แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 7633|ตอบ: 10
go

วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง) ม.๒ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

1.JPG



วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)

ม.๒ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

[พระบรมธาตุเจดีย์]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 12 ธันวาคม 2565)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9267.JPG



194.jpg



วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง) ตั้งอยู่กลางเมืองอำเภอแม่สะเรียง บนถนนแม่สะเรียง หมู่ที่ ๒ ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน



193.jpg



IMG_9277.JPG



ประตูทางเข้า วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)


ปิดประตู เวลา ๑๘.๓๐ น.



IMG_9571.JPG



IMG_9311.JPG



195.jpg



IMG_9569.JPG



IMG_9296.JPG



IMG_9299.JPG



IMG_9316.JPG



พระเจดีย์ทิศตะวันตก วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)


เป็นพระเจดีย์ทรงมอญเก่าแก่ อายุกว่า ๑๐๐ ปี สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9568.JPG



วิหารพระพุทธรูป
ทิศตะวันตก ศิลปะไทใหญ่ วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)


IMG_9557.JPG



IMG_9540.JPG



IMG_9547.JPG



IMG_9548.JPG



IMG_9554.JPG



พระพุทธรูปปางต่างๆ ศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์
ประดิษฐานภายในวิหารพระพุทธรูปทิศตะวันตก วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)


IMG_9555.JPG



IMG_9563.JPG



พระพุทธรูปไม้ ศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์ ประดิษฐานภายในวิหารพระพุทธรูปทิศตะวันตก วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)


IMG_9559.JPG



ขอเชิญร่วมทำบุญใส่บาตรพระประจำวันเกิด ภายใน
วิหารพระพุทธรูปทิศตะวันตก วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9353.JPG



IMG_9535.JPG



IMG_9528.JPG



IMG_9335.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)


เป็นพระเจดีย์ทรงมอญเก่าแก่ ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างในสมัยใด เดิมทีเป็นพระเจดีย์เก่าทรุดโทรมเหลือรูปทรงเพียงแค่ครึ่งองค์ ประดิษฐานผอบทองรูปเต่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ข้างใน ภายหลังทางวัดจึงได้ทำการบูรณะใหม่ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๙๙

--------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. หน้า ๖.)


IMG_9325.JPG



คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(ว่านะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ


IMG_9337.JPG



พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะพม่า ประดิษฐานภายในซุ้มจระนำ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)



IMG_9354.JPG



ประวัติวัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)



สำนักสงฆ์แห่งนี้ ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๘๑ โดยเฉพาะไทใหญ่และญาติโยมชนเผ่าไทใหญ่ที่อพยพมาจากต่างถิ่นและที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นดั้งเดิม พระไทใหญ่ได้ปกครองดูแลสำนักสงฆ์แห่งนี้

มาจนถึงปี พ.ศ.๒๔๓๑ เมืองยวมหลวง (มายลงจี มีความหมายว่า แร่ก้อนโต หรือที่เรียกขานในปัจจุบันว่า อำเภอแม่สะเรียง) ได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ ลุกลามไปจนถึงสำนักสงฆ์แห่งนี้ด้วย ญาติโยมชาวเมืองยวมหลวง จึงได้รวบรวมจิตศรัทธา และสละทรัพย์สินเงินทองสร้างสำนักสงฆ์แห่งนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ควบคุมการก่อสร้างโดย พระอาจารย์ส่างคำ (ภายหลังได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ให้เป็น พระครูอินต๊ะ หรือ พระครูอิ่งต๊ะ) พ่อเฒ่า สล่าน้อย เป็นนายช่างควบคุมการก่อสร้าง แล้วเสร็จเมื่อ วันพุธที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๙ ได้ตั้งชื่อสำนักสงฆ์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ว่า วัดจองสูง (จอง มีความหมายว่า สิ่งปลูกสร้างที่พระภิกษุสงฆ์อาศัยจำพรรษาอยู่) ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่อย่างเป็นทางการว่า วัดอุทธยารมณ์      

ที่ดินที่สร้างวัดแห่งนี้ ได้รับพระราชทานสถานที่ก่อสร้างทั้งหมดจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชทานด้วยจิตศรัทธาของพระองค์ เพื่อใช้เป็นสถานที่วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนพฤษภาคม ร.ศ.๑๓๕ (พ.ศ.๒๔๕๙)


--------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติวัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง))

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

197.jpg



IMG_9524.JPG



201.jpg



IMG_9342.JPG



IMG_9359.JPG



IMG_9373.JPG



IMG_9366.JPG



พระเจดีย์ทิศตะวันออก วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)

เป็นพระเจดีย์ ๗ ยอด เดิมเป็นที่ตั้งวิหาร ศิลปะไทใหญ่ หลังคาซ้อนเป็นชั้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปก่ออิฐ ๙ องค์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ.๒๔๓๑ ทำให้ไฟไหม้วิหารหมดทั้งหลัง เหลือเพียงองค์พระพุทธรูป ต่อมาจึงได้ทำการสร้างพระเจดีย์ครอบพระพุทธรูปทั้ง ๙ องค์ไว้

------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติวัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง) และเบ็ญจวรรณ รัตนเสถียร, กมลไชย คชชา และเสริมพงศ์ นวลงาม. เอกสารแนะนำอุทยานหินยุคออร์โดวิเชียน (๔๔๓-๔๘๘ ล้านปี) บ้านดงสงัด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. หน้า ๖.)


IMG_9401.JPG



รูปปั้นสิงห์ อยู่ภายในกำแพงแก้วล้อมรอบทั้งสี่ทิศ พระเจดีย์ทิศตะวันออก วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9403.JPG



วิหารพระพุทธรูปทิศตะวันออก ศิลปะไทใหญ่ วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)


IMG_9409.1.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ
ศิลปะพม่า ประดิษฐานภายในวิหารพระพุทธรูปทิศตะวันออก วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)


IMG_9412.JPG



IMG_9411.JPG



พระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่ององค์เล็ก ศิลปะพม่า ประดิษฐานภายใน
วิหารพระพุทธรูปทิศตะวันออก วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)


IMG_9413.JPG



IMG_9415.JPG



IMG_9420.JPG



IMG_9423.JPG



พระพุทธรูปปางมารวิชัย ๔ องค์ ศิลปะพม่า
ประดิษฐานภายในวิหารพระพุทธรูปทิศตะวันออก วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)


IMG_9424.JPG



ขอเชิญตีฆ้องใหญ่ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ท่านและครอบครัว ด้านหน้า
วิหารพระพุทธรูปทิศตะวันออก วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง) ได้

ฆ้องใบนี้ใช้มือลูบ คลำ ก็ดังก้องกังวาน  


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9370.JPG



IMG_9393.JPG



IMG_9523.JPG



ศาลาการเปรียญ ศิลปะไทใหญ่ วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)  



IMG_9290.JPG



ศาลาประชาสามัคคี วัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)



IMG_9510.JPG



IMG_9512.JPG



สถูปอัฐิพระอธิการเสน่ห์ นารโท อดีตเจ้าอาวาสวัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)

ชาตะ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๙ มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ อายุ ๗๐ ปี


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9444.JPG



หลังจากนั้น เราจะเดินไปวัดศรีบุญเรือง ซึ่งตั้งอยู่ติดกับวัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง) และมีทางเดินเชื่อมถึงกันต่อเลยนะคะ


205.jpg



ประวัติวัดศรีบุญเรือง



วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๒ ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่บริเวณจำนวน ๓ ไร่ ๒ งาน ๑๕ ตารางวา วัดนี้เดิมมีชื่อว่า จองหมากแกง (คำว่า หมากแกง แปลว่า มะขาม ตามภาษาไทใหญ่) เพราะมีต้นมะขามโบราณอยู่ สันนิษฐานว่าสร้างมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ ต่อมาสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อวัดทั่วประเทศเพื่อเข้าตามสมัยนิยม จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีบุญเรือง

วัดนี้เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบพม่าผสมไทใหญ่ โดยสังเกตจากสิ่งปลูกสร้างที่มีในบริเวณวัด โดยมีศาลาการเปรียญหลังใหญ่ ซึ่งก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ โดยแรงศรัทธาของคหบดีชาวไทใหญ่ในอำเภอแม่สะเรียงร่วมกันเป็นเจ้าภาพ โดยมีพระครูอนุสรณ์ศาสนเกียรติ (เส่งปาน) เป็นผู้นำก่อสร้าง


และต่อมาได้มีการก่อสร้างอุโบสถสถาปัตยกรรมแบบพม่า โดยมีขุนจันต๊ะ ตาวากูล พร้อมครอบครัว สร้างถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ เพื่อใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมพระภิกษุสงฆ์ในอำเภอแม่สะเรียง ต่อมาพระครูอนุสรณ์ศาสนเกียรติ (เส่งปาน) ได้ถึงแก่มรณภาพลงไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ พระครูอนุศาสน์ปุญญาทร (คำน้อย) ได้ดูแลปฏิสังขรณ์เสนาสนะมาโดยตลอด จนถึง พ.ศ.๒๕๓๗ พระครูอนุศาสน์ปุญญาทร (คำน้อย) ได้ถึงแก่มรณภาพ

พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ (เขมรินทร์) ได้รับหน้าที่ดูแลวัดต่อมาจนถึงปัจจุบัน และได้ร่วมกับญาติโยมชาวพุทธในอำเภอแม่สะเรียงและต่างจังหวัด ได้ร่วมบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะภายในวัด และได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมธีรราชมหามุนี ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรในอำเภอแม่สะเรียงและอำเภอใกล้เคียง

ต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ทางวัดได้รับความอนุเคราะห์จาก ม.ร.ว.สุรธวัช ศรีธวัช พร้อมครอบครัว และบุตร-ธิดา-หลาน ตระกูลทองสวัสดิ์ ได้สร้างศาลาปฏิบัติธรรม พร้อมพระพุทธรูปหยกขาวองค์ใหญ่ ถวายเป็นพุทธบูชา และหอประชุม จำนวน ๑ หลัง เพื่อใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมและกิจกรรมทางพุทธศาสนา

วัดศรีบุญเรือง จึงเป็นวัดที่มีความสำคัญวัดหนึ่งในอำเภอแม่สะเรียง และใช้เป็นที่ต้อนรับอาคันตุกะที่มาเยี่ยมเยือน โดยเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๖ ทางราชการได้ใช้วัดศรีบุญเรืองเป็นสถานที่รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดชฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมพสกนิกรชาวอำเภอแม่สะเรียง

วัดศรีบุญเรืองได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและญาติโยมทั้งในอำเภอแม่สะเรียงและต่างจังหวัด ให้วัดอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการจัดงานปอยส่างลอง (บรรพชาสามเณร) แบบไทใหญ่ขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เป็นประจำทุกปี โดยเริ่มงานประมาณอาทิตย์ต้นเดือนเมษายนของทุกปี

ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๖) มีพระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติวัดศรีบุญเรือง)



IMG_9442.JPG



IMG_9482.JPG



IMG_9454.JPG



อุโบสถ วัดศรีบุญเรือง

มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพม่าผสมสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่ ศรัทธา นายจันต๊ะ นางคำแสน บุตร บุตรี ตาวากูล สร้างถวาย เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9460.JPG



IMG_9469.JPG



IMG_9456.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในอุโบสถ วัดศรีบุญเรือง



IMG_9473.JPG



พระพุทธรูปประธาน ศิลปะพม่า สมัยมัณฑะเลย์ ประดิษฐานภายในอุโบสถ วัดศรีบุญเรือง



IMG_9476.JPG



พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมพสกนิกรชาวอำเภอแม่สะเรียง ณ วัดศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๖


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9484.JPG



IMG_9497.JPG



พระพุทธรูปหยกขาวทรงเครื่อง ศิลปะพม่า วัดศรีบุญเรือง


IMG_9498.JPG



IMG_9500.JPG



ศาลพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) และลูกศิษย์กิมท้ง เง็กนึ่ง วัดศรีบุญเรือง


IMG_9503.JPG



พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ วัดศรีบุญเรือง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 01:39 , Processed in 0.071587 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.