แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 18421|ตอบ: 21
go

วัดพระยืน ม.๑ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน (พระยืนศิลา) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-264.jpg



วัดพระยืน  

ม.๑  ต.เวียงยอง  อ.เมือง  จ.ลำพูน

[พระยืนศิลา]


----------------------


(กำลังรอแก้ไขข้อมูล : มีนาคม 2566)



วัดพระยืน มีชื่อเดิมว่า “วัดอรัญญิการาม” มีฐานะเป็นวัดประจำทิศตะวันออกในบรรดา “วัดสี่มุมเมือง” ที่พระแม่เจ้าจามเทวีทรงโปรดสร้างขึ้นในพ.ศ.๑๒๑๓ เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสังฆเถระที่ติดตามมาจากเมืองละโว้ ในช่วงเวลาแรกๆ ของการเสด็จขึ้นครองหริภุญชัย โดยในครั้งนั้นได้ทรงสร้างวิหาร พระพุทธรูป และเสนาสนะขึ้นภายในวัดด้วย


เมื่อพ.ศ.๑๖๐๖ พระเจ้าอาทิตยราชครองนครหริภุญชัย ได้ทรงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปสำริดประทับยืนสูง ๑๘ ศอก หรือพระอัฏฐารสขึ้น และโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ด้านหลังพระวิหารวัดอรัญญิกกรัมมาการาม ทรงสร้างปราสาทสถูปประดิษฐานพระพุทธรูปนั้น แล้วเรียกชื่อว่าวัด “พุทธาราม”

ในพ.ศ.๑๙๑๓
ครั้งพระเจ้ากือนาครองเมืองเชียงใหม่ ได้ทรงนิมนต์สุมนเถระจากกรุงสุโขทัยขึ้นมาเผยแผ่พระพุทธศาสนารามัญวงศ์ (ลังกาวงศ์เก่า) ยังล้านนา โดยโปรดให้พำนักอยู่ที่วัดพระยืน ในครั้งนั้นได้ทรงปฏิสังขรณ์องค์พระพุทธรูปที่พระเจ้าอาทิตยราชสร้างขึ้น และได้สร้างพระพุทธรูปอีก ๓ องค์ ประดิษฐานในทิศทั้ง ๓ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศใต้ และสร้างมณฑปองค์ใหม่ด้วย ร่องรอยจากนิราศหริภุญชัยซึ่งรจนาโดยกวีชั้นสูงในราชสำนักเชียงใหม่ราวพ.ศ.๒๐๖๐ พบว่าเจดีย์ที่สร้างขึ้นในครั้งนั้นเป็นเจดีย์ทรงมณฑป มีโขงโล่งทะลุถึงกันทั้ง ๔ ด้าน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ๔ องค์ ซึ่งหมายความถึงอดีตพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคม พระกัสสปะ และพระสมณโคดม

พระสุมนเถระพำนักอยู่ที่วัดพระยืนจนพ.ศ.๑๙๑๖ พระเจ้ากือนาจึงทรงอาราธนาไปพำนักอยู่ที่วัดสวนดอกฝั่งตะวันตกของนครเชียงใหม่ จวบจนกระทั่งเมืองลำพูนและล้านนาทั้งปวงตกอยู่ใต้การปกครองของพม่า วัดพระยืนและชุมชนบริเวณนี้ถูกทิ้งร้างไปเนื่องจากความวุ่นวายของบ้านเมืองยามสงคราม จนพ.ศ.๒๓๔๙ พระยาคำฝั้นได้นำไพร่พลจากเมืองยองมาตั้งมั่นอยู่ในจังหวัดลำพูน โดยเฉพาะบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวงในเขตตำบลเวียงยองในปัจจุบัน เมืองลำพูนและชุมชนวัดพระยืนจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ในพ.ศ.๒๔๔๓
พระคันธวงค์เถระ (ครูบาวงศ์) ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูศีลวิลาส เจ้าคณะแขวงจังหวัดลำพูน และเจ้าอินทยงยศโชติผู้ครองเมืองลำพูนในขณะนั้น (พ.ศ.๒๔๓๘-๒๔๕๔) ได้ออกแบบก่อสร้างเจดีย์วัดพระยืนขึ้นอีกครั้ง มีหนานอุปประบ้านสันต้นธงและหนานอายุเป็นผู้ช่วยในการควบคุมการก่อสร้าง โดยมีชาวลัวะจากบ้านศรีเตี้ย ตำบลหนองล่อง เป็นแรงงานสำคัญ โดยการบูรณะในครั้งนั้นได้ก่ออิฐครอบองค์พระพุทธรูปเดิมไว้ภายใน และเพิ่มความสูงส่วนฐานของเจดีย์พร้อมปั้นพระพุทธรูปประดับในซุ้มจระนำทั้ง ๔ ด้านขึ้นใหม่และตกแต่งด้วยศิลปะพม่าแบบพุกามดังปรากฏในปัจจุบัน

ในพ.ศ.๒๕๔๘-๒๕๔๙ กรมศิลปากรจึงได้ทำการบูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์เจดีย์วัดพระยืนขึ้น แต่ในระหว่างปฏิบัติงานได้พบแนวอิฐโบราณสถานใต้ชั้นดินหลายจุด สำนักงานศิลปากรที่ ๘ จึงได้ระงับการปรับปรุงภูมิทัศน์พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการงานปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บางส่วนเป็นงานขุดแต่งทางโบราณคดี โดยหลังการขุดแต่งได้พบอาคารโบราณสถานและโบราณวัตถุสำคัญหลายประการที่แสดงให้เห็นว่าวัดพระยืนนี้สร้างในสมัยอาณาจักรหริภุญชัยมีความสำคัญในฐานะเป็นสถานที่ประดิษฐานพุทธศาสนาของอาณาจักรหริภุญชัยสืบมาจนถึงล้านนาและปัจจุบัน สอดคล้องกับเอกสารตำนานฉบับต่างๆ และศิลาจารึกวัดพระยืน



Rank: 1

สวยงามด้วยแรงศรัทธาครับ

Rank: 8Rank: 8

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        •  วัดพระยืน อ.เมือง จ.ลำพูน
        •  แม่ชีท่านหนึ่ง (ไม่ทราบชื่อ) วัดพระยืน อ.เมือง จ.ลำพูน
        •  คุณจักรพงษ์ คำบุญเรือง. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://region3.prd.go.th/prlpn/tour5.htm. (วันที่ค้นข้อมูล : ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒)
        •  เว็บ kanchanapisek. จารึกวัดพระยืน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://kanchanapisek.or.th/kp8/lpo/lpo603a.html. (วันที่ค้นข้อมูล : ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒)
        •  และทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญครั้งนี้

หมายเหตุ   
ถ้าหากผมพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ผมขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ผมด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทาน


Rank: 8Rank: 8

Picture-331.jpg


ฐานอิฐโบราณสถาน วัดพระยืน อยู่ด้านข้างซ้าย วิหาร ครับ


Picture-334.jpg



การเดินทางมากราบนมัสการพระยืนศิลาและพระเจดีย์ วัดพระยืน วันนี้ก็ขอจากกันไปด้วยภาพบรรยากาศเก่าๆ ของวัดพระยืนเลยนะครับ สวัสดีครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-278.jpg


วิหารแสงทองส่องธรรม วัดพระยืน ครับ


Picture-280.jpg


รูปพระมหากัจจายนเถระ ประดิษฐานภายใน วิหารแสงทองส่องธรรม วัดพระยืน ครับ


คำไหว้พระมหากัจจายนเถระ

  (กล่าวนะโม ๓ จบ)  อิมินา  สักกาเรนะ  สาวะกะสังโฆ  กัจจายะ  นะเถโร มหาเตชะ  วันโต  พุทธะโภ  คาวะโห  ปาระมิตาโร  อิทธิฤทธิ  ติตะมะณะตัง  สะระณัง  คัจฉามิ



Rank: 8Rank: 8


Picture-295.jpg



ฐานวิหารสมัยสุโขทัย ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ


Picture-294.jpg



ฐานส่วนด้านหลังวิหารสมัยสุโขทัย วัดพระยืน ครับ


Picture-227.jpg



รูปภาพฐานวิหารสมัยสุโขทัย วัดพระยืน ตอนพึ่งถูกขุดค้นพบครับ


Picture-220.jpg


รูปภาพสะพานโบราณ (รูปเก่า) สะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างวัดพระธาตุและวัดพระยืนครับ


Picture-225.jpg



รูปภาพทางเดินปูอิฐ สันนิษฐานว่าเป็นถนนพระราชดำเนินของพระเจ้ากือนาเสด็จมานมัสการพระสุมนเถระครั้งพำนักอยู่วัดพระยืนครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-215.jpg



Picture-216.jpg



รูปภาพเศียรพระพุทธรูปสมัยหริภุญชัย ถูกค้นพบใต้ฐานพระเจดีย์ที่ฝังอยู่ใต้ดิน บริเวณหลัง วิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระยืน ครับ



ประวัติการค้นพบเศียรพระพุทธรูปสมัยหริภุญชัย วัดพระยืน เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ขุดพบเศียรพระพุทธรูปสมัยหริภุญชัย สันนิษฐานว่ามีอายุในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ และโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากอยู่ใต้ฐานพระเจดีย์ที่ฝังอยู่ใต้ดินบริเวณหลังวิหารพระเจ้าทันใจ ซึ่งนับเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญทางวิชาการและโบราณคดีชิ้นใหม่ที่พบล่าสุด


Picture-229.jpg


พระสิบ ถูกค้นพบที่ใต้ฐานพระเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ


Picture-231.jpg


พระพิมพ์ซุ้มปรางค์ครุฑแบก ถูกค้นพบที่ใต้ฐานพระเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ



Picture-233.jpg



พระพิมพ์ซุ้มปรางค์
ถูกค้นพบที่ใต้ฐานพระเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ



Picture-235.jpg



พระสิบสอง ถูกค้นพบที่ใต้ฐานพระเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ


Picture-237.jpg


พระพุทธซุ้มพระพุทธคยา ถูกค้นพบที่ใต้ฐานพระเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8


Picture-275.jpg

สถูปเจดีย์ วัดพระยืน อยู่ด้านหลัง วิหารพระเจ้าทันใจและฐานเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย ครับ


Picture-284.jpg


ฐานเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ภายในพบพระพุทธรูปศิลปะหริภุญชัย อยู่ด้านหน้า สถูปเจดีย์และด้านหลังวิหารพระเจ้าทันใจ ครับ


Picture-222.jpg


รูปภาพฐานเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-287.jpg


Picture-290.jpg



วิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-341.jpg


Picture-332.jpg



คำไหว้พระเจดีย์ วัดพระยืน

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) อะหัง วันทามิ ติฏฐะพุทธะรูปัญจะ เจติยัญจะ สักกัจจัง วะระสัญยิตัง อิมินา ปุญเญนะ สะทา โสตถิ ภะวันตุเม


ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระพุทธรูปยืน และพระเจดีย์อันประเสริฐ  ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-9 02:53 , Processed in 0.036294 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.