แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: Mr_Romeo
go

วัดมหาวัน ม.๓ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8


Picture-361.jpg


กุฏิรัฐพัฒนา วัดมหาวัน สร้างเมื่อพ.ศ.๒๕๒๒ ครับ


Picture-363.jpg



กุฏิกรุงเทพฯ สามัคคี วัดมหาวัน ครับ


Picture-356.jpg


ศาลาเอนกประสงค์ SML ชุมชนมหาวัน และศาลาธรรมนิเทศประชาสามัคคี (จากด้านหน้า-หลัง) วัดมหาวัน ครับ



Rank: 8Rank: 8

Picture-374.jpg



คำบูชาพระรอด พระเจดีย์ วัดมหาวัน ครับ

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) อิมัง พุทธะสักขีปะฏิมัง อะภิปูชะยามะ อะยัง พุทธะสักขีปะฏิมายะ ปูชะนัสสะ อานิสังโส อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุฯ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระพุทธสักขีปฏิมา (พระรอด) และพระเจดีย์อันประเสริฐ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพานแม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



Rank: 8Rank: 8

Picture-368.jpg


Picture-367.jpg



Picture-378.jpg



ซุ้มพระรอด พระเจดีย์ วัดมหาวัน ครับ

เจ้าภาพสร้างซุ้มพระรอด คือ พระวิสันต์ กันตสิริ (สงวนศิลป์) คุณณรงค์ เลติกุล จ.นครศรีธรรมราช และ MR.LEE THIAM TIO มาเลเซีย



Rank: 8Rank: 8

  

Picture-365.jpg


Picture-375.jpg


พระเจดีย์องค์ใหญ่สร้างครอบฐานพระเจดีย์องค์เดิม ประดิษฐานด้านหลัง วิหาร วัดมหาวัน ครับ   

วัดมหาวันเป็นวัดกษัตริย์สร้าง        ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์
วัดมหาวันจะตั้งอยู่ยั่งยืนยาวนาน    ตลอดกาลห้าพันวสาพระโคดม



Picture-373.jpg



ประวัติวัดมหาวัน

วัดมหาวัน สร้างขึ้นราวพ.ศ.๑๒๐๐ เศษ พระแม่เจ้าจามเทวีเสวยราชเป็นปฐมกษัตริย์ครองเมืองหริภุญชัย หรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน ได้โปรดชักชวนอาณาประชาราษฎร์ร่วมกันสร้างวัดขึ้นสี่มุมเมือง เพื่อเป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์ที่อาราธนามาจากรุงละโว้ (ลพบุรี) วัดมหาวัน เป็น ๑ ใน ๔ วัดที่สร้างเป็นพระอารามหลวงในสมัยนั้น เรียกชื่อว่า วัดมหาวนาราม ตั้งอยู่ประตูเมืองด้านตะวันตก หมู่บ้านนี้จึงมีชื่อเรียกว่า บ้านประตูมหาวัน โดยพระแม่เจ้าจามเทวีเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก และได้อัญเชิญพระพุทธรูปนาคปรกหรือพระดิลกคำจากเมืองละโว้มาไว้ที่วัดนี้ ชาวเมืองเรียกว่า พระรอดหลวง หรือพระรอดลำพูน  ซึ่งต่อมาได้เป็นแบบพิมพ์จำลองพระเครื่องที่ลือชื่อกรุหนึ่งชื่อ พระรอดมหาวัน

วัดมหาวันได้เจริญรุ่งเรืองมาหลายชั่วกษัตริย์จนเมื่อสิ้นสุดรัชสมัยพระแม่เจ้าจามเทวี วัดวาอารามขาดการทำนุบำรุงจึงได้ร่วงโรยไปตามกาลสมัย และร้างไปชั่วระยะหนึ่งเพราะศึกสงคราม จนสมัยพระยาสรรพสิทธิ์โอรสของพระยารถราชได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดนี้เมื่อพ.ศ.๑๖๒๐ ได้มีการซ่อมแซมและสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่องค์หนึ่ง

จนล่วงเลยมาถึงพ.ศ.๒๔๐๐ สมัยท่านครูบาอุปนันท์เป็นเจ้าอาวาสจึงได้ทำนุบำรุงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และเจริญขึ้นตามลำดับจนถึงพ.ศ.๒๔๕๐ ถึงพ.ศ.๒๔๗๓ ท่านเจ้าคุณพระญาณมงคล (ฟู) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดและเจ้าอาวาส การพัฒนาทุกด้านจึงเจริญขึ้นตามลำดับ เป็นที่ตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแห่งแรกของจังหวัดลำพูน ถาวรวัตถุของวัดสิ่งปลูกสร้างเก่าแก่สมัยพระแม่เจ้าจามเทวีที่เหลือหลักฐานคือฐานเจดีย์ที่บรรจุพระรอดอยู่ด้านหลังพระวิหาร ด้านในพระเจดีย์องค์ปัจจุบันที่ก่อครอบฐานพระเจดีย์องค์เดิมที่ได้ปรักหักพังลง พระรอดจึงกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณวัด

สักขีพยานของพระรอดยังปรากฏเป็นปูชนียสถานที่ล้ำค่าที่พระแม่เจ้าจามเทวีได้พระราชาทานจากพระราชบิดา (พระเจ้าลพราช) มาเป็นสิริมงคลและเป็นสักขีพยานในการขึ้นครองเมือง ชาวบ้านชาวเมืองเรียกพระองค์นี้ว่า พระรอดหลวง หรือแม่พระรอด ต่อมาพระแม่เจ้าจามเทวีได้โปรดให้ฤาษีนารอด (นารท) เป็นผู้จัดสร้างพระขึ้นมา เรียกตามชื่อฤาษีว่า พระรอด เมื่อสร้างเสร็จส่วนหนึ่งบรรจุในพระเจดีย์องค์เดิมที่อยู่ด้านหลังพระวิหาร ปัจจุบันส่วนหนึ่งนำออกมาแจกจ่ายให้ไพร่ฟ้าประชาชน และเพื่อคุ้มครองบ้านเมืองให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขปลอดภัยจากข้าศึกศัตรู  ปัจจุบันจึงมีผู้หาไว้ติดตัวเพื่อไว้สักการบูชา


Rank: 8Rank: 8

Picture-419.jpg



Picture-426.jpg



พระรอดหลวง (พระพุทธสิกขีปฏิมากร) ประดิษฐานภายใน วิหาร บนแท่นแก้วหน้าพระประธาน วัดมหาวัน หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว สูง ๓๖ นิ้ว อายุ ๑,๓๐๐ กว่าปี เป็นพระรอดหลวงสมัยพระแม่เจ้าจามเทวี สร้างจากหินทรายดำ (
หินกาฬศิลา) ปัจจุบันเททองทับด้านหน้าองค์พระรอด เลยกลายเป็นพระใหม่ ยังเหลือด้านหลังได้เห็นเป็นของเดิมบ้าง โดยเรียกชื่อพระรอดองค์นี้ว่า “พระพุทธสิกขีปฏิมากร” เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองลำพูนมาจนถึงปัจจุบันนี้ครับ


Picture-421.jpg



ประวัติวัดมหาวัน

(แหล่งที่มา : พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๙ กรกฎาคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๒ (พิมพ์ครั้งที่ ๑).  กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๒๑๙-๒๒๐.)


วัดมหาวัน ซึ่งเป็นวัดสำคัญมาแต่อดีตสมัยพระแม่เจ้าจามเทวี ครองนครหริภุญชัย ตามประวัติเล่าว่า พระแม่เจ้าฯ ได้ทรงสร้างมหาอารามไว้ ๕ แห่ง


๑. อรัญญิกรัมมาราม อยู่ด้านตะวันออก           ปัจจุบันเรียกว่า  วัดดอนแก้ว

๒. มูลการาม           อยู่ทางทิศใต้                ปัจจุบันนี้เรียก   วัดรมณียาราม (วัดกู่ละมัก)
๓. อาพัทธาราม       อยู่ทางด้านทิศเหนือ       ปัจจุบันเรียก     วัดพระคงฤาษี
๔. มหาลดาราม       อยู่ทางทิศใต้                สมัยนี้เรียกว่า    วัดประตูลี้
๕. มหาวนาราม        อยู่ทางด้านทิศตะวันตก  ปัจจุบันเรียกว่า   วัดมหาวัน

ต่อมาท่านวาสุเทพฤาษีและท่านสุกันตฤาษีเห็นว่าหริภุญชัยนครนี้มีสตรีเป็นเจ้าผู้ครองนคร ต่อไปอาจจะมีภัยทั้งภายนอกและภายใน จึงคิดทำเครื่องรางของขลังเพื่อไว้เป็นที่สักการบูชาป้องกันรักษาบ้านเมือง จึงผูกอาถรรพ์ตรงใจกลางเมืองแล้วจัดหาดินของเมืองทั้งสี่ทิศพร้อมด้วยว่าน ๑,๐๐๐ ชนิด และเกสรดอกไม้มาผสมเข้าด้วยกันกับเวทย์มนต์คาถา แล้วจัดสร้างเป็นพระผงขึ้น ๒ ชนิด เรียกว่า “พระคง” และ “พระรอด” แล้วนำพระคงไปบรรจุไว้ที่วัดพระคงฤาษี

ส่วนพระรอดก็นำมาบรรจุไว้ใจกลางเมืองคือ วัดมหาวนาราม (มหาวัน) วัดนี้จึงถือว่าเป็นพระอารามหลวงในสมัยพระแม่เจ้าฯ ต่อมาพระเจดีย์อันเป็นที่บรรจุพระรอดก็ปรักหักพังลง พระรอดจึงได้กระจัดกระจายไปในที่ต่างๆ จนเป็นที่แพร่หลายในสมัยนี้

แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ พระรอดเก่าแก่องค์หนึ่งที่ยังเหลือ ได้แก่พระรอดหลวง หรือคนทั่วไปชอบเรียกว่า แม่พระรอด พระรอดหลวงนี้เป็นหินแกะสลัก หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว สูง ๑๖ นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหาร บนแท่นแก้วที่หน้าพระประธาน โดยมีงาช้างครอบอยู่ทั้งสองข้าง

พระพุทธรูปองค์นี้ขุดได้จากพื้นดินพร้อมกับโบราณวัตถุอื่นๆ เช่น ศิลาแลงจารึกอักษรขอม เป็นต้น จึงเป็นโบราณวัตถุชิ้นเดียวที่มีอยู่ในวัดมหาวันจนถึงปัจจุบันนี้ นับว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญคู่วัดมหาวันและคู่บ้านเมืองลำพูน ชื่อจริงก็คือ พระพุทธสิกขีปฏิมากร ทำด้วยหินดำดังปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชินกาลาลีปกรณ์ ว่า

“สมัยหนึ่ง องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จมาประทับนั่งบนก้อนหินดำก้อนหนึ่ง ทางด้านฝั่งตะวันตกแม่น้ำ ไม่ไกลจากอโยชปุระ (อยุธยา) เพื่อตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลายชื่อว่า “ทารุกขันธูปสูตร”

ตั้งแต่บัดนั้นมา หินดำก้อนนี้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายกราบไหว้บูชาเป็นนิจ จนกระทั่งมีพระราชาธิราชองค์หนึ่งในเมืองรามัญได้โปรดให้ช่างแกะสลักหินก้อนนี้ให้เป็นพระพุทธรูปจำนวน ๕ องค์ แล้วถวายไปตามพระนครต่างๆ เช่น ละโว้ (ลพบุรี) เป็นต้น”


และในประวัติของวัดมหาวัน เล่าว่า ในสมัยพระแม่เจ้าจามเทวี ได้อัญเชิญพระพุทธสิกขีปฏิมากรขึ้นมาจากเมืองละโว้


ด้วยเหตุนี้ ท่านฤาษีทั้งสองจึงได้ทำพระรอดและพระคงด้วยแบบพิมพ์จากพระรอดหลวง หรือ พระพุทธสิกขีปฏิมากร องค์นี้เพราะเป็นก้อนหินที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งนั่นเอง


Rank: 8Rank: 8

Picture-351.jpg



วิหาร วัดมหาวัน ครับ
  

Picture-424.jpg


พระพุทธรูป (พระประธาน) ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดมหาวัน ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-343.jpg



Picture-344.jpg



วัดมหาวัน ตั้งอยู่เลขที่ ๒ ถนนจามเทวี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ.๒๕๒๐ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ


Picture-345.jpg



คำขวัญของวัดมหาวัน คือ พัฒนาวัด จัดวัตถุ ระบุธรรม สัมมนาบุคคล ฯ


Picture-346.jpg



ประตูทางเข้า วัดมหาวัน



‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 03:34 , Processed in 0.041959 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.