนาจความมีเหตุผลอันอาจเป็นที่เข้าใจได้ ไปตั้งแต่แรกเริ่มได้ยินได้ฟังทีเดียว นั่นเอง ประวัติศาสตร์แห่งสากลศาสนาของโลกทุกยุคทุกสมัย เป็นเครื่องพิสูจน์อันเพียงพอในข้อนี้


    นี่แหละคือ ความน่าอัศจรรย์ประการที่สามของลัทธิเถรวาท ที่สามารถแยกตัวเองออกมาเสียได้ จากกลุ่มของการเป็น “ยาเสพติดของประชาชน” ดังกล่าวแล้ว


     (ง) เถรวาทเรา มีพระรัตนตรัย ชนิดที่เป็นของในภายในของตนเอง เป็นที่ตั้งแห่งการเข้าถึงด้วยปัญญา ในลักษณะแทนที่แห่งพระเป็นเจ้าในภายนอกของลัทธิอื่นๆ ซึ่งยึดกันด้วยความภักดีอย่างเดียว ดังนั้น จึงมีแต่ “พระเป็นเจ้าสำหรับปัญญา” ไม่ใช่พระเป็นเจ้าสำหรับความภักดี !


พระรัตนตรัยแห่งลัทธิเถรวาทโดยเฉพาะ ซึ่งกล่าวได้ว่าอยู่ในฐานะแทนที่พระเป็นเจ้าในลัทธิอื่นๆ นั้น มีหลักที่จะต้องพิจารณาให้เห็นชัด เป็น ๒ ความหมายด้วยกัน ดังต่อไปนี้ :-


ความหมายที่เป็นชั้นนอก ในตอนต้นๆ สำหรับผู้แรกศึกษานั้น พระรัตนตรัยมีถึง ๓ อย่าง โดยจำนวน คือ (ก) พระพุทธเจ้า หมายถึง ผู้ที่ได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง แล้วทรงสอนสิ่งที่ได้ตรัสรู้แล้วนั้น (ข) พระธรรม หมายถึง สิ่งที่อยู่ในรูปของปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ เป็นสิ่งที่ต้องสอนต้องปฏิบัติ ต้องทำให้แจ้ง เพื่อความรอดพ้นของบุคคลที่เข้ามาปฏิบัตินั้นเอง (ค) พระสงฆ์เจ้า คือ หมู่ชนที่ได้ฟังพระองค์สอนแล้วเข้าใจ ปฏิบัติแล้วเห็นแจ้งในสิ่งๆ เดียวกันกับที่พระองค์ทรงเห็น และโดยทำนองเดียวกันกับพระองค์ทรงทำมา


ถ้ากล่าวโดยสรุปแล้ว ก็คือ พระพุทธเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้แล้วสอนพระธรรม พระธรรมทั้งที่อยู่ในรูปของปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เห็นแจ้งแล้วสอนสืบๆ กันไป พระสงฆ์ คือหมู่ชนที่ประพฤติตามพระพุทธเจ้า เพื่อผลอันเดียวกัน รัตนะทั้งสาม ในลักษณะดังกล่าวนี้ อาจเรียกได้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจขนานนามให้ได้กรณีนี้ ว่า “พุทธิก-ตรีมูรติ” หรือพระเป็นเจ้าใน ๓ ปรากฏการณ์


ซึ่งเมื่อกล่าวตามความคิดของพุทธบริษัทเรา โดยเทียบกับลัทธิอื่นแล้ว ก็คือ “พระเป็นเจ้า” (ซึ่งในกรณีนี้ ได้แก่ พุทธภาวะ” ๑. สิ่งที่สามารถทำให้อะไรบางอย่าง ได้นามว่า “พระเป็นเจ้า” ๒. ทำชนบางพวกให้เข้าถึงความเป็นอันเดียวกับ “พระเป็นเจ้า” และ ๓. หมู่ชนที่สามารถเข้าถึงหรืออาจเข้าถึงโดยแน่นอนข้างหน้า ในความเป็นอันเดียวกันกับ “พระเป็นเจ้า” รวมเป็น ๓ อย่างด้วยกัน ดังนี้


แต่ใน ความหมายชั้นลึก สำหรับผู้ที่มีความเห็นแจ้งและมีความรู้สึกสูงแล้วนั้น พระรัตนตรัยมีเพียงอย่างเดียว โดยถือเอาคุณสมบัติภายในเป็นประมาณ ตามหลักที่ว่า “เอกีภูตมฺปนตฺถโต-โดยอรรถอันลึกซึ้งแล้ว รัตนะทั้งสาม เป็นของอย่างเดียวกัน” ดังนี้ ของสิ่งเดียวนี้ ได้แก่ ตัวสภาวะของ “บรมเขมธรรม แห่งความสะอาด-สว่าง-สงบ(อันพอจะเรียกให้สั้นลง เพื่อความสะดวกสืบไป แต่เพียงว่า “๓ ส.”) นั้นเอง


อันจะปรากฏแก่จิต ในเมื่อจิตมีความบริสุทธิ์ถึงระดับใดระดับหนึ่ง ตามที่กำหนดไว้แล้วเป็นชั้นๆ นี่แหละ คือพระรัตนตรัยตัวแท้ หรือหัวใจของพระรัตนตรัย ที่ทำคนบางคนให้ได้นามว่าพระพุทธเจ้า ทำหมู่ชนบางหมู่ให้ได้นามว่าพระสงฆ์ และทำตัวเองให้ได้นามว่าพระธรรม ตลอดกาลไม่มีกำหนด


ทำไมข้าพเจ้าจึงกล่าวเช่นนี้ในกรณีหลังนี้? ทั้งนี้เพราะอาศัยข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อพิจารณาดูถึงบุคคลที่ได้ตรัสรู้และสอน ก็จะพบว่า ได้ตรัสรู้และทรงสอนเพื่อให้เข้าถึงภาวะแห่ง “บรมเขมธรรม แห่ง ๓ ส.” ดังกล่าวแล้วข้างต้นนั่นเอง และสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีประจำอยู่ในพระหฤทัยของพระองค์ ในฐานะเป็นแก่นสารทั้งหมดของพระหฤทัยนั้น แต่อย่างเดียวอยู่ตลอดเวลา


และเพราะเหตุที่พระองค์ทรงมีสิ่งๆ นี้ ประจำอยู่ในพระหฤทัย แทนที่จะมีกิเลส พระองค์จึงได้พระนามว่าพระพุทธเจ้า ถ้าสิ่งๆ นี้ ไม่มีในพระหฤทัยแล้ว พุทธภาวะก็หมดไป สิ่งสำคัญสิ่งนี้ อันได้แก่ ภาวะแห่ง “บรมเขมธรรม” นั้นต่างหาก หาใช่มนุษย์ภาวะไม่ ที่เป็นองค์แท้ของพระพุทธเจ้า จึงพร้อมทั้งกาย อันเป็นฐานรองรับนั้น เป็นเพียงเปลือกหรือเพียงภาชนะสำหรับรองรับภาวะแห่ง “บรมเขมธรรม” นั้นเท่านั้น


เมื่อกล่าวกันถึงสิ่งที่พระองค์ทรงทราบและทรงสอน ท่านทั้งหลายจะเห็นได้สืบไปว่า สิ่งนั้นก็คือ สิ่งๆ เดียวกันกับตัวภาวะแห่ง “บรมเขมธรรมของ ๓ ส.” ซึ่งพระองค์ทรงมีประจำอยู่ในพระหฤทัยของพระองค์เองตลอดเวลาอีกนั่นเอง


ถ้ากล่าวอีกอย่างหนึ่ง ในกรณีนี้มีความสำคัญที่จะต้องมองให้เห็นชัด อยู่ ๓ ลักษณะ คือ :


(๑) ในทางทฤษฎีสิ่งที่สอนๆ กันนั้น ก็ได้แก่ ทฤษฏีหรือวิธีการแห่งการที่จะได้มายิ่งภาวะแห่ง “บรมเขมธรรม” นั้น


(๒) ในทางปฏิบัติ สิ่งที่ปฏิบัตินั้น ก็ได้แก่ การปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งภาวะแห่ง “บรมเขมธรรม” นั้นอีกนั่นเอง และ


(๓) ซึ่งเป็นขั้นสุดท้าย ซึ่งข้าพเจ้าขอเรียกเอาเอง ว่า “ในทางการเห็นแจ้ง” เพราะไม่มีคำอื่นที่จะเรียกให้ดีกว่านี้ได้นั้น สิ่งที่เห็นแจ้งแทงตลอดนั้น ก็คือภาวะแห่ง “พระบรมเขมธรรม ของ ๓ ส.” นั้นโดยตรง โดยเหตุนี้ สิ่งที่พระองค์ทรงแสวง ทรงพบ ทรงปฏิบัติ ทรงรับผลของการปฏิบัติแล้วทรงสอนสืบมานั้น ก็ไม่มีอะไรอื่น นอกไปจากภาวะแห่ง “พระบรมเขมธรรม ของ ๓ ส.” นั้น


ฉะนั้นสภาวะแห่ง “บรมเขมธรรม” นั้นเอง เป็นองค์พระธรรมแท้ โดยใจความอันถูกต้อง และมีปริยัติกับปฏิบัติเป็นเสมือนหนึ่งแผนที่ และการเดินไปตามแผนที่ และมีปฏิเวธหรือการเห็นแจ้งแทงตลอดนั้น เป็นการถึงที่สุดของการเดิน  


แม้เมื่อจะกล่าวกันถึงหมู่ชนที่ฟังธรรมเข้าใจ แล้วปฏิบัติจนได้รับผลอย่างเดียวกันกับพระองค์นั้นเล่า หมู่ชนเหล่านั้น ก็ได้แก่ หมู่ชนผู้มีความเข้าใจในการที่จะทำตนให้ลุถึงภาวะแห่ง “บรมเขมธรรม” นั้น และในที่สุดก็คือ หมู่ชนผู้ที่ได้ลุถึงภาวะแห่ง “บรมเขมธรรม” นั้นแล้ว มีสิ่งๆ นี้เป็นแก่นสารประจำใจแต่อย่างเดียวไปจนตลอดชีวิตอีกนั่นเอง


สิ่งที่เขาเข้าใจ แล้วปฏิบัติ และเห็นแจ้งแล้ว มีอยู่ในใจเขานั้นต่างหาก ที่เป็นองค์พระสงฆ์เจ้าองค์แท้ หาใช่ลำพังกายกับใจล้วนๆ ไม่ ใจพร้อมทั้งกาย ซึ่งเป็นเสมือนฐานรองรับนั้น คงเป็นได้แต่เปลือกหรือภาชนะสำหรับรองรับสภาวะแห่ง “บรมเขมธรรม” นั้นไปตามเดิม


เพราะเหตุดังกล่าวมา ตัวสภาวะแห่ง “บรมเขมธรรม ของ ๓ ส.” ดังที่กล่าวแล้วนั้นเท่านั้น ที่เป็นตัวแท้ของพระรัตนตรัยทั้งสามรัตนะ กล่าวคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้ใดสามารถทำสภาวะแห่ง “บรมเขมธรรม” นั้น ให้ปรากฏในใจของตนได้แล้ว ผู้นั้นชื่อว่าได้มีพระรัตนตรัยอันแท้จริง ชนิดที่ครบทั้ง ๓ รัตนะ พร้อมกันในคราวเดียว เพราะเป็นสิ่งที่มีลักษณะเป็น ๓ ใน ๑ อยู่ในตัวเองโดยเด็ดขาด เป็นของผู้นั้นจริงๆ โดยไม่มีทางจะเป็นอื่นไปได้


สรุปความว่า พระรัตนตรัย ซึ่งนับเป็นสาม โดยจำนวนตามความหมายในชั้นนอกก็ดี หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นับเป็นหนึ่ง โดยความหมายในชั้นลึกดังกล่าวแล้วข้างต้นก็ดี ย่อมตั้งอยู่ในฐานะแทนที่พระเป็นเจ้าของลัทธิอื่นๆ ในศาสนาอื่นๆ ที่มีการถือพระเป็นเจ้าในฐานะเป็นวัตถุสูงสุดโดยทำนองเดียวกัน


ผู้ที่เข้าถึงพระรัตนตรัยในลักษณะเช่นนี้ได้ ย่อมชื่อว่าเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ “พระเป็นเจ้า” แต่เป็นพระเป็นเจ้าตามความหมายของพวกพุทธบริษัท จึงปราศจากหน้าที่แห่งการสร้าง การควบคุม และการทำลายล้างสิ่งใดๆ โดยสิ้นเชิง นี่แหละคือ “พระเป็นเจ้า” ของพวกเถรวาทเรา ! ถ้าหากเราประสงค์จะมีกะเขาบ้าง และพระเป็นเจ้าสำหรับการเข้าถึงด้วยปัญญา โดยวิธีกล่าวแล้วข้างต้น ไม่ใช่สำหรับยึดถือด้วยความภักดี หรือความไว้วางใจอย่างเดียว


     นี้แล ความน่าอัศจรรย์ประการที่สี่ของพุทธศาสนาอย่างเถรวาท


     
เพื่อนร่วมการเกิดแก่เจ็บตายทั้งหลาย ! บัดนี้ เวลาแห่งการปาฐกถาจะได้สิ้นสุดลงแล้ว ข้าพเจ้าขอถือโอกาสสรุปความว่า


ประเทศของเราทั้งสอง จักต้องมีพุทธศาสนาอย่างเถรวาท อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตและวิญญาณ พร้อมทั้งเป็นเครื่องรักษาสัมพันธไมตรีพร้อมกันไปในตัว


ลัทธิเถรวาทเรา มีความบริสุทธิ์อยู่ดังเดิมได้ ซึ่งโลกนักศึกษาต่างยอมรับรองในข้อนี้ จึงยังคงเป็นสิ่งที่ควรเทิดทูนและยึดไว้ อัฏฐังคิกมรรค เป็นหัวใจของลัทธิ สามารถทำโลกไม่ให้ว่างจากพระอรหันต์ ในลักษณะที่ไม่เหลือวิสัยคนทุกคน ซึ่งเมื่อทำให้ถูกวิธีแล้วจะง่ายดายเหมือนของเบาลอยน้ำออกไปสู่ทะเล เป็นหลักที่ใช้ถือปฏิบัติได้ ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายโลกุตตระ


เรามีความมุ่งหมายที่จะอยู่เหนืออำนาจเร้นลับ แห่งการสร้าง การควบคุม และการทำลายของสรรพกิเลส กล่าวคือ การลุถึงนิพพาน ตามแบบของเถรวาท ซึ่งมีสภาพเป็นอชาตอภูต-อมต ไม่น้อมไปเพื่อความมีตัวตน หรือมีการอยู่ในโลกของพระเป็นเจ้าแต่อย่างใด


เรามีพระรัตนตรัยแท้ ชนิดที่เป็นความสะอาด-สว่าง-สงบ ของจิตที่หมดกิเลส เป็นที่พึ่ง เป็นที่สักการะ แทนที่พระเป็นเจ้าของลัทธิอื่นๆ การกระทำของเราเป็นการช่วยตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีเหตุผลชัดเจน อำนวยประโยชน์ที่จำเป็นแก่ชีวิตให้จริงๆ จนไม่อยู่ในวิสัยที่ใครๆ จะกล่าวว่าเป็นยาฝิ่นของประชาชนดังได้กล่าวแล้ว และสามารถต่อสู้หรือทำลายอิทธิพลของลัทธิวัตถุนิยมได้จริง


เราทั้งหลาย ก็อยู่ในสภาพที่จะรู้ จะเข้าใจ จะปฏิบัติ และเห็นแจ้งในผลของการปฏิบัติ ตลอดจนถึงกับสามารถสั่งสอนสืบต่อๆ กันไปได้จริง เพราะว่าเรามีจิตใจสูงพอที่จะเข้าใจในเรื่องจิตหรือวิญญาณที่สูงไปกว่าเรื่องของวัตถุ และในเรื่องโลกุตตระซึ่งเร้นลับจากเรื่องโลกียะทั้งหลายได้นั่นเอง

เมื่อกล่าวอย่างสำนวนภาษาไทย เพราะข้าพเจ้าไม่สามารถทราบสำนวนภาษาอื่น ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า เราต้องไม่เป็นแรด เพราะแรดไม่สามารถที่จะฟังเสียงปี่อันไพเราะ โลกุตตรธรรมนั้น บรรเลงเพลงอันไพเราะอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราเป็นแรด เราก็จะไม่ได้ยิน


เมื่อ ๕๐๐ ปีเศษ ก่อนคริสต์ศักราชมาแล้ว ในประเทศกรีก ซึ่งโลกถือกันว่าเป็นดงปราชญ์ เฮรัคคลิตัส (Heraclitus) ได้เป่าปี่ให้แรดทั้งหลายของเขาฟังอย่างเหนื่อยเปล่า ! เขาเกิดพ้องสมัยกันกับพระพุทธองค์ ห่างกันไม่กี่ปี ได้โฆษณาทฤษฎี “แปนตาเร ทุกอย่างไหล” ของเขา ซึ่งมีใจความว่า


สิ่งทั้งปวง หรือที่รวมเรียกกันว่าโลกนี้ เป็นเพียงความไหลเนื่องกันไม่ขาดสาย ไม่มีอะไรเป็นตัวตนที่อยู่จริง มีแต่ความเปลี่ยนแปลงทุกส่วน กำลังดับอยู่ตามกันไม่มีขาดสาย เหมือนความดับติดต่อกันของไฟที่กำลังลุกโพลงๆ อยู่


แปนตาเร ทุกอย่างไหล” ของเรานี้ ก็คือ “สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา” ของพระพุทธองค์นั่นเอง แต่คนทั้งหลายในที่นั้น ฟังไม่รู้เรื่องเลย แล้วยังกลับหาว่าเขาเป็น “มนุษย์ลึกลับ” ทั้งนี้ ก็เพราะไม่ใช่อะไรอื่น นอกไปจากประเทศกรีกในสมัยนั้น เป็นดงแรดแห่งปรัชญาวัตถุนิยม แรดเหล่านั้น ฟังเรื่องทางฝั่งโลกุตตระไม่เข้าใจ ทั้งที่โลกยกย่องกันว่า เป็นเมืองนักปราชญ์มาจนกระทั่งทุกวันนี้


เราทั้งหลาย จงภูมิใจเถิดว่า เราฟังเพลงแห่งโลกุตตรธรรมของพระพุทธองค์ได้ยินและเข้าใจ เราไม่ยอมเป็นแรด แห่งลัทธิที่เป็นยาเสพติดของประชาชน เพราะมัวหวังผลเป็นวัตถุนิยม ทั้งในเมืองมนุษย์และเมืองสวรรค์อย่างแน่นอน ปรัชญาของเถรวาท ต้องเป็นมโนนิยมโดยเด็ดขาด จึงมุ่งผลเป็นนิพพาน คือความอยู่นอกเหนืออำนาจของสิ่งทั้งปวง อันเป็นที่ตั้งแห่งความลุ่มหลง จนถูกสร้าง ถูกควบคุม ถูกทำลายล้างวนเวียนไปไม่มีที่สิ้นสุด


ประเทศของเราเหลืองอร่ามไปด้วยกาสาวพัสตร์ นั่นมันเป็นเครื่องหมายของผู้อยู่เหนืออำนาจของผู้สร้าง ผู้ควบคุม ผู้ทำลายล้าง เป็นเครื่องหมายของแสงสว่างหรือปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความบริสุทธิ์ ความดับทุกข์ทั้งหลายได้สิ้นเชิง ไม่มีทางที่จะกลับเป็นทุกข์ได้อีกต่อไป


     นี้แลคือ ความน่ามหัศจรรย์แห่งหลักธรรมอันประเสริฐของเถรวาทเราโดยสรุป รวมทั้งความน่ามหัศจรรย์แห่งความเป็นเถรวาทินของพวกเราเองทุกๆ คนด้วย เราจะต้องรักษาคุณสมบัติอันนี้ไว้ ให้เหมือนเกลือรักษาความเค็มของมันเองไว้ได้ ตลอดกาลนิรันดร ฉันใดก็ฉันนั้น จงทุกคนเทอญ.

4.png




รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:35, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyODJ8NjExZmNjZTR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-5 23:59, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2ODF8MTU3ZWQ0NTF8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 08:12

๔. ข้อควรทราบเกี่ยวกับหลักพุทธศาสนานิกายต่างๆ


โดย

พุทธทาสภิกขุ


แสดง ณ สมาคมพุทธบริษัทไทย-จีนประชา
๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๓


1.png



     ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย บรรดาประชุมกันอยู่ ณ สถานที่นี้      


     ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดี ที่ได้มีโอกาสพบเห็นเพื่อนพุทธบริษัท ที่ยังไม่ได้เคยพบกันมาก่อน โดยเฉพาะพุทธบริษัทชาวจีน ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยคิดว่าจะมีอยู่อย่างเป็นปึกแผ่นมั่นคงถึงเพียงนี้ และข้าพเจ้าขอแสดงความขอบคุณสมาคม ในการที่ขอร้องให้ข้าพเจ้ามากล่าวปาฐกถาในวันนี้ ซึ่งข้าพเจ้ารู้สึกว่าเป็นเกียรติยศอย่างยิ่ง

และยังมีอีกอย่างหนึ่ง ที่ข้าพเจ้าจะต้องแถลงให้ทราบเสียแต่เบื้องต้นว่า การกล่าวปาฐกถาในวันนี้นั้น ข้าพเจ้าต้องขอโอกาสกล่าวอย่างฉันญาติ คือพูดอะไรได้ตรงๆ ตามชอบใจ ไม่ต้องเกรงใจกัน หรือต้องระมัดระวังคำพูดอะไรให้มากมายไป ไม่มีอะไรเคลือบแฝงทางการเมือง เพราะเราเป็นพวกเดียวกันโดยแท้จริง


คือ เป็นพวกที่กำลังศึกษาและปฏิบัติ เพื่อพ้นจากปวงทุกข์ในโลกนี้ ถ้าถือเอาศาสนาเป็นใหญ่ ข้าพเจ้าก็เป็นพุทธบริษัท ท่านทั้งหลายก็เป็นพุทธบริษัท แม้จะถือเอาเชื้อชาติเป็นประมาณ ข้าพเจ้ามีเลือดแห่งเชื้อชาติจีน เพราะบรรพบุรุษบางคนของข้าพเจ้าเป็นจีน เพราะฉะนั้นจะมีอะไรอีกเล่า ที่จะเป็นเครื่องกีดกันไม่ให้พูดจากันโดยเปิดเผย ตรงไปตรงมา และถ้าบางคำเกิดไม่ไพเราะขึ้น ท่านทั้งหลายจะไม่ให้อภัย

เนื่องจากครั้งนี้เป็นครั้งแรก และมีเวลาจำกัดไม่มากมายนัก ข้าพเจ้าเห็นว่าควรจะกล่าวถึง ข้อที่ควรทราบในเบื้องต้นโดยสังเขปทั่วไป จะเหมาะกว่าที่จะกล่าวถึงเรื่องใหญ่และละเอียดซับซ้อน จะได้ทันแก่เวลา และเป็นเหมือนการทดลองซักซ้อมกันดูก่อนว่า เราเข้าใจหลักใหญ่ในเบื้องต้นตรงกันหรือไม่


และเพื่อทราบว่าด้วยวิธีการแสดงสองภาษา คือ จีน-ไทย มีผู้แปลคู่กันไปเช่นนี้ จะสามารถแสดงให้เกิดผลได้เพียงไหน ถ้าปรากฏว่าเป็นผลดี หวังว่าสมาคมจะได้จัดให้มีการแสดงทำนองนี้เป็นประจำ ทำให้การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างพุทธบริษัทชาวจีนและชาวไทย ได้เป็นอย่างน่าชื่นใจทุกประการ

      ข้อแรกที่ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไปนั้น คือ ปัญหาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนานิกายต่างๆ โดยเฉพาะคือ มหายานกับหินยาน และในนิกายใหญ่ๆ นิกายหนึ่งๆ นั้น ก็ยังแบ่งเป็นนิกายย่อยๆ อีกเป็นอันมาก ข้อนี้ทำให้เกิดความหนักอกหนักใจแก่คนบางคน ซึ่งไม่เข้าใจในเรื่องนี้


โดยเข้าใจไปว่า เมื่อหลายนิกายกล่าวข้อความไม่ตรงกันแล้ว จะมีถูกพวกหนึ่ง มีผิดพวกหนึ่ง เลยไม่ทราบว่าจะถือเอาข้างไหนดี หรือเกิดมีคนบางพวกถือมั่นตามที่พวกตนเคยถือมาแต่ก่อนแล้วติเตียนพวกอื่นก็มี ความเสียหายเช่นนี้ ถ้ามีขึ้น ก็เกิดจากความเข้าใจผิดในปัญหาระหว่างนิกายนั่นเอง ข้าพเจ้าจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องกล่าวก่อนเรื่องอื่น

ในเรื่องนี้ ท่านจงพิจารณาดูอย่างง่ายๆ คือ ขึ้นชื่อว่าแสงไฟแล้ว ย่อมส่องทางให้แก่ผู้ส่องทั้งนั้น เราจะใช้กระจกตะเกียงสีขาว สีแดง สีเขียว หรือสีอะไรก็ตามที มันย่อมส่องให้เราเห็นถนนหนทางที่เราจะเดินไปได้ด้วยกันทั้งนั้น ขอแต่ให้มันมีแสงก็แล้วกัน สีเขียวสีแดงเหล่านั้น ไม่ทำให้เราต้องถึงกับเดินไปไม่เห็น หรือถึงกับหลงทาง ครั้นเราเดินไปถึงที่ๆ เราต้องการแล้ว ตะเกียงที่มีสีต่างกันนั้น ก็ไม่มีปัญหาอะไรเลย


บางทีจะเป็นการฉลาดเสียอีก ในการที่เราอยู่ในภูมิประเทศที่ต่างกัน แล้วเราจะใช้ตะเกียงมีกระจกสีต่างกัน คือให้ตรงกับความต้องการหรือความเหมาะสมของเรา ดีกว่าที่จะทำตามๆ กัน เพื่อให้เหมือนกันไปหมด ทั้งที่เรามีจิตใจ มีการศึกษา หรือที่อยู่อาศัยต่างกัน

มหายานกับหินยานนั้น ท่านทั้งหลายก็เห็นได้แล้วว่า เป็นพุทธศาสนาหรือแสงสว่างด้วยกัน จะมีผิดกันบ้างก็ตรงที่เครื่องประกอบภายนอกเล็กๆ น้อยๆ อันเนื่องมาจากความต้องการปลีกย่อยของบุคคลผู้นำพระศาสนาไปเผยแพร่ในที่นั้นๆ ซึ่งมีประชาชนต่างกัน มีขนบธรรมเนียมต่างกัน มีความจำเป็นบางอย่างที่ครอบงำเขาอยู่ต่างกัน แต่ทั้งสองนิกายก็ยังคงเป็นศาสนา หรือแสงสว่างอยู่นั่นเอง


เวลาล่วงมาตั้ง ๒๐๐๐ ปีกว่าแล้ว ใครจะไปชี้ได้โดยเด็ดขาดว่า ตะเกียงดวงไหนเป็นตะเกียงดวงเก่า และใครจะไปยืนยันได้ว่า ถ้าผิดจากตะเกียงดวงเก่าแล้วมันจะไม่ให้แสงสว่าง ใครบ้างที่สามารถทำตะเกียงที่จุดขึ้นแล้ว จะไม่มีแสงเสียเลยแม้แต่เล็กน้อย และใครบ้างจะคัดค้านว่า ถ้าใช้กระจกหน้าตะเกียงเป็นสีต่างๆ แล้ว มันจะหมดคุณภาพในการส่องถนนหนทางสำหรับเดิน

พุทธศาสนาในธิเบต ก็ไม่เหมือนกับพุทธศาสนาในประเทศจีน ในประเทศจีนก็ไม่เหมือนกันแท้กับในญี่ปุ่น, ในญี่ปุ่นก็ยิ่งไม่เหมือนกับในอินเดีย, ในอินเดียไม่เหมือนในพม่า, ในพม่าก็ไม่เหมือนในลังกา, ถึงแม้ในลังกา ก็มิใช่ว่าจะตรงกันทุกประการกับพุทธศาสนาในประเทศไทย แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ ขอให้เข้าใจว่ามันไม่เหมือนกันเฉพาะตัวตะเกียง หรือสีของกระจกหน้าตะเกียงเท่านั้น แต่แสงสว่างของตะเกียงทั้งหมดนี้ย่อมส่องให้เห็นภาพของสิ่งที่อยู่รอบตัวเราได้ด้วยกันทั้งนั้น


แม้ว่าแสงสว่างนั้นๆ จะมากน้อยกว่ากันบ้าง มันก็ไม่อาจจะลวงตาจนทำให้เราเห็นภาพนั้น ผิดจากความเป็นจริงไป เช่น เห็นเลขหนึ่งเป็นเลขสอง หรือเห็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ไปได้เลยเป็นอันขาด ถ้าไม่เชื่อ ท่านลองอ่านหนังสือด้วยไฟสีแดง สีเขียว สีม่วง สีขาว หรือสีอะไรก็ตามดูเถิด มันจะได้ความที่อ่านออกมานั้นเหมือนกันหมด

ฉะนั้นเป็นอันว่า ไม่มีปัญหาในระหว่างนิกาย ที่เราจะต้องระแวงต่อกันหรือถึงกับรังเกียจกัน ความเป็นพุทธบริษัทชาวจีนหรือชาวไทย ไม่สามารถบิดผันแสงสว่างของพุทธศาสนาที่จะส่องทางแห่งความรอดพ้นจากปวงทุกข์ให้แก่ชาวโลก ให้เป็นอย่างอื่นไปได้ พุทธศาสนาอย่างจีนหรือพุทธศาสนาอย่างไทย จึงเป็นอันเดียวกันเพราะเหตุนี้

พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ จะเป็นกี่ล้านองค์ก็ตาม สอนอย่างเดียวกันหมด ไม่แตกต่างกันเลยฉันใด พุทธศาสนาของพระองค์ ไม่ว่านิกายไหน ย่อมสอนมีความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน ให้แสงสว่างมีคุณภาพทำนองเดียวกันฉันนั้น เพราะฉะนั้น ปัญหาที่ควรวิสัชนากันนั้น จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับนิกายนั้น นิกายนี้


แต่มันเป็นปัญหาที่ว่าพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ทุกๆ พระองค์ได้ประทานแสงสว่างไว้อย่างไรต่างหาก ไม่มีปัญหาเรื่องฆราวาสหรือบรรพชิต แต่เป็นปัญหาอยู่ที่ว่าเขาจะสมัครมีแสงสว่างนั่นหรือไม่ต่างหาก ไม่มีปัญหาเรื่องผู้ชายหรือผู้หญิง เด็กหรือผู้ใหญ่ มั่งมีหรือยากจน ฉลาดหรือโง่ แต่มีปัญหาอยู่ที่ว่าเขาจะสมัครเดินทางแนวแห่งแสงสว่างนั่นหรือไม่เท่านั้น

แสงสว่างอันนี้ เป็นของกลางสำหรับมนุษย์ทุกคน กระทั่งถึงสัตว์เดรัจฉานที่รู้จักรักสุขเกลียดทุกข์ทั่วไปหมด เพราะว่าชีวิตทั้งหลายแก่พวกพุทธบริษัท การแบ่งแยกควรมีเฉพาะเรื่องการกินอยู่ การแต่งงาน การบ้านการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องโลกๆ เท่านั้น ทั้งสากลจักรวาล ตามที่เขาประมาณกันว่ามีอยู่ประมาณสามหมื่นจักวาล เรามาพิจารณาดูกันบัดนี้เถิดว่า ตัวเราและสหายของเราทั้งในสามหมื่นจักรวาลนั้น กำลังต้องการอะไร เรื่องนี้เองเป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าจะได้กล่าวเป็นข้อที่สอง และถือว่าเป็นใจความสำคัญของปาฐกถาวันนี้

เราจะต้องถามตัวเราเองให้รู้เรื่องเด็ดขาดแน่นอนลงไปเสียก่อนว่า “เราต้องการอะไร?” ตั้งแต่เราเกิดมา เราไม่เคยหยุดนิ่ง เราเล่าเรียน เราทุกสิ่งทุกอย่าง เราวิ่งไปวิ่งมาเสมอ กระทั่งในวันนี้ เราประชุมกันอยู่ในที่นี่ ทั้งหมดนี้เราทำไปไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยนั้น เราต้องการจะทำสิ่งอื่นๆ ต่อไปอีก ไม่เคยนึกว่าจะสิ้นสุด การที่เป็นเช่นนี้ เราต้องการอะไร ถึงใครจะให้ฉันหรือทำชื่อเสียงให้แก่เราสักเท่าใด เราไม่เคยคิดว่าเราจะหยุดขวนขวายเพียงเท่านั้น เรายังดิ้นรนต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด
        
เมื่อเป็นเด็ก จงนึกดูให้ดี เราต้องการอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกับที่เรากำลังต้องการในบัดนี้ ครั้นเป็นหนุ่มเป็นสาวต้องการต่างจากเมื่อเป็นเด็กไปอีกอย่างหนึ่ง ครั้นมีอายุเป็นผู้ใหญ่กลางคน เราเปลี่ยนความต้องการต่อไปอีก กระทั่งเราเป็นคนอายุสูง เราก็เปลี่ยนความต้องการอยู่เสมอไป สมมติว่าถ้าเราจะสามารถมีอายุยืนต่อไปได้อีกสักพันปี เราก็คงจะเปลี่ยนความต้องการของเราทุกๆ ๕๐ ปี หรือถ้าสมมติว่าเราจะมีอายุได้สักล้านปี เราก็คงเปลี่ยนความต้องการของเราเองทุกๆ ๕๐ ปีอีกเหมือนกัน


จงดูเถิด เราต้องการอะไรกันแน่ และตัวเราเมื่ออายุเท่าไร ที่เราถือว่าเป็นตัวเราจริงๆ ถ้าเราอยากจะมีตัวเราสักคนหนึ่ง เราชอบที่จะชี้ลงไปว่า ตัวเราเมื่ออายุเท่าไรเป็นตัวเราที่เราพอใจจะยอมรับว่าเป็นตัวของเรา เราคงไม่ยอมรับว่าตัวเราที่โง่เขลา ทำชั่ว เดือดร้อน ว่าเป็นตัวเราที่แท้จริง แต่ในที่สุด เราก็หาตัวเราที่ฉลาด ที่ทำดีอย่างเดียว มีสุขเป็นที่พอใจตนเองอยู่เสมอ ไม่พบอีกเหมือนกัน เพราะฉะนั้น อย่าว่าแต่เราจะทราบถึงว่าเราต้องการอะไรเลย ตัวเราคืออะไร ตัวไหนกันแน่คือตัวเรา เราก็หาไม่พบกันเสียแล้ว

พระศาสนาของเรา ทั้งฝ่ายหินยานและมหายาน เป็นเครื่องส่องสว่างให้เราพบสิ่งที่จะช่วยให้เราฉลาด ทำดีจริงๆ และเป็นสุขพอใจตนเองอยู่เสมอ แล้วยิ่งกว่านั้น ยังสอนสิ่งที่สูงขึ้นไปกว่านั้นอีกชั้นหนึ่ง คือชั้นสูงสุดจริงๆ เป็นที่ปรารถนาของผู้เบื่อต่อการที่จะมีตัวเรา แต่ว่าชั้นนี้ อาจจะสูงเกินไปจนไม่เป็นที่ต้องการของงานทั่วไปก็ได้ ฉะนั้น เราจึงวางหลักสำหรับบรรดาสัตว์ที่ยังอยู่ในชั้นที่จะต้องมีตัวเราไปก่อน เมื่อเข้าใจและทำได้ถึงที่สุดแล้ว เราจึงไต่ขึ้นไปหาชั้นที่วางสำหรับผู้ที่เบื่อหน่ายต่อการที่จะมีตัวเราต่อไป

เมื่อเราเป็นพลเมืองดีของชาติ เป็นสุภาพบุรุษของโลก มีเงิน มีเกียรติครบถ้วน ตามที่ชาวโลกเขาต้องการกันแล้ว ก็นับว่าเราประพฤติสำเร็จลุล่วงไปได้ชั้นหนึ่ง แต่เป็นชั้นที่ยังไม่ช่วยให้เรารู้จักตัวเราอย่างแท้จริง เพราะบางคราวเราก็เกิดเบื่อหน่ายต่อความมั่งมีศรีสุขเหล่านั้นของเราขึ้นมาอย่างไม่นึกฝัน ยังอยากทำชั่วแปลกๆ ใหม่ๆ ต่อไปก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็แปลว่าเรายังไม่พบ “ตัวเราที่แท้จริง” ยังพบแต่ตัวเราที่หลอกๆ เหมือนผีหลอก


เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่พบได้เลยว่า “เราที่แท้จริงนั้น ต้องการอะไร” เมื่อไม่ทราบแน่ว่าเราที่แท้จริงต้องการอะไร ก็จำเป็นต้องหลับตาทำไปตามอำนาจความหลอกตัวเองอยู่ร่ำไปเท่านั้น เป็นเหมือนการติดคุกของพวกหลอก ตกนรกของความหลอก ทั้งที่ยังมีชีวิตเป็นๆ อยู่ทีเดียว และยืดยาวไม่ค่อยจะมีที่สิ้นสุดได้เลย เพราะฉะนั้น เราจะต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ให้ดี คือ หาให้พบในขั้นต้น ที่เราถือว่ามีตัวเรา ว่าอะไรเป็นตัวเราที่แท้จริง ที่พอจะยึดถือเอาเป็นประมาณให้ได้เสียก่อนว่า เรากำลังต้องการอะไร

ตัวเราที่แท้จริง ที่บริสุทธิ์ ที่สงบเย็นเป็นสุข ที่สว่างแจ่มใสนั้นเท่านั้น ที่พอจะถือได้ว่าเป็นเราที่แท้จริง เป็นตัวเราดั้งเดิมหรือหน้าตาดั้งเดิมของเรา ตัวเรามีกำลังร้อนระอุเพราะความทะเยอทะยาน กำลังสกปรกมืดมัวนั้น ใครก็คงไม่อยากจะยอมรับว่าเป็นตัวเรา เพราะเหตุว่าเมื่อเอาสิ่งที่ทำให้ร้อน ให้สกปรก ให้มืดมัวเหล่านั้นออกไปเสียแล้ว สิ่งที่บริสุทธิ์และเป็นสุขแจ่มใสจะเหลืออยู่ มันเป็นสิ่งคนละอย่างและแยกออกจากกันได้ เราจึงสมัครเลือกเอาข้างสิ่งที่บริสุทธิ์ผุดผ่องว่าเป็นตัวเราเสมอ


ของที่เข้ามาหุ้มห่อ จนทำให้เราไม่รู้จักตัวเอง และไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไรนั้น เป็นเพียงสิ่งที่เหมือนกับโคลนหรือของสกปรกที่มาฉาบทาเข้าที่เราเท่านั้น หาใช่ตัวเรา หรือหน้าตาดั้งเดิมของเราไม่ ครั้นเขาชำระล้างสิ่งนี้ออกไปเสียได้ ด้วยอาศัยคำสอนทางพระศาสนา เราก็เห็น “หน้าตาดั้งเดิมของเรา” หรือเรารู้จักตัวเราที่แท้จริง ถูกต้องสมกับที่เรารักที่จะมีตัวเรา

ตัวเราที่ดั้งเดิมแท้จริงนั้น เหมือนเป็นตัวเดียวกันหมด แบ่งแยกเป็นจีนก็ไม่ได้ เป็นไทยก็ไม่ได้ เป็นฝรั่งก็ไม่ได้ เป็นคนดีก็ไม่ได้ คนชั่วก็ไม่ได้ เพราะเราได้ชะล้างเอาสี หรือฉลากยี่ห้อที่ปิดปุปะไว้ชั้นนอกๆ ออกหมดแล้ว ล้างดินล้างโคลนล้างไคลอันสกปรกออกหมดสิ้นแล้ว มันจึงไม่มีลักษณะอะไรที่ทำให้เห็นว่าแตกต่างกัน จนถึงกับแบ่งแยกแตกพวกกันได้


เนื้อหนังร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เราว่ามันเป็นไปตามอำนาจของธาตุทั้งหลายที่ปรุงแต่งมันขึ้นมา มันจึงเป็นเพียงเปลือกหุ้มตัวเราอยู่นั้น ครั้นเราเอาออกเสียให้หมด เราก็เข้าถึงความไม่มีหญิง ไม่มีชาย อวัยวะที่ทำให้เกิดความรู้สึกระหว่างเพศไม่มีแล้ว ความรู้สึกว่าหญิง ว่าชายก็มีขึ้นไม่ได้ เราจึงไม่มีหญิงไม่มีชายในตัวเราที่แท้จริง

ตัวอย่างเพียงเท่านี้ ก็เป็นการแสดงเพียงพอแล้วว่า ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ที่เรากำลังนึกคิดกันอยู่ในบัดนี้นั้น หาใช่ความนึกคิดของตัวเราดั้งเดิมที่บริสุทธิ์ไม่ มันเป็นเพียงผลของอวิชชา หรือความโง่เขลาที่เพิ่งจะพอกหุ้มเข้าภายหลัง มันพอกเสียมิดชิด และสนิทจนตัวเราดั้งเดิมไม่มีโอกาสที่จะแสดงตัวเองที่ถูกต้องออกมาได้ เพราะคนใหม่เข้ามาเป็นนายเสียราบคาบ จนคนเก่าไม่มีโอกาสที่จะแสดงตนว่า คนที่อยู่ข้างในนั้นต่างหาก เป็นคนที่บริสุทธิ์ถูกต้อง คนใหม่ที่เข้ามาบังหน้า ก็ไม่ยอมหลีกทางไป คนเก่าก็ต้องถูกเก็บซ่อนข้างในตลอดมา

ท่านทั้งหลายจงมองดู “หน้าตาดั้งเดิมของตนเอง” เถิด, มันไม่มี หัว หู ปาก จมูก ที่จะแสดงว่าเป็นจีน หรือไทย หรือฝรั่งแขก ฯลฯ มันไม่มีหญิง ไม่มีชาย ไม่มีเด็กผู้ใหญ่ ไม่มีเศรษฐีหรือคนขอทาน ไม่มีคนโง่หรือฉลาด ครั้นท่านมองเห็นมันจริงๆ จนถึงกับสลดสังเวช ออกอุทานว่า “พุโธ่ ตัวเราเอ๋ย” ดังนี้แล้ว ท่านก็จะรู้จักว่า ตัวเราที่แท้จริงนั้นคืออะไร และพร้อมกันนั้นก็จะเห็นเองว่า เรากำลังต้องการอะไร ตัวเราที่แท้จริงดั้งเดิมนั้นต้องการอะไร และเปลือกนอกของมันต้องการอะไร ตัวเรากับเปลือกนอกของเรานั้น หาใช่สิ่งเดียวกันไม่

ความต้องการผู้หญิงสักคนหนึ่งนั้น เป็นความรู้สึกของความเป็นชาย ความต้องการผู้ชายสักคนหนึ่งนั้น เป็นความรู้สึกของความเป็นหญิง ความต้องการตุ๊กตาสักตัวหนึ่งนั้น เป็นความรู้สึกของความเป็นเด็ก ความต้องการรถยนต์คันใหญ่ๆ สักคันหนึ่ง หรือบ้านใหญ่ๆ สักบ้านหนึ่งนั้น เป็นความรู้สึกของความเป็นผู้ใหญ่ ฯลฯ เมื่อความเป็นหญิง หรือความเป็นชาย ความเป็นเด็ก หรือความเป็นใหญ่เหล่านี้ ไม่มีในตัวเราดั้งเดิมแท้จริงแล้ว มันก็ไม่ต้องการผู้หญิงหรือผู้ชาย ไม่ต้องการตุ๊กตาหรือรถยนต์ หรือบ้าน ฯลฯ เป็นต้น เหล่านั้นเลย แม้ท่านลองคิดดูอีกทีหรือว่า มันต้องการอะไร?

ตัวเราดั้งเดิมนั้น ไม่ต้องการอะไรเลย เพราะมันเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งอยู่เหนือธรรมชาติที่เป็นสังขาร หรือรูปนาม ความต้องการนั่น ต้องการที่นั้น ต้องการสำหรับร่างกาย และสำหรับบำรุงจิตที่กำลังถูกกิเลสตัณหาห่อหุ้ม หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความต้องการเป็นรูปและนามที่ยังเต็มไปด้วยความยึดถือตัวเราดั้งเดิม ซึ่งพ้นไปจากความเป็นหญิงเป็นชาย ไม่มีร่างกายเป็นเนื้อหนัง มันก็ไม่ต้องการอาหาร ไม่ต้องการเสื้อผ้า เป็นต้นนี้ เป็นเพียงของร่างกายหรือของจิตที่ยึดถือเอาร่างกายนี้ว่า เป็นตัวตนหรือของตน อันเรียกว่า สักกายทิฏฐิ เป็นกิเลสอันแรกที่ปุถุชนต้องละ เพื่อความบรรลุมรรคผลสูงๆ ขึ้นไป

เพราะฉะนั้น ในขั้นต้นๆ ของการปฏิบัติ จึงมีหลักสำคัญแต่อย่างเดียว คือ รู้จักพิจารณาเลือกเฟ้นหาให้พบว่า ถ้าจะมีตัวเราที่แท้จริงกันแล้ว สภาพเช่นไรเป็นตัวเราที่แท้จริง สภาพเช่นไรเป็นตัวปลอมหรือกิเลส ครั้นหาพบแล้ว เราจะได้เลิกการทำตามอำนาจของกิเลสและควบคุมกิเลสนั้นๆ ให้อยู่ในอำนาจของเรา ในที่สุดก็จะมีความสุข เบาสบาย บริสุทธิ์ ผ่องใส


ทั้งนี้เพราะเหตุว่า สิ่งที่ควรได้รับสมมติว่าเป็นตัวเราอันแท้จริงนั้น ไม่ต้องการอะไร มันจึงไม่ขาดแคลนอะไร เป็นสิ่งที่เต็มเปี่ยมอยู่เสมอ การเป็นเช่นนี้ นับว่าได้ปฏิบัติเสร็จสิ้นไปชั้นหนึ่ง คือ ถอนความรู้สึกว่าตัวเราออกมาเสียได้ จากนามและรูป ไม่เห็นว่านามรูปเป็นเรา หรือของเราอีกต่อไป ทั้งยังเห็นอีกด้วยว่า ตัวเราได้สลัดของปลอมทิ้ง ไม่มีอาลัยเยื่อใยอีกต่อไป กำหนดเพ่งจ้องเพื่อจะเข้าถึงของจริง เป็นผู้มีการปฏิบัติที่แน่วแน่ต่อนิพพาน ไม่มีผิดพลาดนี้ นับว่าเป็นการปฏิบัติขั้นหนึ่ง คือได้พบของจริง

ครั้นได้เล็งเห็นของจริง หรือหน้าตาดั้งเดิมที่บริสุทธิ์แล้ว การปฏิบัติในขั้นต่อไปก็มีว่าของจริงอันนั้น เป็นตัวเราหรืออะไรกันแน่ ของจริงนั้น เราถือว่าเป็นตัวเราที่แท้จริง หรือหน้าตาดั้งเดิมของเรา คือหน้าตาที่ปราศจากกิเลส หรือสิ่งที่ไม่มีกิเลส แต่เราควรจะตั้งอกตั้งใจพิจารณาดูให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เพราะว่าการปฏิบัติในขั้นนี้ นับว่าเป็นขั้นสำคัญที่สุด เราจะลุถึงนิพพานได้หรือไม่ ก็เพราะการปฏิบัติขั้นนี้


การพิจารณาในขั้นนี้ ก็คือ การพิจารณาลงไปอีกครั้งหนึ่งว่า ของจริงอันประเสริฐที่เราได้พบใหม่นี้ มันเป็นอะไร คือเป็นตัวเรา หรือมิใช่ตัวเรา เป็นเพียงของจริงล้วนๆ ไม่เป็นตัวของเราหรือของใคร ใช่หรือไม่ หรือว่ามันเป็นตัวเราเอาจริงๆ

ถ้าความยึดมั่น หรืออุปาทาน ยังเหลืออยู่บ้าง เราก็ยังคงยึดถือว่าของจริงอันนั้นเป็นตัวเรา ไปอีกสักพักหนึ่ง แม้เราจะได้หยั่งถึงของจริงนั้นด้วยปัญญาแล้วก็ตาม เราก็ยังไม่สามารถเข้าถึงของจริงนั้นโดยสิ้นเชิง เพราะจิตยังมีอุปาทานสำหรับยึดถือเหลืออยู่ เป็นเครื่องกั้นไว้ไม่ให้เราเข้าถึงของจริงอันนั้น


ทั้งที่เรากำลังมองเห็นจ่อหน้ากันอยู่ หรือลูบคลำอยู่บางส่วน เปรียบเหมือนเราอยู่ในกรงเหล็กซี่ห่างๆ เรามองเห็นที่ว่างนอกกรงได้ดี ยื่นมือออกมาคว้าที่ว่างนอกกรงก็ได้ ทั้งเราเห็นชัดเหลือเกินว่า ที่นอกกรงนั้นไม่มีการกักขัง แต่ถึงกระนั้น เราก็ยังออกมานอกกรงไม่ได้อยู่นั่นเอง

ข้อนี้เป็นฉันใด การที่เรามองเห็นความจริงแล้ว แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงความจริงให้เด็ดขาดได้ เพราะเหตุที่มีอุปาทานว่า นั่นแหละคือตัวเรา อันเป็นเหมือนซี่กรงที่กั้นเราได้ ไม่ให้เราเข้าถึงสิ่งนั้นโดยอิสระ เราจึงเข้าถึงนิพพานไม่ได้ ทั้งที่เราเห็นอยู่ตำตา ยื่นมือคว้าก็ถึง ดุจคนอยู่ในกรงยื่นมือออกมาคว้าที่ว่างนอกกรง แต่จะออกมาทั้งตัวไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น

เพราะฉะนั้น เราทุกคนจะต้องระมัดระวังให้ดี มิใช่ว่าเราพอสักว่ามองเห็นหน้าตาดั้งเดิม คือสภาพที่ไม่มีกิเลสเจือปนแล้ว เราจะเข้าถึงนิพพานได้ทันทีก็หาไม่ ทั้งนี้เพราะว่า เรายังมีความยึดถือเหลืออยู่เล็กน้อย แล้วไปยึดถือเอาสิ่งที่ไม่มีกิเลสนั้นแหละว่าเป็นตัวเราไปเสีย เราต้องฉลาดอีกครั้งหนึ่ง


ฉลาดเป็นครั้งสุดท้าย คือ รู้ว่าแม้ของจริงอันนั้น หาใช่ตัวเราไม่ เป็นธรรมชาติล้วนๆ ฝ่ายอสังขตะ เป็นธรรมบริสุทธิ์ เป็นธรรมล้วนๆ เท่านั้นมีอยู่เอง ไม่เกิด ไม่ตาย เป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง ไม่เป็นตัวเรา ไม่ควรจะเรียกว่าตัวเรา เพราะคำว่าเรา หรือความรู้สึกตัวเรานั้น เป็นความรู้สึกของกิเลสที่เป็นเหมือนโคลนที่เข้ามาหุ้มตัวเรา ที่เราได้ล้างออกเรื่อยๆ จนหมดสิ้นไปแล้ว

ความรู้สึกว่าเรา หรืออุปาทานนั้น ไม่มีแล้ว เท่ากับซี่กรงหักหมดแล้ว เราจึงออกมานอกกรงได้ เรียกว่าจิตหลุดออกมาได้ หรือจิตพ้นจากอุปาทานเท่านั้นเอง หามีตัวเราไม่ จิตนั้นก็ไม่ใช่ตัวเรา เพราะจิตนั้น ไม่มีความยึดถือตัวมันเองว่าตัวเรา จึงได้หลุดออกมาได้ ท่านจึงตรัสว่า “การหลุดพ้นนั้นมีแล้ว มีแต่ตัวผู้หลุดพ้นหามีไม่” นี่แหละคือ การหลุดพ้นตามแบบของพุทธศาสนา

การหลุดพ้นตามแบบของพระพุทธศาสนานั้น เราที่เป็นพุทธบริษัทจะต้องเข้าใจให้ดีๆ ไม่ว่าพุทธศาสนาอย่างหินยานหรือมหายานก็ตาม ย่อมเป็นการหลุดพ้นอย่างเด็ดขาด ไม่มีเยื่อใยของอุปาทานเหลืออยู่แม้แต่เล็กน้อย การหลุดพ้นที่ไม่เด็ดขาด ยังมีอุปาทานเหลืออยู่บ้างโดยไม่รู้สึกตัวนั้น เป็นการหลุดพ้นของพวกอื่นเขา หาใช่ของพุทธศาสนาไม่


การหลุดพ้นชนิดนั้น หลุดพ้นแต่เพียงจากความยึดถือที่หยาบๆ ไม่สามารถหลุดพ้นจากความยึดถือชั้นละเอียด จะต้องทำการปฏิบัติต่อไปอีกชั้นหนึ่ง จึงจะเป็นการลุถึงนิพพาน แต่ไม่เป็นไร การหลุดพ้นซึ่งยังไม่ถึงที่สุดนั้น ย่อมจะถึงที่สุดได้ในภายหลัง เพราะเมื่อดำเนินขึ้นมาถึงขั้นนี้แล้ว ย่อมไม่ไปทางไหนเสีย ย่อมจะตามมาทางเดียวกัน คือถึงนิพพานในที่สุดเหมือนกัน เป็นแต่ต้องเสียเวลามากไปหน่อยเท่านั้นเอง คือเขาจะต้องหลงต่อไปอีกสักพักใหญ่ จนกว่าจะเกิดความฉลาดครั้งสุดท้าย

รวมความว่า ใครปฏิบัติทำลายความเศร้าหมองของกิเลสห่อหุ้มอยู่ได้ จนสามารถมองเห็น “หน้าตาดั้งเดิม” ที่ปราศจากกิเลสแล้ว ต้องให้รู้แจ้งครั้งหนึ่งว่า “หน้าตาดั้งเดิม” นั้น ก็เป็นเพียงธรรมที่บริสุทธิ์ล้วนๆ หาใช่ตัวเราไม่ จิตของผู้ที่มองเห็นหน้าตาดั้งเดิมนั้น บริสุทธิ์มาก พอที่จะไม่เที่ยวยึดถือเอาอะไรว่าเป็นตัวเราอีกต่อไป


การพูดว่า ตัวเราในขั้นนี้ ถ้ามีพูด ก็สักว่าพูด เพราะมีคำจะพูดเท่านั้น หาได้มีความยึดถือกอดรัดเอาสิ่งที่บริสุทธิ์นั้นมาเป็นตัวเราอีกก็หาไม่ จิตที่หลุดพ้นจากความยึดถือก็หมดทุกข์ เพราะทุกข์มีอยู่ที่จิต ซึ่งมีความยึดถือเท่านั้น เมื่อเราทำจิตให้หลุดพ้นจากความยึดถือได้นั่น ก็คือการทำให้ทุกข์หมดสิ้นไป เรียกว่า “ที่สุดของความทุกข์” หรือนิพพาน

      จึงขอเตือนอีกครั้งหนึ่งว่า จิตของผู้ใดก็ตาม เมื่อหมดอาสวะมาคราวละน้อยๆ ตามลำดับ จนถึงขั้นที่มองเห็น “หน้าตาดั้งเดิม” ของตนเองแล้ว จงระมัดระวังพิจารณาอีกครั้งหนึ่งเถิด เป็นครั้งสำคัญขั้นสุดท้ายแล้ว จงพิจารณาดูอีกครั้งหนึ่ง จนเห็นตามที่เป็นจริง ว่าแม้สภาพดั้งเดิมที่บริสุทธิ์นั้น ก็หาใช่ตัวเราไม่ เป็นธรรมที่บริสุทธิ์ล้วนๆ เป็นสภาพแห่งอสังขตะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่านิพพาน ในฐานที่เป็นแดนที่ดับทุกข์ทั้งปวง

      เท่าที่กล่าวมาตั้งแต่บัดนี้ นับว่ายืดยาวเกินเวลาอยู่แล้ว ขอสรุปเป็นหลักใหญ่ๆ สั้นๆ อีกครั้งหนึ่งว่า


      (๑) พุทธศาสนาทุกนิกาย เป็นแสงสว่างส่องทางไปพระนิพพานด้วยกันทั้งนั้น


      
(๒) สัตว์ทุกๆ สัตว์ สมควรจะเข้าถึงนิพพานเหมือนกันหมด ไม่แบ่งแยกเป็นจีนเป็นไทย ไม่มีนิพพานสำหรับชนจีนต่างหากจากนิพพานสำหรับชนชาติไทย


      
(๓) ข้อปฏิบัติในขั้นต้น คือ ชะล้างความโง่เขลาหยาบๆ ออกเสียจากจิต จนจิตนั้นสามารถมองเห็นหน้าตาดั้งเดิมของมันในเมื่อยังไม่ถูกกิเลสห่อหุ้ม


      
(๔) ข้อปฏิบัติขั้นปลาย ยากมาก ประณีตมาก ต้องระวังให้ดี คือ ระวังอย่าให้มีอุปาทานเหลืออยู่ สำหรับยึดถือธรรมที่บริสุทธิ์นั้นว่าเป็นตัวเราเลย เพียงแต่เราสมมติกันเล่นๆ ว่า นี่คือหน้าตาดั้งเดิมของเขา ก็มากเกินไปเสียแล้ว

      ในที่สุดนี้ ข้าพเจ้าหวังว่าท่านผู้ฟังทุกคนคงจะมองเห็นความจริงในข้อที่ว่า การเป็นชนชาติจีนหรือไทย เป็นหินยานหรือมหายาน เป็นพุทธหรือเป็นคริสต์นั้น มันมีอยู่เพียงผิวนอกๆ ของเปลือกที่ห่อหุ้มของจริง ครั้นเอาเปลือกหรือโคลนที่สกปรกนั้นออกเสียแล้ว ไม่มีอะไรที่จะกำหนดลงไปว่า ใครเป็นจีนหรือไทย ใครเป็นหินยานหรือมหายาน เป็นพุทธหรือเป็นคริสต์


เพราะมันยังเหลืออยู่แต่จิตใจ ที่กำลังบริสุทธิ์ผุดผ่องเสมอเหมือนเป็นอันเดียวกันหมด ทั้งสามหมื่นจักรวาล เสวยวิมุตติสุขอันเกิดจากการได้เข้าถึงธรรมอันบริสุทธิ์หรือนิพพานอยู่จนกว่าจะหมดเหตุหมดปัจจัย แล้วจิตนั้นก็ดับไปเป็นครั้งสุดท้าย คงเหลืออยู่แต่ธรรมบริสุทธิ์ คือนิพพาน เป็นอนันตกาลไม่มีที่สิ้นสุด สำหรับให้สัตว์ที่มีปัญญาหน่วงเอาเป็นอารมณ์ ถอนตนขึ้นมาเสียจากหล่มเลนลึก กล่าวคือ การสำคัญผิดยึดถือตัวตนเท่านั้น

และหวังว่าท่านทุกคน คงจะรู้จักฉวยโอกาสอันประเสริฐ คือความไม่มัวหลงพะวงอยู่ในสิ่งที่หลอกให้หลงจนเกิดความเบียดเบียนกันขัดขวางกัน แทนที่จะช่วยส่งเสริมกันให้ลุถึงนิพพาน อันเป็นที่ทุกคนควรปรารถนา ครั้นได้โอกาสอันนี้มาแล้ว ก็จะรีบมองให้ทะลุโลกหรือร่างกาย ละวัตถุต่างๆ อันหลอกหลวง ให้เห็นธรรมอันเป็นสิ่งที่จริงแท้


จงรีบมองให้เห็นว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง และความคิดที่ผิดๆ อย่างอื่นๆ นั้น เป็นเพียงโคลนที่เพิ่งจะเข้ามาพอกมากขึ้น เหมือนดินที่พอกหางหมู ฉะนั้น คงไม่เป็นการเหลือวิสัย ในการที่ชะล้างมันออกเสีย ครั้นสิ่งโสโครกเหล่านั้นหลุดไปหมดแล้ว จิตใจก็สว่างเอง รู้สิ่งทั้งปวงเอง ไม่ต้องมาประชุมกัน ศึกษาหาความรู้ ดังที่เรากำลังประชุมกันอยู่ที่นี่อีกต่อไป

ความเป็นพระพุทธเจ้าก็มีอยู่ในเราแล้ว ความเป็นพระโพธิสัตว์ก็มีอยู่ในเราแล้ว ความเป็นพระอรหันต์ก็มีอยู่ในเราแล้ว เมื่อใดกิเลสที่ห่อหุ้มอยู่ถูกทำลายหมดสิ้นไป เมื่อนั้นความเป็นพระพุทธเจ้า ความเป็นพระโพธิสัตว์ และความเป็นพระอรหันต์ ก็ปรากฏออกมาเอง เรากำลังหลงว่า เรานี้เป็นเรา หาใช่เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระโพธิสัตว์ หรือเป็นพระอรหันต์ไม่ นี่ก็เพราะคนเรานั้น หาใช่คนที่แท้จริงไม่ แต่เป็นผีหรือกิเลสที่เข้ามาอยู่แทนที่ปัญญาหรือความรู้ของเรา


ฉะนั้น เราอย่ายึดถือเอาความรู้สึกที่หลงใหลอยู่ในโลกนี้ ว่าเป็นเราเลย ในที่สุดเราก็จะได้พบ “หน้าตาดั้งเดิมของเรา” ที่บริสุทธิ์ และเห็นในที่สุดอีกครั้งหนึ่งว่า นั่นคือธรรมที่บริสุทธิ์เท่านั้น หาใช่ตัวตนอะไรไม่ แต่เป็นสิ่งที่ควรปรารถนาของบรรดาสัตว์ทั่วทั้งสามหมื่นจักรวาล เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่มีการแบ่งแยกเป็นเราเป็นเขาได้เลย


ขอให้ความนับถือจงมีแด่
พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และพระอรหันต์ทั้งปวง !
ขอความสวัสดี และสมประสงค์ในธรรมอันบริสุทธิ์
จงมีแด่ท่านทั้งหลาย !
สวัสดี !!!

4.png




รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:39, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyODR8MTRjMzI2NTJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-16 13:03, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2ODd8MzcxOWZiNzl8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 08:13

ปาฐกถาเรื่อง

๕. สิ่งที่เรายังสนใจกันน้อยไป


โดย

พุทธทาสภิกขุ


แสดงท่ามกลางที่ประชุมใหญ่ พุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๐๙
ณ พุทธสถาน เชียงใหม่

1.png



      เพื่อนพุทธบริษัททั้งหลาย ทั้งที่เป็นสมาชิกและมิได้เป็นสมาชิก
พสล. ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์

     ข้าพเจ้าได้รับคำขอที่ไม่อาจปฏิเสธได้ จากท่านประธานขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) ให้มากล่าวอะไรสักอย่างหนึ่ง กะท่านทั้งหลายในสถานที่นี้ ในวันนี้ ข้าพเจ้าขอพูดกะท่านทั้งหลาย ในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ แห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเป็นเพื่อนที่จะร่วมมือกันแก้ไข หรือกำจัดความทุกข์ของมนุษย์เป็นส่วนรวมให้หมดไป ท่านทั้งหลายต้องให้อภัยและโอกาสเพื่อให้ข้าพเจ้าพูดอะไรตรงๆ ตามความรู้สึกอันแท้จริง เพื่อเป็นการประหยัดเวลา และตรงตามสปิริตของพุทธบริษัทเรา คือพูดจริง ทำจริง และรักเพื่อนมนุษย์กันจริง

      เรื่องที่ข้าพเจ้าจะพูด ในเวลาอันจำกัดนี้ คือสิ่งที่ข้าพเจ้าได้สังเกตเห็นมาเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี และรู้สึกว่าเป็น สิ่งที่พวกเรายังสนใจกันน้อยไปหน่อย ทั้งที่มันเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับกิจการอันใหญ่หลวงของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็ในระยะที่กิจการของพุทธบริษัทเราทั่วทั้งโลก ดำเนินมาจนถึงขั้นนี้ สิ่งที่กล่าวนั้นมีอยู่ ๒-๓ เรื่องด้วยกัน แต่มันสัมพันธ์กันอย่างที่จะแยกกันไม่ออก ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงต้องถือโอกาสกล่าวถึงมันอย่างสัมพันธ์กันเป็นลำดับไป และต้องขออภัย ถ้าหากมันได้ทำให้ท่านต้องฟังด้วยความอดกลั้นอดทน หรือถึงกับและมีความกระเทือนใจบ้าง ข้าพเจ้าจะได้พูดเป็นเรื่องๆ ไป ดังนี้ :-

     เรื่องที่หนึ่ง คือ บรรดาพุทธสมาคมต่างๆ ในโลกพุทธบริษัทเรา ที่ทำการเผยแพร่พุทธธรรมอยู่ในเวลานี้ มักจะสนใจแต่ในเรื่องวิธีดำเนินงานและประสานงานกันมากเกินไป มากกว่าที่จะสนใจในตัวธรรมที่เป็นหัวใจในพุทธศาสนาในขั้นสูงสุดและแท้จริง พร้อมทั้งการปฏิบัติธรรมในขั้นนั้นให้เหมาะสมกัน และมีอยู่ไม่น้อยที่หนักไปในเรื่องพิธีรีตองมากจนน่ารำคาญ เมื่อเป็นเช่นนั้นนานเข้า ผลที่เกิดขึ้นก็คือ :-

     (๑) ทำให้เราและคนในเครือของเขา รู้จักธรรมตัวจริงที่จะต้องรู้ด้วยจิตใจโดยตรงนั้นน้อยไป และเพราะรู้จักธรรมตัวจริงน้อยไป ก็ทำให้เกิดผล คือ

          (ก.) เราขาดผู้ที่มีจิตใจในการปฏิบัติงานเพื่อเห็นแก่ธรรมแท้

          (ข.) ทำให้ขอบวงแห่งความหมายของความเป็น พสล. เป็นต้น แคบเข้ามา ไม่ตรง ไม่เต็มตามที่ธรรมชาติเปิดไว้ให้และต้องการ ซึ่งจะได้กล่าวในข้อถัดไปโดยละเอียด

     (๒) ทำให้ชาวพุทธพวกที่หนักในธรรมและธรรมปฏิบัติให้ความสนใจและความนับถือในกิจการของเราน้อยไป หรืออาจจะถึงกับไม่ไว้ใจก็มี ข้อนี้ทำให้เกิดผลคือ

           (ก.) เราจะดำเนินงานและขยายงานให้เต็มตามวัตถุประสงค์จริงๆ ได้ยาก เหมือนกลิ้งครกขึ้นภูเขา แต่แล้วก็ต้องทนเอา คือทำไปอย่างพอให้ผ่านๆ ไป พอไม่ให้สมาคมล้ม

           (ข.) ครั้นเป็นเช่นนี้นานวันเข้า สักวันหนึ่งในกาลข้างหน้า เราอาจจะถูกเขากล่าวหาถึงขนาดว่าสังคมพุทธบริษัทพวกนี้ ทำอะไรกันแต่พอเป็นพิธี เพียงเพื่อความสนุกสนานของตนเอง ดูๆ คงจะเป็นการเที่ยวทัศนาจรหรือเที่ยวปิคนิคระหว่างประเทศไปเสียแล้วกระมัง  

           (ค.) และในที่สุด พวกสมาชิกและกรรมการทั้งหลายก็จะเสียน้อย กลายเป็นผู้ที่ทำงานเพียงเพื่อความสนุกสนาน ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้อื่นกันเสียเป็นส่วนมาก ในที่สุดองค์การหรือสมาคมของเรา ก็ต้องล้มเลิกไปโดยแน่นอน ดังนั้น เราต้องนึกถึงเรื่องนี้กันให้มากเป็นพิเศษ แล้วรีบทำการป้องกัน แก้ไข และปรับปรุงให้สุดความสามารถเสียแต่ต้นมือ

      เรื่องที่สอง คือ สิ่งที่เราต้องแก้ไขปรับปรุง ให้ทันท่วงทีก่อนแต่จะสายเกินไป ดังที่กล่าวแล้วนั้น พอจะแยกออกได้ ดังต่อไปนี้ :-

      (๑) จัดให้เกิดความสนใจ การศึกษาค้นคว้า การปรึกษาหารือ ทำความเข้าใจกันเป็นพิเศษ ในสิ่งที่เรียกว่า “หัวใจของพุทธศาสนา”

อันเป็นการปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสของแต่ละคนโดยตรง แทนที่จะเป็นเพียงเรื่องศีลธรรม เพื่อประโยชน์ทางสังคมและการเมือง หรือเป็นเพียงวรรณคดีอันไพเราะหรือเป็นปรัชญาที่น่าสนใจของโลกเท่านั้น ความทุกข์ของมนุษย์ในโลก เกิดมาจากกิเลสของเขาโดยตรง มิได้เกิดมาจากการที่เขาไม่มีความรู้เรื่องศีลธรรมของสังคม หรือไม่รู้วรรณคดีอันไพเราะ หรือมีความรู้ทางปรัชญาอันลึกซึ้งเหล่านั้น

ความรู้เหล่านั้น เขามีกันแล้วมากมาย ก็ยังกำจัดกิเลสไม่ได้ เขาจะต้องเข้าถึง “หัวใจของพุทธศาสนา” ชนิดที่จะช่วยให้เขาสามารถควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเขา เพื่อไม่ให้เกิดกิเลสขึ้นมาได้ ให้สุดความสามารถของเขา เมื่อเขาทำได้เช่นนั้น ศีลธรรมทางสังคมของเขาก็จะดีเอง และมนุษยธรรมก็จะแผ่ครอบคลุมไปทั่วโลกเอง

ความสงบเย็นหรือสันติภาพอันถาวรของโลกนั้น เป็นสิ่งที่มีขึ้นไม่ได้ด้วยเหตุเพียงการรู้วรรณคดีและปรัชญาของพุทธศาสนา ซึ่งกำลังขยายตัวออกไปอย่างยืดยาดและฟั่นเฝือยิ่งขึ้นทุกที ตามปริมาณแห่งการศึกษาแผนใหม่ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา หรือตามที่มีการแยกนิกายออกไปมากมายในวงของพุทธบริษัทเอง ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องปัญหาของปรัชญาไปเสียทั้งนั้น ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ในขั้นที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาเสียเลย

กล่าวคืออย่างหนึ่งก็คือ คนเหล่านั้นได้เอาตัวธรรมแท้ ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนานั้น ไปแปรรูปทำเป็นวรรณคดีและปรัชญาเสียหมด จนไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติทางจิตใจโดยตรงเสียเลย จึงได้มีแต่เรื่องพูด พูด พูดกันไป จนเกือบไม่มีเรื่องกระทำ

หัวใจของพุทธศาสนานั้น อาจจะสรุปลงได้ในคำพูดเพียงคำเดียวว่า “ธรรมะ” คำว่า “ธรรม” ที่มีความหมายพิเศษเช่นนี้ จะได้อธิบายกันโดยละเอียดในตอนที่สาม สรุปความเฉพาะในข้อนี้คือ พวกเราต้องรีบประชุมกันแก้ไขปรับปรุงกิจการ ให้หนักไปในทางการปฏิบัติตัวธรรมแท้ ในขั้นที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา แล้วปัญหาปลีกย่อยทางศีลธรรมและอื่นๆ ก็จะถูกสะสางไปในตัวเองโดยอัตโนมัติ

     (๒) การขยายขอบเขตแห่งกิจการของพุทธสมาคมต่างๆ เช่น พสล. เป็นต้น ออกไปให้เต็มตามความหมายของคำว่า “ธรรม” ในขั้นที่เป็นหัวใจพุทธศาสนา

นั่นคือ การถอนความรู้สึกว่าเรา ว่าเขาออกไปเสีย เพื่อให้สมกับความหมายของคำว่า เวิลดฺ เฟ็ลโลวฺชิป เป็นต้น นั่นเอง และสมกับความหมายของคำว่า “ธรรม” ซึ่งเล็งถึงธรรมชาติแท้ อันมิอาจแบ่งแยกเป็นชาตินั้น ชาตินี้ได้เลย แม้จนกระทั่งไม่อาจแบ่งแยกเป็น พุทธ คริสต์ อิสลาม เป็นต้น ไปได้ด้วย ความหมายของคำว่า “ธรรม” ชนิดนี้ ข้าพเจ้ายกไปรวมอธิบายในตอนที่สามคราวเดียวกันหมด เพื่อประหยัดเวลา

     (๓) การรีบแก้ไขข้อผิดพลาด ที่กำลังมีอยู่ในวงการศึกษาทางพุทธศาสนาของโลก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีข้อผิดพลาดอยู่ในหนังสือที่แต่งขึ้นโดยชาวต่างประเทศ ซึ่งมีการอธิบายเรื่องกรรม และเรื่องการเกิดใหม่ไว้อย่างผิดๆ จนไม่เป็นพุทธศาสนาเสียเลย และแม้ในวงชาวพุทธเราเอง ก็อธิบายพระพุทธภาษิตบางคำ ผิดไปจากพุทธประสงค์หรือผิดไปจากข้อเท็จจริง จนทำให้หลักเกณฑ์อันนั้น ใช้ปฏิบัติไม่ได้ไปเสียก็มี

ตัวอย่างเช่น คำว่า “ชาติ” (BIRTH) นั้น ที่มีความหมายถึงการคลอดจากท้องแม่ ที่มีความหมายถึงการเกิดขึ้นของความรู้สึกว่า “ตัวฉัน” หรือ “ตัวกู” คราวหนึ่งๆ ซึ่งหมายถึง อีโกอิสมฺ ที่กำลังเดือดจัดก็มี ถ้าเอาความหมาย ๒ อย่างนี้ไปปนกันหรือกลับมาเสียแล้ว เราก็ไม่อาจจะเข้าใจพระพุทธโอวาทในตอนนั้นได้ หรืออาจจะเข้าใจเป็นอย่างอื่น จนไม่อาจจะปฏิบัติได้ตรงตามพุทธประสงค์

คำว่า “การเกิดใหม่” ในทางพุทธศาสนานั้น ต้องไม่ถูกอธิบายไปในรูปของการอวตาร หรืออินคารุเนชั่น อย่างแบบฮินดูหรืออุปนิษัท ดังที่ทำกันอยู่โดยมากในหนังสือทางพุทธศาสนาที่เขียนโดยนักศึกษาฝรั่งแทบทั้งหมด และคำว่า “เกิดใหม่” ในหลักธรรมของพุทธบริษัทนั้น จะต้องใช้กันได้กับการเกิดขึ้นแห่ง Conception ว่า “ตัวฉัน” ดังที่ได้กล่าวมาแล้วด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญกว่าการเกิดใหม่ ชนิดที่ตายเข้าโลงแล้วจึงไปเกิดเป็นไหนๆ

คำว่า “ชาติ” หรือความเกิดในหลักธรรมเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้น หมายถึง การเกิดแห่งความรู้สึกที่เป็นอีโกอิสมฺดังที่กล่าวแล้ว หาใช่เป็นการเกิดจากท้องแม่ดังที่เข้าใจกันอยู่ทั่วๆ ไปไม่ เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแก่มนุษย์คนหนึ่งๆ ได้ วันละหลายๆ รอบ และเป็นตัวความทุกข์ชนิดที่ตรัสไว้ในเรื่องอริยสัจสี่นั่นเอง เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ มิใช่เป็นเพียงเรื่องทางปรัชญาสำหรับถกเถียงกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนที่กำลังกระทำก็อยู่ทั่วๆ ไป

โดยที่แท้แล้ว เป็นเรื่องอริยสัจชนิดที่ต้องปฏิบัติกันเป็นประจำวัน คือ การควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย เมื่อได้รับอารมณ์ อย่าให้มีการปรุงแต่งทางจิต (คือตัวปฏิจจสมุปบาทนั้นเอง) ขึ้นมา ด้วยอำนาจของอวิชชา จนเกิดความทุกข์สิ้น สำหรับเรื่อง “กรรม” ในพุทธศาสนา นั้นต้องพูดกันถึงเรื่องกรรมที่ไม่ดำไม่ขาว และเป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรมดำกรรมขาว จึงจะเป็นเรื่องกรรมในพุทธศาสนา

การพูดกันแต่เพียงเรื่องกรรมดำกรรมขาว คือกรรมดีกรรมชั่ว และผู้ทำจะต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นเสมอไปนั้น ยังไม่ใช่เรื่องกรรมในพุทธศาสนาเพราะคำสอนเช่นนั้นมีอยู่ก่อนพุทธศาสนา และมีในศาสนาอื่นทั่วๆ ไป พระพุทธองค์ได้ตรัสเรื่องกรรมที่แปลกออกไป คือเรื่องกรรมที่ไม่ดำไม่ขาว และเป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรมดำกรรมขาวทั้งปวง ดังที่ปรากฏอยู่ในบาลีอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต หมวดที่ชื่อว่า กัมมวัคค์

กล่าวโดยที่แท้แล้ว การปฏิบัติตามอัฏฐังคิกมัคค์นั่นเอง คือ กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว ทำลุถึงนิพพาน อันเป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรมทั้งปวง เรื่องกรรมชนิดนี้เท่านั้น ที่เป็นหลักของพุทธศาสนาที่ไม่ซ้ำใคร ที่จะกล่าวได้เต็มปากว่า เป็นเรื่องกรรมในพุทธศาสนาโดยตรง ชาวต่างประเทศผู้แต่งหนังสือเหล่าโน้น มิได้กล่าวถึงกรรมชนิดนี้เลย กล่าวถึงแต่กรรมดำกรรมขาว แล้วยังแซวอรรถาธิบายส่วนตนเสียยืดยาว จนจะเข้ากันไม่ได้กับพุทธศาสนาไปเสียอีก

การที่ยังมีใครในโลกเขียนหนังสือทางพุทธศาสนาขึ้นมาอย่างผิดๆ เช่นนี้ ก็ควรจะตกเป็นหน้าที่ของสมาคมชาวพุทธ เช่น พสล. เป็นต้น จะต้องจัดการทำสังคายนา หรือสกรูติไนสฺ ทำความเข้าใจกันเสียใหม่ให้ถูกต้อง มิฉะนั้นแล้ว การปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาที่ถูกต้องก็มีขึ้นในโลกไม่ได้ แต่ลู่ทางแห่งโชคดียังมีอยู่ก็คือ ถ้าเราสนใจในตัว “ธรรม” ที่เป็นหัวใจแท้ของพุทธศาสนา คือเรื่อง “ไม่มีตัวตน” (อนัตตา = SELFLESS) กันจริงๆ แล้ว ก็จะเกิดการค้นหาเรื่องกรรมหรือการกระทำชนิดที่เพิกถอนกรรมทั้งปวงขึ้นมาเอง และในที่สุดก็จะกลายเป็นเรื่องเดียวกันต่อไป

เรื่องความไม่มีตัวตน (อนัตตา) นี่แหละ ทำให้ไม่มีความรู้สึกว่า “ตัวฉัน” หรือ “ตัวกู” และจะนำไปสู่ความเป็น เวิลดฺ เฟ็ลโลวฺชิป ที่แท้จริง และเป็นทีเดียวหมดทั้งโลกได้ในที่สุด ถึงกับไม่มีการแบ่งเป็นพุทธ คริสต์ อิสลาม เหลืออยู่ในโลกเลย การปฏิบัติเพื่อทำลายความรู้สึกว่าตัวตนเสียนั่นแหละ คือตัวธรรมแท้ของธรรมชาติ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงค้นพบและนำมาสอน

แล้วพวกเราเอามาปิดป้ายชื่อให้ว่า “พุทธศาสนาของเรา” จนเกิดการแบ่งแยกกันเป็นเราเป็นเขา กระทั่งทำให้พวกเราซึ่งกำลังเรียกตัวเองว่าพุทธบริษัท ก็พลอยกลายเป็นผู้ที่ไม่มี “ธรรม” แท้ ซึ่งเป็นธรรมชาติอันลึกซึ้ง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงค้นพบนั้นไปด้วย คงมีแต่พุทธศาสนาเนื้องอกใหม่ๆ ซึ่งมีการแบ่งแยกเราเขากันมากขึ้นทุกที ซึ่งย่อมหมายถึงการยกตนเองขึ้นเหนือผู้อื่นมากขึ้นทุกทีด้วยเหมือนกัน ดังนั้น เราจงมาพูดกันถึงเรื่องที่สำคัญที่สุด คือ เรื่อง “ธรรม” ที่เป็นขั้นหัวใจของพุทธศาสนากันให้ชัดเจนต่อไปจะดีกว่า

     เรื่องที่สาม คือ เรื่องสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” ตามความหมายอันสมบูรณ์หรือสิ้นเชิง ข้าพเจ้าจะได้แยกความหมายของคำว่าธรรม ออกเป็นชนิดๆ ไป แล้วจึงค่อยชี้ให้เห็นว่า ความหมายชนิดไหน เป็นหลักธรรมที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา

     (๑) คำว่า “ธรรม” ในความหมายทั่วไป และกว้างที่สุด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องทำความเข้าใจกันในขั้นแรก และจะต้องขอพูดถึงเรื่องนี้มากสักหน่อย

คำว่า “ธรรม” ในภาษาบาลีก็ตาม ในภาษาสันสกฤตก็ตาม เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุด คือ ความหมายถึงสิ่งทุกสิ่งทั้งที่มนุษย์รู้จักและยังไม่รู้จัก คำๆ นี้เป็นคำพูดคำเดียวที่ประหลาดที่สุดในโลก จนไม่อาจจะแปลไปเป็นภาษาอื่นได้ นอกจากภาษาที่ให้กำเนิดแก่คำๆ นี้เอง เพื่อเป็นการประหยัดเวลา และเป็นการเข้าใจได้ง่ายแก่ทุกท่านในที่นี้ โดยเฉพาะข้าพเจ้าขอเสนอบทจำกัดความบทหนึ่งของคำๆ นี้ ตามที่ข้าพเจ้าเห็นว่าถูกต้องที่สุด ตามหลักแห่งภาษาทั้งสองนั้น

คำจำกัดความนั้น มีว่า “สิ่งที่เรียกว่า ธรรม นั้นคือ (๑) ตัวธรรมชาติ (NATURE) (๒) ตัวกฎของธรรมชาติ (LAW OF NATURE) (๓) ตัวหน้าที่ (DUTY) ที่มนุษย์จะต้องกระทำให้ถูกตามกฎของธรรมชาติ และ (๔) ตัวผล (RESULTS) ต่างๆ อันเกิดขึ้นจากการกระทำหน้าที่นั้นๆ นั่นเอง

สิ่งทั้ง ๔ ประเภทนี้ สรุปลงได้ในคำพูดเพียงพยางค์เดียวว่า “ธรรม” อันเป็นคำพูดที่ประหลาดที่สุดในโลก ดังที่กล่าวแล้ว ผู้ที่รู้ภาษาบาลีดี ย่อมยืนยันความจริงข้อนี้ได้ดี ขอให้ไปศึกษาเอาอย่างละเอียดจากผู้รู้ภาษาบาลีเถิด

ภาษาทางพุทธศาสนา เรียกตัวธรรมชาติว่า สภาวธรรมเรียกกฎของธรรมชาติว่า สัจธรรม เรียกหน้าที่ ที่มนุษย์ต้องปฏิบัติตามกฎของธรรมชาติว่า ปฏิปัตติธรรม และเรียกผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ ว่า ปฏิเวธธรรม หรือเรียกโดยทั่วไปอีกอย่างหนึ่งว่า วิปากธรรม

ดังนั้นเป็นอันว่าสิ่งทั้งสี่นี้ มีคำอธิบายอย่างสมบูรณ์อยู่แล้วในคัมภีร์ของพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่รวมกันแล้วก็ยืดยาวเท่ากับปริมาณของพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถาทั้งหมดรวมกัน แต่อย่างไรก็ตาม ท่านทั้งหลายจะเห็นได้เองแล้วว่า เรื่องทั้งสี่เรื่องนั้น ล้วนแต่เกี่ยวกับธรรมชาติทั้งนั้น ไม่แง่ใดก็แง่หนึ่ง

ดังนั้นจึงถือว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องจริง และเป็นเรื่องตายตัวเด็ดขาดอยู่ในตัวธรรมชาติ และไม่อาจจะแยกออกจากสิ่งที่เรียกว่าธรรมชาติไปได้เลย ธรรมชาติที่แท้ชนิดนี้ ไม่มีการแยกเป็นเขาเป็นเรา เป็นยุโรปหรือเอเชีย เป็นพุทธ เป็นคริสต์ หรืออิสลาม เป็นต้นได้ แต่มนุษย์ได้ดื้อดึงต่อธรรมชาติอย่างหลับหูหลับตา โดยทำการสมมติแยกมันออกเป็นเรา เป็นเขา จนได้ ด้วยการทำไปตามความรู้สึกที่ฝืนกฎธรรมชาติ หรือผิดกฎธรรมชาติ ซึ่งกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผิดธรรม

เพราะหลักธรรมชาติสี่ประการดังกล่าวแล้วนั้น รวมอยู่ในคำว่า “ธรรม” “เพียงคำเดียว” เมื่อผิดกฎธรรมชาติหรือผิดธรรมแล้ว ก็ต้องได้รับผลตามกฎของธรรมชาติและเกิดปัญหายุ่งยากต่างๆ ขึ้นมา จนมนุษย์ไม่สามารถสะสางได้ตามลำพัง โดยปราศจากความรู้อันเป็นหัวใจของธรรมหรือของธรรมชาตินั้นๆ ซึ่งเรียกในที่นี้ว่า “หัวใจของพุทธศาสนา”

เมื่อสิ่งที่เรียกว่าธรรม มีอยู่ถึง ๔ ประการ ดังที่กล่าวแล้ว หรืออาจจะมากกว่านั้นได้ ดังนี้แล้ว เราจะระบุธรรมส่วนไหนของประเภทไหนว่า เป็นธรรมชนิดที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาโดยเฉพาะเล่า ?

     (๒) “ธรรม” ส่วนที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา พระพุทธภาษิตในสังยุตตนิกาย ตรัสไว้ในตอนหนึ่งเป็นใจความว่า ธรรมทั้งหมด (ทั้งสภาวธรรม สัจธรรม ปฏิปัตติธรรม และปฏิเวธธรรม) ที่พระองค์ได้ตรัสรู้นั้น มีปริมาณมากเท่ากับใบไม้หมดทั้งป่า ส่วนธรรมที่ทรงนำมาสอนนั้น (เท่ากับใบไม้เพียงกำเดียว จากใบไม้หมดทั้งป่านั้น กล่าวคือ เฉพาะเรื่องอริยสัจสี่ในส่วนที่เป็นการปฏิบัตินั้นเอง

อีกแห่งหนึ่งตรัสไว้ในบาลี อลคัททูปมสูตร มัชฌิมนิกาย มีขอบเขตแคบเข้ามาอีกโดยตรัสว่า ตถาคตกล่าวสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น ในบาลีจูฬตัณหาสังเขยยสูตร มัชฌิมนิกาย ได้ตรัสไว้อย่างรัดกุมถึงที่สุด โดยตรัสไว้เป็นใจความว่า คำสอนของพระองค์ทั้งหมดทั้งสิ้น สรุปลงได้เป็นประโยคสั้นๆ เพียงประโยคเดียวว่า

สพเพฺ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย ซึ่งแปลว่า “สิ่งทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นว่าเป็นตัวตนหรือของตน” ดังนี้ จากพระพุทธภาษิตเหล่านี้ ทำให้เราสรุปความได้ว่า “ธรรม” ที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนานั้น คือหลักความจริงที่ว่า

     (๒.๑) ธรรมชาติทั้งปวง ทั้งที่เปลี่ยนแปลงและไม่เปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ใครจะไปถือเอาว่าเป็นตัวตน หรือเป็นของตนไม่ได้

     (๒.๒) กฎของธรรมชาติมีอยู่อย่างเด็ดขาดว่า ถ้าไปยึดถือหรือมั่นหมายสิ่งใด ว่าเป็นตัวตนหรือของตนก็ตามเข้าแล้ว จะต้องเกิดความรู้สึกที่เป็นทุกข์ขึ้นมาทันที ไม่โดยตรงก็โดยเร้นลับ

    (๒.๓) ดังนั้นหน้าที่ตามกฎธรรมชาติที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติก็คือ กระทำสิ่งต่างๆ ที่ควรกระทำ และรับผลแห่งการกระทำนั้นๆ ไปโดยไม่ต้องมีความยึดถือว่าตัวตนหรือของตน ดังที่ได้กล่าวแล้ว


     (๒.๔) เรามีชีวิตอยู่ด้วยกันในโลกนี้ ด้วยความยินยอมกันได้ทุกประการ โดยไม่ต้องเบียดเบียนกัน เพราะไม่มีความยึดมั่นสิ่งใด โดยความเป็นของตนหรือเป็นตัวตนนั่นเอง นี้คือตัว “หลักธรรม” ส่วนที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาและตรงตามพระพุทธภาษิตที่ตรัสว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย – “ธรรมทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่น” ดังที่กล่าวมาแล้ว

“ความไม่ยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง” ในที่นี้ ต้องอยู่ในรูปของการปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ อยู่แล้วจริงๆ มิใช่เพียงแต่อยู่ในตำรับตำรา ในรูปของปรัชญาหรือวรรณคดี หรือจิตวิทยาอันไม่มีที่สิ้นสุด ดังที่กำลังเป็นอยู่ในเวลานี้ เราควรย้ำข้อความนี้ลงไปอีกครั้งหนึ่งว่า “ธรรม” ที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนานั้น คือความไม่ยึดมั่นถือมั่น ที่อยู่ในรูปของการปฏิบัติโดยตรง

การปฏิบัติที่กล่าวนี้ ย่อมเรียกหาความรู้แห่งเรื่องนี้เอาเองในเบื้องต้น และนำมาซึ่งผลอันพึงปรารถนามาได้ในที่สุด โดยตัวมันเอง เกี่ยวกับเรื่องนี้เราจะต้องระลึกถึงบุคคลเป็นอันมากในครั้งพุทธกาล ได้เข้าถึงตัวแท้ของพุทธศาสนา และเป็นพระอรหันต์กันเป็นจำนวนมากมาย โดยไม่มีความรู้ทางปรัชญา วรรณคดี หรือจิตวิทยาของพุทธศาสนา ชนิดที่พวกเรากำลังรู้กันอยู่อย่างฟุ่มเฟือยในสมัยนี้เลย

ท่านเหล่านั้นมีแต่การปฏิบัติโดยตรง โดยอาศัยสปิริตจวล เอ็กซฺปีเรียนซฺ (Spiritual Experience) ของตนเอง ที่เข้ารูปกันได้กับคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตนได้ฟังอยู่ในขณะนั้น เป็นปทัฏฐานโดยไม่ต้องเกี่ยวกับปัญหาอันยุ่งยากทางปรัชญาเป็นต้น ดังที่กล่าวแล้ว แม้ว่าในพระไตรปิฎกของพุทธศาสนาเท่าที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้อความที่อยู่ในรูปของปรัชญา วรรณคดี จิตวิทยา ตรรกวิทยา และอื่นๆ เช่น โบราณคดี เป็นต้น อย่างมากมายก็ตาม ก็มิได้ถือว่านั่นเป็นหัวใจแห่งพุทธศาสนาเลย แต่เป็นเพียงเครื่องห่อหุ้มและประดับประดาหัวใจของมันเท่านั้น

ดังนั้น เราจึงถือว่าความรู้เรื่องตัวธรรมชาติก็ดี เรื่องกฎของธรรมชาติก็ดี เรื่องหน้าที่ของมนุษย์ตามกฎของธรรมชาติก็ดี และเรื่องผลอันจะพึงได้รับจากการกระทำหน้าที่นั้นก็ดี อันล้วนแต่เป็นความรู้ซึ่งจะทำให้เราไม่เกิดความยึดมั่นเท่านั้น ที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา หรือสรุปเป็นกฎสั้นๆ ว่า ความไม่ยึดมั่นถือมั่น ที่มนุษย์ปฏิบัติอย่างสมบูรณ์แล้ว นั่นคือหัวใจของพุทธศาสนา

เมื่อเราได้เข้าถึงธรรมที่เป็นหัวใจแห่งพุทธศาสนาของเราอย่างถูกแล้ว เราก็จะได้เหลียวมองไปยัง “ธรรม” ที่เป็นหัวใจแห่งศาสนาอื่นๆ ที่เป็นของเพื่อนร่วมโลกของเราดูบ้าง เพื่อ “เวิลดฺ เฟ็ลโลวฺชิป (World Fellowship)” ของเรา จะขยายตัวออกไปได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ คือเต็มตามที่ธรรมชาติกำหนดไว้ หรือที่ธรรมชาติเรียกร้องต้องการก็ตาม

     (๓) “ธรรม” ที่เป็นหัวใจจริงของพุทธศาสนานั้น เป็นสิ่งเดียวกันกับ “ธรรม” ที่เป็นหัวใจของศาสนาอื่นด้วยกับทุกศาสนา ข้าพเจ้าขอยืนยันความเห็นข้อนี้ เพื่อการพิสูจน์ เพราะเป็นสิ่งที่ควรพิสูจน์อย่างยิ่ง

สิ่งแรกที่สุด ที่เราจะต้องมองให้เห็นกันเสียก่อน ก็คือ ข้อเท็จจริงที่ประจักษ์กันแล้วว่า ศาสนาที่แท้จริงทุกศาสนา ย่อมมุ่งหมายเพื่อกำจัดความมีตัวเป็นของตน ของคนทุกคนในโลก ไม่มีศาสนาไหนเลย ที่เว้นจากความมุ่งหมายอันนี้ ศาสนาที่มีพระเป็นเจ้า (God) ก็สอนให้มอบตัวเองให้แก่พระเป็นเจ้าเสีย หรือทำให้เป็นตัวของพระเป็นเจ้าไปเสีย อย่ามีตัวของตัวเอง ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความเห็นแก่ตัว ไม่ว่าในขนาดที่จะเป็นอีโกอิสมฺ (E
goist) หรือเป็นเซ็ลฟิชเนสสฺ (Selfishness) ก็ตาม

แม้ในบางศาสนาจะสอนว่ามีโซล หรืออาตมัน ก็สอนให้มีอย่างชนิดแท้จริง คือโซล หรืออาตมัน ที่เป็นอันเดียวกันกับพระเป็นเจ้า มิใช่มีอาตมัน ชนิดที่เป็นที่ตั้งแห่งความเห็นแก่ตัวของตัว โดยเฉพาะส่วนศาสนาที่ไม่มีพระเป็นเจ้า เพราะถือการกระทำของตนเองเป็นหลัก ก็ยังคงสอนให้ทำลายความเห็นแก่ตัวอยู่นั่นเอง และยังสอนเลยไปถึงการทิ้งตัว หรือลืมความมีตัวของตัวเสีย โดยไปเห็นแก่อุดมคติของมนุษย์ และทำทุกอย่างเพื่อมนุษย์ เพื่อมนุษยธรรม เพื่ออุดมคติของมนุษย์โดยตรง

แม้ที่สุดแต่ลัทธิศาสนาที่ถูกจัดเป็นมิจฉาทิฏฐิในครั้งพุทธกาล เช่น พวกที่สอนเรื่องอนัตตาอย่างผิดๆ เป็นต้น ก็ยังมีการสอนเพื่อทำลายความรู้สึกว่ามีตัวตน หรือทำลายความเห็นแก่ตนอยู่นั่นเอง

ดังนั้น เราจึงควรถือเป็นหลักว่า ศาสนาที่แท้จริงทุกศาสนา ล้วนมีแต่มีความมุ่งหมายที่จะทำลายความยึดมั่นถือมั่น ว่ามีตัวเป็นของตัว อย่างตรงกันแท้โดยหลักการใหญ่ ส่วนการที่จะมีข้อแตกต่างปลีกย่อยเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติเป็นต้นบ้างนั้น ย่อมไม่เป็นการหักล้างความเหมือนกันในส่วนที่เป็นหัวใจดังที่กล่าวแล้ว

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นการเพียงพอสำหรับการที่เราจะถือว่า คำพูดเพียงประโยคสั้นๆ ประโยคเดียวที่ว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนานั้น ย่อมตั้งอยู่ในฐานะที่เป็นหัวใจของศาสนาอื่นทุกศาสนาด้วย และนั่นคือเหตุผลอันชอบธรรม ที่เราจะกล่าวว่า เวิลดฺ เฟ็ลโลวฺชิป (World Fellowship) นั้น ต้องมีขอบเขตครอบคลุมไปถึงศาสนาทุกศาสนา ไม่ควรจะจำกัดอยู่แต่ในขอบเขตของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง มิฉะนั้นแล้วจะไม่เป็นธรรม จะไม่ตรงตามที่ธรรมชาติกำหนดไว้ หรือต้องการ

เราต้องนึกไว้เสมอว่า ธรรมหรือธรรมชาตินั้น เป็นของสิ่งเดียวแบ่งแยกไม่ได้ ถ้าพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งธรรม หรือแห่งธรรมชาติแล้ว เราก็ควรพยายามไปในทางที่จะขยายเขตแห่งเวิลดฺ เฟ็ลโลวฺชิป ออกไปเต็มตามเจตนารมณ์ของธรรม หรือของธรรมชาตินั้น แม้เรายังไม่ได้ขยาย หรือขยายไม่ได้ เพราะทำความเข้าใจกันยังไม่ได้ก็ตาม

เราก็ควรจะยอมรับอยู่แล้วว่า ยังมีเพื่อนพุทธบริษัทที่เรายังไม่ยอมรับเขาว่าเป็นพุทธบริษัทอยู่เต็มไปในโลกนี้ ทั้งที่เขาเหล่าโน้นก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าเป็นเช่นนั้น ดังนั้นขอให้เรามาพิจารณากันเป็นข้อสุดท้ายที่นี่ ในวันนี้ว่า ขอบเขตของความเป็นพุทธบริษัทนั้น ธรรมชาติกำหนดไว้อย่างไรและเพียงไหน

     (๔) ใครก็ตามในโลกนี้ ที่ยึดถือหลักแห่งการมีชีวิตเป็นอยู่ ด้วยการควบคุมและทำลายอีโกอิสมฺแล้ว ต้องถือว่าเขาเหล่านั้น เป็นพุทธบริษัทที่แท้จริงอยู่แล้วทั้งหมดทั้งสิ้น เราไม่จำเป็นจะต้องพูดถึงว่า ใครเป็นเถรวาท ใครเป็นมหายาน ซึ่งเป็นเรื่องของทะเบียนหรือบัญชีเหมือนบัญชีของปศุสัตว์ที่เราเลี้ยงไว้เป็นคอกๆ มากกว่าอย่างอื่น พุทธศาสนาโดยเนื้อแท้หรือพุทธศาสนาที่แท้จริงนั้น มิได้เป็นเถรวาทหรือมหายานเลย  

พระพุทธองค์ยังทรงมีชีวิตอยู่ ในรูปแห่งธรรมและวินัยธรรมและวินัยที่เป็นอย่างแท้จริงนั้น จะเป็นเถรวาทหรือมหายานไปไม่ได้ จะเป็นได้ก็แต่เพียงแยกกัน ตามที่เราพวกไหนเลือกเอาธรรมและวินัยส่วนไหนเป็นหลักปฏิบัติของตนตามรสนิยม หรือตามที่สิ่งแวดล้อมบังคับ

เนื้อแท้ของธรรมและวินัยนั้น คือการปฏิบัติเพื่อความไม่ยึดมั่นในตัวตนหรือของตนด้วยกันแต่อย่างเดียว เมื่อความจริงเป็นอยู่ดังนี้ ความเป็นเถรวาทหรือมหายานอันแท้จริงก็มิได้มี เพราะทุกคนมุ่งหมายทำอย่างเดียวกัน เพื่อผลอย่างเดียวกัน แตกต่างกันเพียงวิธีที่สะดวกเป็นส่วนตัว

ความแตกต่างทำนองนี้ อาจจะแตกต่างกันได้เป็นอย่างมาก แม้ภายในวงเถรวาทกันเอง หรือในวงมหายานกันเอง และอาจจะเป็นไปได้ในบางกรณี ถึงกับว่าความแตกต่างหรือขัดแย้งกันภายในวงเถรวาทกันเองนั้น อาจจะมีมากไปเสียกว่าความแตกต่างหรือขัดแย้ง อันมีอยู่ในระหว่างเถรวาทกับมหายานในส่วนทิฏฐิหรือความเห็น ซึ่งกำลังดำเนินไปตามความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว หรือพวกของตัวด้วยซ้ำไป

ดังนั้น เมื่อกล่าวโดยธรรมหรือโดยธรรมชาติแล้ว หามีเถรวาทหรือมหายานที่แท้จริงไม่ แต่กลับไปมีของจริง (TRUTH) หรือข้อเท็จจริง (FACT) อยู่ที่ว่า ใครก็ตามปฏิบัติเพื่อทำลายความเห็นแก่ตัว คนนั้นเป็นพุทธบริษัทแท้ ใครก็ตามปฏิบัติเพื่อความเห็นแก่ตัว คนนั้นไม่ใช่พุทธบริษัทเสียเลย ดังนี้ไปเสียมากกว่า

เมื่อเราถือหลักว่า ใครมีชีวิตเป็นอยู่ด้วยการควบคุมและทำลายความเห็นแก่ตัว ผู้นั้นเป็นพุทธบริษัทที่แท้จริง ดังนี้แล้ว เราก็อาจจะมองเลยออกไปนอกเขตที่เราสมมติกันอยู่ ในบัดนี้ว่าเขตของพุทธบริษัทมองให้กว้างออกไปด้วยสายตาอันนี้ จนกระทั่งทั่วโลก จนกระทั่งทุกๆ โลก กี่ร้อยกี่พันโลก แม้เป็นโลกที่เรายังมองไม่เห็นด้วยตา เราก็เชื่อว่ามีอยู่เหล่านั้นให้ทั่วถึง

เราก็จะพบด้วยความดีอกดีใจ ว่าเพื่อนพุทธบริษัทของเรานั้น มีอยู่ทั่วไปทั้งโลกและทุกๆ โลก หรือในทุกๆ ศาสนาที่มีการสอนให้ทำลายความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนหรือของตน อย่างตรงตามที่ธรรมชาติกำหนดไว้และต้องการ และตรงตามเจตนารมณ์ของ “ธรรมะ” ที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

ขอบเขตแห่ง พสล. เป็นต้นของเรา มีอยู่อย่างใหญ่หลวงถึงเพียงนี้ เรากำลังให้ความสนใจแก่มันน้อยเกินไป หรือถึงกับไม่สนใจกันเสียเลย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะเรียกว่าเราพุทธบริษัทส่วนน้อย กำลังทำการแบ่งแยกและตีตนออกห่างจากเพื่อนพุทธบริษัทส่วนใหญ่ ในลักษณะที่ไม่ตรงตามที่ธรรมชาติต้องการได้หรือไม่ นั้นเป็นสิ่งที่ต้องคิดดูกันให้ดี หรือเอาไปคิดกันเสียใหม่ให้หลายครั้งหลายหน ถ้าเราเข้าถึงความหมายของคำว่า “ธรรม” กันอย่างถูกต้องและสมบูรณ์แล้ว การคิดได้อย่างถูกต้องนั้น จะเป็นสิ่งที่ไม่ยากเลย

     สรุปความ ข้อความที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ข้าพเจ้าขอสรุปใจความสั้นๆ เพื่อความสะดวกแก่ท่านทั้งหลายในที่นี่ว่า ในเวลาที่แล้วมา พวกเราสนใจในตัว “ธรรม” ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนากันน้อยไป เราศึกษาเรื่อง อนัตตา สุญญตา เรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น และเรื่องปฏิจจสมุปบาทหรือเรื่องอริยสัจกันแต่ในรูปของวรรณคดี ปรัชญา และจิตวิทยา เป็นต้น แต่มิได้อยู่ในรูปของการปฏิบัติดังเช่นที่เคยกระทำกันในครั้งพุทธกาล

เราพูดกันแต่เรื่องวิธีดำเนินงานและประสานงานในการประกาศธรรม จนลืมพูดกันถึงตัวธรรมแท้จริงที่ควรประกาศ เราพูดกันแต่การประกาศราวกะว่าเราเป็นพระอรหันต์ผู้จบกิจในพระศาสนากันแล้วทุกคน ดังนั้นเรื่องที่ประกาศออกไป จึงเป็นเพียงเรื่องจริยธรรมทางสังคมหรือการเมืองกันเสียมากกว่า แทนที่จะเป็นเรื่องทางปรมัตถธรรม ในระดับที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

เมื่อเรารู้จักตัวธรรมแท้กันน้อยเกินไป สิ่งที่เราประกาศออกไปนั้น จะไม่เพียงพอที่จะให้เกิดความสนใจแก่นักศึกษาและนักปฏิบัติที่กำลังก้าวหน้า อันมีจำนวนมากขึ้นทุกทีในโลกปัจจุบันนี้ องค์การที่เป็นปึกแผ่น เช่น องค์การพสล.นี้ ควรมีกิจการที่ทำให้คนเข้าถึงหัวใจพุทธศาสนาจริงๆ ยิ่งกว่ากิจการทางธุรการหรือวิธีการ ที่เนื่องด้วยพิธีรีตองทางศีลธรรมหรือวัฒนธรรมเป็นต้น ซึ่งเป็นเพียงพื้นฐานทั่วไปเท่านั้น

เมื่อเราศึกษาพุทธศาสนาในแง่ของปรัชญากันอย่างเพียงพอแล้ว เรายังต้องประชุมกัน เพื่อหาวิธีแปรรูปของเรื่องที่เป็นปรัชญานั้น ให้มาอยู่ในรูปของการปฏิบัติ ที่คนสมัยนี้จะปฏิบัติกันได้จริงๆ ให้จนได้ เพื่อเข้าถึงตัวธรรมแท้ให้ได้ เมื่อเข้าถึงตัวธรรมแท้กันได้จริงๆ แล้ว เราก็สามารถขยายวงของ พสล. เป็นต้นออกไป เป็นเรื่องของมนุษย์ทั้งโลกได้ โดยไม่จำกัดอยู่ในแต่ขอบวงในของคนจำนวนน้อยที่แบ่งแยกเป็นเราเป็นเขากันอยู่

การทำโดยวิธีนี้จะสิ้นเปลืองน้อยแต่ได้ผลมาก และสูงกว่าการกระทำชนิดที่เป็นการเข็นผู้ไม่รู้จักธรรมเข้าไปในธรรม โดยอาศัยพิธีรีตองอันสง่าเป็นเครื่องมือ หรือแม้แต่อาศัยเกียรติของสมาคมที่มีเกียรติเป็นเครื่องผลักดันเป็นต้นก็ตาม

ในที่สุดนี้ ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านทั้งหลายว่า ข้อความที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้ เป็นเพียงความเห็นส่วนบุคคล ที่เสนอแก่ท่านทั้งหลาย ด้วยความหวังดีแก่เพื่อนมนุษย์และพุทธศาสนา หากแต่เป็นความเห็นของผู้ที่ได้สนใจในกิจการเผยแพร่พุทธศาสนาทั่วๆ ไปมาแล้ว เป็นเวลากว่า ๓๐ ปี จึงหวังว่าจะได้รับความสนใจของท่านทั้งหลายบ้างไม่มากก็น้อย เพื่อนำไปพิจารณากันดูตามสมควร เพื่อหาทางปรับปรุงกิจกรรมของพุทธบริษัทเป็นส่วนรวมให้ก้าวหน้าสืบไป

     ขอให้สรรพสัตว์จงได้รับประโยชน์

จากการเสียสละของพวกเราอย่างสูงสุดเถิด


4.png




รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:42, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyODZ8YWMwZjRhMmZ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-6 00:00, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2ODJ8NjIxNzYxMTR8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 08:21

อาสาฬหบูชาเทศนา


แสดง ณ สวนโมกขพลาราม ไชยา
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๒


นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ จบ)
ปวตฺติตํ ภควตา ธมฺมจกฺกํ อปฺปติวตฺติยํ
สมเณน วา เทเวน วา พฺรหฺมุนา วา
เกนจิ วา โลกสมิญฺจิตีติ
ธมฺโม สกฺกจฺจํ โสตพฺโพติ


๖. การเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง

1.png


      

        ณ บัดนี้ อาตมาจะได้วิสัชนาพระธรรมเทศนา เป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธา-ความเชื่อ วิริยะ-ความพากเพียร ของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้า ตามทางแห่งพระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดา อันเป็นที่พึ่งของเราทั้งหลาย จนกว่าจะยุติลงด้วยความสมควรแก่เวลา

       ธรรมเทศนาในโอกาสนี้ ท่านทั้งหลายก็ทราบได้เป็นอย่างดีแล้วว่า ปรารภอาสาฬหบูชา ซึ่งเวียนมาครบรอบแต่ละปีๆ วันนี้เราจะประกอบพิธีอาสาฬหบูชา เพื่อให้สำเร็จประโยชน์เต็มหรือมากเท่าที่จะมากได้ จึงต้องทำความเข้าใจแก่กันและกันก่อน
ดังนั้นธรรมเทศนานี้ จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่กิจการนั้น

ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจฟังให้ดีๆ การกระทำก็จะมีประโยชน์จริงหรือคุ้มค่าของเวลา ซึ่งท่านทั้งหลายเป็นอันมากมาจากที่ไกล ถ้าไม่ได้อะไรคุ้มกัน มันจะเป็นอย่างไร ก็ลองคิดดู มันน่าเวทนาหรือว่าน่าสงสาร น่าหัวเราะน่าอะไรไปตามเรื่อง จึงขอให้สนใจพิเศษ ให้สำเร็จประโยชน์ คือให้ได้อะไรที่คุ้มกันกับการมา

ข้อแรก เราประกอบพิธี เป็นการต้อนรับกิจกรรมที่มีในวันอาสาฬหปุณณมี เช่นวันนี้ คือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปในโลก ซึ่งไม่มีใครต้านทานได้ จะเป็นสรณะหรือเป็นพราหมณ์ เป็นเทวดาเป็นพรหม เป็นอะไรที่ไหนก็สุดแท้ทั่วไปในจักรวาลนี้ ไม่มีใครต้านทานได้

ข้อนี้ก็น่าจะรู้เหมือนกัน ทำไมพระบาลีจึงว่า ไม่มีใครต้านทานได้ ก็เพราะว่าเป็นความจริง เป็นความจริงที่ยิ่งพิสูจน์ยิ่งเห็นจริง ยิ่งพิสูจน์ผู้พิสูจน์ก็ยิ่งพ่ายแพ้แก่ความจริง และตามความเป็นจริงนั้น มันก็มีอยู่ว่า มีสมณะหรือพราหมณ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายเป็นอันมาก มีอยู่ในประเทศอินเดียในสมัยนั้น ซึ่งพร้อมที่จะคัดค้านต้านทานอยู่เสมอ พระพุทธองค์ก็ได้ทรงอุบัติขึ้นมา เพื่อสอนธรรมะอันใหม่แปลกไปจากเดิม

ถ้ากล่าวโดยสรุป ท่านทั้งหลายควรจะจำไว้สั้นๆ ว่า ลัทธิของเดิมนั้น เขามีสิ่งที่เรียกว่า อาตมัน ได้ท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสาร จนรู้ดีรู้ชั่ว พ้นออกไปได้จากดีจากชั่วเหมือนกัน แล้วก็ไปอยู่เป็นตัวตนนิรันดร จำไว้ตรงนี้ มันไปอยู่เป็นตัวตนนิรันดร

ส่วน พระพุทธองค์ ได้ทรงอุบัติขึ้นมาแล้ว ตรัสสอนอย่างเดียวกันแหละ แต่ไม่มีอัตตาดอก มีแต่จิต จิตเท่านั้นแหละ จิตนี้เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง จนไม่ยึดดียึดชั่ว ไม่ติดอยู่ในดีในชั่ว หลุดพ้นจากดีจากชั่วเหมือนกันแหละ แต่แล้วมันกลายเป็นความว่างนิรันดร


ฝ่ายโน้น ฝ่ายพราหมณ์ ฝ่ายฮินดู ไรก็ตาม เขาไปจบกันที่ตัวตน มีตัวตนนิรันดร ฝ่ายพุทธนี้มีจุดจบว่า ว่างนิรันดร ว่างจากกิเลส ว่างจากความทุกข์ ว่างจากตัวตน ว่างจากปัญหาทั้งหลายทั้งปวง จิตเข้าถึงความว่างนิรันดร จุดจบมันต่างกันอย่างนั้น จำไว้ง่ายๆ ก็จะไม่ต้องเถียงกัน อันหนึ่งมันไปสู่ตัวตนนิรันดร อันนี้มันไปสู่ความว่างนิรันดร

พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสอย่างนี้ เอ้าใครจะค้านก็ค้าน มันก็ปรากฏว่าไม่มีใครค้าน แต่ที่ท่านตรัสนี้ ตรัสเรื่องอริยสัจจ์ ไม่ต้องพูดอะไรกันมาก ไม่ต้องพูดเรื่องตายแล้วหรือหลังตายแล้วหรือก่อนตาย ไม่ต้องพูดดอก ว่าแต่มันไม่มีทุกข์โดยประการทั้งปวง เมื่อดำรงชีวิตอยู่ในหลักธรรมอันนี้ คืออริยมรรคมีองค์แปดนี้ ก็ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความทุกข์โดยประการทั้งปวงแล้วก็เลิกกัน เรียกว่าไม่มีตัวตนเหลืออยู่นิรันดรอะไรสำหรับจะยึดมั่นถือมั่น นี่ความต่างกัน


เมื่อธรรมจักรของพระองค์ประกาศออกไปว่าอย่างนี้ ก็ไม่มีลัทธิไหน คณะไหน ศาสดาไหน จะคัดค้านได้ ตามบาลี อปปติวตฺติยํ คือให้ถอยกลับอันนี้ออกไป แล้วก็ไม่มีอะไรตีโต้ให้ถอยกลับได้นี่ บาลีว่าอย่างนี้ พระพุทธองค์ได้ประกาศธรรมจักรออกไปแล้ว ไม่มีใครตีโต้ให้ถอยกลับได้ ไม่ว่าพวกนั้นจะเป็นสมณะ เป็นพราหมณ์เป็นเทพ เป็นพรหม เป็นอะไรก็สุดแท้ ใจความสำคัญของวันอาสาฬหปุณณมี คือวันเพ็ญเช่นวันนี้มีอย่างนี้

พระองค์ประกาศธรรมจักรเหมือนกับประกาศอาณาอำนาจ แต่เป็นอำนาจทางจิตวิญญาณ มันเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญสำหรับคนมีปัญญา คนโง่ก็ไม่มีความหมายอะไรดอก มันไม่มีอะไรเกิดขึ้นสำหรับคนโง่ แต่มันมีความหมายมากสำหรับคนมีปัญญา ว่าต่อไปนี้จะชนะความทุกข์ถึงที่สุด


พูดกันตรงๆ อย่างลับหลังไม่เกรงใจก็พูดว่า เขาไปจบอยู่ที่ตัวตนถาวรนิรันดร มันก็มีตัวตนถาวรนิรันดร นั่นแหละที่อยู่เป็นภาระ เดี๋ยวนี้เราเลิก ไม่มีตัวตน ไปตั้งแต่ต้น มีแต่จิตหลุดพ้น สู่ความว่างถึงที่สุด ว่างจากกิเลส ว่างจากทุกข์ ว่างจากตัวตน ว่างจากปัญหา ว่างจากอะไรทุกอย่าง แล้วก็เรียกว่า นิพพานๆ ถึงได้ตั้งแต่ยังไม่ตาย แล้วก็ไม่ต้องตายก็ถึงได้ ครั้นถึงแล้วก็ไม่ต้องตาย ถึงความว่างจากตัวตนนี่

หลักเกณฑ์อย่างนี้ คำสอนอย่างนี้ ยังไม่มีใครสอน ก่อนหน้าโน้นไม่ได้สอนกันถึงขนาดนี้ แม้คำสอนที่ว่าหลุดพ้นไปแล้ว พระพุทธเจ้ายังหลังไปกว่านั้น ก่อนโน้นก็มีไปตามเรื่องของเขา เชื่ออะไรก็เคารพบูชาบวงสรวงอ้อนวอนสิ่งเหล่านั้นเป็นพวกๆ ไป

จะยกตัวอย่างอีกสักข้อหนึ่ง ที่ว่าก่อนนี้ ก่อนพระพุทธเจ้าเกิดมานี่ ในอินเดียเขาก็สอนเรื่องนรกอยู่ใต้ดิน สวรรค์อยู่บนฟ้ากันอยู่ตลอดเวลา และเป็นที่เชื่อถือกันทั่วๆ ไป ในหมู่ประชาชนทั้งหลาย เปลี่ยนแปลงไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านเกิดขึ้นในหมู่คนที่เขาเชื่อกันฝังหัวแน่นแฟ้นอย่างนี้ ท่านก็ไม่คัดค้าน ไม่ไปยกเลิกให้มันป่วยการ ใช้สำนวนนั้นไปด้วยกันว่า


ทำดี ตายแล้วไปสุคติโลกสวรรค์ ทำชั่ว ตายแล้วไปทุคติวินิบาตนรก ก็พูดอย่างนี้ ไม่ต้องไปเถียงกันว่า นรกอยู่ใต้ดิน สวรรค์อยู่บนฟ้าจริงหรือไม่ ไม่พูด ไม่ต้องพูด เรื่องนี้ไม่ต้องพูด ต่อมาวันหนึ่ง จะเรียกว่าวันดีคืนดีก็ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สฬายตนิกนิริยา มยา ทิฏฐา - นรกเป็นไปทางอายตนะทั้ง ๖ ฉันเห็นแล้ว มยา ทิฏฐา แปลว่า ฉันเห็นแล้ว สฬายตนิกสคฺคา มยา ทิฏฐา - สวรรค์เป็นไปในทางอายตนะทั้ง ๖ ฉันเห็นแล้ว

นี่ลองคิดดูซิ มีความหมายที่สำคัญพิเศษอยู่อย่างหนึ่งว่า พระพุทธเจ้านั้น ท่านไม่ได้กล่าวคำคัดค้านขัดแย้งแก่ใครๆ เขาจะว่าอย่างไรก็ไม่คัดค้าน ไม่ขัดแย้ง แต่ตัวเองจะต้องการพูดออกไป ในลักษณะที่ไม่ต้องคัดค้าน ไม่ขัดแย้ง พุทธบริษัทนอกรีตน่ะ ชอบค้านกัน ชอบขัดแย้งกัน ชอบคัดค้านกัน ทะเลาะกันเองนี่ ไม่ต้องพูดถึงกับพวกอื่นดอก แม้แต่ในพวกกันเองก็ยังคงคัดค้านกัน ไม่เอาอย่างพระพุทธเจ้า จะไม่กล่าวคำขัดแย้งกับใครๆ

นี่มาดูว่า เขาพูดกันอยู่ว่า นรกอยู่ใต้ดิน สวรรค์อยู่บนฟ้า ก็ตามใจ ท่านบอกว่า มันอยู่ที่อายตนะ แล้วฉันก็เห็นแล้วด้วย ท่านก็อธิบายไปตามที่จะเป็นอย่างไร คือว่าเมื่อมันทำผิด มีผัสสะผิด เวทนาผิด อะไรผิด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็เป็นนรกขึ้นมาที่นั่น เวลานั่น ที่นั่น เดี๋ยวนั้น แก่บุคคลนั้น ตามสมควรแก่ที่ทำผิด ไม่ต้องรอต่อตายแล้ว สวรรค์ก็เหมือนกัน เมื่อปฏิบัติถูกต้องในขณะแห่งผัสสะเวทนาแล้ว มันก็ไม่มีความทุกข์ดอก มันยิ่งพอใจ เป็นสวรรค์อยู่ที่นั่น


แม้แต่อย่างนี้เท่านี้ เรื่องว่าเพียงเท่านี้ ก็ไม่มีใครคัดค้านหรือขัดแย้งกันได้ เพราะมันเห็นอยู่ด้วยตำตา เห็นอยู่ด้วยตา ว่าผิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นนรก ถูกที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นสวรรค์ ไม่ต้องเชื่อใคร นี่เขาเรียกว่าเชื่อตนเอง ตามหลักกาลามสูตร ขอร้องว่าให้ช่วยกันศึกษาให้ดีๆ มีประโยชน์มาก

นี้ขอโอกาสพูดเรื่องส่วนตัวสักหน่อยนะ มันเกี่ยวข้องกัน อาตมาบอกว่า นรกมันอยู่ที่เมื่อมันเกลียดน้ำหน้าตัวเอง สวรรค์มันอยู่เมื่อชอบใจตัวเอง ยกมือไหว้ตัวเองได้ พูดให้ใกล้เข้ามาอีก คือความหมายก็ไม่ต่างจากที่พระพุทธเจ้าดอก เมื่อมันเกลียดน้ำหน้าตัวเอง มองดูตัวเองแล้ว มีแต่สิ่งที่น่าเกลียด มันก็เป็นนรกขึ้นมาทันที ที่นี่และเดี๋ยวนี้ พอมองดูตัวเองแล้วพอใจ ถูกต้อง ยกมือไหว้ตัวเองได้ มันก็เป็นสวรรค์ขึ้นมาทันที


แต่มีคนเขียนจดหมายมาด่าว่า ท่านพุทธทาสเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยกเลิกนรก ยกเลิกสวรรค์ เขียนด่าตามหน้าหนังสือพิมพ์บางฉบับก็มี คิดดูซิ นี่เรียกว่ามันยังต่างกัน แต่มันจริงหรือไม่จริงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ใครจะชอบอย่างไร ก็ตัดสินใจเอาเองว่านรกอยู่ที่ไหน? มันจะอยู่ที่นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า หรือว่าอยู่ที่อายตนะถูกหรือผิด หรือว่าเมื่อมันพอใจตัวเอง หรือเมื่อมันเกลียดตัวเอง นี่เป็นตัวอย่างของคำว่า อันใครๆ ต้านทานให้หมุนกลับไม่ได้

สรุปความว่า นรกของผู้มีปัญญา มันอยู่ในอกในใจ ของคนโง่มันก็อยู่ใต้ดิน อยู่บนฟ้า ไกลลิบ ได้กันต่อตายแล้วโน้น ส่วนนรกสวรรค์ของผู้มีปัญญานั้น มันอยู่ในอกในใจ ได้กันที่นี่เดี๋ยวนี่ และทันทีที่ทำอย่างนั้น ที่เป็นอย่างนั้น

นี่มันก็คงจะช่วยได้บ้าง ให้พุทธบริษัทเรารู้กันขึ้นมาว่า พุทธศาสนานี้เป็นอย่างไร กล่าวไปตามหลักพุทธศาสนามันก็ไม่ถูกไม่ตรงกัน แต่ว่าไม่กล่าวอย่างให้ขัดแย้งหรือทะเลาะกัน กล่าวไว้เอาเอง ชอบใจอย่างไหนก็เอาอย่างนั้น นี่เป็นตัวอย่างของคำว่า ปวตฺติตํ อปฺปติวตฺติยํ สมฺเณน ว่าประกาศไปแล้ว ไม่มีใครต่อต้านได้ในโลกทั้งจักรวาลนี้

นี่เป็นเหตุการณ์สำคัญที่พุทธบริษัท จะต้องนำเอามาทำไว้ในใจ แล้วก็จะสำเร็จประโยชน์ต่อไป คือดับทุกข์ของตนได้ แล้วก็บูชาความประเสริฐความมีประโยชน์ที่สุด สำหรับสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสในวัน
อาสาฬหบูชาในวันนี้ คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แล้วน่าบูชาอย่างยิ่ง

ก็คือ เป็นการประกาศชัยชนะของมนุษย์ที่พ่ายแพ้แก่ความทุกข์ตลอดมา เดี๋ยวนี้มีธัมมจักรชนิดที่ทำลายความทุกข์นั้นได้ แล้วยังมีส่วนที่ว่าสูงสุดขึ้นไปจนถึงที่สุด ไม่มีใครจะบัญญัติคำสอนใดๆ ให้สูงขึ้นไปกว่านี้ได้ มันสูงสุดอย่างนั้น นี่เรียกว่าควรบูชา

เพราะฉะนั้น เราจึงทำการบูชากัน ไม่ใช่หลับหูหลับตาบูชา เป็นพิธีรีตอง สนุกสนาน สรวลเฮฮา อย่างนั้นไม่ถูกไม่เป็นพุทธบริษัทดอก ต้องบูชาด้วยความรู้ถูกต้องพอใจถือเอาเป็นสรณะ จึงจะเรียกว่าบูชาที่แท้จริง เราต้องทำใจให้ถูกต้อง คือเข้าใจเรื่องนี้ พอใจเรื่องนี้ แล้วจึงจะเป็นการบูชา นี้เป็นข้อแรกที่ต้องทำความเข้าใจ

ทีนี้ ข้อถัดมาที่จะบอกให้ทราบว่า วันนี้คือวันอาสาฬหบูชา เป็นวันพระธรรม โดยเรียงลำดับว่า วันวิสาขบูชา เป็นวันพระพุทธเจ้า กำหนดไว้ว่าเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า วันนั้นเป็นวันพระพุทธเจ้า


ครั้นมาถึงวันนี้ คือ วันอาสาฬหบูชานี้ เป็นวันพระธรรม คือวันที่พระพุทธองค์ได้ประกาศธรรม ออกมาเป็นครั้งแรกในโลก จนได้นามว่า ปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระธรรมได้ถูกเปิดเผยขึ้นมาในโลก ในลักษณะที่ผิดแผกแตกต่างจากที่เขาเคยรู้กันมาก่อน หรือกำลังรู้กันอยู่ มันมีของแปลกของใหม่ออกมา นี่คือตัวธรรมะที่แสดงออกมา

เราไม่ต้องเชื่อตามใครดอก เรามีเหตุผลของเราเอง ที่จะถือว่า วันนี้เป็นวันพระธรรม เป็นวันที่พระธรรมปรากฏออกมาแสดงธัมมจักร เสร็จแล้วมีผู้มีดวงตาเห็นธรรมเพียงองค์เดียว จะเรียกว่าวันพระสงฆ์อย่างไรได้ ใครจะเรียกว่าวันพระสงฆ์ก็ตามใจเถอะ อาตมาเห็นว่าวันนี้เป็นวันพระธรรม เพราะพระธรรมได้ปรากฏออกมา

ควรจะสนใจ ในสิ่งที่เรียกว่าพระธรรม อันเป็นความหมายสำคัญของคำๆ นี้ คือคำว่าพระธรรม ดูกันโดยทั่วไปในชั้นแรกก็ว่า พระธรรมได้ทำให้เกิดพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลายขึ้นมา พระอรหันต์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเกิดขึ้นในโลก นั้นก็เพราะพระธรรม เพราะรู้ธรรม เพราะตรัสรู้ธรรม บรรลุธรรม เปลี่ยนแปลงไปตามธรรม นี่เรียกว่าพระธรรมได้ทำให้เกิดพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์

พระธรรมนี้ ยังเป็นทางมาแห่งความสงบสุข สันติสุขในโลก ทั้งส่วนบุคคลและส่วนสังคม ถ้ามีธรรมะอยู่ก็จะมีสันติสุข ทั้งส่วนบุคคลและส่วนสังคม ถ้ามีธรรมะอยู่ก็จะมีสันติสุข ไม่ต้องเชื่อใคร ไปลองดูด้วยตนเอง ลองปฏิบัติธรรมมีธรรมะ ก็ปรากฏแก่ตนเองว่ามีสันติสุข นี่เป็นใจความสำคัญของคำว่าธรรม

ในลัทธิอื่นอีกหลายลัทธิ เขาก็มีพระธรรมเหมือนกันแหละ ก็มีความสุขตามแบบนั้น แต่เราไม่ชอบใจ เราชอบใจพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และถือว่าให้ได้บรรลุความสุขที่สมบูรณ์แท้จริงหรือสูงสุด อย่าเขลาไปนะ ว่าพระธรรมมีใช้แต่ในพุทธศาสนา เหมือนที่สอนในโรงเรียน ในโรงเรียนหลับตาสอนเด็กๆ ว่า ธรรมะ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หารู้ไม่ว่าลัทธิอื่น ศาสนาอื่นเขาก็เรียกพระธรรมเหมือนกันแหละ เขาเรียกธรรมตามแบบของเขา

แล้วธรรมะๆ นี้ มีในคำพูดของมนุษย์ก่อน ก่อนศาสนาเกิดขึ้นมา เมื่อคนๆ หนึ่ง เขาได้มองเห็นสิ่งที่เรียกว่าหน้าที่ หน้าที่นี้จำเป็นสำหรับชีวิต เขาเรียกมันว่า ธรรมะ ธรรมคือหน้าที่ เขาเอาคำธรรมะไปใช้ เพราะคำว่าธรรมะมีความหมายว่า ยกขึ้นไว้ ชูขึ้นไว้ ไม่ให้พลัดตกลงไป คำๆ นี้ มันมีความหมายอย่างนั้น


เอาคำนี้มาเรียกสิ่งที่เขาสังเกตเห็นใหม่ คือหน้าที่ ใครมีหน้าที่ หน้าที่ก็จับยึดขึ้นไว้ไม่ให้ตกลงไปในความทุกข์ ก็เรียกว่า ธรรมะ บอกกันเรื่อยๆ จนมาสูงขึ้นๆ เป็นลัทธิศีลธรรมลัทธิศาสนา จนเป็นคำสูงสุดในพระพุทธศาสนา สามารถทำให้พ้นจากความทุกข์สิ้นเชิง สูงสุดสิ้นเชิง ธรรมะคือสิ่งที่ทำให้เกิดสันติสุข

มาเดี่ยวนี้ก็อยากจะชี้ให้เห็นว่า ธรรมะนั่นแหละคือตัวชีวิต ขาดธรรมมันต้องตาย คือขาดหน้าที่ ขาดหน้าที่แล้วมันต้องตาย ไม่ทำหน้าที่ มือ ตีน แขน ขา ไม่ทำหน้าที่ ตับ ไต ไส้พุง ไม่ทำหน้าที่มันก็ตายแหละ หรือว่าตัวเซลล์ทั้งหลายที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิตนี้มันหยุดทำหน้าที่ มันก็ตายวูบเดี๋ยวนั่นแหละ มันอยู่ได้ด้วยการที่สิ่งทั้งปวงมันทำหน้าที่ ทำหน้าที่ธรรมคือ หน้าที่เป็นชีวิต เป็นคู่ชีวิต อยากจะให้ถือกันอย่างนี้ว่า ธรรมะเป็นคู่ชีวิต

คู่ชีวิตอย่างคู่ผัวตัวเมีย แยกกันอยู่สัก ๓ เดือน ก็ไม่ตายดอก แต่คู่ชีวิตคือธรรมะ คือหน้าที่นี้ หยุดเดี๋ยวเดียวก็ตาย อย่างเซลล์ทั้งหลาย พอหยุดทำหน้าที่ก็ตาบวูบเดียววินาทีเดียว นี้ใครเป็นคู่ชีวิตกันแน่ หมายความว่า ต้องมีอยู่กับชีวิต ชีวิตจึงจะมีอยู่ สิ่งนั้นแหละคือคู่ชีวิต ฉะนั้นคู่จากชีวิตอย่างยิ่งก็คือธรรมะ ออกไปชีวิตก็ตายทันที ควรจะรู้จักไว้ในลักษณะอย่างนี้ แล้วก็ทำให้มีธรรมะ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอดเวลา นี่ธรรมะๆ อย่าทำเล่นกับธรรมะ

เอ้า ทีนี้มันยังมีพิเศษว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม อย่างนี้ผู้ใดไม่เห็นธรรม แม้จะจับจีวรของเราถือไว้ไปไหนไปด้วยกัน จับจีวรไว้ไม่ปล่อยก็ยังไม่ชื่อว่าเห็นเรา ถ้าเขาไม่เห็นธรรม ต่อเมื่อเขาเห็นธรรม จึงจะเห็นเรา ไม่ต้องจับจีวร อยู่ที่ไหนด้วยกัน อยู่กันคนละยุคคนละสมัยก็ได้ เช่นเดี๋ยวนี้ เห็นธรรมเถอะ จะชื่อว่าเห็นพระพุทธองค์ นี่มันมีความสำคัญอย่างนี้ ว่าต่อเมื่อเห็นธรรม จึงจะเห็นพระพุทธองค์ ไม่มีธรรมก็คือไม่มีพระพุทธองค์ ไม่มีอะไรมาช่วยดับทุกข์

ทีนี้ ธรรมคืออะไร ธรรมนั้นคืออะไร? มีตรัสไว้ในพระบาลีแห่งอื่นว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท เมื่อนั้นชื่อว่าเห็นธรรม ไม่จำกัดว่าที่ไหนเมื่อไร เห็นปฏิจจสมุปบาทแล้วก็เห็นธรรม

อะไรคือปฏิจจสมุปบาท? คำนี้ตามตัวหนังสือมีใจความว่า อาการที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้นมา อาการที่อาศัยกันแล้วดับลงไป ฟังให้ดี กิริยาอาการที่มันอาศัยซึ่งกันและกันแล้วเกิดขึ้น หรือเมื่อจะดับ อาศัยซึ่งกันและกันแล้วก็ดับลง อาการนี้เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ผู้ใดเห็นอาการนี้ ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ชื่อว่าเห็นธรรม มันก็เลยไปเข้ากับบทต้นว่า เห็นธรรมคือเห็นพระองค์ เห็นพระองค์คือเห็นธรรม ดังนั้นการเห็นปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละ คือเห็นพระองค์โดยแท้จริง

ดูให้ดี ฟังให้ดี บางทีจะมีประโยชน์ที่สุดก็ได้ เมื่อเหลือบตาไป มองเห็นอาการที่มันอาศัยกันเกิดขึ้น อาการที่อาศัยกันแล้วดับลงไปในสิ่งใด ก็ให้เห็นสิ่งนั้นโดยชัดเจน โดยประจักษ์ ก็ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นการเห็นธรรม และได้เห็นพระองค์ มันเห็นได้ทั่วไปในที่ทุกหนทุกแห่ง ทุกเวลา แต่ว่าที่มันไม่เห็น ก็เพราะว่ามันโง่ ตามันไม่ลืม ไม่ลืมตา หรือคือมันไม่เข้าใจนั่นแหละ

จะเห็นว่าธาตุหลายๆ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อาศัยกันเกิดขึ้น เป็นรูปร่างอะไรขึ้นมา แล้วแยกกันก็ดับไป อย่างนี้ก็ได้ แล้วที่มันใกล้ชิดหน่อยก็ว่า ตากับรูปอาศัยกันเกิดจักษุวิญญาณ แล้วผัสสะมันก็เกิดขึ้นมา หรือว่าจะเห็นให้ละเอียดง่ายๆ อย่างที่วิทยาศาสตร์เขาสอนกัน ธาตุหลายธาตุมาประชุมกันเข้าแล้ว มันก็เกิดขึ้นมา เช่น ธาตุ ๒ ธาตุ อาศัยกันแล้วก็เกิดเป็นน้ำขึ้นมา หรือว่าเกิดเป็นไฟขึ้นมา

และให้เห็นว่ามีอยู่ในที่ทั่วไป เห็นได้ในที่ทั่วไป เดี๋ยวนี้คุณจะมองไปทางไหน ดูไปที่ใบไม้ มันก็มีอะไรอาศัยกัน อาศัยกันแล้วเกิดขึ้นเป็นใบไม้อยู่ ถ้าไม่ได้อาศัยกันแล้ว ก็มันไม่เป็นใบไม้ขึ้นมา แล้วมันจะอาศัยกันดับลงไปหล่นลงไป ที่เปลือกไม้ก็ดี นี่เรียกว่าโดยทั่วไป แต่มันก็ไม่เห็นใช่ไหม มันไม่เห็นอาการอาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับลง เห็นเป็นเที่ยง เที่ยงแท้แน่นอนตายตัวอยู่ที่ตรงนั้นเลย กลายเป็นโง่ ว่าเป็นของเที่ยงแท้อยู่ตลอดเวลาไปเสียอีก


แทนที่จะเห็นว่า มันเป็นการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับลง เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดูไปที่ต้นไม้ต้นนั้น คุณเห็น อ้าว มันก็อยู่อย่างนั้นคงที่ตายตัวอยู่อย่างนั้น นี้มันไม่เห็น ถ้ามันเห็นว่าทุกๆ ส่วน ทุกๆ เซลล์ ทุกๆ อะไรของต้นไม้นั้น มันมีการอาศัยกันเกิดขึ้นอาศัยกันดับลง คือความเปลี่ยนแปลง เพราะมีความเปลี่ยนแปลง มันจึงกว้างขวางออกไปได้ เซลล์นี้ดับไป เกิดเซลล์ใหม่ใหญ่กว่ามากกว่า ต้นไม้ก็ใหญ่โตออกไป

แม้ในสิ่งที่ไม่มีชีวิต มันก็อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นสิ่งใหม่แล้วก็เปลี่ยนแปลงไป ต้องอาศัยกันหน่อยในสิ่งที่ไม่มีชีวิตศึกษาอย่างวิทยาศาสตร์ ธาตุทั้งหลาย อย่างโบราณก็ว่าธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ประสมกันก็เปลี่ยนรูปเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ออกมา แล้วก็สลายแยกกัน ถ้าได้วิญญาณธาตุ อากาศธาตุ เข้าไปผสม เลยกลายเป็นสิ่งมีชีวิต ธาตุทั้ง ๔ ก็เกิดวัตถุล้วนๆ ธาตุทั้ง ๖ ก็เกิดสิ่งมีชีวิต แล้วรวมกันเป็นคนก็ได้ เป็นสัตว์ก็ได้ เป็นต้นไม้ต้นไร่ก็ได้ บรรดาสิ่งที่มีชีวิต

ใครสามารถหลับตา แล้วเห็นความเปลี่ยนแปลง ปรุงแต่งของสิ่งเหล่านี้ ของธาตุเหล่านี้ ปรุงแต่งกันอยู่เป็นสิ่งที่มีชีวิต พรึบไปหมด สะพรั่งทั่วไปหมด ไปหมดทั้งโลกทั้งจักรวาล นั่นแหละเรียกว่าเห็น เห็นปฏิจจสมุปบาท คือ เห็นอาการที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น อาศัยกันแล้วดับลง


มันแปลกหน่อย ที่ว่าต้องหลับตา เห็นง่ายกว่าลืมตา ลืมตามันเห็นไปเสียทางหนึ่ง อาจจะโง่จะผิดก็ได้ เห็นตายตัวอยู่อย่างนั้น เที่ยงแท้อยู่อย่างนั้น ถ้าหลับตาแล้ว มองเถอะ จะค่อยๆ เห็นว่า มัน โอ้ เปลี่ยนแปลงจริง อาศัยกันเกิดของใหม่ คือของเก่าดับของใหม่เกิดอย่างนี้ อย่างนี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ช่วยจำไว้ให้ดีเถอะ มีประโยชน์ที่สุดแหละ คือเห็นพระพุทธเจ้า เห็นสิ่งนี้คือเห็นพระพุทธเจ้า

เดี่ยวนี้เราไม่เห็นพระพุทธเจ้า ก็คือไม่เห็นสิ่งนี้ แม้ที่สุดแต่ว่าในของที่ใกล้ตัวเรา อาหารการกินที่เราบริโภคนี้ มันก็เปลี่ยนแปลงไป เข้าไปในร่างกาย มันก็เปลี่ยนแปลง ไปเกิดเป็นเลือดเป็นเนื้อ เป็นอะไรก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยไป อาศัยกันเกิดขึ้นอย่างนี้ อาศัยกันดับลงอย่างนี้ เดี๋ยวก็ถ่ายอุจจาระปัสสาวะออกมาอะไรก็ตาม ขอให้มองเห็นอาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับลงอยู่ในทั่วๆ ไป

สมมติว่าเอาดินมาก้อนหนึ่ง วางไว้ตรงนั้น แล้วก็ดูอยู่ทุกวัน ก็จะเห็นว่ามันค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปจนไม่เหลือ เอาดอกไม้มาดอกหนึ่งวางไว้ตรงนั้น ทิ้งไว้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปจนไม่มีเหลือ อาศัยกันเกิดขึ้น เมื่อมันออกจากต้น มันออกมาเป็นดอกไม้ พอทิ้งไว้แล้ว ก็อาศัยกันดับลง เปลี่ยนแปลงไปจนไม่มีเหลือ

ข้อนี้คือความโง่สูงสุด มหาศาลที่สุด ใหญ่หลวงที่สุด ความโง่ของเราที่สุดมันก็อยู่ตรงนี้ มันไม่เห็นอาศัยกันเกิดขึ้น มันไม่เห็นอาศัยกันดับไป มันเห็นเป็นเพียง เป็นตัวเป็นตนเที่ยงแท้ เป็นตัวเป็นตนอย่างนั้นเสียเรื่อย

ในร่างกายนี้ ถ้าดูให้ดีเถอะ มันมีแต่อาศัยกันเกิดขึ้นอาศัยกันดับลง ทุกเซลล์ทุกกลุ่มของเซลล์ แล้วกระทั่งทุกๆ ส่วนของเนื้อหนัง ร่างกายมีชีวิตมีแต่ส่วนที่อาศัยกันเกิดขึ้น ในระบบเลือดก็เป็นอย่างนั้น ลองหลับตา เห็นว่าในตัวเรานี้มีแต่การอาศัยกันเกิดขึ้น แล้วก็อาศัยกันดับลง บางคนง่วงนอนแล้วพูดเรื่องอะไรก็ไม่รู้ มันจะเห็นได้อย่างไร ว่าในตัวเรานี้เต็มไปด้วยอาการที่เรียกว่า อาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับลง

เอ้า ข้างนอกจะเห็นได้ง่ายกว่าก็ดูซิ ก็ดูที่ตัวคนอื่นก็ได้ ที่สัตว์อื่นก็ได้ มีทั่วๆ ไป ที่อาตมาจะระบุว่า ทุกๆ ปรมาณูหรือทุกๆ เซลล์ ที่ประกอบกันขึ้นด้วยปรมาณูหรือว่าที่เนื้อที่ตัวของเรานี้ ใช้ภาษาไทยพูดกันทีก็ว่าทุกขุมขน ทุกขุมขนทั้งเนื้อทั้งตัวแต่ละขุมขน แสดงอาการอาศัยกันเกิดขึ้นอาศัยกันดับลงอยู่ทั่วทุกขุมขน เห็นไม่เห็นก็ตามใจเถอะ ดูเถอะมันอาจจะเห็นได้ว่า มันมีอาการของปฏิจจสมุปบาทอยู่ทั่วทั้งตัวทุกขุมขน มีอะไรเกิดดับที่นั่น

นี่แสดงว่า เราเห็นปฏิจจสมุปบาทได้ทุกขุมขน เท่ากับว่าเราเห็นพระพุทธเจ้าได้ทุกขุมขนของเรา ไม่มีใครเชื่อแล้วว่าบ้าอีก แล้วถ้าเห็นพระพุทธเจ้าอยู่ทุกขุมขนของเรา ไม่มีใครเชื่อ นี่เขาอุปโลกน์ให้อาตมาเป็นคนสอน หลอกลวงสอน บ้าบอนี่ ก็เช่นอย่างนี้เป็นต้น เดี๋ยวนี้จะบอกท่านทั้งหลายว่า มีพระพุทธเจ้าอยู่ทุกขุมขนน่ะ คนโง่ไม่เห็นเอง อาการแห่งปฏิจจสมุปบาท มีทั่วไปทุกขุมขน ทำไมไม่เห็น มีอาการอย่างนั้นที่ไหน ก็เรียกว่ามีพระพุทธเจ้าที่นั่น

นี่ ตอนนี้ฟังยาก ว่าถ้ามันมีการเกิดขึ้นดับลง อาการอาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับลงแล้ว มันก็ต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งแสดงอาการอย่างนั้น สิ่งใดแสดงอาการอย่างนั้น นั่นแหละคือพระพุทธเจ้า แต่ละปรมาณูมันก็แสดงอาการอาศัยกันเกิดขึ้นอาศัยกันดับลง แม้ทุกขุมขนก็มีสิ่งที่แสดงให้เห็นอาการเกิดขึ้นอาศัยกันดับลง ก็มีพระพุทธเจ้าอยู่ที่นั่น ทำไมไม่เห็น แล้วทำไมไม่เห็นว่ามีพระพุทธเจ้าอยู่ทุกปรมาณูทุกหนทุกแห่ง

เอ้า ทีนี้อยากจะพูดไปถึงพวกเซ็นบ้าง พวกเซ็นเขาพูดเล่นพูดจริงอะไรก็ไม่รู้ เขาพูดทำนองท้าทายหรือว่าจะเป็นเรื่องสอนคนโง่ก็ตามใจ เขาว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่ทั่วไป แม้ในกองของสกปรก เช่นขี้หมาเป็นต้น เพราะว่าในกองของสกปรกนั้น มันมีสิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับลงอยู่ตลอดเวลา ในกองของสกปรกที่เต็มไปด้วยความสกปรก จะดูด้วยตาไม่เห็น แต่ดูด้วยใจมันเห็น


นี่ก็ได้เปรียบซิ มันไม่เห็นของสกปรกนี่ เห็นพระพุทธเจ้าไปเสียหมดนี่ ไม่ว่าจะมองไป ของสะอาดหรือของสกปรก เห็นพระพุทธเจ้าไปเสียหมด อาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับไป เป็นพระพุทธเจ้าไปเสียหมด ไม่มีสะอาดไม่มีสกปรก เพราะอาการแห่งปฏิจจสมุปบาท มันมีอยู่ทุกๆ ปรมาณูจริงๆ นี่ เขาจึงพูดว่ามีพระพุทธเจ้าอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่มีที่ว่างเว้น อย่างนี้ว่าอย่างไร

อาตมาผู้เอามาพูดก็จะพลอยถูกด่าแทนพวกนั้นไปเสียอีก ที่ว่ามีแม้ในกองของสกปรก ทั้งนี้ก็เพราะว่า ทั่วๆ ไป ไม่ว่าในที่อะไร ที่เราจะเรียกว่าสกปรกหรือสะอาด บรรดาสังขารทั้งหลายและทุกๆ ปรมาณูของมันมีอาการอันนี้ สังขารทั้งปวงมีอาการอย่างนี้ ทุกๆ ปรมาณูดีไหม เห็นพระพุทธเจ้าเต็มไปหมด จนไม่มีที่ว่าง

ถ้าว่า ในอากาศนี้มีธาตุ ธาตุที่เป็นอากาศผสมกันเป็นอากาศ ปรมาณูของอากาศเหล่านี้ ก็อาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับลง พระพุทธเจ้าก็เต็มไปด้วยอากาศ คนเห็นอย่างนี้เป็นคนโง่หรือเป็นคนฉลาด จะเป็นที่ไหนก็ตามใจ จะในน้ำก็ดี บนบกก็ดี บนฟ้าก็ดี ในสิ่งของก็ดี นอกสิ่งของก็ดี มีแต่อาการที่ว่าอาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับลง คือปฏิจจสมุปบาท

อาการของปฏิจจสมุปบาท มีเห็นได้ทั่วไปในที่ทุกหนทุกแห่ง ตรงไหนมันแสดงอาการอย่างนี้ ก็มีพระพุทธเจ้าอยู่ที่ตรงนั้นแหละ คือผู้แสดงอาการของปฏิจจสมุปบาท ช่วยฟังให้ดีซิ สิ่งที่แสดงอาการของปฏิจจสมุปบาทมีอยู่ที่ไหน ก็มีพระพุทธเจ้าอยู่ที่ตรงนั้น นี่รวยเลย มีพระพุทธเจ้าทุกหนทุกแห่งเต็มไปหมด เราหายใจเข้าหายใจออก หายใจเข้าออกเป็นพระพุทธเจ้า แม้ในลมหายใจ มันก็เป็นอย่างนั้น หายใจเข้าออกเป็นพระพุทธเจ้าไปหมด ดีไม่ดีไม่เข้าใจก็ว่าบ้า


แต่ว่าธรรมะที่มีอยู่เป็นบาลีเป็นหลักฐาน มันปรากฏอยู่อย่างนี้ ว่าผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นธรรม ก็เห็นที่อาการของปฏิจจสมุปบาท ในลมหายใจที่หายใจเข้าออกอยู่ ก็เป็นพระพุทธเจ้าทั้งนั้นเลย แต่ละปรมาณูอณูของมันมีอาการอาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับลง รวยพระพุทธเจ้า เอาหรือไม่เอาก็ตามใจ บางทีจะเรียกว่าบ้าบอเสียอีก เอาอะไรมาพูดก็ไม่รู้ แต่ก็ต้องเอามาพูดแหละ

เพราะว่าสิ่งที่มันเขียนอยู่ในพระบาลีก็มีอย่างนี้ แล้วเอาพระบาลีคัมภีร์ออกไปเสีย ดูเอง ดูด้วยตนเอง ไม่ต้องอาศัยบาลี มันก็เห็นอย่างนี้ มันไม่ได้เห็นอย่างอื่นนี้ เห็นการอาศัยกันเกิดขึ้น การอาศัยกันดับลง แล้วก็เห็นพระพุทธเจ้าคือเห็นความจริง คือ เห็นความจริง ว่าไม่ใช่ตัวตน เห็นความจริงอย่างยิ่งว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยากเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นอย่างนี้ เห็นอย่างนี้กันเถิด

มื่อไม่เข้าใจ ก็จะหาว่าเป็นคำพูดบ้าที่สุด ที่จะมีคนว่าในสากลจักรวาลนี้ เต็มไปด้วยพระพุทธเจ้า เขาฟังไม่ออกว่าอะไร แต่คนที่ฟังออกก็ว่า โอ้ มันเต็มไปด้วยอาการที่อาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับลง เต็มไปทั้งจักรวาล คืออาการของปฏิจจสมุปบาท มีสิ่งที่แสดงอาการนี้ สิ่งนั้นแหละคือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเลยเต็มไปหมดทั้งสากลจักรวาล

ดีไหม เรามีพระพุทธเจ้ากันเต็มเนื้อเต็มตัว แม้แต่ลมหายใจสำหรับเข้าออกก็เต็มไปด้วยพระพุทธเจ้า ดีไหม แต่ว่าคนโง่ก็ไม่เห็น ไม่ได้รับประโยชน์อะไร ไม่ได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เบื่อหน่ายคลายกำหนัด ในสิ่งที่ยึดถือเป็นตัวตน มันโง่เหลือที่จะโง่ ยึดถือว่ากลุ่มสังขารทั้งหมดนี้ คือตัวกู
นี้คือตัวตน นี่คือตัวกู

ไม่ได้เห็นว่า มันเป็นเพียงสักว่าธาตุตามธรรมชาติ มีอนุภาคน้อยๆ ที่สุด ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นร่างกาย เป็นอะไรนี้ แต่ละอันก็เป็นอันเกิดขึ้นดับไป ถ้าเห็นอย่างนี้มันก็เห็นธรรมะ เห็นความจริง ไม่ยึดมั่นสิ่งใดโดยความเป็นตัวตนหรือของตน ลองจำไว้สักคำว่า ถ้ารู้ธรรมะจริง จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเหลียวดูไปทางไหน เพราะมีอาการของปฏิจจสมุปบาท

ขอแทรกตรงนี้หน่อยนะ ว่าท่านเข้าใจเรื่องนี้ ถ้าเข้าใจที่กำลังพูดนี้ คุ้มเวลาที่จะมาจากจังหวัดไกลๆ เสียค่ารถแพง เสียเวลามาก เหนื่อยมาก จะคุ้มค่า ถ้าเข้าใจในสิ่งที่กำลังพูดนี้

เห็นปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเอง จนไม่ต้องเชื่อใคร นี่คือหลักพระพุทธศาสนา ที่ว่าไม่ต้องเชื่อใคร ไม่ต้องเชื่อพระพุทธเจ้า ไม่ต้องเชื่อพระไตรปิฎก ไม่ต้องเชื่อครูบาอาจารย์ ไม่ต้องเชื่อใคร อย่างที่กล่าวไว้ในกาลามสูตร ขอให้ไปทบทวนอ่านดูอีกที เชื่อที่ตัวเห็นอยู่เองหรือมันเป็นอยู่อย่างนี้ มันเป็นทุกข์ขึ้นมาเพราะเหตุนี้ มันไม่ดับทุกข์เพราะเหตุนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ เชื่อตัวเอง เห็นด้วยตัวเอง โดยการแสดงของพระพุทธเจ้า ก็พูดแล้ว พระพุทธเจ้ามีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แสดงให้เห็นอยู่ที่เกิดขึ้นดับไป

พระพุทธเจ้าแสดงให้เห็นอยู่อาการอย่างนั้น ก็เชื่อพระพุทธเจ้าโดยตรงนั้นแหละ แต่พระพุทธเจ้าห้ามว่า ไม่เชื่อพระพุทธเจ้าชนิดที่เป็นบุคคล หรือว่าเป็นพระคัมภีร์ ให้เชื่อการเห็นด้วยตัวเอง เชื่อทั้งหมดด้วยจิตใจ ไม่ต้องเชื่อเพราะว่าเขียนไว้ในคัมภีร์ หรือว่าได้ยินอย่างนั้นอย่างนี้


แต่ว่าเรื่องมันตรงกันกับที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ หรือที่พระพุทธเจ้าตรัสออกมา มันก็ตรงอย่างเดียวกับที่เราเห็นเองเห็นด้วยตนเองก็ใช้ได้ แต่ว่าถ้ายังไม่เห็นเองไม่สำเร็จประโยชน์ ยังได้ยินแต่พระพุทธเจ้าตรัสเขียนไว้ในพระคัมภีร์ ยังไม่สำเร็จประโยชน์ ยังดับทุกข์ไม่ได้ จนกว่าจะเห็นด้วยตนเอง ว่ามันเกิดดับเกิดดับอย่างนี้จริง

นี่อาการอาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับลง ไปทั่วทุกแห่ง ไม่ว่าที่ไหน ทุกๆ ปรมาณู ที่ประกอบกันขึ้นเป็นจักรวาลมันอย่างนี้เองโดยธรรมชาติ มันเป็นอย่างนี้ ข้อนี้ก็จะมาถึงข้อที่จะบอกว่า มันเป็นอย่างนี้เองโดยธรรมชาติ ไม่ต้องมีพระเป็นเจ้าที่ไหนมาทำให้เป็นอย่างนี้ ไม่ต้องอาศัยเทวดาที่ไหนมาทำให้เป็นอย่างนี้ อาการที่มันอาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันดับลง มันเป็นของมันเอง โดยกฎของธรรมชาติ ไม่ต้องอาศัยพระเจ้ามาช่วยทำ เทวดามาช่วยทำ ผีสางมาช่วยทำ

ทีนี้เรื่องมันก็เกี่ยวขึ้นมาถึงว่า มันปรุงแต่งกันจนเกิดเป็นความทุกข์หรือความสุขก็ตาม แล้วแต่จะเรียก มันมีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุทั้งหลายอยู่ตามธรรมชาติ มีหลายธาตุอย่างนั้น มันมาอาศัยกัน เนื่องกัน การเกิดขึ้นดับลงของมันเข้ามาเนื่องกัน มีการปรุงแต่งกัน เกิดของใหม่ขึ้นมาจากธาตุก็เป็นกลุ่มแห่งเซลล์ มีกลุ่มแห่งเซลล์เกิดขึ้นในชีวิต เป็นระบบขยายตัวออกไป มันก็เกิดระบบประสาทสำหรับรู้อารมณ์ขึ้นมา นี่ระบบประสาทมันก็เกิดขึ้น โดยที่พระเจ้าไม่ต้องมาช่วยทำ ให้มันเป็นของมันเองได้โดยธรรมชาติ

เมื่อมีระบบประสาทสำหรับรู้สึก แล้วมันก็หนีไม่พ้น มันช่วยไม่ได้ที่จะไม่เกิดสิ่งที่เรียกว่าผัสสะหรือสัมผัส เพราะว่าสิ่งที่จะเข้ามาถูกกับระบบประสาทนั้น มีอยู่ทั่วไป คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ทั้ง ๖ อย่างนี้ มีอยู่ในที่ทั่วไป มันก็ง่ายนิดเดียวที่จะมากระทบ กระทบกันเข้ากับระบบประสาท ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่าสัมผัสหรือผัสสะ มันก็มีขึ้นมา อย่างที่ช่วยไม่ได้


เมื่อมีระบบประสาทแล้ว ทำอย่างไรเสีย จะต้องมีสัมผัสแน่นอน เพราะสิ่งที่จะสัมผัสนั้น มันมีอยู่ทั่วไปหมด นี่จะทำอย่างไร ครั้นเมื่อมีการสัมผัสแล้ว ทำอย่างไรเสียก็ต้องมีเวทนา ไม่มีใครห้ามได้ ไม่มีใครมาช่วยได้ ที่จะมาห้ามไม่ให้เกิดเวทนา มีสัมผัสแล้วมันก็มีเวทนา ไม่ต้องอาศัยพระเจ้า

ครั้นมีเวทนา รู้สึกเวทนาแล้ว ก็ต้องมีตัณหา อยากไปตามอำนาจแห่งเวทนานั้น แล้วก็มีอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวกูเป็นของกู พอมีเวทนาแล้ว มันก็เกิดตัวกู ผู้เป็นเจ้านายของเวทนา นี้เป็นความลับของความที่ว่ามันมิใช่ตัวตน ตัวตนตัวกูเกิดขึ้นจากความโง่ ที่โง่มาจากเวทนา

เช่น พอเจ็บขึ้นมา มันก็เกิดความรู้สึกว่ากูผู้เจ็บ กูเจ็บขึ้นมา เคี้ยวอาหารอร่อยอยู่ในปากตามระบบประสาทเท่านั้นแหละ พออร่อยครอบงำแล้ว มันเกิดตัวกูผู้อร่อยขึ้นมา เกิดความรักขึ้นมาในใจแล้ว มันก็จะเกิดตัวกูผู้รัก เกลียดขึ้นมาในใจแล้ว มันก็เกิดตัวกูผู้เกลียด ตัวกูนี้มันมาทีหลัง เป็นปัญหาเป็นความทุกข์ยากลำบาก เมื่อมันเกิดตัวกู
ให้มันเกิดตัวกู แล้วมันก็ไม่มีปัญหาอะไร มันเป็นอย่างนี้

โดยที่ว่าตามธรรมชาติ จะมีพระเป็นเจ้าหรือไม่มีพระเป็นเจ้า มันก็เป็นอย่างนี้ จะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น หรือพระพุทธเจ้าไม่เกิดขึ้น มันก็เป็นอย่างนี้ ไม่เกี่ยวกับผีสางเทวดา ไม่เกี่ยวกับโชคชะตาราศี ไม่เกี่ยวกับดวงดาวบนสวรรค์ ไม่เกี่ยวกับหมอดู ไม่เกี่ยวกับอะไรทุกอย่าง ไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ ไม่เกี่ยวกับความเป็นสัตว์เดรัจฉานหรือความเป็นมนุษย์ มันต้องเป็นอย่างนี้ ตามธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้

ขอให้เห็นความจริงอันนี้ คือจะเห็นพระพุทธเจ้าเต็มไปหมดทั้งจักรวาล อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น อาศัยกันแล้วดับลง ในรูปแบบต่างๆ กัน เป็นรูปธรรมก็มี เป็นนามธรรมก็มี เป็นกรรมก็มี เป็นวิบากก็มี เป็นได้ทุกอย่าง อาการที่อาศัยกันเกิดขึ้นอาศัยกันดับลง ในที่สุดก็เกิดความทุกข์ หรือความสุขแล้วแต่เรื่อง เป็นผลออกมาจากการปรุงแต่งขั้นสุดท้าย นี่เกิดทุกข์หรือสุขเกิดมาจากการปรุงแต่งอย่างนี้ ถ้ามันถูกต้องตามที่เป็นสุข ก็เรียกว่าเป็นสุข ถ้าถูกต้องตามที่เป็นทุกข์ ก็เรียกว่าเป็นทุกข์

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ชัดเจนว่า สุขและทุกข์ไม่ได้เกิดจากกรรมเก่า สุขและทุกข์ไม่ได้เกิดจากพระเจ้าบันดาล ช่วยฟังกันไว้ให้ดีๆ บรรดาที่นั่งกันอยู่ที่นี่ นี่อาจจะมีหลายคนที่เชื่อว่า สุขทุกข์เกิดจากกรรมเก่า มันค้านกับที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส


พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สุขและทุกข์มิได้เกิดจากกรรมเก่า แต่ว่าเกิดจากการทำผิดหรือถูกต่อกฎปฏิจจสมุปบาทที่ว่านี้แหละ กฎปฏิจจสมุปบาทที่ว่านี้ ทำไปในทางให้มันเกิดทุกข์ก็เกิดทุกข์ ทำไปในทางที่ไม่ให้เป็นทุกข์หรือเป็นสุขก็เกิดสุข นี่สุขทุกข์มิได้เกิดมาจากกรรมเก่า แต่ว่ามันเกิดมาจากการกระทำผิดหรือกระทำถูกต่ออาการของปฏิจจสมุปบาท

แล้วอีกอย่างหนึ่ง มิใช่เป็นการบันดาลของพระเจ้าอิศวร นิมฺมานเหตุ อิศวรในที่นี้หมายถึงพระเจ้า มิใช่เหตุเพราะการบันดาลของอิศวรในภาษาบาลีเรียกว่าอิศวร ไม่ใช่เป็นผลของกรรมเก่า ไม่ใช่เกิดมาจากการบันดาลของพระเจ้า มันเกิดมาจากการผิดหรือถูกต่อกฎเกณฑ์ของปฏิจจสมุปบาท ในฝ่ายไหน เรียกว่ามันถูกก็แล้วกัน มันไม่มีผิดดอก มันถูกสำหรับเป็นทุกข์ก็เป็นทุกข์ มันถูกสำหรับเป็นสุขก็เป็นสุข มันมีแต่ถูก แต่เราสมมติเรียกว่า มันไม่ตรงกับความต้องการแล้วก็ผิด ผิดเป็นทุกข์

นี่ก็เป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนา ว่าอาการแห่งปฏิจจสมุปบาทมีอยู่อย่างนี้ โดยธรรมชาติแล้วก็ปรุงแต่งกันขึ้นเป็นความทุกข์ หรือเป็นความสุขอยู่ในตัวมันเอง จงเห็นด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อ เพราะเชื่อคนอื่นไม่สำเร็จประโยชน์ ต่อให้เชื่อ เชื่ออย่างไรก็ไม่สำเร็จประโยชน์ เว้นไว้แต่จะมองเห็นเองว่ามันเป็นอย่างนี้ แล้วมันก็เปลี่ยนการกระทำอย่างที่ทำแล้วไม่เป็นทุกข์ นี้ เราจะต้องมีแนว มีระเบียบปฏิบัติ หรือมีแนวระบบสำหรับปฏิบัติแล้วจะไม่เป็นทุกข์

เอ้า ทีนี้เราก็จะมาถึงเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องอริยมรรคมีองค์แปด เมื่อสิ่งต่างๆ มันเป็นอย่างนี้ เราทำอย่างไรจึงจะดำเนินไปแต่ในทางที่จะไม่เป็นทุกข์ ต้องปฏิบัติถูกต้องไปในทางที่จะไม่เป็นทุกข์ ก็ต้องพูดถึงอริยมรรคมีองค์แปด อริยมรรคมีองค์แปดนั่นแหละ เป็นหัวใจของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสในวันนี้


ในวันที่คล้ายวันนี้ คือวันเพ็ญอาสาฬหะ เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา หัวใจของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น ได้พูดถึงมัชฌิมาปฏิปทาก่อนนะ ไปเปิดดูซิไปเปิดดูพระบาลีธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าได้เริ่มขึ้นว่า อย่าไปทำสุดโต่ง ๒ ข้าง กามสุขัลลิกา อัตตกิลมถา แล้วมาตั้งอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทา  

มัชฌิมาปฏิปทาเป็นสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาจากผู้ใด ท่านได้ตรัสรู้ขึ้นมาเฉพาะด้วยตนเอง แล้วก็แจกออกไปเป็นอย่างนั้นๆ เรียกว่ามรรคมีองค์ ๘ ซึ่งสวดกันได้ทุกคน ท่องกันได้ทุกคน แต่ดูยังไม่ได้รับประโยชน์คุ้มกัน เพราะยังไม่เป็นมรรคจริงๆ ขึ้นมา มันเป็นแต่เสียงท่องเสียงสวดมนต์

มรรคมีองค์แปด ใน ๘ องค์นั้น สององค์แรก เป็นปัญญา เป็นศีล เป็นสมาธิ รวมกันเป็นแปด เรียกว่ามรรคมีองค์ ๘ ดูกันง่ายๆ ว่า ปัญญามาก่อน ใน ๘ องค์นั้น ปัญญามาก่อน ๒ องค์ แล้วจึงถึงศีล ๓ องค์ ถึงสมาธิอีก ๓ องค์ พระพุทธเจ้าตรัส ปัญญา ศีล สมาธิ นี้มันผิดจากความรู้สึกของคนทั่วไปที่เคยฟังแต่ว่าศีล สมาธิ ปัญญา


อาตมาถูกศาสดาคนหนึ่งในกรุงเทพฯ ด่าว่าสอนผิด สอนปัญญาก่อน เขาสอนศีลก่อน เน้นเรื่องศีลก่อน เราสอนไม่ได้ เพราะว่าถ้าไม่มีปัญญามาก่อนแล้วศีลเข้ารกเข้าพง ศีลเข้ารกเข้าพงมันเดินไปไม่ถูก สมาธิก็เข้ารกเข้าพง ถ้าไม่มีปัญญามาก่อน ให้ถือว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ถูกต้องแล้ว ท่านตรัสปัญญา ศีล สมาธิ ตามอริยมรรคมีองค์ ๘

ดังนั้น ถ้าพูดกันอย่างการปฏิบัติจริงๆ แล้ว ต้องเรียงลำดับว่า ปัญญา ศีล สมาธิ นี่ไตรสิกขาที่จะปฏิบัติกันจริงๆ ถ้าว่าเอาไว้พูดกันเล่น สำหรับเรียนในโรงเรียน ท่องกันเล่นได้ ศีล สมาธิ ปัญญา ตายโหงก็ไม่ดับทุกข์อะไรได้ ถ้าไม่เอาปัญญามาก่อน มันต้องเอาปัญญามาก่อน ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญานำหน้าศีล ศีลเดินถูกทาง สมาธิก็ถูกทาง มันก็ส่งเสริมให้เกิดปัญญาขั้นต่อไป ที่สูงกว่าปัญญาทีแรก มันก็ตัดกิเลสและดับทุกข์ได้

ฉะนั้นไตรสิกขามีอยู่ ๒ รูปแบบ รูปแบบหนึ่ง สำหรับพูด สำหรับท่อง ก็เรียกว่าศีล สมาธิ ปัญญา รูปแบบหนึ่ง ที่จะเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ดับทุกข์จริง ต้องเรียกว่า ปัญญา ศีล สมาธิ ช่วยจำกันไว้บ้าง แม้มันจะไม่คุ้นปาก มันลำบากในการที่จะพูด ช่วยกันพูดให้มันคุ้นปากว่า ปัญญา ศีล สมาธิ


เดี๋ยวนี้กูจะปฏิบัติแล้ว ต้องเป็นปัญญา เป็นศีล เป็นสมาธิ ไม่มีปัญญาแล้วศีลก็ผิดหมดแหละ เป็นสีลัพพัตตปรามาส คือศีลที่งมงาย ผิดความประสงค์ สมาธิก็ผิดหมด เป็นสมาธิที่งมงาย ไม่ตรงตามประสงค์นี่เขาเรียกว่า สีลัพพัตตปรามาส เพราะว่าปัญญามันไม่นำมาก่อน ถ้าปัญญานำมาก่อน ก็เป็นศีลที่ถูกต้อง เรียกว่า ศีลวิสุทธิ เมื่อมีศีลวิสุทธิก็มีจิตตวิสุทธิ แล้วก็สุทธิๆ ๆ ต่อไปจนสิ้นกิเลสสิ้นอาสวะ นี่ปัญญาต้องมาก่อนอย่างนี้

เมื่อพูด เมื่อท่องก็ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อปฏิบัติต้อง ปัญญา ศีล สมาธิ ทีนี้ พอเอาเข้าจริง พอถึงเวลาที่จะตัดกิเลสได้จริง พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า อริยสัมมาสมาธิ มีบริขาร ๗ คำนี้สำคัญมาก แต่ว่าไม่เคยมาคุ้นหู ไม่เคยได้ยิน เพราะว่ามันอยู่นอกการพูดจา อริยสัมมาสมาธิมีบริขาร ๗ คือ


ยกเอาสัมมาสมาธิตัวสุดท้ายเป็นหลัก เป็นตัวประธาน แล้วเอาอีก ๗ องค์ ที่เหลือเป็นบริวารของสัมมาสมาธิ สมาธิเฉยๆ ถ้าไม่น้อมไปเพื่อนิพพาน ก็เรียกว่าสมาธิเฉยๆ ถ้าสมาธิมันน้อมไปเพื่อนิพพาน เรียกว่า สัมมาสมาธิ แล้วสัมมาสมาธินี้เอาทั้ง ๗ องค์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต อาชีโว วายาโม สติ มาเป็นบริวาร

ฉะนั้นสัมมาทิฏฐิมาก่อนแหละ รู้หนทาง รู้ทิศทาง รู้ความถูกต้อง ว่าจะไปทางไหนอย่างไรกัน เป็นผู้นำทาง แล้วก็ปรารถนาที่จะเป็นอย่างนั้น ก็เป็นสัมมาสังกัปปะ แล้วก็นำมาให้เป็น สัมมาวายามะ เดินถูกทาง สัมมาสติ เดินถูกทาง เอามาเป็นบริวารของสัมมาสมาธิ


ส่วนสัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโวนั้น ท่านถือว่าตามปกติมันมักจะถูกต้องอยู่แล้ว แม้ไม่ใช่ในพุทธศาสนา คนธรรมดาสามัญก็มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว ถูกต้องเป็นส่วนมากแล้ว แต่ถึงอย่างไร ก็ต้องภายใต้การควบคุมของสัมมาทิฏฐิอยู่นั่นเอง

นี่ทั้ง ๘ องค์ ทำงานประสานกันอย่างไม่แยกกันได้เลย เรียกว่า อริยสัมมาสมาธิ มีบริวาร ๗ สมาธิเป็นตัวแม่ทัพ ที่จะมีกำลังตัดกิเลส แล้วก็อีก ๗ องค์รอบๆ มาช่วยทำหน้าที่ครบรอบทุกอย่างเป็น ๗ อย่าง เรียกว่ามีบริวาร ๗ ถ้าศีล สมาธิ ปัญญา จะตัดกิเลส จะรบกิเลส จะทำลายกิเลสจริง ต้องมาในรูปของสิ่งที่เรียกว่า อริยสัมมาสมาธิ มีบริวาร ๗ มีบริขารก็ได้ บริขาร ๗ หรือบริวาร ๗ ก็เหมือนกันแหละ

ท่านทั้งหลายจะมองเห็นได้ว่า ปัญญาสำคัญ ให้เกิดความถูกต้อง มิฉะนั้นมันก็ไม่ถูกต้อง จะมีความเชื่ออย่างไรๆ ถ้าปัญญาไม่มานำแล้ว ความเชื่อมันผิดทางเสมอไป มันไปตามชอบใจของกิเลสเสีย แต่ถ้าปัญญามากำกับไว้ จะถูกทางของการดับทุกข์

เพราะฉะนั้น ขอให้รู้กันอย่างยิ่งว่า พระพุทธศาสนานี้เป็นศาสนาของปัญญา ใช้ปัญญาเป็นหลักเป็นเกณฑ์ เป็นกำลังเป็นเบื้องหน้า ศาสนาอื่นเขาจะใช้ความเชื่อ หรือจะใช้อะไรเป็นกำลังก็ตามใจเขา มันเป็นเรื่องของเขา แต่ถ้าศาสนาพุทธแล้ว ก็ต้องเอาปัญญาเป็นหัวใจ


พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นปัญญาทั้งนั้นแหละ ถ้าไม่มีปัญญา รู้ไม่ได้ ตื่นไม่ได้ มันเบิกบานไม่ได้ดอก เรามีปัญญาเป็นหัวใจของพระศาสนา ฉะนั้น จงมีปัญญาเป็นเครื่องดำเนินชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ทั้งหมดมันจะถูกต้อง ปัญญาถึงขนาดเห็นปฏิจจสมุปบาท ในที่ทุกหนทุกแห่ง ปัญญาถึงขนาดมีพระพุทธเจ้าทุกขุมขน หลายคนยังไม่เชื่อ ว่าบ้าแล้ว ก็ตามใจ อาตมายังคงขอยืนยันอย่างนี้ว่า

พระพุทธเจ้าตรัสว่า อาการแห่งปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละคือธรรม จงเห็นอาการแห่งปฏิจจสมุปบาท ที่มีอยู่ทั่วทุกขุมขนนั่นแหละว่าเป็นธรรมะ เห็นธรรมะแล้วเห็นพระองค์ ขอยืนยันอีกทีนะ ย้ำอีกทีว่า ถ้ามีความรู้เรื่องนี้แล้วคุ้ม คุ้มค่าที่มาไกล จังหวัดไกล เปลืองมาก เหนื่อยมาก เสียเวลามาก อะไรมาก จะคุ้มถ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้แล้วจะคุ้ม

ต่อไปนี้ก็ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา เสมือนหนึ่งว่าชีวิตนี้มันเดินได้ ชีวิตมันเดินไปตามแบบของชีวิต เดินทางด้วยปัญญาตลอดเวลา มีปัญญาอย่างนี้แล้ว เห็นพระพุทธเจ้าตลอดเวลา จะพบพระพุทธเจ้าทุกหนทุกแห่ง เดินทางไปกับพระพุทธเจ้านั่นเอง มีพระนิพพานตลอดเวลา ตลอดทาง รายทาง เดินไปกับพระพุทธเจ้า เดินไปกับการที่มีนิพพาน คือความไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ เป็นนิพพานน้อยๆ เรื่อยๆ ไป จนในที่สุดก็เป็นนิพพานที่สมบูรณ์

เดี๋ยวนี้ ขอให้เห็นธรรมะคือเห็นองค์พระพุทธเจ้า แล้วก็ไม่โง่ ไม่หลงเป็นตัวเป็นตน เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถูกต้อง ไม่มีความหลงอยู่กับพระพุทธเจ้า เดี๋ยวจะตกใจว่า จะรู้อย่างเดียวกับพระพุทธเจ้า เห็นอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้า รู้อย่างเดียวกับพระพุทธเจ้า ดับทุกข์อย่างเดียวกับพระพุทธเจ้า แล้วก็เป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง หลายคนว่าบ้าแล้ว ไม่เป็นไร อาตมาบ้าก็ได้ แต่ยังพูดอยู่อย่างนี่แหละ

ขอให้เราเดินทางไปกับพระพุทธเจ้า คือ ปัญญาที่เห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ เดินทางไปกับพระพุทธเจ้า มีนิพพานน้อยๆ เรื่อยไป จนเป็นนิพพานเต็มที่ ตลอดเวลานี้ รู้อย่างเดียวกับพระพุทธเจ้ารู้ เห็นอย่างเดียวกับที่พระพุทธเจ้าเห็น ดับทุกข์อย่างเดียวกับที่พระพุทธเจ้าดับทุกข์ แล้วก็กลายเป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง คือ สามารถแสดงปฏิจจสมุปบาทอย่างชัดเจน อย่างแจ่มแจ้ง นี่เป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง

วันนี้เรียกว่า วันเพ็ญอาสาฬหปุณณมี พระจันทร์เต็มดวงในหมู่กลุ่มดาวฤกษ์ ชื่อว่าอาสาฬหะ เรียกว่า อาสาฬหปุณณมี วันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธัมมจักกัปวัตตนสูตร ประกาศมัชฌิมาปฏิปทา อริยมรรคมีองค์แปด สรุปย่นได้เป็นไตรสิกขา เป็นปัญญา เป็นศีล เป็นสมาธิ


แต่ว่าถ้าว่าทำหน้าที่ถึงที่สุดแล้วก็กลายเป็นอริยสัมมาสมาธิ ทั้ง ๘ องค์ ยกสัมมาสมาธิขึ้นเป็นประธาน แล้วนอกนั้นก็แวดล้อม สัมมาสมาธิก็เต็มไปด้วยปัญญา เต็มไปด้วยสัมมาทิฏฐิ เมื่อสัมมาสมาธิเต็มไปด้วยปัญญา สัมมาทิฏฐิก็ตัดกิเลสไม่ต้องสงสัย

เราได้รับพระโอวาทอันประเสริฐสูงสุด คืออริยมรรคมีองค์แปด หรือเรียกว่าธัมมจักร วันนี้พระองค์ได้ประกาศธัมมจักร ใครๆ ไม่อาจจะต่อต้านได้ ที่ใช้คำว่า สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี ใครๆ ก็ดี ไม่ต่อต้านได้ หมายความว่า ทั้งหมดทั้งสิ้นไม่มีใครต่อต้านได้ ความจริงที่พระองค์ทรงเปิดเผย ทรงแสดงนี้ ไม่มีใครต่อต้านได้

ขอให้เรารู้จักสิ่งนี้ในวันนี้ เรามาประชุมกันที่นี่ เรียกว่าพิธีอาสาฬหบูชา มารู้จักหนทางที่ทรงแสดงไว้ให้พบพระพุทธเจ้าทั่วไป ทุกปรมาณูทุกขุมขน เดินทางไปด้วยสติ ปัญญา ที่เห็นพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าไปทั่วทุกขุมขน มีนิพพานตลอดทาง จบเรื่องของการที่จะเดินทาง นี่เรื่องเกี่ยวกับธรรมะก็หมด ได้ความรู้นี้เกินคุ้มที่มาลำบากที่นี่

นี่เหลือข้อสุดท้ายอีกข้อหนึ่ง เป็นข้อแถมพก หรือผนวกแล้วแต่จะเรียกว่า ต่อนี้ไปจะต้องช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนา ดูเหมือนพระเยซู คัมภีร์ไบเบิลที่ว่า เมื่อได้มาเปล่าๆ ก็ขอให้ไปเปล่าๆ อย่าคิดสตางค์ เราก็เหมือนกันแหละ


ชาวพุทธนี้ก็เหมือนกัน ได้รับพระธรรมดับทุกข์จากพระพุทธเจ้ามาเปล่าๆ ก็ขอให้ไปเปล่าๆ อย่าค้ากำไรเลย อย่าอวดดี อย่ายกหูชูหาง อย่าตั้งตนเป็นพระศาสดา หาประโยชน์หากำไร อย่างนั้นมันล้มเหลวหมดแหละ มีความบริสุทธิ์ใจเสียสละโดยแท้จริง เผยแผ่ธัมมจักรออกไปให้ทั่วโลก

อาตมาขอชักชวนท่านทั้งหลาย ว่าจงช่วยกันเผยแผ่ธรรมะไปให้ทั่วโลก ทั่วโลกนี้ ไม่ได้หมายความว่าทุกคน ทุกคนมันรู้ธรรมะไม่ได้ดอก แต่ให้ทั่วๆ ไปทั้งโลกมันได้ ทั่วๆ ไปทั้งโลกมันมีคนพอที่จะรู้ธรรมะได้ แต่ว่าไม่ใช่ทุกคน เพราะว่าคนที่ไม่อาจจะรู้ธรรมะ เป็นปทะปรมะอะไรโปรดไม่ได้นี้ก็มีอยู่ พวกนี้ก็รู้ไม่ได้ ยังต้องเก็บไว้ก่อน แต่ว่าที่อาจจะรู้ธรรมะได้ มีอยู่ที่ไหนในโลก แล้วช่วยกันหน่อย ให้ได้ธรรมะทั่วกันไปทุกคน

ที่เรายินดีสั่งสอนอบรมฝึกฝนพวกฝรั่งที่มาทุกเดือนๆ ก็เพื่อความประสงค์อันนี้ ว่าใครสามารถจะรู้ธรรมะได้ ขอให้ได้รู้เถิด เรายอมเหน็ดเหนื่อยยอมลำบากทุกอย่างทุกประการ เพื่อบูชาคุณพระพุทธเจ้า ตอบสนองพระคุณพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า ที่ท่านได้ประทานให้แก่เรา


แล้วมีพระพุทธประสงค์ว่า จะช่วยกันทำให้แผ่ไปทั่วสากลจักรวาล รู้ธรรมะทั้งเทวดาและมนุษย์ มีพระพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า ให้พุทธบริษัททั้งหลายช่วยกันทำให้ธรรมวินัยนี้แผ่ไปทั่วทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก อะไรก็ตามหมดสิ้น ทรงประสงค์อย่างนั้น

เมื่อเราได้รับประโยชน์อันนี้แล้ว ก็จะต้องสนองพระคุณอันนั้น ช่วยทำให้มันแผ่ออกไปทั่วโลก ทำโดยตรงก็สอนโดยตรง ทำโดยอ้อมก็ช่วยร่วมมือให้ความสะดวก เรียกว่าทัพหลังก็ได้ ผู้ที่สอนโดยตรงก็สอนไป พวกที่สอนไม่ได้โดยตรงก็ช่วยหุงข้าวให้พวกที่สอนได้กินก็ได้ นี่เรียกว่าโดยอ้อม ช่วยกันอย่างนี้แล้ว มันก็สำเร็จประโยชน์


ธรรมะได้รับการเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติ เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วเผยแผ่ออกไป นี่เป็นข้อแถมพกข้อสุดท้าย ว่าธรรมะเป็นอย่างไร ดับทุกข์เป็นอย่างไร ได้รับประโยชน์ด้วยดีแล้ว ก็ขอให้ช่วยกันเผยแผ่ต่อไป หรือสืบอายุพระศาสนาไว้ ให้คนที่จะมาทีหลังได้รับประโยชน์ นี่แหละคือบูชาอย่างยิ่ง ไม่มีบูชาอื่นยิ่งกว่า

เดี๋ยวนี้เราเรียกว่าอาสาฬหบูชา การบูชาที่ทำในวันเพ็ญอาสาฬหะ ไม่มีอะไรดีไปกว่าการที่จะทำอย่างเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในวันนั้นในสมัยพระพุทธเจ้า วันเพ็ญอาสาฬหะ พระพุทธเจ้าได้ทำอย่างไรให้แก่โลก โลกได้รับอะไรในวันเพ็ญอาสาฬหะ เราต้องช่วยกันทำให้วันเพ็ญอาสาฬหะวันนี้ เป็นเหมือนอย่างนั้น


รู้ธรรมะเหมือนปัญจวัคคีย์รู้ ครั้นรู้แล้วก็เผยแผ่ต่อไป นี่เรียกว่า อาสาฬหบูชาที่แท้จริง ได้รับประโยชน์เกินคำจนกล่าวไม่ถูก แม้ว่าท่านทั้งหลายต้องมาจากที่ไกล เหนื่อยมาก เสียเงินมาก เสียเวลามาก ลำบากมาก อะไรก็ตาม มันก็ได้รับประโยชน์เกินค่า ขอให้เป็นอย่างนี้

ในที่สุดนี้เป็นอันว่า อาตมาได้เตรียมจิตใจของท่านทั้งหลาย ให้มีความเหมาะสมแล้ว เหมาะสมแล้วสำหรับจะประกอบพิธีอาสาฬหบูชา ก็จะได้ยุติการแสดงธรรมเทศนา เพื่อประกอบพิธีอาสาฬหบูชาสืบต่อไป

       ธรรมเทศนาสมควรแก่เวลา เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้.


4.png




รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:43, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyODh8NDE5ODFlMWJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-6 00:00, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2ODN8Y2FkYjhkYTJ8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 08:52

ตอนที่ ๓๑

ความสำเร็จ

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

(วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) จ.สุราษฎร์ธานี)

1.png



“…เมื่อประสบความสำเร็จ สิ่งแรกก็คือดีใจจนลืมตัว และโง่ลงในบางอย่างสำหรับจะประมาทหรือสะเพร่าในอนาคต ความสำเร็จ เป็นครูที่ดีน้อยกว่า ความไม่สำเร็จ แต่มีเสน่ห์จนคนทั่วไปเกลียดความไม่สำเร็จ

เมื่อไม่ประสบความสำเร็จ เราจะได้อะไรที่มีค่ามากกว่าความสำเร็จไปเสียอีก แต่คนทั่วไปมองในแง่ลบ เห็นเป็นความเสียหาย และเกิดทุกข์ใหม่เพิ่มขึ้นอีก เป็นโชคร้ายไปเสียโน่น

ถ้าต้อนรับความไม่สำเร็จอย่างถูกต้อง มันจะมอบความรู้ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จถึงที่สุดในกาลข้างหน้า จนกลายเป็นผู้ทำอะไรสำเร็จไปหมด…”

ส่วนหนึ่งของข้อเขียนปูชนียบุคคล “ท่านพุทธทาส” ซึ่งแสดงไว้ในห้องนิทรรศการเกี่ยวกับ “ชีวิตผลงานท่านพุทธทาส” ณ อาคารคณะธรรมทาน ที่ตั้งอยู่หน้าประตูด้านทิศใต้ของวัดธารน้ำไหล

ในพระสูตรหนึ่งที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐี ในเรื่องความปรารถนาของมนุษย์ที่จะทำให้สำเร็จสมหวังได้ยาก ๔ ประการ คือ

ขอให้สมบัติจงเกิดจงมีแก่เราในทางที่ชอบ
ขอยศจงมีแก่เราและญาติพี่น้อง
ขอให้เราเป็นผู้อายุยืนนาน
เมื่อตายจากโลกนี้ไป ขอให้เราได้ไปเกิดในสวรรค์


ความปรารถนาทั้ง ๔ ข้อที่กล่าวมานี้ จะสมหวังได้ มิใช่ด้วยเหตุเพียงปรารถนาอ้อนว้อน มิได้ทำอะไรเลย หรือทำอะไรที่ไม่ตรงเหตุ ผลย่อมไม่บังเกิด ความสำเร็จในชีวิตย่อมเกิดจากการวางแผนที่ดี มิใช่ทำเหตุเพียงเล็กน้อยแต่หวังผลไว้สวยหรู

ถ้าเข้าใจว่า ไม่มีอะไรที่มีค่าแล้วได้มาง่ายๆ ก็จะไม่หมดกำลังใจ อยากได้ผลอย่างไร ควรสร้างเหตุให้เกิดผลอย่างนั้นด้วยความอุตสาหะพยายามอย่างเต็มที่

ในโลกนี้…….ไม่มีอะไรฟรี!

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • ท่านพุทธทาสภิกขุ. พรหมปัญโญบูชา: เมธา พรพิพัฒน์ไพศาล เรียบเรียง, ๒๕๔๑. หน้า ๑๐๓-๑๐๔.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:44, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyOTB8ZDhmM2M2NDl8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-6 23:25, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2ODZ8YzE1NDVjMGR8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:05

ตอนที่ ๓๒

ที่แท้ – ก็ใบลานเปล่า

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

(วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) จ.สุราษฎร์ธานี)

1.png



ใคร ที่เคยไปเยี่ยมชมโรงมหรสพทางวิญญาณของท่านพุทธทาสภิกขุเถระ ณ สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา ก็คงจะเคยเห็นภาพปริศนาธรรม หรือ “โกอาน” ภาพหนึ่ง ซึ่งวาดเป็นเต่าหิน บนหลังเต่าตัวนั้นมีคัมภีร์วางซ้อนกันอยู่ เห็นภาพนี้แล้วชวนให้นึกถึงสำนวน “ปีศาจคาบคัมภีร์” ขึ้นมาทันที สำนวนนี้แม้จะมี “ภูมิหลัง” ต่างกันอยู่บ้าง แต่โดยความมุ่งหมายหรือ “สาระ” ไม่ต่างกันเลย

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรต์ ศิษย์สวนโมกข์ ได้ถอดปริศนาธรรมที่ว่าเป็นกวีนิพนธ์ไว้ งานเขียนชื่อ “หญ้าหอมและดอกไม้ร่วง” ดังนี้

“เจ้าเต่าโง่ใบ้บ้าช่างน่าขำ
มีพระธรรมอยู่บนหลังยังเง่างี้
ใครจะโง่กว่าใครดูให้ดี
ใครกันที่สงบได้อยู่ในตัว”


แม้จะต่างกาลเทศะกันสักหน่อย แต่สาระแห่งธรรม ยังล้ำลึกสมัยอยู่เสมอ

ในครั้งพุทธกาล พระมหาเถระรูปหนึ่ง เป็นพหูสูต ทรงพระไตรปิฎก มีลูกศิษย์ลูกหาในสำนักหลายร้อยคน เธอเกิดความหยิ่งถือตัว เพราะมัวเมาในความเป็นพหูสูตและกิตติคุณของตนเอง แม้จะมีศิษย์หามากมาย สอนคนให้ตรัสรู้ธรรมมาแล้วนับไม่ถ้วน แต่กระนั้นตัวเองก็ไม่เคย “ลิ้มรสธรรม” ด้วยตนเอง ได้แต่บำเพ็ญตนเป็น “ป้ายบอกทาง” หรือ
“ฉลากข้างขวด”

จำเนียรกาลผ่านไป เมื่อสมโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเห็นว่า ขืนปล่อยให้ท่าน “เจ้าสำนัก” หลงตัวเองต่อไปแบบนี้ไม่ได้การแน่ ตั้งแต่นั้นมาเมื่อเธอเข้าเฝ้า พระโอวาทพระองค์จึงตรัสปฏิสันถารแปร่งๆ หูว่า

“มานี่สิ ท่านใบลานเปล่า”
“เชิญนั่งทางนี้ ท่านใบลานเปล่า”
“อ้าว จะกลับแล้วหรือ ใบลานเปล่า”


ได้ฟังแบบนี้ทุกครั้งที่พาศิษย์เข้าเฝ้าหา พระผู้เฒ่าก็ชักสงสัย ทำไมจึงตรัสกะเราว่า ใบลานเปล่าอยู่เรื่อย เรื่องนี้เห็นทีไม่ธรรมดาแน่ ตรองอยู่ไม่กี่อึดใจ ท่านเจ้าสำนักก็แจ้งจางปาง

“ชะรอยจะทรงทราบว่าเราว่างเปล่าจากมรรคผลเป็นแน่ อนิจจา หลงเป็นทัพพีเสียนมนาน” พลันที่มองเห็นตนเองเป็นเสมือนทัพพี ท่านก็วิ่งเจ้นยื่นใบลาออกจากเจ้าสำนัก และตั้งแต่นั้นมาก็เที่ยวตะลอนไปทั่ว นัยว่าจะตั้งหน้าเรียนกรรมฐานสถานเดียว แต่คำตอบคือ

“อาจารย์ พวกกระผมไม่บังอาจสอนอาจารย์หรอก”
“โอ อาจารย์ อย่าให้พวกกระผมบาปมากไปกว่านี้เลย”
“อาจารย์ ท่านพูดอะไรน่ะ ท่านเป็นถึงเจ้าสำนักใหญ่ อะไรๆ ที่อาจารย์ไม่รู้มีหรือพวกกระผมจะล่วงรู้”


คนแล้วคนเล่าที่ท่านผู้เฒ่าซอกซอนไปหา ต่างให้คำตอบคล้ายๆ กัน นั่นคือไม่มีใครริบังอาจ “สอนหนังสือสังฆราช” กระทั่งสุดท้าย ท่านตรงดิ่งไปหาสามเณรน้อยคราวเหลนรูปหนึ่ง อายุเพิ่งเจ็ดขวบแค่นั้นเอง แต่ขอโทษเถอะ เธอมิใช่สามเณรก.ธรรมดาๆ หากคือเณรน้อยอรหันต์ทีเดียว

ยังมีอะไรอีกที่พระอรหันต์ไม่รู้ เพราะฉะนั้น….
“หลวงตาแก่รูปนี้ ทะนงตนว่ารู้มาก เป็นเจ้าสำนักใหญ่ ศิษย์หามากมายทั่วยุทธภพ ฉะนี้นี่เล่าถึงได้เป็นหลวงตาเฒ่าแบกคัมภีร์ไปวันๆๆ ได้การละ”


เณรน้อยชี้ให้หลวงตาห่มจีวรอย่างดี จากนั้นสั่งให้ลุยน้ำ หลวงตาใจถึง ไม่บ่นสักคำ เดินเทิ่งๆ ลงน้ำอย่างสงบ และอีกสารพัดที่เณรสั่งให้ทำ หลวงตาไม่อุทธรณ์เช่นกัน สุดท้ายเณรน้อยให้ “โกอาน” ไปข้อหนึ่งเป็น “การวัด”

“มีจอมปลวกอยู่แห่งหนึ่ง มีรู ๖ รู เหี้ยวิ่งเข้าไปหลบอยู่ในรูหนึ่ง ท่านจงปิดรูทั้ง ๕ เสีย แล้วจงรอจับเหี้ย ณ รูที่หก”

ไอคิวระดับ “เจ้าสำนัก” ฉายา “พระไตรปิฎกเคลื่อนที่” ฉะนี้ก็ไม่ต้องคิดให้มากความ พอจบปริศนาท่านก็บรรลุ “ซาโตริ” สว่างโพลง ยกระดับตนเองเป็น “พระอรหันต์” คนหนึ่งในโลกทันที

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • ท่านพุทธทาสภิกขุ. โลกลี้ลับ ๑๔๑ ปีที่ ๑๓ ประจำเดือนกันยายน ๒๕๓๙: ว.วชิรเมธี เรียบเรียง. หน้า ๖๐-๖๑.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:45, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyOTJ8NDZmNTgzYWF8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-6 03:18, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2ODV8YmIxNDFhOTB8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:10

2.jpg


ตอนที่ ๓๓

ธรรม คือ ธรรมชาติ ธรรมชาติ คือ ธรรม

หลวงปู่สี ฉันทสิริ

(วัดเขาถ้ำบุญนาค จ.นครสวรรค์)

1.png



ธรรม คือ ธรรมชาติ ธรรมชาติ คือ ธรรม

มองไปตามพื้นดินในป่าใหญ่ เราจะมองเห็นธรรมหล่นเกลื่อนกลาด ธรรมเหล่านั้นก็คือใบไม้แห้ง เป็นสิ่งที่แสดงสภาวธรรมให้เห็นถึงความเป็นอนิจจัง ใบไม้หลุดร่วงลงมาจากต้น แปรสภาพสลายกลายเป็นอื่นในที่สุด หรือไม่ก็รอการถูกเหยียบย่ำป่นปี้แหลกสลายกลายเป็นผง เป็นดินไปในที่สุด


เมื่อเป็นดินแล้ว ต่อมาเมล็ดพันธุ์หลานลงมา จากสูงมาต่ำ กลายเป็นฐานรองรับให้เมล็ดพันธุ์นั้นงอกงาม เป็นต้น เป็นใบเจริญเติบโต แตกกิ่งก้านสาขา ออกดอกออกผล ผลิใบอ่อน เจริญไปตามกาล กลายเป็นใบแก่ จากเขียวเป็นเหลือง แล้วก็หลุดร่วงลงมาหมุนเวียนเปลี่ยนไปอยู่เช่นนี้ ยามใดที่เงยหน้ามองขึ้นไปเบื้องบน ก็จะพบใบไม้บนต้น ยังมีมากมายเป็นแสนเป็นล้านๆ ใบ

พระพุทธเจ้าพระองค์จึงรับสั่งแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปว่า ธรรมที่พระองค์ได้แสดงมาแล้ว เป็นเพียงใบไม้แห้งเพียง ๑ กำมือเท่านั้น ส่วนธรรมที่ยังมิได้แสดง ตลอดอายุของพระองค์ ยังมีมากดุจดังใบไม้ในป่า

ช่างละเอียดลึกซึ้ง สุดจะประมาณได้ ท่านจึงห้ามเอาไว้ว่า อย่าไปรู้จักโลกเลย ไม่ว่าใครๆ เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตชั้นไหน ก็ไม่มีวันจะรู้จักโลกได้ทั้งหมด นอกจากพระบรมศาสดาของเรา แม้กระนั้นก็ยังไม่อาจแสดงความรู้ของพระองค์ได้หมดสิ้น

พระองค์จึงกล่าวไว้ว่า จงมองโลกให้แคบเข้า แคบเข้า แคบเข้า จนเหลือเพียงกายและจิตเท่านี้ เมื่อรู้จักกายและจิตแล้ว ก็รู้จักโลกทั้งหมด แต่เพียงกายและจิต ตามที่มันเป็นจริง เจ้ากายและจิตนี้นับเป็นกองขยะที่ยิ่งใหญ่รกไปด้วย กิเลส ตัณหา โทสะ โมหะ ที่หนาแน่นเหนียวแน่นยากจะกวาดล้างทำลายให้สะอาดได้ แม้จะสิ้นเปลืองภพชาติ เกิดตายนับไม่ถ้วน

พระพุทธองค์ท่านเห็นว่า จะให้มนุษย์รู้จักโลกได้ทั้งโลก ก็จะทำให้ฟุ้งซ่าน เวียนเกิดเวียนตายไม่รู้จักจบ จึงทรงกำหนดให้รู้จักแต่ “กาย” ในกาย “จิต” ในจิต แม้อย่างนั้น การทำความรู้จักกายกับจิตตามสภาพความเป็นจริงของมันก็ต้องข้ามภพข้ามชาติ กว่าจะรู้ว่ากายก็ดีจิตก็ดี สุดท้ายนั้นก็เป็นอนัตตาไปทั้งสิ้น มนุษย์พากันยึดถือผูกพันกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่ของตนเป็นตุเป็นตะเป็นวรรคเป็นเวร

คำสอนของหลวงปู่ที่พยายามกล่าวย้ำให้ทุกคนหมั่นปฏิบัติธรรม ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม ดังคติธรรมของหลวงปู่สีว่า “ความดีสิคงทน แต่ความจนสิอยู่นาน”


คติธรรมของหลวงปู่ที่ว่า ความดีสิคงทน นั่นหมายความว่า ให้ทุกคนสร้างความดี เพราะความดีเป็นสิ่งที่ไม่ตายทั้งปัจจุบันและอนาคต ส่วนคำที่ว่า “ความจนสิอยู่นาน” นั่นหมายถึง คนที่จนปัญญา ไม่รู้จักแสวงหาใส่ตัวก็เป็นคนจนตลอดไป

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • หนังสือชีวประวัติ, วัตรปฏิบัติ, ปฏิปทา, และปาฏิหาริย์ หลวงปู่สี ฉันทสิริ เล่มที่ ๑: ชนินทร์ ดีนาน (หลานหลวงปู่สี) ข้อมูล และจักรภพ เจริญรัตน์ เรียบเรียง. หน้า ๗๔-๗๕, ๘๒.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:46, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyOTR8M2UwYmVkODV8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 2.jpg (2023-8-5 23:23, 98.92 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2NzV8ZGFlNzQ1NzF8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-6 03:16, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2ODR8NzliMGE0NTR8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:12

ตอนที่ ๓๔

เทพเทวดานิมนต์ให้หลวงปู่สีเทศน์

หลวงปู่สี ฉันทสิริ

(วัดเขาถ้ำบุญนาค จ.นครสวรรค์)

1.png



หลวงปู่สี ฉันทสิริ ท่านชาตะในปลายรัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี และท่านมรณภาพเมื่อวันพุธที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๐ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง ซึ่งตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ขณะที่มีอายุได้ ๑๒๘ ปี ซึ่งท่านเป็นพระภิกษุที่มีอายุยืนนานถึง ๗ รัชกาล

หลวงปู่สี เคยนำคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอบรมให้เหล่าเทพและเทวดาฟังในป่าเขา เมื่อท่านถูกนิมนต์ให้เทศน์ มีความว่า...

คุณโยมเทพบุตร เทพธิดา ผู้มีความปีติสุข ความอิ่มเอิบในทิพยสมบัติเป็นเครื่องอยู่ เป็นผู้นิราศแล้วจากทุกข์ทั้งปวง แม้กระนั้นคุณโยมก็มิได้อยู่บนความประมาท หลงอยู่ในทิพยสมบัติ มีจิตปรารถนาจะได้รับรสพระธรรม เป็นที่น่ายินดีอนุโมทนา ความปรารถนาในกุศลธรรมนี้ เป็นบุญที่ควรอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง

คุณโยมทั้งหลายที่เสวยทิพยสมบัติอยู่ จงพิจารณาให้ดี จะเห็นว่ายังเป็นโลกที่ไม่มีแก่นสาร อาจกล่าวได้ว่าเป็นโลกที่ไม่มีตัวตน เป็นแต่แสงสว่างแผ่ซ่านอยู่ อันเป็นโลกที่ละเอียดอ่อน ด้วยอำนาจของจิตที่เป็นกุศลธรรม ให้โยมปรากฏให้อาตมาได้เห็น ก็ด้วยอำนาจของจิตอธิษฐาน

“จิต” เป็นนามธรรม ไม่มีรูปที่จะประกอบกรรมดีหรือชั่วได้อย่างมนุษย์ แต่จิตก็สามารถบริจาคทาน เจริญสมาธิ รักษาศีล ได้เช่นกัน คุณโยมผู้เป็นเทพทั้งหลายพึงใช้จิตบริจาคทาน ใช้จิตรักษาศีล ใช้จิตเจริญสมาธิ การบริจาคทานด้วยจิต ก็คือ ให้ความกรุณา และให้ความเมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย นับได้ว่าเป็นทานบารมีอันยิ่งใหญ่

“ศีล” ก็ย่อมรักษาได้ด้วยจิต จิตของคุณโยมเป็นกุศลจิต จึงนับได้ว่า ได้รักษาศีลไว้โดยสมบูรณ์

“สมาธิ” ก็คือ ทำจิตให้ตั้งมั่น อะไรที่เป็นอุบายให้จิตตั้งมั่น ก็คือ การตามระลึกนึกถึงอนุสติ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง มีระลึกนึกภาวนาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า เป็นต้น จิตภาวนาคำว่าพุทโธ ให้เป็นอารมณ์จิตอยู่สม่ำเสมอต่อเนื่อง กุศลธรรมก็จะสูงขึ้นเป็นลำดับ

เมื่อคุณโยมผู้เป็นเทพได้ตระหนักว่า ความเป็นเทพนั้นยังเป็นโลกิยสมบัติ เป็นสิ่งสมมุติไม่คงทนถาวร เสื่อมได้ หมดได้ สิ้นไปได้ ก็จงอย่าประมาท เวลาสวรรค์แม้แต่จะยาวนานกว่าโลกมนุษย์ถึงร้อยเท่า พันเท่า จะพ้นจากไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นไม่ได้


สิ่งสมมุติทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วย่อมดับ ความสุขอันนี้ก็จะกลายเป็นทุกข์หรือจะต้องไปเกิดใหม่ตามภูมิ ตามกรรมดี กรรมชั่วของตน ที่ยังเหลืออยู่ จงขวนขวายละสมบัติไปสู่ “วิมุตติ” เถิด จึงจะพ้นจากการเวียนว่ายในวัฏสงสาร

ด้วยเหตุนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงตรัสย้ำเป็นคำสุดท้าย ก่อนที่พระองค์ท่านปรินิพพานว่า “ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ความไม่ประมาทนั้นคือ ควรระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนได้กระทำมาดีแล้ว และพากเพียรกระทำต่อไปมิให้ขาดสาย”

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • หนังสือชีวประวัติ, วัตรปฏิบัติ, ปฏิปทา, และปาฏิหาริย์ หลวงปู่สี ฉันทสิริ เล่มที่ ๑: ชนินทร์ ดีนาน (หลานหลวงปู่สี) ข้อมูล และจักรภพ เจริญรัตน์ เรียบเรียง. หน้า ๗๒-๗๔.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:47, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyOTZ8ZWMxZTE5ZTB8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-22 12:40, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2ODh8YmU1ZTlmMGN8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:14

ตอนที่ ๓๕

การแสวงหาสัจธรรมคืออะไร?

หลวงปู่สุภา กันตสีโล

(วัดสิริสีลสุภาราม จ.ภูเก็ต)

1.png



หลวงปู่สุภา กันตสีโล ศิษย์ฝ่ายบรรพชิตของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านได้กล่าวเรื่องนี้ว่า

การแสวงหาสัจธรรม ก็คือ การแสวงหาความจริง ความจริงที่พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสว่า สิ่งใดเกิดสิ่งนั้นก็ต้องดับ และสิ่งใดดับสิ่งนั้นก็ย่อมเกิดอีก มันวนเวียนๆ อยู่อย่างนี้ หลักสัจธรรมมันมีอยู่แค่นี้ แต่ตัวเราจะทำอย่างไรกับสิ่งเหล่านั้น จะทำอย่างไรให้รู้จริง ให้เห็นจริง และให้เข้าถึงจริงๆ

ทางออกที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ก็คือ การปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงสิ่งนั้น ปฏิบัติเพื่อให้เห็นสิ่งนั้น ปฏิบัติเพื่อให้รู้สิ่งนั้น และการปฏิบัติจะปฏิบัติอย่างไร จึงจะเข้าถึงสิ่งนั้น ส่วนนี้เราจึงหัดนั่งสมาธิมาทำกรรมฐานกัน เพื่อฝึกจิตใจให้เป็นสมาธิ ไม่วอกแวก หยั่งจิตให้ลึกในธรรม ให้เข้าถึงสัจธรรมนั้น

แนวทางการปฏิบัติอย่างนี้ หลายสำนักหลายอาจารย์มีเคล็ดลับในการปฏิบัติแตกต่างกันออกไป แต่ถึงอย่างไรทุกสำนักทุกอาจารย์ ก็ดำเนินตามวิถีทางที่พระพุทธองค์ท่านเคยปฏิบัติมา และมีเป้าหมายอย่างเดียวกัน คือเข้าใจให้ถึงสัจธรรม และเพื่อข้ามพ้นกองทุกข์ต่างๆ นานาที่มีอยู่รอบตัว เราจะต้องปฏิบัติธรรม ทำสมาธิให้จิตได้ดวงธรรม

ดวงธรรม ก็คือ ความสว่าง

ความว่าง ก็คือ ความสว่างในทางปัญญา ที่ทำให้เราสามารถรู้และมองเห็นสัจธรรมได้ลึกซึ้งลงไป รู้จริงแม้กระทั่งภายในจิตใจของเราเอง เมื่อเรารู้ว่า เราเป็นอะไร เกิดมาอย่างไร และมีที่ไปอย่างไร มันก็ไปเข้าหลักสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นก็ต้องดับ

เมื่อเราผ่านการศึกษาค้นคว้ากับผู้รู้ต่างๆ และปฏิบัติธรรมมาอย่างต่อเนื่องถึงบ่อเกิดของการเกิดต่างๆ เพื่อที่จะหาทางปฏิบัติให้หลุดพ้นจากหลักข้อนี้ คือไปสู่ วิมุตติ ไม่ต้องเกิด ไม่ต้องดับอีกแล้วนั่นเอง

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • หนังสือพุทธาคมฉบับพิเศษ รวมเกจิอาจารย์ศิษย์ หลวงปู่ศุข. หน้า ๑๓.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:48, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMyOTh8MzgzMTY5OTd8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-22 12:41, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2ODl8NWE0ZTE1ZGN8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:18

ตอนที่ ๓๖

อริยทรัพย์

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถระ)

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๘

(วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ)

1.png



คำว่า ทรัพย์ นี้ หมายถึง สิ่งที่บุคคลจะถือกรรมสิทธิ์ได้ รวมเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ ประเภท คือ เป็นสังหาริมะ ของเลื่อนที่ได้ ๑ เป็นอสังหาริมะ ของเลื่อนที่ไม่ได้ ๑

ทรัพย์ของโลกล้วนเป็นเหตุก่อทุกข์ ทั้งในยามมั่งมี ทั้งในยามอัตคัด ทั้ง ๒ ด้านเช่นนี้ เข้าหลักที่ท่านว่า ความมีก็เป็นเหตุแห่งทุกข์ เพราะต้องระแวดระวังรักษา ทะนุถนอมไม่อยากให้อันตรธานพลัดพรากจากไป และทั้งจะชวนให้อนุชนผู้ใจทรามเร่าร้อนใจคอยสาบแช่ง


และความไม่มีก็เป็นเหตุแห่งทุกข์ เพราะจะต้องพยายามตรากตรำแสวงหา ทนหนาวทนร้อนอดกินอดนอน เพื่อแก้ความไม่มี เมื่อคราวชราทุพพลภาพก็ยังไม่มี พอเป็นสินน้ำใจแก่ลูกหลาน ลูกหลานก็พลอยลำบากใจ ที่ต้องทนเลี้ยงดู ด้วยจำใจตามประเพณี

ทางพระพุทธศาสนาท่านจึงวางหลักสันโดษ คือ ให้รู้จักยินดีเท่าที่มีที่ได้มา ไม่สอนให้เที่ยวทะเยอทะยานในสิ่งที่ยังไม่มีไม่ได้ หรือเที่ยวแส่เห็นดีเห็นชอบ เห็นสวยเห็นงามในส่วนของคนอื่น อย่างเห็นเขาขึ้นคานหามเอามือประสานกันฉะนั้น เป็นการละเลยฐานะตนเองตามที่เป็นจริง


อย่างไรเสียสิ้น เมื่อได้อัตภาพเป็นชาวโลกนี้ จำนวนที่จะต้องแสวงหาทรัพย์สมบัติของโลกนี้ไว้บำรุงตนพอสุขสบายตามฐานะ แต่ไม่ควรหลงยึดถือหรือตกเป็นทาสของทรัพย์สมบัติจนลืมตัว ควรสำนึกตนเพียงอาศัยหาความสุขสบายพอสมควรแก่อัตภาพเพียงชาตินี้เท่านั้น เพราะถึงคราวแตกกายทำลายชีวิตไปแล้ว ก็ต้องทิ้งทรัพย์สมบัติของโลกนี้ได้ปกครองใช้สอยสืบไป ไม่สามารถนำติดตนไปสู่โลกอื่นได้

พระพุทธองค์มีพระพุทธประสงค์ให้บุคคลมีทรัพย์สมบัติ ซึ่งสามารถติดตามบุคคลไปได้ทุกโลกที่เกิด จึงได้ทรงสอนพุทธบริษัทให้รู้จักทรัพย์อีกประเภทหนึ่ง คือ คุณธรรมความดีงามที่เกิดกับกาย วาจา ใจ ทรงยกย่องว่าเป็นอริยทรัพย์ ได้แก่ ทรัพย์อย่างเลิศ หรือทรัพย์ของท่านผู้เลิศ ดังที่ท่านแสดงไว้ว่า

“ขุมทรัพย์ คือบุญของผู้ใด เป็นหญิงก็ตามเป็นชายก็ตามฝังไว้ดีแล้ว ด้วยการเสียสละการสงบกาย วาจา ใจ ความสำรวมและความฝึก ขุมทรัพย์นั้นชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว ใครๆ ไม่อาจผจญได้ เป็นของติดตามตนได้


โภคสมบัติทั้งหลายของเขาต้องละทิ้งไป นำไปได้แต่ขุมทรัพย์คือบุญ และบุญไม่ใช่สาธารณะแก่ชนอื่น ใครก็ลักไม่ได้ ฉะนั้น ขุมทรัพย์คือบุญที่ติดตามตนไปได้ นักปราชญ์พึงนำขุมทรัพย์คือบุญนั้นเถิด”

นี้แสดงว่า บุญ คือการอบรมบ่มนิสัยให้บริสุทธิ์ด้วยคุณความดีอย่างเดียว เป็นอริยทรัพย์ คือ ทรัพย์อย่างเลิศ เป็นทรัพย์ภายใน เพราะแม้ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ก็ย่อมไม่ยากจนทรัพย์สมบัติของโลกนี้ ในเมื่อมีอริยทรัพย์ประจำอัธยาศัย ทั้งจะอาศัยขุมทรัพย์คือบุญที่กำลังอบรมอยู่ก่อให้มีเกียรติ มียศเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน

เมื่อถึงสมัยทำลายขันธ์สิ้นชีวิต สละทรัพย์สมบัติของโลกให้ผู้อื่นปกครองต่อไปแล้ว ก็ยังได้อาศัยบุญที่อบรมไว้ให้ติดตามสนองในภพชาติต่อไปได้ ชาติหน้าก็ย่อมรื่นเริงบันเทิงใจ เพราะบุญติดตามส่งเสริมอยู่ตลอดไปอีก บุญสามารถชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาดนับแต่ชาตินี้ตลอดชาติหน้า จึงสามารถติดตามเป็นผลสนองถึงชาติต่อไปได้ ส่วนทรัพย์สินเงินทอง สนองให้ความสุข ปลื้มใจได้เฉพาะชาตินี้เท่านั้น จึงไม่เลิศประเสริฐเท่ากับขุมทรัพย์คือบุญ

หากจะย้อนพิจารณาถึงพระพุทธประวัติ ก็ปรากฏว่าพระองค์เป็นรัชทายาท มีโอกาสเสวยราชเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองบ้านเมือง ถ้าจะถือความร่ำรวยด้วยจำนวนทรัพย์สมบัติเป็นเครื่องหมายความยิ่งใหญ่ ด้วยเกียรติยศชื่อเสียงกันแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเสด็จออกทรงผนวชแสวงหาคุณธรรม คืออริยทรัพย์อันประเสริฐอีกเลย แต่เพราะทรัพย์สินเงินทองทั้งหลายเหล่านั้น ยังไม่เลิศประเสริฐเท่าอริยทรัพย์ คือคุณธรรมคือบุญ พระองค์จึงต้องเสด็จออกค้นคว้าหาอริยทรัพย์ที่พระองค์ยังมิได้ประสบต่อไป จนกว่าตรัสรู้

ถ้าพิจารณาถึงลักษณะบุคคลที่พระพุทธองค์ตรัสให้แสดงการอ่อนน้อมคารวะก็มีแต่ทรงยกผู้เจริญด้วยอายุชาติ เจริญด้วยคุณธรรม พระองค์หาได้ทรงยกผู้ร่ำรวยทรัพย์สมบัติเป็นเศรษฐีไปด้วยไม่ เคยมีปัญหาถกเถียงกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ว่า ทรัพย์กับปัญญา ข้างไหนจะประเสริฐกว่ากัน เมื่อพิจารณาด้วยเหตุและผลอันถ่องแท้แล้ว ย่อมรับรองได้ว่าปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ ดังท่านมหากบิลเถระกล่าวไว้ว่า

“ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็อยู่ได้ แต่เพราะไม่ได้ปัญญาแม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้”

จึงเป็นอันรับรองได้ว่า ปัญญา คือคุณธรรมที่นำให้รู้จักเหตุแห่งความเสื่อมความเจริญแล้ว ดำรงตนอยู่ในเหตุแห่งความเจริญตลอดไปนี้ เป็นตัวบุญคืออริยทรัพย์ประการหนึ่ง

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • โลกทิพย์ ๓๐๗ ปีที่ ๑๔ ประจำเดือนกันยายน ๒๕๓๘: กองบรรณาธิการ เรียบเรียง. หน้า ๑๓-๒๓.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:49, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMDB8ZGFkMmVhZTl8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-22 12:46, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2OTB8ZTI4NTlhMDl8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:26

11987.jpg


ตอนที่ ๓๗

หลวงพ่อโอภาสี ผู้บูชาเพลิง เป็นพุทธบูชา

พระมหาชวน มะลิพันธ์

(วัดหลวงพ่อโอภาสี กรุงเทพฯ)

1.png



หลวงพ่อโอภาสี หรือพระมหาชวน มะลิพันธ์ แห่งอาศรมบางมด ระหว่างที่ท่านไปปักกลดบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่สวนส้มบางมดแล้ว ท่ามกลางความเงียบสงบ หลวงพ่อโอภาสีก็เริ่มบำเพ็ญเพียรทางใจ ด้วยสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานอยู่ตลอดวันตลอดคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงเบื้องหน้าของท่านนั้น ก็มีกองไฟลุกโพรงอยู่อย่างโชติช่วงตลอดเวลา

การที่เป็นเช่นนี้ ท่านกล่าวว่าเป็นพุทธบูชา เพราะไม่มีธูปเทียน ก็ต้องกระทำด้วยประการเช่นนี้ นอกจากนี้แล้ว ยังได้ทราบว่า ท่านจะฉันอาหาร หรือทำภัตกิจอย่างมากไม่เกิน ๓ คำ นี่เป็นการแสดงว่าท่านพยายามอย่างมากที่จะกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป


การที่พุทธศาสนิกชนถวายของแก่ท่าน แล้วท่านกลับเอาไปผสมประชุมเพลิง จนเกือบกล่าวได้ว่า ในกุฏิหลังเล็กที่ราษฎรชาวบ้านปลูกไว้แก่ท่านนั้น เกือบจะหาสิ่งมีค่าอันใดมิได้เลยนั้น หลวงพ่อโอภาสีได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

“โดยปกติ แสงฟ้าเผาผลาญสรรพสิ่ง สิ่งอื่นๆ จนมอดไหม้เป็นจุณมหาจุณไปสิ้นนั้น ก็จัดว่าเป็นธาตุที่มีความร้อนสูงอยู่แล้ว แต่ถึงกระนั้นจิตใจของมนุษย์ยังมีความร้อนแรงยิ่งกว่ากองเพลิงนั้นเสียอีก คือความร้อนของมนุษย์นั้นถูกเผาผลาญดวงจิตด้วยโลภะ โมหะ ราคะ อวิชชา ฯลฯ

การที่ท่านได้นำเอาวัตถุปัจจัยทั้งหลาย ที่อุบาสกอุบาสิกานำมาถวายไปทำลายเผาผลาญนั้น มิได้เป็นการกระทำอย่างที่เขาวิจารณ์ว่าเป็นคนวิกลจริตนั้นดอก แต่เป็นการพุทธบูชาสักการะแด่อำนาจพุทธานุภาพ ปัจเจกพุทธะ อนุพุทธะ ที่ได้เป็นที่สักการบูชาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลายมาแล้วในอดีต


จงดลบันดาลให้อานุภาพเหล่านั้น มาช่วยดับร้อน ผ่อนคลายจิตใจของมนุษย์ ให้บรรเทาเบาบางลงจากอำนาจแห่งความมืดมนดังกล่าว หรือเป็นการดับกิเลสทั้งหลายให้หมดไปนั้นเอง”

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          หนังสือพระประวัติและอภินิหารพระเครื่องหลวงพ่อโอภาสี บางมด กรุงเทพฯ: บุรี รัตนา เรียบเรียง. หน้า ๓๗-๔๑.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:50, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMDJ8NThkNGJjZjN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-22 12:48, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2OTF8ZDI2Y2YxODh8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 11987.jpg (2023-8-24 09:43, 98.78 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MDB8ZjFiZTA5ZGJ8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:27

หลวงปู่หล้า2.JPG


ตอนที่ ๓๘

ธรรมทั้งหลายย่อมมาจากเหตุ

หลวงปู่หล้า จันโทภาโส

(วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่)

1.png



พระครูจันทสมานคุณ หรือหลวงปู่หล้า จันโทภาโส กล่าวว่า ที่ว่า “กรรม” นั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่าเป็นเรื่อง “กรรมเก่า” มีเหตุการณ์อะไร พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าเป็นกรรมอย่างนั้น ยกตัวอย่างเรื่อง “วิฑูฑภะ”

วิฑูฑภะนี้ เกิดจากเหตุครั้งแรก ได้มีการนิมนต์พระอานนท์ไปฉันในวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ได้เอาใจใส่พระที่เข้ามาฉันอาหาร เพราะมัวแต่วุ่นวายกับราชการงานเมือง พระทั้งหลายก็เลยไม่เข้ามารับพระราชทานฉันอาหาร คงเหลือแต่พระอานนท์รูปเดียว

พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงไปกราบทูลเรื่องนี้แก่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุชอบไปที่สุดเฉพาะผู้ที่เป็นญาติ พระเจ้าปเสนทิโกศลอยากเป็นญาติกับพระพุทธเจ้า จึงใช้คนไปขอธิดาของกษัตริย์ศากยะ (วงศ์พระพุทธเจ้า) เพื่อจะได้อภิเษกเป็นมเหสีต่อไป
ฝ่ายศากยะตกลงให้ส่งธิดาเจ้ามหานามไปเป็นพระเทวีของพระเจ้าปเสนทิโกศล เจ้ามหานามเป็นตาของพระพุทธเจ้า มีธิดาเกิดจากนางทาสีชื่อ นางวาสภขัตติยา มีรูปร่างสวยงาม

ที่ประชุมศากยวงศ์ได้ตกลงให้ส่งลูกนางทาสีนี้ไปถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ด้วยเหตุผลสำคัญยิ่งคือ ไม่อยากให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวดองร่วมวงศ์ เพราะพวกศากยะถือชาติถือตระกูลยิ่งนัก พระเจ้าปเสนทิโกศลพอพระทัยถึงกับแต่งตั้งนางเป็นพระเทวี มีบุตรด้วยกัน มาขอชื่อจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าประทานชื่อว่า วิฑูฑภะ

เมื่อเติบโตขึ้นมา วิฑูฑภะอยากรู้จักญาติฝ่ายมารดา จึงทูลถามพระชนนีตน ฝ่ายพระเทวี (ผู้เป็นลูกนางทาสี) ก็ได้แต่อ้ำอึ่ง วิฑูฑภะจึงรบเร้าขอไปเยี่ยมพระญาติฝ่ายศากยะและได้รับอนุญาตให้ไป (เป็นครั้งเท่าใดไม่ได้บอกไว้) ไปแต่ละครั้งหมู่ศากยะผู้ใหญ่ไม่เคยอยู่ให้เข้าเฝ้าเลย ทิ้งไว้แต่เหล่าวัยรุ่นเด็กๆ มาต้อนรับ


วิฑูฑภะสงสัยต้องเลิกทัพกลับไปทุกครั้ง ครั้งหนึ่งทหารของวิฑูฑภะลืมดาบ จึงกลับเข้ามาเอาดาบ เห็นหญิงชรากำลังใช้น้ำนมล้างที่ๆ จัดให้วิฑูฑภะนั่ง จึงถามยายเฒ่านั้นว่า ยายทำอะไร ยายตอบว่า ล้างๆ ที่ “ลูกอีนางทาส” มานั่ง เจ้านายให้เอาน้ำนมมาล้าง ทหารผู้นั้นรีบไปกราบทูลวิฑูฑภะ

เมื่อเข้าใจหายสงสัยแล้ว วิฑูฑภะโกรธแค้นนัก ได้กล่าวปฏิญาณว่า “ถ้ากูได้เป็นกษัตริย์สาวัตถีเมื่อใด กูจะเอาชีวิตพวกศากยะ เอาเลือดพวกมันมาล้างที่นั่งกู” อยู่มาวันหนึ่ง วิฑูฑภะตามเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศลไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ก่อนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลถอดเครื่องทรง “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” ออกไว้ข้างนอก

วิฑูฑภะถือโอกาสลักเครื่องทรง และกลับเข้าพระนครมาสั่งปิดประตูเมืองทุกด้าน พระเจ้าปเสนทิโกศลเข้าเมืองไม่ได้ เลยนอนตายอยู่หน้าเมือง เพราะอากาศหนาวจัด วิฑูฑภะได้เป็นกษัตริย์ จึงยกทัพไปตีเมืองศากยะ ขณะยกทัพไปครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สองนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จมาห้ามทัพไว้ จนถึงครั้งที่สาม พระพุทธเจ้าเล็งเห็นว่า “กรรมของพวกเขา” แล้วก็มิได้เสด็จมาห้ามทัพ “ปล่อยไปตามเรื่อง”

ทัพวิฑูฑภะไปถึงเมืองศากยะก็ยิงธนูเข้าไป ฝ่ายศากยะนั้นใฝ่สันติมิได้โต้ตอบจึงพ่ายแพ้ วิฑูฑภะเข้าไปจัดการตัดคอพวกศากยะทั้งหมด ยกเว้นเจ้ามหานามผู้เป็นตา เมื่อสำเร็จโทษศากยะเสร็จแล้วก็ยกทัพกลับมาพักพล ในระหว่างทางพวกทำบาปหนักขึ้นพักตอนบน พวกทำบาปน้อยพักข้างล่าง เกิดเหตุมดกัดทั้งกองทัพ พวกทำบาปหนักพากันหนีลงไปข้างล่าง ส่วนพวกทำบาปน้อยพากันขึ้นข้างบน บังเกิดเหตุฝนตกใหญ่น้ำท่วม พัดกองทัพจมน้ำตายหมด

(จบเรื่องวิฑูฑภะแล้ว หลวงปู่หล้ายังได้เสริมเรื่อง พระเจ้าอชาตศัตรูคบพาลที่ชื่อ เทวทัต ผู้ได้ฌานโลกีย์ในตอนแรก ทำอิทธิฤทธิ์ให้อชาตศัตรูเลื่อมใส ในที่สุดอชาตศัตรูเป็นขบถจับพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระบิดาขังไว้แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ เทวทัตเข้ายุยงให้ใช้ช้างนาฬาคิรีทำร้ายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแผ่เมตตาจนช้างนาฬาคิรีสงบลงได้และเดินกลับเข้าที่อยู่


หลวงปู่หล้าได้ยกคาถา “นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง….เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท” พระพุทธเจ้าได้ทรงทำนายว่า ช้างนาฬาคิรีและช้างปาลิไลยกะเป็น “หน่อพระเจ้า” คือจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป

หลวงปู่ว่าคาถาบาลียืนยันพุทธทำนาย ท่านว่าพุทธทำนายไม่มีผิดพลาด อย่างสุเมธฤาษีทำถนนถวายพระพุทธเจ้าทีปังกร ก็ได้มาเป็นพระพุทธเจ้า “โคดม” จึงนิยมเรียกขานว่า พระพุทธเจ้าย่อมบำเพ็ญบารมีสี่อสงไขยเป็นมหากัป ที่จริง ๒๐ อสงไขย ถ้าพระพุทธเจ้าทำนายแล้วย่อมไม่ผิด

คำสอนข้อนี้มีหลักสำคัญยิ่งคือ “ธรรมทั้งหลายย่อมมาจากเหตุ” เป็นเรื่องของเหตุผลโดยแท้ หลวงปู่หล้าท่านสอนอย่างมีเหตุผล โดยแสดงตั้งแต่เบื้องต้นแล้วผลเป็นอย่างไร เช่น เหตุเกิดเพราะพระเจ้าปเสนทิโกศลอยากเป็นญาติกับพระพุทธเจ้า และเหตุเกิดเพราะพวกศากยะถือชาติถือตระกูล ตลอดจนเหตุเกิดเพราะพระเจ้าอชาตศัตรูคบเทวทัตผู้เป็นพาล พวกเราได้ฟังนิทานธรรมของท่านแล้วก็ได้สติและคิดตาม)

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • คำสอนของหลวงปู่หล้า: เนื่องในวโรกาสอายุครบเก้าสิบสองปี วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๓๒. หน้า ๕๙-๖๒.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 09:52, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMDR8MGY4ZjUxNDV8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: หลวงปู่หล้า2.JPG (2023-6-16 05:48, 99.86 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzOTh8NmQ4OWJkZDN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-22 12:51, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2OTJ8ODg0MGY0YjJ8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:29

ตอนที่ ๓๙

วิธีขจัดความว้าเหว่ ท้อแท้ และเกิดปัญหา

หลวงปู่หล้า จันโทภาโส

(วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่)

1.png



หลวงปู่หล้า จันโทภาโส แนะนำให้ละเว้น “นิวรณ์ห้าอย่าง” ที่กีดขวางมิให้บรรลุความดี มีห้าอย่างได้แก่ ความพอใจรักใคร่, ความพยาบาท, ความง่วงเหงาหาวนอน, ความฟุ้งซ่านรำคาญ, ความลังเลใจ ท่านสอนให้ภาวนากำจัดนิวรณ์ห้า

พระภิกษุท่านให้ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ให้มีความพอดีพอสมควร อายตนะภายในภายนอกมากระทบกัน เช่น ตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง จมูกคู่กับกลิ่น ลิ้นคู่กับรส กายคู่กับการถูกต้องสัมผัสนุ่มนวลอ่อนแข็ง พระพุทธองค์ให้ระวัง อย่ายินดียินร้าย เห็นรูปให้เห็นเป็นรูป เห็นคนก็ให้เห็นเป็นคนเห็นเป็นธรรมดา (ผู้ถามแทรกสอดขึ้นว่า เห็นแล้วมัน “เมา”) ท่านว่าเป็น
“กิเลส”

(ถามท่านต่อไปว่า กิเลสนี้จะตัดได้อย่างไร)


ท่านว่าอย่าไปคิด ให้อยู่เฉยๆ ไม่คิดปัจจุบัน ไม่คิดอนาคต อดีตที่ล่วงไปแล้วไม่ต้องคิด อนาคตที่ยังมาไม่ถึงก็ไม่ต้องคิด คิดหนักนอนไม่หลับ นานๆ เข้าเกี่ยวกับจิตใจ

(ถามท่านว่า จะไม่ให้คิดไม่ห่วงอะไรเลยหรือ เพราะยังอยู่ในโลกธรรมดาต้องอาศัยค้าขาย)


หลวงปู่ตอบว่า เป็นธรรมดาโลก อยู่อย่างพระอรหันต์อยู่ไม่ได้ พระอรหันต์นั้นบุญก็ไม่ทำ บาปก็ไม่ทำ ไม่มีการสร้างโน่นสร้างนี่ ทอดกฐินทอดผ้าป่าก็ไม่ต้องทำ แต่พระธรรมดาในปัจจุบันยิ่งต้อง “สร้างบุญ สร้างบารมี” (ท่านต่อเติมว่า) สงฆ์ทุกวันนี้ยังเป็น “สมมติสงฆ์” สงฆ์สมมติไม่ใช่พระอริยสงฆ์ นอกจากศรัทธาจะปลุกปั่นให้เป็นสุปฏิปันโน

มีนายทหารอากาศมาถามหลวงปู่ว่า “คน” มาจากอะไร หลวงปู่ตอบว่าคนมาจาก “กวน” เหมือนคนขนม กวนขนมกลายเป็นคนขึ้นมา (เมื่อพวกเราพูดต่อว่าคนนี่กวน: เพราะเป็นคนเลยต้องกวนอยู่ร่ำไป หลวงปู่หัวเราะ)


ท่านเล่าว่าไปสวดมนต์ที่กองบิน ๔๑ มีผู้ถามว่า “มนุษย์” มาจากอะไร ตอบว่ามนุษย์เป็นสัตว์มีใจสูง สัตว์มีหัวอยู่ข้างบน ถึงตรงนี้หลวงปู่ได้สาธกยกพระธาตุเจ้าที่ได้ไปนมัสการมาหมดถ้วนแล้วในล้านนาไทย ท่านพรรณนาเป็นคำประพันธ์ดังต่อไปนี้

“ บุญต้องหาม  บาปต้องละ

พระต้องสงบ  รบต้องชนะ

สละต้องกล้า  ค้าต้องกำไร

ใจต้องคิด  ผิดต้องแก้

เมื่อมีความพอ  ก็มีความสุข

ถ้าไม่อยากมีทุกข์  ก็อย่าจนใจ


ข้าศึกอะไร  ไม่เท่าเกิดตาย

สหายอะไร  ไม่เท่าบุญกุศล
ผลอะไร  ไม่ใหญ่เท่าผลบุญ
ไปเป็นหมู่  อยู่คนเดียวไม่เหลียวแลใครได้  
ยังหลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น

บุญมาวาสนาช่วย  ที่ป่วยก็หายที่หน่ายก็รัก
บุญไม่มาวาสนาไม่ช่วย  ที่ป่วยก็หนักที่รักก็หน่าย
เหล็กกวงก้านย่าน  พรหมก็บ่พล่านตกใจ ”

4.png



ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
           
คำสอนของหลวงปู่หล้า: เนื่องในวโรกาสอายุครบเก้าสิบสองปี วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๓๒. หน้า ๔๙-๕๑.


รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 10:28, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMDh8ODMxY2NkMjN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-22 12:53, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2OTN8NGRhYWNkMDh8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:31

หลวงปู่เปลื้อง.JPG


ตอนที่ ๔๐

ภิกษุผู้ถือการไม่นอนเป็นวัตร

หลวงปู่เปลื้อง ปัญญวันโต

(วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง)

1.png



ในบรรดาธุดงค์ ๑๓ ข้อ พระที่ถือธุดงค์ข้อเนสัชชิก กล่าวคือ ถือการไม่นอนเป็นวัตร ประพฤติปฏิบัติอยู่ในอิริยาบถ ๓ คือ ยืน เดิน นั่ง ปัจจุบันหาแทบไม่มีแล้ว จะมีเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราว แต่ถ้าจะให้ถือตลอดชีวิตนี่…หาได้ยากมาก

แต่สำหรับหลวงปู่เปลื้อง ท่านถือธุดงค์ข้อนี้เป็นวัตรมาตั้งแต่ท่านบวช เพราะท่านใช้ธุดงค์ข้อนี้เป็นเครื่องมือช่วยขัดเกลากิเลสให้เบาบางอย่างสำคัญ ในเมื่อท่านใช้การถือไม่นอนเป็นวัตร โอกาสที่ท่านจะบำเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรม ก็ย่อมมีโอกาสมากกว่าคนอื่น เพราะท่านไม่ต้องไปเสียเวลากับการนอน ทำให้มีเวลาขัดเกลาจิตใจได้เต็มที่

หลวงปู่เปลื้องท่านเคยบอกว่า “อาตมาบวชเมื่ออายุล่วงกาลผ่านวัยมามาก ได้เพียรพยายามประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังไม่ท้อทอย มีความตั้งใจมั่นคงในชีวิตพรหมจรรย์ อย่างที่ท่านกล่าวว่า ถวายกายตั้งสัจอธิษฐานเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เพื่อพิสูจน์หลักคำสอนในพระพุทธศาสนา”

เมื่อปฏิบัติไปก็ได้ผลจริง รู้สึกว่าจิตมีสัจจะและทมะ
สัจจะ คือ ความจริงใจ ประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง

ทมะ คือ รู้จักข่มใจไว้ ไม่ให้ไหลไปตามกิเลส คือความอยาก


เมื่อดับความอยากได้ จิตก็ทวนกระแสโลก แล้วกลับไหลไปตามกระแสธรรม ทำให้เบากายเบาใจ จึงรู้ว่า

ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
รสของธรรมย่อมชนะรสทั้งหมดของโลก
ธรรมตัดความโลภ โกรธ หลง
  

อันเป็นตัวรากฐานของความชั่วทั้งมวลได้ ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมอิ่มใจในธรรมรู้สึกพอ ไม่ติดในลาภ ในยศ ในสรรเสริญและสุข อันเป็นเครื่องมอมเมาของปุถุชน เมื่อบุคคลบรรเทาเมาทั้งปวง จิตก็จะคลายจากสิ่งให้โทษเหล่านั้น ไม่เป็นทาสของกิเลสตัณหา อันเป็นผลของการฝึกฝน อบรมจิตใจ


การศึกษาอบรมจิตนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มากมายหลายวิธี ในความรู้สึกของอาตมานั้น ผู้ฝึกฝนดังกล่าวจะต้องมีสัจจะเป็นพื้นฐานก่อน สัจจะนั้นใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ในการงานทุกระดับทั้งคดีโลกและคดีธรรม เมื่อมีสัจจะแล้ว ควรมีทมะธรรม คือการรู้จักข่มใจ และอิทธิบาทธรรม คือ

ฉันทะ   ความพอใจ
วิริยะ    ความเพียรพยายาม
จิตตะ   เอาใจใส่ไม่ทอดธุระ
วิมังสา  หมั่นตรองถึงเหตุและผล


เมื่อได้อิทธิบาทธรรมเข้าหนุนสัจธรรมก็จะแก่กล้า สามารถประพฤติปฏิบัติไปได้ตามจุดมุ่งหมาย

ก่อนจบเรื่อง เหลือบไปเห็นบทกลอนที่คมคายของหลวงปู่เปลื้องอีกบทหนึ่ง ซึ่งได้ขยายความถึงชื่อของท่าน ที่ว่า “เปลื้อง” นั้น เปลื้องอะไรกันบ้าง

“หลวงตาเปลื้อง”     ครองผ้าเหลือง         เปลื้องกิเลส
เปลื้องละเพศ           ปฏิบัติธรรม              พระกรรมฐาน
เปลื้องนิวรณ์            ความเห็นผิด            จิตชื่นบาน
เปลื้องอาหาร           ที่เป็นพิษ                 ทำให้จิตเบา


เปลื้องตัว                เกียจคร้าน               การฝึกจิต
เปลื้องความ            เห็นผิด                    จิตโง่เขลา
เปลื้องไฟราคะ         เผาร่างขันธ์              คันแล้วเกา   
เปลื้องความเมา       สุขสำราญ                เรื่องการนอน


เปลื้องทั้งเงิน           เปลื้องทั้งทอง           ของมีพิษ
เปลื้องดวงจิต          ที่ไม่เชื่อธรรม            คำสั่งสอน
เปลื้องความทุกข์      เปลื้องความสุข         เปลื้องทุกตอน
เปลื้องความอาวรณ์  หลวงตาเปลื้อง         จบเรื่องเอย”

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • โลกลี้ลับ ๘๖ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๕: บรรเจิด สิงข์สวน เรียบเรียง. หน้า ๑๓-๑๕, ๑๗.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-12 10:26, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMDZ8NzdjZTlkYTN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: หลวงปู่เปลื้อง.JPG (2023-6-16 04:48, 95.32 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzODZ8NWU5MWIyNDZ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-22 12:55, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2OTR8MGM1NDI4MDd8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:33

ตอนที่ ๔๑

กามกิเลสอนุสัย

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

(วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)

1.png



เตือนสติให้สังวรเอาไว้ เมื่อ “อันตราย” นี้มาถึงตัวผู้พากเพียรบำเพ็ญธรรม

ครั้งหนึ่ง….หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้จาริกธุดงค์ ไปยังสถานที่อันวิเวกเพื่อเพ่งเพียรปฏิบัติธรรม ท่านได้ปักกลดบนภูเขาสูงลูกหนึ่งทางภาคเหนือ ขณะที่ท่านบำเพ็ญภาวนาเข้าสู่สมาธิจนจิตแน่วนิ่ง ได้ปรากฏนิมิตขึ้น

ในนิมิตนั้น….ท่านได้เห็นสตรีวัยกลางคนผู้หนึ่ง ซึ่งจำได้ว่าเป็นโยมอุปัฏฐาก เมื่อ ๕-๖ ปีล่วงมาแล้ว สตรีผู้นี้เคยมาอุปัฏฐากท่านด้วยความศรัทธาสุจริตใจ และในขณะนั้นหลวงปู่เทสก์ ก็มีความนึกคิดในสตรีผู้นี้เพียงแค่เป็นคนดีมีศีลธรรม มีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อยสมเป็นอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา

และท่านมองดูรูปร่างผิวพรรณของสตรีคนดังกล่าวดุจสามัญชนทั่วไป ไม่เคยคิดแส่ส่ายฟุ้งซ่านไปในทางอื่นเลย แต่ในนิมิตที่อุบัติขึ้นขณะนั้น การณ์ปรากฏว่าสตรีผู้เคยเป็นโยมอุปัฏฐากมานั่งใกล้ชิดกับตัวท่าน ในจิตใจของท่านมีความรู้สึกว่าสตรีคนดังกล่าวกับท่านมีความผูกพันกันมา เคยอยู่ร่วมกันนับสิบๆ ปี ประหนึ่งเป็นบุพเพเสน่หาสันนิวาสกันมาแต่อดีตชาติ

แต่หลวงปู่เทสก์ก็ไม่ได้มีความรู้สึกนึกคิดของความกำหนัด ความใคร่แม้แต่น้อย จิตของหลวงปู่พลันเกิดความตระหนก ถอยกลับออกมาจากสมาธิธรรมทันที หลวงปู่เทสก์ก็ได้พิจารณาจิตของท่านอย่างละเอียด ปรากฏว่าไม่มีสัญญาอารมณ์โน้มนำไปในทางกิเลสตัณหาแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั่น ท่านยังลืมสตรีผู้เคยเป็นโยมอุปัฏฐากเนิ่นนานแล้ว

เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วน หลวงปู่เทสก์จึงได้มองเห็นกามกิเลสอนุสัยที่ซุกซ่อนอยู่ในก้นบึ้งของจิตอารมณ์ จนยากที่จะค้นพบตัวมันได้ หลวงปู่ก็ได้กล่าวถึงกามกิเลสอนุสัยข้อนี้ว่า…..

ผู้มีปัญญาแต่ขาดศรัทธา ความเพียร และความกล้าหาญ ก็ไม่สามารถจะค้นคว้าจับเอาตัวของมันออกมาประจันหน้าได้ และผู้มีศรัทธา ความเพียร และความกล้าหาญ แต่ขาดปัญญา ก็ไม่สามารถจะประหารมันได้เหมือนกัน และผู้มีศรัทธา มีความเพียรด้วย และมีความกล้าหาญ ประกอบด้วยปัญญา ประกอบความเพียรรักษาความดีนั้นๆ ไว้ ติดต่อกันอย่าให้ขาดนั่นแหละ จึงสามารถขจัดกิเลสอนุสัยให้หมดสิ้นไปได้

นักภาวนาผู้ได้ญาณทั้งหลาย กามกิเลสมันลวงให้ตกหลุมลึกด้วยเหตุนี้เอง กล่าวคือ เมื่อได้ปรากฏภาพนิมิตขึ้นมาดังนั้น ก็ถือเอาเป็นจริงเป็นจังว่า เคยเป็นบุพเพเสน่หาสันนิวาสกันมาแต่ชาติปางก่อน ก็เลยเกิดความเอ็นดูสงสาร กำหนดรักใคร่เป็นไปตามสายของมัน จนกระทั่งเสาะแสวงหาภาพนั้น แล้วก็นำไปเล่าความจริงในสิ่งที่ไม่น่าเล่าสู่กันฟัง ไฟฟ้าสายคู่ ไฟมันเดินอยู่แล้ว แม้โลหะของแข็งเมื่อเข้าใกล้กันแล้ว ไฉนจะทนอยู่ได้ จำจะต้องดึงดูดสัมพันธ์ให้เข้าหากันจนได้

เรื่องในทำนองนี้ นักภาวนาโดยเฉพาะพระ บางทีถึงขนาดเป็นพระอาจารย์ก็ได้เคยตกหลุมทะเลลึกมามากต่อมากแล้ว เมื่อเห็นภาพปรากฏเช่นนั้นแหละ แทนที่จะกลัวเห็นเป็นภัยอันตรายอันน่ากลัว แล้วจับเอาอาวุธลุกขึ้นต่อสู้เพื่อชิงชัย กลับไปสวามิภักดิ์ต่อข้าศึกเสียอย่างน่าเสียดาย พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสว่า

มนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ทุกๆ ตัวตน ต้องได้เคยเป็นญาติ เป็นพี่น้อง เป็นพ่อเป็นแม่ซึ่งกันและกัน ไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง เพราะคนเรายังมีกรรมอยู่ ตายแล้วเกิดนับเป็นอเนกชาติ นับประสาอะไรเมื่อมาเห็นภาพปรากฏเพียงครั้งเดียว มายั่วยุแล้วตามมันไป

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • เวียนว่าย/ตายเกิด. ราช เลอสรวง บรรณาธิการ: ตรงหัว. หน้า ๑๔๐-๑๔๓.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 06:33, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMTB8M2U1ZmNlNjd8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-22 12:56, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2OTV8YWUwMjQ4N2V8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:35

หลวงพ่อเกษม๒.JPG


ตอนที่ ๔๒

เทศนาปาฏิหาริย์ของหลวงปู่

หลวงพ่อเกษม เขมโก

(สำนักปฏิบัติธรรมสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง)

1.png



การแสดงพระธรรมเทศนาของหลวงปู่ครูบาเจ้าเกษม เขมโก ในวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ.๒๕๓๕ (๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๕) นับว่าเป็นเทศนาโดยแท้

โดยหลวงปู่เทศนาเป็นใจความว่า “การสวดพระปริตร เช่น โมรปริตรนั้น ได้ผลทางสะเดาะเคราะห์การช่วยชีวิต การแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทุกชนิด แต่ถ้าคนหรือสัตว์นั้น ถึงคราวชะตาขาด เพราะกรรมหนักมาส่งผลแล้ว พระปริตรก็ช่วยไม่ได้

“หลายภาพ” ของสิ่งต่างๆ อันเป็นของศักดิ์สิทธิ์นั้นมีอยู่จริง ก็ช่วยใครต่อใคร ยกเว้นแต่ถึงคราว “ชะตาขาด” ก็ช่วยไม่ได้

ถ้าใครพูดว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยอะไรใครไม่ได้ เป็นของไม่มีจริง อย่างนี้ถือว่าพูดผิด เพราะยังไม่รู้จริง”

หลวงปู่เทศน์ว่า….


“ความศักดิ์สิทธิ์มีอยู่จริง ดุจดังพ่อและแม่รักลูก และป้องกันลูกน้อย มิให้มีภัยมาเบียดเบียน แต่เมื่อลูกโตขึ้นเป็นหนุ่ม ประพฤติพาลเกเร ปล้นสะดมฆ่าคนตาย และถูกจับประหารชีวิตอย่างนี้ พ่อแม่ก็ช่วยไม่ได้”

เทศนาของหลวงปู่ครั้งนี้ดีแท้ ย่อมเป็นอุทาหรณ์เป็นอย่างดีแก่วงการพระเครื่องและเครื่องมงคลต่างๆ และได้คำตอบที่ชัดแจ้ง

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • โลกลี้ลับ ๙๗ ปีที่ ๑๐ ประจำเดือนมกราคม ๒๕๓๖: เจดีย์ทอง เรียบเรียง. หน้า ๒๘-๒๙.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 06:36, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMTJ8MDQzYWU3ZDd8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: หลวงพ่อเกษม๒.JPG (2023-6-16 05:05, 89.11 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzOTB8Yjk1MmVkYjd8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-22 12:59, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2OTZ8NjZmYWFlOTh8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:36

ตอนที่ ๔๓

หลักคำสอนของหลวงปู่มอก


1.png



หลวงปู่มอก กล่าวว่า... “อะไรก็ตามแต่ข้อสำคัญอยู่ที่ใจเราเอง เราทุกข์ เราสุข เราไม่ทุกข์ เราไม่สุข ก็เพราะใจเราเอง”

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนก็เพื่อให้เราได้ปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์กัน ทุกข์เกิดขึ้นก็เพราะใจปรุงแต่งให้มันเกิด ต้องการให้ทุกข์มันดับ มันสิ้นไป ก็ต้องดับทุกข์อยู่ที่ใจ”

เมื่อมันอยู่ที่ใจ ไม่ว่าจะไปพำนักอยู่แห่งใดตำบลใด ก็สามารถตัดทุกข์ที่ใจได้ แต่ถ้าเลือกสถานที่ได้ซึ่งปลอดพ้นจากเสียงรบกวนใดๆ จิตใจก็นิ่งอยู่ในอาการสงบได้ เมื่อเรียบสงบ พลังจิตก็มีเพิ่มขึ้น ยิ่งสงบมากเพียงใด พลังจิตก็มีเพิ่มมากขึ้นเพียงนั้น เป็นเงาตามตัว

พลังจิตที่ว่านี้ ก็คือตัวสติปัญญานั่นเอง ความสงบเย็นตามธรรม ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น คือ ความสงบที่แท้ ที่ถูกต้อง เพราะว่าเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็ง เกิดอำนาจ และเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ เป็นทางที่จะทำให้โลกเจริญอย่างแท้จริง  


ขอให้ดูที่องค์พระพุทธเจ้าก็จะเห็นได้ว่า ก็เพราะท่านอาศัยอำนาจแห่งความสงบเย็นในทางใจ พระองค์จึงสามารถทำงานได้ด้วยความองอาจกล้าหาญ และเข้มแข็งได้ตลอดเวลาจนกระทั่งถึงวินาทีแห่งการปรินิพพาน

ธาตุแท้ของความสงบเย็น คือการเกิดสติปัญญาที่สูงกว่าทิฐิ สามารถรู้แจ้งเห็นจริงว่า สรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปตาม “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ล้วนแต่เกิดจากเหตุและปัจจัยปรุงแต่งกันทรงอยู่ชั่วขณะเท่านั้น หาสิ่งที่เที่ยงแท้ถาวรเป็นไม่มี ชอบแล้ว ถูกต้องแล้ว ที่เขาพูดว่า สิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอนถาวร คือลักษณะอาการของความไม่เที่ยงแท้แน่นอนถาวรของสรรพสิ่ง


ขอให้ย้อนไปดู โบราณวัตถุโบราณสถาน หรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในชั่วอายุราวพันปีหรือร้อยปีที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่คงความมีศิลปะวิจิตรงดงาม ประณีต คงทนถาวร อยู่ในชั่วขณะที่ยาวนาน นั่นเป็นเพราะคนโบราณเขาทำไปด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ทำไปด้วยความสงบเยือกเย็นในทางใจ ทำไปด้วยความสงบเยือกเย็นทางกาย ไม่ได้ทำไปด้วยความเร่าร้อนทะเยอทะยานอย่างคนสมัยนี้

ดังนั้น ความสงบเยือกเย็นในทางใจเท่านั้น เป็นสิ่งเดียวที่จะก่อให้เกิดพลังอย่างมหาศาล ในการอำนวยประโยชน์ให้สำเร็จโดยประการทั้งปวง “ความสงบ” นี่แหละ เป็นหัวใจเป็นแก่นสารที่สำคัญของชีวิต หากชีวิตใดไม่มีสิ่งนี้ ชีวิตนั้นก็เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีแก่น เหมือนต้นไม้ประเภทที่ไม่มีแก่น ซึ่งย่อมไม่ค่อยมีคุณค่าต่อการทำประโยชน์ จุดปลายทางที่แท้จริงของชีวิต ก็คือความสงบ ยอดของความสุขยอดแห่งความสงบ คือนิพพาน

พระพุทธองค์ ตรัสไว้ว่า “ธรรมที่ตถาคตแสดงนั้น เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความดับเย็นสนิท เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความรู้ครบถ้วน นี่แหละ ที่ไหนๆ ก็ทำได้ ใครๆ ก็ทำใจให้สงบได้ เพราะความสงบอยู่ที่ใจ ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อไหร่จะเริ่มต้นทำเท่านั้น”

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • หนังสือโลกลี้ลับ ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๕ ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๐: ภักดี เรียบเรียง. หน้า ๗๐, ๗๘-๗๙.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 06:37, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMTR8N2FiN2VkOGJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-22 13:01, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2OTd8MmU1YzA4Y2V8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:37

ตอนที่ ๔๔

ปรัชญาธรรมจากหลวงปู่

หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ

(วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม)

1.png



= ตอนที่ ๑ =

น้ำร้อนลวกลิ้น


มีภิกษุรูปหนึ่ง เป็นพระชอบปฏิบัติ มีการสำรวมในการฉันอาหารมาก ในการฉันอาหารของท่านนั้น ท่านจะฉันเฉพาะในบาตร เมื่อตักบาตรใส่บาตรเรียบร้อยแล้ว ท่านจะใช้น้ำเปล่าเทลงไปในบาตร เพื่อจะให้อาหารนั้นไม่มีรส แล้วจึงค่อยฉัน


ก่อนเข้าพรรษา ๑ เดือน ในปี พ.ศ.๒๕๒๙ ภิกษุรูปนั้นได้ยินชื่อเสียงของหลวงปู่ ก็มากราบนมัสการ และขอฟังธรรมกับหลวงปู่ เมื่อกราบนมัสการเรียบร้อยแล้ว ภิกษุรูปนั้นจึงกล่าวว่า….หลวงปู่ครับ ผมอยากจะขอธรรมจากหลวงปู่สักข้อ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติด้วยครับ

หลวงปู่…..
(นิ่งสักครู่) นี่คุณ มีพระรูปหนึ่งนะ เมื่อเวลาฉันอาหารในบาตร เขาจะต้องเอาน้ำเปล่าเทลงไปในบาตร เพื่อละลายรสในอาหาร เพื่อสำรวมลิ้น ไม่ให้ลิ้นสัมผัสรสอาหาร ตามธรรมชาติของลิ้นนั้น มันมีหน้าที่รู้รส จะห้ามมันไม่ให้รู้รสไม่ได้ แต่เมื่อรู้รสแล้ว ไม่ให้ไปติดในรสต่างหาก ถ้าไม่อยากให้ลิ้นรู้รส ก็เอาน้ำร้อนลวกลิ้นก็สิ้นเรื่อง จะได้ไม่ต้องลำบากในการเอาน้ำเปล่าเทใส่บาตรตลอดไป

ภิกษุรูปนั้นก็เลยได้เกิดปัญญาในการฉันอาหาร มีความประทับใจในธรรมะที่หลวงปู่ได้ชี้ทางปัญญา ให้เกิดความทึ่งในตัวหลวงปู่มาก ว่าท่านรู้ได้อย่างไร

10.1.png



= ตอนที่ ๒ =

ใส่บาตรพระ


วันหนึ่ง หลวงปู่พร้อมด้วยศิษย์รูปหนึ่ง ไปสวดมนต์เย็นที่บ้านโยมคนหนึ่ง โยมคนนี้แกเคยบวชเป็นพระปฏิบัติมาก่อน รู้จักระเบียบวินัยของพระดี กล่าวกับหลวงปู่ว่า

โยม.….
    หลวงปู่ครับ ทุกวันนี้ไม่รู้เป็นยังไง ผมไม่ค่อยใส่บาตรพระเลย เพราะพระในเมืองส่วนมากทำตัวไม่เหมาะสมกับเพศสมณะ ผมจึงต้องเลือกใส่บาตรพระบางรูปเท่านั้น จะทำไงดีครับ


หลวงปู่…  คุณโยม อย่าไปมองที่ตัวบุคคลซิ ให้ทำใจตัวเองให้เข้าถึงพระ ตั้งใจไว้ว่าวันนี้เราจะใส่บาตรพระ ถ้าเราทำใจได้อย่างนี้ ใจเราก็บริสุทธิ์ เห็นคนนุ่งเหลืองห่มเหลือง เป็นพระบริสุทธิ์ไปหมด ทานของเราก็บริสุทธิ์ตั้งแต่นั้นมา โยมคนนี้ก็เลยใส่บาตรพระได้ทุกรูป โดยไม่ต้องเลือกใส่บาตรอีกเลย


10.2.png



= ตอนที่ ๓ =

วันเกิด


หลวงปู่นั้นชอบอบรมสั่งสอนลูกศิษย์เกี่ยวกับพระคุณของแม่อยู่เสมอว่า

หลวงปู่…..
     การจะดูคนว่าคนไหนเป็นคนกตัญญูต่อแม่หรืออกตัญญู ให้ดูที่วันเกิดของคนนั้น


ลูกศิษย์…..    ดูยังไงครับ

หลวงปู่…..    คนที่มีความกตัญญูต่อมารดานั้น เมื่อถึงวันเกิดของเขา เขาจะเข้าวัดทำบุญทำกุศล และอุทิศส่วนบุญกุศลให้มารดาของเขา ละเว้นสิ่งไม่ดีทั้งหลาย


ลูกศิษย์…..   แล้วคนเนรคุณละครับ

หลวงปู่…..
   คือคนที่ถึงวันเกิดที ก็จัดงานเลี้ยงฉลอง กินเหล้าเมายาสนุกสนาน ไม่คิดทำบุญทำกุศลให้แม่ของตัวเอง เพราะความหลงมาปิดบัง เขาไม่รู้หรอกว่าวันที่เขาเกิดนั้น เป็นวันที่แม่ของตัวเองเจ็บมากที่สุด ต้องเสียเลือดเสียยาง ต้องเอาชีวิตเข้าแลกถึงจะได้เราออกมาดูโลก หรือบางทีก็ตายไปเลยก็มี นี่แหละคนอกตัญญูล่ะ


10.3.png



= ตอนที่ ๔ =

ปล่อยนก


ในวันหนึ่ง หลวงปู่ได้พาศิษย์ไปนมัสการพระธาตุพนม ในบริเวณนั้นมีพวกจับนกขังไว้ในกรง เพื่อให้ผู้ที่มาแสวงบุญได้ซื้อนกไปปล่อย มีคนขายนกผู้หนึ่ง เดินเข้ามาหาหลวงปู่แล้วพูดขึ้นว่า

คนขายนก…
หลวงปู่ครับ ไม่ซื้อนกไปปล่อยเอาบุญบ้างหรือครับ


หลวงปู่…..  ไม่หรอกโยม หลวงปู่ไม่ปล่อยมันหรอก เพราะหลวงปู่ไม่ได้ทำบาปไปจับมันมา โยมนั้นแหละควรที่จะเป็นผู้ปล่อยมันเอง เป็นการไถ่บาป เพราะโยมเป็นผู้ทำบาป จับมันมาขังไว้


10.4.png



= ตอนที่ ๕ =

ปลดหนี้


มีลูกศิษย์ได้ทำวัตถุมงคลรุ่น “ปลดหนี้” มาให้หลวงปู่อธิษฐานให้ญาติโยมได้ไปบูชา มีโยมคนหนึ่งถามหลวงปู่ว่า

โยม…..
     หลวงปู่ค่ะ พระรุ่นปลดหนี้นี้ จะช่วยให้หนูหมดหนี้ได้รึเปล่าคะ


หลวงปู่…..
  ได้ซิ เราก็ทำมาหากินไปเรื่อยๆ เมื่อมีเงินก็นำไปใช้หนี้เขา แต่อย่าเอาหนี้ไว้ข้างหน้าล่ะ ให้เอาไว้ข้างหลัง ใจก็ส่วนใจ หนี้ก็ส่วนหนี้ อย่าให้หนี้มันมีอำนาจเหนือใจ ถ้าใจเป็นหนี้แล้ว ทำอะไรก็ไม่ขึ้น ไม่มีวันที่จะปลดหนี้ให้หมดหรอก จำไว้

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • ภาพชุดสุดยอดวัตถุมงคลของท่านเจ้าพระคุณพระสุนทรธรรมากร. หน้า ๓๖-๓๘.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 06:39, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMTZ8N2RjNmM4MjR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.1.png (2023-6-15 06:40, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMTh8MmIyN2IzOWJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.2.png (2023-6-15 06:40, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMTl8YmI3ZjIzYTN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.3.png (2023-6-15 06:40, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMjB8NDc2MmM4NTl8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.4.png (2023-6-15 06:40, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMjF8ODVmYmYyMDl8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-22 13:07, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2OTh8ODFkNGFjZmV8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:40

ตอนที่ ๔๕

ปัจฉิมโอวาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙

(วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร กรุงเทพฯ)

1.png



สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน พระองค์ทรงตรัสสอนพระอานนท์พร้อมหมู่ภิกษุทั้งหลายว่า

“ อานนท์ ตถาคตได้เคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น สัตว์จะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว และที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่า อย่าฉิบหายเลยดังนี้ ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้เป็นได้


เปรียบเหมือนภาชนะดิน ที่ช่างหม้อได้ปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ทั้งที่สุกและที่ยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลายไปในที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลาย ก็ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น วัยของเราแก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว เราจักต้องละพวกเธอไป ที่พึ่งของตัวเอง เราได้ทำแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาท ก็สามารถที่จะถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ”

แล้วตัวของเราท่านทั้งหลายก็เกิด แก่ เจ็บ และมีความตายเป็นที่สุดเพียงเท่านี้ มิได้ยิ่งใหญ่เกินไปกว่าท่านในอดีต จะรอดพ้นจากสัจธรรมนี้ไปได้หรือ   

เมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆ กันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลาย จึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวาย สะสมสิ่งในที่สุดก็จะต้องทิ้งจะต้องจากไป ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเรา ซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี ให้ต้องโมฆะเสียเปล่า โดยหาสารประโยชน์อันใดมิได้ เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมี ที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในชาติหน้า

แม้หากสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริง ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัว มิได้ขาดทุนแต่อย่างใด หากสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้มีจริง ดังที่ปรากฏในอดีตกาลยอมรับแล้ว เราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไป เราท่านทั้งหลายมิขาดทุนหรือ เวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ กลับต้องโมฆะเสียเปล่า ก็สมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็น “โมฆบุรุษ” โดยแท้

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • วิธีสร้างบุญบารมี: กองทุน ธรรมวิหาร ธรรมสถานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๘. หน้า ๒๘-๓๗.




รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 06:42, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMjJ8YTRhNTMyN2F8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-22 13:09, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM2OTl8ZWM1ZmI2MDN8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:42

หลวงปู่จันทน์๖.JPG


ตอนที่ ๔๖

ธรรมะในปริศนา ๑๒ ข้อ

หลวงปู่จันทร์ กุสโล

(วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่)

1.png



พระพุทธพจนวราภรณ์ หรือหลวงปู่จันทร์ กุสโล ได้กล่าวว่า ปริศนาธรรม ๑๒ ข้อ ธรรมดาปริศนาเป็นปัญหาที่ดิ้นได้ อาจจะตีความหมายไปได้หลายแง่ แต่จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นคติเตือนใจอย่างเดียวกัน และคำอธิบายปริศนาธรรมต่อไปนี้ เป็นเพียงความหมายแง่หนึ่งเท่านั้น


สารบัญ


๑.   กินเท่าไหร่ไม่หายอยาก

๒.   นอนมากไม่รู้จักตื่น

๓.   รักผู้อื่นยิ่งกว่ารักตัว

๔.   ของควรกลัวกลับกล้า

๕.   ของสั้นสัญญาว่ายาว

๖.   ปอกมะพร้าวเอาปากกัด

๗.   อุ้มลูกอ่อนรัดไว้ไม่วาง

๘.   หลงทางไม่ถามไถ่

๙.   หนีจระเข้ใหญ่ไพล่ลงน้ำ

๑๐.  ต้องจองจำกลับยินดี

๑๑.  สู้ไพรีไม่หาอาวุธ

๑๒.  ไม่หยุดไม่ถึงพระ


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) ลิขิตธรรมเมื่อครั้งยังเป็นพระเปรียญ ประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๗-๒๔๙๘. ธรรมะในปริศนา. เชียงใหม่: ที่ระลึกในงานฉลองอายุครบ ๘๖ พรรษา ๒๖ พ.ย. ๒๕๔๖, ๒๕๑๒. หน้า ๑-๒๘.

4.png




= ตอนที่ ๑ =

กินเท่าไหร่ไม่หายอยาก


การกินของคนเรา รวมกล่าวแล้วมี ๒ อย่าง
๑.   กินเพราะหิว และ
๒.   กินเพราะความอยาก


ความหิวและความต้องการของร่างกาย ร่างกายจะทรงอยู่ได้เพราะอาหาร มนุษย์และสัตว์ทั้งปวงจะมีชีวิตอยู่ได้เพราะอาหาร การกินเพราะความหิวจึงเป็นการจำเป็น การกินเพราะความหิวมีเวลาอิ่มและเบื่อได้ ทั้งมีขีดจำกัด ตามขนาดกระเพาะของแต่ละบุคคล

ความอยาก เป็นอาการของใจที่ประกอบด้วยตัณหา การกินด้วยความอยาก หามีอะไรเป็นขอบเขตจำกัดไม่ ยิ่งหามาสนองความอยากได้มากเท่าใด ก็ยิ่งจะเพิ่มความอยากให้มากขึ้นเท่านั้น ที่สุดของความอยากไม่มี


ผู้ที่กินด้วยความอยาก ย่อมไม่มีเวลาอิ่ม ท้องจะต้องแตกตายเหมือนตาชูชก ผู้กินด้วยความอยาก หาใช่กินเฉพาะทางปากเท่านั้นไม่ บางคนยังสามารถกินสิ่งที่ไม่น่าจะกินได้ เช่น กินจอบ กินเสียม กินตึก กินถนนหนทาง และรถเรือนเป็นต้น ไฟไม่อิ่มเชื้อ ทะเลไม่อิ่มน้ำฉันใด คนที่มีโลภตัณหาก็ไม่อิ่มในสิ่งใดๆ ดังภาษิตโตปเทศว่า

ธรรมดาไฟย่อมไม่พักพอไม้เชื้อ
ทะเลใหญ่ไม่ปรากฏว่าเบื่อน้ำ
มฤตยูไม่เคยอิ่มหนำประชาสัตว์
นางผู้งามจำรัสก็ไม่รู้สึกจุใจในผู้ชาย


ใคร่ขอเปลี่ยนวรรคสุดท้ายเป็น “คนละโมภสมบัติก็ไม่รู้สึกจุใจในสิ่งใด” ด้วยเหตุนี้ ผู้กินด้วยความโลภตัณหา ชื่อว่า “กินเท่าไหร่ไม่หายอยาก”


10.1.png



= ตอนที่ ๒ =

นอนมากไม่รู้จักตื่น


การตื่นมี ๒ อย่าง
ตื่นจากหลับ   และ
ตื่นจากความมัวเมา


คนบางคนนอนขี้เซา นอนไม่รู้จักตื่น ไม่รู้จักเวลาที่ควรนอนและไม่ควรนอน ไม่ว่าเช้าหรือสาย ไม่ว่าบ่ายหรือเย็น ไม่ว่ากลางคืนหรือกลางวัน การนอนย่อมบอกลักษณะของบุคคลได้ดังคำโคลงโลกนิติบทหนึ่งว่า

บรรทมยามหนึ่งไซร์      ทรงฤทธิ์
หกทุ่มหมู่บัณฑิต          ทั่วแท้
สองยามพวกพาลัย       นรชาติ
นอนสี่ยามนั่นแล้          เที่ยงแท้เดรัจฉาน

ผู้ที่รู้จักแบ่งเวลา ไม่เห็นแก่การนอนหลับนอนมากนัก ชื่อว่าผู้ตื่นจากหลับ ถ้ามีลักษณะตรงกันข้ามชื่อว่า นอนมากไม่รู้จักตื่น

อีกประการหนึ่ง บางคนเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติคอยสำรวมระวังอยู่เสมอ ไม่ยอมประพฤติชั่วทางกายและทางวาจา แม้มีประมาณน้อย ก็คอยระวังโดยไม่รู้เท่าทันความจริงว่าของมากมาจากของน้อย ของน้อยนั่นเองเมื่อมารวมตัวมากเข้า สามารถทำความเสื่อมเสียให้ ดังคำกลอนบทหนึ่งว่า

น้ำน้อยน้อยฝอยกระเซ็นอยู่เป็นนิตย์
ยังพังอิฐพังหินดินสลาย
มอดน้อยน้อยคอยแคะแทะไม่วาย
ยังทำลายไม้คร่าวเสาโตโต


แม้ความชั่วทุจริตก็เช่นเดียวกัน ถึงมีประมาณน้อยก็ไม่ควรประมาท ผู้มีสติตื่นตัวอยู่เสมอเช่นนี้ ชื่อว่าผู้ตื่นจากความมัวเมาประมาท ส่วนผู้ที่หลงใหลไร้สติ ปล่อยตัวให้จมอยู่ในความชั่ว ชื่อว่า “นอนมากไม่รู้จักตื่น” ผู้เช่นนี้แม้มีชีวิตอยู่ก็เหมือนตายแล้ว



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 06:44, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMjR8NzJjNDM3NTl8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.1.png (2023-6-15 06:44, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMjZ8ZTNmNGVlNWZ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: หลวงปู่จันทน์๖.JPG (2023-6-16 05:21, 92.75 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzOTN8YTY1OTc4N2V8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-24 18:08, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MDF8M2YzNWY3Y2N8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:43

= ตอนที่ ๓ =

รักผู้อื่นยิ่งกว่ารักตัว


ความรักมี ๒ ชนิด คือ

รักตัวเองและรักผู้อื่น
คนที่เอาใจใส่ต่อการศึกษาก็ดี คนขยันหมั่นเพียรในการทำมาหาเลี้ยงชีพก็ดี คนที่รู้จักป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นแก่ตนก็ดี ชื่อว่าผู้รักตัวเอง พ่อแม่รักลูกหรือลูกรักพ่อแม่ก็ดี อาจารย์รักศิษย์หรือศิษย์รักอาจารย์ก็ดี ตลอดถึงมิตรรักมิตรเป็นต้นก็ดี ชื่อว่ารักคนอื่น  


ความรักทั้งสองนี้ท่านกล่าวว่า “ไม่มีความรักอันใดยิ่งไปกว่าความรักตัว” ความหมายว่า ใครจะแสดงความรักออกมาโดยอาการใดก็ตาม ก็ล้วนแต่มุ่งผลขั้นสุดท้ายเพื่อตัวเอง เมื่อทำตัวให้ดีแล้วชื่อว่าทำทุกอย่างให้ดีตามไปด้วย

มีคนบางคน บางพวก แม้จะพูดว่ารักตัวเองหรือแสดงตัวเองว่ารักตัว แต่การกระทำของตัวนั้นเป็นไปเพื่อรักคนอื่น เช่น หนุ่มสาวบางคู่หลงรักกันและกัน ยอมทำความชั่วความผิดต่างๆ เป็นการรักษาน้ำใจคู่รัก การกระทำเช่นนี้ควรเรียกว่า ความรักทำให้คนตาบอด คือมองไม่เห็นเหตุผลที่ถูกต้อง


พ่อแม่บางคนเป็นห่วงลูก รักลูก กลัวลูกจะอด กลัวลูกจะไม่เทียมบ่าเทียมไหล่คนอื่นเขา สู้อุตส่าห์ตรากตรำทำงาน แม้จะผิดถูกอย่างไรไม่คำนึงถึง หรือคนแก่คนเฒ่าบางคน มัวเมาห่วงลูกห่วงหลาน จะไปวัดไปวาหาความสงบบ้าง ก็หาโอกาสไม่ได้ตลอดชีวิต

เหล่านี้ชื่อว่า “รักผู้อื่นยิ่งกว่ารักตัว”


10.1.png



= ตอนที่ ๔ =

ของควรกลัวกลับกล้า


ความกลัวมี ๒ ชนิด คือ
กลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว ๑
กลัวในสิ่งควรกลัว ๑


ความกลัวย่อมเป็นของธรรมดาของมนุษย์และสัตว์ทั่วไป ยิ่งกว่านั้น สัตว์บางจำพวก และคนบางคนกล้าในสิ่งที่ไม่ควรกลัว เช่นที่เล่าว่า


ไส้เดือนทั้งหลายกินดินเป็นอาหาร แต่ไม่กล้ากินมาก เพราะกลัวดินจะหมด นางนกต้อยติวิดนอนหงายทับไข่ของมันเพราะกลัวฟ้าจะตกทับ นกกะเรียนไม่กล้าเหยียบดินเต็มเท้า เพราะกลัวแผ่นดินจะไหว พวกพราหมณ์เที่ยวหาเมียสาว เพราะกลัววงศ์สกุลจะขาดตอน (ธรรมเนียมพราหมณ์อินเดียสมัยโบราณ) ทั้งสี่เหล่านี้ได้ชื่อว่า กลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว

บางคนจะทำงานบางอย่างซึ่งเหมาะสมกับวิทยฐานะของตนแล้ว แต่กลัวจะต่ำต้อยน้อยหน้า ผลที่สุดกลายเป็นคนว่างงาน บางคนจะทำความดี เช่นจะให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาหรือไปวัดฟังเทศน์ ฟังปาฐกถา ก็ไม่กล้าทำ บ่นว่าอายบ้าง อย่างนี้ก็ได้ชื่อว่า กลัวต่อสิ่งที่ไม่ควร การทำความชั่วทุจริต ทั้งหลายเป็นสิ่งไม่ควรทำ เพราะมีผลเป็นความทุกข์ เดือดร้อน


พระพุทธองค์ได้ประทานโอวาทไว้ว่า “ถ้าเธอทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์ ถ้าความทุกข์ไม่เป็นที่พอใจของพวกเธอ ก็อย่าทำบาปกรรมทั้งหลายในที่ลับตาและที่แจ้ง” ในการทำความชั่วนั้นคนขลาดสรรเสริญ แต่นักปราชญ์ไม่สรรเสริญคนกล้าเลย สัตบุรุษทั้งหลายไม่ทำบาปเพราะกลัวต่อบาปนั่นเทียว

ด้วยเหตุนี้ ความชั่วทุจริตเป็นสิ่งที่ควรกลัว คนที่ทำความชั่วชื่อว่า “ของควรกลัวกลับกล้า”



รูปภาพที่แนบมา: 10.1.png (2023-6-15 06:50, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMjh8ZGNhMjAwMmV8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:44

= ตอนที่ ๕ =

ของสั้นสัญญาว่ายาว


ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย ชื่อว่าของสั้น เพราะจะเป็นอยู่ได้อย่างมากไม่เกินหนึ่งร้อยปี หากจะอยู่เกินนี้บ้างก็จะต้องตายเพราะชรา นักปราชญ์โบราณของล้านนาไทยได้กำหนดที่สุดของชีวิตของมนุษย์ไว้อย่างมากไม่เกิน ๙๐ ปี ดังคำกลอนว่า

สิบปี๋                อาบน้ำบ่หนาว
ซาวปี๋               แอ่วสาวบ่ก้าย
สามสิบปี๋          บ่หน่ายสงสาร
สี่สิบปี๋              เยียะก๋ารเหมือนฟ้าผ่า
ห้าสิบปี๋            สาวน้อยด่าบ่เจ็บใจ
หกสิบปี๋            ไอเหมือนฟานโขก
เจ็ดสิบปี๋           บะโหกเต็มตั๋ว
แปดสิบปี๋         ไค่หัวเหมือนไห้
เก้าสิบปี๋           ไข้ก็ต๋ายบ่ไข้ก็ต๋าย


ตามความหมายของคำกลอนนี้ ย่อมแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงของชีวิตโดยลำดับ เมื่อถึง ๙๐ ปีแล้ว จะมีอันตรายของชีวิตมาตัดรอนหรือไม่ก็ตาม ชีวิตจะต้องแตกดับไปตามธรรมดาของมัน และในระหว่างความเป็นอยู่นั้น ชีวิตย่อมมีอันตรายรอบด้าน อาจจะแตกดับลงในขณะใดก็ได้ ท่านกล่าวว่า

ชีวิตความเป็นอยู่ ๑
พยาธิความป่วยไข้ ๑                       
กาลเวลา ๑
ที่ทิ้งกาย ๑
คติวิถีชีวิตหรือภพชาติข้างหน้า ๑


ทั้ง ๕ นี้ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย จะให้เป็นไปตามความปรารถนาไม่ได้ คือ เราจะปรารถนาว่าจะมีชีวิตอยู่เท่านั้นเท่านี้ปี เวลาจะตายจะด้วยโรคภัยไข้เจ็บอย่างนั้นอย่างนี้ จะขอตายเวลานั้นเวลานี้ เดือนนั้นปีนี้ และจะปรารถนาว่าขอให้ตายที่นั่นที่นี่ ขอตายอยู่กับบ้านหลังนั้นที่เรือนหลังโน้น หรือดับชีพแล้วขอให้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นฟ้า หรือจะขออยู่กับคนโน้นคนนี้


เหล่านี้จะให้เป็นไปตามความปรารถนาไม่ได้ แล้วแต่กรรมดีกรรมชั่วที่ทำไว้ ก็อะไรเล่าที่ทำให้ชีวิตล่วงไปหมดไป ท่านแสดงว่ากาลเวลาเป็นผู้ผลาญเป็นผู้ทำลาย กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวของมันเอง นักปราชญ์ท่านผูกเป็นปริศนาไว้ว่า   

“พญายักษ์หนึ่งนามีนัยน์ตาสองข้าง ข้างหนึ่งสว่างข้างหนึ่งริบหรี่ มีปากสิบสองปาก มีฟันไม่มาก ปากละสามสิบซี่ กินสัตว์ทั่วปฐพี ยักษ์ตนนี่คือใคร”

“ตอบว่า พญายักษ์นั้นคือพระกาล ได้แก่วันเดือนปี ตาสองข้างคือข้างขึ้นข้างแรม หรือกลางคืนกลางวันก็ได้ สิบสองปากคือปีหนึ่งมี ๑๒ เดือน และฟันสามสิบซี่คือเดือนหนึ่งมี ๓๐ วัน กินสัตว์ทั่วปฐพี คือกลืนชีวิตสัตว์ทั่วแผ่นดิน


ผู้ที่หลงผิดคิดว่าชีวิตนั้นเป็นของยาวของมาก แล้วตั้งอยู่ในความมัวเมาประมาท ไม่แสวงหาความดี ได้ในคำว่า “ของสั้นสัญญาว่ายาว”

10.1.png



= ตอนที่ ๖ =

ปอกมะพร้าวเอาปากกัด


มะพร้าวเป็นผลไม้ที่มีลักษณะพิเศษกว่าผลไม้อื่นๆ คือเปลือกนอกมีกะลาแข็งหุ้มเนื้อและน้ำไว้ข้างใน การจะรับประทานน้ำมะพร้าวต้องปอก ต้องเจาะลงไปโดยลำดับ และการปอกการเจาะนั้นจะต้องใช้มีดใช้ขวาน เพียงแต่มือเปล่าหรือใช้ปากกัด ย่อมไม่อาจจะได้รับประทานเนื้อหรือน้ำมะพร้าวได้

ฉันใดก็ดี คำว่ามะพร้าวนี้ท่านเปรียบเหมือนพระพุทธศาสนา นับแต่เวลาที่พระสมณโคดมพุทธะผู้เป็นเจ้าของนิพพานแล้วเป็นเวลา ๒๕๐๐ ปีกว่า พระพุทธศาสนาต้องผ่านอุปสรรคนานาประการ ย่อมจะมีเปลือกมีกะพี้ เข้าไปแทรกแซงอยู่เป็นธรรมดา ผู้นับถือศาสนาจะต้องเป็นคนหนักในเหตุผล ไม่เป็นคนเชื่อง่าย


ถ้าไปยินอะไรที่เป็นเรื่องศาสนาแล้วเป็นคนเชื่อง่ายรับเอาๆ เหมือนคนเห็นมะพร้าวแล้วกระหาย อยากจะรับประทานน้ำ คว้ากัดเอาๆ ย่อมไม่ได้รับผล จะต้องพิจารณาหาเหตุผลให้ถ่องแท้แน่ใจ แล้วลงมือปฏิบัติตาม จึงจะได้รับผลสมปรารถนา

อีกประการหนึ่ง เรื่องของพระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องสักแต่ว่าพูดด้วยปาก หรือนับถือด้วยปากเท่านั้น เป็นเรื่องของการทำคือ การปฏิบัติ นักศึกษาศาสนาบางคนชอบค้นคว้าศึกษาในเรื่องศาสนา แต่ผลการศึกษาของเขาชอบข่มขู่คนอื่นด้วยโวหาร เรียนไว้เพื่อโต้ตอบ หาเรียนเพื่อนำไปปฏิบัติไม่


การนับถือศาสนาสำคัญอยู่ที่ลงมือปฏิบัติ การปฏิบัติเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนา คนที่เชื่องมงายก็ตาม คนที่ดีแต่พูดก็ตาม ชื่อว่านับถือศาสนา ในข้อว่า “ปอกมะพร้าวเอาปากกัด”


รูปภาพที่แนบมา: 10.1.png (2023-6-15 06:51, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMjl8NjcxNmFkMzN8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:45

= ตอนที่ ๗ =

อุ้มลูกอ่อนรัดไว้ไม่วาง


คำว่า ลูกอ่อน หมายเอาลูกอ่อนตรงๆ ก็ได้ หรือหมายเอาอัตภาพทั่วไปของคนเราก็ได้ คำว่า อุ้ม หมายถึง การหลงรักจนผิดธรรมดา หรือเกินควร

ความรักใดที่จะยิ่งกว่าความรักที่แม่ให้แก่ลูกเป็นอันไม่มี ดังคำกลอนบทหนึ่งที่ว่า

รักอะไรหรือจะแท้เท่าแม่รัก
ผูกสมัครสายเลือดไม่เหือดหาย
รักอื่นยังประจักษ์ว่ารักกลาย
จืดจางง่ายไม่จีรังดั่งมารดา

ในมโหสถชาดกมีเรื่องเล่าว่า เทวดาตั้งปัญหาถามพระเจ้าวิเทหราชว่า


“บุคคลประหารคนอื่นด้วยมือ ด้วยเท้า แต่กลับเป็นที่รักของผู้ถูกประหาร พระองค์เห็นใครเป็นที่รักของผู้ถูกประหาร”


มโหสถตอบแทนพระเจ้าวิเทหราชว่า ได้แก่ “บุตร”
ยิ่งตบและยิ่งทึ้งผมบิดามารดา ก็ยิ่งเป็นที่รักของบิดามารดา


เทวดาถามว่า
“ผู้ที่ชอบด่า แต่ไม่อยากให้ผู้ถูกด่าเดือดร้อน พระองค์ทรงเห็นว่าใครเป็นผู้ด่า”


ตอบว่า ได้แก่ “บิดามารดา” คำว่าบุตรเท่าไร ก็ไม่อยากให้ประสบเหตุร้ายอย่างที่ตนด่า กลับทวีความรักในตัวบุตรยิ่งๆ ขึ้นไป

ตามความในปัญหา ๒ ข้อที่ได้กล่าวนี้ ชี้ให้เห็นว่า บิดามารดามีความรักในบุตรเพียงไร แต่ถ้าบิดามารดาใช้ความรักผิด คือตามใจบุตรจนเกินไป จะให้บุตรเล่าเรียน จะให้ทำงานก็กลัวบุตรจะลำบาก สู้อุตส่าห์ประคบประหงม แม้บุตรจะเจริญวัยใหญ่โตพอจะช่วยตนเองได้ ก็ไม่ยอมวางมือ ไม่วายที่จะเป็นห่วงอย่างนี้ เรียกว่ารักผิด


โบราณท่านสอนว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี รักมีให้ค้า รักหน้าให้คิด รักมิตรให้เตือน” แปลว่า รักลูกจะต้องให้วิชาจรรยาแก่ลูก และสอนให้ลูกทำการงานเป็นด้วย นักปราชญ์ท่านสอนว่า “มีหลักที่ดีและถูกต้องข้อหนึ่งว่า ความช่วยเหลืออันดีที่สุด ที่พ่อแม่จะพึงให้แก่ลูกนั้น คือ สอนให้เขารู้จักช่วยตัวเอง”

ข้อว่า ลูกอ่อน หมายเอาอัตภาพร่างกายนั้น ขยายความว่า ร่างกายของเราแต่ละคนนั้น ไม่ผิดอะไรกับลูกอ่อน เราต้องบริหารรักษาอยู่ตลอดเวลา เริ่มแต่ตื่นนอนเป็นต้นไปคือ เราต้องล้างหน้า แปรงฟัน หวีผมแต่งตัว หาอาหารให้รับประทาน หาน้ำให้ดื่ม ถูกร้อนมากนักก็ไม่ได้ ถูกหนาวมากนักก็ไม่ได้


นอกจากนี้ยังต้องระวังอันตรายนานาประการ ถ้าถึงคราวเจ็บไข้ได้ทุกข์ ยิ่งต้องเพิ่มการบริหารยิ่งขึ้น อันการบริหารรักษาร่างกายนี้ ถ้าเป็นไปตามธรรมดาคือ บริหารรักษาพอให้ชีวิตเป็นอยู่ก็พอทำเนา บางคนทำด้วยความลุ่มหลง ไม่พิจารณาว่าจำเป็นหรือไม่ มุ่งเพื่อความสวยงาม หรืออนุโลมตามสมัย ยิ่งกว่าความจำเป็นแก่ชีวิต

เช่น หนุ่มสาวสมัยใหม่บางคน อุตส่าห์หาเครื่องประดับให้ร่างกาย ไม่ว่าส่วนไหนของร่างกายตั้งแต่ปลายผมถึงปลายเท้า ต้องเอาเครื่องวิทยาศาสตร์เข้าไปช่วยเพื่อตามสมัย เพื่อให้ทันฝรั่ง ไม่ต้องคำนึงถึงความหมดเปลือง และพิจารณาว่าจำเป็นแก่การครองชีพหรือไม่ ลักษณะอย่างนี้เป็นผลร้าย ยิ่งกว่ามารดาเลี้ยงลูกอ่อนเป็นไหนๆ


ปัจจัยเครื่องอาศัยอันจำเป็นแก่ชีวิต ตามหลักทางพระพุทธศาสนาท่านแสดงไว้ ๔ อย่าง คือ เครื่องนุ่งห่ม ๑ อาหาร ๑ ที่อยู่อาศัย ๑ ยารักษาโรค ๑ ทั้ง ๔ อย่างนี้นับว่าจำเป็นที่สุดแก่ชีวิต นอกจากนี้ เป็นแต่เครื่องพิจารณา ให้รู้เท่าทันธรรมดาของมัน คือ เป็นของไม่เที่ยงจะต้องสลายไปในที่สุด ไม่มีทุกข์ใดเสมอด้วยความยึดมั่นในขันธ์ ๕

ด้วยเหตุนี้ ผู้เข้าใจผิดในขันธ์ ๕ ชื่อว่า “อุ้มลูกอ่อนรัดไว้ไม่วาง”

10.1.png



= ตอนที่ ๘ =

หลงทางไม่ถามไถ่


ทางมี ๒ ชนิด คือ   
ทางกาย ๑      
ทางใจ ๑


ทางกายเป็นสิ่งที่มองเห็นด้วยตา ไปด้วยเท้าหรือด้วยยานพาหนะเป็นต้น ทางใจเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ไปด้วยความรู้สึกนึกคิด หรือด้วยความนับถือเชื่อถือ เป็นต้น


การที่เราจะรู้ว่าทางไปทิศเหนือหรือทิศใต้และไปได้ใกล้ไกลแค่นั้นแค่นี้ ก็เพราะเราได้ยินได้ฟังจากคนอื่นหรือศึกษาจากตำรับตำราเป็นต้น เราจึงไปมาได้สะดวกไม่ผิดพลาด ถ้าเราไม่ทราบมาก่อน นึกอยากไปนั่นไปนี่ก็นึกเดาไปเอง อาจจะถึงจุดหมายปลายทางก็ได้ และขณะที่เดินทางก็ทำความไม่สะดวกใจ ทำความสงสัยให้ไม่รู้จักจบ

ถ้าสมมติว่าหลงทางมีคนพอที่เราจะถามได้ เราก็ไม่ถาม อวดดื้อถือดี เดินไปตามความคิดเห็นของตนเอง ผลสุดท้ายไม่ถึงจุดประสงค์ เราจะโทษทางหรือคนอื่นนั้นไม่ถูก มันเป็นความผิดของเราเอง ผิดตรงที่ว่า “หลงทางแล้วไม่ถาม” ทางกายเราอาจหลงได้ฉันใด ทางใจก็ฉันนั้น และทางใจยังอาจหลงได้ง่าย และมีผลร้ายยิ่งกว่าทางกายเสียอีก ดังคำกลอนสอนจิตที่ว่า

ผู้หลงเถื่อนกู่ก้อง   พอร้องรับ
ผู้หลงหับตัณหา     สุดตาเห็น


และคำพังเพยโบราณอีกบทหนึ่งว่า “ถลำช่องชักได้ ถลำใจชักยาก” ซึ่งแสดงว่า ความหลงทางใจสำคัญกว่าความหลงทางกาย ความหลงทางกายก็เนื่องมาจากความเข้าใจผิดนั่นเอง  

ความหลงทางใจนั้น เมื่อกล่าวโดยย่อมี ๓ คือ


• ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ คือ การทำความชั่วเมื่อไม่มีคนรู้ ไม่มีคนจับได้ ไม่มีคนลงโทษหาเป็นความชั่วไม่ ต่อเมื่อมีคนรู้จับได้และลงโทษต่างหากจึงจัดเป็นความชั่ว การทำความดี ถ้าไม่มีคนรู้ไม่มีคนชม ไม่มีคนให้รางวัล หาเป็นความดีไม่ ต่อเมื่อมีคนรู้ มีคนเห็น มีคนชม และให้รางวัลต่างหาก จึงจัดเป็นความดี


ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ คือปฏิเสธการกระทำ ถือปัจจัยภายนอก คือบุคคลเป็นผู้อำนวย ผิดหลักทางพระพุทธศาสนา ที่ถือว่าการกระทำของคนนั้นเองเป็นเหตุ

• ความเห็นว่าหาเหตุมิได้ คือ มีความเชื่อว่าคนเราเป็นไปตามคราวเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ถึงคราวเคราะห์ดี ก็ได้ดีเอง ทำอะไรมีคนชอบ ให้ความสนับสนุน ถึงคราวเคราะห์ร้าย ทำอะไรมีแต่คนติ คอยขัดขวางตัดรอน เสื่อมลาภ เสื่อมยศ


ความเห็นว่าหาเหตุมิได้ คือปฏิเสธเหตุอันไม่ปรากฏ ถือปัจจัยภายนอก คือคราวสมัยเป็นผู้อำนวย ผิดหลักทางพระพุทธศาสนา ที่ถือว่าสิ่งทั้งปวงเกิดแต่เหตุ เมื่อไม่มีเหตุจะมีผลไม่ได้

• ความเห็นว่าไม่มี คือ มีความเข้าใจว่าสัตว์บุคคลไม่มี ต่างเป็นแต่ธาตุประชุมกัน เกื้อกูลกันบ้าง ทำร้ายกันบ้าง ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป เป็นแต่เพียงธาตุอย่างหนึ่งกระทบกับธาตุอีกอย่างหนึ่งเท่านั้น


ความเห็นว่าไม่มี ผิดหลักทางพระพุทธศาสนา ที่ถือว่าสัตว์บุคคลไม่มีจริงแต่ไม่ปฏิเสธเหตุ คือการกระทำและผลแห่งบุญและบาป สัตว์บุคคลหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปได้ตามอำนาจแห่งเหตุ

บุคคลที่ตกอยู่ในความเห็นทั้ง ๓ อย่างนี้ ได้ชื่อว่า ผู้หลง ถ้าไม่ถาม คือศึกษาหาความรู้และปฏิบัติแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ก็ไม่มีโอกาสประสบผลที่มุ่งหมายได้ นับวันแต่จะจมดิ่งลงไปสู่ความพินาศฉิบหายโดยลำดับ


โอวาทคำสอนของท่านฟังแล้วให้พิจารณาเหตุผล ไม่เชื่ออย่างงมงาย เมื่อเห็นเหตุผลแล้ว จึงให้เริ่มลงมือปฏิบัติตามทันที ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเช่นนี้ ถือว่า “หลงทางไม่ถามไถ่”


รูปภาพที่แนบมา: 10.1.png (2023-6-15 07:22, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMzB8NTM0YzhhNzd8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:47

= ตอนที่ ๙ =

หนีจระเข้ใหญ่ไพล่ลงน้ำ


หมายความว่า จระเข้เป็นสัตว์ประเภทดุร้าย และที่อยู่ของจระเข้ก็คือ น้ำ คนที่กลัวจระเข้ จะหนีจระเข้ แต่กลับวิ่งลงน้ำ เท่ากับวิ่งลงไปหาจระเข้อีก ไม่พ้นจระเข้ได้ฉันใด คนบางคนก็ฉันนั้น

กล่าวคือ กลัวความทุกข์ ต้องการจะหนีความทุกข์ แต่ก็ยังก่อเหตุแห่งความทุกข์อยู่ คือผู้ที่ไม่รู้จักเหตุแห่งความทุกข์นั่นเอง


เช่น สำคัญความเกียจคร้าน ไม่ทำอะไรว่าเป็นความสุข สำคัญอบายมุขคือ สุรา นารี พาชี กีฬาบัตร ว่าเป็นทางแห่งความเพลิดเพลิน เป็นทางแห่งความเจริญ สำคัญการเบียดเบียนกันว่า เป็นทางแห่งความสุข

เมื่อกล่าวโดยปรมัตถ์ ผู้สำคัญของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ผู้สำคัญสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข และผู้สำคัญสิ่งที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตนนั่นเอง ชื่อว่า “หนีจระเข้ใหญ่ไพล่ลงน้ำ”


10.1.png


= ตอนที่ ๑๐ =

ต้องจองจำกลับยินดี


โลกที่เราอาศัยอยู่นี้เปรียบได้หลายอย่าง ที่ได้ยินได้ฟังอยู่บ่อยๆ ก็คือ โลกนี้เปรียบเหมือนโรงละครใหญ่ ข้าพเจ้าคิดว่า คำเปรียบเทียบนี้เป็นการเปรียบเทียบให้เกียรติแก่โลกนี้อย่างสูง ความจริงโลกนี้คือ ตะรางที่สำหรับขังนักโทษอย่างใหญ่มหึมานั่นเอง แต่เหล่าหมู่มนุษย์สำคัญผิดคิดไปว่า การเกิดมาในโลกนี้เป็นความสุข


พระพุทธองค์ตรัสว่า “โลกนี้ตั้งอยู่บนกองแห่งความทุกข์” โลกนี้เป็นสวรรค์สำหรับคนโง่ แต่มันเป็นนรกสำหรับคนที่รู้ความจริงของมัน แล้วคนที่เกิดมา ซึ่งเท่ากับตกอยู่ในกรงขังอันมหึมา และเต็มไปด้วยความทุกข์นานาประการ เช่น แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น

บางคนยังสร้างกรงและหาโซ่มาใส่ตัวเองอีก ถึงเช่นนั้นบางคนกลับพูดว่า “ดีเสียอีกที่เข้าอยู่ในคุกในตะราง บ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ ถ้าอยู่ตามธรรมดา ข้าวก็ต้องซื้อกิน บ้านก็จะต้องเช่าเขาอยู่ บางทีก็ยังหาไม่ได้เสียอีก” นี่เรียกว่า ต้องจองจำกลับยินดี

อีกประการหนึ่งท่านกล่าวว่า การต้องจองจำด้วยเชือกโซ่เป็นต้น เป็นเครื่องจองจำภายนอกแก้ได้ง่ายและมีกำหนดเวลาพ้นโทษ ยังมีเครื่องจองจำภายในที่แก้ได้ยาก และไม่มีกำหนดพ้นโทษเมื่อไร เครื่องจองจำนั้นคือ ความรักความติดในทรัพย์สมบัติ ในบุตรภรรยาสามี ดังคำโคลงในโลกนิติว่า

มีบุตรบ่วงหนึ่งเกี้ยว      พันคอ
ทรัพย์ผูกบาทาคลอ      หน่วงไว้
ภรรยาเยี่ยงบ่วงปอ       รึงรัดมือนา
สามบ่วงใครพ้นได้        จึ่งพ้นสงสาร


รวมความว่า ทรัพย์สมบัติ บุตรภรรยาสามีเป็นบ่วง แต่ละอย่างที่ผูกจิตใจไว้เพื่อทำให้มนุษย์ติดอยู่ คนบางคนเจ็บหนักไม่มีหวังจะรอด ยังเป็นห่วงเรือรั่ว เรื่องตะเกียงลานเสียยังไม่ได้แก้ มีผู้บอกให้นึกถึงพุทธคุณบทว่า “อรหังๆ” กลับได้ยินว่า อะไรหายๆ ก็มี ทั้งหมดนี้ชื่อว่า
ต้องจองจำกลับยินดี”

รูปภาพที่แนบมา: 10.1.png (2023-6-15 07:23, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMzF8NmM3NDFiMTd8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:49

= ตอนที่ ๑๑ =

สู้ไพรีไม่หาอาวุธ


ผู้ที่เป็นคู่เวรหรือเป็นข้าศึกศัตรูต่อกัน คอยหาโอกาสทำลายล้างผลาญกัน ชื่อว่า ไพรี การที่บุคคลคิดจะสู้ไพรีเพื่อชัยชนะ แต่ไม่หาอาวุธหรือเครื่องมือไว้ป้องกันตัว จะเอาชนะไพรีได้อย่างไร ท่านกล่าวเปรียบเทียบไว้ว่า มีบุคคล ๔ จำพวก คือ

• ไม่บำเพ็ญประโยชน์แต่ริหากัลยาณมิตร
• ไม่มีพรรคพวกยังต้องการเดินทางกันดาร
• ไม่มีภูมิรู้แต่อยากแถลงข้อความในที่ประชุม
• ไม่มีศาสตราวุธยังอุตริอยากรบ


ความหวังของคน ๔ จำพวกนี้ นอกจากไม่อาจสมปรารถนา ยังกลับจะเป็นผลร้ายแก่ตนเองเสียอีก การสู้รบกับข้าศึกศัตรูภายนอกจะต้องเตรียมอาวุธไว้ฉันใด การปฏิบัติธรรมเพื่อนำชัยชนะมาสู่ตัว ก็ต้องเตรียมอาวุธไว้ฉันนั้น ทางธรรมท่านกล่าวว่า สัตว์โลกถูกรุมด้วยศัตรู ๔ เหล่า คือ

• ถูกตัณหาก่อสร้างขึ้น
• ถูกความตายสกัดขัดขวาง
• ตั้งอยู่บนกองทุกข์
• ถูกชราห้อมล้อมไว้


รวมความว่า สัตว์โลกอยู่ในอำนาจของศัตรู ๒ จำพวก กล่าวคือ กิเลสคอยก่อกวนความสงบสุข ทำให้เร่าร้อนอยู่เสมอ ๑ ศัตรูคือ ความเจ็บและความตายคอยเบียดเบียนขัดขวางและตัดรอนทอนกำลังอยู่เสมอ ๑


อาวุธที่จะนำมาสู้รบกับศัตรู ๒ จำพวกนี้ พระพุทธองค์ตรัสไว้หลายอย่าง แต่ที่เป็นสาธารณะทั่วไปคือ ปัญญา ท่านทั้งหลายพึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา ดังนี้ ด้วยเหตุนี้ ผู้จะรบศัตรู หรือมารในทางธรรมปฏิบัติ พึงเตรียมอาวุธ คือ ปัญญาไว้

ปัญญาที่จะได้มานั้นมีอยู่ ๓ ทาง คือ เกิดจากการได้ยิน ได้ฟัง หรือการศึกษาเล่าเรียน ๑ เกิดจากการคิดพิจารณา ๑ เกิดจากการอบรม คือการทดลองหรือปฏิบัติตามที่ได้ยิน ได้ฟัง และคิดพิจารณาแล้ว ๑


ผู้ที่จะเอาชนะกิเลสแต่ไม่แสวงหาปัญญาไว้ ชื่อว่า “สู้ไพรีไม่หาอาวุธ”

10.1.png



= ตอนที่ ๑๒ =

ไม่หยุดไม่ถึงพระ


บรรดาปัญหาทั้ง ๑๒ ข้อ ข้อสุดท้ายนับว่าเป็นข้อสำคัญ หรือเป็นหัวใจของปัญหาทั้ง ๑๑ ข้อนั้นก็ได้ เพราะปัญหาทั้ง ๑๒ ข้อที่กล่าวมาแล้ว โดยความมุ่งหมายก็เพื่อเป็นคติเตือนใจให้บุคคลละความชั่ว ให้ทำความดี


หรือรวมความว่า ให้หยุดจากความชั่วให้เข้าถึงพระ คำว่าพระในที่นี้ คือหมายถึง พระพุทธศาสนานั่นเอง คำว่า “พระพุทธศาสนา” จะขอกล่าวความหมายโดยย่อว่า ได้แก่ ความสงบ

ท่านแสดงเปรียบเทียบพระพุทธศาสนาว่า น้ำมหาสมุทรมาจากแม่น้ำสายต่างๆ แต่เมื่อว่าโดยรสแล้วมีรสอยู่รสเดียวคือ “รสเค็ม” เท่านั้น ฉันใดพระพุทธศาสนา เมื่อว่าโดยลักษณะคำสอนแล้ว ย่อมมีลักษณะวิธีต่างๆ แต่เมื่อว่าโดยรสแล้วมี “วิมุตติ” ความหลุดพ้นจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง


ผู้ใดเข้าถึงขั้นหลุดพ้นโดยปริยาย คือ โดยสิ้นเชิงไม่มีกิเลสที่จะก่อกวนให้เกิดความเดือดร้อนขึ้นอีก นั่นคือ ความสงบ และนั่นคือ จุดหมายขั้นสุดท้ายของพระพุทธศาสนา ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ย่อมจะได้รับความสงบสุขอย่างแท้จริง ไม่กลับกลายเป็นความทุกข์อีก ผู้นั้นชื่อว่าเข้าถึงพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์

ตรงกันข้ามกับผู้ที่กล่าวว่า นับถือพระพุทธศาสนาแต่ไม่หยุด คือไม่ละเว้นความชั่ว ผู้นั้นหาได้ชื่อว่านับถือพระพุทธศาสนา หรือเข้าถึงพระแล้วไม่พึงเห็นพระ เช่น องคุลิมาล เป็นตัวอย่าง

มีเรื่องเล่าว่า โจรองคุลิมาลฆ่ามนุษย์เสียมากต่อมาก จนจำไม่ได้ว่าจำนวนเท่าใด ต้องตัดเอานิ้วร้อยเป็นพวงมาลัย จึงได้ชื่ออย่างนั้น วันหนึ่งพระบรมศาสดาเสด็จไปโปรด พอองคุลิมาลเห็นนึกแปลกใจ ที่พระสมณโคดมเสด็จมาแต่ลำพัง และนึกดีใจที่จะได้นิ้วมนุษย์มาร้อยเป็นพวงมาลัยเพิ่มขึ้นอีก จึงเดินรี่เข้าไปหา แม้จะพยายามก้าวเท่าไรก็ไม่ทัน ถึงกับวิ่งก็ยังไม่ทันอยู่อีก จึงได้ร้องตะโกนไปว่า “สมณะหยุดก่อน”

พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบว่า “เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากยังไม่หยุด” เมื่อองคุลิมาลไม่เข้าใจ จึงทูลถามไปว่า “ท่านกำลังเดินอยู่แต่กล่าวว่าหยุดแล้ว ส่วนข้าพเจ้า ผู้หยุดแล้วแต่กลับกลายว่าไม่หยุด ท่านหมายความว่าอย่างไร”

พระองค์ตรัสตอบว่า
“ดูก่อนองคุลิมาล เราเลิกเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายแล้ว เราวางศาสตราวุธแล้ว ส่วนท่านสิไม่สำรวมในสัตว์ เที่ยวเบียดเบียนล้างผลาญชีวิตสัตว์ เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ท่านชื่อว่ายังไม่หยุด”  

ด้วยพุทโธวาทเพียงเท่านี้ องคุลิมาลรู้สึกซาบซึ้งในความหมาย จึงวางศาสตราวุธ และยอมตนเป็นศิษย์ขออุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านพยายามปฏิบัติตามพระพุทธโอวาทอยู่ ต่อมาไม่ช้านานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์


คือ วิมุตติ หลุดพ้นจากกิเลสความเศร้าหมองทั้งปวง ได้รับความสงบสุข ไม่มีความสุขใดจะยิ่งกว่า ถึงกับเปล่งอุทานด้วยความเบิกบานใจเสมอ ดั่งที่ท่านสุชีโวภิกขุถอดเป็นคำกลอนไว้ในหนังสือ “ใต้ร่มกาสาวพัสตร์” ว่า

        ผู้เอยผู้ใด                      ลำพองใจประมาทมาก่อน
แต่กลับตัวได้ไม่นิ่งนอน           ถ่ายถอนชั่วช้าสร่างซาไป
ผู้นั้นเหมือนจันทร์วันเพ็ญ         ลอยเด่นดูงามอร่ามใส
ไม่มีเมฆมัวหมองเท่ายองใย     ส่องหล้าทั่วไปสว่างเอย


นี่คือความหมายของปริศนาข้อสุดท้าย



รูปภาพที่แนบมา: 10.1.png (2023-6-15 07:24, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMzJ8OWNjOTVkMzV8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:49

ตอนที่ ๔๗

มนต์รัก

หลวงปู่จันทร์ กุสโล

(วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่)

1.png



ในเรื่องนิราศพระแท่นดงรัง เล่าไว้ตอนหนึ่งว่า ระหว่างที่สุนทรภู่แต่งนิราศเรื่องนี้ สุนทรภู่เดินทางเข้าไปในป่า ได้เห็นแมลงภู่คลึงเคล้าเกสรดอกไม้ เพื่อต้องการรสหวานจากดอกไม้ จึงแสดงความรู้สึกออกมาเป็นคำกลอนว่า

ระรวยรื่นชื่นหอมพยอมสด      สุคนธรสโรยร่วงพวงเกสร
ต้องพระพายชายช่ออรชร      หมู่ภมรคลึงเคล้าเฝ้าเชยชม


เพราะได้มองเห็นภาพแมลงภู่นี้เอง ทำให้สุนทรภู่เกิดความคิดต่อไปว่า ดอกไม้กับแมลงภู่เป็นของคู่กัน เกิดมาเพื่อแก่กันและกัน เช่นเดียวกับหญิงกับชายก็เกิดมาเป็นของคู่กัน จึงให้คำกลอนเปรียบต่อไปว่า

แมลงภู่เป็นคู่ของบุปผา            โบราณว่ามีจริงทุกสิ่งสม
หญิงกับชายก็เป็นคู่ชูอารมณ์     ทั่วปฐมกัปกัลป์พุทธันดร


ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงตามที่กล่าวมา ความเป็นอยู่ระหว่างหญิงกับชาย จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่หนุ่มถึงแก่ และจนกระทั่งตายจากกันไป ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องของหญิงชายในฐานะอื่นจะไม่กล่าวถึง


จะขอพูดถึงเฉพาะความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องระหว่างชายหนุ่มหญิงสาว ที่ทำให้ทุกคนจึงดิ้นรนขวนขวายหาความรัก บางคนถึงกับยอมเสียสละชีวิตก็เพื่อความรักและคนรัก เพื่อจะให้สมปรารถนาในความรักนี่เอง จึงมักจะมีเรื่องแปลกๆ เกิดขึ้นในระหว่างชายหนุ่มหญิงสาว จะเล่าให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง

มีหนุ่มน้อยผู้หนึ่ง ชื่อ จุ่น กำลังแตกเนื้อหนุ่ม มองเห็นโลกเป็นเมืองสวรรค์ แม้จะยังอยู่ในวัยเรียน เขาก็หาเห็นความสำคัญของการศึกษาไม่ การเรียนเป็นเหมือนยาที่ขมขื่นสำหรับเขา เขาไม่ชอบแม้กระทั่งเครื่องแบบของนักเรียน แต่กลับไปชอบเครื่องแต่งตัวที่ออกแบบมาใหม่ๆ เช่น กางเกงทรงทรมาน กางเกงขาสั้นจุ๊ดจู๋ เสื้อลายแบบฮาวาย จักรยานแบบเสือหมอบและเรื่องที่ยิ่งใหญ่ก็คือ นายจุ่นริเริ่มรักระหว่างเรียน

เขามีแฟนอยู่คนหนึ่ง ชื่อ สี อายุรุ่นราวคราวเดียวกันและยังเป็นนักเรียนอยู่เช่นเดียวกัน ทุกครั้งที่นายจุ่นกลับจากโรงเรียนแทนที่จะตรงกลับบ้าน เขาจะต้องเถลไถลผ่านไปทางบ้านแฟนเสียก่อน วันหนึ่งๆ ขอให้ได้เห็นหน้า หรืออย่างน้อยที่สุดได้เห็นหลังคาบ้านก็ชื่นใจ นี่กระมังที่ท่านเรียกว่า “มนต์รัก” เมื่อหนุ่มน้อยใช้ความพยายามไปมาหาบ่อยๆ นางสาวสีก็ชักเห็นใจ เริ่มสนใจพ่อหนุ่มจุ่นมากขึ้นทุกวัน จึงให้ความสนิทสนมมากขึ้น

วันหนึ่งหนุ่มน้อยไปเยี่ยมคนรัก ขณะที่ขี่จักรยานผ่านไปทางหลังบ้าน ก็พอดีแพล่นโผล่หน้าออกมาทางหน้าต่างพร้อมยิ้มให้ เจ้าหนุ่มยังไม่ทันจะพูดว่าอะไร แฟนสาวก็ม้วนกระดาษชิ้นเล็กๆ โยนมาให้เจ้าหนุ่มคลี่ออกอ่านด้วยหัวใจเต้นตุ๋มๆ ต่อมๆ อ่านแล้วไม่ว่าอะไร เป็นแต่ยิ้มตอบให้แฟน แสดงว่าเข้าใจความหมายตลอดแล้ว ในจดหมายข้างในมีข้อความสั้นๆ ว่า

“ขอให้พาไปดูหนังอาทิตย์ที่จะถึงนี้ ขัดข้องตอบให้ทราบด้วย” เรื่องที่จะปฏิเสธเห็นจะไม่มีแน่ เจ้าหนุ่มม้วนกระดาษยัดใส่กระเป๋ากางเกง ปั่นจักรยานกลับบ้าน บอกไม่ถูกว่าตัวเองกลับบ้านมาเมื่อไร และระหว่างทางที่ผ่านมาได้พบกับใครบ้าง กลับมาถึงบ้านเดินตรงเข้าไปในห้องหนังสือ หยิบกระดาษปากกามาจะเขียนจดหมายตอบ


คุณจุ่นก็เกิดปัญหาโดยไม่ได้คาดฝันไว้ก่อน ปัญหานั้นเกี่ยวกับปัญหาทรัพย์จาง เมื่อเขาเปิดดูกระเป๋าสตางค์เหลืออยู่เพียง ๑ บาทเท่านั้น เจ้าหนุ่มรู้สึกตัวเบาหวิวต้องวางปากกาไว้ที่เดิม เปลี่ยนความคิด มาคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า “เอ! มีสตางค์ ๑ บาท เราจะพาแฟนไปดูหนังได้อย่างไร”

เขาคิดและคิดต่อไปว่า “ขโมยสตางค์แม่เห็นท่าจะดี ไม่ได้ ไม่ได้…….เราจะเสียคน ขอท่านตรงๆ ดีกว่า ว้า…..คุณแม่หมู่นี้ก็แย่ ได้ยินบ่นว่าไม่มีสตางค์จ่ายค่ากับข้าว ทำอย่างไรดีฮึ…….”


ความคิดของเขาวนอยู่ในบ้าน หาทางออกไม่ได้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เขาคิดถึงเพื่อนฝูง คิดถึงเพื่อนคนไหนก็เจอแต่ชนิดหน้าชื่นอกตรมทั้งนั้น นายจุ่นคิดปัญหาเรื่องทรัพย์จางไม่ตก ต้องลุกขึ้นเดินไปเดินมา คนอื่นไม่รู้เรื่องของเขา ก็เข้าใจว่านายจุ่นคงคิดเลขการบ้าน ในระหว่างที่เขาเดินไปเดินมานี้เอง ความคิดใหม่ใสแจ๋วก็เกิดแก่เขา “โรงจำนำ โรงจำนำ” เขาท่องอยู่ในใจ “อะไรละ! ที่จะเอาไปจำนำ”  

“นาฬิกา” เขาตอบตัวเขาเอง พอเรื่องจะลงเอยเข้า หนุ่มน้อยจ้องสะดุดกับความคิดของตัวเองอีก เพราะมีความคิดอีกอย่างหนึ่งซ้อนขึ้นมาว่า “นาฬิกา” นอกจากจะไว้ใช้สำหรับดูเวลาแล้ว ยังแสดงหลักฐานของผู้เป็นเจ้าของด้วย เราเคยดูนาฬิกาทุกวัน ถ้าเอาไปจำนำเสีย แฟนของเราไม่เห็นก็จะถาม ถ้าเราโกหก แฟนอาจจะจับโกหกได้ ทั้งความภูมิฐานของเราก็จะหมดไปด้วย ไม่ได้…..นาฬิกาต้องงดไว้ก่อน

เขาห้ามตัวเองแต่ไม่ยอมทอดทิ้งความพยายาม เขาพยายามนึกถึงของใช้ต่างๆ ที่เขามีอยู่ เสื้อ กางเกง ปากกา ไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะเป็นของต้องใช้อยู่เป็นประจำ เขามองไปรอบๆ ห้อง สายตาเขาไปหยุดต้องอยู่กับสิ่งๆ หนึ่ง แล้วยิ้มออกมาได้ หนุ่มน้อยมั่นใจเหลือเกินว่าเป็นสิ่งที่ซ่อนเร้นคนอื่นไม่อาจจะล่วงรู้ว่า มีหรือไม่มี ยิ่งแฟนด้วยแล้ว ไม่สนใจเรื่องเช่นนี้แน่ๆ ก็ยิ้มออกมาอย่างภาคภูมิใจ


สิ่งที่นายจุ่นหมายมั่นปั้นมือนั้นคือ “มุ้ง” เขาจึงตกลงเอามุ้งไปจำนำเป็นราคา ๕ บาท พอได้สตางค์ คว้าจักรยานคู่ชีพปั่นกลับบ้าน ตรงเข้าไปในห้อง ลงมือเขียนจดหมายนัดแม่ยอดดวงใจทันที……

วันเวลาผ่านไปมันช่างช้าเสียจริงๆ อีก ๑ วัน เท่านั้น ที่จะถึงวันที่นัดหมายไว้ ดูเหมือนเป็นเวลาตั้ง ๑ เดือน พอถึงวันนัด เขาก็ไปคอยอยู่ ณ ที่ได้นัดหมายไว้ คอยแล้วคอยเล่า เดินงุ่มง่ามไปมาจนเวลาที่นัดหมายไว้ผ่านไป ไม่ปรากฏแม้แต่เงาแม่โฉมงาม พ่อหนุ่มน้อยกัดฟันไว้แน่นเพื่อดับโมโห “ไม่น่าเล้ย เราอุตส่าห์นอนเลี้ยงยุงตลอดคืน กลับมาทรยศต่อเราได้”

เขานึกน้อยใจ ความคิดของเขาเดือดพล่านนึกไปร้อยแปดพันประการ ถ้าเจอหน้าแม่ยอดรักเข้าไปในขณะนั้น เขาคงจะประท้วงรักด้วยศอก ด้วยกิริยาที่รุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่ ขณะที่ความคิดกำลังเดือดพล่านถึงขีดสุด เขาได้ล้วงกระเป๋าเพื่อหยิบเอาตั๋วจำนำออกมาดู และเพื่อความแน่ใจในการกระทำของเขา พอเหลือบเห็นเท่านั้น เจ้าหนุ่มแทบจะช็อคตาย เพราะกระดาษที่ล้วงขึ้นมานั่น แทนที่จะเป็น “ตั๋วจำนำ” แต่กลับเป็นจดหมายที่นัดกับแม่โฉมงามไว้

วิมานลอยเจ้าหนุ่มต้องทะลายลง เพราะความผิดพลาดของตัวเอง นายจุ่นปั่นจักรยานกลับบ้านด้วยความผิดหวัง กลับถึงบ้านไม่ยอมพูดกับใคร เข้าห้องปิดประตูนอน รำพึงรำพันอยู่ในห้องเดียวดายว่า “ความรักเป็นอย่างนี้เอง” ผู้หลักผู้ใหญ่จึงสอนว่า ความรักทำให้คนตาบอด ความรักเป็นไฟ ความรักไม่ใช่เรื่องสำหรับลอง ไม่ใช่ของสำหรับเล่น เลิกเสียทีดีกว่า เรียนหนังสือดีกว่า

ความรักของนายจุ่นได้จบลงแล้ว ขอให้ท่านผู้อ่านนึกถึงแมลงภู่ที่เคล้าเกสร เพื่อต้องการน้ำหวานจากดอกไม้ ตามคำกลอนของสุนทรภู่ที่ไปเคล้าเกสรดอกไม้ จะไม่ทำดอก สี และกลิ่นของดอกไม้ให้ช้ำเลย แต่ก็ไม่สามารถเอารสหวานจากดอกไม้นั้นได้


บรรดาหนุ่มน้อยทั้งหลาย ที่ทำตนเป็นแมลงภู่บินร่อนแสวงหาน้ำหวาน คือความรักจากดอกไม้ คือหญิงสาวทั้งหลาย ควรรักษาลักษณะและความดีของแมลงภู่ไว้ด้วย ความรักนั้นจึงจะราบรื่นไม่พบอุปสรรคระหว่างรัก

ความรักตามหลักศาสนานั้น หาได้มุ่งให้สมปรารถนาเพียงรูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้องเท่านั้นไม่ ที่แน่นั้นหมายถึง ทั้งสองฝ่ายต่างยินยอมพร้อมใจกันเพื่อทำประโยชน์ เพื่อสร้างความดีร่วมกันต่างหาก


พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ได้เปรียบเทียบความรักของหนุ่มสาวไว้ว่า ทางสายรักมีลักษณะเหมือนทางที่ลื่นหล่ม มีตม มีโคลนเฉอะแฉะ คนเดินทางรักก็เหมือนเดินทางลื่นและอาจหกล้ม และอาจตกหล่มจมโคลนเอาง่ายๆ

เพราะฉะนั้น ถ้ารู้ตัวว่า “รักคุณเข้าแล้ว” ก็ต้องเตือนตนไว้ล่วงหน้าว่า นี่เรากำลังเดินทางลื่นหล่ม อีกก้าวหนึ่งข้างหน้า เราอาจจะต้อง “หกล้มเข้าแล้ว” ก็ได้

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • เกร็ดสารธรรม. เชียงใหม่: สลากภัตปีที่ ๗๖ งานบุญสืบสานสลากภัตประจำปี ๒๕๔๗ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร, ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๗. หน้า ๑๑-๑๗.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 07:26, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMzN8NTM3ZjMyZDl8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-24 18:30, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MDJ8YTA5OGRlM2Z8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:49

ตอนที่ ๔๘

ทำไฉน ? จึงจะฝันดี

หลวงปู่จันทร์ กุสโล

(วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่)

1.png


การนอนหลับ เป็นความจำเป็นแก่ชีวิตมนุษย์เท่าๆ กับการกิน การกินเป็นการบำรุงซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยอาหาร การนอนหลับเป็นการบำรุงซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยการพักผ่อน

ข้อสังเกตความสุขสบายของร่างกายที่เห็นได้ง่าย คือ การกินได้นอนหลับ ถ้ากินไม่ได้นอนไม่หลับแล้ว ก็ทำนายไว้ล่วงหน้าได้ดีทีเดียวว่า ชีวิตของผู้นั้นใกล้จุดอันตรายเข้าไปทุกที

สิ่งที่คู่กับการหลับคือ “ความฝัน” ดังคำพังเพยที่ว่า
“กินมากถ่ายมาก พูดมากโกหกมาก นอนมากฝันมาก”

คนที่ไม่เคยฝันคือ คนที่ไม่เคยนอนหลับนั่นเอง ความฝันคืออะไร ความฝันคือการที่สามารถเห็นปรากฏการณ์ในเวลาหลับ โบราณท่านแบ่งเหตุแห่งความฝันไว้เป็น ๔ ประการ คือ

๑. ฝันเพราะธาตุกำเริบ หมายความว่า ธาตุทั้งสี่ ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นไปโดยไม่สม่ำเสมอคือ ธาตุส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไปบ้าง น้อยเกินไปบ้าง เช่น คนที่รับประทานอาหารที่ย่อยยาก ทำให้เกิดท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นเหตุให้เกิดความละเมอเพ้อฝันได้

๒. ฝันเพราะหน่วงเอาอารมณ์ที่ผ่านพบมาแล้ว สิ่งที่เราได้ผ่านพบมาแล้ว เช่น รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสต่างๆ มีความรู้สึกเย็นร้อนอ่อนแข็งเป็นต้น ถ้าเป็นส่วนที่ชอบใจก็ทำให้จิตใจระลึกถึง นึกอยากได้ ถ้าไม่ชอบใจก็ทำให้จิตใจระลึกถึงไม่อยากจะได้ผ่านเข้ามาอีก การที่จะยึดหน่วงเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นอารมณ์ก็เป็นเหตุให้ฝันได้

๓. ฝันเพราะเทวดาสังหรณ์ เรื่องเทวบุตรเทวดาเป็นเรื่องที่พูดยาก เพราะเป็นคนละพรรคละพวกกับมนุษย์ เทวบุตรเทวดาเป็นพวกกายทิพย์ ตามมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถจะเห็นได้เหมือนกับคลื่นเสียงของวิทยุ หูของมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถจะฟังได้ ต่อเมื่อเปิดวิทยุรับ จึงสามารถจะฟังเสียงได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่อยากจะเห็นเทวดาก็ต้องทำตาให้เป็นทิพย์ จึงจะสามารถเห็นเทวดาได้ เทวดาดังกล่าวนี้ เมื่อท่านประสงค์จะให้มนุษย์คนใดทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า ท่านก็บันดาลให้เกิดนิมิตฝันในเวลาหลับ

๔. ฝันเพราะอำนาจ “กุศล” “อกุศล” บันดาล คำว่า กุศล อกุศลในที่นี้ หมายถึง บุญ-บาป ตามความเข้าใจของคนทั่วไปนั่นเอง เรื่องบุญ เรื่องบาป เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน แต่สามารถจะปรากฏผลให้เห็นได้ดังที่ท่านแสดงไว้ว่า คนที่รูปสวยรวยทรัพย์ ไม่ใบ้บ้าบอดหนวกชื่อว่าคนมีบุญ คนที่มีลักษณะตรงกันข้ามชื่อว่าคนมีบาป


บุญบาปที่ยังไม่ให้ผล จะชี้ให้ตัวตนยังไม่ได้ แต่สามารถติดตามคนผู้กระทำเหมือนเงาที่ติดตามคนไปทุกหนทุกแห่ง ท่านเปรียบเหมือนต้นไม้ที่ยังไม่ผลิดอกออกผล ก็บอกไม่ได้ว่าดอกผลอยู่ตรงไหนของต้นไม้ ฉะนั้น บุญบาปที่บุคคลทำไว้แล้วนั้น เป็นเหตุดลบันดาลให้เกิดความฝันได้

ความฝันเป็นสิ่งที่เอาแน่นอนไม่ได้ เราฝันดี แต่ไม่ได้รับผลดีเหมือนฝันก็ได้ เราฝันร้าย แต่ไม่ได้รับผลร้ายเหมือนฝันก็ได้ คนที่ไปเที่ยวที่ไหนมานานๆ เมื่อนึกถึงสถานที่ที่เคยไป จำได้เพียงเลือนลางก็มักจะพูดว่า “นึกถึงแล้วเหมือนกัน”


หรือคนที่นึกถึงความหลังที่ผ่านมา สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ลุ่มๆ ดอนๆ ก็มักจะเปรียบชีวิตอย่างนี้ว่า “เหมือนฝัน” แสดงให้เห็นว่า ชีวิตกับความฝันมีลักษณะคล้ายคลึงกัน บางคืนนอนฝันไปว่าถูกหวยรวยทรัพย์ ดีอกดีใจ ตื่นขึ้นมายังดีใจไม่หาย แต่แล้วก็เหลวไม่เป็นไปดั่งฝัน

บางวัน นอนฝันไปว่าถูกจองจำทำโทษ ได้รับความทุกข์ทรมานอกสั่นขวัญหาย ตื่นขึ้นมาอกยังเต้นอยู่ แต่ก็ไม่เป็นไปดั่งฝันอีก เช่นเดียวกับชีวิตในหนหลัง บางตอนรุ่งโรจน์เต็มไปด้วยความชุ่มชื่นรื่นเริง จะปรารถนาสิ่งใดก็ได้ดังใจหวัง ชีวิตบางตอนอับเฉาเหี่ยวแห้ง เต็มไปด้วยความทุกข์ระทม มีแต่ความพลาดหวัง จะหันหน้าไปพึ่งใครมีแต่เบือนหน้าหนี

ความสุข ความทุกข์ เหล่านั้น เป็นเพียงสิ่งๆ หนึ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เหมือนสายน้ำไหล เมื่อไหลผ่านไปแล้วจะให้ไหลย้อนกลับคืนอีกไม่ได้ จะไปเอาอะไรจริงจังกับชีวิตและความฝัน คนนอนหลับแล้วฝัน ยังพอจะเล่าเรื่องความฝันให้คนอื่นแก้ว่าร้ายหรือดี

แต่มีความฝันอีกชนิดหนึ่งที่ไม่อาจจะเล่าให้ผู้อื่นแก้ได้ ความฝันชนิดนี้คือ “ความฝันของคนที่ตื่นอยู่” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความละเมอเพ้อฝัน เมื่อฝันหนักๆ เข้า จนไม่สามารถจะยับยั้งจิตของตัวเอง ก็จะกลายเป็นคนวิกลจริตผิดธรรมดา ความฝันชนิดนี้เป็นภัยต่อชีวิต จึงไม่ควรฝัน

ยังมีความฝันอีกอย่างหนึ่ง เป็นความฝันที่ทางพระพุทธศาสนายกย่องว่าเป็นความฝันที่ดีคือ “ความฝันของคนที่เจริญเมตตา” ดังที่ท่านแสดงไว้ในอานิสงส์ของการเจริญเมตตาว่า คนที่เจริญเมตตาดีแล้วย่อมไม่ฝันร้าย หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข

เมตตาเป็นอาการของจิตที่ประกอบด้วยความรู้สึกที่ดีงาม รู้จักหัวอกเขาหัวอกเรา ไม่เอาแต่ใจตนเองเป็นประธาน รู้จักให้อภัย ไม่มีการผูกอาฆาตจองเวร จะนึกคิดและทำสิ่งใดก็มุ่งหมายความสามัคคีสงบสุขเป็นที่ตั้ง


เมตตาจิตนี้ ควรจะให้มีทุกกาลและทุกสถานที่ แต่ถ้าไม่สามารถจะเจริญได้ทุกกาล ทุกสถานที่ อย่างน้อยที่สุดควรจะเจริญเวลาก่อนนอนเป็นประจำ เพราะเวลานอนเป็นเวลาที่ร่างกายและจิตใจได้พักผ่อน ได้รับความสงบ ควรจะให้จิตใจได้รับอารมณ์ที่สะอาดปราศจากความสะดุ้งหวาดหวั่น เป็นโอกาสได้พักผ่อนนอนทั้งกายและใจ ก่อให้เกิดความสุขทั้งส่วนกายและส่วนจิต หลับก็เป็นสุข แม้จะฝันก็ไม่ฝันร้าย ตื่นขึ้นมาเบิกบานแจ่มใส

คนเราที่หลับลงไปคืนหนึ่งก็เหมือนตายไปครั้งหนึ่ง และเมื่อตื่นขึ้นมาก็เหมือนการเกิดใหม่ ชีวิตเป็นของมีค่า ควรจะให้ตายดีและเกิดดี แม้ในสมัยที่ยังหลับๆ ตื่นๆ ซึ่งเป็นเหมือนตายๆ เกิดๆ อยู่นี้ เมื่อจะสรุปความตอบปัญหาตามัวข้อที่ตั้งไว้ก็ได้ใจความว่า การที่จะฝันดีนั้น พึงปฏิบัติดังนี้

๑. อย่ารับประทานอาหารมากเกินไป น้อยเกินไป และอย่ารับประทานอาหารที่ย่อยยาก


๒. อย่าเก็บเอาเรื่องที่ล่วงไปแล้วมาครุ่นคิด ก่อให้เกิดความฟุ้งซ่านในเวลาก่อนจะนอน


๓. พยายามสร้างความดีให้เกิดขึ้นทางกาย ทางวาจา และทางใจ ตลอดเวลาที่ผ่านไป


๔. อย่าสร้างความฝันอันเลื่อนลอยหลอกตัวเองในเวลาตื่น


๕. ก่อนจะนอนให้ไหว้พระสวดมนต์เป็นประจำ หลังจากไหว้พระสวดมนต์ แล้วให้เจริญเมตตา คือ ให้ถอนจิตจากอารมณ์ที่ประกอบด้วยอาฆาตพยาบาท และให้ระลึกถึงคนอื่นด้วยความปรารถนาดี และแผ่เมตตาตามบทสวดมนต์

ขอให้ทุกท่านผู้อ่านจงฝันดีมีความสุขทั่วกันทุกท่านเทอญฯ

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • เกร็ดสารธรรม. เชียงใหม่: สลากภัตปีที่ ๗๖ งานบุญสืบสานสลากภัตประจำปี ๒๕๔๗ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร, ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๗. หน้า ๕-๑๐.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 07:30, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMzV8YTJiOWU0MTl8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-24 18:32, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MDN8MjA4OWE4ZDl8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:54

พระมหาทองอินทร์.JPG


ตอนที่ ๔๙

ธรรมจากหลวงพ่อ

พระนพีสีพิศาลคุณ

(วัดสันติธรรม จ.เชียงใหม่)

1.png



หากเกิดนิมิต อย่าให้จิตกลัว จงพิจารณาว่า นิมิตกับจิตนี้ มิใช่อันเดียวกัน จิตอันหนึ่ง นิมิตอันหนึ่ง พยายามรักษา อย่าให้หลงนิมิต ถ้าจะดับนิมิต ให้บริกรรม (พุทโธ)

กาลัญญุตา รู้จักกาล ทำตามเวลา
ทำถูกเวลา ทำทันเวลา ทำตรงเวลา


รักชาติ คือ รักอย่างไรจึงจักเรียกว่า รักที่ถูก รักชาติต้องรักคน รักของ และรักระเบียบฯ


บุญ ย่อมเจริญทั้งกลางวันและกลางคืนตลอดกาลทุกเมื่อ แก่ชนผู้สร้างวัดวาอาราม ปลูกสวนไม้ดอก ไม้ผล ปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา สร้างสะพาน สระน้ำ บ่อน้ำ และบ้านเรือนที่พักอาศัยให้เป็นทาน

ศีล ยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย บุญอันโจรลักไปไม่ได้

พวกหมู่เกวียน พวกโค ต่างเป็นมิตรของคนเดินทาง มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน สหายเป็นมิตรของคนมีธุระเกิดขึ้นเนืองๆ บุญที่ตนเองบำเพ็ญแล้วเป็นมิตร ติดตามตนไปในโลกหน้า บุตรเป็นที่ปรารถนาของมนุษย์ทั้งหลาย ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง เหล่าสัตว์ที่มีชีวิตอาศัยอยู่พื้นแผ่นดินอาศัยฝนเลี้ยงชีพอยู่

ตัณหายังคนให้เกิด จิตของคนนั้นย่อมพล่านไป สัตว์ย่อมเวียนว่ายในสงสาร ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของคน กรรมเป็นที่พำนักของสัตว์ทั้งหลาย ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน ปัญญาย่อมปกครองคน สัตว์ยินดีในนิพพานก่อนพ้นทุกข์ทั้งปวงได้ ชื่อย่อมครอบงำสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวงที่ยิ่งขึ้นไปยิ่งกว่าชื่อไม่มี สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือ ชื่อ

โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือ จิต โลกอันตัณหาย่อมนำไป อันตัณหาย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมดย่อมเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือ ตัณหา

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • พระนพีสีพิศาลคุณ: อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ: คณะศิษยานุศิษย์ เรียบเรียง, ๒๕๔๘. หน้า ๗๘-๗๙.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 07:32, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMzd8MGVjNjE0NDh8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: พระมหาทองอินทร์.JPG (2023-6-16 04:54, 93.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzODd8Yzk2MWJiYmJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-24 18:43, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MDR8YjM3MmFiYjZ8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:58

ตอนที่ ๕๐

เอกลักษณ์เฉพาะตัวของหลวงปู่ยิด

หลวงปู่ยิด จันทสุวัณโณ

(วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์)

1.png



เอกลักษณ์เฉพาะตัวของหลวงปู่ยิด คือ หนึ่งปีท่านอาบน้ำครั้งเดียว และเป็นการอาบน้ำที่ค่อนข้างพิสดารคือ ท่านชอบให้ลูกศิษย์ญาติโยมผู้ศรัทธานำแปรงลวดมาด้วย และนำมาขัดถูกายของท่านแรงๆ ยิ่งแรงยิ่งดี

หลวงปู่ยิดจะยิ้ม จะหัวเราะถูกใจ หากศิษย์ถูตัวท่านด้วยแปรงลวดอย่างรุนแรง บางครั้งแรงจนขนแปรงลวดหลุดออกมาเป็นขุยๆ แต่ท่านหัวเราะบ้าง ยิ้มบ้าง ให้พรบ้าง ถูกอกถูกใจท่านยิ่งนัก!

ผู้ที่มาอาบน้ำหรือสรงน้ำให้ท่าน ไม่ใช่มีคนเดียว ทยอยมากันเป็นร้อยๆ พันๆ คน คนแล้วคนเล่าที่มาขัดถูผิวกายของท่านด้วยแปรงลวดทองเหลือง

“ระวังหลวงพ่อเจ็บ!” บางคนเอ่ยขึ้นเพราะเพิ่งมาใหม่…

“อ๊ะ! ไม่เป็นอะไรหรอกโยม!”


“หลวงปู่ยิด กล่าวยิ้มๆ แรงๆ ยิ่งดี...หนึ่งปีครั้ง ใครไม่ขัดต้องรอปีหน้า!”


“ยิ่งขัดแรงๆ ยิ่งได้บุญ…โยมขัดแรงๆ ไม่ต้องเกรงใจอาตมา”


“หลวงพ่อ…อาบน้ำ…สรงน้ำ ขัดด้วยแปรงลวดนี้ เป็นปริศนาธรรมหรือเปล่าครับหลวงพ่อ! ?”  บางคนถามอย่างสงสัย

“คิดเอาเองซิ…..โยม!” หลวงปู่ยิดกล่าวด้วยอารมณ์ดี


บางคนคิดว่าเป็นปริศนาธรรม พลางพูดกับพวกตนเองว่า

“พวกเราไม่ควรนำเอาแปรงลวดขัดหลวงพ่อ เพราะหลวงพ่อหมดกิเลสแล้ว แต่พวกเราน่าจะขัดตัวพวกเราเอง….”


“ใช่ซิ! พวกเรามันพวกกิเลสหนา….ต้องขัดแรงๆ กิเลสถึงจะหลุด!” บางคนคล้อยตาม บางคนพูดออกทะเล้นว่า….“ก่อนกิเลสจะหลุด…หนังกำพร้ามันจะหลุดไปหมดก่อนนะนา!” เรียกเสียงฮาได้พอสมควรทุกๆ ปี

ที่น่าประหลาดคือ หลังจากอาบน้ำแล้ว หลวงพ่อจะมีวรรณะผุดผ่องมากขึ้น มีร่างกายแข็งแรงมากขึ้น…กล่าวว่า ถ้าเป็นคนทั่วไป คนเอาแปรงลวดมาขัดคนแล้วคนเล่ากว่าจะหมดคน เลือดคงแดงทั้งตัว ส่งโรงพยาบาลได้เลย

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • เจดีย์ทอง เรียบเรียง. หน้า ๓๕.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 07:34, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzMzl8MDE5ZmMzNmR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-24 18:47, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MDV8YmEyMWUzM2N8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 09:59

ตอนที่ ๕๑

เทคนิคการฝึกสมาธิ

พระอาจารย์โชติ อาภัคโค

(วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี)

1.png



เมื่อประมาณเดือนสองเดือนก่อนได้มีโอกาสฟังธรรมจาก พระอาจารย์โชติ อาภัคโค แห่งวัดภูเขาแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี มีคำพูดประโยคหนึ่งซึ่งรู้สึกสะดุดใจ คือท่านบอกว่า “ความสงบจะเกิดได้ ต้องไม่รำคาญ”

ท่านบอกว่า ความรำคาญมันจะเป็นอุปสรรคอย่างสำคัญที่กั้นใจไม่ให้สงบ
ฉะนั้น ในเมื่อเราเริ่มฝึกสมาธิก็จงกำหนดให้แน่วแน่อยู่กับอารมณ์กรรมฐาน อย่าปล่อยใจให้ซัดส่ายฟุ้งซ่านไปกับอารมณ์อื่นใด จนใจเกิดความรำคาญ


ในขณะที่ฝึก สมมติว่ามีเสียงดังเข้ามารบกวน เราก็ต้องทำใจให้ได้ คือไม่รำคาญไปกับเสียงนั้น ถ้าเสียงดังเข้ามากระทบหู แล้วเรารู้สึกรำคาญไปกับเสียงนั้นด้วย ใจมันก็จะหลุดจากอารมณ์กรรมฐาน แล้วไปเกาะอยู่กับเสียง ทำให้เสียสมาธิ


ฉะนั้นเวลาทำสมาธิ ถ้าจะให้ได้ผลก็มีความจำเป็นอย่างเหลือเกิน ที่จะต้องปล่อยวางความรำคาญให้ได้ ซึ่งข้อนี้อาจจะยากหน่อย สำหรับคนที่รำคาญเก่งๆ แต่ถ้าเราอยากจะเอาดีทางฝึกสมาธิ ถึงยากก็จะต้องยอม

พยายามฝึกปล่อยวางความรำคาญน้อยลง และก็เลิกรำคาญไปเองในที่สุด ข้อสำคัญ ขอให้ฝึกทำบ่อยๆ เวลาเสียงดังๆ อะไรเข้ามารบกวน ก็จงทำใจให้เป็นปกติ อย่างหลงรำคาญไปกับมัน จงทำใจให้เป็นปกติเข้าไว้ ใจก็จะเข้าถึงความสงบได้ไม่ยาก และนี่ก็คือเทคนิคการฝึกสมาธิอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งได้มาจากพระอาจารย์โชติ อาภัคโค แห่งวัดภูเขาแก้ว

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • โลกลี้ลับ ฉบับที่ ๖๘ ประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๓๓. หน้า ๑๐๖.


รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 07:35, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNDF8OTlhNzhkMGF8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-24 18:52, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MDZ8NmQ4OWEzZjJ8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 10:00

ตอนที่ ๕๒

มหาสติปัฏฐานสูตร

หลวงพ่อกิตติศักดิ์ กิตติสาโร

(วัดป่าหนองหลุบ จ.ขอนแก่น)

1.png



สติปัฏฐานทั้ง ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นสภาพของการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นกับปัจจุบันที่จิตนั้นได้สัมผัสรับรู้อยู่ทุกขณะทุกขั้นตอนว่า นี่คือ ธรรมะที่เป็นขันธ์ ๕ ซึ่งย่อลงมาเหลือ ๒ คือ รูปกับนามเท่านั้น

พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติในแบบวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งท่านย่อลงมาเหลือ ๒ คือ รูปกับนาม ว่าอารมณ์วิปัสสนานั้นมีอยู่ ๖ อย่าง


อารมณ์วิปัสสนา มี ๖ ชนิด เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ก็มี ขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, อริยสัจ ๔, ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อันนี้เป็นอารมณ์วิปัสสนา คือ สิ่งที่ต้องกำหนดรู้ให้ทันปัจจุบัน อันนี้เป็นอารมณ์วิปัสสนาภูมิ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมฝ่ายวิปัสสนาจะต้องทำความเข้าใจว่า อะไรคืออารมณ์สมถะ อะไรคืออารมณ์วิปัสสนา

อารมณ์สมถะ ซึ่งเป็นความสงบ มีอยู่ ๔๐ กองชนิด เรียกว่า กรรมฐาน ๔๐ ก็มี
กสิณ ๔๐, อสุภะ ๑๐, อนุสติ ๑๐, อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑, พรหมวิหาร ๔, จตุธาตุววัตฐาน ๑, อรูปฌาน ๔

เมื่ออาตมาได้เห็นและได้รู้ในสิ่งที่เป็นนิมิตเครื่องหมายก็มาพิจารณาทางธรรมใน จุลลสุญญตาสูตร เกี่ยวกับเรื่องความว่างอย่างเบา มหาสุญญตาสูตร ความว่างอย่างยิ่ง ในมหาสติปัฏฐานสูตร และในธาตุกรรมฐาน ในพระธรรมที่เป็นพระสูตรต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้

เช่นแสดงให้กับพระราหุลว่า……..ดูก่อนราหุล เธอจงครองธาตุดินดยความเป็นอนัตตา อย่าครองธาตุดินด้วยความเป็นอัตตาเลย เธอจงครองธาตุน้ำ ด้วยความเป็นอนัตตา อย่าครองธาตุน้ำด้วยความเป็นอัตตาเลย เธอจงครองธาตุลมด้วยความเป็นอนัตตา เธอจงอย่าครองธาตุลมด้วยความเป็นอัตตาเลย เธอจงครองธาตุไฟด้วยความเป็นอนัตตา เธอจงอย่าครองธาตุไฟด้วยความเป็นอัตตาเลย

อันนี้เป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้กับพระราหุล ก็คือ ทรงแสดงเรื่องความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตน ความว่างเปล่าจากตัวตนในธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งเป็นรูปที่ประชุมกันใหญ่ เรียกว่า รูปใหญ่ๆ มีธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม


และในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในหมวดต่างๆ เรื่องกาย เวทนา จิต ธรรม ก็เข้าไปพิจารณาเห็นกายว่า ที่จริงในอิริยาบถทั้งหลายตั้งแต่ อานาปานสติ ซึ่งเป็นหมวดลมหรือหมวดกายก็ดี ลมหายใจก็เป็นเพียงสักว่าเป็นธาตุลม เพราะในการสรุปข้อสุดท้ายแต่ละหมวดที่พระองค์ทรงสรุปไว้ คือ

เธอเป็นเพียงมีสติที่อาศัยเป็นเครื่องอาศัยระลึก มีสัมปชัญญะเป็นเครื่องรู้ แต่เธอจะต้องไม่ติดอยู่ เธอจะต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลกเลย ก็มองเห็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติของกายก็ดี เป็นธรรมชาติที่ไม่ควรยึดมั่น ว่างเปล่าจากตัวตน เห็นเวทนาก็ดี ทั้งทุกข์ เฉยก็ดี ว่างเปล่าจากตัวตน จิตก็ดี เป็นธรรมชาติว่างเปล่าจากตัวตน แม้ธรรมก็ดีเป็นของว่างเปล่าทั้งนั้น ไม่มีตัวตนในกาย เวทนา จิต ธรรม ในอิริยาบถทั้งหลายและในสติปัฏฐานทั้งหมด เป็นเพียงธรรมะเท่านั้น ซึ่งธรรมะไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

เพราะฉะนั้น แม้การพิจารณาลมหายใจ อาตมาก็พิจารณาดู ออ…ลมหายใจอยู่ในจุลลสุญญตาสูตร มหาสุญญตาสูตรก็ดี พระองค์ทรงตรัสว่า


เธอจงเป็นผู้ไม่มีนิมิต อยู่ในดิน อยู่ในป่า อยู่ในบุคคล อยู่ในสัตว์ เป็นผู้มีสติอยู่กับลมหายใจ เธอชื่อว่าเป็นผู้ก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง บัดนี้เราว่างจากสัตว์ จากบุคคล จากบ้าน จากเรือน จากธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ แต่ไม่ว่างอยู่ธาตุเดียวคือ ภาวะของลม นั่นคือ การก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง จนกระทั่งสุดท้ายก็ว่างเปล่าไม่มีตัวตน

เพราะฉะนั้นในธาตุดิน ธาตุน้ำ ก็เป็นธรรมชาติที่ว่างเปล่า ว่างเปล่าจากตัวตน ไม่มีตัวตนในสิ่งที่เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม นั่นคือธรรมชาติที่เป็นรูปธรรม ส่วนนามธรรมก็คือ จิตใจ มโน วิญญาณเหล่านี้เป็นพยัญชนะที่เรียกตามกัน แต่ความหมายก็คือ ธรรมชาติรู้ ธาตุรู้


ธาตุรู้เป็นนามธรรม สิ่งที่ถูกรู้ก็เป็นเพียงรูปธรรม นามธรรมก็ว่างเปล่าจากตัวตนในธาตุรู้ สิ่งที่ถูกรู้รูปธรรมที่ประชุมกันอยู่เท่านั้น ทั้งผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้ต่างว่างเปล่าทั้งนั้น นั่นคือ ธรรมชาติที่เป็น สุญตา

สุญตา คือ ความว่าง ที่มีอยู่ในความมี และไม่เป็นอะไรที่ไม่มี จะเป็นคนเป็นสัตว์ มันมีอยู่ในสภาวะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเพียงรูปธรรมและนามธรรมอาศัยซึ่งกันและกัน เกิดดับเท่านั้น จิตใจก็จะดำเนินอยู่ในสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูก


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ คือ การแจกแจงเกี่ยวกับเครื่องสืบต่อที่มีอยู่ในชีวิตของเรา คือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับสัมผัส ใจกับอารมณ์ทั้งหลาย ถ้ามองเห็นว่าอายตนะทั้งภายนอกและภายในเป็นรูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น

มีความเห็นอย่างนี้ชื่อว่า เป็นความเห็นถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นถูกหยั่งลงชื่อว่า เป็นผู้มีความดำริถูก เมื่อมีความดำริถูก วาจาก็ย่อมพูดถูก การกระทำก็ย่อมทำถูก ความเป็นอยู่หรือสัมมาอาชีพ ความผ่องแผ้วของใจก็จะถูกต้อง ฉะนั้น ความเพียรสัมมาวายามะก็จะถูก สติที่ระลึกก็จะเป็นสติที่ถูกต้อง สมาธิความตั้งมั่นของจิตก็จะเป็นความถูกต้องของจิต เรียกว่า สัมมาสมาธิ

เมื่ออริยมรรคมีองค์แปดเจริญขึ้นอย่างนี้ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของสัตว์นั้นย่อมบริสุทธิ์หมดจด ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ยิ่งด้วยปัญญา ก็คือ กำหนดรู้ทุกขอริยสัตว์ ได้แก่

อุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ หรือยึดมั่นในรูปในนามว่าเป็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ละธรรมที่ควรละยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ ก็คือ อวิชชาตัณหา ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ทำความเจริญยิ่ง ได้แก่ สมถวิปัสสนา ผู้นั้นชื่อว่าได้กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมะที่ควรทำให้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เรียกว่า วิชชา หรือ วิมุตติ คือ ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้

เพราะฉะนั้นบุคคลผู้มีความเห็นอย่างนี้ ทำอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้เจริญอยู่ในอริยมรรคมีองค์แปด เมื่อบุคคลเจริญอยู่ในอริยมรรคมีองค์แปดถูกต้อง ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินไปใน โพธิปักขยธรรม ๓๗ ประการ ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง คือ ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และอริยมรรคมีองค์ ๘ ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย อันนี้คือ สิ่งที่เป็นธรรมะ


เมื่อย่อลงมาเหลือสอง คือ รูปกับนามที่ว่างเปล่าจากตัวตน เป็นการดำเนินอยู่ในธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าที่ไม่ติดกับรูป ไม่ติดกับเสียง ไม่ติดกับความประพฤติที่เศร้าหมอง ไม่ติดกับพระธรรม ไม่ติดกับธรรมะ แม้มีธรรมะก็เป็นสักว่าเป็นธรรม เพราะธรรมะทั้งปวงเป็นของว่างจากตัวตน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
           • “หลวงพ่อกิตติศักดิ์ กิตติสาโร ผู้เข้าถึงหัวใจพระพุทธศาสนา” โลกทิพย์ ๔๐๔ ปีที่ ๒๓ ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖: กองบรรณาธิการ เรียบเรียง. หน้า ๓๐-๓๒.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 07:38, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNDN8NzYxNWEwMTh8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-24 18:54, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MDd8YjQ1OWM4YjZ8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 10:04

ตอนที่ ๕๓

อภัยทาน

พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

(วัดอรัญญวิเวก จ.เชียงใหม่)

1.png



คนที่ไม่เคยทำบุญ เขาก็ทำบุญไม่ได้ เพราะไม่มีศรัทธาที่จะบริจาคทาน เขาไปกราบพระเฉยๆ ส่วนคนที่เคยทำบุญก็ได้แค่การทำบุญเท่านั้น แต่เขาก็ยังรักษาศีลไม่ได้ เราก็ต้องศึกษา คนที่เคยรู้จักทำบุญไว้แล้วก็มารักษาศีลด้วย ก็ได้แค่ทำบุญและรักษาศีลเท่านั้น แต่ยังไปนั่งสมาธิภาวนาไม่ได้ เราก็ควรทำความเข้าใจภูมิปัญญาของแต่ละคน

คนที่เริ่มต้นฝึกหัดนั่งภาวนาทำสมาธิใหม่ๆ เราก็ต้องรู้จักภูมิของเขา คนที่นั่งสมาธิดีแล้วเราก็ควรรู้จักคนกำลังลำเลียงปัญญาพิจารณาเรื่องกิเลส เรื่องธรรมะ ก็ควรที่จะฝึกเราให้รู้ภูมิของเขา ไม่ต้องขัดข้องต่อซึ่งกันและกัน เพราะความสามารถแต่ละบุคคลย่อมไม่สม่ำเสมอกัน การที่จะสม่ำเสมอกันได้ต้องขึ้นอยู่กับการปฏิบัติในขั้นเดียวกัน

คนที่ปฏิบัติได้ขั้นเดียวกัน สมมุติว่าคนทำบุญก็รู้จักว่าทำบุญ แล้วมีความสุขแค่ไหน คนรักษาศีลได้เป็นผู้มีศีลภูมิใจในศีลของตนแค่ไหน จะรู้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องถามใคร คนนั่งเจริญเมตตาภาวนาจิตใจสงบเป็นสมาธิ จะรู้ตนเองว่าจิตเป็นสมาธิมีความสุขแค่ไหน คนที่มีสติปัญญาว่องไวเฉลียวฉลาด ดูกิเลสในหัวใจของตนเองและชำระกิเลสออกไปได้ จะทำให้ตนเองมีความสุขแค่ไหน ทุกคนย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง

“พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนธรรมะสิ่งที่ควรรู้ ควรตรองตามเห็นเป็นจริงได้ตามสภาวะของธรรม พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงสั่งสอนสิ่งที่ไม่มี ไม่สามารถที่จะรู้ได้ หากเรามีความสามารถรู้ได้แค่ไหน เราก็ได้ความสุขแค่นั้น”

บัดนี้ พวกเราก็ต้องพากันตั้งใจ เพื่อจะให้อภัยทานแก่คนที่มีภูมิปัญญาต่ำกว่าตน หากคนที่มีภูมิปัญญาสูงกว่าเรา เราก็ไม่ต้องอิจฉาเขา เพราะเขาเรียนได้สูงกว่าเรา ปฏิบัติได้ดีกว่าเรา เราก็ควรที่จะรู้ตนเอง ท่านจึงให้รู้ตนเอง ไม่ให้ยกตนข่มท่าน หรือไม่ให้อ่อนน้อมถ่อมตนจนเกินไป ตรงนี้สิเป็นเรื่องของกิเลสทั้งนั้นเอง

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ธรรมสาระ เล่มที่ ๒๑ "ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ" ถาวร-กิ่งแก้ว ไชยคุปต์ รวบรวม. ๒๕๔๐-๒๕๔๒. หน้า ๖-๗.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 07:40, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNDV8OWIyMTgyYzF8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-24 18:57, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MDh8YjViZDE5ZjF8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 10:05

ตอนที่ ๕๔

ธรรมดาของชีวิต เป็นเช่นนั้นเอง
1.png



พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า... บรรพชิตก็ตาม ฆราวาสก็ตาม ผู้หญิงก็ตาม ผู้ชายก็ตาม ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า

๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้

๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้


๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้


๔. เราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งของและบุคคลอันเป็นที่รักที่พอใจทั้งหลายทั้งปวงเป็นธรรมดา ไม่อาจล่วงพ้นไปได้


๕. เรามีกรรมเป็นของของตน เป็นผู้รับมรดกของกรรม (หมายความว่าต้องรับมรดกกรรมที่เราทำไว้), มีกรรมเป็นแดนเกิด, มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์, มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย, บุรุษก็ตาม, สตรีก็ตาม ทำกรรมอันใดไว้ก็จักได้รับผลแห่งกรรมนั้น


สัตว์
ผู้มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นธรรมดาไม่อาจล่วงพ้นไปได้ เป็นการบอกสภาวธรรมตามความเป็นจริงว่า มันเป็นอย่างนั้น ถ้าเมื่อไรยังเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย แต่ถ้าปฏิบัติตามหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จักพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตายไปได้

แต่ในระหว่างที่เรายังวนเวียนอยู่ในความแก่ ความเจ็บ และความตาย ความพลัดพรากสูญเสีย และความที่จะต้องเป็นผู้มีกรรม ได้รับผลของกรรม ยังไม่สามารถจะอยู่เหนือกรรมได้ เราก็ควรทำชีวิตให้มีคุณภาพ แก่ก็แก่อย่างมีคุณภาพ

ถึงเวลาเจ็บก็เจ็บอย่างมีสติสัมปชัญญะ เจ็บอย่างเอาความเจ็บมาเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณธรรม โรคทุกอย่างที่เกิดขึ้นแก่เรา ไม่ได้เกิดขึ้นแก่เราคนเดียว เกิดขึ้นแก่คนอื่นด้วย ลองไปดูเถอะที่โรงพยาบาล มันต้องมีเพื่อนร่วมเจ็บกับเราอยู่


ดังนั้นในทางศาสนาจึงบอกให้มีจิตเกื้อกูลต่อกัน มองดูกันในฐานะเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย พอคิดได้อย่างนี้ ความอาฆาตพยาบาท ความเกลียดชัง ความรู้สึกไม่ดีๆ อะไรต่างๆ ถึงจะไม่หายไปหมด มันก็ลดลงไป เพราะเห็นเขาเป็นเพื่อนเราในฐานะหนึ่ง ฐานะเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน ก็ต้องพลัดพรากสูญเสียจากสิ่งที่รักที่พอใจ

นึกถึงความสูญเสียทีไร ก็ให้นึกถึงพระพุทธเจ้าไว้บ่อยๆ ว่า ท่านเสียสละราชสมบัติออกมาบวช ไม่ได้ยึดว่าอะไรเป็นของพระองค์เลย เมื่อมาบวชแล้วก็จาริกไปในที่ต่างๆ แบบอนาคาริกมุนี เป็นมุนีผู้ที่ไม่มีเรือน ไม่มีอะไรเป็นของพระองค์เลย วัดเชตวันที่เขาสร้างถวายก็ถวายสงฆ์ วัดเวฬุวันที่พระเจ้าพิมพิสารสร้างถวายก็ถวายพระสงฆ์ วัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพุทธศาสนาเขาถวายสงฆ์ ไม่ได้ยึดถือเป็นของพระองค์ ไม่มีอะไรเป็นของพระองค์เลยแม้แต่น้อย

ก็เป็นเรื่องที่เป็นกำลังใจให้กับพวกเราที่เป็นชาวพุทธว่า ท่านมีถึงขนาดนั้นแล้ว ท่านยังสละออกมาเป็นผู้ไม่มี แล้วอย่างเราๆ นี่จะมีอะไรสูญเสีย มันเหมือนกับว่าเทียบกับท่านแล้ว มันเทียบกันไม่ได้เลย ถึงเราจะรู้สึกว่ามันเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่สำหรับเรา เมื่อนึกถึงท่านแล้วขี้ปะติ๋วเหลือเกิน คือมันเล็กน้อยเหลือเกินในสิ่งที่เรารู้สึกสูญเสียหมดแล้ว หรือสูญเสียมากมายอะไรอย่างนั้น

ความรู้สึกต่างๆ ของคนเรา ความรู้สึกทุกข์ก็ตาม ความรู้สึกเศร้าโศก ความรู้สึกได้มาต่างๆ ก็ตาม มันอยู่ที่ความรู้สึก มันไม่ได้อยู่ที่สิ่งได้มา หรือสิ่งที่สูญเสียไป ถ้าเป็นมหาวีรสตรี มหาบุรุษ อะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่สูญเสียไปที่คนอื่นรู้สึกว่าเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ แต่สำหรับบุคคลเช่นนั้นไม่ได้รู้สึกว่าเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่อะไรเลย เพราะไม่มีอะไรจะสูญเสีย เพราะไม่ได้ยึดถืออะไรว่าเป็นของตน เป็นแต่เพียงอาศัยใช้ชั่วคราว ตอนที่มีชีวิตอยู่ เพราะในที่สุดเราก็ต้องละสิ่งทั้งปวงไป

ฉะนั้นให้พิจารณาถึงกรรมให้มากๆ ในชีวิตประจำวัน เราทำกรรมทุกวัน เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง มีเจตนาที่จะทำกรรมดีบ้าง กรรมชั่วบ้าง เพียงแต่คิดมันก็เป็นกรรมแล้ว กรรมทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว มันมากมายเหลือเกินในแต่ละวันๆ สลับซับซ้อนกันอยู่ในจิตของเรา สะสมมานานหลายแสนปี หลายล้านปี ในสังสารวัฏที่ยาวนี้


เพราะฉะนั้นให้นึกถึงกรรมว่า เราจะต้องเป็นไปตามอำนาจของกรรม แต่ก็เปลี่ยนแปลงได้ พยายามเปลี่ยนแปลงให้มันดี กรรมก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ แล้วแต่เราจะทำ แล้วแต่เราจะเปลี่ยนแปลงให้มันเป็นอย่างไร เพราะมันไม่เที่ยง ถ้าเราสร้างเหตุปัจจัยให้ดี มันจะเปลี่ยนไปในทางดี ถ้าเราสร้างเหตุปัจจัยไม่ดี มันจะเปลี่ยนไปในทางไม่ดีเช่นกัน

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • หนังสือธรรมดาของชีวิตเป็นเช่นนั้นเอง: มูลนิธิดวงแก้ว ในพระสังฆราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. วศิน อินทสระ เรียงเรียง. สิงหาคม ๒๕๔๙ (พิมพ์ครั้งที่ ๔) หน้า บทสรุป ๑๘๗-๑๙๒.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 07:42, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNDd8NGRiMmE4MjJ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-24 18:58, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MDl8NmZkZjRjNzl8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 10:06

ตอนที่ ๕๕

บัณฑิตสามเณร

1.png


พระบรมศาสดาทรงตรัสว่า...
“การฝึกฝนตนนั้นเป็นคุณธรรมอย่างสูง ฉะนั้น ควรที่ทุกคนควรเริ่มฝึกฝนตนได้แล้ว โดยวิธีการต่างๆ แล้วแต่ถนัด ขอให้เป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นเป็นใช้ได้”

ดั่งมีใจความดำเนินเรื่องดังนี้คือ ในกาลอันล่วงมาแล้วช้านาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า “กัสสป” มีพระขีณาสพสองหมื่นรูปเป็นบริวารได้เสด็จไปสู่กรุงสาวัตถี ชาวกรุงสาวัตถีได้ถวายอาคันตุกทาน รวมกัน ๘ คนบ้าง ๑๐ คนบ้าง ต่อมาวันหนึ่ง เมื่อเสร็จจากภัตกิจแล้ว พระศาสดาได้ทรงทำอนุโมทนาว่า

“อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้คิดว่า เราให้ของซึ่งเป็นของตนเองเท่านั้น ไม่ชักชวนผู้อื่น จึงให้ทานด้วยตนเองเท่านั้น เขาย่อมได้โภคสมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ ในที่ๆ ตนเกิดแล้ว

บางคนชักชวนคนอื่น ไม่ให้ด้วยตนเอง เขาย่อมได้บริวารสมบัติ ไม่ได้โภคสมบัติ ในที่ๆ ตนเกิดแล้ว บางคนไม่ให้ด้วยตนเอง ทั้งไม่ชักชวนผู้อื่น เขาย่อมไม่ได้บริวารสมบัติทั้งไม่ได้โภคสมบัติ ในที่ๆ ตนเกิดแล้ว บางคนให้ด้วยตนเองบ้าง ทั้งชักชวนผู้อื่นบ้าง เขาย่อมได้ทั้งบริวารสมบัติ ได้ทั้งโภคสมบัติ ในที่ๆ ตนเกิดแล้ว”

ชายบัณฑิตคนหนึ่ง ซึ่งยืนฟังอยู่ในนั้น มีความประสงค์อยากได้ทั้ง ๒ อย่าง จึงกราบทูลขอนิมนต์พระองค์พร้อมด้วยบริวารสองหมื่นรูป เสด็จไปในเรือนของเขา จากนั้นเขาก็ป่าวประกาศให้ชาวเมืองได้รู้

ในเมืองนั้น มีชายยากไร้เข็ญใจอยู่คนหนึ่ง นามว่า “มหาทุคคตะ” ชายบัณฑิตนั้นจึงชวนเขาให้มาทำบุญร่วมกัน แต่มหาทุคคตะ กล่าวว่า “โอ......ไม่ไหวแล้วเพื่อนเอ๋ย การถวายทานนั้นเป็นหน้าที่ของคนมีทรัพย์ ส่วนเราซิ ! ข้าวจะกินเช้าเย็นก็ไม่มี แล้วเราจะเอาที่ไหนมาถวายแก่ภิกษุเล่า ไม่เอาแล้วเพื่อนยาก”

ธรรมดาผู้ชักชวนย่อมเป็นผู้ฉลาด ถึงทุกคนจะบอกปฏิเสธเท่าไหร่ ก็หาทางชักชวนจนได้ ดังว่า.. เพื่อนยาก...ชาวพระนครที่นอนสูง บริโภคอาหารที่ดีๆ เพราะเขาได้ทำบุญไว้แต่ชาติปางก่อน ส่วนเพื่อน ! หาเช้ากินเย็น ก็ยังไม่ได้อาหารพอเต็มท้อง นั้นแหละ...ขอให้เพื่อนรู้ไว้เถิด เพราะไม่ได้ทำบุญกุศลไว้แต่ชาติปางก่อนละ”

มหาทุคคตะ “ข้อนั้นเรารู้ดี”

ชายบัณฑิต “เมื่อรู้แล้ว ทำไมเพื่อนจึงไม่ทำตามเล่า ขณะนี้เพื่อนก็ยังหนุ่มๆ มีเรี่ยวแรงแข็งขัน แกทำงานรับจ้างแล้วให้ทานตามกำลังจะไม่ควรละหรือ”

มหาทุคคตะ เมื่อได้ยินคำพูดเช่นนั้น ก็เกิดความสังเวชสลดใจ เลยบอกชายบัณฑิตว่า ตนมีศรัทธาเลี้ยงอาหารแก่ภิกษุเพียงรูปเดียวเท่านั้น

ครั้นมหาทุคคตะไปสู่เรือนตนแล้ว พอบอกภรรยาของเขาก็มีความยินดี โดยมิได้ว่ากล่าวว่าสามีแต่ประการใด แต่กลับพูดว่า “เราทำดีแล้ว ชาตินี้เราทุกข์เข็ญใจ เห็นจะไม่ได้ทำบุญกุศลไว้แต่ปางก่อนกระมัง เอาเถอะ...เราทั้ง ๒ คน ไปทำงานรับจ้าง แล้วเอารายได้นั้นมาซื้ออาหารถวายแก่ภิกษุสักรูปหนึ่งเถิด”

ดังนั้น เขาจึงไปทำงานรับจ้างอยู่ในบ้านของเศรษฐี โดยไม่เลือกประเภทของงาน เศรษฐีจึงกล่าวว่า “ดีแล้ว...พรุ่งนี้เราจะเลี้ยงพระ ๒๐๐-๓๐๐ รูป ขอให้เธอมาผ่าฟืนให้แก่เราเถิด” ว่าแล้วก็มอบมีดและขวานให้ มหาทุคคตะขะมักเขม้นอย่างแข็งขันด้วยความอุตสาหะ คว้ามีด วางขวาน ทิ้งขวาน ฉวยมีด ผ่าฟืนไป ข้างฝ่ายภรรยาของเขาก็ไปทำงานรับจ้างในเรือนเศรษฐีเช่นเดียวกัน โดยทำการตำข้าว ซึ่งนางทำด้วยความยินดีร่าเริงยิ่ง

ด้านเศรษฐีและภรรยาเห็นความขยันขันแข็งของทั้งสอง ดังนั้นจึงเพิ่มรางวัลให้เป็นพิเศษ และเลื่อมใสที่เขาทั้งสองจะทำบุญเลี้ยงพระ จึงให้สินจ้างแก่พวกเขาไปมากมาย แล้วทั้งสอง เมื่อได้ค่าจ้างก็กลับมาสู่เรือน จัดแจงทานไว้สำหรับภิกษุ

ครั้นถึงรุ่งเช้า มหาทุคคตะจึงออกบ้านเพื่อเก็บผักตามประสาคนจน พร้อมทั้งร้องรำทำเพลงไปตามทาง เมื่อชาวประมงได้ยินเสียงก็จำได้ เรียกเขาเข้าไปหา แล้วถามว่า

“แกจะทำอะไร จึงได้ร่าเริงนัก” มหาทุคคตะ ตอบว่า “พรุ่งนี้...เราจะเลี้ยงพระหนึ่งรูป”  “เออ...ดีแล้ว พระที่เลี้ยงจักอิ่มไปด้วยผัก”

“โธ่ ! เพื่อนเอ๋ย...จักทำอย่างไรได้ ก็เรามันจนนี่นา” “ถ้าอย่างนั้น...ขอให้เพื่อนไปเอาปลากับเราก็แล้วกัน” ว่าแล้ว จากนั้นก็ร้อยปลาตะเพียนจำนวน ๔ ตัวให้ไป และก็ในวันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาเช้าตรู่ ก็เห็นมหาทุคคตะเข้าไปปรากฏในข่ายแห่งพระญาณ จึงทรงดำริว่า

“เหตุอะไรจักเกิดขึ้นหนอ ! ทรงทราบว่ามหาทุคคตะจักเลี้ยงภิกษุรูปหนึ่ง แต่หากเว้นจากเราเสีย มหาทุคคตะจักไม่ได้ภิกษุเลย” นั่นเป็นเพราะชายบัณฑิตข้างต้นไม่ได้ใส่ใจ เลยไม่ได้เขียนชื่อมหาทุคคตะว่าเป็นผู้ถวายทานแก่ภิกษุด้วยผู้หนึ่ง

“เอาเถอะ เราจักทำการสงเคราะห์ชายยากจนคนนี้” ดำริเสร็จแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงประทับอยู่ในพระคันธกุฏีนั่นเอง

ฝ่ายผู้จัดการทาน ได้จัดภิกษุส่งไปสู่เรือนของพวกชนเหล่านั้นๆ ตามความประสงค์ ครั้นพอถูกมหาทุคคตะทวนก็ได้สติขึ้นมาในขณะนั้นว่า “โธ่...ตาย! อย่าให้ฉันฉิบหายเลย ฉันลืมจริงๆ ขณะนี้ภิกษุก็จัดให้คนอื่นหมดแล้ว เอาอย่างนี้เถอะ...ขอให้คุณลงไปกราบทูลพระศาสดาในวิหารเถิด”

แล้วเขาก็รีบเดินดุ่มไปกุฏิโดยทันที ครั้นเมื่อถึงแล้วก็ได้กราบบังคมทูลว่า “พระเจ้าข้า...ขอพระองค์จงทำความสงเคราะห์แก่คนยากเถิด”

ฝ่ายพระราชาและยุพราชคอยทอดพระเนตรดูอยู่ ก็ได้เห็นพระศาสดามอบบาตรให้แก่มหาทุคคตะนำไป ชาวเมืองทั้งหลายเมื่อเห็นมหาทุคคตะได้บาตรของพระศาสดาไป ก็คิดอิจฉา จึงเข้ารุมล้อมขอบาตรจากเขา และต่างก็พูดว่า “มหาทุคคตะ! ขอให้ท่านจงรับเอาเงินหนึ่งแสน..สองแสน..สามแสนนี้เถิด เพราะท่านเป็นคนทุกข์ยาก”

มหาทุคคตะกล่าวว่า “ข้าพเจ้าไม่ให้ จะถวายภัตตาหารแด่พระศาสดา” ดังนั้นชาวเมืองต่างอ้อนวอนขอบาตรพระศาสดา เมื่อไม่ได้จึงกลับไปด้วยความผิดหวัง เมื่อมหาทุคคตะนำบาตรพระศาสดามาแล้ว ก็จัดแจงถวายอาหารแด่พระองค์ หลังจากนั้นเมื่อพระศาสดาทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงทำอนุโมทนา และเสด็จลุกจากอาสนะ โดยมีมหาทุคคตะตามส่ง

ชั่วอึดใจต่อมา ครั้นเขากลับมาสู่เรือนตนแล้ว ก็ปรากฏว่าภายในเรือนของตนเต็มไปด้วยแก้ว ๗ ประการ มหาทุคคตะจึงคิดว่า “โอ...ทานของเรา ให้ผลในวันนี้” จากนั้นเขาก็ได้กลายเป็นเศรษฐีในพระนคร และเขากับภรรยาก็ตั้งหน้าทำบุญมาเรื่อยจนสิ้นอายุ

เมื่อเขาจุติ (ตาย) แล้วก็ไปบังเกิดในแดนสวรรค์ ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ จนสิ้นพุทธันดรหนึ่ง แล้วจุติจากชาตินั้นมาถือปฏิสนธิในท้องของตระกูลอุปัฏฐากของพระสารีบุตรเถระ ในกรุงสาวัตถี ลำดับนั้น นางจึงเกิดแพ้ท้องขึ้น คิดอยากถวายทานแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งมีพระสารีบุตรเถระเป็นประมุข เมื่อนางได้ถวายทานแล้ว ความแพ้ท้องก็ระงับไป ในขณะที่เด็กอยู่ในท้อง นางได้ทำการมงคลถึง ๗ ครั้ง

เมื่อครบกำหนดแล้ว นางก็คลอดตามสบาย ในวันตั้งชื่อ นางได้นิมนต์ภิกษุ ๕๐๐ รูป มีธรรมเสนาบดีเป็นประมุข เมื่อเสร็จจากภัตกิจแล้ว พระสารีบุตรจึงถามว่า “เด็กนี้ชื่ออะไร” หญิงตอบว่า “เมื่อเด็กนี้เกิดแล้วในเรือนนี้ คนตาบอด หูหนวกได้หายหมดพระเจ้าข้า”

พระสารีบุตรท่านจึงว่า ฉะนั้นควรชื่อ “บัณฑิต” พอบัณฑิตมีอายุได้ ๗ ขวบ ญาติพี่น้องก็ได้เอาไปมอบไว้กับพระสารีบุตรเถระ เพื่อให้บวชในสำนักของท่าน พระสารีบุตรก็ได้บวชให้ตามความประสงค์ หลังจากบัณฑิตบรรพชาแล้ว ก็ได้ตั้งใจบำเพ็ญความเพียร ในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหัตผลตั้งแต่อายุได้ ๗ ปี

4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • หนังสือโลกลี้ลับ ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๓๕ ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๐: ภักดี เรียบเรียง. หน้า ๗๔-๗๗.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 07:43, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNDl8ZGQ4ZTQ0YjZ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-24 19:01, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MTB8ODNlNWZlYmN8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 10:11

IMG_6443.1.JPG


ตอนที่ ๕๖

ประวัติและข้อธรรม-คำสอน

และการใช้พระผงจักรพรรดิและลูกแก้วจักรพรรดิ

IMG_5095.2.png


โดย

พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร

(หลวงตาม้า)

(วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ)

ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่)

1.png



ชาตะภูมิ


หลวงตาม้า เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๗ ที่ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ในสกุล สุวรรณคุณ โยมบิดามีนามว่า วันดี โยมมารดามีนามว่า โสภา ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๓ คน


เมื่อท่านยังเล็กอยู่นั้น โยมมารดาได้นำท่านไปฝากให้คุณยายเลี้ยงดู ทำให้ท่านมีโอกาสและคุ้นเคยกับการเข้าวัดตั้งแต่เด็ก นอกจากนี้ ท่านยังได้ไปร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่แห่งสายพระป่าด้วย ซึ่งในงานนั้นท่านได้มีโอกาสพบเห็นพระธุดงค์สายพระป่า ผู้มีปฏิปทาจริยวัตรงดงามเรียบร้อย มาร่วมในงานเป็นจำนวนมาก


10.1.png




ชีวิตฆราวาส


ต่อมาหลวงตาได้เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยเข้ามาเป็นเด็กวัดอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรคณะ ๑๑ จากนั้นท่านจึงได้เข้าทำงานอยู่ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ (สมัยนั้นอยู่บริเวณซอยอารีย์) และในช่วงที่ทำงานอยู่นี้เอง เพื่อนคนหนึ่งของท่านได้ไปบวชที่วัดสะแก ท่านก็ได้ตามไปร่วมงานบวชของเพื่อน และได้พบกับหลวงปู่ดู่เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๐


นับแต่นั้น ท่านก็เทียวมาระหว่างกรุงเทพฯ-อยุธยา เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติต่างๆ กับหลวงปู่ดู่เป็นเวลากว่า ๑๐ ปี และมีความรู้สึกอยากบวชมาตลอด เมื่อท่านปรึกษาเรื่องการบวชกับหลวงปู่ หลวงปู่ได้ว่า ผู้ที่จะเป็นพระนั้น ใจต้องเป็นพระ บวชจิตให้เป็นพระ ตัวเราก็เป็นพระ ต้องเริ่มจากข้างในไม่ใช่ข้างนอก บางคนข้างนอกห่มจีวรเป็นพระแต่ใจเป็นโจร ก็ไม่เรียกว่าเป็นพระ


10.3.png




เหตุการณ์ก่อนบวช


ถึงแม้ว่าหลวงตาม้าจะยังเป็นฆราวาส แต่ท่านก็ใช้การบวชใจเป็นพระเรื่อยมาจนกระทั่งประมาณ ๑ ปี ก่อนที่ท่านจะออกบวชจริงๆ ขณะที่ท่านขับขี่รถมอเตอร์ไซค์อยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รถของท่านถูกรถอื่นเฉี่ยวจนตัวท่านลอยสูงแล้วตกลงมาหัวโหม่งกับพื้นถนนอย่างรุนแรงจนสลบไป


หลังจากนำตัวส่งโรงพยาบาลแล้ว แพทย์บอกว่ากะโหลกศีรษะของท่านร้าว แต่โชคดีมากที่ไม่มีเลือดคั่งในสมอง และไม่มีบาดแผลรุนแรงใดๆ เลย หลังจากอยู่พักรักษาตัวเพียง ๓ เดือน กะโหลกศีรษะก็ประสานกันดีเหมือนเดิม หลวงตาเล่าให้ฟังว่า วันนั้นท่านแขวนเพียงพระและสวมแหวนของหลวงปู่ดู่เท่านั้น


10.4.png




บวชพร้อมทั้งกายและใจ


หลังจากที่ได้ผ่านการบวชจิต ได้รับการศึกษาแนวทางปฏิบัติต่างๆ จากหลวงปู่มาอย่างเต็มภูมิ และได้ผ่านอุบัติเหตุครั้งใหญ่แล้ว หลวงตาก็พร้อมจะบวชเป็นพระทั้งกายและใจ หลวงปู่ได้บอกว่า เวลาบวชต้องดูอุปัชฌาย์ ถ้าอุปัชฌาย์ไม่เป็นพระเราก็เป็นพระไม่ได้ แต่เนื่องจากหลวงปู่ดู่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์


หลวงตาจึงได้ไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๑ ณ วัดพุทไธศวรรย์ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีพระครูภัทรกิจโสภณ (หลวงพ่อหวล) เจ้าอาวาสวัดพุทไธศวรรย์ (สมณศักดิ์ปัจจุบันคือ พระพุทไธศวรรย์วรคุณ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุนทรธรรมนิเทศ (บุญส่ง) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูพิจิตรกิจจาทร (เสน่ห์) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า " วิริยธโร "


10.5.png




บำเพ็ญบารมีธรรม


หลังจากบวชแล้ว หลวงตาต้องการจะออกธุดงค์เลย แต่หลวงพ่อหวลได้บอกให้ท่านอยู่ให้ครบพรรษาเสียก่อน ขณะที่จำพรรษาอยู่วัดพุทไธศวรรย์นั้น หลวงพ่อหวลผู้สืบทอดวิชาสายหลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช และวิชาเหล็กไหลจากสายหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ยังจะถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆ ให้กับหลวงตาม้าด้วย


ทั้งที่ปกติท่านไม่เคยถ่ายทอดวิชาให้ใคร แต่หลวงตาก็ไม่ขอเรียน เพราะท่านรู้สึกว่าเรื่องของคาถาอาคมมีพิธีกรรมมาก ต้องใช้เวลาเรียนและจดจำมาก และตัวท่านเองก็สนใจแต่การปฏิบัติตามแนวทางของหลวงปู่ดู่เพียงองค์เดียวเท่านั้นมาตลอด


หลังออกพรรษา หลวงตาก็มากราบลาหลวงปู่เพื่อออกธุดงค์ หลวงปู่จึงมอบเงินให้หลวงตาไว้ ๕๐๐ บาท รวมทั้งของใช้จำเป็นต่างๆ และได้หันไปหยิบรูปหล่อหลวงปู่ดู่เนื้อปูน มาให้หลวงตา ๑ องค์ และบอกกับหลวงตาว่า เอ็งไปไหน ข้าไปด้วย หากสงสัยอะไรในการปฏิบัติให้แกถามเอาจากพระองค์นี้


หลังจากกราบลาหลวงปู่ดู่แล้ว หลวงตาได้เดินทางโดยรถไฟไปยังเชียงใหม่ แล้วเริ่มออกธุดงค์ กำหนดจิตตามหาสถานที่ที่มีกระแสพลังงานเกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่ดู่ไปเรื่อยๆ จนไปถึงวัดพระพุทธบาทสี่รอย อำเภอแม่ริม ท่านได้พบกับผู้เฒ่าคนหนึ่งที่ได้บอกเล่าถึงตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว ว่ามีถ้ำที่มีบรรยากาศสงบสัปปายะ เหมาะกับการปฏิบัติธรรม ซึ่งท่านได้ฟังแล้วรู้สึกว่ามีลักษณะคล้ายกับที่ตามหาอยู่ ท่านจึงได้ออกธุดงค์ต่อไปยังตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว


เมื่อธุดงค์มาถึงตำบลเมืองนะ ในช่วงแรกหลวงตาได้ไปพักอยู่ที่ ถ้ำฮก ซึ่งหลวงตาได้อยู่ปฏิบัติธรรมที่ถ้ำนี้ประมาณ ๑ เดือน แต่เนื่องจากถ้ำฮกเป็นถ้ำลึกที่มีทางน้ำใต้ดินไหลผ่าน ถ้ำมีความชื้นมาก ไม่สะดวกแก่การอยู่ปฏิบัติธรรมนัก ท่านจึงได้ออกธุดงค์หาถ้ำอื่นต่อไป


หลังออกจากถ้ำฮก หลวงตาได้ธุดงค์ตามกระแสพลังงานของหลวงปู่ดู่ไปเรื่อยๆ จนได้พบกับ ถ้ำเมืองนะ ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นไม้ขึ้นปกคลุมมากจนมองไม่เห็นปากถ้ำ แต่เมื่อแหวกต้นไม้เข้าไปกลับพบว่า ในถ้ำซึ่งเป็นถ้ำร้างนั้น กลับสะอาดสะอ้านมาก เหมือนมีใครมาปัดกวาดเช็ดถูอยู่ทุกวัน


ท่านจึงได้กำหนดจิตดู ก็พบว่าใต้ถ้ำแห่งนี้เป็นเมืองบาดาล และมีพญานาคอยู่เป็นจำนวนมาก คอยเฝ้ารักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่ทวดและหลวงปู่ดู่เอาไว้ ท่านจึงตัดสินใจอยู่ปฏิบัติธรรมที่ถ้ำเมืองนะแห่งนี้เรื่อยมา


หลังจากจำพรรษาที่ถ้ำเมืองนะได้ไม่นาน ก็มีลูกศิษย์หลวงปู่ดู่ตามขึ้นมาหาหลวงตา และเล่าให้ฟังว่า หลวงปู่เล่าให้เขาฟังหมดทุกอย่าง ว่าหลวงตาจะไปอยู่ที่ถ้ำไหน ลักษณะของถ้ำเป็นอย่างไร ทั้งที่หลวงปู่ไม่เคยมาที่ถ้ำแห่งนี้ และไม่เคยออกจากกุฏิของท่านที่อยุธยาเลย และในเวลาต่อมา หลวงปู่ดู่ยังได้เมตตาอธิษฐานจิตพระหน้าตัก ๑๙ นิ้วองค์หนึ่ง ให้ลูกศิษย์นำขึ้นมาถวายให้หลวงตาประดิษฐานไว้ในถ้ำเมืองนะแห่งนี้อีกด้วย


นอกจากถ้ำเมืองนะจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่ดู่แล้ว ถ้ำนี้ยังมีความเกี่ยวพันกับหลวงตาเป็นอย่างมาก หลวงตาเล่าว่า บริเวณกุฏิของท่านในปัจจุบันนี้ ตอนที่พบครั้งแรกท่านรู้สึกคุ้นเคยมาก รู้สึกว่ายังไงก็ต้องเอาตรงนี้เป็นที่พักให้ได้


ท่านจึงได้กำหนดจิตดู ก็พบว่าที่ตรงนี้เคยเป็นวัดมาก่อนตั้งแต่สมัยอยุธยา และบริเวณนี้เป็นที่ที่ท่านซึ่งเป็นพระในสมัยนั้นเคยอยู่จำพรรษามาก่อน โดยท่านได้พบหลักฐานเป็นบาตรดินเก่าที่แตกหัก ซึ่งเป็นบาตรเก่าของท่านตั้งแต่สมัยนั้นอยู่ในบริเวณนี้ด้วย



พระผง.jpg



ประวัติการสร้างพระผงกรรมฐาน

        

ในช่วงประมาณ ๓ ปีแรก ที่หลวงตามาปฏิบัติธรรมอยู่ถ้ำเมืองนะนั้น ท่านจะจำวัดในโลงศพเสมอ และยังได้ตั้งจิตอธิษฐานเร่งความเพียรปฏิบัติธรรมอยู่แต่ภายในบริเวณถ้ำโดยไม่ออกไปไหน เพื่อหวังจะได้บรรลุนิพพานในชาตินี้ แต่หลังจากที่ท่านเร่งปฏิบัติธรรม พิจารณาทบทวนธรรมะต่างๆ ที่หลวงปู่ดู่ได้ถ่ายทอดไว้ให้แล้ว ท่านก็ได้พบกระแสพลังงานเก่าของตนเอง ว่าท่านเคยปฏิบัติธรรมสร้างบารมี ตามแนวทางพระโพธิสัตว์ เช่นเดียวกับหลวงปู่ดู่ ครูบาอาจารย์ของท่าน
        

ต่อมา เมื่อหลวงปู่ดู่มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๓ ท่านจึงได้ออกจากถ้ำ เพื่อมาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ โดยหลวงตาได้พิจารณาว่า เมื่อหลวงปู่ไม่อยู่แล้ว ก็ไม่มีใครคอยเป็นหลักในการแผ่เมตตาช่วยเหลือภพภูมิต่างๆ แทนหลวงปู่เลย ในขณะที่ตัวท่านเองเป็นลูกศิษย์ ที่ได้ศึกษากระแสพลังงานเหนือพลัง และความรู้ต่างๆ จากหลวงปู่มาอย่างเต็มภูมิ


รวมทั้งได้มาอยู่ที่ถ้ำเมืองนะ ซึ่งมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รวมกระแสพลังงานอันไม่มีประมาณของหลวงปู่ทวดหลวงปู่ดู่เอาไว้อีกด้วย ท่านจึงควรจะช่วยทำหน้าที่วางรากฐาน และเผยแพร่แนวทางการปฏิบัติธรรม สร้างบารมี ช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลาย และสร้างพระเครื่องเพื่อใช้ในการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของหลวงปู่ดู่ต่อไป


ในครั้งแรก หลวงตาไม่มั่นใจนักว่าจะสามารถทำหน้าที่แทนหลวงปู่ได้หรือไม่ จึงได้อธิษฐานจิตว่า ถ้าจะให้ท่านทำหน้าที่แทนหลวงปู่ได้ ขอให้หลวงปู่นำของที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่มาให้ภายใน ๓ เดือน


ซึ่งหลังจากท่านอธิษฐานได้เพียง ๒ เดือน ก็มีลูกศิษย์ของหลวงปู่ขึ้นมาที่ถ้ำ และมอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่กายของหลวงปู่ชิ้นหนึ่งให้กับท่าน ทั้งที่เขาบูชาของสิ่งนั้นมาในราคาแพงหลักแสน โดยเขากล่าวว่า อยู่กับเขาก็ไม่มีประโยชน์อะไร อยู่กับหลวงตามีประโยชน์กว่า และหลังจากนั้นก็เริ่มมีคนนำมวลสารของหลวงปู่ดู่มาถวายให้ท่านมากมายหลายอย่าง


ท่านจึงได้เริ่มเผยแพร่แนวทางการปฏิบัติธรรมในสายโพธิญาณ แล้วสร้างพระตามแนวทางของหลวงปู่ดู่เรื่อยมา ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบัน โดยทำเป็นพิมพ์ต่างๆ เช่น พระสมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิประทับยืนปางเปิดโลก พระเหนือพรหม หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ พระศรีสยามเทวาธิราช ฯลฯ รวมถึงลักษณะปั้นเป็นลูกกลมๆ เรียกว่า ดวงแก้วมณีนพรัตน์


การที่หลวงปู่ดู่และหลวงตาม้าจัดสร้าง หรืออนุญาตให้สร้างพระเครื่องพระบูชา ก็เพราะเห็นว่า ยังมีบุคคลจำนวนมากที่ขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และเนื่องเพราะศิษย์หรือบุคคลนั้นมีทั้งที่จิตใจใฝ่ธรรมล้วนๆ กับที่ยังต้องพึ่งพิงกับวัตถุมงคลอยู่


หลวงปู่ดู่เคยกล่าวเป็นข้อคิดไว้ว่า “ติดวัตถุมงคล ก็ยังดีกว่าที่จะให้ไปติดวัตถุอัปมงคล” เพราะอย่างน้อยก็เป็นการดึงให้ใจอยู่กับพระเครื่อง การได้เห็นพระนับเป็นพุทธานุสติ ใจย่อมเป็นบุญ ซึ่งดีกว่าปล่อยให้ใจไปติดอยู่กับเหล้ายาหรือกิเลสสิ่งไม่ดีอื่นๆ


การสร้างพระของหลวงตานั้น ท่านจะนำมวลสารต่างๆ ของหลวงปู่ดู่มาผสมรวมกับปูนซีเมนต์ขาว และน้ำมนต์จักรพรรดิ จากนั้นจึงนำไปกดพิมพ์ออกมา แล้วนำไปอธิษฐานจิตปลุกเสก ด้วยกระแสพลังเหนือพรหมแห่งพระคาถามหาจักพรรดิ นอกจากนี้ พระเครื่องของหลวงตาทุกองค์ ยังได้ผ่านการอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยวิชาภูตพระพุทธเจ้า จึงทำให้พระเครื่องของท่านสามารถดิ้นได้พูดได้ราวกับมีชีวิต


ดังนั้น ผู้ปฏิบัติที่หมั่นนำพระของท่านไปกำสวดมนต์ภาวนาอยู่เสมอ จนจิตสงบเบาสบาย และสามารถจูนพลังงานจิตของตน ให้เข้ากับพลังเหนือพลังอันบริสุทธิ์ที่ท่านได้อธิษฐานไว้ในพระได้ ย่อมสามารถนำพระของท่านมาใช้กำภาวนา ถามตอบแนวทางการปฏิบัติธรรมต่างๆ ได้ เสมือนราวกับว่ามีหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า มาช่วยเหลือคอยตอบข้อสงสัยต่างๆ อยู่เบื้องหน้าตนเลยทีเดียว


นับแต่ครั้งแรกที่เริ่มสร้างพระจนถึงปัจจุบันนั้น หลวงตาได้สร้างพระผงกรรมฐานตามแนวทางของหลวงปู่ดู่ไว้แล้วมากกว่า ๑๐ ล้านองค์ ท่านจะสร้างพระทุกวันพระ ส่วนหนึ่งท่านจะเก็บไว้ในไห แล้วนำไปไว้ตามถ้ำหรือวัดต่างๆ เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาต่อไป และพระอีกส่วนหนึ่ง ท่านจะนำมาแจกให้ลูกศิษย์นำไปใช้กำสวดมนต์เจริญภาวนากัน โดยท่านสร้างพระผงกรรมฐานนี้ไว้เพื่อแจกเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ทำเพื่อจำหน่าย


หลวงตากล่าวว่า พระผงกรรมฐานนี้ ใครอยากได้ต้องมาขอที่ถ้ำ ท่านจะมอบพระที่เลี่ยมพลาสติกแล้วพร้อมประคำให้ ท่านบอกว่าถ้าไม่เลี่ยมให้ เมื่อได้ไปแล้ว ก็มักจะเอาไปวางไว้ ไม่เอามาใช้สวดมนต์ภาวนากัน ส่วนประคำก็ร้อยให้เพื่อจะได้นำพระมาห้อยคอ เพื่อใช้ปฏิบัติธรรมได้เลย


9.1.jpg



หลวงปู่ดู่ เคยกล่าวไว้ว่า

“ ถ้าใช้พระเป็น ถึงนิพพานได้เลย ”

a.png



พระผงกรรมฐาน เป็นพระใช้ มิใช่พระเก็บหรือสะสมเอาไว้เฉยๆ ในตู้ และไม่มีกำหนดว่ารุ่นใดเป็นรุ่นหนึ่งรุ่นสอง เพราะหลวงตาม้าและศิษย์ที่ได้รับการครอบวิชาให้สามารถสร้างพระตามสูตรนี้ได้นั้น มีการสร้างพระอยู่เรื่อยๆ


การเก็บพระผงกรรมฐานเอาไว้เฉยๆ ไม่คล้องคอติดตัว ไม่แช่ถังน้ำในบ้านเพื่อทำน้ำมนต์ไว้กินและอาบ ไม่ใช้เพื่อการปรับภพภูมิช่วยส่งวิญญาณ ถือว่าเสียประโยชน์เปล่า เสมือนกับมีเงินทองแล้วไม่รู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งตนเองและผู้อื่น


10.6.png




แสงสว่างแห่งบุญจากพระเครื่องของหลวงตา


กระแสพลังงานแห่งบุญบารมีอันบริสุทธิ์ ที่หลวงตาได้อธิษฐานจิตรวมลงสู่พระเครื่องของท่านทุกองค์นั้น นอกจากจะสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมจากพระธรรมธาตุที่เกิดขึ้นบนพระเครื่องที่ท่านสร้างแล้ว ยังมีลูกศิษย์หลายคนได้เคยเห็นกระแสพลังงานแห่งบุญอันสว่างไสวนั้นอย่างชัดเจนด้วยตนเองอีกด้วย


โดยเวลานำพระเครื่องมาใช้สวดมนต์ภาวนานั้น หลวงตามักจะแนะนำให้ปิดไฟ หรือจุดเทียนไว้ให้มีแสงสว่างเพียงไม่มาก เพื่อให้มีบรรยากาศสงบสัปปายะเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม และยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถพิสูจน์ศึกษากระแสพลังงานแห่งบุญได้ด้วยตนเองอีกด้วย


โดยมีลูกศิษย์ที่นำพระของท่านไปหลับตาสวดมนต์และปิดไฟในห้องมืดสนิท แต่กลับเห็นแสงสว่างสีนวลๆ ส่องผ่านเปลือกตาที่หลับอยู่เข้ามาอยู่เสมอ บางคนก็ตกใจ ลืมตาดูว่าแสงอะไร แต่เมื่อลืมตาดูก็พบแต่ห้องมืดสนิท ปราศจากแสงใดๆ ส่องผ่านมา โดยแสงสว่างเหล่านี้ ไม่ใช่จะเห็นเฉพาะตอนหลับตาสวดมนต์ภาวนาเท่านั้น บางคนแม้ลืมตาอยู่ก็สามารถมองเห็นแสงสว่างนั้นได้เช่นกัน


หลวงตาได้เมตตาอธิบายว่า นั่นคือแสงสว่างแห่งบุญ ทุกครั้งที่เราได้ทำบุญ ไม่ว่าจะเป็นใส่บาตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ ฯลฯ จะมีแสงสว่างแห่งบุญนั้นปรากฏขึ้นเสมอ เพียงแต่จิตเรายังไม่สบายหรือนิ่งละเอียดพอที่จะเห็นแสงสว่างนั้นได้เท่านั้น แต่เมื่อเรานำพระเครื่องมากำสวดมนต์ภาวนาจนจิตนิ่งเบาสบายดีแล้ว ก็ย่อมจะสามารถเห็นแสงสว่างอันเกิดจากบุญกุศลที่ตนได้ทำไว้


รวมทั้งแสงสว่างจากเทพพรหมทั้งหลายที่มาอนุโมทนากับบุญที่เราได้ทำ และแสงสว่างแห่งบุญบารมีอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระโพธิสัตว์ พระอริยสงฆ์ เทพพรหมทุกๆ พระองค์ ที่หลวงตาได้อธิษฐานจิตรวมลงสู่พระเครื่องของท่านได้


ทุกๆ ครั้งที่หลวงตาสวดบทพระคาถามหาจักรพรรดิ หรืออธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องต่างๆ นั้น ท่านจะอธิษฐานจิตรวมบุญบารมีอันไม่มีประมาณทั้งหมดส่งเป็นกระแสพลังเหนือพลังไปสู่พระเครื่องที่ท่านได้เคยสร้างไว้ทุกๆ องค์เสมอ ดังนั้นจึงเท่ากับว่าพระเครื่องที่ทุกท่านได้รับจากหลวงตาไปทุกๆ องค์นั้น ได้รับการอธิษฐานจิตปลุกเสกจากหลวงตาอยู่ตลอดเวลา


และหากหมั่นนำไปสวดมนต์ภาวนา ทำจิตให้เบาสบายดีแล้ว ก็อาจมีโอกาสได้เห็นแสงแห่งบุญบารมีนั้น ที่หลวงตาได้เมตตาอธิษฐานจิตไปสู่พระเครื่องทุกองค์ เพื่อคอยช่วยเหลือดูแลลูกศิษย์ลูกหาทุกคนทั้งทางโลกและทางธรรมด้วยตาของตนเอง ดังมีลูกศิษย์หลายคนได้เคยพบเห็นและพิสูจน์แจ่มแจ้งมาแล้ว


กระแสบุญบารมีอันบริสุทธิ์สว่างไสว ที่หลวงตาได้เมตตาอธิษฐานจิตรวมลงสู่พระเครื่องของท่านทุกองค์นี้เอง ทำให้นอกจากจะใช้พระเครื่องของท่านในการปฏิบัติธรรมได้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้แผ่บุญส่องสว่างชี้นำทางให้เหล่าภพภูมิต่างๆ ทั้งหลาย ที่ยังวนเวียนทุกข์ทรมานในโลกนี้ ให้ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีมีความสุขมากขึ้น


รวมทั้งยังสามารถใช้โน้มนำให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย หรือเหล่าวิญญาณ ภูตผีปีศาจ ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเจ็บไข้ได้ป่วย อุบัติเหตุต่างๆ ความทุกข์ยากลำบากชีวิต การเงินไม่คล่องตัว ฯลฯ ให้กลับกลายมาเป็นมิตรกับเรา มาร่วมช่วยสร้างบุญกุศลและบารมีกับเราต่อไปได้อีกด้วย ดังที่จะได้กล่าวถึงต่อไป


10.8.png



แก้วจักรพรรดิ (แก้วมณีนพรัตน์)

แก้วจักรพรรดิ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แก้วมณีนพรัตน์ นั้น สร้างมาตั้งแต่สมัยที่หลวงปู่ดู่ยังทรงขันธ์อยู่ โดยท่านใช้ปูนซีเมนต์ขาวผสมกับพระผงจักรพรรดิ ปั้นเป็นลูกกลมๆ เจาะรูทะลุตรงกลาง แล้วร้อยเชือกแจกเด็กๆ แถววัดสะแก เคยมีเหตุการณ์ที่เด็กแขวนลูกแก้วจักรพรรดิตกน้ำแล้วไม่จม ทำให้เป็นที่ต้องการของชาวบ้าน อีกทั้งว่ากันว่าขอได้ตามใจนึก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลูกแก้วสารพัดนึก


หลวงตาม้า เป็นผู้สืบทอดวิชาการสร้างพระผงจักรพรรดิ (พระผงกรรมฐาน) และลูกแก้วจักรพรรดินี้มาจากหลวงปู่ดู่ แต่เนื่องจากการทำลูกแก้วจักรพรรดิด้วยผงปูน ต้องใช้วิธีปั้นทีละลูก ใช้เวลาทำมาก และเนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถผลิตลูกแก้วสำเร็จ และหาซื้อได้ง่าย ลูกศิษย์จึงซื้อลูกแก้วเหล่านั้นมาให้หลวงตาอธิษฐานจิตให้เป็นลูกแก้วจักรพรรดิ


ซึ่งหลวงตาบอกว่า มีคุณสมบัติเหมือนกับลูกแก้วจักรพรรดิที่ทำจากผงปูนทุกประการ สามารถใช้แทนกันได้ ด้วยเหตุนี้ ลูกแก้วจักรพรรดิของหลวงตาจึงมีแบบชนิดที่เป็นผงปูนปั้นกับชนิดที่เป็นแก้วสำเร็จ


ลูกแก้วจักรพรรดินี้ สามารถนำมาใช้บูชาติดตัว ใช้กำเอา ช่วยภาวนาทำสมาธิ ใช้อธิษฐานเพื่อทำน้ำมนต์ หรือใช้ในการอธิษฐานเพื่อปรับภพภูมิก็ได้ เช่นเดียวกับพระผงกรรมฐานทุกประการ


ในกรณีของการใช้เพื่อปรับภพภูมิ ทำให้ผู้ที่ทำการแผ่บุญไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆ บ่อย แต่จะใช้การวางลูกแก้วไว้ในสถานที่นั้นแทน แล้วอธิษฐานขอให้ลูกแก้วจักรพรรดิแผ่บุญออกไปเองโดยอัตโนมัติ เหล่าวิญญาณที่ประจำอยู่ตรงสถานที่นั้น หรือเร่ร่อนผ่านไปยังสถานที่นั้น เมื่อเห็นแสงแห่งบุญที่เปล่งออกจากลูกแก้ว ก็จะสามารถอนุโมทนาในบุญนี้ได้ตลอด


การวางลูกแก้วตามสถานที่ต่างๆ เพื่อปรับภพภูมิ จึงเป็นการสงเคราะห์โลกทั้งหลายไม่มีประมาณ และเมื่อมีการขยายพื้นที่ในการวางลูกแก้วจักรพรรดิกว้างขวางออกไปเพียงไร พื้นที่ในการแผ่บุญบารมีก็จะยิ่งกว้างไกลออกไปเพียงนั้น


10.2.png



design-mira1.jpg



การปฏิบัติน่ะ  ถ้าทำจริงนะไม่ยาก  ที่ยากน่ะไม่พากันทำ
(ให้สวด)  ก่อนนอน  ตื่นนอน  กินข้าว  อาบน้ำ
ใครจะใหญ่เกินกรรม


4.png


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :

          คณะศิษยานุศิษย์หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ หลวงตาม้า วิริยธโร. ใครจะใหญ่เกินกรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๗, ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓.



รูปภาพที่แนบมา: 1.png (2023-6-15 07:46, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNTF8ZjE4OGEzMGF8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.1.png (2023-6-15 07:46, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNTN8MzFiYjUyODB8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.2.png (2023-6-15 07:46, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNTR8OGU1M2E0MzV8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.3.png (2023-6-15 07:46, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNTV8YjJmOTg5YTR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.4.png (2023-6-15 07:46, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNTZ8NmY5ZDJjMDB8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.5.png (2023-6-15 07:46, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNTd8ZTY3NTU5ZDl8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.6.png (2023-6-15 07:46, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNTh8ZGU0NmEyMzF8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 10.8.png (2023-6-15 07:49, 7.85 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNjB8N2Y3NDJkNjd8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: พระผง.jpg (2023-6-15 07:55, 183.4 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNjF8ZjQ5YTU2NDB8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: IMG_6443.1.JPG (2023-6-15 08:08, 698.92 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNjR8MWM1MDQ1ZmZ8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 9.1.jpg (2023-6-15 08:09, 199.28 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNjV8ZGY3YmMzYmR8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: design-mira1.jpg (2023-6-15 08:10, 99.73 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNjZ8M2M5OTQwMmN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: IMG_5095.2.png (2023-8-24 19:09, 17.4 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MTJ8ZDU1YzE5ZTN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: a.png (2023-8-24 19:09, 14.34 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MTN8M2UxZDJhMGN8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 4.png (2023-8-24 19:09, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MTR8NjNmZGI0NGJ8MTcxOTQwNTMzMnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2023-6-9 10:18

g1.2.jpg



100150prueazd6zzanp4n1.png


ขอความสวัสดี และสมประสงค์ในธรรมอันบริสุทธิ์

จงมีแด่ท่านผู้อ่านทั้งหลาย จงทุกคนเทอญ




รูปภาพที่แนบมา: g1.2.jpg (2023-6-15 09:32, 258.17 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMzNzN8ZWVhYjIwZmF8MTcxOTQwNTMzMnww



รูปภาพที่แนบมา: 100150prueazd6zzanp4n1.png (2023-8-24 19:15, 6.71 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzM3MTZ8MzY0YWMwNTN8MTcxOTQwNTMzMnww






ยินดีต้อนรับสู่ แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน" (http://dannipparn.com/) Powered by Discuz! X1.5