แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 7295|ตอบ: 7
go

วัดจอมแจ้ง ม.๑ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_8421.JPG



วัดจอมแจ้ง

ม.๑ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

[พระบรมธาตุเจดีย์]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 6 ธันวาคม 2565)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9259.JPG



การเดินทางไปวัดจอมแจ้ง


ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ (สายเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) เข้าสู่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะทาง ๑๙๑ กิโลเมตร


วัดจอมแจ้ง ตั้งอยู่ทางเข้าเมืองอำเภอแม่สะเรียง ติดริมถนนเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ เยื้องฝั่งตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์อำเภอแม่สะเรียง



IMG_8510.JPG



วัดจอมแจ้ง ตั้งอยู่ที่บ้านจอมแจ้ง หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน



IMG_8296.JPG



ซุ้มประตูและบันไดทางขึ้น วัดจอมแจ้ง



IMG_8308.JPG



ซุ้มประตู วัดจอมแจ้ง


สร้างถวายโดย พระอาจารย์สมหมาย จารุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง พร้อมด้วยอุบาสก-อุบาสิกา เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๙ ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๑๕๖,๗๙๙ บาท



IMG_8304.JPG



บันไดนาคทางขึ้น วัดจอมแจ้ง



IMG_8317.JPG



IMG_8493.JPG



บันไดทางขึ้น วัดจอมแจ้ง



IMG_8465.JPG



IMG_8324.JPG



IMG_8326.JPG



รูปปั้นสิงห์คู่ ประดับบันไดทางขึ้น วัดจอมแจ้ง


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8339.JPG



IMG_8313.JPG



วิหาร วัดจอมแจ้ง

สร้างเมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๕


IMG_8318.JPG



บันไดนาคทางขึ้นด้านหน้า วิหาร วัดจอมแจ้ง



IMG_8482.JPG



IMG_8461.JPG



บันไดนาคทางขึ้นด้านข้าง วิหาร วัดจอมแจ้ง


IMG_8361.JPG



ภายในวิหาร วัดจอมแจ้ง



151.jpg



IMG_8363.JPG



IMG_8367.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในวิหาร วัดจอมแจ้ง



IMG_8372.JPG



พระพุทธรูปประธาน ศิลปะพม่า ประดิษฐานภายในวิหาร วัดจอมแจ้ง


IMG_8374.JPG



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย) ประดิษฐานภายในวิหาร วัดจอมแจ้ง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8433.JPG



152.jpg



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุจอมแจ้ง) ประดิษฐานด้านหลังวิหาร วัดจอมแจ้ง


154.jpg



IMG_8381.JPG



IMG_8410.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุจอมแจ้ง) วัดจอมแจ้ง

เป็นพระธาตุ ๑ ใน ๔ จอม พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองชาวแม่สะเรียง พระเจดีย์ศิลปะล้านนา ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สร้างโดยชาวพื้นเมือง ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๗ สร้างขึ้น ๒ องค์ คู่กัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอแม่สะเรียงปัจจุบัน


IMG_8445.JPG



IMG_8400.JPG



IMG_8430.JPG



IMG_8451.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุจอมแจ้ง องค์ที่ ๑) วัดจอมแจ้ง


IMG_8443.JPG



IMG_8428.JPG



IMG_8399.JPG



IMG_8449.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุจอมแจ้ง องค์ที่ ๒) วัดจอมแจ้ง

มีซุ้มจระนำทั้ง ๔ ทิศ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นทั้งสี่ทิศ ซึ่งมีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสีขาว ศิลปะพม่า และมีรูปปั้นนรสิงห์อยู่บนมุมฐานเขียงทั้งสี่ทิศ


IMG_8401.JPG



คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(ว่านะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

4.1.jpg



ตำนานพระธาตุ ๔ จอม

(จอมมอญ จอมกิตติ จอมทอง จอมแจ้ง)

อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน



ในอดีตสมัยครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพุทธกิจเพื่อหิตานุหิตประโยชน์แก่ประชาชนพลโลกทั้งมวล โดยไม่จำกัดชาติ ชั้น วรรณะ นับว่าเป็นพรรษาที่ ๒๕ หลังจากตรัสรู้แล้ว พระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา พระองค์ได้เสด็จจาริกสั่งสอนเวไนยสัตว์ไปตามบ้านน้อยเมืองใหญ่ทั้งหลาย


จากนั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปสู่เมืองยวม (อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน) พม่าเรียกเมืองยวมว่า "ไมลองยี" แปลว่า เมืองหินแร่ใหญ่ เพราะมีเหมืองแร่หลายชนิด) พระองค์ทรงเหยียบรอยพระบาทไว้ ๑ รอย (ปัจจุบันเรียก "พระพุทธบาทถ้ำพระเจ้า" อยู่ที่บ้านแม่ต๊อบเหนือ หมู่ที่ ๗ ตำบลบ้านกาศ)   

เมื่อมาถึงตอนนี้จะขอกล่าวถึงตำนานพระธาตุ ๔ จอม ที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสู่กันฟังต่อๆ มา มีแม่เฒ่าหม่อนเหมย วงค์น้อย อายุ ๘๐ กว่าปี กล่าวว่า คราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่เมืองยวมนี้ พระองค์ได้ทรงหยุดยืนนิ่ง พร้อมเพ่งมองไปทางทิศเหนือยังดอยลูกหนึ่ง ดอยลูกนั้นจึงได้ชื่อว่า “ดอยจอมมอง”

ต่อมายามเกิดภัยสงคราม ผู้คนจึงนำเงินทองบรรทุกเกวียนมาฝังไว้ในถ้ำมากมายถึง ๓ เกวียน ถ้ากองรวมกันก็เป็นม่อนดอย บางส่วนได้สร้างเจดีย์ครอบไว้ จึงเรียกว่า “ดอยจอมม่อน” กาลต่อมาสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกวาดต้อนพม่า มอญ ไทใหญ่ (เงี้ยว) กะเหรี่ยง (ยาง) บัญชาให้ช่างชาวมอญบูรณะพระเจดีย์ขึ้นใหม่ จึงเรียกชื่อว่า “พระธาตุจอมมอญ” มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

ย้อนกล่าวถึงเมื่อพระพุทธองค์เพ่งมองที่ดอยจอมมอง แล้วเสด็จต่อไปเอาพระหัตถ์ไปแตะที่ดอยลูกหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก กิริยาที่มือแตะหรือจับต้อง ภาษาพื้นเมืองโบราณเรียกว่า “ติ” จึงมีชื่อว่า “ดอยจอมกิตติ” มาจนทุกวันนี้


แล้วพระองค์ก็ไปประทับพระหัตถบาทไว้ยังดอยอีกลูกหนึ่งอยู่บนถ้ำ (ปัจจุบันเรียก "รอยพระพุทธหัตถ์ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี)" อยู่ที่บ้านดงสงัด หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่สะเรียง)

จากนั้นพระองค์ก็ท่องเที่ยว (ต้องเตียว) ต่อไปยังดอยอีกลูกหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก จึงมีชื่อเรียกว่า "ดอยจอมท่อง" (จอมต้อง) ต่อมาเพี้ยนเป็น "ดอยจอมทอง" มาจนถึงทุกวันนี้ จากนั้นพระองค์ก็จาริกเดินทางต่อไป มาสว่างยังดอยอีกลูกหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองยวมเดิม จึงเรียกว่า "ดอยจอมแจ้ง" มาจนกระทั่งทุกวันนี้  

ต่อมาในยุคของพระฤาษี ประมาณ พ.ศ.๑๐๐๐ กว่า (เข้าใจว่าจะอยู่ในสมัยเดียวกันกับพระฤาษีวาสุเทพแห่งอุจฉุบรรพต (ดอยสุเทพ) ส่วนที่เมืองยวมยังมีพระฤาษี ๔ ตน เป็นพี่น้องกัน


พระฤาษีผู้พี่ (องค์ที่ ๑) พำนักอยู่ดอยจอมกิตติ เก่งทางหมอยา สามารถชุบชีวิตผู้ที่พึ่งตายใหม่ๆ แล้วให้ฟื้นคืนชีพได้ โดยสอนให้ศิษย์ทำการผสมสูตรยาชุบชีวิตไว้เป็นอย่างดี แล้วก็กระโจนลงสู่หม้อยาที่กำลังร้อนเดือดอยู่ ร่างฤาษีได้ละลายหายไปในหม้อยานั้น ศิษย์ตกใจเป็นอย่างยิ่งจึงผสมสูตรยาผิดๆ ถูกๆ ด้วยลืมขั้นตอนการใส่ยาชุบชีวิต ทำให้พระฤาษีผู้เป็นอาจารย์ต้องมาจบชีวิตลงในหม้อยานั่น ปัจจุบันยังมีผู้พบยาฤาษีผสมเป็นก้อนหิน เมื่อทุบดูข้างในจะมีผงยาสีขาวบ้าง สีเหลืองบ้าง สามารถนำมาแช่น้ำเป็นยาวิเศษรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ตามความเชื่อของคนเจ็บป่วยที่รักษาที่อื่นไม่หาย ก็มาหายกับยาฤาษีผสมนี้ก็มี

พระฤาษีองค์รอง (องค์ที่ ๒) พำนักอยู่ดอยจอมทอง เก่งทางเล่นแร่แปรธาตุ สามารถซัดตะกั่วให้กลายเป็นทองคำก็ได้


พระฤาษีผู้น้องที่สาม (องค์ที่ ๓) พำนักอยู่ดอยจอมแจ้ง เก่งทางวิชาอาคมไสยเวทย์ทุกประการ

พระฤาษีผู้น้องสุดท้อง (องค์ที่ ๔) พำนักอยู่ดอยจอมมอญ เก่งทางเรียกฝนเรียกลม สำเร็จกสิณน้ำกสิณลม บันดาลให้มีน้ำหรือให้บังเกิดเป็นน้ำบ่อทิพย์ขึ้นบนเขาที่แห้งแล้งก็ได้ (มีผู้พบบ่อน้ำทิพย์บนเขาดอยจอมมอญ ๒ ราย ให้ดื่มกินได้ เมื่อพาผู้อื่นไปเอา กลับหายไปหาไม่พบ ปัจจุบันเจาะบ่อบาดาล น้ำใต้ดินได้ไหลพุ่งขึ้นมาเอง ไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ พระฤาษีผู้นี้อาจบันดาลให้มีน้ำอุดมสมบูรณ์ เป็นน้ำบ่อทิพย์ใช้เป็นประโยชน์ได้ทั้งวัดเลยทีเดียว)

พระฤาษีทั้งสี่พี่น้องนี้ยังได้สร้างเจดีย์สำเร็จด้วยหินอยู่บนเขาทั้งสี่จอม ไว้เป็นที่สักการบูชาของสาธุชนอีกด้วย และมีอาจารย์ของพระฤาษีเป็นอาจารย์ใหญ่ที่ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้พระฤาษีทั้ง ๔ ตนนี้ ท่านพำนักอยู่ถ้ำเหง้า (หรืออาจเป็นถ้ำพระเจ้า ซึ่งอยู่ในป่าทางทิศเหนือที่พบรอยพระพุทธบาทนั้นก็ได้) เมื่อหมดยุคของพระฤาษีแล้ว ก็รกร้างเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา และหนีภัยสงครามกันด้วย

กาลต่อมาถือเอาบุพนิมิตที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดชาวเมืองยวมพยากรณ์จอมดอยสี่แห่ง จึงได้สร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้น ๔ มุมเมือง โดยที่ชาวอำเภอแม่สะเรียงเป็นอำเภอชายแดนติดเขตพม่า แต่ก่อนเคยเป็นถิ่นฐานอาศัยของชนเผ่าลัวะ (ละว้า) ยาง (กะเหรี่ยง) ต่อมามีชนพื้นเมือง พม่า ไทใหญ่ (เงี้ยว) มอญ (เม็ง) อพยพมาอาศัยอยู่ด้วย เพื่อความสมัครสมานสามัคคีกันในหมู่คณะ ต่างก็ถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่ง
จึงปรึกษาหารือกันให้

ชาวมอญ สร้าง “พระธาตุจอมมอญ” ไว้สักการบูชา ประมาณปี พ.ศ.๒๑๔๓ (สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)

ชาวพม่า สร้าง “พระธาตุจอมกิตติ” ไว้สักการบูชา ประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๐

ชาวไทใหญ่ (เงี้ยว) สร้าง “พระธาตุจอมทอง” ไว้สักการบูชา ประมาณปี พ.ศ.๒๒๐๑

ชาวพื้นเมือง สร้าง "พระธาตุจอมแจ้ง" ไว้สักการบูชา ประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๗

พระธาตุ ๔ มุมเมืองทุกแห่ง ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศพม่ามาบรรจุไว้ในพระเจดีย์อีกด้วย และปรากฏเหตุการณ์อัศจรรย์ คือ มีแสงพระธาตุเสด็จลอยไปมาหาสู่กันระหว่างพระธาตุ ๔ จอมนี้อยู่เสมอ ในคืนวันพระและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสืบๆ กันมา ผูกเป็นคำกลอนพูดติดปากกันว่า “จอมมอญ มาจอมมะติ มาต้องที่นี่ และมาแจ้งที่นี่” ก็คือ พระธาตุจอมมอญ จอมกิตติ จอมทอง และจอมแจ้งนั่นเอง ผู้เฒ่ากล่าวว่า พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้ว่า “หากพระธาตุ ๔ จอมนี้ เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเมื่อใด ชาวเมืองยวมและพุทธศาสนาจะมีความเจริญรุ่งเรืองถึงที่สุด จะได้อยู่เย็นเป็นสุขถ้วนหน้ากัน”


ปัจจุบันพระธาตุ ๓ แห่ง ได้บูรณปฏิสังขรณ์ มีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ยังคงค้างพระธาตุจอมกิตติที่ยังไม่ค่อยเจริญเท่าใดนัก ถึงกระนั้นอำเภอแม่สะเรียงก็มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นกว่าเก่ามาก นับว่าเจริญเป็นอันดับ ๒ รองจากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนเลยทีเดียว

ดังนั้นพระธาตุ ๔ จอม จึงถือเป็น "พระธาตุคู่บ้านคู่เมือง" แม่สะเรียง สมดั่งคำขวัญของอำเภอแม่สะเรียงว่า.....

ผ้าทอกะเหรี่ยง              เสนาะเสียงสาละวิน
งามถิ่นธรรมชาติ            พระธาตุสี่จอม
ดอกไม้หอมเอื้องแซะ        
แวะบูชารอยพระหัตถ์      พระบาทเมืองยวม

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์, หน้า ๒๒๐-๒๒๑.)



153.jpg



ประวัติวัดจอมแจ้ง



วัดจอมแจ้ง เดิมเป็นวัดร้าง ชื่อ วัดท่าแพม ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ พระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ได้มาบูรณะสร้างขึ้นใหม่ แล้วมอบให้พระครูบาปัญญา ลูกศิษย์ของท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด และได้ตั้งชื่อขึ้นใหม่ว่า วัดจอมแจ้ง


ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๒ เป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมประเพณีและเผยแผ่ทางพุทธศาสนา ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๖) มี พระครูอนุการจารุวรรณ (สมหมาย จารุวณฺโณ) เป็นเจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. วัดจอมแจ้ง. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/31126/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%87/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖))

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8345.JPG



IMG_8337.JPG



ศาลาพระประจำวัน วัดจอมแจ้ง



IMG_8349.JPG



ขอเชิญร่วมทำบุญใส่บาตรพระประจำวันเกิด ภายในศาลาพระประจำวัน วัดจอมแจ้ง



IMG_8330.JPG



รูปพระสีวลีเถระ
วัดจอมแจ้ง


IMG_8334.JPG



IMG_8331.JPG



รูปพระสังกัจจายน์ (พระมหากัจจายนเถระ) วัดจอมแจ้ง



IMG_8336.JPG



IMG_8309.JPG



หอระฆัง วัดจอมแจ้ง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8411.JPG



IMG_8432.JPG



สถูปอัฐิพระภิกษุสงฆ์ วัดจอมแจ้ง


IMG_8413.jpg



สถูปอัฐิพระครูชินศาสนรัต (ครูบาเขียว)
วัดจอมแจ้ง

ชาตะ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๖ มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๗ อายุ ๗๒ ปี


IMG_8415.JPG



สถูปอัฐิพระครูอนุกูลธรรมโชติ (บุญยืน จันทร์แก้ว) วัดจอมแจ้ง

ชาตะ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๓ มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๓ อายุ ๗๑ ปี


IMG_8418.JPG



สถูปอัฐิหลวงตาหนิ้ว สีวสํวโร วัดจอมแจ้ง


IMG_8503.JPG



IMG_8500.JPG



หอเสื้อวัด วัดจอมแจ้ง


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8288.JPG



ศาลาทะนัน วัดจอมแจ้ง


IMG_8468.JPG



IMG_8463.JPG



ศาลาต่างๆ วัดจอมแจ้ง


IMG_8376.JPG



ศาลาบาตร วัดจอมแจ้ง


IMG_8439.JPG



กุฏิสงฆ์ วัดจอมแจ้ง


สร้างเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖



IMG_8495.JPG



กุฏิสงฆ์ วัดจอมแจ้ง


สร้างเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑




IMG_8441.JPG



กุฏิสงฆ์ วัดจอมแจ้ง


สร้างเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔



IMG_8494.JPG



กุฏิสงฆ์ วัดจอมแจ้ง


IMG_8464.JPG



150.2.jpg



การเดินทางมาวัดจอมแจ้ง ขอจบการเดินทางด้วยภาพวิวทิวทัศน์บนดอยจอมแจ้ง ซึ่งสามารถมองเห็นพระธาตุจอมกิตติและเมืองแม่สะเรียง สวัสดีค่ะ

----------------------


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • วัดจอมแจ้ง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
        • ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. วัดจอมแจ้ง. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/31126/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%87/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖)
        • นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์.
  

**หมายเหตุ :


ท่านใดประสงค์จะนำรูปภาพหรือเนื้อหาบทความไปใช้ประโยชน์ที่อื่น สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากข้าพเจ้าก่อน


และได้โปรดกรุณาให้เครดิตอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มา : เว็บแดนนิพพาน และกรุณาอย่าลบหรือครอบตัดเครดิตแหล่งที่มาบนรูปภาพ “Photo by Dannipparn.com”


(ป.ล. หากว่ากระทู้บทความนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยในความผิดพลาดต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปไว้ ณ ที่นี้ด้วย และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป)              

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:22 , Processed in 0.055645 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.