แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 11339|ตอบ: 16
go

สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินล้านปี ม.๖ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

1.JPG



สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์

อุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี)

ม.๖ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน


[รอยพระพุทธหัตถ์ , รอยพระพุทธบาท ,

รอยเท้าพระอรหันต์ ๑๐ ขวบ , บ่อน้ำทิพย์ในพระบาทเกือกแก้ว]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 20 ธันวาคม 2565)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 1

อนุโมทนาบุญทุกประการค่ะ

Rank: 8Rank: 8

1.2.jpg



คติธรรมกรรมฐานของพระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต


เมื่อมีทุกข์  อย่าหนีทุกข์  ต้องกล้าเผชิญหน้ากับทุกข์

เมื่อทุกข์มากๆ  ความทุกข์จะแตกสลายไปเอง

ทุกข์ทั้งปวง  จะเข้าเบียดเบียนร่างกายเราไม่ได้

ถ้าจิตเราแข็งแกร่ง



การเดินทางมาสำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ ขอจบการเดินทางด้วยข้อคิดที่หลวงพ่อมอบให้ทางคณะเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิระหว่างสนทนาธรรม และทางคณะเว็บแดนนิพพานได้ร่วมทำบุญและถวายยากับหลวงพ่อ ก่อนเดินทางออกจากสำนักสงฆ์ สวัสดีค่ะ

--------------------


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
        • พระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ
        • เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.

**หมายเหตุ :


ท่านใดประสงค์จะนำรูปภาพหรือเนื้อหาบทความไปใช้ประโยชน์ที่อื่น สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากข้าพเจ้าก่อน


และได้โปรดกรุณาให้เครดิตอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มา : เว็บแดนนิพพาน และกรุณาอย่าลบหรือครอบตัดเครดิตแหล่งที่มาบนรูปภาพ “Photo by Dannipparn.com”


(ป.ล. หากว่ากระทู้บทความนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยในความผิดพลาดต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปไว้ ณ ที่นี้ด้วย และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1006.JPG



IMG_1003.JPG



พิพิธภัณฑ์
(Museum) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ    


IMG_1627.JPG



IMG_1633.JPG



IMG_1629.JPG



IMG_1628.JPG



ภายในพิพิธภัณฑ์
สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

จัดแสดงตัวอย่างหินตะกอน หินแปร หินปูน หินควอรทซ์ไซต์ หินควอรทซ์ไมกาชิสต์ และหินชนิดต่างๆ รวมถึงตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ชนิดต่างๆ ที่พบในพื้นที่อุทยานหิน เช่น ปะการังเดคาเยลลา ไบรโอซัว และนอติลอยด์ เป็นต้น


IMG_1045.JPG



IMG_1025.JPG



IMG_1017.JPG



IMG_1035.JPG



IMG_1041.JPG



ตัวอย่างของซากดึกดำบรรพ์ต่างๆ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ    


IMG_1398.JPG



กุฏิเก่า สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ    


IMG_1225.JPG



IMG_1002.JPG



ศาลาพักร้อน สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1558.JPG



IMG_1548.JPG



IMG_1566.JPG



IMG_1579.JPG



บ่อน้ำทิพย์ในพระบาทเกือกแก้ว สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ มียักษ์เป็นผู้เฝ้ารักษา


IMG_1596.JPG



IMG_1053.JPG



IMG_1047.JPG



ภาพถ่าย
บ่อน้ำทิพย์ในพระบาทเกือกแก้วในอดีต สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ    


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1459.JPG



IMG_1503.JPG



IMG_1443.JPG



หินรอยพระพุทธบาท (Buddha's Foot Print Pot Hole) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


เป็นกุมภลักษณ์ หรือหินรูปหม้อ ที่เพิ่งเริ่มก่อตัว มีการขัดสีตามแนวเนื้อหินที่แตกต่าง



IMG_1446.JPG



IMG_1500.JPG



IMG_1434.JPG



IMG_1516.JPG



รอยพระพุทธบาทของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ หรือองค์ปัจจุบัน) ในภัทรกัป สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


พระพุทธองค์ทรงเหยียบประทับไว้บนหินคดโค้งโก่งงอขนาดใหญ่ เป็นรอยพระพุทธบาทเกือกแก้วเบื้องขวา ไม่ปรากฏรอยนิ้ว ลักษณะฝ่าพระบาท ส้นพระบาท และขอบรอยฝ่าพระบาทที่เหยียบลงไปมองเห็นได้ชัดเจน ค้นพบเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗ โดยพระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต พระสงฆ์ผู้ดูแลและบูรณะ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ



IMG_1524.JPG



คำนมัสการพระพุทธบาท
(ว่านะโม ๓ จบ) ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะปาทัง ตัง ปาทะ วะลัญชะนะ มะหัง สิระสา นะมามิฯ


IMG_1458.JPG



ประวัติการค้นพบรอยพระพุทธบาท

สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน



พระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต ได้มาจำพรรษาอยู่ ณ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ และในปี พ.ศ.๒๕๔๗ หลังจากท่านได้ค้นพบรอยพระพุทธหัตถ์แล้ว วันหนึ่งแมวสีเหลืองตัวเดียวกับที่เคยเรียกท่านไปดูและค้นพบรอยพระพุทธหัตถ์ ได้มาเรียกท่านไปดูรอยพระพุทธบาท แต่ท่านไม่สนใจ พอครั้งที่ ๒ แมวมาเรียกท่าน ท่านก็ไม่สนใจอีก

จนกระทั่งครั้งที่ ๓ แมวมาเรียกท่านอีกครั้ง ท่านจึงตัดสินใจเดินตามแมวไป แมวก็มาหยุดพักบริเวณใกล้ๆ หินรอยพระบาท ท่านก็พบเห็นเป็นรอยพระบาทมีดินปกคลุมเต็มรอย ท่านจึงคุ้ยเขี่ยดินออกและนำน้ำมาล้าง ปรากฏพบว่า เป็นรอยบุ๋มลึกลงไปเป็นรูปลักษณ์รอยพระบาทข้างขวา ไม่ปรากฏรอยนิ้ว เรียกว่า "พระบาทเกือกแก้ว"

--------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : คำบอกเล่าของพระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต
สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ เรียบเรียงโดย เว็บแดนนิพพาน ดอทคอม)

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1409.JPG



ต่อจากนั้น เดี๋ยวเราเดินตามหลวงพ่อประสิทธิ์ ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทของพระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ หรือองค์ปัจจุบัน) กันต่อนะคะ



IMG_1070.1.JPG



การคดโค้งโก่งงอของชั้นหินในพื้นที่อุทยานหิน



การคดโค้งโก่งงอของชั้นหิน (Fold) เกิดจากการที่มีแรงกดดันอย่างน้อยในสองทิศทาง ในกรณีของหินปูนอายุออร์โดวิเชียนที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ศึกษาพบว่า วางตัวอยู่บนหินอายุไทรแอสซิก ซึ่งมีทั้งหินเนื้อแน่นมากคือ หินแกรนิต ที่เป็นแกนของแนวเทือกเขาที่ทอดในแนวเหนือใต้จนถึงตัวเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และหินตะกอนทะเลที่เป็นหินดินดาน และหินเชิร์ต อายุไทรแอสซิก

แรงดันที่มาจากทิศตะวันตกจากการที่แผ่นทวีปอินเดีย-ออสเตรเลีย ชนกันกับแผ่นทวีปยูเรเซีย มาตั้งแต่ปลายยุคจูแรสซิก ครีเตเชียส เรื่อยมาจนแผ่นดินจรดกันในยุคเทอร์เชียรี การชนกันของแผ่นทวีปที่ทำให้เกิดการคดโค้งโก่งงอและรอยเลื่อนย้อนที่ปรากฏเป็นแผ่นดินแม่สะเรียง

แรงดันนี้นอกจากจะดันไปทางทิศเหนือจนเกิดการอัดตัวเกิดเป็นเทือกเขาหิมาลัย และในขณะเดียวกันก็ดันมาทางทิศตะวันออกด้วย ทำให้เกิดการฉีกแยกซ้อนทับมาบนหินที่อายุอ่อนกว่า (Trust Fault) ความกว้างของแต่ละโฟลด์ไม่เท่ากัน ทำให้มีลักษณะพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ เป็นแนวยาว เริ่มตั้งแต่ปลายยุคจูแรสซิกจนถึงปัจจุบัน

การคดโค้งโก่งงอที่พบในพื้นที่ศึกษามีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ

๑. ลักษณะแรก


ที่เห็นลายชั้นหินเป็นแนวโค้ง ทิศทางการดันจะแสดงได้จากเส้นลายหินที่เป็นแนวโค้งนี้ ที่แสดงความไม่เท่ากันของแรงดัน ทำให้เกิดแนวหินโค้งแบบยอดเบี้ยว คือ มุมเอียงสองข้างไม่เท่ากัน

๒. ลักษณะที่สอง

เห็นแนวหินโค้งเป็นแนวยาว ซึ่งบางครั้งจะเห็นเป็นแนวคล้ายต้นไม้ขนาดใหญ่ล้มทอดนอนอยู่

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน การคดโค้งโก่งงอของชั้นหิน (หน้า ๑๗-๑๘))


IMG_1422.JPG



หินคดโค้งโก่งงอ (Fold) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

แสดงลักษณะการคดโค้งโก่งงอของชั้นหิน ที่จะมองเห็นเป็นชั้นโค้งๆ หรือแตกเป็นทรงกลม และทำให้เกิดลักษณะสูงๆ ต่ำๆ เป็นแนวยาว เห็นได้ชัดในพื้นที่อุทยานด้านตะวันออก


IMG_1414.JPG



หินคดโค้งโก่งงอประทับรอยพระพุทธบาท (Buddha's Foot Print Fold) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

หลวงพ่อประสิทธิ์บอกว่า ลักษณะของหินคดโค้งโก่งงอประทับรอยพระพุทธบาท มีลักษณะคล้ายพระนอนองค์ใหญ่ ซึ่งรอยพระพุทธบาทของพระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ หรือองค์ปัจจุบัน) ประดิษฐานประทับอยู่บนหินคดโค้งโก่งงอส่วนปลายตอนล่างของโขดหิน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

392.jpg



IMG_1322.JPG



IMG_1320.JPG



IMG_1325.JPG



ก้อนหินประทับรอยเท้าพระอรหันต์ ๑๐ ขวบ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ



IMG_1318.JPG



IMG_1329.JPG



IMG_1334.JPG



IMG_1330.JPG



รอยเท้าพระอรหันต์ ๑๐ ขวบ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ปรากฏอยู่บนก้อนหินใหญ่ เป็นรอยเท้าขนาดเล็กข้างขวา มีขนาดเท่าของจริง ปรากฏรอยนิ้วชัดเจน


IMG_1618.JPG



ภาพถ่ายรอยเท้าพระอรหันต์ ๑๐ ขวบในอดีต สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1230.JPG



ต่อจากนั้น เดี๋ยวเราเดินตามหลวงพ่อประสิทธิ์ ไปสำรวจและศึกษาภายในอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน ส่วนรอยแยกของเปลือกโลก กันต่อนะคะ



IMG_1272.JPG



รอยแยกของแผ่นดิน โพรงถ้ำ และหลุมยุบในพื้นที่อุทยานหิน



๑. รอยแยกของแผ่นดิน (Natural Trench/Gut) และโพรงถ้ำ (Cave)

ในพื้นที่อุทยานมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่สำคัญ คือ รอยแยกของแผ่นดิน (Natural Trench หรือ Gut) และโพรงถ้ำ (Cave) ที่เกิดร่วมกับรอยแยกของแผ่นดิน ในพื้นที่รอยแยกของแผ่นดิน เป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ในแนวตะวันออกตะวันตก ในลักษณะที่เป็นกลุ่มรอยเลื่อนขนานกัน และต่อมามีน้ำกัดเซาะขยายรอยแยกให้กว้าง ทำให้เกิดเป็นโพรงถ้ำ

ผนังที่เรียบเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่า เกิดการเลื่อนตัวของแนวหินและมีการยุบตัวเป็นร่อง เกิดเป็นรอยแยกของแผ่นดิน รอยแยกส่วนนี้มีความยาวประมาณ ๕๐ เมตร วางตัวเป็นแนวเกือบตะวันออกตะวันตก ต่อเนื่องไปถึงส่วนที่เป็นหน้าผาด้านหนึ่ง ลึก ๖-๘.๑ เมตร

มีหินด้านบนที่ถล่มลงมาปิดด้านบนอยู่หลายส่วน วางตัวขวางแนวเกือบเหนือใต้ ทำให้เกิดเป็นโพรงถ้ำ และมีแนวโพรงถ้ำแยกอีกตัวหนึ่ง วางตัวเกือบเหนือใต้ (๑๗๐/๖๐-๘๐NE) ยื่นออกไปทางหน้าผา แต่ด้านบนถล่มลงเกิดเป็นหลุมยุบ


395.jpg


๒. หลุมยุบ (Sink Hole)

หลุมยุบ (Sink Hole) เกิดจากการที่ในชั้นหินมีโพรงถ้ำที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝนไปตามรอยแตกรอยแยก เป็นธารน้ำใต้ดิน ในเวลาต่อมาการกัดเซาะกว้างขึ้นเป็นถ้ำที่อาจจะมีธารน้ำไหล หรือเป็นธารแห้งในหน้าแล้ง

ผนังถ้ำด้านบนบางไม่สามารถรับน้ำหนักของหินด้านบนได้ ทำให้เพดานถ้ำถล่มลงไป เกิดเป็นหลุมขึ้นมา หลุมยุบมีความสำคัญในการรับน้ำฝน ส่งเข้าสู่ระบบน้ำใต้ดิน


IMG_1384.JPG



๓. ร่องรอยแผ่นดินไหวและรอยเลื่อนขนาดเล็ก (Small fault)

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวมักจะมีการเลื่อนตัวของแผ่นดิน ร่องรอยแผ่นดินไหวจะพบในลักษณะแผ่นดิน หรือหินแยกออกจากกัน ความรุนแรงของแผ่นดินไหวจะปรากฏนอกจากการไหวสะเทือนระดับต่างๆ แล้ว ยังสามารถเห็นได้จากการบดขยี้เลื่อนออกจากกันของชั้นหิน

กล่าวได้ว่าในการเกิดแผ่นดินไหวครั้งหนึ่งๆ มักจะมีการเลื่อนตัวออกจากกัน ซึ่งอาจจะทิ้งร่องรอยไว้บนชั้นหิน การเลื่อนตัวจะปรากฏในชั้นดินชั้นหิน เป็นรอยเคลื่อนตัวบดขยี้แหลกเป็นทาง และจะเห็นได้ชัดคือ ความไม่ต่อเนื่องของชั้นดินชั้นหิน

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติรอยแยกของแผ่นดิน โพรงถ้ำ และหลุมยุบ และเบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (หน้า ๒๑-๒๕))


383.jpg



โพรงถ้ำ (Cave) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


โพรงถ้ำด้านนอก ปากถ้ำด้านตะวันออกของรอยหินแยก



IMG_1278.JPG



รอยแยกของแผ่นดิน (Natural Trench/Gut) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ร่องแผ่นดินแยก มีลักษณะเป็นแนวเรียบ ยาวประมาณ ๕๐ เมตร ลึกประมาณ ๘ เมตร กว้าง ๑.๕-๒.๕ เมตร มีหินหล่นลงไปจากด้านบนปิดร่องแยกเป็นบางตอน ทำให้มีลักษณะเป็นถ้ำ


391.jpg



โพรงถ้ำอีกด้าน ลึก ๘ เมตร (Cave hole 8 m depth) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


IMG_1290.JPG



หินถล่มปิดรอยแยกทำให้เกิดเป็นถ้ำ (Rock fall produced a cave) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ก้อนหินภายในถ้ำ มีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ด้วยเหตุนี้หลวงพ่อประสิทธิ์ จึงเรียกถ้ำนี้ว่า "ถ้ำหัวใจ"


IMG_1287.JPG



ผนังเรียบภายในรอยแยก (Smooth gut surface) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


IMG_1608.JPG


ถ้ำหัวใจ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

พระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต ได้มาอยู่จำพรรษา ณ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ เดิมสถานที่นี้เป็นป่ารกร้าง ไม่มีน้ำและไฟฟ้าใช้ และท่านจำพรรษาอยู่ที่นี้เพียงรูปเดียว เพราะเนื่องจากท่านอยากกลับมาจำพรรษาที่บ้านเกิด

วันหนึ่งท่านได้เข้ามารอดในถ้ำหัวใจ เนื่องจากเคยเห็นลูกแก้วแสงสว่างไสวลอยออกมาจากถ้ำนี้ ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้สำนักสงฆ์แห่งนี้ มีน้ำและไฟฟ้าใช้ มีความเจริญรุ่งเรือง เพื่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การสักการบูชาของพุทธศาสนิกชน และความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาต่อไปในภายหน้า และนับจากวันนั้นเป็นต้นมา ได้มีสายธารบุญทยอยมาช่วยกันบูรณะและพัฒนาสถานที่แห่งนี้ให้กลายเป็นอุทยานหินล้านปี


IMG_1382.JPG


ส่วนน้ำใช้ภายในสำนักสงฆ์นั้น ท่านได้เดินขึ้นเขา เพื่อไปสร้างฝายกั้นน้ำห้วยลำธารบนยอดเขาลูกนี้ (ดูลูกศรชี้) และต่อท่อประปาลงมาใช้ที่สำนักสงฆ์

ท่านใช้เวลาเดินถือขวดบรรจุทรายข้างใน เพื่อขนทรายและปูนไปทำฝายกั้นน้ำวันละหนึ่งรอบ ใช้เวลาอยู่ ๕ วัน เมื่อต่อท่อประปาลงมาที่สำนักสงฆ์เสร็จแล้ว ก็เก็บน้ำไว้ที่ถังเก็บน้ำ ให้มีน้ำใช้ตลอดปี


394.jpg



แนวรอยแยกของแผ่นดิน (Natural Trench/Gut) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


397.jpg



หลุมยุบ (Sink Hole) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ที่เกิดจากด้านล่างเป็นโพรงถ้ำ และเพดานผนังด้านบนของถ้ำทรุดตัวหรือถล่มลงไป หินที่เคยเป็นเพดานถ้ำกองระเกะระกะในหลุม และยังมีโพรงหินที่น้ำสามารถจะไหลลงไปได้อย่างรวดเร็ว เมื่อฝนตก


IMG_1342.JPG



ปากโพรงของหลุมยุบ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ที่เกิดจากผนังด้านบนของถ้ำถล่มลงไป


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1234.1.JPG



IMG_1234.JPG



๔. กลุ่มหอยฝาเดียวและสองฝา


ในพื้นที่ศึกษาพบว่า หอยฝาเดียวจะพบอยู่ใกล้เคียงในกลุ่มที่มีสาหร่ายจำนวนมาก แสดงให้เห็นแหล่งอาหาร หอยที่พบมีสองชนิด คือ ชนิดขดเป็นวง และชนิดเป็นเกลียวคล้ายหอยเจดีย์ แต่ไม่สามารถจำแนกชนิดได้


ลักษณะตัวอย่างของหอยฝาเดียว มีทั้งแบบแบน และแบบหอยเจดีย์ ส่วนหอยสองฝานั้นมีน้อย แทบไม่มีร่องรอยเหลือให้เห็นและไม่ชัดเจน



IMG_1311.JPG



๕. กลุ่มไทรโลไบต์และคล้ายไทรโลไบต์ (Trilobite and Trilobitelike)


คำว่า ไทรโลไบต์ แปลว่า สามพู หรือสามกลีบ อันเป็นลักษณะเด่นของสัตว์ประเภทนี้ ที่ส่วนใหญ่สูญพันธุ์หมดแล้ว ไทรโลไบต์จัดอยู่ในพวกที่มีขาเป็นปล้อง รูปร่างคล้ายกับแมงดาทะเลปัจจุบัน

มีการพบในประเทศไทยตั้งแต่ยุคแคมเบรียนที่เกาะตะรุเตาต่อเนื่องกับเกาะลังกาวี แต่ไทรโลไบต์ที่พบในยุคออร์โดวิเชียน ตัวจะใหญ่กว่ามาก มีความใกล้เคียงกับที่ค้นพบในเอกสารอ้างอิง อยู่ในออเดอร์ Phacopida และที่ไม่อาจสรุปได้ว่า เป็นไทรโลไบต์จริง เนื่องจากไม่พบลักษณะที่สมบูรณ์ จึงจัดได้ถึงแค่ออเดอร์ และแฟมิลี่ที่คล้ายที่สุดเท่านั้น

     Kingdom : Animalia
     Phylum : Arthropoda
     Class : Ttilobita Walch, 1771
     Order : Phacopida

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน ลักษณะซากดึกดำบรรพ์ที่พบ (หน้า ๒๘-๔๔))

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-6 17:23 , Processed in 0.111758 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.