แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

ชื่อกระทู้: ธรรมโอวาทหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ [สั่งพิมพ์]

โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 15:37     ชื่อกระทู้: ธรรมโอวาทหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

หลวงปู่ดู่-3.jpg



ธรรมโอวาทหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



ข้าพเจ้าได้คัดลอกเนื้อหาธรรมโอวาทของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มาจากหนังสือ “พรหมปัญโญบูชา” ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมประวัติและคำสอนของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีเนื้อหาส่วนของธรรมโอวาท จำนวน ๘๕ ตอน ดังนี้

สารบัญ


๑.    สมมุติและวิมุตติ                      ฺ        
๒.    อุปมา ศีล สมาธิ ปัญญา
๓.    หนึ่งในสี่                                          

๔.    แสงสว่างเป็นกิเลส ?
๕.    วัดผลการปฏิบัติด้วยสิ่งใด ?         

๖.    อารมณ์อัพยากฤต
๗.    ตรี โท เอก                                    
๘.    ต้องสำเร็จ
๙.    จะเอาโลกหรือเอาธรรม                 
๑๐.   แนะนำวิธีปฏิบัติ
๑๑.   การบวชจิต - บวชใน                 

๑๒.   ควรทำหรือไม่ ?
๓.   การอุทิศส่วนกุศลภายนอกภายใน
๑๔.   คำสารภาพของศิษย์
๑๕.   ทรรศนะต่างกัน                           
๑๖.   อุเบกขาธรรม
๑๗.   ข้อควรคิด    
                       
๑๘.   ไม่พยากรณ์
๑๙.   แนะนำวิธีวางอารมณ์    
           
๒๐.   อย่าพูดมาก
๒๑.   คิดว่าไม่มีดี          
                    
๒๒.   “พ พาน” ของหลวงพ่อ
๒๓.   การสอนของท่าน  
                  
๒๔.   หัดมองชั้นลึก
๒๕.   เวลาเป็นของมีค่า       
            
๒๖.   ต้องทำจริง
๒๗.   ล้มให้รีบลุก     
                     
๒๘.   อย่าทำเล่น
๒๙.   อะไรมีค่าที่สุด     
                     
๓๐.   ขอเพียงความรู้สึก
๓๑.   คลื่นกระทบฝั่ง        
                    
๓๒.   ปรารภธรรมเรื่อง “การเกิด”
๓๓.   กรรมฐานพาลจิตเพี้ยน   
            
๓๔.   จะไปทางไหน      
๓๕.   เปรียบศีล            
                     
๓๖.   บทเรียนทางธรรม
๓๗.   อานิสงส์การภาวนา
                  
๓๘.   ปลูกต้นธรรม
๓๙.   เทวทูต         
                           
๔๐.   สติธรรม
๔๑.   ธรรมะจากซองยา (บุหรี่)   
         
๔๒.   ธรรมะจากโรงพยาบาล
๔๓.   ของจริง ของปลอม     
               
๔๔.   ให้รู้จักบุญ
๔๕.   อุบายธรรมแก้ความกลัว   
            
๔๖.   พระเก่าของหลวงพ่อ
๔๗.   จะตามมาเอง            
            
๔๘.   เชื่อจริงหรือไม่
๔๙.   พระที่คล้องใจ      
                  
๕๐.   จะเอาดีหรือเอารวย
๕๑.   หลักพุทธศาสนา     
                 
๕๒.   ของจริงนั้นมีอยู่
๕๓.   สนทนาธรรม        
                  
๕๔.   ผู้บอกทาง
๕๕.   บทเรียนบทแรก    
                  
๕๖.   หนึ่งในสี่ (อีกครั้ง)
๕๗.   วิธีคลายกลุ้ม         
               
๕๘.   อะไรได้ อะไรเสีย
๕๙.   อารมณ์ขันของหลวงพ่อ    
      
๖๐.   ของหายาก
๖๑.   คนหายาก      
                  
๖๒.   ด้วยรักจากศิษย์
๖๓.   ด้วยรักจากหลวงพ่อ   
            
๖๔.   ต้องเคยเจอกัน
๖๕.  หลวงพ่อกับศิษย์ใหม่     
        
๖๖.   คาถาของหลวงพ่อ
๖๗.   วัตถุสมบัติ ธรรมสมบัติ    
      
๖๘.   ทำไมหลวงพ่อ
๖๙.   “งาน” ของหลวงพ่อ     
        
๗๐.   ปาฏิหาริย์
๗๑.   เรื่องบังเอิญที่ไม่บังเอิญ  
      
๗๒.   หลวงพ่อบอกข้อสอบ
๗๓.   ตัวประมาท            
            
๗๔.   ของโกหก
๗๕.   ถึงวัดหรือยัง   
                     
๗๖.   รางวัลทุนภูมิพล
๗๗.   หลวงปู่ทวดช่วยชีวิต  
         
๗๘.   ทามาก็อต จิ
๗๙.   ไตรสรณาคมน์    
                  
๘๐.   ไม่พอดีกัน
๘๑.   ธรรมะจากสัตว์        
              
๘๒.   คุณธรรม ๖ ประการ
๘๓.   ที่สุดแห่งทุกขเวทนา
           
๘๔.   พุทธนิมิต
๘๕.   หลวงพ่อดู่ หลวงปู่ทวด

IMG_5095.1.png



ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :


ตอนที่ 1 - 20

http://www.dannipparn.com/thread-74-1-1.html


ตอนที่ 21 - 35

http://www.dannipparn.com/thread-74-2-1.html


ตอนที่ 36 - 57
http://www.dannipparn.com/thread-74-3-1.html


ตอนที่ 58 - 67

http://www.dannipparn.com/thread-74-4-1.html


ตอนที่ 68 - 77

http://www.dannipparn.com/thread-74-5-1.html


ตอนที่ 78 - 85

http://www.dannipparn.com/thread-74-6-1.html


o5.png



ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
           • หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ. พรหมปัญโญบูชา: เมธา พรพิพัฒน์ไพศาล เรียบเรียง, ๒๕๔๑.


รูปภาพที่แนบมา: หลวงปู่ดู่-3.jpg (2023-2-5 02:04, 185.79 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyNDR8MWVmMGUxZGZ8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: IMG_5095.1.png (2023-2-5 02:05, 30.83 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyNDV8M2I2ZTcyZDJ8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: o5.png (2023-6-8 23:54, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMxOTF8M2JiNGU4YWV8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 15:56

ตอนที่ ๑

สมมุติและวิมุตติ



ในวันสิ้นปีเมื่อหลายปีก่อน ผู้เขียนได้มาค้างคืนอยู่ปฏิบัติที่วัดสะแก และได้มีโอกาสเรียนการปฏิบัติกับหลวงพ่อ เรื่อง นิมิตจริง นิมิตปลอม ที่เกิดขึ้นภายในจากการภาวนา

ท่านตอบโต้ สรุปได้ใจความว่า

ต้องอาศัยสมมุติขึ้นก่อนจึงจะเป็นวิมุตติได้ เช่น การทำอสุภะหรือกสิณ ต้องอาศัยสัญญาและสังขารน้อมนึกเป็นนิมิตขึ้น ในขั้นนี้ไม่ควรสงสัยว่านิมิตนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม มาจากภายนอกหรือออกมาจากจิต เพราะเราจะอาศัยสมมุติตัวนี้ทำประโยชน์ คือ ยังจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ขึ้น แต่ก็อย่าสำคัญมั่นหมายถึงตนรู้เห็นแล้ว ดีวิเศษแล้ว

การน้อมจิตตั้งนิมิตเป็นองค์พระ เป็นสิ่งที่ดีไม่ผิด เป็นศุภนิมิตคือนิมิตที่ดี เมื่อเห็นองค์พระ ให้ตั้งสติคุมเข้าไปตรงๆ (ไม่ปรุงแต่งหรืออยากโน้นนี้) ไม่ออกซ้าย ไม่ออกขวา ทำความเลื่อมใสเข้า เดินจิตให้แน่วแน่ สติละเอียดเข้า ต่อไปก็จะสามารถแยกแยะหรือพิจารณานิมิตให้เป็นไตรลักษณ์จนเกิดปัญญาสามารถจะก้าวเข้าสู่วิมุตติได้

“ก็เหมือนแกเรียนหนังสือทางโลกแหละ มาถึงทุกวันนี้ได้ ครูเขาก็ต้องหลอกหัดให้แกเขียนหนังสือ หัดให้แกอ่านโน่นนี่ มันถึงจะได้ดีในบั้นปลาย นี่ข้าเปรียบเทียบแบบโลกให้ฟัง”


กล่าวโดยสรุปคือ ท่านสอนให้ใช้ประโยชน์จากนิมิตไม่ใช่ให้หลงนิมิต สอนให้ใช้แสงสว่างใช้สมาธิ ไม่ใช่ให้ติดแสงสว่างหรือติดสมาธิ

pngegg.5.3.1.png



ตอนที่ ๒

อุปมา ศีล สมาธิ ปัญญา



ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับหลวงน้าสายหยุด ท่านได้เมตตาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า หลวงพ่อเคยเปรียบธรรมะของพระพุทธเจ้าเหมือนแกงส้ม แกงส้มนั้นมี ๓ รส คือเปรี้ยว เค็ม และเผ็ด ซึ่งมีความหมายดังนี้

รสเปรี้ยว หมายถึง ศีล ความเปรี้ยวจะกัดกร่อนความสกปรกออกได้ฉันใด ศีลก็จะขัดเกลาความหยาบออกจากกาย วาจา ใจ ได้ฉันนั้น


รสเค็ม หมายถึง สมาธิ ความเค็มสามารถรักษาอาหารต่างๆ ไม่ให้เน่าเสียได้ฉันใด สมาธิก็สามารถรักษาจิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณความดีได้ฉันนั้น


รสเผ็ด หมายถึง ปัญญา ความเผ็ดร้อนโลดแล่นไปเปรียบได้ดั่งปัญญาที่สามารถก่อให้เกิดความคิด ขจัดความไม่รู้ เปลี่ยนจากของคว่ำเป็นของหงาย จากมืดเป็นสว่างได้ฉันนั้น


pngegg.5.3.2.png



ตอนที่ ๓

หนึ่งในสี่



ครั้งหนึ่งหลวงพ่อได้ปรารภธรรมกับผู้เขียนว่า.....

“ข้านั่งดูดยา มองดูซองยาแล้วก็ตั้งปัญหาถามตัวเองว่า เรานี้ปฏิบัติได้ ๑ ใน ๔ ของศาสนาแล้วหรือยัง ถ้าซองยานี้แบ่งเป็น ๔ ส่วน เรานี่ยังไม่ได้ ๑ ใน ๔ มันจวนเจียนจะได้แล้วมันก็คลาย เหมือนเรามัดเชือกจนเกือบจะแน่นได้ที่แล้วเราปล่อย มันก็คลายออก เรานี่ยังไม่เชื่อจริง ถ้าเชื่อจริง ก็ต้องได้ ๑ ใน ๔ แล้ว”

ที่ว่า ๑ ใน ๔ นั้นอุปมาดั่งการปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุมรรคผลในพุทธศาสนา ซึ่งแบ่งเป็นขั้นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหัตผล อย่างน้อยเราเกิดมาชาติหนึ่งชาตินี้ ได้พบพระพุทธศาสนาซึ่งเปรียบเสมือนสมบัติอันล้ำค่าแล้ว หากไม่ปฏิบัติธรรมให้ได้ ๑ ใน ๔ ของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างน้อยคือ เข้าถึงความโสดาบัน ปิดประตูอบายภูมิให้ได้ ก็เท่ากับว่าเราเป็นผู้ประมาทอยู่ เหมือนเรามีข้าวแล้วไม่กิน มีนาแล้วไม่ทำนา ฉันใดก็ฉันนั้น




รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:08, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMTZ8MWEwNjc0NDR8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-2-4 07:09, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMTh8ZDg1NjNlNDV8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 16:01

ตอนที่ ๔

แสงสว่างเป็นกิเลส ?



มีคนเล่าให้หลวงพ่อฟังว่า มีผู้กล่าวว่า การทำสมาธิแล้วบังเกิดความสว่างหรือเห็นแสงสว่างนั้นไม่ดี เพราะเป็นกิเลส มืดๆ จึงจะดี

หลวงพ่อท่านกล่าวว่า


“ที่ว่าเป็นกิเลสก็ถูก แต่เบื้องแรกต้องอาศัยกิเลสไปละกิเลส (อาศัยกิเลสส่วนละเอียดไปละกิเลสส่วนหยาบ) แต่ไม่ได้ให้ติดในแสงสว่างหรือหลงแสงสว่าง แต่ให้ใช้แสงสว่างให้ถูก ให้เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างกับเราเดินผ่านไปในที่มืดต้องใช้แสงไฟ หรือจะข้ามแม่น้ำมหาสมุทรก็ต้องอาศัยเรือ อาศัยแพ แต่เมื่อถึงฝั่งแล้วก็ไม่ได้แบกเรือแบกแพขึ้นฝั่งไป”

แสงสว่างอันเป็นผลจากการเจริญสมาธิก็เช่นกัน ผู้มีสติปัญญาสามารถใช้เพื่อให้เกิดปัญญาอันเป็นแสงสว่างภายใน ที่ไม่มีแสงใดเสมอเหมือนดังธรรมที่ว่า


คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา

pngegg.5.3.1.png



ตอนที่ ๕

วัดผลการปฏิบัติด้วยสิ่งใด ?



มีผู้ปฏิบัติหลายคน ปฏิบัติไปนานเข้าชักเขว ไม่ชัดเจนว่าตนปฏิบัติไปทำไม หรือปฏิบัติไปเพื่ออะไร ดังครั้งหนึ่ง เคยมีลูกศิษย์กราบเรียนถามหลวงพ่อท่านว่า

“ภาวนามาก็นานพอสมควรแล้ว รู้สึกว่ายังไม่ได้รู้ได้เห็นสิ่งต่างๆ มีนิมิตภายนอก แสงสีต่างๆ เป็นต้น ดังที่ผู้อื่นเขารู้เห็นทางปฏิบัติกันเลย”

หลวงพ่อท่านย้อนถาม สั้นๆ ว่า


ปฏิบัติแล้ว โกรธ โลภ หลง แกลดน้อยลงหรือเปล่าล่ะ ถ้าลดลง ข้าว่าแกใช้ได้”


pngegg.5.3.2.png


ตอนที่ ๖

อารมณ์อัพยากฤต



เคยมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้กราบเรียนถามหลวงพ่อว่าอารมณ์อัพยากฤตไม่จำเป็นต้องมีได้เฉพาะพระอรหันต์ ใช่หรือไม่ ? ท่านตอบว่า

“ใช่ แต่อารมณ์อัพยากฤตของพระอรหันต์ท่านทรงตลอดเวลาไม่เหมือนปุถุชนที่มีเป็นครั้งคราวเท่านั้น”

ท่านอุปมาอารมณ์ให้ฟังว่า เปรียบเสมือนคนไปยืนที่ตรงทางสองแพร่ง ทางหนึ่งไปทางดี (กุศล) อีกทางหนึ่งไปในทางที่ไม่ดี (อกุศล) ท่านว่า อัพยากฤตมี ๓ ระดับ คือ

• ระดับหยาบ คือ อารมณ์ปุถุชนที่เฉยๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ซึ่งมีเป็นครั้งคราวเท่านั้น


• ระดับกลาง มีในผู้ปฏิบัติสมาธิ มีสติ มีความสงบของจิต วางอารมณ์จากสิ่งที่ดี ที่ชั่ว ดังที่เรียกว่า อุเบกขารมณ์


• ระดับละเอียด คือ อารมณ์ของพระอรหันต์ ซึ่งไม่มีทั้งอารมณ์ที่คิดปรุงไปในทางดีหรือในทางไม่ดี วางอารมณ์อยู่ได้ตลอดเวลาเป็นวิหารธรรมของท่าน


pngegg.5.3.3.png



ตอนที่ ๗

ตรี โท เอก



ครั้งหนึ่งผู้เขียนจะจัดทำบุญเพื่อเป็นกตัญญูกตเวทิตาธรรมน้อมถวายแด่หลวงพ่อเกษม เขมโก เนื่องในโอกาสที่หลวงพ่อท่านมีอายุครบ ๗๔ พรรษา เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๘

ผู้เขียนได้เรียนถามหลวงพ่อว่า

“การทำบุญอย่างไร จึงจะดีที่สุด”


หลวงพ่อท่านได้เมตตาตอบว่า

“ของดีนั้นอยู่ที่เรา ของดีนั้นอยู่ที่จิต


จิตมี ๓ ชั้น ตรี โท เอก

ถ้าตรีก็ต่ำหน่อย โทก็ปานกลาง

เอกนี่อย่างอุกฤษฏ์


มันไม่มีอะไร.....ก็อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ตัวอนัตตานี่แหละเป็นตัวเอก

ไล่ไปไล่มา ให้มันเห็นสังขารร่างกายเราตายแน่ๆ


คนเราหนีตายไม่พ้น

ตายน้อย ตายใหญ่

ตายใหญ่ก็ตายหมด ตายน้อยก็หลับ

ไปตรองดูให้ดีเถอะ.....”

pngegg.5.3.4.png



ตอนที่ ๘

ต้องสำเร็จ



หลวงพ่อเคยสอนว่า.....

“ความสำเร็จนั้นมิใช่อยู่ที่การสวดมนต์อ้อนวอนพระเจ้ามาประทานให้ หากแต่ต้องลงมือทำด้วยตนเอง ถ้าตั้งใจทำตามแบบแล้วทุกอย่างต้องสำเร็จไม่ใช่จะสำเร็จ พระพุทธเจ้าท่านวางแบบเอาไว้ แล้วครูบาอาจารย์ทุกองค์มีพระพุทธเจ้าเป็นที่สุด ก็ได้ทำตามแบบเป็นตัวอย่างให้เราดู อัฐิท่านก็กลายเป็นพระธาตุกันหมด


เมื่อได้ไตร่ตรองพิจารณาให้รอบคอบแล้ว ขอให้ลงมือทำทันที ข้าขอรับรองว่าต้องสำเร็จ ส่วนจะช้าหรือเร็วนั้น อยู่ที่ความเพียรของผู้ปฏิบัติ”


ขอให้ตั้งปัญหาถามตัวเองว่า “สิ่งนั้น บัดนี้เราได้ลงมือทำแล้วหรือยัง ?”

pngegg.5.3.5.png



ตอนที่ ๙

จะเอาโลกหรือเอาธรรม



บ่อยครั้งที่มีผู้มาถามปัญหากับหลวงพ่อโดยมักจะนำเอาเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน สามี ภรรยา ลูกเต้า ญาติมิตร หรือคนอื่นๆ มาปรารภให้หลวงพ่อฟังอยู่เสมอ

ครั้งหนึ่งท่านได้ให้คติเตือนใจผู้เขียนว่า

“โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม”


ซึ่งต่อมาท่านได้ให้ความหมายว่า


“เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่นทั้งนั้นไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ไขเขาไม่ได้ ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา ให้มาไล่ดูตัวเองแก้ไขที่ตัวเราเอง ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง


ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้วต้องกลับเข้ามาหาตัวเอง ถ้าเป็นโลกแล้วจะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา เพราะธรรมแท้ๆ ย่อมเกิดจากในตัวของเรานี้ทั้งนั้น”



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:12, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMTl8ZDZkMmY3YmR8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-2-4 07:12, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMjB8MTZmMzcxNGZ8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.3.png (2023-2-5 02:25, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyNDZ8YjE5MjRkMTN8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.4.png (2023-2-5 02:25, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyNDd8ZWI1ZjBjNjh8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.5.png (2023-2-5 02:26, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyNDh8NzNjNzE5NzB8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 16:08

ตอนที่ ๑๐

แนะนำวิธีปฏิบัติ



เคยมีสุภาพสตรีท่านหนึ่งมีปัญหาถามว่า นั่งปฏิบัติภาวนา แล้วจิตไม่รวม ไม่สงบ ควรจะทำอย่างไร ท่านแก้ให้ว่า


“การปฏิบัติ ถ้าอยากให้เป็นเร็วๆ มันก็ไม่เป็นหรือไม่อยากให้เป็น มันก็ประมาทเสีย ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลางๆ ตั้งใจให้แน่วแน่ในกัมมัฏฐานที่เรายึดมั่นอยู่นั้น แล้วภาวนาเรื่อยไป เหมือนกับเรากินข้าว ไม่ต้องอยากให้มันอิ่ม ค่อยๆ กินไปมันก็อิ่มเอง ภาวนาก็เช่นกัน ไม่ต้องไปคาดหวังให้มันสงบ หน้าที่ของเราคือ ภาวนาไป ก็จะถึงของดีของวิเศษในตัวเรา แล้วจะรู้สึกชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็นอะไร ให้หมั่นทำเรื่อยไป


pngegg.5.3.1.png



ตอนที่ ๑๑

การบวชจิต - บวชใน



หลวงพ่อเคยปรารภไว้ว่า.....

จะเป็นชายหรือหญิงก็ดี ถ้าตั้งใจประพฤติปฏิบัติ มีศีล รักในการปฏิบัติ จิตมุ่งหวังเอาการพ้นทุกข์เป็นที่สุด ย่อมมีโอกาสเป็นพระกันได้ทุกๆ คน มีโอกาสที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้เท่าเทียมกันทุกคน ไม่เลือกเพศ เลือกวัย หรือฐานะแต่อย่างใด ไม่มีอะไรจะมาเป็นอุปสรรคในความสำเร็จได้นอกจากใจของผู้ปฏิบัติเอง

ท่านได้แนะเคล็ดในการบวชจิตว่า.....
“ในขณะที่เรานั่งสมาธิเจริญภาวนานั้น มีคำกล่าวว่า


พุทธัง สรณัง คัจฉามิ…ให้นึกถึงว่า เรามีพระพุทธเจ้า ให้เป็นพระอุปัชฌาย์ของเรา


ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ…ให้นึกว่า เรามีพระธรรม ให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์


สังฆัง สรณัง คัจฉามิ…ให้นึกว่า เรามีพระอริยสงฆ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์


แล้วอย่าสนใจขันธ์ ๕ หรือร่างกายของเรานี้ ให้สำรวมจิตให้ดี มีความยินดีในการบวช ชายก็เป็นพระภิกษุ หญิงก็เป็นพระภิกษุณี อย่างนี้จะมีอานิสงส์สูงมาก จัดเป็นเนกขัมมบารมีขั้นอุกฤษฏ์ทีเดียว”


pngegg.5.3.2.png


ตอนที่ ๑๒

ควรทำหรือไม่ ?



ครั้งหนึ่ง มีลูกศิษย์หลวงพ่อผู้สนใจธรรมปฏิบัติกำลังนั่งภาวนาเงียบอยู่ ไม่ห่างจากท่านเท่าใดนัก บังเอิญมีแขกมาหาศิษย์ผู้นั้นแต่ไม่เห็น ก็มีศิษย์อีกท่านหนึ่งเดินเรียกชื่อท่านผู้กำลังนั่งภาวนาอยู่ด้วยเสียงอันดัง และเมื่อเดินมาเห็นศิษย์ผู้นั้นกำลังภาวนาอยู่ก็จับแขนดึงขึ้นมาทั้งที่กำลังนั่งภาวนา

เมื่อผู้นั้นห่างไปแล้ว หลวงพ่อท่านจึงเปรยขึ้นมาว่า

“ในพุทธกาลครั้งก่อน มีพระอรหันต์องค์หนึ่งกำลังอยู่นิโรธสมาบัติ ได้มีนกแสกตัวหนึ่งบินโฉมผ่านหน้าท่านพร้อมกับร้อง “แซ๊ก” ท่านว่านกแสกตัวนั้นเมื่อตายแล้วได้ไปอยู่ในนรก แม้กัปนี้พระพุทธเจ้าผ่านไปได้พระองค์ที่สี่แล้ว นกแสกตัวนั้นยังไม่ได้ขึ้นมาจากนรกเลย”




รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:18, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 6
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMjN8MDhmY2ZmNzh8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-2-4 07:18, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMjR8ODI3NjEzYjN8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 16:11

ตอนที่ ๑๓

การอุทิศส่วนกุศลภายนอกภายใน



มีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายของหลวงพ่อ ซึ่งท่านเมตตาทำเป็นปกติ จึงมีความหวังว่าเมื่อคนตาย หลวงพ่อท่านจะเมตตาให้บุญส่งวิญญาณส่งจิตไปสวรรค์ ไปนิพพานได้ ด้วยตนเป็นผู้เข้าวัดทำทานและปรนนิบัติหลวงพ่อนาน

หลวงพ่อท่านก็เมตตาเตือนว่า
“ถ้าข้าตายไปก่อน แล้วใครจะส่ง (บุญ) ให้แกล่ะ”

ด้วยความไม่เข้าใจ ท่านผู้นั้นจึงตอบว่า
“ขอให้หลวงพ่ออยู่ต่อไปนานๆ ให้พวกผมตายก่อน”

นี่เป็นจุดชวนคิดในคติเตือนของท่านที่บอกเป็นนัยว่า การไปสุคติหรือการหลุดพ้นนั้น ต้องปฏิบัติต้องสร้างด้วยตนเองเป็นสำคัญ มิใช่หวังพึ่งบุญพึ่งกุศลผู้อื่น การอาศัยผู้อื่นเมื่อตายแล้วนั้นเป็นเพียงส่วนน้อยที่อาจจะได้ อีกทั้งยังเป็นความไม่แน่นอนด้วย สู้ทำด้วยตัวเองไม่ได้


เป็นแง่คิดให้คิดว่า ต้องปฏิบัติตนให้มั่นใจในตนเองตั้งแต่ก่อนตาย เมื่อถึงเวลาจำต้องทิ้งขันธ์จะไม่ต้องมัวกังวลต่อภพชาติภายหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติให้รู้แจ้งในธรรมตั้งแต่ปัจจุบันชาตินี้เป็นยิ่งทีเดียว


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 16:12

ตอนที่ ๑๔

คำสารภาพของศิษย์



เราเป็นศิษย์รุ่นปลายอ้อปลายแขมและมีความขี้เกียจเป็นปกติ ก่อนที่เราจะไปวัด เราไม่เคยสนใจทำอะไรจริงจังยาวนาน คือเราสนใจทำจริงจังแต่ก็ประเดี๋ยวเดียว เมื่อเราได้ไปวัดด้วยความอยากเห็นอยากรู้เหมือนที่เพื่อนบางคนเขารู้เขาเห็น เราจึงพยายามทำแต่มันไม่ได้ ความพยายามของเราก็เลยลดน้อยถอยลงตามวันเวลาที่ผ่านไป แต่ความอยากของเรามันไม่ได้หมดไปด้วย พอขี้เกียจหนักเข้า เราจึงถามหลวงพ่อว่า

“หนูขี้เกียจเหลือเกินค่ะ จะทำยังไงดี”


เราจำได้ว่าท่านนั่งเอนอยู่ พอเรากราบเรียนถาม ท่านก็ลุกขึ้นนั่งฉับไว มองหน้าเรา แล้วบอกว่า


“ถ้าข้าบอกแกไม่ได้กลัวตาย แกจะเชื่อข้าไหมล่ะ”


เราเงียบเพราะไม่เข้าใจที่ท่านพูดตอนนั้นเลย

อีกครั้งหนึ่งปลอดคน เรากราบเรียนถามท่านว่า “คนขี้เกียจอย่างหนูนี้ มีสิทธิ์ถึงนิพพานได้หรือไม่”

หลวงพ่อท่านนั่งสูบบุหรี่ยิ้มอยู่และบอกเราว่า
“ถ้าข้าให้แกเดินจากนี้ไปกรุงเทพฯ แกเดินได้ไหม”

เราเงียบแล้วยิ้มแห้งๆ ท่านจึงพูดต่อว่า


“ถ้าแกกินข้าวสามมื้อ มันก็มีกำลังวังชา เดินไปถึงได้ ถ้าแกกินข้าวมื้อเดียว มันก็พอไปถึงได้แต่ช้าหน่อย แต่ถ้าแกไม่กินข้าวไปเลย มันก็คงไปไม่ถึง ใช่ไหมล่ะ”

เรารู้สึกเข้าใจความข้อนี้ซึมซาบเลยทีเดียว แล้วหลวงพ่อท่านก็พูดต่อว่า


“เรื่องทำม้งธรรมะอะไรข้าพูดไม่เป็นหรอก ข้าก็เป็นแต่พูดของข้าอย่างนี้แหละ”



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 16:13

ตอนที่ ๑๕

ทรรศนะต่างกัน



เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในวงของปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านได้ให้โอวาทเตือนผู้ปฏิบัติไว้ว่า “การมาอยู่ด้วยกัน ปฏิบัติด้วยกันมาก เขาย่อมมีเรื่องกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาอยู่ ทิฐิมานะความเห็นย่อมต่างกัน ขอให้เอาแต่ส่วนดีมาสนับสนุนกัน อย่าเอาเลวมาอวดกัน

การปรามาสพระก็ดี การพูดจาจ้วงจาบในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หรือท่านที่มีศีลมีธรรมก็ดี จะเป็นกรรมติดตัวเราและขัดขวางการปฏิบัติธรรมในภายหน้า ดังนั้นหากเห็นใครทำความดี ก็ควรโมทนาบุญยินดีด้วย แม้ต่างวัดต่างสำนักหรือแบบปฏิบัติต่างกันก็ตาม

ไม่มีใครผิดหรอก เพราะจุดมุ่งหมายต่างก็เป็นไป เพื่อความพ้นทุกข์เช่นกัน เพียงแต่เราจะทำให้ดี…..ดียิ่ง…..ดีที่สุด เท่านั้น ขอให้ถามตัวเราเองเสียก่อนว่า “แล้วเราล่ะถึงที่สุดแล้วหรือยัง ?”



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 16:15

ตอนที่ ๑๖

อุเบกขาธรรม



เรามักจะได้เห็นการกระทำที่เป็นคำพูดและการแสดงออกอยู่บ่อยๆ ส่วนการกระทำที่เป็นการนิ่ง ที่เรียกว่ามีอุเบกขานั้น มักไม่ค่อยได้เห็นกัน ในเรื่องการสร้างอุเบกขาธรรมขึ้นในใจนั้น ผู้ปฏิบัติใหม่เมื่อได้เข้ามารู้ธรรม เห็นธรรม ได้พบเห็นสิ่งแปลกๆ และคุณค่าของพระพุทธศาสนา มักเกิดอารมณ์ความรู้สึกว่าอยากชวนคนมาวัด มาปฏิบัติให้มากๆ โดยลืมดูพื้นฐานจิตใจของบุคคลที่กำลังชวนว่า เขามีความสนใจมากน้อยเพียงใด

หลวงพ่อท่านบอกว่า

“ให้ระวังให้ดีจะบาป เปรียบเสมือนกับการจุดไฟไว้ตรงกลางระหว่างคน ๒ คน ถ้าเราเอาธรรมะไปชวนเขา เขาก็ไม่เห็นด้วย ปรามาสธรรมนี้ซึ่งเป็นธรรมของพระพุทธเจ้า ก็เท่ากับเราเป็นคนก่อแล้วเขาเป็นคนจุดไฟ บาปทั้งคู่ เรียกว่า
เมตตาจะพาตกเหว”

แล้วท่านยกอุทาหรณ์ สอนต่อว่า

“เหมือนกับมีชายคนหนึ่งตกอยู่ในเหวลึก มีผู้จะมาช่วย คนที่หนึ่งมีเมตตาจะมาช่วย เอาเชือกดึงขึ้นจากเหว ดึงไม่ไหวจึงตกลงไปในเหวเหมือนกัน คนที่สองมีกรุณามาช่วยดึงอีก ก็ตกลงเหวอีก คนที่สามมีมุทิตามาช่วยดึงอีก ก็พลาดตกเหวอีกเช่นกัน คนที่สี่สุดท้ายเป็นผู้มีอุเบกขาธรรม เห็นว่าเหวนี้ลึกเกินกว่ากำลังของตนที่จะช่วย ก็มิได้ทำประการใด ทั้งๆ ที่จิตใจก็มีเมตตาธรรมที่จะช่วยเหลืออยู่ คนสุดท้ายนี้จึงรอดชีวิตจากการตกเหวตาม เพราะอุเบกขาธรรมนี้แล”



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 16:17

ตอนที่ ๑๗

ข้อควรคิด



การไปวัด ไปไหว้พระ ตลอดจนการสนทนาธรรมกับท่าน สมควรที่จะต้องมีความตั้งใจและเตรียมให้พร้อมที่จะรับธรรมจากท่าน มิฉะนั้นแล้วอาจเกิดเป็นโทษได้ ดังเรื่องต่อไปนี้

ปกติของหลวงพ่อท่านมีความเมตตาอบรมสั่งสอนศิษย์ และสนทนาธรรมกับผู้สนใจตลอดมา วันหนึ่งมีผู้กราบนมัสการท่าน และเรียนถามปัญหาต่างๆ จากนั้นจึงกลับไป        

หลวงพ่อท่านได้ยกเป็นคติเตือนใจให้ผู้เขียนฟังว่า
“คนที่มาเมื่อกี้ หากไปเจอพระดีละก็ลงนรก ไม่ไปสวรรค์นิพพานหรอก”

ผู้เขียนจึงเรียนถามท่านว่า
“เพราะเหตุไรครับ”

ท่านตอบว่า
“ก็จะไปปรามาสพระท่านน่ะซิ ไม่ได้ไปเอาธรรมจากท่าน”

หลวงพ่อเคยเตือนพวกเราไว้ว่า การไปอยู่กับพระอรหันต์ อย่าอยู่กับท่านนาน เพราะเมื่อเกิดความมักคุ้นแล้ว มักทำให้ลืมตัวเห็นท่านเป็นเพื่อนเล่น คุยเล่นหัวท่านบ้าง ให้ท่านเหาะให้ดูบ้าง ถึงกับออกปากใช้ท่านเลยก็มี การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการปรามาสพระ ลบหลู่ครูอาจารย์ และเป็นบาปมาก ปิดกั้นทางมรรคผลนิพพานได้ จึงขอให้พวกเราสำรวมระวังให้ดี



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 16:18

ตอนที่ ๑๘

ไม่พยากรณ์



เกี่ยวกับเรื่องปฏิบัติธรรมแล้วจะได้สำเร็จมรรคผลนิพพานหรือไม่ เคยมีพระภิกษุท่านหนึ่งได้มากราบนมัสการและเรียนถามหลวงพ่อว่า

“หลวงพ่อครับ กระผมจะได้สำเร็จหรือไม่ หลวงพ่อช่วยพยากรณ์ทีครับ”

หลวงพ่อนิ่งสักครู่หนึ่งก่อนตอบว่า   
“พยากรณ์ไม่ได้”

พระภิกษุรูปนั้นได้เรียนถามต่อว่า      
“เพราะเหตุไรหรือครับ”

หลวงพ่อจึงตอบว่า “ถ้าผมบอกว่าท่านจะได้สำเร็จ แล้วท่านเกิดประมาทไม่ปฏิบัติต่อ มันจะสำเร็จได้อย่างไร และถ้าผมบอกว่าท่านจะไม่สำเร็จ ท่านก็คงจะขี้เกียจและละทิ้งการปฏิบัติไป นิมนต์ท่านทำต่อเถอะครับ”


pngegg.5.3.1.png



ตอนที่ ๑๙

แนะนำวิธีวางอารมณ์




หลวงพ่อเคยพูดเสมอว่า “ผู้ปฏิบัติต้องหมั่นตามดูจิต รักษาจิต”


สำหรับคนที่ไม่เคยปฏิบัติแล้วไม่รู้จะดูที่ไหนอะไร จะดูอะไร รู้สึกสับสน แยกไม่ถูกเพราะไม่เคยดู ไม่เคยสังเกตอะไร เคยอยู่แต่ในความคิดปรุงแต่ง อยู่กับอารมณ์แต่แยกอารมณ์ไม่ได้ ยิ่งคนที่ยังไม่เคยบวช คนที่อยู่ในโลกแบบวุ่นวาย ยิ่งดูจิตของตนได้ยาก

หลวงพ่อได้เปรียบให้ผู้เขียนฟัง โดยท่านกำมือและยื่นนิ้วกลางมาข้างหน้าผู้เขียนว่า เราภาวนาทีแรกก็เป็นอย่างนี้ สักครู่ท่านก็ยื่นนิ้วชี้ออกมา สักครู่ก็ยื่นนิ้วนางพร้อมกับมือไหวเล็กน้อย และท่านก็ยื่นนิ้วหัวแม่มือและนิ้วก้อยตามลำดับออกมาจนครบ ๕ นิ้ว ท่านทำมือโคลงไปโคลงมา เปรียบการภาวนาของนักปฏิบัติที่จิตแตก ไม่สามารถรวมใจให้เป็นหนึ่งได้

ผู้ฝึกจิต ถ้าทำจิตให้มีอารมณ์หลายอย่างจนสงบไม่ได้และไม่เห็นสภาพของจิตตามเป็นจริง ถ้าทำจิตใจให้ดิ่งแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว จิตก็มีกำลังเปล่งรัศมีแห่งความสว่างออกมาเต็มที่ มองสภาพของจิตตามเป็นจริงได้ว่า อะไรเป็นจิต อะไรเป็นกิเลส อะไรควรรักษา อะไรที่ควรละ



pngegg.5.3.2.png



ตอนที่ ๒๐

อย่าพูดมาก



“เวลาปฏิบัติ พอจะได้ดีหน่อย มันอยากจะพูด อยากจะเล่าให้ใครฟัง จริงไหมล่ะแก ข้ารู้ ข้าก็เคยเป็นมา”

หลวงพ่อท่านกล่าว แล้วเล่าเรื่องเป็นอุทาหรณ์ว่า

“มีพระองค์หนึ่งปฏิบัติจิตสงบดี แล้วเกิดนิมิตเห็นพระพุทธเจ้านับร้อยองค์เดินเข้ามาหา ท่านมีความปีติเอิบอิ่มยินดีมาก อยากจะเล่าให้หมู่เพื่อนทราบ ผลปรากฏว่าพระรูปนั้นทำสมาธิอีกเป็นเดือนก็ยังไม่ปรากฏจิตสงบดีถึงระดับที่เคยนั้นเลย”

ถึงตรงนี้ ท่านสั่งเลยว่า
“แกจำไว้เลยนะ คนที่ทำเป็น เขาไม่พูด คนที่พูดนั่นยังทำไม่เป็น”




รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:24, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMjV8ZDc0OTM3ZWJ8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-2-4 07:24, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMjZ8MDdjNDJjYmJ8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 16:24

ตอนที่ ๒๑

คิดว่าไม่มีดี



ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะไม่พอใจในผลการปฏิบัติของตน โดยที่มักจะขาดการไตร่ตรองว่าสาเหตุนั้นเป็นเพราะอะไร ดังที่เคยมีลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อได้มานั่งบ่นให้ท่านฟังในความอัตภาพอับวาสนาของตนในการภาวนาว่าตนไม่ได้รู้ ไม่ได้เห็นสิ่งต่างๆ ภายใน มีนิมิตภาวนาเป็นต้น ลงท้ายก็ตำหนิว่าตนนั้นไม่มีความรู้อรรถรู้ธรรมและความดีอะไรเลย

หลวงพ่อนั่งฟังอยู่สักครู่ ท่านจึงย้อนถามลูกศิษย์จอมขี้บ่นผู้นั้นว่า
“แกแน่ใจหรือว่าไม่มีอะไรดี แล้วแกรู้จักพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หรือเปล่า”

ลูกศิษย์ผู้นั้นนิ่งสักครู่จึงตอบว่า “รู้จักครับ”
“เออ นั่นดี แล้ว แกทำไมจึงคิดว่าตัวเราไม่มีดี”

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความเมตตาของท่าน ที่หาทางออกทางปัญญาให้ศิษย์ผู้กำลังท้อถอยด้อยความคิด และตำหนิวาสนาตนเอง หากปล่อยไว้ย่อมทำให้ไม่มีกำลังใจในการปฏิบัติเพื่อผลที่ควรได้แห่งตน


pngegg.5.3.1.png


ตอนที่ ๒๒

“พ พาน” ของหลวงพ่อ



หลวงพ่อเคยปรารภธรรมกับผู้เขียนว่า
“ถ้าแกเขียนตัว พ พานได้เมื่อไร นั้นแหละจึงจะดี”

ผู้เขียนถามท่านว่า
“เป็นอย่างไรครับ พ พาน”

ท่านตอบว่า
“ก็ตัว พอ น่ะซิ”


คนเราจะมีชีวิตอยู่ในโลก ไม่จำเป็นต้องร่ำรวยมีฐานะแล้วจึงจะมีความสุข มีคนที่ลำบากอีกมาก แต่เขารู้จักว่าอะไรคือสิ่งที่พอตัว ก็สามารถอยู่อย่างเป็นสุขได้

นี่ก็อยู่ที่คนเรา รู้จักคำว่า “พอ” ก็จะมีแต่ความสุข แต่ถ้าไม่รู้จัก “พอ” ถึงแม้จะร่ำรวย มีเกียรติ ตำแหน่งใหญ่โตอะไร มันก็ไม่มีความสุขได้เหมือนกัน



pngegg.5.3.2.png


ตอนที่ ๒๓

การสอนของท่าน



วิธีวัดอย่างหนึ่งว่าผู้ใดปฏิบัติธรรมได้ดีเพียงใดนั้น ท่านให้สังเกตดูว่า ผู้นั้นสามารถฝึกตน สอนตัวเองได้ดีเพียงใด การเตือนผู้อื่นไม่ให้หลงผิดได้นั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่การเตือนตนเองให้ได้ย่อมดีกว่า

การสอนของหลวงพ่อท่านจะทำให้เราดูเป็นตัวอย่าง ท่านสอนให้เราทำอย่างที่ท่านทำ มิได้สอนให้ทำตามที่ท่านสอน ทุกอย่างที่ท่านสอนท่านได้ ทดลองทำและปฏิบัติทางจิตจนรู้จนเห็นหมดแล้วทั้งสิ้น จึงนำมาอบรมแก่ศิษย์

เหมือนเป็นแบบอย่างให้เราได้ยึดถือตามครูอาจารย์ว่า การแนะนำอบรมหรือสอนธรรมผู้อื่นนั้น เราต้องปฏิบัติจนแน่ใจตนเองเสียก่อน และควรคำนึงถึงสติปัญญาความสามารถของตน ถ้ากำลังไม่พอแต่จะรับภาระมาก นอกจากผู้มาศึกษาจะไม่ได้รับประโยชน์แล้ว ตนเองยังจะกลายเป็นคนเสียไปด้วย ท่านว่าเป็นการไม่เคารพธรรมและไม่เคารพครูอาจารย์อีกด้วย




รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:26, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMjd8OTFmMTRiOGV8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-2-4 07:26, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMjh8MTkwMjIxMTh8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 16:54

ตอนที่ ๒๔

หัดมองชั้นลึก



ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา ล้วนมีความหมายชั้นลึกโดยตัวของมันเองอยู่เสมอ ไอน์สไตน์มองเห็นวัตถุ เขาคิดทะลุเลยไปถึงการที่จะสลายวัตถุให้เป็นปรมาณู สองพี่น้องตระกูลไรท์มองเห็นนกบินไปมาในอากาศ ก็คิดเลยไปถึงการสร้างเครื่องบินได้

พระพุทธเจ้าแต่ครั้งเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงพบคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย ท่านก็มองเห็นถึงความคิดไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

หลวงพ่อเคยเตือนสติลูกศิษย์รุ่นหนุ่มที่ยังมองเห็น สาวๆ ว่าสวยว่างาม น่าหลงใหลใฝ่ฝันกันนักว่า

“แกมันดูตัวเกิด ไม่ดูตัวดับ
ไม่สวยงาม ไม่งาม เน่า เหม็น
ให้เห็นอย่างนี้ได้เมื่อไร ข้าว่าแกใช้ได้”


pngegg.5.3.1.png



ตอนที่ ๒๕

เวลาเป็นของมีค่า



หลวงพ่อเคยบอกว่า.....

“คนฉลาดน่ะ เขาไม่เคยมีเวลาว่าง”

เวลาเป็นของมีค่า เพราะไม่เหมือนสิ่งอื่น แก้วแหวนเงินทอง สิ่งของทั้งหลาย เมื่อหมดไปแล้วสามารถหามาใหม่ได้

แต่สำหรับเวลาแล้ว หากปล่อยให้ผ่านเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ ขอให้ตั้งปัญหาถามตัวเองว่า

“สมควรแล้วหรือยังกับวันคืนที่ล่วงไปๆ คุ้มค่าแล้วหรือกับลมหายใจที่เหลือน้อยลงทุกขณะ”


pngegg.5.3.2.png


ตอนที่ ๒๖

ต้องทำจริง



ในเรื่องของความเคารพครูอาจารย์และความตั้งใจจริงในการปฏิบัติ หลวงพ่อเคยบอกว่า

“การปฏิบัติ ถ้าหยิบจากตำราโน้นนี้ (หรือ) แบบแผนมาสงสัยถาม มักจะโต้เถียงกันเปล่า โดยมากชอบเอาอาจารย์โน่นนี่ว่าอย่างนั้นอย่างนี้มา

การจะปฏิบัติให้รู้ธรรม เห็นธรรม ต้องทำจริง จะได้อยู่ที่ทำจริง ข้าเป็นคนมีทิฐิแรง เรียนจากครูอาจารย์นี้ ยังไม่ได้ผลก็จะต้องเอาให้จริงให้รู้ ยังไม่ไปเรียนกับอาจารย์อื่น ถ้าเกิดไปเรียนกับครูอาจารย์อื่นโดยยังไม่ทำให้จริงให้รู้ ก็เหมือนดูถูกหมิ่นครูอาจารย์”




รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:31, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMjl8ZjI4YTUxZDF8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-2-4 07:31, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMzB8Zjk4NTJhYmZ8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 16:59

ตอนที่ ๒๗

ล้มให้รีบลุก



เป็นปกติของผู้ปฏิบัติธรรม ช่วงใดเวลาใดที่สามารถปฏิบัติธรรมได้ก้าวหน้า จิตใจสงบเย็นเป็นสมาธิได้ง่าย สามารถพิจารณาอรรถธรรมให้ผ่านทะลุจิตใจได้โดยตลอดสาย ช่วงดังกล่าวมักจะต้องมีปัญหา และอุปสรรคที่เข้ามาไม่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อมาขวางกั้นการปฏิบัติธรรมของผู้ปฏิบัติคนนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สามารถเตรียมใจรับกับสถานการณ์นั้นๆ ได้ ธรรมที่กำลังพิจารณาดีๆ ก็ต้องโอนเอนไปมาหรือล้มลุกคลุกคลานอีกได้

ผู้เขียนเคยกราบเรียนให้หลวงพ่อถึงปัญหาและอุปสรรคที่กำลังประสบอยู่

หลวงพ่อเมตตาให้กำลังใจว่า.....


“พอล้มให้รีบลุก รู้ตัวว่าล้มแล้วต้องรีบลุก แล้วตั้งหลักใหม่ จะไปยอมมันไม่ได้”


……ก็เหมือนกับตอนที่แกเป็นเด็กคลอดออกมากว่าจะเดินเป็น แกก็จะต้องหัดเดินจนเดินได้ แกต้องล้มกี่ทีเคยนับไหม พอล้มแกก็ต้องลุกขึ้นมาใหม่ใช่ไหม…..ค่อยๆ ทำไป”

หลวงพ่อเพ่งสายตามาที่ผู้เขียนแล้วเมตตาสอนว่า
“ของข้าเสียมามากกว่าอายุแกซะอีก ไม่เป็นไร ตั้งมันกลับไป”

ผู้เขียน “แล้วจะมีวิธีป้องกันไม่ให้ล้มบ่อยได้อย่างไร”


หลวงพ่อ “ต้องปฏิบัติธรรมให้มาก ถ้ารู้ว่าใจเรายังแข็งแกร่งไม่พอ ถูกโลกเล่นงานง่ายๆ แกต้องทำให้ใจแกแข็งแกร่งให้ได้ แกถึงจะสู้กับมันได้”

เพื่อเป็นการเพิ่มกำลังใจของนักปฏิบัติ ไม่ว่าจะล้มสักกี่ครั้งก็ตาม แต่ทุกๆ ครั้งเราจะได้บทเรียน ได้ประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป ให้น้อมนำสิ่งที่เราเผชิญมาเป็นครู เป็นอุทาหรณ์สอนใจของเราเอง เตรียมใจของเราให้พร้อมอีกครั้ง ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 17:00

ตอนที่ ๒๘

อย่าทำเล่น



เคยมีผู้ปรารภกับผู้เขียนว่าปฏิบัติธรรมมาหลายปีเต็มที แต่ภูมิจิต ภูมิธรรม ไม่ค่อยจะก้าวหน้าถึงขั้น “น่าชมเชย” ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่มองไปทางไหนก็เห็นแต่ตัวเองและหมู่เพื่อนเป็นโรคระบาดคือโรคขาอ่อน หลังอ่อน ไม่สามารถจะเดินจงกรมนั่งสมาธิ ต้องอาศัยนอนภาวนาพิจารณา “ความหลับ” เป็นอารมณ์เลยต้องพ่ายแพ้ต่อเจ้ากรรมนายเวร คือ เสื่อและหมอนตลอดชาติ

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีถึง ๔ อสงไขยกำไรแสนมหากัป ครั้นออกบวชก็ทรงเพียรปฏิบัติอยู่หลายปี กว่าจะได้บรรลุพระโพธิญาณ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่แหวน ฯลฯ ท่านปฏิบัติธรรมตามป่าตามเขา บางองค์ถึงกับสลบเพราะพิษไข้ป่าก็หลายครั้ง หลวงพ่อดู่ท่านก็ปฏิบัติอย่างจริงจังมาตลอดหลายสิบพรรษา กว่าจะได้ธรรมแท้ๆ มาอบรมพร่ำสอนเรา

แล้วเราล่ะ ปฏิบัติกันจริงจังแค่ไหน
“ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” แล้วหรือยัง


pngegg.5.3.1.png



ตอนที่ ๒๙

อะไรมีค่าที่สุด



ถ้าเราลองคิดดูกันแล้ว สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตเราตั้งแต่วันเกิดจนกระทั่งวันตายคืออะไร หลายคนอาจตอบว่า ทรัพย์สมบัติ สามี ภรรยา บุคคลที่รัก หรือบุตร หรืออะไรอื่นๆ แต่ท้ายที่สุดก็ต้องยอมรับว่า ชีวิตของเรานั้นมีค่ามากที่สุด เพราะถ้าเราสิ้นชีวิตแล้ว สิ่งที่กล่าวข้างต้นก็ไม่มีความหมายใดๆ

ชีวิตเป็นของมีค่ามากที่สุด ในจำนวนสิ่งที่เราอยู่ในโลกนี้ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็เป็นของมีค่าที่สุดในโลก สิ่งต่างๆ ในโลกช่วยให้เราพ้นทุกข์ชนิดถาวรไม่ได้ แต่พระธรรมช่วยเราได้ ผู้มีปัญญาทั้งหลายควรจะผนวกเอาสิ่งที่มีคุณค่าที่สุดทั้งสองนี้ให้ขนานทาบทับเป็นเส้นเดียวกัน อย่าให้แตกแยกจากกันได้เลย ดังพระพุทธพจน์ตอนหนึ่งว่า

การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก
การได้มีชีวิตอยู่เป็นของยาก
การได้ฟังพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นของยาก
การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นของยาก

อะไรจะมีค่ามากที่สุด สำหรับผู้ที่ได้นมัสการหลวงพ่อนั้นคงไม่ใช่พระพรหมผง หรือเหรียญอันมีชื่อของท่าน

หลวงพ่อเคยเตือนศิษย์เสมอว่า


“ข้าไม่มีอะไรให้แก
(ธรรม) ที่สอนไปนั้นแหละ ให้รักษาเท่าชีวิต”




รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:34, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMzF8ZWY5MTQ2NzF8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 17:02

ตอนที่ ๓๐

ขอเพียงความรู้สึก



นักปฏิบัติภาวนาหลายท่านชอบติดอยู่กับการทำสมาธิแบบสงบ ไม่ชอบที่จะใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ให้เห็นเหตุและผล ให้ลงหลักความจริง

หากจะถามว่า……พิจารณาอย่างไร ?

ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อเคยยกตัวอย่างให้ข้าพเจ้าฟังว่า หากใจเราว่างจากการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับความจริงของชีวิตแล้ว เรื่องที่ควรสนใจศึกษาน้อมนำพิจารณาให้มากอีกเรื่องหนึ่งคือ พุทธประวัติ ประวัติครูอาจารย์องค์ต่างๆ ได้แก่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ฯลฯ การพิจารณานั้น ขอให้เทียบเคียงความรู้สึกว่า

ในระยะแรกของการศึกษา……เราอาจจะยังไม่มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้ามากนัก แต่เมื่อเราได้ปฏิบัติภาวนามากขึ้น ได้พิจารณามากขึ้น การได้อ่านเรื่องของเจ้าชายสิทธัตถะ จะไม่เป็นเพียงการอ่านเรื่องราวของเจ้าชายที่ละทิ้งปราสาทราชวัง ทิ้งพระชายา พระโอรส เหมือนสมัยเราเป็นเด็กที่เพิ่งเริ่มศึกษาพุทธประวัติ

หากแต่เราจะสามารถเข้าใจความรู้สึกของเจ้าชายสิทธัตถะ ในแต่ละเหตุการณ์ของพุทธประวัติได้อย่างดีจากศรัทธาธรรมดาที่เคยมีในใจ จะเริ่มก่อตัวมั่นคงมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็น
ตถาคตโพธิสัทธา คือ ความเชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

เมื่อนั้นความปีติ อิ่มเอิบ และสงบเย็นจะปรากฏขึ้นในใจ ใจกับธรรมที่เคยแยกเป็นคนละส่วนกัน จะกลายเป็นใจกับธรรมที่ผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

การฟังเทศน์จากครูอาจารย์ที่เคยฟังผ่านเพียงโสตวิญญาณ จะกลายเป็นการฟังธรรมที่การฟังนั้นสัมผัสลงสู่มโนวิญญาณ สามารถเข้าถึงความรู้สึกของใจอย่างแท้จริง



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 17:04

ตอนที่ ๓๑

คลื่นกระทบฝั่ง



ข้าพเจ้าขอเล่าเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเมื่อต้นปี ๒๕๔๐ มานี้ ที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลวงพ่อดู่ท่านเมตตามาโปรด โดยเฉลยปัญหาข้อขัดข้องใจในการปฏิบัติธรรมของข้าพเจ้า

เรื่องมีอยู่ว่าในระหว่างนั้น ข้าพเจ้ามีข้อขัดข้องในการปฏิบัติว่าจะมีอุเบกขาวิธีอย่างไรจึงจะสามารถควบคุมอารมณ์ ควบคุมจิตใจของเราให้เป็นไปในทางที่เราต้องการได้

ในคืนนั้น ขณะที่ข้าพเจ้าเดินจงกรมภาวนา เมื่อใจเกิดความสงบดีแล้ว ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนได้ยินเสียงหลวงพ่อดู่บอกข้าพเจ้าว่า คำตอบที่ข้าพเจ้าต้องการนั้นอยู่ในหนังสือ “อุปมลมณี” ซึ่งเป็นหนังสือเรื่องราวชีวิตและการปฏิบัติธรรมตลอดจนรวมธรรมคำสอนของท่านพระโพธิญาณเถระหรือ หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีใจความว่า


ธรรมอุปมา


การอุปมาเป็นวิธีการสอนธรรมะที่ดูเหมือนหลวงพ่อชอบมากที่สุด และเป็นวิธีที่ท่านถนัดมากที่สุดด้วย ท่านยกเอาธรรมชาติรอบด้านเข้ากับสภาวะ เข้ากับปัญหาถูกกับจริตนิสัยของคนนั้น อุปมาอุปไมยประกอบการสอนธรรมะ จึงทำให้ผู้ฟังเกิดภาพพจน์ตามไปด้วย ทำให้ผู้ฟังสามารถมองปัญหาได้อย่างทะลุปรุโปร่ง หมดความสงสัยในหลักธรรมที่นำมาแสดง ตัวอย่างการอุปมาของหลวงพ่อ ได้แก่

.....“การทำกรรมฐาน ทำเหมือนระฆังใบนี้ ระฆังนี้ตั้งไว้เฉยๆ เสียงไม่มีนะ สงบ สงบจากเสียง เมื่อมีเหตุกระทบขึ้นมา (หลวงพ่อตีระฆังดัง ๑ ที) เห็นไหมเสียงมันเกิดขึ้นมา แก้ไขทันท่วงทีเลยชนะด้วยปัญญาของเรา แก้ปัญหาแล้วก็สงบ ตัวของเราเหมือนระฆังนี้”

.....“เหมือนกับคลื่นในทะเลที่กระทบฝั่ง เมื่อขึ้นมาถึงแค่ฝั่งมันก็สลายเท่านั้น คลื่นใหม่มาก็ต่อไปอีก มันจะบอกฝั่งไปไม่ได้ อารมณ์มันจะเลยไป ความรู้ของเราไปไม่ได้เหมือนกับเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะพบกันที่ตรงนั้น มันจะแตกร้าวอยู่ที่ตรงนั้น มันจะหายก็อยู่ตรงนั้น เห็นว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ ฝั่งทะเล อารมณ์ทั้งหลายผ่านเข้ามาเหมือนคลื่นทะเล”

ขณะนั้นเป็นเวลาดึกมากแล้ว ข้าพเจ้าจึงคิดว่าสมควรแก่เวลาพักผ่อน จึงได้ขึ้นมาที่ห้องนอน ที่ตู้หัวเตียงมีหนังสืออยู่หลายเล่มแต่เหมือนมีสิ่งใดดลใจให้ข้าพเจ้าหยิบหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาชื่อ “พุทธทาส สวนโมกขพลารามกำลังแห่งการหลุดพ้น” ซึ่งรวมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ มีใจความว่า


หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับพลังทางเพศ


มันเป็นไปโดยอัตโนมัติไม่ได้มีแผนการคือ เราทำงานที่เราชอบหามรุ่งหามค่ำ แล้วพลังงานที่เหลือที่รุนแรงทางนั้นมันก็ลดมันก็หมดไป แรงกระตุ้นอยากมีชื่อเสียง อยากให้มีประโยชน์แก่ผู้อื่นที่เขาคอยรอผลงานของเรา อันนี้มันมีมากกว่า นี่ก็เลยทำเสียจนหมดแรง พอเพลียก็หลับไป พอตื่นขึ้นมาก็ทำอีก ไม่มีโอกาสใช้แรงไปทางเพศตรงกันข้าม เราไม่ได้เจตนาโดยตรง มันเป็นไปเอง

เหตุการณ์มันบังคับให้เป็นไปเองคือ เราหาอะไรทำให้มันง่วนอยู่กับงาน พอใจในงาน เป็นสุขในงาน มันก็ซับบลีเมท (sublimate หมายถึง กลั่นกรองทำให้บริสุทธิ์ -ผู้เขียน) ของมันเอง เอาแรงทางเพศมาใช้ทางสติปัญญา เอาแรงงานกิเลสมาใช้เป็นเรื่องของสติปัญญา ต้องมีงานอันหนึ่งซึ่งพอใจหลงใหลขนาดเป็นนางฟ้า เหมือนกับเรียนพระไตรปิฎก ต้องหลงใหลขนาดนางฟ้า ความรู้สึกทางเพศมันก็เกิด แต่ว่าความรู้สึกทางนี้ (ความคิดที่จะเป็นประโยชน์ส่วนรวม) เหมือนกับสิ่งต้านทาน เช่นว่า

คลื่นกับฝั่ง คลื่นมันก็แรงเหมือนกัน แต่ว่าฝั่งมันแข็งแรงพอจะรับ (หัวเราะ)


ถาม - วิกฤตแบบจวนเจียนจะไปไม่ได้ ตัดสินใจอย่างไร นั่นมันเรื่องคิดฝัน เวลามันช่วยได้ หรือว่าไม่รู้ไม่ชี้ (หัวเราะ) มันช่วยได้ มันเหมือนกับคลื่นกระทบฝั่ง พอพ้น พ้นเวลามันก็ไม่รู้ว่าหายไปไหน แต่สรุปแล้ว มันต้องทำงาน พอถึงเวลาเข้า มันต้องทำงานมันนีกถึงงาน อยู่ไปทำงานเสีย ความคิดฝันนั่นก็ค่อยๆ ซาไปๆ มันไปสนุกในงาน


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 17:08

ตอนที่ ๓๒

ปรารภธรรมเรื่อง “การเกิด”



บ่ายร่มลมเย็นวันหนึ่ง ในอริยาบถสบายๆ ของหลวงพ่อที่กุฏิท่าน หลวงพ่อได้ปรารภธรรมเกี่ยวกับเรื่อง  “การเกิด” ให้กับศิษย์ได้ฉุกคิดเป็นการบ้าน

ท่านได้ปรารภไปว่า
“คนเราเกิดมาไม่เห็นมีอะไรดี มีดีอยู่อย่างเดียว สวดมนต์ไหว้พระ ปฏิบัติภาวนา”

ข้าพเจ้าหวนรำลึกถึงคำสอนท่านพุทธทาสภิกขุจากหนังสือ “เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา” ซึ่งสัมภาษณ์โดยพระประชาปสันนธัมโม ท่านพุทธทาสภิกขุได้พูดถึงเรื่องที่สำคัญที่สุดในชีวิตว่า คือ เกิดมาควรจะได้อะไร เกิดมาทำไม ?

คนส่วนใหญ่สมัยเป็นเด็กๆ ไม่มีทางรู้  ไม่มีทางรู้ว่าเกิดมาทำไม พ่อแม่ก็ไม่ได้สอนว่าเกิดมาทำไม เพียงแต่ได้รับการดูว่าทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ที่เรียกว่าดีๆ ให้เรียนหนังสือ ให้ประพฤติดีก็ดีแต่ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม จนกระทั่งเป็นหนุ่มสาวก็ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไม เพื่อประโยชน์อะไร แต่ก็ได้ทำทุกๆ อย่างตามที่ผู้หลักผู้ใหญ่สอนให้ทำ ตามขนบธรรมเนียมประเพณีมีให้ทำ จึงมีการศึกษา มีอาชีพสำหรับทำมาหากิน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น บางคนจนเลยวัยผู้ใหญ่ล่วงถึงวัยชรา ก็ไม่มีโอกาสแม้จะคิดหา

คำตอบที่สำคัญที่สุดในชีวิตนี้ ข้าพเจ้าขออนุญาตขีดเส้นใต้คำว่า
ที่สำคัญที่สุดในชีวิตนี้

ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้เฉลยคำตอบนี้ไว้ว่า.....
“เกิดมาให้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ คือให้มีชีวิตที่เย็น ที่ไม่เป็นทุกข์เลย”

สรุปได้ว่า เพื่อแสวงหาความสุขที่ไม่กลับกลายเป็นความทุกข์อีก
มีสุภาษิตจีนบทหนึ่งที่ว่า.....

รู้ก่อน     แก้ก่อน
รู้หลัง     แก้หลัง
ไม่รู้       ไม่แก้
รู้แล้ว     ทำไมไม่แก้


นั่นน่ะซิ รู้แล้ว………ทำไม (ยัง) ไม่แก้ !
ข้าพเจ้าอุทานกับตัวเอง



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 17:11

ตอนที่ ๓๓

กรรมฐานพาลจิตเพี้ยน



เมื่อหลายปีก่อน มีการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โรคจิตกับกรรมฐาน” จัดโดยธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในครั้งนั้นมีการเชิญจิตแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช มาเล่าถึงปัญหาโรคจิตที่เกิดจากการนั่งวิปัสสนากรรมฐาน ว่าที่จริงแล้วการทำกรรมฐานไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคจิตแต่ประการใด การที่คนทั่วไปนั่งวิปัสสนากลับมาแล้วเกิดอาการทางจิตที่คนอื่นมองว่า “เพี้ยน” หรือเป็นโรคประสาท เป็นเพราะทำไม่ถูกวิธี

จิตแพทย์ท่านนั้นได้กล่าวว่า การที่มีผู้ไปทำวิปัสสนากลับมาแล้วผิดปกติมีไม่มากนัก แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากก็คือ ปัจจุบันมีสำนักสอนการปฏิบัติรวมทั้งวิปัสสนาเกิดขึ้นอย่างมากมาย จนทำให้คนคิดว่าเป็นแฟชั่นที่กำลังได้รับความนิยม คาดว่ามีสำนักน้อยใหญ่ทั่วประเทศเป็นพันแห่ง สาเหตุที่ทำให้คนมุ่งเข้าสู่สำนักกรรมฐานเหล่านี้ เนื่องมาจากความทุกข์ความผิดหวังในชีวิต จึงต้องหาที่พึ่งทางใจไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยว

สรุปได้ว่า คนที่เพี้ยนจากการทำกรรมฐานนั้น ส่วนใหญ่มีความอ่อนแอทางจิตใจอยู่แล้ว และมาพบกับแนวทางวิธีการสอนที่ผิดๆ เช่น อ่านตำราแล้วนำไปตีความเอง เพิ่งฝึกใหม่แต่คิดค้นวิธีปฏิบัติเองนอกแบบของครูอาจารย์ ฟังจากเพื่อนที่เล่าให้ฟังต่อๆ กันมา


หรือเจ้าสำนักกรรมฐานใช้วิธีพิสดารต่างๆ เพื่อสร้างความขลังให้สำนักตนด้วยการฝึกแบบแปลกๆ เช่น ให้เข้าไปนั่งคนเดียวในป่าช้า หรือนั่งบังคับให้เห็นรูปนิมิตต่างๆ ซึ่งมองไม่เห็นแล้วก็จะว่าเป็นคนไม่มีบุญ จนทำให้คนที่ฝึกแบบที่ผิดๆ เกิดความกลัว หวาดระแวง เกิดเป็นอาการเพี้ยนๆ ต่างๆ ตามมา

อาการเพี้ยนนี้มิใช่เพิ่งเกิดในสมัยปัจจุบัน หากแต่ในครั้งพุทธกาลก็มีหลักฐานปรากฏในพระวินัยปิฎก ภาค อาทิกรรมิกะ คือวันหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนกรรมฐานชื่อที่ว่าด้วยการพิจารณาร่างกายดุจซากศพแก่พระภิกษุ

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าผาสุกวิหารธรรมคือ ทรงพักผ่อนส่วนพระองค์เป็นเวลา ๑๕ วัน ในระหว่างนี้จะไม่เสด็จออกบิณฑบาต จะมีแต่พระภิกษุผู้ทำหน้าที่คอยอุปัฏฐากอยู่ ไม่ทรงรับแขกและงดการแสดงธรรม


พระภิกษุที่ได้ฟังพระพุทธเจ้าสอนเรื่อง อสุภกรรมฐาน ได้นำคำสอนไปปฏิบัติโดยไม่มีครูอาจารย์คอยควบคุมอย่างใกล้ชิด ก็เกิดอาการวิปริตเห็นร่างกายเป็นซากศพเป็นที่น่าขยะแขยงเป็นทุกข์ จึงจ้างวานคนอื่นให้ฆ่าตัวเองบ้าง ลงมือฆ่ากันเองบ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเสร็จจากผาสุกวิหารธรรม ทรงทราบเรื่องเข้า จึงทรงสอนให้ภิกษุที่เหลืออยู่ให้พิจารณากรรมฐานในแนวใหม่

อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องพระภิกษุกลุ่มหนึ่งเรียนกรรมฐานจากพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลลงเข้าป่าหาที่สงบ ปฏิบัติกรรมฐานจนได้บรรลุฌานเป็นความสงบแล้ว ไม่นานก็เกิดความสำคัญผิดคิดว่า ตนได้สำเร็จขั้นอรหันต์แล้ว จึงชวนกันออกจากป่ากลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้บอกความประสงค์เรื่องนี้แก่พระอานนท์

พระอานนท์เข้าไปกราบทูลพระพุทธเจ้า เพื่อขออนุญาตเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต แต่รับสั่งให้พระอานนท์บอกพระภิกษุเหล่านั้นให้ไปพิจารณาซากศพในป่าช้าก่อน ซึ่งในขณะนั้นในป่าช้ามีคนตายใหม่ ยังไม่ได้เผา พระภิกษุเหล่านั้นก็ได้ไปดูศพในป่าช้า


เมื่อดูศพที่กำลังขึ้นอืดก็บังเกิดความเกลียด และเมื่อไปดูศพหญิงสาวที่เพิ่งตาย เมื่อแลเห็นอวัยวะทุกส่วนยังสดอยู่ก็บังเกิดราคะ พระภิกษุเหล่านั้นจึงทราบว่า พวกตนยังไม่ได้บรรลุธรรมใดๆ ก็เกิดความสลดสังเวชในความสำคัญผิดของตน หลังจากนั้นได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมจึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในเวลาต่อมา

นี้เป็นหลักฐานว่า การปฏิบัติกรรมฐานตามหลักศาสนาพุทธแล้ว ต้องมีครูอาจารย์คอยดูแลควบคุมแนะนำว่า ภาพที่เห็นและความคิดที่เกิดขึ้นในขณะที่เจริญกรรมฐานหรือเวลานั่งกรรมฐาน ตลอดจนอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างนั้น มีความหมายอย่างไรและควรวางอารมณ์ต่อสิ่งเหล่านี้อย่างไร มิฉะนั้น ผู้ทำกรรมฐานจะเกิดเป็นความเห็นผิดในเบื้องต้น ต่อมาจะพัฒนากลายเป็นมีจิตใจวิปริตและเพี้ยนที่สุด แล้วเกิดอาการรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ กลายเป็นคนวิกลจริตก็มี

ผู้ปฏิบัติจึงควรเริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนาด้วยการศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจก่อนที่จะลงมือนั่งสมาธิเจริญภาวนา เพราะการทำสมาธิแต่เพียงอย่างเดียวก็มีโทษ มิใช่มีประโยชน์ด้านเดียว


ตัวอย่างของครูอาจารย์ท่านหนึ่งในสมัยนี้ที่อธิบายเรื่องของความเห็นความเข้าใจที่ถูกหรือสัมมาทิฐิได้ดียิ่งคือ ท่านพระอาจารย์ทูล ขิปปปัญโญ วัดป่าบ้านค้อ ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี โดยท่านได้อธิบายไว้อย่างละเอียดในหนังสือชื่อ “สัมมาทิฏฐิ” ทั้งสามเล่ม

หากจะแบ่งผู้ทำกรรมฐานออกเป็นสองกลุ่มคือ พวกที่ไม่มีนิสัยรู้เห็นนิมิต กับพวกที่มีนิสัยชอบรู้เห็นนิมิตต่างๆ ขณะที่ภาวนา พวกแรกมักไม่มีปัญหาในเรื่องเรียนพระกรรมฐานแล้วจิตเพี้ยน แต่พวกหลังที่มักจะมีนิมิตต่างๆ นี้ จะเป็นพวกที่มีโอกาสเสี่ยงในเรื่องจิตเพี้ยน

ดังนั้น จึงขอฝากผู้ปฏิบัติที่มักมีนิมิตภาวนา ไม่ว่าเป็นนิมิตประเภทภาพ เสียง กลิ่น หรือสิ่งอื่นใดก็ตาม หลวงพ่อท่านเคยสอนไว้ว่า “อย่ายินดียินร้ายและอย่าน้อมใจเชื่อในนิมิตที่เกิดขึ้น” ท่านสอนไม่ให้ปฏิเสธ หรือว่าไม่ให้เชื่อนิมิตที่เกิดขึ้นทันที แต่สอนให้เชื่อหรือปฏิเสธทันทีก็ต่อเมื่อความจริงปรากฏขึ้นเท่านั้น

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านได้เคยแนะนำวิธีละนิมิตกับศิษย์คนหนึ่งในหนังสือ “หลวงปู่ฝากไว้” เรียบเรียงโดยพระโพธินันทมุนี หรืออดีตพระครูนันทปัญญาภรณ์ว่า

“นิมิตบางอย่างมันก็สนุกดี น่าเพลิดเพลินอยู่หรอก แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น มันก็เสียเวลาเปล่า วิธีละได้ง่ายๆ ก็คือ อย่าไปดูสิ่งที่ถูกเห็นเหล่านั้น ให้ดูผู้เห็น แล้วสิ่งที่ไม่อยากเห็นนั่นก็จะหายไปเอง”



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 17:13

ตอนที่ ๓๔

จะไปทางไหน



หลวงพ่อเคยพูดถึงความรู้สึกห่วงใยของท่านที่มีกับบรรดาศิษย์ว่า หลายคนก่อนจะมาเกิดนี่ พวกที่อยู่บนสวรรค์ก็ได้ไปร่ำลาพระก่อน พอลงมาแล้วก็มาเพลิดเพลินหลงติดอยู่กับโลก ครั้นเมื่อตายไปแล้วก็ไปเกิดในที่ลำบาก ในอบายภูมิมีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ไม่สามารถกลับขึ้นไปรับผลบุญบนสวรรค์ชั้นพรหมหรือพระนิพพานได้

พระพุทธเจ้าเคยเปรียบบุคคลไว้ ๔ จำพวกว่า บุคคลที่มืดมาแล้วมืดไป เปรียบกับบุคคลที่มาจากภพภูมิที่ต่ำกว่ามนุษย์ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ครั้นมาเกิดแล้วก็ประกอบแต่กรรมชั่ว เมื่อตายจากโลกมนุษย์ก็กลับไปสู่อบายภูมิอีก

บุคคลที่มืดมาแล้วสว่างไป เปรียบได้กับบุคคลที่มาจากภพภูมิที่ต่ำกว่ามนุษย์ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ครั้นมาเกิดแล้วก็ประกอบแต่กรรมดี เมื่อตายจากโลกมนุษย์ เขาก็สามารถไปสู่สุคติมีสวรรค์ พรหม พระนิพพานได้

บุคคลที่สว่างมาแล้วมืดไป เปรียบได้กับบุคคลที่มาจากภพภูมิที่สูงกว่าภูมิมนุษย์ ได้แก่ สวรรค์ พรหม ครั้นมาเกิดแล้วก็ประกอบแต่กรรมชั่ว เมื่อตายจากโลกมนุษย์ก็กลับไปสู่อบายภูมิ

บุคคลที่สว่างมาแล้วสว่างไป เปรียบได้กับบุคคลที่มาจากภพภูมิที่สูงกว่าภูมิมนุษย์ ได้แก่ สวรรค์ พรหม
ครั้นมาเกิดแล้วก็ประกอบแต่กรรมดี เมื่อตายจากโลกมนุษย์ เขาก็สามารถไปสู่สุคติมีสวรรค์ พรหม พระนิพพานได้

จะมืดมาหรือสว่างมา ข้าพเจ้าคิดว่าไม่สำคัญเท่ากับจะมืดไปหรือสว่างไป เพราะอย่างไรเสีย เราก็ได้มาเกิดแล้ว แต่ขณะนี้เรายังไม่ได้...ไป

ในประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อคราวที่ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ทรงให้ขุดสระน้ำและปลูกพระตำหนักกลางสระน้ำอย่างสวยงาม ท่านได้ตรัสถามสมเด็จโตว่า “สวยไหม ขรัวโต”


สมเด็จโตกราบทูลตอบว่า “สวยมากมหาบพิตร ดุจราชรถอันวิจิตร”

เท่านี้แหละ ในหลวงทรงกริ้วไปหลายวัน เพราะท่านเป็นปราชญ์เชี่ยวชาญภาษาบาลี คำกราบทูลของสมเด็จโตว่า “ดุจราชรถอันวิจิตร” นี้ตรงกับภาษิตบทหนึ่งว่า

“สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถอันวิจิตร ที่พวกคนโง่หลงติดอยู่ แต่ผู้รู้หาติดข้องอยู่ไม่”

ข้าพเจ้าขอฝากความรัก ความห่วงใย และปรารถนาดีของหลวงพ่อมากับบทความนี้ ให้ศิษย์ทั้งหลายได้นำไปเป็นข้อคิดและแนวทางปฏิบัติโดยทั่วกันเทอญ



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 17:17

ตอนที่ ๓๕

เปรียบศีล



ดิฉันเป็นคนช่างสังเกตและขี้สงสัยว่า ทำไมในบทสวดมนต์การสมาทานพระกรรมฐานของหลวงพ่อถึงได้ต้องมีการอาราธนาศีล ซึ่งมีผู้แนะนำให้ทำเป็นประจำทุกวัน ด้วยความอดรนทนไม่ได้ เมื่อสบโอกาสที่ได้มากราบนมัสการหลวงพ่อ จึงเรียนถามท่าน


“หลวงพ่อเจ้าคะ ทำไมเวลาสวดมนต์ จึงต้องขอศีลทุกวันคะ”

หลวงพ่ออธิบายว่า “ก็เหมือนเชือกล่ะ เอ็งเคยเห็นเชือกไหม ห้าเส้นควั่นเป็นเกลียว ถ้าเส้นหนึ่งขาดเราก็ผูกใหม่ สองเส้นขาดเราก็ผูกสองเส้นใหม่ แล้วถ้าเอ็งไม่ผูกมันจะเป็นยังไงล่ะ ? หลวงพ่อจบคำตอบด้วยคำถาม

ดิฉันนั่งนึกอย่างเห็นภาพ….เชือกก็คงบางลง และคงขาดทีละเส้น สองเส้น….จนหมด


หลวงพ่อมองข้าพเจ้าแล้วยิ้ม



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 17:19

ตอนที่ ๓๖

บทเรียนทางธรรม



บทที่ ๑ ความกตัญญูและกุศโลบายในการหาบุญ


ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้ไปกราบหลวงพ่อดู่ในราวปี พ.ศ.๒๕๒๕ โอวาทที่ท่านมอบให้แก่ลูกศิษย์หน้าใหม่คนนี้ก็คือ “ทำบุญกับพระที่ไหนๆ ก็ต้องไม่ลืมพระที่บ้าน พ่อแม่เรานี้แหละ...พระอรหันต์ที่บ้าน”

ครั้งนั้นยังจำได้ว่าข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ได้ซื้อดอกบัวไปถวายท่านด้วย ท่านรับและนำไปบูชาพระพุทธรูปใกล้ๆ แล้วก็ให้โอวาทอีกว่า
“พวกแกยังเป็นนักเรียน นักศึกษา ยังต้องแบมือขอเงินพ่อแม่อยู่ คราวหน้าอย่าไปเสียเงินเสียทองซื้อดอกไม้มาถวาย ระหว่างทางมาวัด หากเห็นสระบัวที่ไหนก็ให้ตั้งจิตนึกน้อมเอาดอกบัวถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ก็ใช้ได้แล้ว”

นอกจากนี้ วิธีหาบุญแบบง่ายๆ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แล้วก็สามารถทำได้ทั้งวัน ที่หลวงพ่อท่านแนะนำก็คือ ตื่นเช้ามา ขณะล้างหน้าหรือดื่มน้ำ ก็ให้ว่า “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมธัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ก่อนจะกินข้าวให้นึกถวายข้าวพระพุทธ


ออกจากบ้านเห็นคนอื่นเขากระทำความดี เป็นต้นว่า ใส่บาตรพระ จูงคนแก่ข้ามถนน ฯลฯ ก็ให้นึกอนุโมทนากับเขา ผ่านไปเห็นดอกไม้ที่ใส่กระจาดวางขายอยู่หรือดอกบัวในสระข้างทาง ก็ให้นึกอธิษฐานถวายเป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัย โดยว่า “พุทธัสสะ ธัมมัสสะ สังฆัสสะ ปูเชมิ” แล้วต้องไม่ลืมอุทิศบุญให้แม่ค้าขายดอกไม้หรือรุกขเทวาที่ดูแลสระบัวนั้นด้วย

ตอนเย็นนั่งรถกลับบ้าน เห็นไฟข้างทางก็ให้นึกน้อมบูชาพระรัตนตรัย โดยว่า “โอมอัคคีไฟฟ้า พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา” กลับมาบ้าน ก่อนนอนก็นั่งสมาธิ เอนตัวนอนลงก็ให้นึกคำบริกรรมภาวนาไตรสรณาคมน์จนหลับ ตื่นขึ้นมาก็บริกรรมภาวนาต่ออีก

นี่เรียกว่า เป็นกุศโลบายของหลวงพ่อดู่ที่ต้องการให้พวกเราคอยตะล่อมจิตให้อยู่แต่ในบุญในกุศลตลอดทั้งวันเลยทีเดียว

a1 (141) - Copy.gif



บทที่ ๒ ระวังตกต้นตาล


ด้วยความที่ข้าพเจ้าเป็นคนที่สนใจอ่านหนังสือธรรมอยู่เสมอๆ ทำให้สัญญาหรือความจดจำมันล่วงหน้าไปไกลกว่าการปฏิบัติชนิดไม่เห็นฝุ่นเลยทีเดียว

เช้าวันหนึ่ง ในช่วงที่ข้าพเจ้ารู้จักและไปกราบหลวงพ่อใหม่ๆ ข้าพเจ้าถามท่านว่า “หลวงพ่อครับ พระท่านสอนว่าบุญก็ไม่ให้เอา บาปก็ไม่ให้เอา และอย่าไปยินดียินร้ายกับสิ่งทั้งปวง” ทีนี้อย่างไรผมถึงจะหมดความยินดียินร้ายครับ”

หลวงพ่อท่านยิ้มและตอบหัวเราะว่า “เบื้องต้นก็จะขึ้นยอดตาล ก็มีหวังตกลงมาตายเท่านั้น”


ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกเขินและได้คิดว่าการปฏิบัติธรรมที่ถูกที่ควรนั้น ไม่ควรจะอ่านตำรับตำรามาก แต่ควรปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไป มุ่งประกอบเหตุที่ดีอย่างเสมอต้นเสมอปลาย โดยไม่เร่งรัดหรือคาดคั้นเอาผล และที่สำคัญคือ อย่าสำคัญผิดคิดว่า “สัญญา” เป็น “ปัญญา” เพราะหากยังเป็นแค่สัญญาหรือความรู้ที่เป็นเพียงการจดการจำ มันยังไม่ช่วยให้เราเอาตัวรอดหรือพ้นทุกข์ได้


a1 (140) - Copy.gif



บทที่ ๓ อย่าประมาท


หลวงพ่อดู่ ท่านพูดเตือนเพื่อให้พวกเราไม่ประมาท รีบทำความดีเสียแต่ยังแข็งแรงอยู่ เพราะเมื่อแก่เฒ่าลงหรือมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนก็จะปฏิบัติได้ยาก ท่านว่า

“ปฏิบัติธรรมเสียตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นสาวนี้แหละดี เพราะเมื่อแก่เฒ่าไปแล้ว จะนั่งก็โอย จะลุกก็โอย หากจะรอไว้ให้แก่เสียก่อนแล้วจึงค่อยปฏิบัติ ก็เหมือนคนที่คิดจะหัดว่ายน้ำเอาตอนที่แพใกล้จะแตก มันจะไม่ทันการณ์”

นอกจากนั้น ท่านยังแนะให้หาโอกาสไปโรงพยาบาล ท่านว่า “โรงพยาบาลนี้แหละ” เป็นโรงเรียนสอนธรรมะ มีให้เห็นทั้งเกิด แก่ เจ็บ และตาย ให้หมั่นพิจารณาให้เห็นความจริง ทุกข์ทั้งนั้น……

“อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”


a1 (139).gif



บทที่ ๔ ให้หมั่นดูจิต


คำสอนของหลวงพ่อที่ข้าพเจ้าได้ยินแทบจะทุกครั้งที่ไปนมัสการท่านก็คือ

“ของดีอยู่ที่ตัวเรา ของไม่ดีก็อยู่ที่ตัวเรา”
ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต”


นับเป็นโอวาทที่สั้นแต่เอาไปปฏิบัติได้ยาวจนชั่วชีวิตหรือยาวนานตราบเท่าจนกว่าจะพ้นจากวัฏฏะสงสารนี้ไปได้ ซึ่งสอดคล้องกับพุทธพจน์ที่ว่า...


“ผู้ใดหมั่นตามดูจิต ผู้นั้นจะพ้นจากบ่วงแห่งมาร”


การขาดการตามดูจิต รักษาจิต เป็นเหตุให้เราไม่ฉลาดในความคิดหรืออารมณ์ การฟังมามากก็ไม่อาจช่วยอะไรเราได้ เพราะเพียงแค่การฟังธรรมจากครูบาอาจารย์ภายนอก โดยปราศจากโยนิโสมนสิการ หมั่นตรึกพิจารณาสิ่งต่างๆ ให้เป็นธรรม หรือนัยหนึ่งคือ ขาดการฟังธรรมในใจเราเองบ้าง ธรรมต่างๆ ที่ได้ยินฟังมานั้นก็ย่อมไม่อาจสำเร็จประโยชน์เป็นความดับทุกข์ได้เลย

a1 (139) - Copy.gif



บทที่ ๕ รู้จักหลวงพ่ออย่างไร


เช้าวันหนึ่ง ในเดือนมกราคม ๒๕๓๓ ก่อนหน้าที่หลวงพ่อจะละสังขารไม่กี่วัน ในขณะที่รอใส่บาตรอยู่หน้ากุฏิของท่าน หลวงพ่อได้พูดเป็นคติแก่สานุศิษย์ ณ ที่นั้นว่า....

“ตราบใดก็ตามที่แกยังไม่เห็นความดีในตัว
ก็ไม่นับว่าแกรู้จักข้า
แต่ถ้าเมื่อใดที่เริ่มเห็นความดีในตัวเองแล้ว
เมื่อนั้น ข้าว่าแกรู้จักข้าดีขึ้นแล้ว”


นับเป็นคำพูดที่แสดงนัยแห่งเป้าหมายของการปฏิบัติที่ท่านได้เมตตาพร่ำสอนศิษยานุศิษย์ไว้อย่างชัดเจนที่สุดตอนหนึ่ง รวมทั้งเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่ศรัทธาในตัวท่าน ไม่ว่าผู้นั้นจะมีโอกาสอยู่ใกล้ชิดท่านหรือไม่ หรือแม้แต่จะมาทันได้พบสรีระสังขารแห่งท่านหรือไม่ก็ตาม

พ.อ. มกราคม ๒๕๔๑




รูปภาพที่แนบมา: a1 (139) - Copy.gif (2016-9-14 16:40, 586 Bytes) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDczMzN8NjE2NjEyZmN8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: a1 (139).gif (2016-9-14 16:40, 586 Bytes) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDczMzR8YWFiNWIwMjR8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: a1 (140) - Copy.gif (2016-9-14 16:40, 586 Bytes) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDczMzV8YTAyNjUxYzF8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: a1 (141) - Copy.gif (2016-9-14 16:40, 586 Bytes) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NDczMzZ8ZDZiYmJlOWN8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 17:26

ตอนที่ ๓๗

อานิสงส์การภาวนา



หลวงพ่อท่านเคยพูดเสมอว่า


“อุปัชฌาย์ข้า (หลวงพ่อกลั่น) สอนว่า ภาวนาได้เห็นแสงสว่างเท่าปลายหัวไม้ขีดชั่วประเดี๋ยวเดียว เท่าช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ยังมีอานิสงส์มากกว่าตักบาตรจนขันลงหินทะลุ”

พวกเรามักจะได้ยินท่านเคยให้กำลังใจอยู่บ่อยๆ ว่า

“หมั่นทำเข้าไว้ หมั่นทำเข้าไว้ ต่อไปจะได้เป็นที่พึ่งภายหน้า”

เสมือนหนึ่งเป็นการเตือนให้เราเร่งความเพียรให้มาก การให้ทานรักษาศีลร้อยครั้งพันครั้งก็ไม่เท่ากับนั่งภาวนาหนเดียว นั่งภาวนาร้อยครั้งพันครั้ง กุศลที่ได้ก็ไม่เท่ากับกุศลจิตที่สงบเป็นสมาธิปัญญาเพียงครั้งเดียว


pngegg.5.3.1.png


ตอนที่ ๓๘

ปลูกต้นธรรม



ครั้งหนึ่งหลวงพ่อเคยเปรียบเทียบการปฏิบัติธรรมเหมือนการปลูกต้นไม้

ท่านว่า...ทำนี้มันยาก ต้องคอยบำรุงดูแลรักษาเหมือนกับเราปลูกต้นไม้
ศีล.............................นี่คือ ดิน
สมาธิ............................คือ ลำต้น
ปัญญา...........................คือ ดอก ผล

ออกดอกเมื่อใดก็มีกลิ่นหอมไปทั่ว การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน ผู้รักการปฏิบัติต้องคอยหมั่นรดน้ำพรวนดิน ระวังรักษาต้นธรรม ให้ผลิดอก ออกใบ มีผลน่ารับประทาน

ต้องคอยระวัง ตัวหนอน คือ โลภ โกรธ หลง มิให้มากัดกินต้นธรรมได้

อย่างนี้.........จึงจะได้ชื่อว่า ผู้รักธรรม รักการปฏิบัติจริง


pngegg.5.3.2.png


ตอนที่ ๓๙

เทวทูต



ธรรมะที่หลวงพ่อยกมาสั่งสอนศิษย์เป็นประจำ มีอยู่เรื่องหนึ่ง คือ เทวทูต ๔ ที่เจ้าชายสิทธัตถะพบก่อนบรรพชา คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ความหมายของคำว่าเทวทูต ๔ หลวงพ่อท่านหมายถึง ผู้มาเตือน เพื่อให้ระลึกถึงความไม่ประมาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรคิด แต่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม

หลวงพ่อปรารภอยู่เสมอว่า แก่ เจ็บ ตาย เน้อ..หมั่นทำเข้าไว้ มีความหมายโดยนัยว่า เมื่อเราเกิดมาแล้ว เราก็ย่อมก้าวเข้าสู่ความชราความแก่เฒ่าอยู่ตลอดเวลา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา และเราจักต้องตายเหมือนกันทุกคน

การเห็นสมณะหรือนักบวช จึงเป็นนิมิตหมายที่ดีที่จะชักจูงให้เราก้าวล่วงความพ้นทุกข์ได้ในที่สุด โดย “ผู้มาเตือน” ทั้ง ๔ นี่เอง




รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:39, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMzJ8YjRkYWFhNzV8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-2-4 07:39, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMzN8Nzg4MGMzZDd8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 17:50

ตอนที่ ๔๐

สติธรรม



บ่อยครั้งที่พวกเราถูกหลวงพ่อท่านดุในเรื่องของการไม่สำรวมระวัง ท่านมักจะดุว่า

“ให้ทำ (ปฏิบัติ) ไม่ทำ ทำประเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวออกมาจับกลุ่มกันอีกแล้ว ทีเวลาคุย คุยกันได้นาน”

ปฏิปทาของท่านต้องการให้พวกเราตั้งใจปฏิบัติ ตั้งใจทำให้จริง มีสติ สำรวมระวัง แม้เวลากินข้าว ท่านก็ให้ระวังอย่าพูดคุยกันเอะอะเสียงดัง

“สติ” นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราหยุดคิด พิจาณาก่อนที่จะทำ จะพูด และแม้แต่จะคิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าสิ่งนั้นดีหรือชั่ว มีคุณประโยชน์หรือเสียหาย ควรกระทำหรือควรงดเว้นอย่างไร เมื่อยั้งคิดได้ก็จะช่วยให้พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างละเอียดประณีต และสามารถกลั่นกรองเอาสิ่งที่ไม่เป็นสาระไม่เป็นประโยชน์ออกให้หมด คงเหลือแต่เนื้อที่ถูกต้องและเป็นธรรมซึ่งเป็นของควรคิด ควรพูด ควรทำแท้ๆ


pngegg.5.3.1.png


ตอนที่ ๔๑

ธรรมะจากซองยา (บุหรี่)



บ่อยครั้งที่หลวงพ่อมักจะหยิบยกเอาสิ่งของรอบตัวท่านมาอุปมาเป็นข้อธรรมะให้ศิษย์ได้ฟังกันเสมอ

ครั้งหนึ่ง ท่านได้อบรมศิษย์ผู้หนึ่งเกี่ยวกับการรู้เห็นและได้ธรรมว่ามีทั้งชั้นหยาบ ชั้นกลาง ชั้นละเอียด อุปมาเหมือนอย่างซองยานี่ (หลวงพ่อท่านชี้ไปที่ซองบุหรี่)

“แต่แรกเราก็เห็นแค่ซองของมัน
แล้วเราจะไปเห็นมวนบุหรี่อยู่ในซองนั่น
แล้วที่สุดจะเกิดตัวปัญญาขึ้น รู้ด้วยว่ายาเส้นนี้ทำมาจากอะไร
จะเรียกว่า เห็นในเห็น ก็ได้
ลองไปตรองดูแลแล้วเทียบกับตัวเราให้ดีเถอะ”


pngegg.5.3.2.png



ตอนที่ ๔๒

ธรรมะจากโรงพยาบาล



โรงพยาบาลเป็นสถานที่บำบัดทุกข์ของมนุษย์เรา อย่างน้อย ๓ ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในพระสูตรสำคัญหลายเรื่อง คือ

ชาติทุกข์ – ความเดือดร้อนเวลาเกิด
ชราทุกข์ – ความเดือดร้อนเมื่อความแก่มาถึง และ
พยาธิทุกข์ – ความเดือดร้อนในยามเจ็บไข้ได้ป่วย

หลวงพ่อเคยบอกกับผู้เขียนว่า ที่โรงพยาบาลนั่นแหละมีของดีเยอะเป็นเหมือนโรงเรียน เวลาไปอย่าลืมดูตัวเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในนั้นหมด

“ดูข้างนอกแล้วย้อนมาดูตัวเราเหมือนกันไหม”




รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:42, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMzR8Y2NiNzUyMTN8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-2-4 07:42, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMzV8YWE1ODUxNGJ8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 21:09

ตอนที่ ๔๓

องจริง ของปลอม



เมื่อหลายปีก่อน ได้เกิดไฟไหม้ที่วัดสะแกบริเวณกุฏิตรงข้ามกุฏิหลวงพ่อ แต่ไฟไม่ไหม้กุฏิหลวงพ่อ เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจแก่ศิษย์และผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง ถึงขนาดมีฆราวาสท่านหนึ่งคิดว่าหลวงพ่อท่านมีพระดี มีของดี ไฟจึงไม่ไหม้กุฏิท่าน

ผู้ใหญ่ท่านนั้นได้มาที่วัด และกราบเรียนหลวงพ่อว่า
“หลวงพ่อครับ ผมขอพระดีที่กันไฟได้หน่อยครับ”


หลวงพ่อยิ้มก่อนตอบว่า
“พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ไตรสรณาคมน์นี่แหละ พระดี”

ผู้ใหญ่ท่านนั้นก็รีบบอกว่า
“ไม่ใช่ครับ ผมขอพระเป็นองค์ๆ อย่างพระสมเด็จน่ะครับ”

หลวงพ่อก็กล่าวยืนยันหนักแน่นอีกว่า


“ก็พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละ มีแค่นี้ล่ะ ภาวนาให้ดี” แล้วหลวงพ่อก็มิได้ให้อะไรจนผู้ใหญ่ท่านนั้นกลับไป หลวงพ่อจึงได้ปรารภธรรมอบรมศิษย์ที่ยังอยู่ว่า


“คนเราก็แปลก ข้าให้ของจริงกลับไม่เอา จะเอาของปลอม”


pngegg.5.3.1.png



ตอนที่ ๔๔

ให้รู้จักบุญ



การทำบุญทำกุศลนั้น โปรดอย่านึกว่าจะต้องหอบข้าวหอบของไปใส่บาตรที่วัดทุกวัน หรือบุญจะเกิดได้ก็ต้องทอดกฐินสร้างโบสถ์ สร้างศาลา และอื่นๆ อย่างที่เขาโฆษณาขายบุญกัน ทั้งทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ และใบเรี่ยไรกันเกลื่อนกลาด จนรู้สึกว่าจะต้องเป็นภาระที่จะต้องบริจาค เมื่อไปวัดหรือสำนักนั้นๆ เป็นประจำ

บทสวดมนต์ชื่อพระพุทธชัยมงคลคาถา ที่ขึ้นต้นด้วย “พาหุง...” มีอยู่ท่อนหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงพระพุทธเจ้าทรงชนะมารคือกิเลส ว่า

“...ทานาทิธัมมาวิธินา ชิตวา มุนินโท” แปลว่า
“พระพุทธเจ้าผู้ทรงจอมปราชญ์ ทรงชนะมารคือกิเลส ด้วยวิธีบำเพ็ญบารมีธรรมคือ ความดี มีการบริจาคทานเป็นต้น”

พระพุทธเจ้าทรงสอนการทำบุญทำกุศล ด้วยการให้ทาน รักษาศีล และสวดมนต์เจริญภาวนา ให้ทานทุกครั้ง เพื่อทำลายความโลภคือกิเลส ทุกครั้งรักษาศีล เจริญภาวนา เพื่อทำลายความโกรธ ความเห็นแก่ตัว ให้ใจสะอาดไม่เศร้าหมอง มองเห็นบาปบุญคุณโทษได้ ทุกครั้งทำได้ดังนี้ จึงชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า


pngegg.5.3.2.png



ตอนที่ ๔๕

อุบายธรรมแก้ความกลัว



เคยมีผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาแล้วเกิดความกลัว โดยเฉพาะนักปฏิบัติที่เป็นหญิง ไม่ว่าจะกลัวผีสาง นิมิตในการภาวนา หรือกลัวโดยไม่ทราบสาเหตุ ได้เรียนถามหลวงพ่อว่า ถ้ากลัวแล้วจะทำอย่างไรดี

หลวงพ่อตอบว่า
“ถ้ากลัวให้นึกถึงพระ”

ในพระไตรปิฎก ธชัคคสูจร กล่าวไว้สรุปได้ว่า
“เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงเราตถาคตอยู่ พระธรรมอันเรากล่าวดีแล้วอยู่ พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีแล้วอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จะมีขึ้น ก็หายไป”

ท่านยังฝากไว้ให้คิดอีกว่า
“ธรรมนั้นอยู่ฟากตาย”




รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:45, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMzZ8ZWQ5MWZjZDJ8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-2-4 07:45, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMzd8ZWRiYjUzNWV8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 21:17

ตอนที่ ๔๖

พระเก่าของหลวงพ่อ



สำหรับพระเครื่องแล้ว พระสมเด็จวัดระฆังฯ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเลงพระว่า เป็นของหายากและมีราคาแพง ใครไว้บูชานับเป็นมงคลอย่างยิ่ง

หลวงพ่อได้สอนว่า การนับถือพระเช่นนี้เป็นสิ่งที่ดี แต่เป็นดีภายนอกมิใช่ดีภายใน ท่านบอกว่า “ให้หาพระเก่าให้พบนี่ซิ ของแท้ของดีจริง”

ผู้เขียนเรียนถามท่านว่า “พระเก่า” หมายความว่าอย่างไร


ท่านว่า “ก็หมายถึงพระพุทธเจ้าน่ะซิ นั่น ท่านเป็นพระเก่า พระโบราณ พระองค์แรกที่สุด”


pngegg.5.3.2.png



ตอนที่ ๔๗

จะตามมาเอง



หลายปีมาแล้ว มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ได้มาบวชปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดสะแก ก่อนที่จะลาสิกขาเข้าสู่เพศฆราวาส ท่านได้นัดแนะกับเพื่อนพระภิกษุที่จะสึกด้วยกัน ๓ องค์ว่า เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนสึกพวกเราจะไปกราบขอให้หลวงพ่อพรมน้ำมนต์และให้พร

ท่านได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า
ขณะที่หลวงพ่อพรมน้ำมนต์ให้พรอยู่นั้น ท่านก็นึกอธิษฐานอยู่ในใจว่า “ขอความร่ำรวยมหาศาล ขอลาภ ขอให้พูนทวี มีกินมีใช้ไม่รู้หมด จะได้แบ่งไปทำบุญมากๆ”

หลวงพ่อหันมามองหน้าหลวงพี่ที่กำลังคิดละเมอเพ้อฝันถึงความร่ำรวยนี้ก่อนที่จะบอกว่า


“ท่าน ที่ท่านคิดน่ะมันต่ำ คิดให้มันสูงไว้ไม่ดีหรือ แล้วเรื่องที่ท่านคิดน่ะจะตามมาทีหลัง”


pngegg.5.3.1.png



ตอนที่ ๔๘

เชื่อจริงหรือไม่



สำหรับผู้ปฏิบัติแล้ว คำดุด่าว่ากล่าวของอาจารย์ นับเป็นเรื่องสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง หากครูบาอาจารย์เมินเฉย ไม่ดุด่าว่ากล่าวก็เหมือนเป็นการลงโทษ

ผู้เขียนเคยถูกหลวงพ่อดุว่า


“แกยังเชื่อไม่จริง ถ้าเชื่อจริง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ต้องเชื่อและยอมรับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แทนที่จะเอาความโลภมาเป็นที่พึ่ง เอาความโกรธมาเป็นที่พึ่ง เอาความหลงมาเป็นที่พึ่ง”

หลวงพ่อท่านกล่าวกับผู้เขียนว่า


“โกรธ โลภ หลง เกิดขึ้น”
ให้ภาวนา แล้วโกรธ โลภ หลง จะคลายลง
ข้ารับรอง ถ้าทำแล้วไม่จริง ให้มาด่าข้าได้”




รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-2-4 07:48, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMzh8OTcxYjBmYzB8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:48, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMzl8YmZjNWEwZDl8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 21:30

ตอนที่ ๔๙

พระที่คล้องใจ



เมื่อมีผู้ไปขอของดีจำพวกวัตถุมงคลจากหลวงพ่อไว้ห้อยคอหรือพกติดตัว หลวงพ่อจะสอนว่า


“จะเอาไปทำไม ของดีภายนอก ทำไมไม่เอาของดีภายใน พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละ ของวิเศษ”

ท่านให้เหตุผลว่า


“คนเรานั้นถ้าไม่มีพุทธัง ธัมมัง สังฆัง เป็นของดีภายใน ถึงแม้จะได้ของดีภายนอกไปแล้ว ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร...ทำอย่างไรจึงจะได้เห็นพระจริงๆ เห็นมีแต่ปูน พระไม้ พระโลหะ พระรูปถ่าย พระสงฆ์ ลองกลับไปคิดดู”


pngegg.5.3.1.png



ตอนที่ ๕๐

จะเอาดีหรือเอารวย



อีกครั้งหนึ่งที่คณะผู้เขียนได้มานมัสการหลวงพ่อ เพื่อนของผู้เขียนท่านหนึ่งต้องการเช่าพระอุปคุตที่วัดเพื่อนำไปบูชา โดยกล่าวกับผู้ที่มาด้วยกันว่า บูชาแล้วจะได้รวย

เพื่อนของผู้เขียนท่านนั้นแทบตะลึง เมื่อมากราบหลวงพ่อแล้วท่านได้ตักเตือนว่า “รวยกับซวยมันใกล้ๆ กันนะ”

ผู้เขียนได้เรียนถามหลวงพ่อว่า
“ใกล้กันยังไงครับ”

ท่านยิ้มและตอบว่า “มันออกเสียงคล้ายกัน”
พวกเราต่างยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ สักครู่ท่านจึงขยายความให้พวกเราฟัง

“จะเอารวยน่ะ จะหามายังไงก็ทุกข์ จะรักษามันก็ทุกข์ หมดไปก็เป็นทุกข์อีก กลัวคนจะจี้จะปล้น ไปคิดดูเถอะมันไม่จบหรอก มีแต่เรื่องยุ่ง เอาดี ดีกว่า”

คำว่า “ดี” ของหลวงพ่อมีความหมายลึกซึ้งมาก ผู้เขียนขออัญเชิญพระบรมราโชวาทของในหลวงของเราในเรื่องการทำความดี มาเปรียบ ณ ที่นี้ ความตอนหนึ่งว่า

“...ความดีนี้ ไม่ต้องแย่งกัน ความดีนี้ ทุกคนทำได้ เพราะความดีนี้ทำแล้วก็ดีตามคำว่า ดี นี้ ดีทั้งนั้น ฉะนั้น ถ้าช่วยกันทำดี ความดีนั้นก็จะใหญ่โต จะดียิ่ง ดีเยี่ยม….”


pngegg.5.3.2.png



ตอนที่ ๕๑

หลักพุทธศาสนา



เล่ากันว่า มีโยมท่านหนึ่ง ไปนมัสการพระเถระองค์หนึ่งอยู่เป็นประจำ และในวันหนึ่งได้ถามปัญหาธรรมกับท่านว่า

“หลักพุทธศาสนาคืออะไร?”

พระเถระตอบว่า “ละความชั่ว ทำความดี ทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว”

โยมท่านนั้นได้ฟังแล้ว พูดว่า “อย่างนี้เด็ก ๗ ขวบก็รู้”

พระเถระยิ้มเล็กน้อยก่อนตอบว่า “จริงของโยม เด็ก ๗ ขวบ ก็รู้ แต่ผู้ใหญ่อายุ ๘๐ ก็ยังปฏิบัติไม่ได้”

อย่างนี้กระทั่งที่ผู้เขียนเคยได้ยินหลวงพ่อพูดเสมอว่า


“ของจริง ต้องหมั่นทำ”
พระพุทธศาสนานั้น ถ้าปราศจากการน้อมนำเข้าไปไว้ในใจแล้ว การ “ถือ” พุทธศาสนาก็ไม่มีความหมายแต่อย่างใด



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:53, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyNDB8Yzc2MzM5Mzh8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-2-4 07:53, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyNDF8YWZlZTFkZmV8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 21:38

ตอนที่ ๕๒

ของจริงนั้นมีอยู่



มีคนจำนวนไม่น้อยที่ปฏิบัติธรรมแล้วเกิดความท้อแท้ปฏิบัติอยู่เป็นเวลานาน ก็ยังรู้สึกว่าตนเองไม่ได้พัฒนาขึ้น หลวงพ่อเคยเมตตาสอนผู้เขียนว่า

“ของที่มีมันยังไม่จริง ของจริงเขามี เมื่อยังไม่จริง มันก็ยังไม่มี”

หลวงพ่อเมตตากล่าวเสริมอีกว่า.....


“คนที่กล้าจริง ทำจริง เพียรปฏิบัติอยู่เสมอ จะพบความสำเร็จในที่สุด ถ้าทำจริงแล้วต้องได้แน่ๆ”

หลวงพ่อยืนยันอย่างหนักแน่นและให้กำลังใจแก่ลูกศิษย์ของท่านเสมอ เพื่อให้ตั้งใจทำจริง แล้วผลที่เกิดจากความตั้งใจจริงจะเกิดขึ้นให้ตัวผู้ปฏิบัติได้ชื่นชมยินดีในที่สุด


pngegg.5.3.1.png



ตอนที่ ๕๓

สนทนาธรรม



เมื่อครั้งที่ผู้เขียนกับหมู่เพื่อนใกล้สำเร็จการศึกษา ได้มากราบนมัสการหลวงพ่อ ท่านได้สนทนากับพวกเราอยู่นาน สาระสำคัญที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ คือ

เมื่อพบแสงสว่างในขณะภาวนาให้ไล่ดู ถามท่านไล่แสงหรือไล่จิต ท่านตอบว่า ให้ไล่จิตโดยเอาแสงเป็นประธาน (เข้าใจว่าอาศัยปีติ คือความสว่างมาสอนจิตตนเอง) เช่น ไล่ว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีจริงหรือไม่ มีจริงก็เป็นพยานแก่ตน

ถามท่านว่า ไล่ดูเห็นแต่สิ่งปกปิด คือกิเลสในใจ
ท่านว่า...


“ถ้าแกเกลียดกิเลสเหมือนเป็นหมาเน่า หรือของบูดเน่าก็ดี ให้เกลียดให้ได้อย่างนั้น”


pngegg.5.3.2.png


ตอนที่ ๕๔

ผู้บอกทาง



ครั้งหนึ่ง มีผู้มาหาซื้อยาลมภายในวัด ไม่ทราบว่าจำหน่ายที่กุฏิไหน หลวงพ่อท่านได้บอกทางให้ เมื่อผู้นั้นผ่านไปแล้ว หลวงพ่อท่านได้ปรารภธรรมให้ลูกศิษย์ที่นั่งฟังว่า

“ข้านั่งอยู่ ก็เหมือนคนคอยบอกทาง เขามาหาข้าแล้วก็ไป...”

ผู้เขียนได้ฟังแล้วระลึกพระพุทธเจ้าผู้เป็น “กัลยาณมิตร” คอยชี้แนะให้ทางเดิน ดังพุทธภาษิตว่า

“จงรีบพากเพียรพยายามดำเนินตามทางที่บอกเสียแต่เดี๋ยวนี้ ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้ชี้ทางให้เท่านั้น”

หลวงพ่อเป็นผู้บอก แต่พวกเราต้องเป็นคนทำและทำเดี๋ยวนี้




รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-2-4 07:55, 9.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyNDJ8ODdmODI4YmZ8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-2-4 07:55, 8.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyNDN8NzU4OTliYWF8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 21:46

ตอนที่ ๕๕

บทเรียนบทแรก



หากย้อนระลึกถึงหลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ ในความทรงจำของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าได้มากราบนมัสการหลวงพ่อเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ ด้วยการชักชวนของเพื่อนกัลยาณมิตร...พี่วิทย์ หรือคุณวรวิทย์ ด่ายชัยวิจิตร


จากนั้นไม่นาน บทเรียนบทแรกที่หลวงพ่อดู่ได้เมตตาสอนลูกศิษย์ขี้สงสัยก็ได้เริ่มขึ้น เหมือนเป็นปฐมบทแห่งการเริ่มต้น ที่ท่าน...ได้รับข้าพเจ้าไว้เป็นลูกศิษย์

มีเหตุการณ์ที่ประทับใจข้าพเจ้าช่วงแรกจากการได้มากราบหลวงพ่อ อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งศรัทธา ซึ่งต่อมาภายหลังได้กลายเป็น...อจลศรัทธา ศรัทธาที่แน่วแน่มั่นคงต่อองค์หลวงพ่อของข้าพเจ้า คือ

ข้าพเจ้าได้บูชาพระพุทธรูปแก้วใส ปางสมาธิ จากตลาดพระที่วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ มาหนึ่งองค์ และได้นำมาที่วัดสะแก ให้หลวงพ่อช่วยแผ่เมตตาอธิษฐานจิต เพื่อนำไปสักการบูชาเป็นพระพุทธรูปประจำบ้าน

หลวงพ่อดู่ท่านประนมมือไหว้พระและยกพระพุทธรูปขึ้นมา จับองค์พระของข้าพเจ้าแล้วหลับตานิ่งสักครู่หนึ่ง จึงลืมตาขึ้น ท่านบอกให้ข้าพเจ้านำสองมือมาจับที่ฐานของพระพุทธรูปซึ่งปิดทองคำเปลวโดยรอบ ท่านให้ข้าพเจ้าเห็นพระพุทธรูปอยู่เบื้องหน้า แต่ข้าพเจ้านิ่งไม่ตอบอะไร เหตุการณ์เช่นนี้จึงไม่ทราบว่า “เห็น” ในความหมายของหลวงพ่อนั้น หมายถึง “เห็นอย่างไร” และชัดเจนขนาดไหนที่เรียกว่า “เห็น” ของท่าน

สักครู่ท่านจึงย้ำกับข้าพเจ้าว่า “แกเห็นพระพุทธรูปแล้วนี่ ดูเสียที่นี่ จะได้หายสงสัยว่า ข้าให้อะไรแก กลับบ้านแกจะได้ไม่สงสัย เป็นพระยืน เดิน นั่ง หรือว่านอน”...“ยืนครับ” ข้าพเจ้าตอบท่าน

“เออ! ข้าโมทนาสาธุด้วย ที่ข้าให้ เป็นพระประจำวันเกิดของแก เอาไปบูชาให้ดี” ท่านตอบ

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ศิษย์ขี้สงสัยอย่างข้าพเจ้ามีหรือไม่อดที่สงสัยต่อ ยามว่างทั้งในเวลากลางวันหรือกลางคืน ข้าพเจ้าจะมานั่งมองดูพระพุทธรูป เอาสองมือประคองจับที่ฐานขององค์พระ...หลับตา...ทำสมาธิ...ด้วยความอยากดู...อยากรู้อยากเห็นองค์พระอย่างที่ท่านเคยทำให้ข้าพเจ้า...เห็น วันแล้ววันเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า ...อนิจจา...เวลาผ่านไป ๑ สัปดาห์...๑ เดือน....๒ เดือน....๓ เดือน ก็แล้ว ยังไม่มีวี่แววที่ข้าพเจ้าจะได้เห็นองค์พระที่ท่านทำให้ข้าพเจ้าดูที่วัดสะแกเช่นวันนั้นอีกเลย

จวบจนกระทั่งหลายเดือนต่อมา ข้าพเจ้าได้มีโอกาสมากราบนมัสการหลวงพ่ออีก จึงได้เรียนถามท่านว่า ทำไมเมื่อข้าพเจ้ากลับไปบ้านแล้วลองจับพระอีก จับจนทองคำเปลวที่ปิดฐานขององค์พระซีดเป็นรอยมือ ข้าพเจ้าก็ยังไม่เห็นองค์พระแม้สักครั้งเดียว

หลวงพ่อยิ้มก่อนตอบข้าพเจ้าด้วยความเมตตาว่า
“ทำจนหายอยากแหละแก ข้าทำมาก่อนแล้ว”


ข้าพเจ้ากลับมานั่งคิดทบทวนอยู่หลายครั้ง ความชัดเจนในคำตอบของหลวงพ่อ จึงค่อยๆ กระจ่างขึ้นเป็นลำดับ...ต้องเริ่มที่ความอยากเสียก่อน จึงคิดที่จะทำ แต่ถ้าทำด้วยความอยาก ก็จะไม่สำเร็จ เมื่อความอยากหมดไปเมื่อไรเมื่อนั้น จึงจะพบความจริง

กุญแจคำตอบสำหรับ..บทเรียนบทแรกของการเรียนธรรมะจากท่าน ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจได้ว่า ท่านได้ใช้กุศโลบายให้ข้าพเจ้าจดจำรูปพรรณสัณฐานขององค์พระพุทธรูปให้ได้ หลังจากที่ได้ใช้เวลาบวกกับ...ความอยากอยู่เป็นเวลาหลายเดือน


ข้าพเจ้าจึงเริ่มได้พุทธานุสสติ ธัมมานุสติ และสังฆานุสติ จากการเพ่งมององค์พระ จนเกิดเป็นภาพติดตา..ติดใจ...ในที่สุด เป็นการสอนการภาวนาในภาคสมถธรรม พร้อมกับแนะวิธีวางอารมณ์พระกรรมฐานของหลวงพ่อสำหรับข้าพเจ้าอย่างเยี่ยมยอดทีเดียว



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 21:48

ตอนที่ ๕๖

หนึ่งในสี่ (อีกครั้ง)



หลายปีก่อนหลวงพ่อได้ปรารภธรรมกับข้าพเจ้าในเรื่องของเป้าหมายชีวิตที่แต่ละคนเกิดมา อย่างน้อยก็ควรให้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน ท่านได้ปรารภไว้ว่า

“ข้านั่งดูดยา มองดูซองยาแล้วตั้งปัญหาถามตัวเองว่า เรานี่ปฏิบัติได้หนึ่งในสี่ของพระพุทธศาสนาแล้วหรือยัง ? ถ้าซองยานี้แบ่งออกเป็นสี่ส่วน เรานี่ยังไม่ได้หนึ่งในสี่ มันจวนเจียนจะได้แล้วก็คลาย เหมือนเรามัดเชือกจนเกือบจะแน่นได้ที่แล้วเราปล่อย มันก็คลายออก เรานี่ยังไม่เชื่อจริง ถ้าเชื่อจริงก็ต้องได้หนึ่งในสี่แล้ว”

“ข้านั่งมองดูกระจกหน้าต่างที่หอสวดมนต์ กระจกมันมีสี่มุม เปรียบการปฏิบัติของเรานี่ ถ้ามันได้สักมุมหนึ่งก็เห็นจะดี”

หลวงพ่อได้เฉลยปริศนาธรรมเรื่องนี้ให้ข้าพเจ้าฟังว่า ที่ว่าหนึ่งในสี่นั้น หมายถึง การปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุมรรคผลในพระพุทธศาสนา ซึ่งแบ่งเป็น

โสดาปัตติมรรค  โสดาปัตติผล
สกิทาคามิมรรค  สกิทาคามิผล
อนาคามิมรรค    อนาคามิผล
อรหัตตมรรค      อรหัตตผล


อย่างน้อยเราเกิดมาชาติหนึ่งชาตินี้ ได้พบพุทธศาสนาเปรียบเหมือนสมบัติล้ำค่าแล้ว ก็ควรปฏิบัติตามคำสอน ท่านให้เข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างน้อยที่สุดคือ โสดาปัตติผล เพราะคนที่เข้าถึงความเป็นโสดาบันแล้ว หากยังไม่บรรลุพระนิพพานในชาตินี้ ชาติต่อไปก็จะไม่เกิดในภพภูมิที่ต่ำกว่ามนุษย์ อันได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานอีก

การที่หลวงพ่อเปรียบธรรมในเรื่องนี้กับซองบุหรี่บ้าง หรือแผ่นกระจกบ้าง เพราะต้องการให้เราหมั่นนึกคิดพิจารณาในเรื่องนี้บ่อยๆ


วัตถุรูปทรงสี่เหลี่ยม เป็นรูปทรงวัตถุที่เราสามารถพบได้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน มีอยู่รอบตัวเราตลอดเวลา ตั้งแต่วันเกิดจนกระทั่งวันตาย มีอยู่ทั่วไป ได้แก่ เตียงนอน นาฬิกาปลุก หนังสือ รูปภาพ รถยนต์ โต๊ะทำงาน โทรทัศน์ หน้าต่างประตู และอื่นๆ อีกมากมาย จนกระทั่งสิ่งสุดท้ายที่อยู่ใกล้ตัวเรา คือ โลงศพ

หากผู้ใดเห็นว่า ธรรมเรื่องหนึ่งในสี่ของหลวงพ่อเป็นธรรมสำคัญแล้ว ข้าพเจ้าเชื่อเหลือเกินว่าการปฏิบัติธรรมของผู้นั้น จะก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับอย่างชัดเจน จนถึงที่สุดแห่งการพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 21:53

ตอนที่ ๕๗

วิธีคลายกลุ้ม



ความกลุ้มเป็นบ่อเกิดของความเครียด ความเครียดก็เป็นที่มาของความกลุ้มเช่นกัน

หลายคนคงเห็นด้วยกับข้าพเจ้าว่า เมืองไทยนี้ดีกว่าเมืองฝรั่ง เวลาที่มีเรื่องกลุ้มอกกลุ้มใจ ในต่างประเทศสิ่งที่นิยมกันมากคือ ไปหาหมอรักษาโรคจิต กลุ้มใจทีก็ไปเอากลุ้มออก โดยนั่งระบายความทุกข์ระบายปัญหาให้จิตแพทย์ฟัง เสร็จแล้วจ่ายเงินให้หมอเป็นค่านั่งฟัง เฮ้อ! คนเรานี่ก็แปลกดีนะ เอากลุ้มออกอย่างเดียวไม่พอ เอาเงินในกระเป๋าออกไปด้วย

เท่าที่สังเกตดู ฝรั่งไปหาจิตแพทย์กันเป็นเรื่องปกติ แต่ระยะหลังในเมืองไทยเรา คนไข้โรคจิตนับวันจะมีมากขึ้นทุกที คนไทยไม่นิยมไปหาจิตแพทย์เหมือนฝรั่ง แต่จะไปหาจิตแพทย์ก็ต่อเมื่อทนไม่ไหวจริงๆ คือใกล้จะบ้าแล้วนั่นเอง

คนไทยโชคดีกว่าฝรั่งตรงที่มีวัดแทนคลินิกจิตแพทย์ มีพระนี่ล่ะ ดีกว่าด้วย เพราะไม่ต้องเสียตังค์ แถมไปหาหลวงพ่อได้ทำบุญ ได้ฟังธรรมะจากท่าน กลางวันยังได้ทานอาหารบุฟเฟ่ต์หลังจากหลวงพ่อฉันเสร็จ บางครั้งสมัยที่ข้าพเจ้ายังเรียนหนังสืออยู่ หากเดินทางมาถึงวัดตอนเย็น ท่านยังมีขนมฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ผลไม้ประเภทส้ม กล้วย บางทีโชคดีก็มีแอปเปิ้ลให้ได้ทานอิ่มท้องด้วย

มีเรื่องเล่าว่า มีโยมคนหนึ่งเกิดกลุ้มอกกลุ้มใจในชีวิตที่แสนสับสนวุ่นวายของตน โดยไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร จึงได้ไปกราบขอให้หลวงพ่อท่านพุทธทาสช่วยคลายทุกข์ให้

หลวงพ่อถามว่า
“มันกลุ้มมากหรือโยม”
“มากครับท่าน สมองแทบจะระเบิดเลย แน่นอยู่ในอกไปหมด”


“เอางี้ โยมออกไปยืนที่กลางแจ้ง สูดลมหายใจเข้าปอดแรงๆ สามครั้ง แล้วตะโกนให้ดังที่สุดว่า – กูกลุ้มจริงโว้ย กูกลุ้มจริงโว้ย กูกลุ้มจริงโว้ย”


โยมผู้นั้นออกไปทำตามที่หลวงพ่อแนะนำ แล้วกลับเข้ามาหาท่านด้วยใบหน้าที่ผ่อนคลาย
“เป็นไง” หลวงพ่อถาม
“รู้สึกสบายขึ้นแล้วครับ” เขาตอบ
“เออ เอากลุ้มออกแล้วนี่” ท่านกล่าวยิ้มๆ แล้วไม่พูดอะไรอีก


ข้าพเจ้าเคยเห็นคนที่ไปหาหลวงพ่อดู่ หลายรายมีความกลุ้ม มีความเครียด เสร็จแล้วเมื่อมาถึงวัด นั่งอยู่ต่อหน้าท่าน หลายคนเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าไม่รู้ไอ้เจ้าตัวกลุ้ม ตัวเครียด มันพากันหายไปไหนหมด มีแต่สบายกายสบายใจ อยากอยู่ตรงหน้าตรงหลวงพ่อนานๆ บางคนขอเพียงได้นั่งเฉยๆ ก็มี

ทุกวันนี้หลวงพ่อจากพวกเราไปแล้ว แต่เป็นการจากเพียงรูปกาย ธรรมที่ท่านเคยสอนไว้มิสูญหายไปด้วยเลย หากเรามีความกลุ้มอกกลุ้มใจไว้เรื่องใด โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน ปัญหาเรื่องสุขภาพ ปัญหาเรื่องครอบครัว ปัญหาเรื่องงาน ปัญหาอะไรก็แล้วแต่ ข้าพเจ้าขอแนะนำวิธีคลายเครียดที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง คือ ให้หามุมสงบในบ้านของท่านหรือจะเป็นห้องพระก็ยิ่งดี

ขอให้ท่านนั่งที่หน้าพระพุทธรูปหรือรูปหลวงพ่อดู่ จะลืมตาหลับตาก็ตามแต่อัธยาศัยครับ สูดลมหายใจลึกๆ พอสบายดีแล้ว ก็พูดระบายความในใจให้ท่านฟัง ความกลุ้มความเครียดจะลดลงได้ เหมือนคนที่ทานอาหารมากเกินไปจนมีแก๊สอยู่เต็มท้อง อึดอัดไปหมด หากได้ทานยาขับลมเสียบ้างก็คงจะดี สมองจะปลอดโปร่งแจ่มใส สบายกาย สบายใจ และสามารถมองเห็นหนทางแก้ไขปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

ขอให้ลองทำดูว่าจะมีความรู้สึกดีขึ้นไหม สำหรับข้าพเจ้าก็ต้องขอตอบอย่างมั่นใจว่า “ดีขึ้นครับ”

ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลวงพ่อท่านเมตตาคอยเป็นกำลังใจและให้ความช่วยเหลือเราเสมอ ขอให้เราตั้งใจแก้ปัญหาด้วยสุจริตวิธี

ไม่มีปัญหาใดในโลกที่มนุษย์ก่อขึ้นแล้ว มนุษย์ไม่สามารถแก้ไขได้
ข้าพเจ้าเชื่ออย่างนี้จริงๆ



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 21:56

ตอนที่ ๕๘

อะไรได้ อะไรเสีย



คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ในชีวิตคนเรานั้น ต้องประสบความสูญเสียทุกคน บางคนสูญเสียคนรัก พ่อ แม่ ลูก เมีย ญาติ เพื่อน อันเป็นเหตุแห่งความกระทบกระเทือนทางจิตใจที่สำคัญยิ่ง

การสูญเสียเงินทอง ข้าวของ ทรัพย์สมบัติ ก็เป็นต้นเหตุหนึ่งของความทุกข์โทมนัสอันใหญ่หลวงของอีกหลายๆ คน ของที่เคยมี เคยได้ กลับเป็นของที่ไม่มี ไม่ได้ คนที่เคยรักต้องพลัดพรากจากไกลกัน การค้าที่เคยมีกำไรกลับกลายเป็นขาดทุนเสียหาย จนทำใจให้ยอมรับได้ยาก

หากยังจำกันได้ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อปี ๒๕๓๔ มีความตอนหนึ่งว่า

“การขาดทุนของเรา
เป็นการได้กำไรของเรา (Our loss is our gain)”


ซึ่งท่านได้อธิบายว่า

“ถ้าเราทำอะไรที่เป็นการกระทำ แล้วเราก็เสีย แต่ในที่สุด ก็ไอ้ที่เราเสียนั้นมันเป็นการได้ เพราะว่าทางอ้อมได้”

เป็นพระราชดำรัสที่มีความไพเราะลึกซึ้ง กินใจยิ่งนัก สำหรับนักปฏิบัติแล้ว ถ้าเราพร้อมที่จะเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิต สิ่งที่ได้มา สิ่งที่เสียไป ความทรงจำอันสวยงามหรือไม่งาม สิ่งที่ยังมีชีวิตหรือสิ้นไป ก็จะเป็นครูของเรา

เสียงหลวงพ่อแว่วมาในความคิดคำนึงของข้าพเจ้าทันที
“ถูกเป็นครู ผิดก็เป็นครู”


แต่ผิดเป็นครูที่ดีกว่า เพราะทำให้เราไม่ประมาท
ให้ผิดในวันนี้ เป็นถูกของวันหน้า
ให้สิ่งที่เสียไป คือสิ่งที่ได้มา
อย่างที่ในหลวงท่าน...ได้มอบไว้ให้พวกเรา



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 21:58

ตอนที่ ๕๙

อารมณ์ขันของหลวงพ่อ



ญาติโยมคณะหนึ่ง เป็นกลุ่มที่ชอบแสวงหาพระหาเจ้า หลวงปู่ หลวงพ่อองค์ไหนที่ว่าดังว่าดี มีคนขึ้นกันมาก โยมคณะนี้จะพากันไปไหว้ ไปทำบุญกัน และก็เป็นธรรมดาที่หลายคนที่นับถือหลวงพ่อดู่ในฐานะที่เป็นเกจิอาจารย์ดัง คิดว่าท่านคงให้หวยเบอร์เหมือนอย่างอาจารย์บางองค์

เมื่อสบโอกาส โยมคนหนึ่งก็เข้ามากราบเรียนขอหวยจากหลวงพ่อ ในวันนั้นเผอิญข้าพเจ้าได้มีโอกาสมากราบนมัสการหลวงพ่ออยู่ด้วย หลวงพ่อมองหน้าโยมคนนั้นพร้อมกับชี้มือไปที่ปฏิทินรายเดือนที่มีรูปในหลวงแบบที่ธนาคารทั้งหลายชอบแจก ซึ่งติดอยู่ข้างฝาที่ด้านหลังท่าน แล้วท่านก็ว่า

“นั่นแหละ แกไปสลับเลขเอาเอง มีเลขรางวัลครบทุกตัว ข้าให้ตั้งแต่รางวัลที่หนึ่งยันเลขท้ายสองตัวเลย ถ้าไม่ถูกให้มาด่าข้าได้”

ข้าพเจ้าขำจนแทบกลิ้ง แต่โยมที่ขอหวยจากหลวงพ่อคงขำไม่ออกและคงเข็ดไม่กล้าขอหวยจากหลวงพ่อไปอีกนาน หลังจากที่โยมคนนั้นกลับไปแล้ว หลวงพ่อได้ให้โอวาทกับศิษย์ที่เหลือและข้าพเจ้าว่า

“คนเรานี่ก็แปลก ให้ธรรมะของดีไม่เอา จะเอาแต่หวยเบอร์...”



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:00

ตอนที่ ๖๐

ของหายาก



เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ มีเรื่องประทับใจที่ข้าพเจ้าต้องบันทึกไว้เรื่องหนึ่งคือ วันที่ข้าพเจ้าได้รับพระและตะกรุดเป็นที่ระลึกจากหลวงพ่อ เรื่องมีอยู่ว่า

วันนั้นมีคนมากราบนมัสการหลวงพ่อมาก หลังจากที่ข้าพเจ้าได้กราบหลวงพ่อและขอโอกาสหลีกมานั่งภาวนาที่หอสวดมนต์ สักครู่ใหญ่ก่อนที่จะเลิกภาวนา จู่ๆ ก็มีนิมิตเป็นองค์หลวงพ่อดู่ลอยเด่นพร้อมรัศมีกายสว่างไสวอยู่เบื้องหน้าข้าพเจ้า และมีเสียงท่านบอกข้าพเจ้าว่า “ข้าให้แก”

ในขณะนั้น ข้าพเจ้าไม่ได้นึกแปลความหมายนิมิตเป็นอื่นใด เข้าใจเพียงว่าท่านคงให้ธรรมะ ข้าพเจ้าบังเกิดความปีติมาก หลังจากเลิกภาวนาแล้ว ข้าพเจ้าได้เดินไปหลังวัด เพื่อไปนมัสการหลวงน้าสายหยุด ระหว่างทางผ่านกุฏิของหลวงพี่องค์หนึ่ง เป็นพระภิกษุที่ข้าพเจ้าเคยเห็นท่านอยู่ที่วัดสะแกหลายปี แต่ไม่เคยได้สนทนาอะไรเป็นกิจจะลักษณะกับท่านมาก่อนเลยประการหนึ่ง และไม่เคยเอ่ยปากขออะไรจากท่านอีกประการหนึ่ง

แต่วันนั้นนับเป็นเหตุการณ์ประหลาดอัศจรรย์สำหรับข้าพเจ้า ที่หลวงพี่เกิดนึกเมตตาข้าพเจ้าอย่างกะทันหัน ท่านบอกข้าพเจ้าว่า...เดี๋ยวก่อน จากนั้นท่านกลับเข้าไปในกุฏิชั่วอึดใจ ท่านออกมาพร้อมกับพระผงแบบหยดน้ำรูปพระพุทธเจ้าและรูปหลวงพ่อดู่ ๒-๓ องค์ และตะกรุดขนาดเล็กกะทัดรัดของหลวงพ่อ ยื่นให้ข้าพเจ้าและบอกว่า “หลวงปู่เก็บเอาไว้ใช้”

เป็นที่แปลกใจยิ่งสำหรับข้าพเจ้า ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นภายหลังจากที่ข้าพเจ้าได้นิมิตว่าได้รับ “อะไร” จากหลวงพ่อเมื่อห้านาทีที่ผ่านมา

ข้าพเจ้าได้มาเรียนเรื่องนี้ถวายให้หลวงพ่อฟัง
ท่านยังได้ให้โอวาทข้าพเจ้าอีกว่า...


“...ข้าให้แก นั้น ข้าให้พุทธัง ธัมมัง สังฆัง เครื่องรางของขลังภายนอกนั้น...หาไม่ยาก พระพุทธัง ธัมมัง สังฆัง หายากกว่า แกไปตรองดูให้ดีเถอะ”



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:04

ตอนที่ ๖๑

คนหายาก



ในพระพุทธศาสนาได้พูดถึงบุคคลหายากในโลกนี้มี ๒ ประการ คือ บุพการี และบุคคลผู้มีกตัญญูกตเวที

บุพการี หมายถึง บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน หรือคือ ผู้มีพระคุณนั่นเอง ได้แก่ พระพุทธเจ้า ครูอาจารย์ มารดาบิดา และพระมหากษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรม ในที่นี้จะขอพูดถึงพ่อแม่ของเรา

ในมงคลสูตรได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง เอตังมังคะละมุตตะมัง การบำรุงมารดาและบิดาเป็นมงคลสูงสุดในชีวิต

มีผู้กล่าวว่า “วันแม่” สำหรับลูกหลายๆ คนมีวันเดียวในหนึ่งปี แต่สำหรับแม่แล้ว “วันลูก” มีอยู่ทุกวัน

ความข้อนี้เป็นจริงอย่างที่ไม่มีใครอาจปฏิเสธได้ โดยทั่วไปแล้วความรักที่แม่มีต่อลูกนั้น ย่อมมีมากกว่าความรักที่ลูกมีต่อแม่ ในบทสวด เทวตาทิสสทักขิณานุโมทนา ได้กล่าวเปรียบได้ว่า
“มาตาปุตตัง วะ โอระสัง เทวะตานุกัมปิโต…”

คำแปลตอนหนึ่งของบทสวดมนต์มีความว่า...


“...บัณฑิตชาติอยู่ในสถานที่ใด พึงเชิญท่านที่มีศีลสำรวมระวัง ประพฤติพรหมจรรย์ในที่นั้น เทวดาเหล่าใดมีในที่นั้น ควรอุทิศทักษิณาทานเพื่อท่านเหล่านั้นด้วย เทวดาที่ได้บูชาแล้ว นับถือแล้ว ท่านย่อมบูชาบ้าง ย่อมนับถือบ้าง ท่านย่อมอนุเคราะห์เขา ประหนึ่ง มารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิดจากอก ผู้ที่ได้อาศัยเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมมีแต่ความเจริญทุกเมื่อ”

มารดาบิดาเป็นพระพรหมของลูก เป็นครูอาจารย์คนแรกของลูก และเป็นเทวดาองค์แรกของลูก จึงเป็นผู้ควรรับการสักการบูชาจากลูก พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ใน มาตาปิตุคุณสูตร ว่า...”

บุตรไม่อาจตอบแทนคุณแก่มารดาบิดานั้นให้สิ้นสุดโดยประการใดๆ ด้วยอุปการะอันเป็นโลกียะ แม้จะทำให้ท่านทั้งสองนั่งอยู่บนบ่าขวา บนบ่าซ้ายของลูก ลูกปรนนิบัติดูแลท่านตลอดหนึ่งร้อยปี ก็ไม่สามารถตอบแทนบุญคุณท่านได้

ส่วนบุตรคนใด ทำให้มารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งอยู่ในศรัทธา ทำให้มารดาผู้ไม่มีศีลให้ตั้งอยู่ในศีล ทำให้มารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ถี่เหนียวให้ตั้งอยู่ในจาคะ ทำให้มารดาบิดาผู้มีความหลวง ให้ตั้งอยู่ในปัญญาสัมมาทิฏฐิ บุตรนั้นจึงจะได้ชื่อว่า ได้ทำการตอบแทนบุญคุณของมารดาบิดาอย่างเต็มที่

ลูกที่ไม่มีความฉลาด ย่อมไม่เห็นคุณค่าความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก
ลูกที่มีความฉลาด ย่อมเห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่
วันนี้...เราได้ทำสิ่งดีๆ ให้พ่อกับแม่...แล้วหรือยัง



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:07

ตอนที่ ๖๒

ด้วยรักจากศิษย์



...หลวงพ่อครับ ถ้าหากหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินย้อนกลับได้ ผมขอหมุนกลับไปเป็นปี พ.ศ.๒๕๒๕ ได้ เริ่มมากราบหลวงพ่อ รอยยิ้มและภาพอากัปกิริยาของหลวงพ่อเมื่อคราวที่สอนพวกเขา หลวงพ่อหัวเราะและเอามือตบที่หน้าตัก พวกเรายังจำได้ดี พวกเรายังจำได้ และจะพยายามทำตามที่หลวงพ่อสอนให้ถอยหลัง ไม่ให้หลวงพ่อต้องผิดหวังครับ

...หลวงพ่อขา หลวงพ่อเคยบอกว่า ปฏิบัติมากๆ เถอะจะดี สมบัตินอกกายไม่จีรัง กินเข้าไปเดี๋ยวก็ขี้ออกมา เสื้อผ้าสวยๆ หามาแต่ง เดี๋ยวก็ต้องทิ้ง เงินตอนตายญาติเอาใส่ปาก สัปเหร่อก็เอาไปซื้อเหล้า เสื้อผ้าก็ถอดออกเหลือตัวเปล่าให้เขาออกไปเผา...ที่แท้เราไม่มีอะไรสักอย่าง

...หลวงพ่อเจ้าคะ หนูรู้ตัวดีว่าใจตัวเองถ้าเผลอ มันก็จะลงต่ำอยู่ร่ำไป ถ้าไม่มีหลวงพ่อคอยเป็นกำลังใจ ขอหลวงพ่ออยู่เป็นกำลังใจให้หนูตลอดไปนะคะ

...หลวงปู่ครับ ได้เจอะเจอหลวงปู่ในชีวิตนี้ ผมถือเป็นบุญหลาย พระท่านว่า ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละ มุตตะมัง การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นมงคลสูงสุดของชีวิต...ได้มาเจอหลวงปู่ ผมถือว่าไม่เสียชีวิตเกิดแล้วครับ

หลวงพ่อครับ...ใครจะคิดว่าหลวงพ่อดู่กับหลวงปู่ทวดเป็นองค์เดียวกันหรือไม่ ผมไม่สนใจหรอกครับ หากหลวงพ่อเป็นหลวงปู่ทวดจริงๆ ผมถือว่าพวกเราโชคดีที่สุดครับ ความที่หลวงพ่อ...เป็นหลวงพ่อดู่ เป็นหลวงพ่อดู่..อย่างเดียวที่ทำให้ผมรักและเคารพหลวงพ่อจนเต็มล้นหัวใจ ไม่มีอะไรจะทำให้เต็มไปกว่านี้อีกแล้วครับ



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:10

ตอนที่ ๖๓

ด้วยรักจากหลวงพ่อ



เมื่อครั้งที่หลวงพ่ออาพาธในช่วง ๒-๓ ปีก่อน ที่ท่านจะจากพวกเราไป คุณธรรมอันโดดเด่นคือ ความอดทนและความเมตตาของท่านยิ่งชัดเจนในความรู้สึกของข้าพเจ้า

บ่อยครั้งที่ศิษย์จอมขี้แยอย่างข้าพเจ้า ไม่สามารถที่จะกลั้นน้ำตาไว้ได้ในความคิดคำนึงว่า ความขี้เกียจ ความไม่เอาไหน ไม่เอาถ่านของเรา ทำให้ท่านต้องทนนั่งแบกธาตุขันธ์ที่เจ็บป่วยสอนศิษย์โง่ๆ อย่างเรา ทั้งอบรมก็แล้ว พร่ำสอนก็แล้ว ว่ากล่าวตักเตือนก็แล้ว ศิษย์จอมขี้เกียจก็ยังไม่สามารถเอาตัวเองเป็นที่พึ่งได้

สรีระของหลวงพ่อเปลี่ยนแปลง ผ่ายผอมและซูบซีดลง แต่ตรงกันข้ามกับกำลังใจของท่านที่เอ่อล้นด้วยความรักและห่วงใยศิษย์ที่กลับเพิ่มทวีคูณขึ้นในหัวใจของท่าน จนยากที่ศิษย์ทุกชีวิตได้ในความรักและความปรารถนาดีของท่าน

ในโลกของข้าพเจ้า ความรักของหลวงพ่อยิ่งใหญ่อย่างยิ่ง แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือ ท่านสอนให้ศิษย์ทั้งหลายรู้จักวิธีที่จะหยิบยื่นความรัก...ความปรารถนาดี...ให้กับคนรอบข้าง ดังที่ท่านได้ปฏิบัติแบบอย่างไว้อย่างเหมาะสมและกลมกลืน...อย่างสม่ำเสมอและยาวนาน และยืนยันคำพูดของท่านที่ว่า

“แกคิดถึงข้า   ข้าก็คิดถึงแก

แกไม่คิดถึงข้า    ข้าก็ยังคิดถึงแก”



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:12

ตอนที่ ๖๔

ต้องเคยเจอกัน



“นายหลิม” เป็นชื่อที่หลวงพ่อเอ่ยถึงข้าพเจ้าเมื่อเวลาท่านพูดกับหมู่คณะ แต่หากเวลาท่านพูดกับข้าพเจ้า ท่านจะใช้สรรพนามแทนท่านเองว่า "ข้า" และเรียกข้าพเจ้า "แก" อยู่เสมอ

แม้ว่าข้าพเจ้าจะมิได้เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อสักเท่าใดนัก เพียงแต่ได้ไปวัดสะแก เดือนละ ๒-๓ ครั้ง ในช่วง ๗-๘ ปีก่อน ที่ท่านจะจากพวกเราไป แต่ข้าพเจ้ากลับรู้สึกว่า ได้คุ้นเคยเหมือนกับว่าได้เคยอยู่ใกล้ชิดท่านเป็นเวลานาน และข้าพเจ้าเชื่อว่าศิษย์คนอื่นๆ ก็มีความรู้สึกเหมือนกับข้าพเจ้าเช่นกัน

ครั้งหนึ่งในคราวที่ปลอดคน คงมีแต่หลวงพ่อกับข้าพเจ้าเพียงลำพัง ข้าพเจ้ากราบเรียนถามท่านว่า ข้าพเจ้าโชคดีที่ในชีวิตนี้ ได้มารู้จักกับท่าน ได้มากราบนมัสการ ได้มาเรียนธรรมจากท่าน ข้าพเจ้าคงเคยพบท่านมาแล้วในอดีตถึงได้...

ยังไม่ทันที่ข้าพเจ้าจะพรรณนาคำถามต่อไป หลวงพ่อท่านยิ้มด้วยเมตตาและตอบข้าพเจ้าว่า


“ถ้าแกไม่เคยเจอข้า แกมาไม่ถึงวัดสะแกนี่หรอก”


ถ้อยคำของหลวงพ่อยังเป็นกำลังใจแก่ข้าพเจ้าตราบจนทุกวันนี้

ภาพอิริยาบถต่างๆ ของท่านยังติดตราตรึงอยู่ในใจข้าพเจ้าตลอดมา ทุกครั้งที่ไปวัดสะแก ทุกครั้งที่ได้เห็นหลวงพ่อ ทุกครั้งที่รำลึกถึงท่าน ข้าพเจ้ารู้สึกอบอุ่น ปลื้มปีติ และอดภูมิใจไม่ได้ที่ได้มา...เป็นลูกศิษย์ของท่าน...เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อดู่...เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ดู่ วัดสะแก



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:15

ตอนที่ ๖๕

หลวงพ่อกับศิษย์ใหม่



หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ ท่านเป็นพระที่มีความเมตตา เป็นห่วงเป็นใยแก่ศิษย์ที่ระลึกถึงท่านทุกคนอย่างที่ไม่ต้องสงสัย มีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับความรักความเมตตาอาทรของท่านที่มีต่อศิษย์ หนึ่งในหลายๆ เหตุการณ์นั้นก็คือ เรื่องของพระเพื่อนสหธรรมิกของข้าพเจ้า

ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ ระหว่างช่วงเทศกาลเข้าพรรษา พระนวกะจากวัดบวรนิเวศวิหาร จำนวน ๓ รูป คือ ท่านสุภาพ ท่านกิตติศักดิ์ และท่านสมศักดิ์ ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ เพื่อมานมัสการหลวงพ่อดู่ ที่วัดสะแก ทั้งสามองค์ต่างมีความตั้งใจตรงกันว่าจะนำดอกไม้ ธูปเทียน มาถวายตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อ เพื่อกราบนมัสการและถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อขอเรียนพระกรรมฐาน

ครั้งกำหนดวันได้เรียบร้อยตรงกันดีแล้ว ก็ออกเดินทางโดยไม่มีโอกาสได้กราบเรียนให้หลวงพ่อทราบล่วงหน้าก่อน เมื่อเดินทางมาถึงที่หมายคือวัดสะแก ก็เป็นช่วงเวลาใกล้เพลแล้ว ที่บริเวณปากทางเข้าวัดต่างองค์ต่างปรึกษาหารือกันว่าจะไปกราบหลวงพ่อก่อนดีหรือจะแวะฉันเพลก่อนดี ถ้าหากแวะฉันเพลก่อน ก็จะติดเวลาที่หลวงพ่อพักหลังเวลาเพล จะทำให้หลวงพ่อมีเวลาพักผ่อนน้อยลง ต้องเสียเวลามานั่งรับแขก แต่หากไปกราบนมัสการท่านเลย ทั้งสามองค์ต่างก็มีกังวลว่า แล้วจะได้ฉันเพลกันหรือไม่

ในที่สุดก็ตัดสินใจว่า ไม่ได้ฉันก็ไม่เป็นไร ไปกราบหลวงพ่อให้สมความตั้งใจก่อนดีกว่า ครั้นพอเดินเข้าประตูวัดได้ประมาณสักร้อยเมตร ก็มีศิษย์ฆราวาสของหลวงพ่อคนหนึ่งตรงเข้ามาหาแล้วบอกว่า

“หลวงพ่อนิมนต์ให้ฉันเพลที่นี่ ท่านไม่ต้องกังวล หลวงพ่อให้เด็กจัดอาหารให้แล้ว”

ทุกองค์ต่างแปลกใจ เหมือนกับหลวงพ่อจะ...รู้ล่วงหน้า ว่าจะมีพระเดินทางมาหา จึงให้ลูกศิษย์จัดเตรียมอาหารไว้ถวายพระด้วย

จากนั้นพระทั้งสามองค์ได้ขึ้นมาที่หอสวดมนต์บริเวณตรงข้ามกุฏิของหลวงพ่อ ก้มลงกราบพระ ๓ ครั้ง แล้วหันมาทางหลวงพ่อ ยกมือไหว้ท่านจากระยะไกลก่อนที่จะเข้ามากราบท่าน แต่จะนั่งพับเพียบก็ยังไม่กล้านั่ง ได้แต่นั่งคุกเข่าอยู่ ต่างองค์ต่างนั่งกระสับกระส่ายด้วยคิดกังวลกันว่า คงต้องอาบัติ หากต้องนั่งฉันโดยไม่มีอาสนะในที่เดียวกับที่นั่งของฆราวาส เพราะตามพระวินัยแล้ว ภิกษุจะไม่นั่งเสมอหรือร่วมอาสนะเดียวกับอนุปสัมบัน (หมายถึง ผู้ที่ยังไม่ได้อุปสมบท ได้แก่ คฤหัสถ์และสามเณร หรือผู้ที่ไม่ใช่ภิกษุหรือภิกษุณี)

สักครู่หนึ่ง ฆราวาสคนเดิมก็เข้ามาบอกว่า
“...หลวงพ่อท่านให้จัดเตรียมอาสนะมาให้แล้ว”


ทั้งสามองค์จึงได้อาสนะปูนั่งฉันจนเรียบร้อยไม่ต้องอาบัติ นี้เป็นอัศจรรย์เหมือนหลวงพ่อสามารถรู้วาระจิตของพระทั้งสามเป็นครั้งที่สอง

เมื่อฉันเสร็จ จึงได้กราบนมัสการท่าน ได้แต่นั่งข้างล่าง ไม่กล้านั่งเสมอกับท่าน หลวงพ่อท่านได้เมตตาเป็นที่สุด โดยเรียกให้พระใหม่นั่งข้างบนเสมอกับท่าน และบอกว่า


“เราลูกพระพุทธเจ้าเหมือนกัน”

ท่านสุภาพ ท่านกิตติศักดิ์ และท่านสมณศักดิ์ ต่างถวายตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อท่านกล่าวอนุโมทนา แล้วได้แนะนำให้ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงน้าสายหยุด ภูริทัตโต ที่กุฏิหลังวัด

วันนั้น พระนวกะทั้งสามองค์เดินทางกลับกรุงเทพฯ ด้วยความปลื้มปีติและใจที่เป็นสุขอย่างยิ่ง



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:22

ตอนที่ ๖๖

คาถาของหลวงพ่อ



หากใครที่ได้เคยเดินทางไปวัดเจติยาคีรีวิหาร ภูทอก จังหวัดหนองคาย และได้กราบนมัสการพระอาจารย์จวน กุลเชษโฐ หากได้มาชมองค์เจดีย์ที่ประตูเจดีย์พิพิธภัณฑ์ของท่าน จะเป็นบานประตูไม้ประดู่แผ่นเดียวแกะสลักด้วยลายที่เรียบง่าย ปิดทองและกระจกสี เพื่อรักษาเนื้อไม้ กลางประตูด้านในสลักเป็นรูปนกยูง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึง คาถายูงทองของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ที่ศิษย์ของท่านทุกองค์ต่างให้ความเคารพและระลึกถึงโดยสวดสาธยายเป็นประจำว่า

“...นโม วิมุตตานัง นะโม วิมิตติยา”

คืนวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้มีโอกาสกราบนมัสการเรียนถามหลวงพ่อดู่ว่า


“ลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น มีคาถายูงทองเป็นเครื่องระลึกถึงครูบาอาจารย์ แล้วลูกศิษย์ของหลวงพ่อควรใช้คาถาบทใดเป็นเครื่องระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์บ้าง”

หลวงพ่อได้วิสัชนาโดยให้ข้าพเจ้าไปเปิดดู “อุณหิสส วิชัยสูตร” ในหนังสือมุตโตทัย ซึ่งเป็นคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ (รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล)

พระสูตรนี้มีความไพเราะทั้งอรรถและพยัญชนะที่ควรศึกษา จดจำ และทำความเข้าใจให้แยบแคบอย่างยิ่ง ท่านได้กล่าวไว้ว่า

“ผู้ใดมาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ที่พึ่งแล้ว ผู้นั้นย่อมชนะได้ซึ่งความร้อน อุณหิสส คือความร้อนอันเกิดแก่ตน มีทั้งภายในและภายนอก ภายนอกมีเสือสาง ค่างแดง ภูตผีปีศาจ เป็นต้น ภายในคือ กิเลส วิชัย คือความชนะ ผู้ที่มาน้อมเอาสรณะทั้งสามนี้เป็นที่พึ่งแล้วย่อมจะชนะความร้อนเหล่านั้นไปได้หมดทุกอย่าง ที่เรียกว่า “อุณหิสสวิชัย”

สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญ อันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดมายึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่าหรือเรือนร่างก็ตาม สรณะทั้งสามปรากฏแก่เขาอยู่ทุกเมื่อ จึงว่าเป็นที่พึ่งแก่บุคคลจริง เมื่อปฏิบัติตามสรณะทั้งสามจริงๆ แล้ว จะคลาดแคล้วจากภัยทั้งหลาย อันก่อให้เกิดความร้อนอกร้อนใจได้แน่นอนทีเดียว”

สมดังที่หลวงพ่อดู่ท่านพร่ำย้ำเตือนศิษย์อยู่เสมอว่า


“พุทธัง ธัมมัง สังฆัง
ใครเชื่อจริง ทำจริง
ก็จะเจอของจริง”



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:24

ตอนที่ ๖๗

วัตถุสมบัติ ธรรมสมบัติ



ท่ามกลางความหลากหลายของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและกระแสแห่งความแสวงหา ใจทุกดวงที่มีความเร่าร้อนวุ่นวายสับสน เป้าหมายคือเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ แต่เมื่อได้สิ่งที่คิดว่าต้องการมาแล้ว ก็ดูเหมือนว่ายิ่งแสวงหาก็ยิ่งดิ้นรนมากขึ้น สิ่งที่ได้มานั้น มีสุขน้อยมีทุกข์มาก หากจะมีสุขบ้างก็เป็นเพียงสุขเล็กน้อยในเบื้องต้น แต่ในที่สุดก็กลับกลายเป็นทุกข์อีก เป็นอย่างนี้...ซ้ำแล้วซ้ำเล่า


อารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ ไม่เพียงพอที่จะให้เกิดความชุ่มฉ่ำเย็นใจอบอุ่นได้ยาวนาน หากแต่เป็นอารมณ์ที่ค้างใจอยู่ตลอดเวลา ทำให้อยากดิ้นรนแสวงหาสิ่งใหม่มาทดแทนอยู่เสมอ นี่เป็นธรรมดาของ...วัตถุสมบัติ

ส่วน..ธรรมสมบัตินั้น จะยังมีความชุ่มชื่นเพียงพอให้เกิดขึ้นแก่จิตใจได้ มีลักษณะเป็นความสุขที่ไม่กลับกลายมาเป็นความทุกข์อีก

วัตถุสมบัติ...ยิ่งใช้ นับวันยิ่งหมดไป ต้องขวนขวายแสวงหาเพิ่มเติมด้วยความกังวลใจ


ธรรมสมบัติ...ยิ่งใช้ นับวันยิ่งเจริญงอกงามขึ้น ก่อให้เกิดความสุขเย็นใจแก่ตนและคนรอบข้าง

คงไม่มีใครที่ได้รู้จักหลวงพ่อดู่ปฏิเสธว่า หลวงพ่อท่านเป็นแบบอย่างที่ดีของบุคคลที่ใช้ธรรมสมบัติ ยังความสงบเย็นให้แก่ใจทุกดวงที่ได้เข้ามาใกล้ชิดท่าน ไม่เฉพาะคนหรือสัตว์ แต่รวมไปถึงเหล่าเทพยดาและอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ศิษย์ของหลวงพ่อหลายคนต่างมีประสบการณ์อันเป็นปัจจัตตัง และสามารถเป็นประจักษ์พยานได้อย่างดี

หลวงพ่อเคยบอกข้าพเจ้าว่า


“คนทำ (ภาวนา) เป็นนี่ ใครๆ ก็รัก
ไม่เฉพาะตนหรือสัตว์ที่รัก
แม้แต่เทวดาเขาก็อนุโมทนา”



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:27

ตอนที่ ๖๘

ทำไมหลวงพ่อ



สมัยที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปลงอายุสังขารแล้วนั้น ได้ทรงปรารภเรื่องพระติสสเถระในคราวที่พระองค์จวนจะปรินิพพาน มีความตอนหนึ่งที่ท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ได้นำมาถ่ายทอดอบรมศิษย์ไว้ในหนังสือ “ความรักเสมอตนไม่มี” ความว่า

“...ก่อนจะปรินิพพานจากวันปลงพระชนม์ไปถึงเดือนหกเพ็ญเท่านั้น ยุ่งกันเกาะกันเป็นฝูงๆ ว่างั้นเลย อย่าว่าเป็นคณะๆ เลย เป็นฝูงๆ คือจิตใจมันยุ่งแต่ภายนอก มีพระติสสะองค์เดียวไม่ยุ่งกับใคร เข้าอยู่ในป่าตลอด ตลอดทั้งวันทั้งคืน แล้วพระบ้าเหล่านั้นหาว่าพระติสสะไม่มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานทั้งองค์ พระติสสะไม่เห็นมาปรารภอะไรเลย อยู่แต่ในป่า จึงพากันเข้าฟ้องพระพุทธเจ้าว่า พระติสสะไม่มีความหวังดีในพระพุทธเจ้า ไม่มีความเยื่อใยในพระพุทธเจ้า หลีกไปอยู่แต่องค์เดียว

พระองค์เป็นผู้ทรงเหตุผลอยู่แล้ว รับสั่งพระติสสะมาท่ามกลางสงฆ์ ไหนว่าไง พระติสสะเวลานี้ พวกบ้านี้ ถ้าเป็นหลวงตาบัวจะพูดอย่างนั้น เวลานี้พวกบ้านั่นว่าเธอไม่มีความจงรักภักดีต่อเราตถาคต ไปแอบอยู่คนเดียวทั้งวันทั้งคืน ไม่เข้ามาเกี่ยวข้องมั่วสุมกับหมู่เพื่อนเลย ว่าไงพระติสสะ รับสั่งถาม

ข้าพระองค์มีความจงรักภักดีต่อพระองค์สุดหัวใจ นั่นเวลาตอบ เท่าที่ข้าพระองค์ไม่ได้มาเกี่ยวข้องกับหมู่เพื่อน ก็เพราะเห็นว่าเวลาของพระองค์นั้นกำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว จากนี้ถึงวันนั้นจะปรินิพพาน ความเป็นไปในจิตของเราเป็นยังไง แล้วรีบเร่งขวนขวายจิตใจของเราให้ทันการณ์ จะควรบรรลุธรรมก็ให้ได้บรรลุในระยะที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ข้าพระองค์ต้องรีบขวยขวายทางด้านจิตใจ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับใครเลยทั้งวันทั้งคืน เอ้อ ถูกต้องแล้วติสสะ สาธุๆ ถูกต้องแล้ว

จากนั้นยกขึ้นเป็นภาษิตว่า “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาเราตถาคต...”


คำว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นี้ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงครั้งที่มีเพื่อนผู้ปฏิบัติท่านหนึ่งมาปรารภให้ฟังเกี่ยวกับการภาวนาของตนเองว่า “ไม่ก้าวหน้าเลย” ทำไมหลวงพ่อไม่มาสอนผม ทำไมหลวงพ่อไม่ช่วย ทำไมหลวงพ่อ...”

หลวงพ่อดู่ได้เคยให้กำลังใจในการปฏิบัติแก่ข้าพเจ้าว่า


“หมั่นทำเข้าไว้ พระท่านคอยจะช่วยเราอยู่ แล้วเราได้ช่วยเหลือตัวเองก่อนหรือยัง”


ข้าพเจ้าจึงตอบเพื่อนผู้นั้นกลับไปว่า อย่ามัวแต่ถามเลยว่าทำไมหลวงพ่อ...ทำไมหลวงพ่อ..ควรถามตัวเราเองว่า

“ทำไมเราไม่ทำตัวให้สมกับที่ท่านสอนล่ะ
เราปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้วหรือยัง”


ถ้าเราปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ได้เตรียมใจของเราให้เป็นภาชนะอย่างดีสำหรับรับรองรับธรรม สามารถเก็บรักษาธรรมมิให้ตกหล่น สูญหายไปได้ ข้าพเจ้าเชื่อเหลือเกินว่า พระพุทธเจ้าและหลวงพ่อไม่ทิ้งเราแน่นอน



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:29

ตอนที่ ๖๙

“งาน” ของหลวงพ่อ



ทุกชีวิตย่อมมีงาน เพราะงานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต บางทีเราอาจลืมไปว่า งานของชีวิตที่เราทำอยู่ดีแล้วพอแล้ว แต่ยังมีงานอื่นที่นอกเหนือจากหน้าที่การงานหรืองานประจำที่เราทำอยู่

ท่านพุทธทาสภิกขุเคยให้โอวาทตอนหนึ่งว่า


“...ให้เอางานในความของคนทั่วไปเป็นงานอดิเรก เอางานคือการปฏิบัติธรรมเป็นงานหลักของชีวิต เป็นการงานที่แท้จริงของชีวิต”

ถ้าเราเข้าใจในความหมายนี้ ชีวิตจะสดใสขึ้น ปลอดโปร่งใจขึ้น ความกังวล ความกลัดกลุ้มจะลดลง ความโลภ ความโกรธ ความหลงจะลดลง หากได้ฝึกสังเกตความคิดและความรู้สึกของตนเอง นี่เป็นงานของชีวิตอีกระดับหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง


หลวงพ่อดู่มักจะใช้คำศัพท์ที่ว่าให้ไป “ทำงาน” กับลูกศิษย์ ซึ่งหมายถึง ให้ไป “ภาวนา” หรืออีกนัยหนึ่ง “งาน” ในความหมายของหลวงพ่อดู่ก็คือ “งานรื้อวัฏฏะ” นั่นเอง

ท่านเคยบอกข้าพเจ้าว่า


“ทุกอย่างที่เราทำวันนี้ เพื่อเอาไว้กินวันข้างหน้า พอตายแล้ว โลกเขาขนเอาบาปกันไป แต่เราจะขนเอาบุญเอานิพพานไป”

ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระอานนท์และพระอรหันต์ทั้งหลายว่า


“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้จะไปสู่สุคติได้นั้นน้อยมาก เท่ากับโคสองเขาเท่านั้น ผู้ที่จะตกอยู่ในห้วงของอบายภูมินั้นมีเท่ากันกับขนโคทั้งตัว”

อันที่จริงมนุษย์แต่ละคนอยู่ในโลกนี้ชั่วระยะเวลาสั้นเหลือเกิน ถ้าเทียบกับอายุโลกหรือายุของจักรวาล

ถูกของหลวงพ่อเป็นที่สุด...
เวลาไม่กี่ปีบนโลกนี้ เรายังเตรียมอะไรกันตั้งมากมาย ขวนขวายหาซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน ซื้อรถยนต์ หาเงินเก็บเงินฝากธนาคาร แสวงหาสมบัติพัสถานจิปาถะ และยังต้องแสวงหาไว้เผื่อลูกเมีย บางคนถึงรุ่นหลานก็ยังกินไม่หมดเลยทีเดียว ทุกชีวิตสิ้นสุดที่ตาย คำเดียวเสมอกันหมด เราพร้อมสำหรับวันนั้นหรือยัง


มาทำงานถวายหลวงพ่อกันเถอะ



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:31

ตอนที่ ๗๐

ปาฏิหาริย์



ข้าพเจ้าขออนุญาตเขียนเรื่องนี้ เพื่อที่ท่านผู้อ่านจะได้มีความเข้าใจในวิธีการสอนของหลวงพ่อดู่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง “ปาฏิหาริย์” ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันแต่เพียงความหมายของ “อิทธิปาฏิหาริย์” และเหมารวมว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เท่าที่ข้าพเจ้าได้ยินได้ฟังจากเพื่อนหมู่คณะและที่ประสบด้วยตนเอง จึงเชื่อเหลือเกินว่าศิษย์หลวงพ่อหลายๆ ท่านเคยมีประสบการณ์และเห็นชัดด้วยตนเองมาแล้ว

ในพระพุทธศาสนานี้ พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องปาฏิหาริย์ไว้มี ๓ อย่าง คือ


๑. อิทธิปาฏิหาริย์ คือ ปาฏิหาริย์ในเรื่องการแสดงฤทธิ์ แสดงความเป็นผู้วิเศษ ดลบันดาลสิ่งต่างๆ เหาะเหินเดินอากาศ นิรมิตกายให้เป็นหลายคนได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น


๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ คือ การทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความคิดของผู้ถูกสอนได้


๓. อนุศาสนีปาฏิหาริย์ คือ คำสอนที่แสดงความจริง ให้ผู้ฟังรู้และเข้าใจ มองเห็นความเป็นจริงของโลก ให้ผู้ฟังได้ปฏิบัติตามอย่างนี้ ละเว้นการปฏิบัติอย่างนั้น และยังสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตาม จนรู้เห็นได้ผลจริงด้วยตนเอง

ปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ ๒ อย่างแรก คือ อิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์ หากแสดงเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งและไม่นำไปสู่อนุศาสนีปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นปาฏิหาริย์ที่พระองค์ทรงสรรเสริญมากที่สุด

ในเกวัฎฎสูตรได้เล่าถึงครั้งพุทธกาล ก็เคยมีชาวบ้านที่เมืองนาลันทา ชื่อ เกวัฏฏะ ได้กราบทูลพระพุทธเจ้า ขออนุญาตให้พระภิกษุรูปหนึ่งกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ เพื่อให้ชาวเมืองนาลันทาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงตอบเกวัฏฏะ สรุปได้ความว่า


ทรงรังเกียจปาฏิหาริย์ประเภทฤทธิ์ เนื่องจากปาฏิหาริย์ประเภทฤทธิ์ แม้จะมีฤทธิ์มากมายแต่ก็ไม่อาจทำให้ผู้ถูกสอนรู้ความจริงในสิ่งทั้งหลาย ไม่สามารถแก้ข้อสงสัยในใจตนได้ เมื่อแสดงแล้วผู้ได้พบเห็นหรือได้ยินได้ฟังก็จะงง ดูเหมือนผู้ที่แสดงเก่งแต่ผู้ถูกสอนก็ยังมีความไม่รู้อยู่เหมือนเดิม แต่อนุศาสนีปาฏิหาริย์จะทำให้ผู้ฟังเกิดปัญญาได้รู้ความจริง ไม่ต้องมัวพึ่งพาผู้ที่แสดงปาฏิหาริย์ แต่จะสามารถพึ่งพาตนเองได้

เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ หากชาวพุทธมัวแต่ยกย่องผู้มีอิทธิปาฏิหาริย์แล้วอาจทำให้เสียหลักศาสนาได้ เนื่องจากพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแต่ไม่มีอิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก จะไม่ได้รับการบำรุงจากชาวบ้าน แต่ผู้ที่ไม่มีคุณธรรมเป็นสาระแก่นสารหากแต่มีอิทธิปาฏิหาริย์ จะมีผู้คนศรัทธาให้ความเคารพนับถือแทน

อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าก็มิได้ทรงละการทำฤทธิ์และดักทายใจ ถ้าเราได้ศึกษาพุทธประวัติในบทสวดพาหุงจะพบว่า พระองค์ทรงใช้ฤทธิ์ปราบ เช่น เรื่องพระองคุลิมาล หรือทรงใช้ฤทธิ์ปราบฤทธิ์ เช่น เรื่องพญานาคชื่อนันโทปนันทะหรือพกาพรหม เมื่อปราบเสร็จก็เข้าสู่อนุศาสนีปาฏิหาริย์ คือทรงแสดงคำสอนที่ทำให้เห็นหลักความเป็นจริง ปฏิบัติตามก็พบความจริงแห่งความพ้นทุกข์

หลวงพ่อดู่ท่านก็ได้ดำเนินตามพุทธวิธีการสอนนี้เช่นกัน ข้าพเจ้าและเพื่อนหมู่คณะหลายท่านขอเป็นประจักษ์พยาน ในระยะแรกที่ข้าพเจ้าได้มาวัดสะแกและพบเหตุการณ์ต่างๆ ที่เรียกกันว่า “ปาฏิหาริย์” อันเกี่ยวเนื่องกับหลวงพ่อดู่นี้ ข้าพเจ้าแปลกใจและงุนงงกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ต่อมาเมื่อได้ศึกษาคำสอนของครูบาอาจารย์มากขึ้น จึงเริ่มมีความเข้าใจที่ถูก และเริ่มรู้ว่าหลวงพ่อต้องการจะสอนอะไรกับเรา

การเรียนธรรมะ การฟังธรรมะของผู้เริ่มสนใจศึกษาหลายๆ ท่าน เปรียบเสมือนการกินยาขม ดังนั้นหลวงพ่อจึงได้ใช้กุศโลบายนำเอา “ปาฏิหาริย์” ทั้งสามอย่างมาใช้กับศิษย์ประกอบกัน จึงสำเร็จประโยชน์ด้วยดี

เหมือนกับท่านให้เราทานยาขมที่เคลือบด้วยขนมหวานเอาไว้ เมื่อทุกคนตระหนักและเข้าใจคุณประโยชน์ของยาขมดีแล้ว ขนมหวานนั้นก็จะหมดความหมายไป



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:38

ตอนที่ ๗๑

เรื่องบังเอิญที่ไม่บังเอิญ



ในชีวิตของเราทุกๆ คน คงเคยได้ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ หลากรสหลากหลาย และในบรรดาเหตุการณ์หลายเรื่องที่ผ่านไปนั้น คงมีบางเรื่องที่เราเคยมีความรู้สึกว่า...ช่างบังเอิญเสียจริงๆ

คำว่า “บังเอิญ” นี้ สำหรับนักปฏิบัติภาวนาแล้ว ดูเหมือนจะขัดกับ “หลักความจริง” ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา ดังเรื่องที่ข้าพเจ้าขอยกมาเป็นตัวอย่างนี้

ภายหลังที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และได้แสดงธรรมโปรดฤาษีทั้ง ๕ หรือปัญจวัคคีย์ จนได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว วันหนึ่งพระอัสสชิ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ได้เข้าไปบิณฑบาตในเมือง ยังมีปริพาชกหรือนักบวชนอกพุทธศาสนารูปหนึ่ง ชื่อ อุปติสสะ เดินมาพบพระอัสสชิเข้า ได้แลเห็นท่าทางอันสงบน่าเลื่อมใส จึงเข้าไปถามท่านว่า

“ใครเป็นศาสดาของท่าน ศาสดาของท่านสอนว่าอย่างใด”

พระอัสสชิตอบว่า

“ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ถ้าต้องการดับ ต้องดับเหตุก่อน พระพุทธองค์ทรงสอนอย่างนี้”

อุปติสสะ ได้ยินคำตอบก็เกิดความประทับใจอย่างยิ่ง จนได้บรรลุธรรมเบื้องต้นในที่นั้นเองและขอเข้าบวชกับพระพุทธเจ้า ต่อมาท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ที่เรารู้จักกันในนาม "พระสารีบุตร" นั่นเอง

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ว่าด้วยเหตุกับผล ผลย่อมเกิดแต่เหตุเท่านั้น จะเกิดขึ้นลอยๆ ไม่ได้

หลวงพ่อเคยบอกข้าพเจ้าว่า

“ถ้าเรามีญาณที่จะรู้ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดในชีวิตเรา ไม่มีเรื่องบังเอิญเลย”

ผู้ปฏิบัติภาวนาต้องให้ความสำคัญที่เหตุ มากกว่าให้ความสำคัญที่ผล จึงขอให้ตั้งใจสร้างแต่เหตุที่ดี เพื่อผลที่ดีในวันพรุ่งนี้...และต่อๆ ไป



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:40

ตอนที่ ๗๒

หลวงพ่อบอกข้อสอบ



ราวปี พ.ศ.๒๕๒๗–๒๕๒๘ สมัยที่ข้าพเจ้ายังเป็นนักศึกษาอยู่ที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลวงพ่อดู่ท่านเคยบอกข้อสอบให้ข้าพเจ้าทราบล่วงหน้าและช่วยเหลือข้าพเจ้าในการทำข้อสอบ เท่าที่ข้าพเจ้าจำความได้ถึง ๕ วิชาด้วยกัน

ข้าพเจ้าจะขอเล่าเฉพาะวันที่หลวงพ่อบอกข้อสอบวิชาที่อาจารย์ฉายศิลป์ เชี่ยวชาญพิพัฒน์ เป็นผู้สอน คือวิชาแรงงานสัมพันธ์ คืนวันนั้น เวลาประมาณ ๓ ทุ่ม ก่อนวันสอบ ๑ วัน ข้าพเจ้านั่งอ่านตำราและทบทวนความรู้ที่อาจารย์ได้สอนมาตลอดเทอม


ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังมีสมาธิกับตำราที่อยู่เบื้องหน้า ข้าพเจ้ารู้สึกเย็นวาบขึ้นที่ใจพร้อมกับมีเสียงบอกข้าพเจ้าว่า พระธาตุหลวงปู่ทวดเสด็จ ข้าพเจ้าหันหลังกลับไปมองที่โต๊ะหมู่บูชาในห้องทันทีและเกิดความสงสัยว่า พระธาตุเสด็จมา แล้วท่านอยู่ที่ไหนล่ะ...อยู่ที่กระถางธูป เสียงตอบข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าหยุดอ่านหนังสือ เดินตรงมายังโต๊ะหมู่บูชา สายตาหยุดอยู่ที่กระถางธูปใบน้อย...แล้วข้าพเจ้าจะทราบได้อย่างไรล่ะว่าอันไหนเป็นเม็ดกรวด เม็ดทราย อันไหนเป็นพระธาตุ แต่แล้วข้าพเจ้าก็มองเห็นองค์พระธาตุสีน้ำตาลเกือบดำ มีสัณฐานค่อนข้างกลม ขนาดเล็กมากเหมือนไข่ปลา ข้าพเจ้าจึงแยกออกมาจากกระถางธูป เพื่อนำมาบูชา

จากนั้นข้าพเจ้าได้มานั่งอ่านหนังสือต่อ สักครู่ก็มีความรู้สึกเหมือนมีคนบอกให้ข้าพเจ้าเขียนจดหมายวิจารณ์การสอนของท่านอาจารย์ฉายศิลป์ ข้าพเจ้าก็เลยนึกสนุกขึ้นมา นั่งเขียนจดหมายอย่างเอาจริงเอาจังแทนที่จะนั่งอ่านหนังสือ เขียนเสร็จก็พับใส่ซอง ตั้งใจไว้ว่าวันรุ่งขึ้นเมื่อสอบเสร็จ จะนำไปมอบให้อาจารย์ที่ห้องพักของท่าน

วันรุ่งขึ้นเป็นวันสอบ เมื่อข้าพเจ้าได้เห็นข้อสอบซึ่งเป็นข้อสอบบรรยายเสียส่วนใหญ่ ข้าพเจ้าก็ต้องแปลกใจที่หนึ่งในข้อสอบบรรยายข้อใหญ่นั้น ให้วิจารณ์การเรียนการสอนของท่านอาจารย์ฉายศิลป์ ในตอนแรกข้าพเจ้าก็ไม่ค่อยจะแน่ใจตนเองเท่าใดนักว่าเราคิดเอาเองหรือเปล่า เป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ เรื่องพระธาตุเสด็จ หลวงพ่อบอกข้อสอบ ข้าพเจ้าเชื่อว่า หากเป็นท่านผู้อ่านก็คงไม่แน่ใจตนเองเหมือนกัน แต่ในที่สุดก็มีเรื่องที่ยืนยันให้ข้าพเจ้าแน่ใจว่าเป็นเรื่องจริง เพราะเหตุการณ์เกิดซ้ำรอยเดิม

หากเป็นเรื่องบังเอิญ คงไม่สามารถเกิดเรื่องทำนองเดียวกันได้หลายครั้ง หลวงพ่อบอกข้อสอบข้าพเจ้าอีกเป็นครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ และครั้งที่ ๔ ต่างกรรมต่างวาระกัน จนผลการสอบของข้าพเจ้าออกมาได้เกรด A หลายวิชา

ข้าพเจ้าได้พิจารณาดูแล้ว คิดว่าเรื่องนี้หลวงพ่อต้องการสอนอะไรบางอย่างให้แก่ข้าพเจ้า คงมิใช่เพียงแค่การบอกข้อสอบ และก็คงไม่ใช่เอาไว้ให้ข้าพเจ้านำมาเล่าให้หมู่คณะฟังเท่านั้น

ปริศนาธรรมจากนิมิตครั้งนี้ จะจริงหรือเท็จประการใด พระธาตุเสด็จมาจริงหรือไม่ หรือหลวงพ่อบอกข้อสอบจริงหรือไม่ สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ถือว่าเป็นปาฏิหาริย์ที่หลวงพ่อเมตตาให้บทเรียนบทต่อมากับข้าพเจ้า เป็นบทเรียนที่นำไปสู่อนุศาสนีย์ปาฏิหาริย์ ให้ข้าพเจ้าได้มีความเข้าใจในธรรมมากขึ้น เป็นสัมมาทิฏฐิมากขึ้น...ในเวลาต่อมา




โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:45

ตอนที่ ๗๓

ตัวประมาท



หลังจากที่หลวงพ่อได้บอกข้อสอบให้ข้าพเจ้าทราบครั้งแรกแล้ว ท่านก็ได้ช่วยข้าพเจ้าทำข้อสอบอีกเป็นครั้งที่ ๒ ที่ท่านช่วยเหลือข้าพเจ้าคราวนี้เป็นวิชา พบ.๒๓๘ วิชาการบริหารงานผลิต ซึ่งมีอาจารย์ผู้สอนหลายท่าน ข้อสอบมีหลายลักษณะทั้งบรรยาย เติมคำ ให้กากบาทหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุด ฯลฯ

หลวงพ่อดู่ท่านเคยสอนวิธีทำข้อสอบแบบปรนัย (กากบาทหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุด) ให้ข้าพเจ้าว่า เวลาที่เราไม่แน่ใจ แทนที่เราจะเดาสุ่มหรือที่เรียกว่ากาส่งเดช เราจะไม่ทำอย่างนั้น หลวงพ่อท่านสอนให้ข้าพเจ้าหลับตาและนึกถึงหลวงพ่อทวด (หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด) แล้วกราบเรียนถามท่าน

ขณะที่อยู่ในห้องสอบ เมื่อข้าพเจ้าทำข้อสอบเสร็จแต่เวลายังไม่หมด และยังมีข้อสอบประเภทกากบาทเหลืออีกประมาณ ๑๐ ข้อ ที่ข้าพเจ้าไม่แน่ใจ ข้าพเจ้าไม่รอช้า นึกถึงที่หลวงพ่อสอนทันที ค่อยๆ พิจารณาทีละข้อ หากข้อใดถูกต้อง เมื่อข้าพเจ้าเอาปากกาจิ้มไปที่ตัวเลือกจะเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นทันที แต่ถ้าไม่ถูกต้องก็จะมืดและไม่มีแสงสว่าง ข้าพเจ้าทำข้อสอบส่วนที่เหลือด้วยวิธีนี้จนเสร็จเรียบร้อย

หลังจากประกาศผลสอบออกมา ข้าพเจ้าได้เกรด A เช่นเคย เดือนต่อมา ข้าพเจ้าได้มีโอกาสนำเรื่องนี้ไปเรียนถวายให้หลวงพ่อทราบ ในครั้งนั้นมีเพื่อนของข้าพเจ้าซึ่งเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยอีกแห่งหนึ่ง มากราบหลวงพ่อด้วยเช่นกัน เพื่อนข้าพเจ้าคนนี้ได้ฟังเรื่องที่ข้าพเจ้าเล่าถวายหลวงพ่อ เขาจึงได้กราบเรียนหลวงพ่อว่า

ผมได้ทำข้อสอบกากบาทแบบนี้เหมือนกัน ข้อสอบมี ๑๐๐ ข้อ พอเข้าห้องสอบผมก็หลับตานึกถึงหลวงพ่อ ขอให้ช่วยทำข้อสอบด้วย จากนั้นก็ทำข้อสอบโดยใช้วิธีหลับตาเช็คทีละข้อจนครบ ๑๐๐ ข้อ ผลสอบออกมาปรากฏว่าได้ F คือสอบตก ทำไมเป็นอย่างนี้ครับหลวงพ่อ เพื่อนข้าพเจ้าถามหลวงพ่อ

หลวงพ่อมองหน้าเพื่อนข้าพเจ้าและเมตตาอบรมเตือนสติทั้งเพื่อนและข้าพเจ้าว่า


“แกพิจารณาให้ดี นั่นแหละตัวประมาท จำไว้ตัวประมาทนี่แหละตัวตาย”


ตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า ความประมาทเป็นหนทางไปสู่ความตาย นั่นเอง



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:47

ตอนที่ ๗๔

ของโกหก



มีพระพุทธพจน์ว่า


“บุคคลใด เห็นสิ่งอันไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งอันเป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ บุคคลนั้นมีความดำริผิดประจำใจ ย่อมไม่อาจพบสาระได้

ส่วนบุคคลใด เห็นสิ่งอันเป็นสาระว่าเป็นสาระ สิ่งอันไม่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ บุคคลนั้นมีความดำริถูกประจำใจ ย่อมสามารถพบสิ่งอันเป็นสาระ”

เรื่องราวเหตุการณ์ บุคคล สัตว์ สิ่งของต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรานั้น สรรพสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ และไม่สามารถคงอยู่ตลอดไป หากเราสังเกตฝึกหัดพิจารณาหาเหตุหาผล จนใจคุ้นเคยกับความเห็นตามความจริง เราจะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งบุคคลและสิ่งของทุกอย่างรอบตัวเราได้ไม่ยากนัก

เราจะเห็นความเป็น พยับแดด...ภาพลวงตา
เหมือนจะจริง...แต่ก็ไม่จริง
เหมือนจะแน่นอนอยู่แล้ว...แต่ที่สุดก็ไม่แน่นอน
เหมือนจะคงที่ถาวร...แต่ที่สุดท้ายก็เสื่อมสลายไป


หลวงพ่อดู่ท่านให้ข้อคิดในเรื่องนี้กับข้าพเจ้าไว้ว่า
“แกไปพิจารณาดูเถอะ ของโกหกทั้งนั้น”


หลวงพ่อมองสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้เป็นเสมือนของโกหกทั้งนั้น
แล้วเราล่ะ เห็นว่าเป็นอย่างไร



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:49

ตอนที่ ๗๕

ถึงวัดหรือยัง



ธรรมะเป็นสิ่งที่มีอยู่รอบๆ ตัวเราทุกๆ คน เพียงแต่ว่าเราจะสามารถมองเห็นและนำมาพิจารณาได้แค่ไหนอย่างไร

ในสมัยพุทธกาล ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำองค์พระพุทธเจ้าของเรา สมัยที่ศึกษาอยู่กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ก่อนจะสำเร็จวิชาการแพทย์ ท่านให้ถือเสียมไปเที่ยวหาดูว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ใช้เป็นยาไม่ได้ ให้นำมาให้ โดยให้ไปเที่ยวหา ๔ วัน วันละทิศ ทิศละ ๑ โยชน์ รอบเมืองตักศิลา


ท่านหมอชีวกรับคำสั่งอาจารย์ แล้วถือเสียมไปเที่ยวหาตามคำสั่งของอาจารย์ ก็ไม่ได้พบเห็นสิ่งใดที่ไม่ใช่ยาเลย เมื่อกลับมาแล้วเข้าพบอาจารย์ แจ้งความนั้นให้ทราบ อาจารย์จึงกล่าวว่า เธอเรียนวิชาแพทย์สำเร็จแล้ว ความรู้เท่านี้พอเพียงที่เธอจะใช้เป็นอาชีพได้แล้ว

ต้นไม้ทุกชนิด หิน ดิน แร่ต่างๆ มีคุณค่า สามารถนำมาเทียบเป็นยาได้ฉันใด บุคคลผู้มีความฉลาดก็ฉันนั้น รอบๆ ตัวเรา ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าคน สัตว์ สิ่งของ เรื่องราวเหตุการณ์ใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้น และผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวันของเรา ไม่มีเรื่องใดที่ไม่สามารถนำมาพิจารณาให้เป็นธรรมะของเราได้เลย พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เรามีความเข้าใจในโลกธรรมทั้ง ๘ อย่าง ได้แก่

ได้ลาภ   เสื่อมลาภ
ได้ยศ     เสื่อมยศ
ได้รับความสุข   ประสบกับความทุกข์
มีคนสรรเสริญ   และมีคนนินทา


ถ้าใจเปรียบเหมือนน้ำนิ่ง เมื่อใจเรากระทบกับโลกธรรม ๘ อย่างนี้แล้วกระเพื่อมไหวไปตามอารมณ์ ก็เป็นโลก แต่ถ้าพิจารณาอย่างมีสติจนเท่าทันโลกธรรม ๘ อย่างแล้ว ไม่ซัดส่ายไปตามอารมณ์ทั้งหมดนี้ ใจก็เป็นธรรมอยู่โดยตลอด

ธรรมะแท้อยู่ที่ใจ มิใช่
อยู่ที่วัด พระสงฆ์ หรือคัมภีร์ใบลาน ที่ล้วนเป็นศาสนสถาน ศาสนบุคคล หรือศาสนวัตถุเท่านั้น หากเราเข้าใจได้อย่างนี้ ศาสนธรรมอันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดจะเกิดขึ้นที่ตัวเรา เมื่อนั้นเราก็จะเข้าใจคำว่า พระที่คล้องใจ มิใช่ พระที่คล้องคอ

หลวงพ่อดู่ ท่านสรุปเรื่องนี้ให้ข้าพเจ้าฟังว่า


“ถึงแกมาวัด แต่ใจยังมีโกรธ โลภ หลง ไปตาม ๘ อย่างที่ว่านี้ แกยังมาไม่ถึงวัด แต่ถ้าแกอยู่บ้านหรือที่ไหนๆ แต่ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง ไม่มี ๘ อย่างนี้มากวนใจ ข้าว่าแกมาถึงวัดแล้ว”



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 22:54

ตอนที่ ๗๖

รางวัลทุนภูมิพล



เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีเหตุการณ์หนึ่งซึ่งหลวงปู่ทวดได้เมตตาให้ความช่วยเหลือจนข้าพเจ้าไม่มีวันที่จะลืมไปได้ คือ

วันหนึ่งข้าพเจ้าได้ทราบข่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยจะมีการจัดประกวดการเขียนเรียงความในหัวข้อเรื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชกับพุทธศาสนาในสังคมไทย”

ข้าพเจ้าเกิดความสนใจที่จะเขียนเรียงความดังกล่าวขึ้นมาทันที แต่ก็ไม่แน่ใจตนเองว่าจะมีความสามารถเขียนได้ดีสักเพียงใด เมื่อข้าพเจ้าตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะเขียน จึงได้มากราบพระที่ห้องพระของชุมนุมศึกษาพุทธศาสตร์ฯ ของมหาวิทยาลัย ข้าพเจ้ากราบพระนึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์และอาราธนาหลวงปู่ทวดและหลวงพ่อดู่ เพื่อขอความช่วยเหลือจากท่านให้งานเขียนชิ้นนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังนึกอธิษฐานอยู่ในห้องพระเพียงลำพังนี้ ก็บังเกิดนิมิตเป็นหลวงปู่ทวด ท่านเดินออกมาจากโต๊ะหมู่บูชามาหาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าแลเห็นภาพตัวเองนั่งคุกเข่า หมอบตัวลง และหงายฝ่ามือทั้งสองยื่นไปข้างหน้าเบื้องหน้าข้าพเจ้า และเห็นเป็นภาพหลวงปู่ทวดยืนสวดมนต์ให้พร พร้อมกับเป่าลงที่มือสองข้างของข้าพเจ้า ในนิมิตนั้นข้าพเจ้าเห็นเป็นอักขระโบราณอยู่เต็มสองฝ่ามือ ข้าพเจ้าจึงกราบเรียนถามหลวงปู่ทวดว่า “อะไรหรือขอรับ? ”

ท่านตอบสั้นๆ ว่า “ความรู้” จากนั้นท่านก็หันหลังเดินกลับหายลับเข้าไปในโต๊ะหมู่บูชา

ข้าพเจ้าปลื้มปีติมากและเกิดเป็นกำลังใจอย่างยิ่งในการเขียนหนังสือครั้งนั้น และได้ใช้เวลากว่าสามเดือน จึงเขียนเรียงความแล้วเสร็จ ขณะที่เขียนหากติดขัดอะไร เมื่อนึกถึงหลวงปู่ทวดจะเหมือนท่านช่วยดลใจให้สามารถเขียนต่อได้ จะค้นคว้าหรือหาข้อมูลอ้างอิงใดๆ ก็ไม่ติดขัดเลย เป็นเรียงความเรื่องยาวขนาดมากกว่า ๓๐ หน้ากระดาษพิมพ์ดีด ซึ่งนับเป็นงานเขียนที่ยาวที่สุดในชีวิตของข้าพเจ้าเลยทีเดียว

เมื่อทางมหาวิทยาลัยประกาศผลการประกวดเรียงความ งานเขียนของข้าพเจ้าเป็นงานชิ้นเดียวในปีนั้นที่ได้รับพระราชทานรางวัลทุนภูมิพล โดยได้เข้ารับพระราชทานรางวัลเป็นทุนการศึกษาจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันพระราชทานปริญญาบัตร

จากคนที่ไม่เคยเขียนหนังสือ จากคนที่ไม่เคยสนใจงานด้านขีดๆ เขียนๆ มาก่อน จนมาได้รับพระราชทานรางวัล...ทุนภูมิพล ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าข้าพเจ้าจะยินดีและดีใจเพียงใด

ข้าพเจ้าขอกราบแทบเบื้องพระบาทของหลวงปู่ทวดและหลวงพ่อดู่ ขอนมัสการด้วยความเคารพ...ด้วยเศียร...และเกล้า...ที่ทำฝันของข้าพเจ้าให้เป็นจริง



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 23:03

5.1.jpg


ตอนที่ ๗๗

หลวงปู่ทวดช่วยชีวิต



ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ เป็นคำสอนของพระพุทธองค์ที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ความทุกข์ของคนเรานั้นมีมากมายหลายเรื่องหลายอย่าง การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่เพียรพยายามรักษาอย่างไรก็ไม่ยอมหายสักที นี่ก็เป็นความทุกข์ที่ทรมานจิตใจมากเรื่องหนึ่งของมนุษย์เรา

บทความที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นเรื่องของคุณรัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ซึ่งเขียนโดย เบญจะ ชินปัญชนะ จากหนังสือขวัญเรือน ได้เล่าไว้ดังนี้

คุณรัตนาภรณ์ อินทรกำแหง เป็นศิลปินดาราที่เด่นดังในอดีตและยังมีผลงานอยู่ทุกวันนี้ ชีวิตจริงของศิลปินท่านนี้ได้ผ่านอุปสรรคมาแล้วอย่างมากมาย ตื่นเต้นเร้าใจยิ่งกว่าภาพยนตร์ที่เธอแสดง และเมื่อถึงบทเศร้าแล้ว เศร้าสลดจนต้องฆ่าตัวตาย


เมื่อหลายปีก่อนคุณรัตนาภรณ์ ได้เกิดล้มป่วยเป็นอัมพาต ลุกเดินไม่ได้ ได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลมีชื่อแห่งหนึ่ง หมดเงินไปร่วม ๒ แสนบาท แต่ไม่หาย และไม่ดีขึ้นเลย พอรู้ข่าวว่าที่ไหนมีหมอเก่ง จะรีบให้คนพาไป รักษาแล้วก็เหมือนเดิม รักษาไปจนทรัพย์สินเงินทองเกือบหมด โรคร้ายที่ทรมาน เพราะลุกเดินไม่ได้ก็ยังทรมานใจอยู่ เป็นเช่นนี้อยู่นานถึง ๗ เดือน

ฆ่าตัวตายดีกว่า คนเราเมื่อหมดหนทางไม่มีทางออกก็ต้องคิดสั้น คนที่ต้องอยู่ในสภาพที่ช่วยตัวเองไม่ได้เป็นระยะเวลานานๆ ต้องอยู่แต่ในห้องที่แคบๆ จะทำอะไรต้องอาศัยผู้อื่น มันน่าเบื่อหน่ายคับแค้นใจยิ่งนัก ตายซะจะดีกว่า ชาติที่แล้วคงทำกรรมไว้มาก ขอยอมชดใช้กรรมแต่เพียงเท่านี้

นั่นเป็นคำพูดของคุณรัตนาภรณ์ที่น้อยอกน้อยใจในชะตากรรมของตนเอง ก่อนที่จะตัดสินใจไปตาย เมื่อตัดสินใจแล้ว จึงเดินทางท่องเที่ยวแบบสั่งลา อยากไปที่ไหนก็ไป ชอบใจที่ไหนก็อยู่นานหน่อย เมื่อไปถึงภูเก็ตเกิดความเบื่อ จึงหลบไปชายหาดที่ไม่มีคน สั่งบุตรบุญธรรม (เพราะคุณรัตนาภรณ์หรือคุณแดงไม่มีบุตร) ให้ไปซื้อข้าวปลาอาหารทานกันที่ชายหาด

เมื่อไม่มีใครอยู่แล้ว คุณแดงจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อคุณพระรัตนตรัย โดยเฉพาะหลวงพ่อทวดที่เคารพนับถือมาก เพราะเคยได้ประจักษ์ในด้านอิทธิฤทธิ์อภินิหารจากการรอดตายมาแล้ว (ถึงกับได้ชักชวนคุณสมบัติ เมทะนี ดารายอดนิยมในอดีต ช่วยกันสร้างพระเครื่องบูชาหลวงพ่อทวด ถวายให้วัดช้างให้รุ่นหนึ่ง) ช่วงนั้นคุณแดงได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อองค์หลวงพ่อทวดไว้ว่า

“ขณะนี้ลูกได้ถูกโรคร้ายเบียดเบียน ทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานานแล้ว วันนี้ได้ตัดสินใจขอลาตาย บุญใดที่ลูกได้ทำมาแล้ว ในอดีตชาติก็ดี และในชาตินี้ก็ดี ลูกขออุทิศบุญนั้นให้กับเจ้ากรรมนายเวรที่ได้ล่วงเกินกันมา จะด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี


ขอให้หลวงพ่อทวด ช่วยเป็นสื่อไปบอกให้เจ้ากรรมนายเวรต่างๆ มารับไปและอโหสิกรรมให้ลูกด้วย และถ้าเมื่อลูกได้หมดกรรมจริงแล้ว ขอให้หลวงพ่อทวดได้เมตตาสงเคราะห์ให้หายจากโรคภัยในวันนี้ด้วย ถ้ายังไม่หาย ลูกขอลาตายในบัดนี้”

เมื่อจบคำอธิษฐานแล้ว คุณแดงก็ลงมือคลานกลิ้งตัวลงทะเลไป เมื่อเจอคลื่นซัดมา ก็กลิ้งกลับไป แต่ก็ยังกระเสือกกระสนคลานต่อไป แล้วก็ถูกคลื่นซัดเข้าฝั่งอีก ต่อสู้กับคลื่นเพื่อที่จะไปให้ลึกพอที่จะจมน้ำแล้วหายใจไม่ออก เป็นเช่นนี้อยู่ครึ่งชั่วโมง จนบุตรบุญธรรมกับคนใช้มาพบเห็น ช่วยพยุงตัวขึ้นฝั่ง ขณะเหนื่อยจนไม่ได้สติ มาตกใจรู้ตัวเพราะเสียงตะโกนลั่นว่า “แม่หายแล้ว! แม่หายแล้ว!”

ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นแล้ว เพราะคุณแดงยืนได้แล้ว เดินได้ด้วย หายจากโรคร้ายแล้ว จากคุณพระรัตนตรัยและหลวงพ่อทวดที่ประทานให้ เนรมิตให้โดยใช้เวลาสั้นๆ จากการที่ต้องทรมานอยู่นานถึง ๗ เดือน

นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ข้าพเจ้าขอฝากท่านผู้อ่านไว้เป็นเครื่องเจริญศรัทธา




รูปภาพที่แนบมา: 5.1.jpg (2023-2-5 02:50, 98.74 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyNTF8MDAwZWNiOTJ8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 23:07

ตอนที่ ๗๘

ทามาก็อต จิ



ทามาก็อต จิ หรือสัตว์เลี้ยงคอมพิวเตอร์ที่แสนจะขี้อ้อนกำลังแพร่ระบาดและเป็นที่นิยมเลี้ยงกันในหมู่นักเรียนนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ญี่ปุ่นและในบ้านเรา จนทางโรงเรียนต้องห้ามนักเรียนไม่ให้นำมาโรงเรียน เพราะจะทำให้เสียการเรียน เนื่องจากต้องคอยดูแลทามาก็อตยิ่งกว่าไข่ในหิน ต้องคอยป้อนอาหารให้ทาน พาเข้าห้องน้ำ เจ็บป่วยต้องพาไปหาหมอและอื่นๆ อีกจิปาถะ มิฉะนั้น...มันจะตาย

จากเรื่องทามาก็อต จิ เจ้าสัตว์เลี้ยงปลอม ทำให้ข้าพเจ้าคิดถึงวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในอดีต คือ ตลิ่งสูง ซุงหนัก ของนิคม รายยวา กวีซีไรต์ เมื่อหลายปีก่อน

ครั้งนั้น นิคมได้นำเสนอเรื่องความเป็น ของจริง และ ของปลอม ได้อย่างไพเราะกินใจยิ่งนัก นิคม ได้ให้คำงายตัวเอกของเรื่องเรียนรู้และพบคำถามได้โดยการ “ประสบ” กับคำตอบอันเป็นรูปธรรมหลายๆ ครั้ง จนสามารถโยงเข้าสู่ปริศนาในใจได้

คำงาย...เริ่มแกะช้างใหญ่เท่าตัวจริง เขาเริ่มตั้งคำถามว่า “เราเคยเดินทางไกล ได้พบเห็นอะไรหลายอย่าง แต่ตัวเราเองเป็นของใกล้ที่สุด เรากลับไม่เคยเห็นมันเลย” จนเมื่อคำงายแกะช้างได้เป็นตัวเป็นตนแล้ว แต่เขายังหาความเป็นช้างไม่ได้

จนวันหนึ่ง เมื่อเขาอยู่บนหลังพลายสุด ยามที่พลายสุดตกมัน เมื่อเขากุมสติได้ เขาพบว่าสิ่งนี้เองที่เราอยากรู้ เขาคิดขณะความอุ่นและอ่อนละมุนจากตัวช้างแล่นซ่านใต้ร่างเขา มันมีอารมณ์มีเลือดเนื้อ มีชีวิตและวิญญาณ เขาสัมผัสได้ถึงความมุทะลุรุนแรงที่กำลังทะยานไปข้างหน้า รู้สึกถึงความหวาดกลัวและหวั่นไหวชั่วขณะของมัน ความเศร้า ความเจ็บปวด และความตกใจ ขณะดิ้นรนและวิ่งพล่านฟัดเหวี่ยงอยู่กับแอ่งที่หาทางออกไม่ได้

สิ่งที่คำงายค้นพบนี้ ไม่ใช่เพียงแต่ชีวิตและเลือดเนื้อของช้างตัวหนึ่งเท่านั้น แต่คือชีวิตและเลือดเนื้อของมนุษยชาติที่ขาดหายไปในโลกปัจจุบัน โลกที่ผู้คนชื่นชมกับชีวิตที่เป็น “ซาก” มากกว่าชีวิตที่เป็น “จริง”

ดังนั้น คำงายจึงหันกลับมาพิจารณาช้างไม้ของเขาอีกครั้งหนึ่ง และฉงนฉงายนักว่า “คนเรานี่แปลกจริงๆ ไม้ใหญ่มันก็ใหญ่ของมันอยู่แล้ว ใครไม่ได้ทำให้รูปช้างใหญ่ แต่ท่อนไม้มันใหญ่ของมันเอง ตัวมันจริงๆ คือต้นไม้ใหญ่ แต่คนกลับไม่เห็นความสวยและมีค่าของมันตอนมีร่มเงามีชีวิต กลับโค่นมัน ลิดกิ่งใบให้เป็นซากไม้ แล้วเอามาแกะให้เหมือนซากช้างชื่นชมมัน มากกว่าได้เห็นช้างหรือต้นไม้ที่มีชีวิตจริงๆ เสียอีก ทำไปทำมาจะไม่มีของจริงเลยสักอย่าง ไม่ว่าช้างหรือไม้”

เรื่องของทามาก็อต จิ คำงายและพลายสุด เป็นตัวอย่างอันดีให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้นในเรื่อง ของจริง ของปลอม

บทสนทนาตอนหนึ่ง ที่หลวงพ่อดู่ท่านพูดคุยกับข้าพเจ้าและเพื่อนครั้งที่ได้กราบนมัสการและถวายดอกบัวแก่ท่าน ก่อนที่จะถวายดอกบัว เพื่อนของข้าพเจ้าได้นำดอกบัวมาพับกลีบบัวให้ดูเหมือนเป็นดอกกุหลาบ อีกกลุ่มก็เอาดอกบัวมาพับกลีบเข้าไปทีละชั้นจนเห็นเกสรดอกบัวที่อยู่ด้านใน

หลวงพ่อท่านนั่งมองดูอยู่ ในที่สุดท่านได้ฝากข้อคิดการไปทำบุญครั้งนั้นให้ข้าพเจ้าว่า


“ดอกบัวที่พับกับดอกบัวที่ไม่ได้พับ อย่างไหนอยู่ได้นานกว่ากัน”
“อย่างที่ไม่พับครับ” ข้าพเจ้าตอบ


“เอ้อ! ก็เรามันอยากนี่นา อยากให้เป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างนี้ ข้าฝากแกไปคิดดู”

พับกันไป พับกันมา...ในที่สุดของจริงก็อยู่ได้ทนนานตามธรรมชาติกว่าของที่ถูกพับ และดูจริงๆ แล้วดอกบัวที่ถูกพับเป็นดอกกุหลาบนั้น จะดูเป็นดอกบัวก็ไม่ใช่ จะเป็นดอกกุหลาบก็ไม่เชิง

เอาความเป็นดอกบัว...ถวายท่านดีกว่า
ข้าพเจ้าตอบกับตัวเอง



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 23:07

ตอนที่ ๗๙

ไตรสรณาคมน์



คุณหมออมรา มลิลา เป็นฆราวาสผู้ปฏิบัติธรรมได้ดียิ่งผู้หนึ่ง ที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือและถือเป็นแบบอย่าง วันหนึ่งข้าพเจ้าได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับท่านที่ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทสนทนาวันนั้น ได้พูดกันถึงพระไตรสรณาคมน์ คุณหมอได้ฝากข้อคิดในเรื่องที่กล่าวกันว่า การขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง จะสามารถกำจัดภัยได้จริงนั้น ถึงอย่างไรจึงกำจัดภัยได้จริง คุณหมอได้อธิบายว่า

การถึงพระพุทธ เพื่อเป็นสรณะนั้น หมายถึง การเข้าใจถึงศักยภาพของจิตแท้ที่เป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ใครก็ตามที่เชื่อเช่นนี้ จนพากเพียรบากบั่นฝึกอบรมจิตใจของตนให้เกิดเป็นสัมมาทิฏฐิตั้งมั่นในมรรค ไม่ย่อหย่อน อ่อนแอท้อแท้ เกียจคร้านที่จะปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้นไป


จนในที่สุด ใจนั้นถึงพร้อมด้วยสติ สมาธิ ปัญญา และมีกำลังพอที่จะขุดรากถอนโคนกิเลสอาสวะทั้งปวงออกไปจากจิตใจได้ จิตของผู้นั้นก็จะเป็นอิสระจากสิ่งที่เศร้าหมองคือ อวิชชา ตัณหา อุปทาน ตื่น เบิกบาน เป็นพุทธะ มีความบริสุทธิ์เทียบเท่ากับพระอรหันต์ทั้งปวงและของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ แต่ความสามารถทางอภิญญาอาจยิ่งหย่อนกว่ากันได้

การถึงพระธรรม คือ การมีสติรักษาใจให้น้อมเอาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตมาเป็นธรรมะสอนใจแทนการปล่อยให้ปรุงคิดเตลิดไปตามสัญญา อารมณ์เกิดเป็นความทุกข์ เกิดเป็นความคับข้องใจ หรือเมื่อใดใจคิดฟุ้งซ่าน ก็หยุดกำหนดรู้อยู่ปัจจุบัน คือขณะเดี๋ยวนี้ เฉพาะหน้าแต่ละขณะ ใจที่ฝึกเช่นนี้จะเปรียบเสมือนมีธรรมของพระพุทธองค์เทศน์ให้ฟังอยู่ในใจตลอดเวลา

เมื่อไม่มีสิ่งกระทบก็รู้อยู่กับปัจจุบัน เมื่อมีสิ่งกระทบไม่ว่าจะเป็นผัสสะจากภายนอกหรืออารมณ์ของใจเอง ก็จะหมุนให้คิดเป็นมรรคทุกครั้ง จะเปลี่ยนจากความคิดที่เป็นกิเลสให้เป็นมรรคดังนี้เรื่อยไป ดังนั้นความคิด คำพูด หรือการกระทำด้วยกายทุกอย่างๆ จะเป็นการกระทำเพื่อความสิ้นสุดแห่งทุกข์ถ่ายเดียว

การถึงพระสงฆ์ คือ การน้อมตนให้ปฏิบัติดัง “พระสงฆ์” คือ เป็นผู้ปฏิบัติดี (สุปฏิปันโน) ปฏิบัติตรง (อุชุปฏิปันโน) ปฏิบัติถูก (ญายปฏิปันโน) ปฏิบัติชอบ (สามีจิปฏิปันโน) ตลอดเวลาที่จะระลึกได้

การปฏิบัติดังกล่าวมานี้คือ การถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่จะเป็นสรณะที่พึ่งอันแท้จริง สามารถกำจัดทุกข์กำจัดภัยได้จริง

ข้าพเจ้าฟังคุณหมออธิบายจนจบได้แต่อมยิ้ม
ใบหน้าของหลวงพ่อดู่ลอยเด่นพร้อมกับเสียงของท่านดังขึ้นมาในโสตประสาทของข้าพเจ้าว่า


"นั่นแหละ พระไตรสรณาคมน์ ใครเชื่อพระ ก็เป็นพระ ใครละได้ ก็ไม่ใช่คน"


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 23:13

ตอนที่ ๘๐

ไม่พอดีกัน



ข้าพเจ้าเคยได้ยินผู้อำนวยการวัยห้าสิบท่านหนึ่งในธนาคารปรารภกับผู้ใหญ่อีกท่านว่า สมัยหนุ่มๆ มีเรี่ยวแรงดีแต่เงินเดือนน้อย อยากไปเที่ยวเมืองนอกก็ไปไม่ได้ เพราะไม่มีสตางค์ แต่ทุกวันนี้มีเงินเดือนมาก อายุก็มากขึ้นตามมา มีเงินไปเที่ยวได้อย่างสบาย แต่ไม่มีแรงไป

ข้าพเจ้านึกถึงคำคมที่ อุดม แต้พานิช หรือ “โน้ต” ศิลปินตลกและนักเขียนที่โด่งดังสุดขีดจากเดี่ยวไมโครโฟนและงานเขียนหนังสือที่ขายดีติดอันดับยอดขายที่สูงสุดคนหนึ่งในบ้านเราขณะนี้ ได้เล่าไว้ในหนังสือ Note Book หน้า ๑๓๑ ว่า

มีแรง  มีเวลา ไม่มีเงิน
มีแรง  มีเงิน  ไม่มีเวลา
มีเงิน  มีเวลา ไม่มีแรง


นี้เป็นข้อคิดที่ดีทีเดียว ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงคำสอนหลวงพ่อดู่ที่สอนข้าพเจ้าให้ตั้งอกตั้งใจภาวนาตั้งแต่อายุไม่มากในเวลาที่พอมีเรี่ยวแรง มีเวลา (จะมีเงิน หรือไม่มีเงิน ช่างมัน!)

“ข้อสำคัญที่สุดของการปฏิบัติคือ ต้องไม่ประมาท
ต้องปฏิบัติให้เต็มที่ตั้งแต่วันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร?”


เคนเห็นไหม เพื่อนเรา คนที่เรารู้จักที่ตายไปแล้วนั่นน่ะ เขาเตือนเรา
ถ้าเราปฏิบัติไม่เป็นเสียแต่วันนี้ เวลาจะตายมันก็ไม่เป็นเหมือนกัน
เหมือนกับคนที่เพิ่งคิดหัดว่ายน้ำ เวลาใกล้จะจมน้ำตายนั่นแหละ ก็จมตายไปเปล่าๆ


หลวงพ่อดู่ได้บอกแก่ข้าพเจ้าว่า

แกไม่ปฏิบัติหนึ่งวันนี่ เสียหายหลายแสน
วันนึงก็มีความหมาย
ข้าฝากให้แกไปคิดเป็นการบ้าน”



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 23:13

ตอนที่ ๘๑

ธรรมะจากสัตว์



เวลาพระพุทธเจ้าตรัสสอนเหล่าพระสาวก ท่านมักจะยกสัตว์ต่างๆ มาแสดงเปรียบเทียบให้ได้แง่คิดทางธรรมอยู่เสมอ นับเป็นวิธีสอนธรรมที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนทีเดียว

ดังตัวอย่าง เช่น ยกเรื่องงูพิษเปรียบกับการศึกษาเล่าเรียน ถ้าเรียนไม่ดี เรียนไม่เป็น ได้ความรู้มาผิดๆ ความรู้นั้นอาจจะเป็นอันตรายดุจเดียวกับงูพิษที่ขนดหาง ย่อมถูกงูพิษแว้งกัดเอาได้

ยกลิงโง่อยากลองเอามือจับตัง เอาเท้าถีบและใช้ปากกัด ผลที่สุดติดตังดิ้นไม่หลุด เปรียบเหมือนคนที่ไม่รู้จักวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องเต็มไปด้วยความเห็นผิด ความเข้าใจที่ผิด ในที่สุดก็จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก

ยกเต่าหดหัวอยู่ในกระดอง ได้ยินเสียงอะไรที่ผิดปกติก็จะหดหัวเข้ากระดองปลอดภัยไว้ก่อน เปรียบดังผู้ปฏิบัติที่สำรวมอินทรีย์ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) เห็นอะไร ได้ยินอะไร..ก็มีสติ ไม่ยินดี ยินร้ายไปตามเสียงเร้าจากภายนอกก็ย่อมปลอดภัยจากกิเลสได้

ยกนกเขา ที่ร้องเสียง คู คู เหมือนคนที่ตระหนี่ถี่เหนียวหวงแหนโภคทรัพย์ ไม่แบ่งปันคนอื่น ตัวเองก็ไม่กินไม่ใช้ บุญกุศลก็ไม่ทำ ได้แต่ถนอมกอดทรัพย์ภูมิใจว่าทรัพย์ของกูของกูหลงยึดติดอยู่อย่างนั้น

ในบรรดาเรื่องที่ยกตัวอย่างมานี้ เรื่องที่หลวงพ่อดู่นำมาเล่าเป็นอุทาหรณ์สอนใจให้ศิษย์ได้ฟังกันบ่อยๆ คือเรื่องนกเขา ที่ร้องเสียง คู คู ได้ฟังเหมือนเป็นเครื่องเตือนใจให้ศิษย์ทั้งหลายอย่าได้ประมาทและหมั่นพิจารณาอยู่เนืองๆ ว่า

ตัวเรา.......................ตัวเขา
ไม่ใช่เรา....................ไม่ใช่เขา
ของเรา.....................ของเขา
ไม่ใช่ของเรา..............ไม่ใช่ของเขา



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 23:22

ตอนที่ ๘๒

คุณธรรม ๖ ประการ



หลวงพ่อดู่เคยปรารภธรรมเกี่ยวกับเรื่องการเจริญโพชฌงค์ อันเป็นคุณธรรมที่ทำให้บุคคลผู้ปฏิบัติตามได้บรรลุมรรคผลนิพพาน มีแต่ความเย็นใจในทุกที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ท่านได้แสดงไว้กับคุณวรวิทย์ ด่านชัยวิจิตร ซึ่งได้นำมาถ่ายทอดให้ข้าพเจ้าได้รับฟัง ด้วยเป็นธรรมะที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อีกทั้งมีความไพเราะทั้งอรรถและธรรม จึงขอฝากไว้กับศิษย์หลวงพ่อให้ได้นำไปพิจารณากัน

“ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ผู้ที่เห็นภัยในวัฏฏสงสารนั้น ถ้าประกอบด้วยคุณธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานถึงความเยือกเย็นอย่างยอดเยี่ยม คุณธรรม ๖ ประการนั้น คือ

• ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
• ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง
• ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรร่าเริง
• วางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย
• มีจิตน้อมไปในมรรค ผล อันประณีตสูงสุด
• ยินดียิ่งในพระนิพพาน


ผู้ปฏิบัติที่มีความชาญฉลาดย่อมจะต้องศึกษาจิตใจและอารมณ์ของตนให้เข้าใจ รู้จักวิธีกำหนดปล่อยวางหรือควบคุมจิตใจและอารมณ์ให้ได้ เปรียบเสมือนเวลาที่เราขับรถยนต์จะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงวิธีการขับขี่ปลอดภัย บางครั้งควรเร่ง บางคราวควรผ่อน บางทีก็ต้องหยุด

เร่งในเวลาที่ควรเร่ง
ผ่อนในเวลาที่ควรผ่อน
หยุดในเวลาที่ควรหยุด
ก็จะสามารถถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย


เปรียบเหมือนการปฏิบัติธรรมนี่ล่ะ ทำนองเดียวกันให้พิจารณาอย่างนี้



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 23:23

ตอนที่ ๘๓

ที่สุดแห่งทุกขเวทนา



“ธรรมนั้นอยู่ฟากตาย ไม่รอดตายไม่เห็นธรรม”

เป็นคำสอนธรรมที่ไพเราะ กินใจ และเป็นประโยชน์ในการนำมาขบคิดพิจารณาให้แจ่มแจ้งกับตนเองอย่างยิ่ง

วันหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้านั่งปฏิบัติภาวนา ใจมีความสงบระงับพอสมควร เวลาผ่านไปได้สัก ๒-๓ ชั่วโมง ทุกขเวทนาอันเนื่องมาจากความปวดเมื่อยตามร่างกายเริ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ ในครั้งแรก ข้าพเจ้าอาศัยกำลังสมาธิเข้าข่มความเจ็บปวด โดยพยายามให้จิตจดจ่ออยู่กับภาวนาให้มั่นคงขึ้น ความปวดเมื่อยก็หายไป แต่ก็เป็นเพียงชั่วขณะไม่นานนัก ความปวดเมื่อยนั้นก็กลับคืนมาอีกและรุนแรงขึ้น

ข้าพเจ้าจึงตั้งคำถามตัวเองว่า...
“ที่ว่าเจ็บปวด มันปวดตรงไหน ที่จิตหรือที่กาย”
“เจ็บที่กาย” ข้าพเจ้าตอบตัวเอง
“เออ เจ็บที่กาย มันก็ต้องไม่เกี่ยวกับจิต ถ้าเราเชื่อพระพุทธเจ้าว่า จิตกับกายเป็นคนละส่วนกัน เราจะต้องเห็นจิตเห็นกายว่าเป็นคนละส่วนด้วยตัวเรา และต้องไม่ทุรนทุรายจากความเจ็บปวดอันนี้” ข้าพเจ้าบอกกับตัวเองอีก


เวลาผ่านไปอย่างช้าๆ แต่อนิจจาความเจ็บปวดมิได้หายไปไหนเลย กลับทวีความรุนแรงถึงขนาดที่ขาทั้งสองข้างของข้าพเจ้าสั่นระริกและกระตุกด้วยความเจ็บปวดเอง ขณะนั้นเกิดเป็นความร้อนทั่วร่างกายโดยเฉพาะที่หัวเข่าที่นั่งขัดสมาธิเกิดความเจ็บปวดแสนสาหัสเหมือนมีใครมาบิดขาและดึงให้ยึดออก เป็นความทรมานที่สุดครั้งหนึ่งของการปฏิบัติภาวนาของข้าพเจ้าทีเดียว

ข้าพเจ้าบอกกับตนเองว่า วันนี้ต้องให้เห็นที่สุดของทุกขเวทนาให้ได้ เราจะไม่ยอมลุกจากที่นั่งโดยไม่ผ่านทุกข์ ไม่เห็นที่สุดของทุกขเวทนา ถ้าเราลุกแปลว่าเราไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ถ้าเราเชื่อพระพุทธเจ้าจริง เราต้องผ่านทุกข์ให้ได้ ให้ใจเราเห็นได้ว่า จิตกับกายนี้เป็นคนละส่วนกัน ถ้าหากวันนี้เราแพ้ก็ไปหาผ้าถุงมานุ่งเสีย แล้วไม่ต้องมาปฏิบัติอีกเลย ปฏิบัติไปก็ตายเปล่า เพราะคนขี้แพ้ทำอะไรมันก็แพ้อยู่วันยังค่ำ เวลาจะตายมันเจ็บปวดเพียงไรจะทนไหวหรือ

เมื่อตกลงกับตัวเองดังนี้แล้ว ความเจ็บปวดก็ยังมิได้หายไปไหนเลย คราวนี้กลับเพิ่มความรุนแรงขึ้นจนน้ำตาข้าพเจ้าไหลออกมาเป็นสาย ในใจขณะนั้นข้าพเจ้าไม่หวังอะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องการแม้กระทั่งความสงบ นึกเพียงอย่างเดียวว่า เราทำอยู่นี้ทำด้วยศรัทธาด้วยความรักหลวงพ่อดู่และขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน

เมื่อความเจ็บปวดรุมเร้าข้าพเจ้าอย่างแสนสาหัสถึงขนาดเจียนอยู่เจียนไป จนข้าพเจ้ารู้ตัวดีว่าไม่สามารถทนต่อไปได้อีกแล้ว แต่ใจก็ยังไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมลุก และไม่ยอมขยับเขยื้อนนั้น ข้าพเจ้ารู้สึกว่าตัวเองเหมือนเด็กที่ยืนกำหมัดกัดฟัน แล้ววิ่งเข้าไปชกกับคู่ต่อสู้ที่รูปร่างสูงใหญ่ได้เปรียบกว่าทุกประตู ข้าพเจ้าทั้งร้องไห้ทั้งตะโกนอยู่ในใจว่า “ผมทำถวายหลวงพ่อครับ”

สิ้นคำกล่าวของข้าพเจ้านี้ เหมือนกับหลวงพ่อท่านรับทราบ พลันเกิดเหตุอัศจรรย์เป็นนิมิตที่ข้าพเจ้าจดจำไว้ตลอดชีวิต คือ ข้าพเจ้าเห็นหลวงพ่อดู่เป่าพรวดลงมาที่กระหม่อมของข้าพเจ้า ความรู้สึกขณะนั้นดุจน้ำทิพย์ที่ชโลมรดตั้งแต่ศีรษะจดจรดปลายเท้า ทุกขเวทนา ความปวดเมื่อยที่เมื่อสักครู่ราวกับถูกก้อนหินที่มีน้ำหนักร้อยกิโลทับไว้ก็พลันหายไปในพริบตา เกิดเป็นความเย็นกายเย็นใจตั้งแต่ศีรษะจนจรดปลายเท้า ไม่มีที่ใดที่ความเจ็บปวดซ่อนเร้นหรือหลงเหลืออยู่เลย

ข้าพเจ้าเริ่มมีความมั่นใจในการปฏิบัติมากขึ้น ความลังเลสงสัยในวิถีทางปฏิบัติเริ่มหมดไป มีแต่ความปลาบปลื้มปีติในธรรมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สังเกตดูจิตกับอารมณ์ถูกแยกออกเป็นคนละส่วนเหมือนแก้วที่ใส่น้ำไว้ แก้วกับน้ำแม้อยู่ด้วยกัน แก้วก็เป็นแก้ว น้ำก็เป็นน้ำ อยู่กันคนละส่วนฉันใด จิตก็เป็นจิต..เป็นผู้รู้ อารมณ์ก็เป็นอารมณ์..เป็นผู้ถูกรู้ฉันนั้น เมื่อหยุดอยู่สักพักหนึ่ง จึงน้อมเอาความสงบมาพิจารณาธรรมารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบใจต่อไป

อย่างนี้กระมังที่ท่านหลวงตา (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน) เคยสอนไว้ว่า
การต่อสู้กับกิเลส ถ้าสู้กับมัน ชกกับมัน หากสู้ไม่ไหวถูกมันจับขาได้อีก ปากเรามีก็ต้องกัดต้องด่ามัน ให้สู้จนยิบตา

ข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจบทเรียนบทนี้แล้ว ความเข้าใจที่เริ่มมีมากขึ้นพร้อมกับความรักที่มีต่อหลวงพ่อดู่ก็มากขึ้นเช่นกัน



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 23:23

ตอนที่ ๘๔

พุทธนิมิต



การตอบคำถามของหลวงพ่อแก่ศิษย์ช่างสงสัยอย่างข้าพเจ้า บางครั้งท่านไม่ตอบตรงๆ แต่ตอบด้วยการกระทำการแสดงให้ดู และการตอบของท่านก็ยังความอัศจรรย์ให้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าและเพื่อนๆ เป็นอย่างยิ่ง ดังเหตุการณ์เมื่อครั้งที่เกิด “พุทธนิมิต” เมื่อคืนวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ.๒๕๒๘ หนึ่งคืน ที่วัดสะแก

เหตุเริ่มแรกเกิดจากเมื่อตอนกลางวัน ในวันนั้นข้าพเจ้าได้มากราบนมัสการหลวงพ่อที่วัด พร้อมกับพกพาเอาความสงสัยสองเรื่อง คือ เวลาที่หลวงพ่อหลวงปู่ทั้งหลายท่านจะไปช่วยลูกศิษย์ที่อยู่ห่างกันคนละที่ในเวลาเดียวกัน ท่านไปได้อย่างไร


พร้อมกับเรื่องนี้ ในวันนั้นข้าพเจ้าได้นำรูปภาพปาฏิหาริย์ของครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่ศิษย์ของท่านเหล่านั้นถ่ายภาพ ได้รวบรวมมาถวายให้หลวงพ่อท่านดู มีภาพของพระอาจารย์จวน ด้วยความงวยงงสงสัย ข้าพเจ้าจึงถามท่านว่า ภาพเหล่านี้ถ่ายกันจริงหรือว่าทำขึ้นมา

หลวงพ่อพิจารณารูปเหล่านั้นทีละใบจนครบ ใช้เวลาประมาณหนึ่งนาที แล้วรวบเข้าไว้ด้วยกัน ยกมือไหว้ แล้วบอกข้าพเจ้าว่า
“ข้าโมทนาสาธุด้วย ของจริงทั้งนั้น”

ไม่มีคำอธิบายอื่นใดนอกจากนี้

ครั้นตกเวลากลางคืนประมาณสองทุ่ม ข้าพเจ้ากับเพื่อนๆ มาที่กุฏิหลวงพ่ออีกครั้ง มีลูกศิษย์มากมายต่างมาสรงน้ำหลวงพ่อในโอกาสวันคล้ายวันเกิดท่าน...วันวิสาขปุรณมี เมื่อคณะที่มาสรงน้ำหลวงพ่อเดินทางกลับไปหมด เหลือแต่ข้าพเจ้าและเพื่อนๆ อีก ๖ คน มีพี่พรสิทธิ์ วันชัย ชาติ นก บุ้ง และเล็ก


พวกเราขออนุญาตหลวงพ่อถ่ายรูปกับท่านไว้เป็นที่ระลึก โดยมีวันชัยกับบุ้งเป็นคนถ่าย ข้าพเจ้าจำได้ดีว่า เมื่อหลวงพ่ออนุญาตแล้ว ศิษย์ตากล้องทั้งสองผลัดกันถ่ายภาพได้ประมาณสิบภาพ แล้วทุกคนก็กราบนมัสการท่านอีกครั้ง บรรยากาศคืนนั้น ข้าพเจ้ามีความรู้สึกที่แปลกไปกว่าทุกวัน จำได้ว่าบริเวณกุฏิหลวงพ่อเย็นสบาย...เย็นเข้าไปถึงจิตถึงใจข้าพเจ้าอย่างยิ่ง

เมื่อนำฟิลม์ทั้งหมดไปล้าง ปรากฏว่ามีภาพปาฏิหาริย์ “พุทธนิมิต” เกิดขึ้น ข้าพเจ้าขอแบ่งเป็นสองส่วน


ส่วนแรก เป็นภาพพุทธนิมิต คือ เป็นภาพพระพุทธเจ้าที่ถ่ายได้โดยไม่มีวัตถุที่เป็นพระพุทธรูป เหตุอัศจรรย์อีกประการหนึ่งคือ เป็นภาพที่อยู่ต้นฟิลม์ที่มิได้ตั้งใจถ่าย เป็นภาพที่ผู้ถ่ายต้องการกดชัตเตอร์ทิ้ง

ส่วนที่สอง เป็นภาพหลวงพ่อดู่ที่มีแสงสีเป็นรังสีต่างๆ รอบๆ องค์ท่าน สำหรับข้าพเจ้าแล้ว นี่เป็นการตอบคำถามที่หลวงพ่อเมตตาตอบข้าพเจ้าที่ได้ถามท่านไว้สองคำถามเมื่อตอนกลางวัน

ภาพ “พุทธนิมิต” เป็นการตอบคำถามที่ว่า เวลาที่หลวงพ่อหลวงปู่ทั้งหลายท่านจะไปช่วยลูกศิษย์ที่อยู่ห่างกันคนละที่ในเวลาเดียวกัน ท่านไปได้อย่างไร ส่วนภาพหลวงพ่อดู่ที่มีแสงสีเป็นรังสีต่างๆ รอบๆ องค์ ท่านก็เป็นการตอบคำถามที่ว่า ภาพครูบาอาจารย์องค์ต่างๆ ที่ข้าพเจ้านำมาถวายให้ท่านดูนั้น “เป็นของจริง”


ข้าพเจ้าเชื่อแน่เหลือเกินว่า หลวงพ่อคงมิได้ตอบคำถามข้าพเจ้าเพียงสองคำถามเท่านั้น จึงขอฝากท่านผู้ที่ได้เห็นภาพเหล่านี้ ให้นำไปพิจารณาด้วยดีก็จะได้รับประโยชน์อีกมากทีเดียว

หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ ข้าพเจ้าได้นำภาพเหล่านี้มาถวายให้หลวงพ่อดูและกราบเรียนขอคำอธิบายจากท่าน

ท่านตอบอย่างรวบรัดว่า “เขาทำให้เชื่อ”
หลวงพ่อเน้นเสียง สีหน้าเกลื่อนยิ้มด้วยเมตตา



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 23:23

IMG_5796.JPG



ตอนที่ ๘๕

หลวงพ่อดู่ หลวงปู่ทวด



วันหนึ่งในคราวที่ปลอดคน ข้าพเจ้าได้มีโอกาสอยู่ที่กุฏิของหลวงพ่อกับท่านโดยลำพัง หลวงพ่อได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า มีลูกศิษย์นายทหารคนหนึ่งมาเล่าให้ฟังว่า หลวงปู่ทวดท่านไปหลอกเขา

“หลอกยังไงหรือครับ” ข้าพเจ้าถามท่าน
“เขาว่าเวลาที่เขาภาวนาอยู่ หลวงปู่ทวดไปยืนอยู่ข้างหน้าเขา สักพักตัวท่านก็เปลี่ยนไป หัวเป็นหลวงปู่ทวด ตัวเป็นข้า…..”


ท่านตอบข้าพเจ้าว่า “เขาจำรอยสักรูปผีเสื้อที่มือข้าได้”
หลวงพ่อได้เล่าต่อว่า “เมื่อหลวงปู่ทวดไปหลอกเขาโดยแสดงให้เห็น หัวเป็นหลวงปู่ทวด ตัวเป็นข้า แล้วสักพักก็เปลี่ยนใหม่ ทีนี้
หัวเป็นข้า ส่วนตัวเป็นหลวงปู่ทวดถือไม้เท้า กลับไปกลับมาอย่างนี้”

เรื่องที่หลวงพ่อเล่าให้ข้าพเจ้าฟังนี้ ตรงกับนิมิตที่ศิษย์ของหลวงพ่อหลายคนเคยมีนิมิตเกี่ยวกับท่าน คือเป็นนิมิตที่เป็นรูปพระพุทธเจ้าอยู่ตรงกลาง ด้านขวาด้านซ้ายมีรูปหลวงปู่ทวดและหลวงพ่อดู่อยู่ สักพักภาพทั้งสามก็ค่อยๆ เลื่อนมารวมเป็นภาพเดียวกัน คือเป็นภาพพระพุทธเจ้า

หากหลวงพ่อดู่และหลวงปู่ทวดมิใช่พระองค์เดียวกันแล้ว สมควรแล้วหรือที่นิมิตที่ศิษย์นายทหารท่านนั้นจะเห็นศีรษะหลวงพ่อดู่ไปวางบนลำตัวหลวงปู่ทวด สมควรแล้วหรือที่ศีรษะหลวงปู่ทวดมาวางบนลำตัวหลวงพ่อดู่ และสมควรแล้วหรือที่ภาพพระพุทธเจ้า หลวงปู่ทวด หลวงพ่อดู่มารวมเป็นภาพเดียวกัน

ข้าพเจ้าเชื่อว่า หลวงพ่อดู่เป็นพระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาพุทธภูมิเช่นเดียวกับหลวงปู่ทวด ส่วนท่านจะเป็นองค์เดียวกันหรือไม่นั่น ข้าพเจ้าไม่ทราบได้ เพราะเป็นวิสัยของผู้มีญาณเท่านั้นที่จะพึงทราบ


เหตุที่บันทึกเรื่องนี้ไว้ก็เพียงเพื่อเตือนใจตัวเองที่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อได้เคยเมตตาเล่าเรื่องนี้ให้ข้าพเจ้าฟัง และหากเป็นประโยชน์กับใครบ้าง ช่วยสร้างศรัทธาปสาทะให้เกิดความพากเพียรที่จะก้าวล่วงความทุกข์ให้ได้แล้ว ข้าพเจ้าขอโมทนาด้วยอย่างยิ่งครับ

IMG_8289-removebg-preview.3-removebg-preview.png



.....จบเนื้อหาหนังสือ “พรหมปัญโญบูชา” แล้ว

สวัสดีค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: IMG_5796.JPG (2023-1-31 16:57, 99.69 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMDJ8NzU2NWNmNGZ8MTczMjcyNTY1M3ww



รูปภาพที่แนบมา: IMG_8289-removebg-preview.3-removebg-preview.png (2023-2-6 05:57, 17.55 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyNTJ8MTYwOWZlMzN8MTczMjcyNTY1M3ww


โดย: naitop    เวลา: 2010-10-8 18:08

สาธุ
โดย: panawan    เวลา: 2011-11-28 21:08

อนุโมทนา สาธุ




ยินดีต้อนรับสู่ แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน" (http://dannipparn.com/) Powered by Discuz! X1.5