แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 11219|ตอบ: 16
go

สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินล้านปี ม.๖ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

1.JPG



สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์

อุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี)

ม.๖ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน


[รอยพระพุทธหัตถ์ , รอยพระพุทธบาท ,

รอยเท้าพระอรหันต์ ๑๐ ขวบ , บ่อน้ำทิพย์ในพระบาทเกือกแก้ว]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 20 ธันวาคม 2565)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0951.JPG



การเดินทางไปสำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหิน


ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ (สายเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) เข้าสู่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระยะทาง ๑๙๑ กิโลเมตร


โดยใช้เส้นทางสายแม่สะเรียง-สบเมย ไปทางทิศใต้ของอำเภอแม่สะเรียงอีกประมาณ ๖ กิโลเมตร ถึงบ้านดงสงัด หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่สะเรียง และเลี้ยวเข้าสู่อุทยานที่ ซอย ๑๒ สายภายในพื้นที่บ้านดงสงัด (ตอนที่ ๑) อยู่ข้างสถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๑ (เชียงใหม่) กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



IMG_0955.JPG



ทางเข้า สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


IMG_0953.JPG



ที่ตั้งพื้นที่อุทยานหินและการเข้าถึง



อุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) นี้ ตั้งอยู่ในเขตบ้านดงสงัด หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเวณสำนักสงฆ์หลังสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ สาขาแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

โดยเส้นทางเป็นทางที่สร้างขึ้นใหม่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่สามารถใช้พาหนะทุกชนิดขึ้นไปได้โดยสะดวกจนถึงบริเวณที่จัดให้เป็นที่จอดรถ ยกเว้นรถบัสขนาดใหญ่มาก ที่เข้าถึงได้ถึงแค่เชิงเขา แล้วเดินขึ้นตามบันไดต่อประมาณหนึ่งร้อยเมตร ในช่วงระหว่างเส้นทางไปยังสำนักสงฆ์และพิพิธภัณฑ์ เป็นป่ากึ่งเสื่อมโทรม มีลักษณะคล้ายป่าที่กำลังจะฟื้นตัวจากการถูกทำลายอย่างรุนแรงในอดีต

การเข้าถึงพื้นที่อุทยานหิน จะมาจากจังหวัดเชียงใหม่หรือจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้ทางหลวงสาย ๑๐๘ เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน เข้าสู่อำเภอแม่สะเรียง และใช้เส้นทางแม่สะเรียง-สบเมย ลงใต้ไปประมาณ ๖ กิโลเมตร ถึงบ้านดงสงัด เลี้ยวเข้าสู่อุทยาน ก่อนถึงบริเวณสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๑๖ สาขาแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน ที่ตั้งพื้นที่อุทยานหินและการเข้าถึง (หน้า ๑๐))


IMG_0964.JPG



ถนนทางเข้า สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ ระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร



IMG_0969.JPG



IMG_0965.JPG



ที่จอดรถ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ



IMG_0971.JPG



ทางเดินและบันไดทางขึ้น สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ ระยะทางประมาณ ๑๐๐ เมตร


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1005.JPG



ธรรมศาลา สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ



IMG_1014.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในธรรมศาลา สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ



IMG_1619.JPG



พระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต
พระสงฆ์ผู้ดูแลและบูรณะ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ท่านจำพรรษาอยู่ที่นี้เพียงรูปเดียว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๖)


IMG_1075.JPG



ข้าพเจ้าในนามคณะตามรอยพระพุทธบาท เว็บแดนนิพพาน ดอทคอม กราบขอบพระคุณพระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต ที่เมตตาเป็นวิทยากรพาคณะกราบนมัสการรอยพระพุทธหัตถ์ รอยพระพุทธบาท และแนะนำข้อมูลการศึกษาอุทยานหินล้านปี พร้อมทั้งให้เอกสารแนะนำอุทยานหินฯ

จึงขอกราบนมัสการมาด้วยความเคารพเป็นอย่างสูง


IMG_1602.JPG



IMG_1056.JPG



IMG_1603.JPG



IMG_1611.jpg



IMG_1607.JPG



IMG_1606.JPG



ภาพถ่ายสำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ ในอดีต

ที่ตั้งพื้นที่อุทยานหิน สภาพเป็นป่ากึ่งเสื่อมโทรม มีลักษณะคล้ายป่าที่กำลังจะฟื้นตัวจากการถูกทำลายอย่างรุนแรงในอดีต เดิมมีศาลาเล็ก ๑ หลัง และกุฏิสงฆ์ ๑ หลัง


IMG_1071.JPG



ทางเดินไปนมัสการรอยพระพุทธหัตถ์ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1612.JPG



IMG_1615.JPG



IMG_1092.JPG



หินรอยพระพุทธหัตถ์ (Buddha’s Hand Hillock) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

เป็นก้อนหินใหญ่ที่ตอนบนมีริ้วคล้ายรอยนิ้วมือพิงต้นไทรแดงอยู่ ยึดถือแทนอยพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้า ที่ได้แผ่พระเมตตาเข้ามาหาความสุขทางใจของประชาชนทุกหมู่เหล่า

ตัวหินเป็นหินปูนเนื้อแน่น ไม่มีเนื้อดินปนมาก และไม่มีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏ แต่หินก้อนเล็กที่อยู่ด้านข้าง มีซากดึกดำบรรพ์นอติลอยด์ ชนิดเอ็นโดเซอรัส โปรโตไซโคลเซอรัส โพลีเดสเมีย และไบรโอซัว ประเภทปะการังเดคาเยลลา

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติหินรอยพระพุทธหัตถ์ (Buddha’s Hand Hillock))


IMG_1129.JPG



IMG_1102.JPG



IMG_1109.JPG



IMG_1131.JPG



IMG_1116.JPG



IMG_1099.JPG



IMG_1141.JPG



รอยพระพุทธหัตถ์ของพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ในภัทรกัป สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ประทับบนก้อนหินใหญ่ ป็นรอยพระพุทธหัตถ์เบื้องซ้าย ปรากฏรอยนิ้วมือทั้ง ๕ นิ้ว อย่างชัดเจน กว้างประมาณ ๑ เมตร ยาวประมาณ ๒ เมตร ค้นพบเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗ โดยพระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต พระสงฆ์ผู้ดูแลและบูรณะ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ปัจจุบันรอยพระพุทธหัตถ์ทาสีทอง พร้อมประดิษฐานฉัตร ถวายโดย สำนักอาศรมอาจารย์ปู่สมเจตน์ จังหวัดเชียงใหม่


IMG_1110.JPG



ประวัติการค้นพบรอยพระพุทธหัตถ์

สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน



พระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต ได้มาจำพรรษาอยู่ ณ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ และในปี พ.ศ.๒๕๔๗ วันหนึ่งขณะท่านนั่งสมาธิ ได้นิมิตเห็นรอยพระพุทธหัตถ์ลอยมาอยู่ตรงหน้าของท่าน แล้ววันต่อมา มีแมวสีเหลืองตัวหนึ่งที่อยู่ในสำนักสงฆ์มานาน (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้มาเรียกพระประสิทธิ์ไปที่ก้อนหินขนาดใหญ่ (หินรอยพระพุทธหัตถ์)

เดิมมีหินก้อนหนึ่งใหญ่พอสมควรปิดทับไว้ ท่านจึงเอาก้อนหินที่ปิดทับออก ปรากฏเห็นเป็นลักษณะรอยนิ้วมือใหญ่ทั้ง ๕ นิ้ว อย่างชัดเจน วัดขนาดได้ กว้างประมาณ ๑ เมตร ยาวประมาณ ๒ เมตร เป็นรอยพระหัตถ์ข้างซ้ายของพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ในภัทรกัป

ต่อมา พระครูอนุสนธิ์ประชาทร
(รัตน์ รตนญาโณ) เจ้าอาวาสวัดดอยเกิ้ง อำเภอแม่สะเรียง ได้ดำริจะทำทางขึ้นและบูรณะรอยพระพุทธหัตถ์

และทางอำเภอแม่สะเรียง นำโดย นายเดชา สัตถาผล นายอำเภอแม่สะเรียง ดร.กมลไชย คชชา ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ ๑๖ สาขาแม่สะเรียง องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สะเรียง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอแม่สะเรียง

ได้ประสานงานให้นักธรณีวิทยา รองศาสตราจารย์ ดร.เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร อาจารย์พิเศษภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้ามาทำการสำรวจและตรวจสอบแหล่งซากดึกดำบรรพ์ โครงการแหล่งเรียนรู้อุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓ และมีรายงานฉบับสมบูรณ์เสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สะเรียง และอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

--------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : คำบอกเล่าของพระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต
สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ และเบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน คณะผู้ก่อให้เกิดโครงการแหล่งเรียนรู้ อุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (ภาคผนวกและปกหลังเอกสารประกอบการเรียบเรียง). เรียบเรียงโดย เว็บแดนนิพพาน ดอทคอม)


IMG_1120.JPG



IMG_1166.JPG



IMG_1162.JPG



โขดหินรอยพระพุทธหัตถ์ของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ด้านหลังส่วนตอนล่างของโขดหินรอยพระพุทธหัตถ์ มีลักษณะคล้ายกลีบดอกบัว (ตรงจุดที่พระประสิทธิ์ชี้)


IMG_1174.JPG



366.jpg



IMG_1192.JPG



IMG_1171.JPG



รอยพระพุทธหัตถ์ของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓) ในภัทรกัป สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ประทับบนก้อนหินใหญ่ เป็นรอยพระพุทธหัตถ์เบื้องขวา ลักษณะฝ่าพระหัตถ์ลึก ปรากฏรอยนิ้วมือทั้ง ๕ นิ้ว อย่างชัดเจน ค้นพบเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗ โดยพระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต พระสงฆ์ผู้ดูแลและบูรณะ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ ประดิษฐานอยู่ใกล้รอยพระพุทธหัตถ์ของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1233.JPG



IMG_1069.JPG



ต่อจากนั้น เดี๋ยวเราเดินตามหลวงพ่อประสิทธิ์ ไปสำรวจเส้นทางการศึกษาอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) (Ordovician (443-488 Ma) Fossils Natural Park) ส่วนซากดึกดำบรรพ์  หรือฟอสซิล กันต่อนะคะ



IMG_0977.JPG



ความสำคัญอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี)



อุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) เป็นแหล่งที่มีซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเลที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บ้านดงสงัด ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

สถานที่นี้เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการด้านธรณีกายภาพของอำเภอแม่สะเรียง โดยที่ผู้ที่เข้าไปเยี่ยมชมจะได้เพลิดเพลินกับธรรมชาติอันงดงามของหินลักษณะต่างๆ ที่มีลักษณะคดโค้งโก่งงอเป็นแนวยาวและประสพภาวะกัดกร่อนเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น โขดหิน ถ้ำ หลุมยุบ รอยเลื่อน หน้าผา ตามธรรมชาติ


แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ มีซากดึกดำบรรพ์อายุออร์โดวิเชียน ประกอบไปด้วย นอติลอยด์ หรือหอยหมึกโบราณ รูปแบบต่างๆ ถึงสิบสามวงศ์ สาหร่ายที่มีรูปร่างสวยงามโดดเด่นสองวงศ์ ฟองน้ำและปะการังรูปแบบต่างๆ ตลอดจน ไทรโลไบต์ หอยฝาเดียวและหอยสองฝา ปรากฏอยู่บนผิวหน้าของหินในอุทยาน มากกว่า ๕๐๐ ชิ้น

นอกจากรูปร่างที่น่าสนใจของโขดหินและซากดึกดำบรรพ์รูปแบบต่างๆ แล้ว ภายในอุทยานยังร่มรื่นไปด้วยพืชพรรณต้นไม้มากกว่าพันต้น ที่สามารถจะศึกษาหาความรู้ทางด้านชื่อ ชนิด และวงศ์ต่างๆ ชนิดของต้นไม้เหล่านี้ยังบ่งชี้สภาพของดินและหินที่รองรับอยู่ด้านล่างได้

ดังนั้น อุทยานหินแห่งนี้จึงเหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านธรณีวิทยา ธรรมชาติศึกษา สำหรับนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปทุกระดับเป็นอย่างดี

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายความสำคัญอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี))



IMG_1357.JPG



ลักษณะสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่อุทยานหิน



ลักษณะพื้นดินตามทางที่ขึ้นไปยังสำนักสงฆ์จากด้านหลังสำนักฯ ระหว่างห้วยหินเหล็กไฟและห้วยโป่ง ช่วงแรกด้านล่าง มีลักษณะเป็นเทอเรซระดับสูง ที่ระดับความสูงเหนือน้ำทะเล ๒๖๐ เมตร รทก. จนถึงระดับ ๓๘๐ เมตร รทก. ก่อนถึงแนวเทือกเขา มีลักษณะเป็นดินลูกรังสีแดง


มีต้นไม้ประเภท ต้นพลวง (ตองตึง หรือเหียง) เต็ง รักใหญ่ แข้งกวาง และตูมกาขาว ที่ชอบขึ้นในลักษณะดินที่เป็นกรดอ่อนๆ ทางจะค่อยๆ ชันขึ้นไปสู่พื้นที่ที่พื้นดินได้เปลี่ยนเป็นมีโขดหิน และชนิดพืชได้เปลี่ยนไปเป็นป่าเบญจพรรณ ลักษณะต้นไม้ที่ชอบขึ้นในดินที่มีลักษณะเป็นด่าง เช่น สัก รกฟ้า รัง งิ้ว ป่าดอกแดง ตะคร้อ กุ๊ก ปอลาย ปอเลียงฝ้าย ยอป่า ขางหัวหมู แดง ประดู่ป่า และอื่นๆ

ลักษณะของหินปูนที่พบ เป็นหินปูนสกปรก คือ จะมีเลนส์และชั้นของหินดินดานแทรกอยู่ในเนื้อ ในส่วนล่างปริมาณของหินดินดานสีน้ำตาลจะมากจนเรียงเป็นชั้นบางๆ สลับกับหินปูนสีเทา มีลักษณะเนื้อหินคล้ายกับหินปูนอายุออร์โดวิเชียน ที่รู้จักกันในชื่อ หินปูนชุดทุ่งสง (Thung Song Group)


หินที่โผล่พ้นดินมีรูปร่างต่างๆ ด้านบนของหินโผล่ทุกก้อนจะพบลักษณะผิวขรุขระ เป็นหลุมตื้นๆ ที่เกิดจากการฝนตก เม็ดฝนเจาะลงไปในเนื้อหินที่เรียกว่า Rain Pits บางตอนเห็นร่องรอยน้ำฝนชะลงมาแล้วหินปูนตกผลึกใหม่คล้ายกับเกล็ดปลาหรือสัตว์เลื้อยคลาน ในเนื้อหินที่แตก มีลักษณะแร่ส่วนใหญ่เป็นแคลไซต์มีโดโลไมต์และแร่ที่มีเหล็กปนอยู่บ้าง ในพื้นที่พบลักษณะเป็นแอ่ง ที่เรียกว่า กุมภลักษณ์ (Pot Hole)


และแนวแยกของหิน เป็นร่องกว้างประมาณ ๑ เมตร ลึกประมาณ ๕-๘ เมตร มีก้อนหินขนาดใหญ่ คาดว่ากลิ้งลงมาตามลาดเขามาปิดทับร่องนี้หลายส่วน หินปูนที่เรียงตัวเป็นชั้นหรือเลนส์บางๆ สลับกับหินดินดาน ถูกดันให้โค้งโก่งงอเป็นรูปทรงโค้งมนยาวขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายเปลือกไม้ที่หุ้มต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ คล้ายกับไม้กลายเป็นหิน เมื่อมีแนวแตกมาตัดขวางแนวคล้ายลำต้น ทำให้มีลักษณะคล้ายไม้กลายเป็นหิน

บนผิวของหินโผล่บางบริเวณ มีร่องรอยของซากดึกดำบรรพ์หลายรูปแบบปรากฏชัดเจนบนหน้าหิน สามารถจะติดตามดูเปรียบเทียบได้จากเอกสารอ้างอิงทางด้านใต้ของพื้นที่มีรอยแผ่นดินแยกและโพรงถ้ำ และถ้ำถล่มหรือหลุมยุบ ต่อเนื่องกับหน้าผาสูงชัน นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ธรรมชาติสรรสร้างออกมา เหมาะสำหรับการเป็นแหล่งเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.ใน ลักษณะสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่อุทยาน. (หน้า ๑๑))


IMG_1407.JPG



ลักษณะทั่วไปของโขดหิน และต้นไม้โดยรอบบริเวณพื้นที่ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

โขดหิน (Hillock) คือ หินก้อนใหญ่ที่โผล่มาจากพื้นสูงเด่นกว่าหินอื่นในพื้นที่ ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากหินก้อนนั้นมีหินที่มีความแข็งแรงปกป้องด้านบนอยู่ หรือเป็นก้อนหินที่แตกเป็นก้อนใหญ่มาก ผุพังทำลายช้า หรือเป็นหินที่มีส่วนประกอบทางแร่ที่มีความแข็งคงทน แตกต่างไปจากหินที่อยู่ใกล้เคียง

ในพื้นที่มีโขดหินที่สำคัญ เช่น หินก้อนที่มีชื่อ หินรอยพระพุทธหัตถ์พระพุทธเจ้า หินยอดปะการังใหญ่ ซึ่งมีถึงสองก้อน และโขดหินที่เป็นส่วนของหินที่คดโค้งโก่งงอ เป็นต้น


---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน โขดหิน. (หน้า ๑๙-๒๐))


IMG_1228.JPG



ลักษณะเนื้อหินปูนอายุออร์โดวิเชียน (Ordovician Limestone Texture) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ลักษณะเด่นคือ เป็นหินปูนเนื้อละเอียดที่สกปรก มีดินเหนียวหรือหินดินดานแทรกเป็นระยะ ในลักษณะเป็นเลนส์หรือเป็นแถบ ขนานไปกับแนวชั้นหิน บางส่วนมีร่องรอยเกิดการถล่มขณะที่ยังไม่แข็งตัวมาก หรือร่องรอยแตกหักเป็นก้อนเล็กๆ ที่เป็นผลเนื่องจากถูกบดอัดด้วยการเลื่อนตัว ทำให้หินแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วประสานตัวเป็นชั้นหินใหม่

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.ใน ลักษณะเนื้อ (Texture) หินปูนอายุออร์โดวิเชียน. (หน้า ๑๖))


IMG_1068.JPG



สังคมพืชในพื้นที่อุทยานหิน



๑. พืชพันธุ์ไม้ในพื้นที่ศึกษา

พืชพันธุ์ไม้ในพื้นที่ศึกษา สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มตามลักษณะดังนี้ คือ

๑.๑ ไม้ต้น
๑.๒ ไม้ต้นขนาดเล็ก (Shrubby Tree)
๑.๓ ไม้พุ่ม (Shrub)
๑.๔ ไม้พุ่มขนาดเล็ก (Undershrub)
๑.๕ ไม้เถา (Climber)
๑.๖ ไม้ไผ่ (Bamboo)
๑.๗ เฟิร์น (Fern)
๑.๘ ไม้ล้มลุก (Herb)
๑.๙ ไม้ล้มลุกที่ลำต้นทอดไปตามพื้นดิน (Creeping Herb)
๑.๑๐ หญ้า (Grass)
๑.๑๑ ไม้ล้มลุกที่อาศัยอยู่ในน้ำ (Aquatic Herb)
๑.๑๒ ไม้มาจากต่างประเทศ (Exotic Plant)



IMG_1368.JPG



๒. ความสัมพันธ์ของต้นไม้กับชั้นหินรองรับ

๒.๑ ต้นไม้ที่ชอบขึ้นในพื้นที่หินและดินที่มีความสัมพันธ์กับหินปูน

ไม้ยืนต้นที่มีความชอบในดินที่เป็นด่าง เนื่องจากลักษณะดินเป็นดินที่เกิดจากการผุพังของหินปูนที่มีแร่ดินปน เนื้อดินมีน้อยหรือไม่มี ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศเป็นไหล่เขาสูง เมื่อมีฝนตกลงมาก็มักจะพัดพาเอาดินและเศษหินไปตามกระแสน้ำไหล ทำให้หน้าดินเหลือน้อยและหยั่งรากได้ไม่ลึก โค่นล้มได้ง่าย

ต้นไม้ที่พบในพื้นที่จะมีลำต้นสูงต่ำตามโปรไฟล์ พืชที่สำรวจพบในพื้นที่ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน ๑๖๔ ชนิด และมี ๑๕๙ ชนิด ที่สามารถจำแนกได้ และ ๕ ชนิด ที่ยังจำแนกไม่ได้ ในจำนวนนี้ เป็นจำนวนต้นไม้ต้นที่สำรวจในพื้นที่ที่มีขนาดเส้นรอบวงต้นไม้มากกว่าสิบห้าเซนติเมตร มากกว่าสามพันต้น

สิบห้าลำดับแรกของไม้ที่มีความสำคัญในพื้นที่ ซึ่งแสดงถึง ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (RD) ค่าความถี่สัมพัทธ์ (RF) ความเด่นสัมพัทธ์ (RDo) และดัชนีความสำคัญ (IVI) มีถึง ๗๒๘ ต้น ได้แก่ สัก รกฟ้า รัง งิ้วป่าดอกแดง ตะคร้อ กุ๊ก ปอลาย ปอเลียงฝ้าย ยอป่า ขางหัวหมู แดง ประดู่ป่า สมอไทย ทองเดือนห้า และมะม่วงหัวแมงวัน

๒.๒ ต้นไม้ที่ชอบขึ้นในพื้นที่หินและดินที่มีความสัมพันธ์กับหินดินดาน บริเวณทางเข้าสู่พื้นที่อุทยานหิน

พื้นดินรองรับป่าชุดนี้เป็นดินที่ผุพังมาจากหินดินดานและหินเชิร์ต อายุไทรแอสซิก ต้นไม้ที่ชอบขึ้นในพื้นที่ชนิดนี้ เป็นพืชที่ชอบขึ้นในดินที่มีลักษณะเป็นกรดและหินแข็ง หินทราย

ต้นไม้ที่พบในหินประเภทนี้ เช่น พลวง ๔๐% เต็ง ๓๐% รักใหญ่ ๕% แข้งกวาง ๕% ตูมกาขาว ๕% และที่เหลืออีก ๕% เป็นมะม่วงหัวแมงวัน มะส้าน ตะคร้อ มะคังแดง เก็ดดำ ตะขบป่า อินทนิลบก กำลังช้างเผือก กระโดน กาสามปีก ซึ่งจะแตกต่างกับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่อุทยานหินที่เป็นหินปูนอย่างชัดเจน ทั้งในแง่ความหลากหลายและชนิดของพืชพรรณไม้

๒.๓ ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ระหว่างดินผสมสองประเภท

จะมีลักษณะของต้นไม้ที่ขึ้นคละกันอยู่ ทั้งนี้เพราะลูกไม้ที่ถูกพัดพาโดยลม โดยกระแสน้ำ และนำไปโดยสัตว์นำเอาเมล็ดพันธ์ุไปตกในดินที่อยู่ใกล้ๆ งอกมาเป็นต้นไม้ในพื้นที่นี้ โดยที่ด้านบนจะมีส่วนของไม้ที่ชอบขึ้นในพื้นที่ที่เป็นด่างมากกว่า แต่ในส่วนเชิงเขาจะมีต้นไม้ที่ชอบขึ้นในพื้นที่ที่เป็นกรดมากกว่า

๒.๔ ไม้พื้นล่าง

ส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุก ประเภทที่มีเหง้า หรือหัวอยู่ใต้ดิน เมื่อฝนลงก็จะแตกหน่อ ออกใบ ออกดอก โผล่ขึ้นมาบนพื้นดิน ไม้เหล่านี้ เช่น นมสวรรค์ ดาดตะกั่วเถา ว่านพญากาสัก กะตังใบแดง ว่านพระฉิม กลอย โสมชบา เอื้องหมายนา ข่าลิง ดอกดิน ดอกกระเจียว ดอกเข้าพรรษา เทียนดอย บุกชนิดต่างๆ เป็นต้น


IMG_1224.JPG



๓. โครงสร้างป่าหรือโปรไฟล์ของพรรณไม้ในพื้นที่อุทยานหิน

โปรไฟล์ของไม้ในพื้นที่ สามารถเขียนออกมาเป็นโปรไฟล์สองทิศทาง ดังนี้

๓.๑ โปรไฟล์แรก

แสดงพรรณไม้โครงสร้างป่าด้านตั้งและด้านแนวราบของป่าในแนวด้านล่างของเชิงเขาขึ้นไปบนสันเขา แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงพรรณไม้ในโครงสร้างจากที่ชอบดินที่เป็นกรดขึ้นไปจนถึงดินที่เป็นเบสของหินปูนผุ

๓.๒ โปรไฟล์ที่สอง

แสดงพรรณไม้โครงสร้างป่าด้านตั้งและด้านแนวราบของป่าในแนวสันเขาจากทิศเหนือ (ด้านซ้าย) ไปด้านใต้ (ด้านขวา) แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงพรรณไม้ในโครงสร้างที่ชอบดินที่เป็นเบสของหินปูนผุ ต้นใหญ่จะอยู่ด้านในของเขา ในขณะที่ด้านหน้าผาจะไม่ค่อยมีไม้หนาแน่นและต้นใหญ่ๆ ด้านนอกจะเป็นประดู่ ในขณะที่ต้นสักกระจายเต็มพื้นที่ แต่มีต้นขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน สังคมพืชในพื้นที่อุทยานหิน. (หน้า ๔๕-๔๗))


375.jpg



โปรไฟล์ของไม้ต้นตามแนวของพื้นที่จากเชิงเขาถึงสันเขา และตามแนวของสันเขาในพื้นที่ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

แสดงการเปลี่ยนแปลงของชนิดต้นไม้ตามสภาพดินที่เปลี่ยนแปลงจากเชิงเขา มายังสันเขาที่เปลี่ยนจากสภาพป่าเต็งรังมาเป็นป่าเบญจพรรณ


375.1.jpg



โปรไฟล์ของไม้ต้นตามแนวของพื้นที่จากเชิงเขาไปยังพื้นที่กลางเขาจากทิศตะวันตกไปตะวันออก สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ตัวเลขแสดงชนิดต้นไม้ ดังนี้
๑. พลวง
๒. เต็ง
๓. รักใหญ่
๔. แข้งกวาง
๕. ตูมกาขาว
๖. มะม่วงหัวแมงวัน
๗. มะส้าน
๘. ตะคร้อ
๙. มะคังแดง
๑๐. เก็ดดำ
๑๑. ตะขบป่า
๑๒. อินทนิลบก
๑๓. กำลังช้างเผือก
๑๔. กระโดน
๑๕. กางขี้มอด
๑๖. กาสามปีก
๑๗. รกฟ้า
๑๘. สมอไทย
๑๙. หว้าขี้กวาง
๒๐. มะม่วงนก
๒๑. ยอป่า
๒๒. กุ๊ก
๒๓. ติ้วขน
๒๔. ปอลาย
๒๕. เต็งหนาม
๒๖. กระมอบ

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายโปรไฟล์ของไม้ต้นตามแนวของพื้นที่จากเชิงเขาถึงสันเขา และตามแนวของสันเขาในพื้นที่)


375.2.jpg



โปรไฟล์ของไม้ต้นตามแนวของสันเขาในพื้นที่จากทิศเหนือไปทิศใต้ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ตัวเลขแสดงชนิดต้นไม้ ดังนี้
๑. ตะคร้อ
๒. พลวง
๓. อินทนิลบก
๔. รกฟ้า
๕. กาสามปีก
๖. ปอต๊อก
๗. ยอป่า
๘. ปอเลียงฝ้าย
๙. สะแกแสง
๑๐. เลียงฝ้าย
๑๑. สัก
๑๒. งิ้วป่าดอกแดง
๑๓. สมอไทย
๑๔. หว้าขี้กวาง
๑๕. เก็ดดำ
๑๖. ขางหัวหมู
๑๗. กุ๊ก
๑๘. รัง
๑๙. กางขี้มอด
๒๐. ทองเดือนห้า
๒๑. มะหนามนึ้ง
๒๒. กำลังช้างเผือก
๒๓. ยมหิน
๒๔. มะกอกป่า
๒๕. ตะแบกเลือด
๒๖. กระพี้จั่น
๒๗. แดง
๒๘. ไม่ได้ระบุชนิดต้นไม้
๒๙. ผ่าเสี้ยน
๓๐. ปอลาย
๓๑. ประดู่ป่า
๓๒. แหนนา

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายโปรไฟล์ของไม้ต้นตามแนวของพื้นที่จากเชิงเขาถึงสันเขา และตามแนวของสันเขาในพื้นที่)


IMG_0966.JPG



IMG_0967.JPG



IMG_0988.JPG



IMG_0968.JPG



IMG_0974.JPG



IMG_0975.JPG



สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ มีการปลูกหญ้าแฝกและตะไคร้หอม ภายในสำนักสงฆ์

เพื่อฟื้นฟูปรับปรุงดินและป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน เป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1085.JPG



IMG_1082.JPG



362.jpg



กุมภลักษณ์ (หินรูปหม้อ) (Pot Hole) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ลักษณะกุมภลักษณ์หรือหินรูปหม้อ คือ ลักษณะที่มีทางน้ำเคยไหลผ่าน และทำให้ก้อนหินที่น้ำพัดพามาหมุนวนขัดสีขอบหินลึกลงไปเป็นหลุม ส่วนขนาดจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับระยะเวลาและขนาดของทางน้ำ ในพื้นที่มีร่องรอยกุมภลักษณ์อยู่จำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะไม่กลมเหมือนหม้อเสียทีเดียว จะเห็นเพียงบางส่วนหรือเป็นสองลูกซ้อนกัน ทำให้เกิดวงรี

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.ใน กุมภลักษณ์. (หน้า ๒๖))


IMG_0994.JPG



IMG_0992.JPG



กุมภลักษณ์ (หินรูปหม้อ) (Pot Hole) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

แสดงการขัดสีของก้อนหินจนหลุมขยายใหญ่ขึ้น แสดงการไหลผ่านของทางน้ำในอดีต


IMG_0990.JPG



IMG_0989.JPG



IMG_1221.JPG



ร่องรอยฝนเจาะ (Rain Pits) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ที่ปรากฏบนเนื้อหิน เป็นร่องรอยฝนตกกระทบเนื้อหินปูนเป็นรูๆ จะพบได้มากในหินปูนที่มีคุณภาพดี คือ มีส่วนประกอบเป็นแร่แคลไซต์ หรือแคลเซียมคาร์บอเนต มากกว่าโดโลไมต์ หรือแคลเซียมแมกเนเซียมคาร์บอเนต

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.ใน ร่องรอยฝนเจาะ. (หน้า ๒๖-๒๗))

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1393.JPG



ลักษณะซากดึกดำบรรพ์ที่พบในอุทยานหิน


ลักษณะซากดึกดำบรรพ์ที่พบ สามารถจำแนกได้เป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้คือ

   -  กลุ่มสาหร่าย

   -  กลุ่มไบรโอซัว

   -  กลุ่มนอติลอยด์

   -  กลุ่มหอยฝาเดียวและสองฝา

   -  กลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มไทรโลไบต์และคล้ายไทรโลไบต์



IMG_1236.JPG



๑. กลุ่มสาหร่าย

ซากดึกดำบรรพ์ในกลุ่มสาหร่าย เป็นกลุ่มที่มีปริมาณซากดึกดำบรรพ์ที่มีมากที่สุดและขนาดถือว่าใหญ่และเด่นที่สุดในบรรดาซากดึกดำบรรพ์ที่พบ มีสองลักษณะ คือ

ชนิดที่ ๑. ลักษณะแบนติดกับหน้าหิน


เป็นทรงรี มีลวดลายเป็นแพทเทินของกลุ่มจุดที่มีลักษณะเป็นหนามแหลมหรือคล้ายกลีบสามเหลี่ยมขนาดเล็กที่มีปลายแหลม เรียงตัวกันล้อมรอบแกนทรงรีที่ไม่มีลวดลาย เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เคยพบในประเทศเมียนมา อินเดีย และในอเมริกาใต้ งานของ Rietschel and Nitecki (1984) และได้จำแนกชนิดออกมาถึงระดับสกุล

การจัดจำแนกเบื้องต้นได้ดังนี้
      Kingdom Plantae
      Phylum Chlorophyta
      Class Receptaculitaphyceae Weiss 1954
      Order Receptaculitales James 1885
      Family Receptaculitales Eichwald 1860
      Genus  Fisherites Finney and Nitecki 1979
      Species Fisherites cf. burmensis RIETSCHEL & NITECKI 1984
      (Rietschel and Nitecki, 1984)
      รวมจำนวนตัวอย่างชนิดนี้ ๕๕ ตัวอย่าง

ชนิดที่ ๒. ลักษณะเป็นก้านยาวหรือแถบยาว


มีทั้งเป็นแนวตรง และเป็นแถบคดโค้งเป็นริ้ว ในเนื้อแถบมีตุ่มขนาดเล็กหรือหนามทู่ๆ เป็นแถวๆ ขวางตลอดความยาวเป็นระยะต่อเนื่อง หรืออาจจะกร่อนเหลือเป็นเส้นขวางแถบยาว ความกว้างของแถบ ๑-๒ เซนติเมตร และที่เป็นแถบยาวตั้งแต่ ๔-๕ เซนติเมตร ส่วนใหญ่มากกว่า ๑๐ เซนติเมตร อาจจะพบยาวกว่า ๒๐ เซนติเมตร

      Kingdom Plantae
      Phylum Chlorophyta
      Class Ulvophyceae
      Order Dasaycladales
      Tribe Salpingoporellae BASSOULLET et al., 1978
      Family Dasaycladales
      Genus  Salpingoporella PIA, 1918
      Species Salpingoporella sp.
      (Parchar and pandey, 2008; Sokac, 2000)
      รวมจำนวนตัวอย่างชนิดนี้ ๑๓๘ ตัวอย่าง


IMG_1241.JPG



IMG_1252.JPG



สาหร่ายฟิชเชอไรทีส (Fisherites cf. burmensis RIETSCHEL & NITECKI 1984)

Genus : Fisherites Finney and Nitecki 1979  

Family : Receptaculitales Eichwald 1860

มีลักษณะเป็นกลุ่มคล้ายดอกดวง มีลวดลายจากการเรียงตัวเป็นรูปร่างชัดเจน ล้อมรอบแกนกลาง


IMG_1265.JPG



๒. กลุ่มไบรโอซัว (Bryozoa)


กลุ่มไบรโอซัวที่พบในพื้นที่ สามารถจำแนกออกเป็นสองประเภท คือ ประเภทที่มีการสร้างที่อยู่จากสารประกอบเป็นสารซิลิกา จัดเป็นประเภทฟองน้ำ และประเภทที่มีการสร้างที่อยู่จากสารประกอบคาร์บอเนต จัดเป็นประเภทที่มีกิ่งก้านเป็นปะการัง

ชนิดที่ ๑. ประเภทที่มีโครงสร้างซากที่อยู่อาศัยเป็นสารซิลิกา

ไบรโอซัวชนิดที่มีโครงสร้างที่อาศัยเป็นสารซิลิกา พบในพื้นที่เพียง ๑ ชนิด มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะเป็นแท่งหนาคล้ายไข บางที่จะเห็นภายในเป็นรวงผึ้ง และพบว่าเป็นประเภทเดียวกันกับฟอสซิลคล้ายไบรโอซัวอายุออร์โดวิเชียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ

Heterotrypa cf. frondana (Cuffey, 2005, 2006) อยู่ใน Family Heterotrypidae Genus Hererotrypa ซึ่งกล่าวว่าสูญพันธ์ไปแล้ว ลักษณะแตกหักเป็นท่อนๆ ขนาด ๒-๑๐ × ๑-๒ เซนติเมตร กระจายในเนื้อหินปูน ในพื้นที่ที่พบซากดึกดำบรรพ์ประเภทนี้ จะไม่ค่อยพบซากดึกดำบรรพ์ชนิดอื่นอยู่ร่วมด้วย นอกจากปะการังที่เป็นคาร์บอเนต และนอติลอยด์ในกลุ่ม Ormocerus และ Actinocerus

ชนิดที่ ๒. ประเภทที่มีโครงสร้างซากที่อยู่อาศัยเป็นสารคาร์บอเนต     

     Kingdom Animalia
     Superphylum Lophotrochozoa
     Phylum Bryozoa
     Class Stenolaemata
     Order Trepostomata
     Family Heterotrypidae
     Genus Hererotrypa
     Genus Dekayella

ลักษณะของไบรโอซัวพวกนี้ เป็นพวกปะการัง มีลักษณะเป็นแท่ง เป็นกิ่งก้านมีขนาดเล็ก และเป็นทรงกลมคล้ายฝาชี รวมจำนวนตัวอย่างชนิดนี้มากกว่า ๗๘ ตำแหน่ง ตัวอย่างและจำนวนตัวอย่าง Coral Indeterminated มากกว่า ๖ ตัวอย่าง


IMG_1381.JPG



ปะการังเดคาเยลลา (Dekayella Sp)

Genus : Hererotrypa

Family : Heterotrypidae

เป็นตัวอย่างไบรโอซัวที่มีโครงสร้างที่อาศัยเป็นคล้ายกิ่งก้าน และ/หรือเป็นสารคาร์บอเนต (ปะการัง) คล้ายกับ Dekayella sp. ลักษณะการกระจายในเนื้อหินจะเป็นคล้ายกิ่งก้านที่แตกหักกระจายฝังในตัวเนื้อหิน พวกนี้จะอยู่ร่วมกับซากดึกดำบรรพ์อื่นๆ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1203.JPG



๓. กลุ่มนอติลอยด์

กลุ่มนอติลอยด์นี้มีมากเป็นอันดับสองรองจากกลุ่มสาหร่าย ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในพื้นที่ประกอบด้วย สัตว์ในกลุ่มนี้มีลักษณะเด่นคือ เป็นสัตว์ที่มี siphuncle คือ อวัยวะรูปร่างคล้ายท่อ พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ดูดน้ำเข้าหรือพ่นน้ำออก อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “ปลา(หอย)หมึกโบราณ (Nautiloidea)” :
        
     Kingdom : Animalia
     Phylum : Mollusca
     Class : Cephalopoda
     Subclass : Palcephalopoda หรือเดิมคือ “Nautiloidea”
        
Order ที่พบที่สามารถเปรียบเทียบได้ มี ๓ order ๑๒ Family ๑๓ Genus ส่วนจำนวนสปีชีส์นั้น ยังไม่สามารถแยกได้ชัดเจน ณ บัดนี้

๑. Order Ellesmerocerida Flower, 1950

พบซากดึกดำบรรพ์ในพื้นที่ ที่มีลักษณะคล้ายกับภาพและคำบรรยายในเอกสารอ้างอิงอยู่ ๔ Family คือ

- Family Ellesmeroceratidae
- Family Cyclostomiceratidae Ulrich, Foerste, Miller and Furnish
- Family Protocycloceratidae Kobayashi
- Family Bassleroceratidae

๒. Order Endocerida Teichert, 1933


พบซากดึกดำบรรพ์ในพื้นที่ ที่มีลักษณะคล้ายกับภาพและคำบรรยายในเอกสารอ้างอิงอยู่ ๒ Family คือ

- Family Endoceratidae
- Family Proterocameroceratidae Kobayashi, 1937

๓. Order Actinocerida Teichert, 1933


พบซากดึกดำบรรพ์ในพื้นที่ ที่มีลักษณะคล้ายกับภาพและคำบรรยายในเอกสารอ้างอิงอยู่ ๖ Family คือ

- Family Polydesmiidae, Kobayashi 1940
- Family Actinoceratidae, Seamann 1853
- Family Huroniidae
- Family Armenoceratidae
- Family Gonioceratidae
- Family Ormoceratidae, Seamann 1853


369.jpg


ลักษณะตัวอย่างของซากดึกดำบรรพ์ Order Endocerida Teichert, 1933

ซากดึกดำบรรพ์ใน Order นี้ จะมีลักษณะเด่นคือ มีท่อลำเลียงน้ำที่มีขนาดใหญ่จนเกือบจะเต็มช่องท้อง การจำแยกซากดึกดำบรรพ์กลุ่มนี้ จะอาศัยดูที่ช่องท่อลำเลียงน้ำ จะมีแคลเซียมคาร์บอเนตสะสมเต็มไปหมด


IMG_1397.JPG


IMG_1222.JPG



นอติลอยด์เอ็นโดเซรัส (Endoceras sp.)

Genus : Endoceras

Family : Endoceratidae

จะเห็นลักษณะแน่นทึบ จากผลของการตกผลึกของแคลเซียมคาร์บอเนตที่สกปรกจนเป็นสีทึบ ปล้องที่ต่อกันจะมีคอสั้น ทำให้ปล้องชิดติดกันแน่น


IMG_1216.JPG



นอติลอยด์โปรโตไซโคลเซรัส (Protocycloceras sp.)

Genus : Protocyptendoceras Cecioni, 1965

Family : Proterocameroceratidae Kobayashi, 1937

ภายในจะแน่นด้วยแร่คาร์บอเนตที่เข้ามาตกตะกอนในช่องว่าง แต่ช่วงระหว่างปล้องจะยาวกว่านอติลอยด์เอ็นโดเซรัส (Endoceras sp.) ซึ่งปล้องจะชิดกันกว่า


IMG_1207.JPG



ลักษณะตัวอย่างของซากดึกดำบรรพ์ Order Actinocerida Teichert, 1933


ลักษณะเด่นข
องซากดึกดำบรรพ์ Order นี้ คือ จะมีช่วงของ Siphuncle หรือระบบท่อลำเลียงน้ำที่กว้างและชัดเจน บางครั้งจะยื่นเข้าไปในช่องข้างๆ ทำให้ซากดึกดำบรรพ์คงสภาพในลักษณะเป็นปล้องๆ แบ่งเป็นช่องๆ ชัดเจน ซึ่งขนาดของปล้องในแต่ละช่วงและช่องจะบ่งบอกถึงชนิดของซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้


IMG_1218.JPG



นอติลอยด์โปลีเดสเมีย (Polydesmia sp. Yun (2002))


Genus : Polydesmiidae

Family : Polydesmiidae Kobayashi 1940

ลักษณะเด่นคือ ช่องภายในลำตัวจะมีขนาดใกล้เคียงกัน ดังนั้นเมื่อผิวด้านนอกกร่อน จึงเห็นแต่ละช่องเกาะกันเป็นกลีบๆ และปล้องช่วงแคบๆ และคอต่อระหว่างปล้องสั้นชิดกัน


IMG_1209.JPG



นอติลอยด์ไนบิโอเซรัส (Nybyoceras sp.?)


Genus : Nybyoceras

Family : Armenoceratidae

ซากดึกดำบรรพ์ชนิดนี้ลำตัวจะกว้าง แต่ละส่วนของแต่ละปล้องแต่ละช่องจะมีความแข็งแรงและขนาดใกล้เคียงกัน จึงจะเห็นปล้องชัดเจนในทุกช่องของแต่ละปล้อง


IMG_1258.JPG



นอติลอยด์แอคติโนเซรัส (Actinoceras sp.)


Genus : Actinoceras

Family : Actinoceratidae, Seamann 1853

ในพื้นที่นี้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ตัวยาวที่สุด มีขนาดยาวถึง ๔๖ เซนติเมตร แต่กว้างเพียง ๓.๕ เซนติเมตร และค่อนข้างเรียวไปทางหัวและท้าย ส่วนที่เป็นท่อลำเลียงน้ำ ช่องกลางจะค่อนข้างสั้นและกลม

ภาพด้านบนจะเห็นส่วนปล้องและช่องระหว่างปล้องที่จะหนากว่านอติลอยด์อาร์เมโนเซรัส (Armenoceras sp.) ที่มีขอบบางกว่าอยู่ด้านข้าง


IMG_1372.JPG



นอติลอยด์อาร์เมโนเซรัส (Armenoceras sp.)


Genus : Armenoceras

Family : Armenoceratidae

ลักษณะเด่นของ Family นี้คือ จะมีช่วงกว้างของช่วงกลางที่เป็นท่อลำเลียงน้ำกว้าง ทำให้มีลักษณะคล้ายแถบหนาๆ และมีลักษณะคล้ายกับจะมีจำนวนช่องในแต่ละปล้องมากกว่า

ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะข้อต่อปล้องที่ต่อเนื่องกับช่วงนอกจะหนา ช่วงกลางจะเป็นส่วนที่ผุพังง่ายกว่าส่วนขอบนอก ลักษณะทั้งตัวจะค่อนข้างป้านส่วนหัวและค่อนข้างป้อม เมื่อเทียบกับสปีชีส์อื่น (Species) เช่น ไทรโลไบต์ Family : Homalonotidae แต่ก็พบเช่นกันที่มีช่องกลางแคบและขอบสองข้างกว้างมาก


IMG_1390.JPG



นอติลอยด์ออร์โมเซรัส (Ormoceras sp. (Yun, 2002))


Genus : Ormoceras

Family : Ormoceratidae, Seamann 1853

มีลักษณะกลมโค้งมน โดยเห็นท่อพ่นน้ำกลางตัวชัดเจน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1234.1.JPG



IMG_1234.JPG



๔. กลุ่มหอยฝาเดียวและสองฝา


ในพื้นที่ศึกษาพบว่า หอยฝาเดียวจะพบอยู่ใกล้เคียงในกลุ่มที่มีสาหร่ายจำนวนมาก แสดงให้เห็นแหล่งอาหาร หอยที่พบมีสองชนิด คือ ชนิดขดเป็นวง และชนิดเป็นเกลียวคล้ายหอยเจดีย์ แต่ไม่สามารถจำแนกชนิดได้


ลักษณะตัวอย่างของหอยฝาเดียว มีทั้งแบบแบน และแบบหอยเจดีย์ ส่วนหอยสองฝานั้นมีน้อย แทบไม่มีร่องรอยเหลือให้เห็นและไม่ชัดเจน



IMG_1311.JPG



๕. กลุ่มไทรโลไบต์และคล้ายไทรโลไบต์ (Trilobite and Trilobitelike)


คำว่า ไทรโลไบต์ แปลว่า สามพู หรือสามกลีบ อันเป็นลักษณะเด่นของสัตว์ประเภทนี้ ที่ส่วนใหญ่สูญพันธุ์หมดแล้ว ไทรโลไบต์จัดอยู่ในพวกที่มีขาเป็นปล้อง รูปร่างคล้ายกับแมงดาทะเลปัจจุบัน

มีการพบในประเทศไทยตั้งแต่ยุคแคมเบรียนที่เกาะตะรุเตาต่อเนื่องกับเกาะลังกาวี แต่ไทรโลไบต์ที่พบในยุคออร์โดวิเชียน ตัวจะใหญ่กว่ามาก มีความใกล้เคียงกับที่ค้นพบในเอกสารอ้างอิง อยู่ในออเดอร์ Phacopida และที่ไม่อาจสรุปได้ว่า เป็นไทรโลไบต์จริง เนื่องจากไม่พบลักษณะที่สมบูรณ์ จึงจัดได้ถึงแค่ออเดอร์ และแฟมิลี่ที่คล้ายที่สุดเท่านั้น

     Kingdom : Animalia
     Phylum : Arthropoda
     Class : Ttilobita Walch, 1771
     Order : Phacopida

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน ลักษณะซากดึกดำบรรพ์ที่พบ (หน้า ๒๘-๔๔))

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1230.JPG



ต่อจากนั้น เดี๋ยวเราเดินตามหลวงพ่อประสิทธิ์ ไปสำรวจและศึกษาภายในอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน ส่วนรอยแยกของเปลือกโลก กันต่อนะคะ



IMG_1272.JPG



รอยแยกของแผ่นดิน โพรงถ้ำ และหลุมยุบในพื้นที่อุทยานหิน



๑. รอยแยกของแผ่นดิน (Natural Trench/Gut) และโพรงถ้ำ (Cave)

ในพื้นที่อุทยานมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่สำคัญ คือ รอยแยกของแผ่นดิน (Natural Trench หรือ Gut) และโพรงถ้ำ (Cave) ที่เกิดร่วมกับรอยแยกของแผ่นดิน ในพื้นที่รอยแยกของแผ่นดิน เป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ในแนวตะวันออกตะวันตก ในลักษณะที่เป็นกลุ่มรอยเลื่อนขนานกัน และต่อมามีน้ำกัดเซาะขยายรอยแยกให้กว้าง ทำให้เกิดเป็นโพรงถ้ำ

ผนังที่เรียบเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่า เกิดการเลื่อนตัวของแนวหินและมีการยุบตัวเป็นร่อง เกิดเป็นรอยแยกของแผ่นดิน รอยแยกส่วนนี้มีความยาวประมาณ ๕๐ เมตร วางตัวเป็นแนวเกือบตะวันออกตะวันตก ต่อเนื่องไปถึงส่วนที่เป็นหน้าผาด้านหนึ่ง ลึก ๖-๘.๑ เมตร

มีหินด้านบนที่ถล่มลงมาปิดด้านบนอยู่หลายส่วน วางตัวขวางแนวเกือบเหนือใต้ ทำให้เกิดเป็นโพรงถ้ำ และมีแนวโพรงถ้ำแยกอีกตัวหนึ่ง วางตัวเกือบเหนือใต้ (๑๗๐/๖๐-๘๐NE) ยื่นออกไปทางหน้าผา แต่ด้านบนถล่มลงเกิดเป็นหลุมยุบ


395.jpg


๒. หลุมยุบ (Sink Hole)

หลุมยุบ (Sink Hole) เกิดจากการที่ในชั้นหินมีโพรงถ้ำที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝนไปตามรอยแตกรอยแยก เป็นธารน้ำใต้ดิน ในเวลาต่อมาการกัดเซาะกว้างขึ้นเป็นถ้ำที่อาจจะมีธารน้ำไหล หรือเป็นธารแห้งในหน้าแล้ง

ผนังถ้ำด้านบนบางไม่สามารถรับน้ำหนักของหินด้านบนได้ ทำให้เพดานถ้ำถล่มลงไป เกิดเป็นหลุมขึ้นมา หลุมยุบมีความสำคัญในการรับน้ำฝน ส่งเข้าสู่ระบบน้ำใต้ดิน


IMG_1384.JPG



๓. ร่องรอยแผ่นดินไหวและรอยเลื่อนขนาดเล็ก (Small fault)

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวมักจะมีการเลื่อนตัวของแผ่นดิน ร่องรอยแผ่นดินไหวจะพบในลักษณะแผ่นดิน หรือหินแยกออกจากกัน ความรุนแรงของแผ่นดินไหวจะปรากฏนอกจากการไหวสะเทือนระดับต่างๆ แล้ว ยังสามารถเห็นได้จากการบดขยี้เลื่อนออกจากกันของชั้นหิน

กล่าวได้ว่าในการเกิดแผ่นดินไหวครั้งหนึ่งๆ มักจะมีการเลื่อนตัวออกจากกัน ซึ่งอาจจะทิ้งร่องรอยไว้บนชั้นหิน การเลื่อนตัวจะปรากฏในชั้นดินชั้นหิน เป็นรอยเคลื่อนตัวบดขยี้แหลกเป็นทาง และจะเห็นได้ชัดคือ ความไม่ต่อเนื่องของชั้นดินชั้นหิน

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติรอยแยกของแผ่นดิน โพรงถ้ำ และหลุมยุบ และเบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (หน้า ๒๑-๒๕))


383.jpg



โพรงถ้ำ (Cave) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


โพรงถ้ำด้านนอก ปากถ้ำด้านตะวันออกของรอยหินแยก



IMG_1278.JPG



รอยแยกของแผ่นดิน (Natural Trench/Gut) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ร่องแผ่นดินแยก มีลักษณะเป็นแนวเรียบ ยาวประมาณ ๕๐ เมตร ลึกประมาณ ๘ เมตร กว้าง ๑.๕-๒.๕ เมตร มีหินหล่นลงไปจากด้านบนปิดร่องแยกเป็นบางตอน ทำให้มีลักษณะเป็นถ้ำ


391.jpg



โพรงถ้ำอีกด้าน ลึก ๘ เมตร (Cave hole 8 m depth) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


IMG_1290.JPG



หินถล่มปิดรอยแยกทำให้เกิดเป็นถ้ำ (Rock fall produced a cave) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ก้อนหินภายในถ้ำ มีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ด้วยเหตุนี้หลวงพ่อประสิทธิ์ จึงเรียกถ้ำนี้ว่า "ถ้ำหัวใจ"


IMG_1287.JPG



ผนังเรียบภายในรอยแยก (Smooth gut surface) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


IMG_1608.JPG


ถ้ำหัวใจ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

พระประสิทธิ์ จิตฺตทนฺโต ได้มาอยู่จำพรรษา ณ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ เดิมสถานที่นี้เป็นป่ารกร้าง ไม่มีน้ำและไฟฟ้าใช้ และท่านจำพรรษาอยู่ที่นี้เพียงรูปเดียว เพราะเนื่องจากท่านอยากกลับมาจำพรรษาที่บ้านเกิด

วันหนึ่งท่านได้เข้ามารอดในถ้ำหัวใจ เนื่องจากเคยเห็นลูกแก้วแสงสว่างไสวลอยออกมาจากถ้ำนี้ ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้สำนักสงฆ์แห่งนี้ มีน้ำและไฟฟ้าใช้ มีความเจริญรุ่งเรือง เพื่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การสักการบูชาของพุทธศาสนิกชน และความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาต่อไปในภายหน้า และนับจากวันนั้นเป็นต้นมา ได้มีสายธารบุญทยอยมาช่วยกันบูรณะและพัฒนาสถานที่แห่งนี้ให้กลายเป็นอุทยานหินล้านปี


IMG_1382.JPG


ส่วนน้ำใช้ภายในสำนักสงฆ์นั้น ท่านได้เดินขึ้นเขา เพื่อไปสร้างฝายกั้นน้ำห้วยลำธารบนยอดเขาลูกนี้ (ดูลูกศรชี้) และต่อท่อประปาลงมาใช้ที่สำนักสงฆ์

ท่านใช้เวลาเดินถือขวดบรรจุทรายข้างใน เพื่อขนทรายและปูนไปทำฝายกั้นน้ำวันละหนึ่งรอบ ใช้เวลาอยู่ ๕ วัน เมื่อต่อท่อประปาลงมาที่สำนักสงฆ์เสร็จแล้ว ก็เก็บน้ำไว้ที่ถังเก็บน้ำ ให้มีน้ำใช้ตลอดปี


394.jpg



แนวรอยแยกของแผ่นดิน (Natural Trench/Gut) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ


397.jpg



หลุมยุบ (Sink Hole) สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ที่เกิดจากด้านล่างเป็นโพรงถ้ำ และเพดานผนังด้านบนของถ้ำทรุดตัวหรือถล่มลงไป หินที่เคยเป็นเพดานถ้ำกองระเกะระกะในหลุม และยังมีโพรงหินที่น้ำสามารถจะไหลลงไปได้อย่างรวดเร็ว เมื่อฝนตก


IMG_1342.JPG



ปากโพรงของหลุมยุบ สำนักสงฆ์รอยพระพุทธหัตถ์ อุทยานหินฯ

ที่เกิดจากผนังด้านบนของถ้ำถล่มลงไป


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 03:44 , Processed in 0.112621 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.