แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 18453|ตอบ: 21
go

วัดพระยืน ม.๑ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน (พระยืนศิลา) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-264.jpg



วัดพระยืน  

ม.๑  ต.เวียงยอง  อ.เมือง  จ.ลำพูน

[พระยืนศิลา]


----------------------


(กำลังรอแก้ไขข้อมูล : มีนาคม 2566)



วัดพระยืน มีชื่อเดิมว่า “วัดอรัญญิการาม” มีฐานะเป็นวัดประจำทิศตะวันออกในบรรดา “วัดสี่มุมเมือง” ที่พระแม่เจ้าจามเทวีทรงโปรดสร้างขึ้นในพ.ศ.๑๒๑๓ เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสังฆเถระที่ติดตามมาจากเมืองละโว้ ในช่วงเวลาแรกๆ ของการเสด็จขึ้นครองหริภุญชัย โดยในครั้งนั้นได้ทรงสร้างวิหาร พระพุทธรูป และเสนาสนะขึ้นภายในวัดด้วย


เมื่อพ.ศ.๑๖๐๖ พระเจ้าอาทิตยราชครองนครหริภุญชัย ได้ทรงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปสำริดประทับยืนสูง ๑๘ ศอก หรือพระอัฏฐารสขึ้น และโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ด้านหลังพระวิหารวัดอรัญญิกกรัมมาการาม ทรงสร้างปราสาทสถูปประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น แล้วเรียกชื่อว่าวัด “พุทธาราม”

ในพ.ศ.๑๙๑๓
ครั้งพระเจ้ากือนาครองเมืองเชียงใหม่ ได้ทรงนิมนต์สุมนเถระจากกรุงสุโขทัยขึ้นมาเผยแผ่พระพุทธศาสนารามัญวงศ์ (ลังกาวงศ์เก่า) ยังล้านนา โดยโปรดให้พำนักอยู่ที่วัดพระยืน ในครั้งนั้นได้ทรงปฏิสังขรณ์องค์พระพุทธรูปที่พระเจ้าอาทิตยราชสร้างขึ้น และได้สร้างพระพุทธรูปอีก ๓ องค์ ประดิษฐานในทิศทั้ง ๓ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศใต้ และสร้างมณฑปองค์ใหม่ด้วย ร่องรอยจากนิราศหริภุญชัยซึ่งรจนาโดยกวีชั้นสูงในราชสำนักเชียงใหม่ราวพ.ศ.๒๐๖๐ พบว่าเจดีย์ที่สร้างขึ้นในครั้งนั้นเป็นเจดีย์ทรงมณฑป มีโขงโล่งทะลุถึงกันทั้ง ๔ ด้าน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ๔ องค์ ซึ่งหมายความถึงอดีตพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคม พระกัสสปะ และพระสมณโคดม

พระสุมนเถระพำนักอยู่ที่วัดพระยืนจนพ.ศ.๑๙๑๖ พระเจ้ากือนาจึงทรงอาราธนาไปพำนักอยู่ที่วัดสวนดอกฝั่งตะวันตกของนครเชียงใหม่ จวบจนกระทั่งเมืองลำพูนและล้านนาทั้งปวงตกอยู่ใต้การปกครองของพม่า วัดพระยืนและชุมชนบริเวณนี้ถูกทิ้งร้างไปเนื่องจากความวุ่นวายของบ้านเมืองยามสงคราม จนพ.ศ.๒๓๔๙ พระยาคำฝั้นได้นำไพร่พลจากเมืองยองมาตั้งมั่นอยู่ในจังหวัดลำพูน โดยเฉพาะบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวงในเขตตำบลเวียงยองในปัจจุบัน เมืองลำพูนและชุมชนวัดพระยืนจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ในพ.ศ.๒๔๔๓
พระคันธวงค์เถระ (ครูบาวงศ์) ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูศีลวิลาส เจ้าคณะแขวงจังหวัดลำพูน และเจ้าอินทยงยศโชติผู้ครองเมืองลำพูนในขณะนั้น (พ.ศ.๒๔๓๘-๒๔๕๔) ได้ออกแบบก่อสร้างเจดีย์วัดพระยืนขึ้นอีกครั้ง มีหนานอุปประบ้านสันต้นธงและหนานอายุเป็นผู้ช่วยในการควบคุมการก่อสร้าง โดยมีชาวลัวะจากบ้านศรีเตี้ย ตำบลหนองล่อง เป็นแรงงานสำคัญ โดยการบูรณะในครั้งนั้นได้ก่ออิฐครอบองค์พระพุทธรูปเดิมไว้ภายใน และเพิ่มความสูงส่วนฐานของเจดีย์พร้อมปั้นพระพุทธรูปประดับในซุ้มจระนำทั้ง ๔ ด้านขึ้นใหม่และตกแต่งด้วยศิลปะพม่าแบบพุกามดังปรากฏในปัจจุบัน

ในพ.ศ.๒๕๔๘-๒๕๔๙ กรมศิลปากรจึงได้ทำการบูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์เจดีย์วัดพระยืนขึ้น แต่ในระหว่างปฏิบัติงานได้พบแนวอิฐโบราณสถานใต้ชั้นดินหลายจุด สำนักงานศิลปากรที่ ๘ จึงได้ระงับการปรับปรุงภูมิทัศน์พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการงานปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บางส่วนเป็นงานขุดแต่งทางโบราณคดี โดยหลังการขุดแต่งได้พบอาคารโบราณสถานและโบราณวัตถุสำคัญหลายประการที่แสดงให้เห็นว่าวัดพระยืนนี้สร้างในสมัยอาณาจักรหริภุญชัยมีความสำคัญในฐานะเป็นสถานที่ประดิษฐานพุทธศาสนาของอาณาจักรหริภุญชัยสืบมาจนถึงล้านนาและปัจจุบัน สอดคล้องกับเอกสารตำนานฉบับต่างๆ และศิลาจารึกวัดพระยืน



Rank: 8Rank: 8

Picture-003.jpg


ประตูทางเข้า/ออก วัดพระยืน ครับ

วัดพระยืน ตั้งอยู่บ้านพระยืน เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นวัดประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดลำพูน และเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองแห่งนครหริภุญชัย สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระแม่เจ้าจามเทวีเป็นปฐมกษัตริย์ครอบครองนครหริภุญชัยองค์ที่ ๑ นับอายุปัจจุบันได้ ๑๓๒๘ ปี (นับจากพ.ศ.๒๕๕๑)

ในอดีตวัดพระยืนเคยรุ่งเรืองมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของเมืองหริภุญชัย ด้วยวัดพระยืนเป็นวัดสำคัญทางทิศตะวันออกของเมือง มีบ้านเรือนศรัทธาผู้อุปัฏฐากประมาณ ๗๐ หลังคาเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา พระภิกษุที่จำพรรษาที่วัดนี้ส่วนใหญ่มาจากถิ่นอื่นเพื่อพำนักศึกษาเล่าเรียน โบราณสถานที่สำคัญในวัดพระยืนได้แก่ เจดีย์วัดพระยืน



การเดินทางไปวัดพระยืน ดูข้อมูลแผนที่จากเว็บ google ได้ตามลิงค์นี้ครับ

https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99/@18.575999,99.020166,17z/data=!3m1!4b1!4m2!3m1!1s0x30dbd2a446261b77:0x8f3f2f8f978e6233?hl=th



Picture-012.jpg



รูปปั้นช้าง ประดับประตูทางเข้า/ออก วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-094.jpg


Picture-113.jpg



รูปพระสีวลีมหาเถระ วัดพระยืน ครับ


คำอาราธนาพระสีวลีมหาเถระ
(กล่าวนะโม ๓ จบ) สีวะลี  จะ  มหาเถโร  เทวะตานะระปูชิโต  โสระโห  ปัจจะยา  ทิมหิ  สีวะลี  จะ  มหาเถโร  ยักขา เทวาภิปูชิโต  โสระโห  ปัจจะยา  ทิมหิ  อะหังวันทามิ  ตังสะทา



Rank: 8Rank: 8

Picture-149.jpg


ศาลา วัดพระยืน ครับ


Picture-161.jpg



Picture-163.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ศาลา วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-197.jpg


หอเสื้อวัด วัดพระยืน ครับ


Picture-072.jpg


ศาลาปฏิบัติธรรมพระราชพรหมจริยาจารย์ วัดพระยืน สร้างเมื่อพ.ศ.๒๕๔๘ ครับ


Picture-210.jpg


ศาลา วัดพระยืน สร้างเมื่อพ.ศ.๒๕๒๒ ครับ


Picture-188.jpg


กุฏิสงฆ์ วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8


Picture-242.jpg


พิพิธภัณฑ์ วัดพระยืน ครับ


Picture-244.jpg



ศาลา วัดพระยืน ครับ


Picture-246.jpg


ศาลาบาตร วัดพระยืน ครับ



Picture-326.jpg



หอระฆัง วัดพระยืน ครับ


Picture-249.jpg



สำนักงานมูลนิธิมงคลญาณมุณีนุสรณ์ วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-310.jpg


Picture-311.jpg



วิหาร วัดพระยืน ครับ


Picture-298.jpg


Picture-299.jpg


พระพุทธรูปประธาน และพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดพระยืน ครับ


Picture-300.jpg



Picture-302.jpg


รูปปั้นพระสุเทวฤาษี ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-251.jpg


Picture-253.jpg



อุโบสถ วัดพระยืน ครับ


Picture-252.jpg


รูปปั้นสิงห์คู่ และเศียรพญานาค ประดับกำแพงแก้ว ทางเข้า/ออก อุโบสถ วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-314.jpg


Picture-316.jpg



Picture-318.jpg



พระพุทธรูปประธาน (สีทององค์ใหญ่) พระพุทธศักยมุนีศรีหริภุญไชย (สีดำองค์เล็ก) และพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายใน อุโบสถ วัดพระยืน ครับ   


Picture-315.jpg



Picture-322.jpg



รอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานด้านข้าง พระประธาน ภายใน อุโบสถ วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-214.jpg


รูปภาพพระพุทธศักยมุนีศรีหริภุญไชย วัดพระยืน ครับ  


ประวัติพระพุทธศักยมุนีศรีหริภุญไชย วัดพระยืน ในวันจันทร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือวันมาฆบุรณมี สำนักงานศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่ ได้ขุดตรวจโครงสร้างฐานรากภายในพระเจดีย์ศิลปะสุโขทัยได้พบชิ้นส่วนพระพุทธรูปและพระพิมพ์ในศิลปะหริภุญชัย สอดคล้องกับข้อความในตำนานและศิลาจารึกวัดพระยืน จึงเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัดพระยืนต่อการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสมัยอาณาจักรหริภุญชัยและล้านนา

คณะสงฆ์และประชาชนจังหวัดลำพูน พร้อมทั้งส่วนราชการและองค์กรต่างๆ ในจังหวัดลำพูน ได้บังเกิดแรงศรัทธาอย่างยิ่งในการสืบทอดงานพุทธศิลป์ของอาณาจักรหริภุญชัย เพื่อให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้สักการบูชา ประกอบกับในปีพ.ศ.๒๕๕๐ นี้ ถือเป็นปีมหามงคล เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา ๘๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางคณะกรรมการจึงเล็งเห็นว่าเพื่อให้ชาวจังหวัดลำพูนได้แสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ จึงเห็นควรให้มีการจัดสร้างพระพุทธศักยมุนีศรีหริภุญไชย ขนาดหน้าตักกว้าง ๘๙ นิ้ว เพื่อน้อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในคราวเดียวกัน

พุทธประติมาพระพุทธศักยมุนีศรีหริภุญไชย
พระพุทธศักยมุนีศรีหริภุญไชย เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชรแสดงปางมารวิชัยบนปัทมบัลลังก์ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้พระธรณีครองจีวรห่มคลุม พระพักตร์ค่อนข้างสี่เหลี่ยม พระขนงโก่งโค้งต่อกันเป็นปีกกา ขอบพระเนตรหลุบต่ำ พระโอษฐ์แย้มสรวลเล็กน้อย มีไรพระมัสสุ พระนลาฏกว้างมีขอบไรพระศกเป็นหนาเม็ดพระศกเวียนทักษิณวัตร พระเกตุมาลาเป็นดอกบัวตูม พระกรรณยาวจรดพระอังสา ตามลักษณะมหาปุริสลักษณะ

พระพุทธประวัติตอนผจญมาร
ครั้งพระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ มีพญาวัสดีมารพร้อมด้วยไพร่พลจำนวนมาก ใช้ฤทธิมาร ๙ ประการขัดขวางไม่ให้สำเร็จพระโพธิญาณ แต่พระโพธิสัตว์ทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาชี้ลงพระธรณีเพื่อเรียกพระแม่ธรณีเป็นพยานว่าพระองค์ได้สั่งสมบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ คือทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา มากเพียงพอที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติปัจจุบัน พระแม่ธรณีจึงสำแดงร่างบีบมวยผมหลั่งน้ำที่พระโพธิสัตว์เคยทรงหลั่งเพื่อบำเพ็ญพระบารมีในอดีตชาติ กลายเป็นกระแสน้ำท่วมพญามารและเหล่าไพร่พลปลาสนาถไปจนหมดสิ้น พระโพธิสัตว์จึงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในราตรีนั้น อุปมาโดยนัย พญามารและบริวารเปรียบเสมือนตัวแทนของกิเลสที่รุมเร้าขัดขวางพระโพธิญาณ เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงชนะมารจนสำเร็จ จึงเป็นการอุบัติขึ้นแห่งพุทธศาสนาในกัปนี้ เป็นมูลเหตุแห่งความนิยมในการสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นประธานในศาสนสถานสืบมา


หมายเหตุ
พระพุทธศักยมุนีศรีหริภุญไชยนี้ ร่างต้นแบบโดยนายผสม นาระต๊ะ งานอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรมที่กรมศิลปากร ปั้นองค์พระต้นแบบโดยบ้านสวนไม้ไทย ริมปิง ตรวจสอบโดยสำนักงานศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่



‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-23 00:58 , Processed in 0.049896 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.