แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 18666|ตอบ: 35
go

วัดพระพุทธบาทตากผ้า ม.๖ ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_5073.1.JPG



วัดพระพุทธบาทตากผ้า

ม.๖ ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

[รอยพระพุทธบาท , รอยตากผ้า , รอยบาตร , พระธาตุสี่ครูบา ,

รอยเท้าพระอรหันต์ , วัดพระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก)]

----------------------


(กำลังรอแก้ไขข้อมูล : กรกฎาคม 2567)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0213.JPG



IMG_6696.JPG



การเดินทางไปวัดพระพุทธบาทตากผ้า ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ (สายลำพูน-ลี้) ระยะทางห่างจากตัวอำเภอเมืองลำพูนประมาณ ๑๗ กิโลเมตร หรือห่างจากอำเภอป่าซางประมาณ ๗ กิโลเมตร แล้วมีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก ๑ กิโลเมตร ทางเข้าวัดพระพุทธบาทตากผ้า อยู่กิโลเมตรที่ ๑๓๗ ติดถนนทางหลวงหมายเลข ๑๐๖ (สายลำพูน-ลี้)  


IMG_0220.JPG



IMG_6716.JPG



ทางเข้า วัดพระพุทธบาทตากผ้า ระยะทาง ๑ กิโลเมตร  


IMG_4952.JPG


IMG_7155.JPG



ประตูทางเข้า วัดพระพุทธบาทตากผ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7151.JPG



IMG_6932.JPG



ประวัติวัดพระพุทธบาทตากผ้า


วัดพระพุทธบาทตากผ้า
ตั้งอยู่เลขที่ ๒๗๙ บ้านพระบาท หมู่ที่ ๖ ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖ และได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๑ ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ ๑๗๕ ไร่ ซึ่งเป็นเนินเขาเตี้ยๆ อยู่ใกล้ดอย (เขา) ๒ ลูก คือ ดอยช้าง และดอยเครือ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน หรือของภาคเหนือ

ปัจจุบันวัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรมและบาลีของพระภิกษุสามเณรในภาคเหนือ นอกจากนี้แล้ว ทางวัดได้จัดให้มีการปฏิบัติธรรมควบคู่ไปกับการศึกษา ได้จัดตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานขึ้น เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้สนใจทั่วไป


IMG_6740.JPG



เอกลักษณ์ลำพูน
พระรอด  ยอดพระดี            
จามเทวี  ปฐมกษัตรีย์
ศรีสง่า  พระธาตุหริภุญชัย  
งามวิไล  พระพุทธบาทตากผ้า
เมืองครูบา  ล้านนาไทย
ลำไย  อร่อยเยี่ยม
กระเทียม  ผ้าทอ  เลิศล้ำ
น้ำใจดี  สตรีงาม


IMG_6726.JPG



คติธรรมประจำวัดพระพุทธบาทตากผ้า
นรชน  คนเรา  ก็เท่านี้
จงทำดี  ละชั่ว  อย่ามัวหลง
ประพฤติธรรม  ตามคำสอน  พุทธองค์
ให้ดำรง  มั่นไว้  สุขใจเอย


IMG_4956.JPG



IMG_7152.JPG



IMG_6891.JPG



IMG_7154.JPG



IMG_5449.JPG



บรรยากาศภายใน วัดพระพุทธบาทตากผ้า  


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4964.JPG


IMG_4961.JPG



IMG_5385.JPG



IMG_5365.JPG



IMG_4984.JPG


พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จมาเพื่อโปรดเวไนยสัตว์ในเขตสุวรรณภูมิ ซึ่งพระองค์ได้ประทับรอยพระบาทไว้จำนวน ๒ รอย

คำว่า จตุรมุข มาจากคำว่า จตุร แปลว่า ๔ กับคำว่า มุข แปลว่า ปาก หรือ หน้า ดังนั้น วิหารจตุรมุข จึงหมายถึง วิหารที่มี ๔ หน้า (ประตู) นั่นเอง


IMG_4967.JPG



ประวัติพระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า


วิหารจตุรมุขหลังนี้ เริ่มก่อสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.๑๒๐๐ จากการที่พระนางจามเทวี ราชบุตรีของพระเจ้ากรุงละโว้ (ลพบุรี) ได้เสด็จมาครองนครหริภุญชัย (ลำพูน) พระนางจามเทวีทรงเป็นองค์อุปถัมภ์สร้าง
อุโมงค์ครอบรอยพระพุทธบาทนี้

พ.ศ.๑๘๒๕ ตกกลียุค เสียเมืองหริภุญชัยให้แก่พระเจ้ามังรายมหาราช วัดได้ร้างเสื่อมโทรมไป

พ.ศ.๒๓๗๕ ครูบาป๋ารมี วัดสะปุ๋งหลวง เป็นประธานสร้างวิหารหลังใหญ่ครอบอุโมงค์ไว้อีกชั้นหนึ่ง

จากนั้นปี พ.ศ.๒๔๗๒ ท่านครูบาศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย) วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้รับอาราธนาจากคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน ซึ่งมีพระครูพุทธิวงศ์ธาดา วัดฉางข้าวน้อยเหนือ เจ้าคณะอำเภอปากบ่อง (ป่าซาง) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ได้ทำการก่อสร้างวิหารจตุรมุขครอบรอยพระพุทธบาทจนสำเร็จ

ต่อมา พ.ศ.๒๓๗๕ ครูบาอาจารย์หลายท่าน โดยมีครูบาป๋ารมี วัดสะปุ๋งหลวง เป็นประธาน พร้อมด้วยทายก ทายิกา ได้ก่อสร้างวิหารหลังใหญ่ครอบมณฑปไว้อีกชั้นหนึ่ง

IMG_6898.JPG



พ.ศ.๒๔๘๖ คณะสงฆ์ โดยมีท่านเจ้ามงคลญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดลำพูน วัดพระยืน เป็นประธาน พร้อมด้วยนายอำเภอป่าซาง และคณะศรัทธาประชาชนไปอาราธนานิมนต์ท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) วัดป่าหนองเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน มาเป็นประธานอำนวยการก่อสร้าง และดูแลกิจการของวัด เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระพุทธบาทตากผ้า โดยมีพระอธิการศรีนวล อินฺทนนฺโท วัดช้างค้ำ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ในการก่อสร้างบูรณะพัฒนาต่อไป


และปี พ.ศ.๒๕๐๒ ท่านครูบาพรหมา ได้เริ่มการพัฒนาวัดอย่างเต็มที่ โดยการลงมือทั้งก่อสร้างและซ่อมแซมถาวรวัตถุที่ทรุดโทรม เช่น พระวิหารจตุรมุข ได้ต่อเติมยอดมณฑปขึ้นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ก่อสร้างพระอุโบสถทั้งหลังเก่าและหลังใหม่ ศาลาการเปรียญทั้งหลังเล็กและหลังใหญ่ กุฏิแถว โรงเรียนพระปริยัติธรรม กำแพงวัด และอื่นๆ เป็นที่ปรากฏอย่างที่เห็นในปัจจุบัน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6790.JPG



IMG_6794.JPG



มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท ภายใน พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า  


IMG_5112.JPG



IMG_5106.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ซุ้มทั้งสี่ด้าน มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_6869.JPG



IMG_5047.JPG



IMG_5263.JPG



บันไดลงไปกราบนมัสการรอยพระพุทธบาท ภายใน มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า เวลาลง/เวลาขึ้น ระวังศีรษะชนขอบบน

**โปรดทราบ...อย่าโยน หรือวาง เงิน เหรียญต่างๆ ลงบนรอยพระพุทธบาทนี้ (มักจะสูญหาย) กรุณานำไปใส่ในตู้บริจาค


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5054.JPG



รอยพระพุทธบาท ประดิษฐานภายใน มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นรอยพระพุทธบาทคู่เบื้องขวาและซ้าย มีลักษณะของพระบาทขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน

รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา รอยใหญ่ ขนาดกว้าง ๑.๒๒ เมตร ยาว ๒.๗๕ เมตร และรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้าย รอยเล็ก ประดิษฐานถัดจากรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาไปทางด้านหลังห่างกันเล็กน้อย มีขนาดกว้าง ๐.๙๖ เมตร ยาว ๑.๗๔ เมตร รอยพระพุทธบาททั้ง ๒ รอย ได้วางผินปลายนิ้วพระบาทไปทางทิศตะวันออก


IMG_5118.JPG



IMG_5189.JPG



IMG_5179.JPG



รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา ประดิษฐานภายใน มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท
พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_5225.JPG



IMG_5124.JPG



IMG_5276.JPG



รอยพระพุทธบาทเบื้องซ้าย
ประดิษฐานภายใน มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6882.JPG



IMG_6899.JPG



ตำนานรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทตากผ้า


เรียบเรียงโดย วัดพระพุทธบาทตากผ้า (ออนไลน์)



ตามตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ตามที่ต่างๆ ใกล้รุ่งเช้าวันหนึ่ง พระองค์ได้แผ่ข่ายคือพระญาณตรวจดูสัตว์ผู้ควรแก่การบรรลุธรรม ก็ทรงทราบด้วยพระอนาคตังสญาณว่า ดินแดนสุวรรณภูมิ จะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไปในอนาคตกาล สมควรที่พระองค์จะเสด็จไปโปรดเวไนยสัตว์และประดิษฐานพระพุทธศาสนา ครั้นแล้วจึงได้เสด็จมายังสุวรรณภูมิ พร้อมด้วยพระอานนท์ เสด็จไปยังสถานที่ต่างๆ และแต่ละที่พระองค์เสด็จไป ได้ทรงประทานพระเกศาธาตุบ้าง ทรงอธิษฐานเหยียบรอยพระบาทบ้าง

ครั้งทรงเสด็จผ่านดินแดนล้านนา ขณะที่เสด็จผ่านลำน้ำแห่งหนึ่ง มีน้ำใสสะอาด เป็นที่บรรจบของแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำปิง และแม่น้ำกวง รับสั่งให้พร
ะอานนท์นำจีวรไปซัก บริเวณนี้จึงมีชื่อว่า “วังซักครัว” และได้เสด็จมาจนถึงบริเวณผาลาด แล้วทรงหยุดรับสั่งให้พระอานนท์นำจีวรไปตาก ณ ผาลาดแห่งนี้ พระองค์ได้ทรงอธิษฐานตั้งพระทัยประทับรอยพระบาทเป็นปาทเจดีย์ จำนวน ๒ รอย เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก

แล้วทรงพยากรณ์ว่า “ดูกรอานนท์ สถานที่แห่งนี้จะปรากฏชื่อว่า พระพุทธบาทตากผ้า โดยนิมิตที่ตถาคตมาหยุดพักตากผ้าจีวรนี้ จะเป็นปูชนียสถานที่สักการะของมหาชน ผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จะอำนวยประโยชน์แก่ปวงชนตลอด ๕,๐๐๐ พรรษา” ด้วยเหตุนี้ สถานที่แห่งนี้จึงปรากฏนามว่า “วัดพระพุทธบาทตากผ้า” จนถึงปัจจุบันนี้

--------------------


(แหล่งที่มา : วัดพระพุทธบาทตากผ้า. ประวัติวัดพระพุทธบาทตากผ้า. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.phrabat.net/wat_history/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๖))


IMG_5065.JPG



ตำนานพระพุทธบาทตากผ้า


เรียบเรียงโดย นาคฤทธิ์ พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง



หลวงปู่พระครูบาพรหมา (พระสุพรหมยานเถร) ได้คัดลอกจากตำนานที่ท่านเจ้าคุณพระศรีศิลป์สุนทรวาที ได้เรียบเรียงไว้ กล่าวโดยย่อพอสังเขปดังนี้

ในสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแผ่ข่ายพระญาณ เพื่อตรวจดูสัตว์โลกผู้ควรแก่ธรรมาภิสมัย (การบรรลุธรรม) ก็ทรงทราบว่า สุวรรณภูมิคือ ประเทศไทย จะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนามั่นคงต่อไปในอนาคต สมควรที่พระองค์จะเสด็จไปฐาปนาตั้งพระศาสนาไว้

ครั้นทรงมีพระดำริดังนั้นแล้ว พระองค์จึงทรงเสด็จมาสู่สุวรรณภูมิโดยพุทธนิมิตร มีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ พร้อมด้วยพระอินทร์และพระเจ้าอโศกราช ได้เสด็จจาริกมาตามคามนิคมชนบทต่างๆ จนกระทั่งถึง ถ้ำตับเตา ถ้ำเชียงดาว พระนอนขอนม่วง พระบาทยั้งหวีด และพระธาตุทุ่งตูม ตามลำดับ ได้ทรงเหยียบรอยพระบาทและประทานเกศาธาตุประดิษฐานไว้ในที่นั้นๆ

แล้วเสด็จเลียบลงมาตามฝั่งแม่น้ำปิง พอเสด็จมาถึงวัง (แอ่งน้ำ) แห่งหนึ่ง ทรงหยุดพักเปลื้องผ้ากาสาวพัสตร์ (จีวร) ให้พระอานนท์นำไปซัก สถานที่นั้นจึงได้ชื่อว่า “วังซักครัว” มาตราบเท่าทุกวันนี้ อยู่ใต้สบกวง (ปากแม่น้ำกวง)

จากนั้นพระองค์เสด็จต่อถึงบ้านระหว่างทางไม่ไกลจากดอยม่อนช้างเท่าใดนัก พระองค์ทรงหยุดยืนนิ่งผินพระพักตร์หว่ายไป (บ่ายไป) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บ้านนั้นจึงได้ชื่อว่า “บ้านหว่าย” เดี๋ยวนี้เรียกว่า “บ้านหวาย” แล้วก็เสด็จมาถึงบนลานผาลาด (คือบริเวณวัดพระพุทธบาทตากผ้าปัจจุบัน) พระองค์จึงมีพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท์ให้นำเอาจีวรไปตากบนผาลาดใกล้ๆ ที่ประทับนั้น ซึ่งยังปรากฏเป็นรอยตารางคล้ายๆ ตาผ้าจีวรของพระมาจนบัดนี้

ในกาลครั้งนั้น พระองค์จึงทรงอธิษฐานเหยียบพระบาทประดิษฐานรอยไว้บนผาลาดนี้ แล้วทรงพยากรณ์ว่า “ดูราอานนท์ สถานที่นี้จะปรากฏชื่อว่า “พระพุทธบาทตากผ้า” โดยนิมิตที่เราตถาคตมาหยุดพักตากผ้ากาสาวพัสตร์นี้ และจะเป็นปูชนียสถานที่สักการบูชาของมหาชน จะอำนวยประโยชน์อย่างสูงแก่ปวงชนตลอด ๕,๐๐๐ พรรษา”

--------------------


(แหล่งที่มา : นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่ : ลานนาการพิมพ์, หน้า ๒๑๗-๒๑๙.)

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5125.JPG



IMG_5074.JPG



IMG_6787.JPG



คำนมัสการพระพุทธบาท
(กล่าวนะโม ๓ จบ) ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะปาทัง ตัง ปาทะ วะลัญชะนะ มะหัง สิระสา นะมามิฯ



IMG_5330.JPG


IMG_5333.JPG



ช้างเสี่ยงทายความสำเร็จ ภายใน พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า  


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

054.jpg



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย และ
ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) ประดิษฐานภายใน พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_6776.JPG



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย) ประดิษฐานภายใน พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_6777.JPG


IMG_6779.JPG



รูปเหมือนครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) ประดิษฐานภายใน พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_0383.JPG



ประวัติพระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก)

อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทตากผ้า รูปที่ ๑


ชาติภูมิ
พระสุพรหมยานเถร มีนามเดิมว่า “พรหมา พิมสาร” เกิดเมื่อวันอังคาร ที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๑ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ (เดือน ๑๒ เหนือ) ปีจอ ณ บ้านป่าแพ่ง ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เป็นบุตรของ นายเป็ง-นางบัวถา พิมสาร มีพี่น้องร่วมกัน ๑๓ คน คือ
๑. พ่อน้อยเมือง พิมสาร
๒. เด็กหญิง (ไม่ทราบชื่อ)
๓. แม่อุ้ยคำ หล้าดวงดี
๔. พ่อหนานนวล พิมสาร
๕. พ่อหนานบุญ พิมสาร
๖. พระสุธรรมญาณเถร
๗. พระสุพรหมยานเถร (เจ้าของประวัติ)
๘. พระครูสุนทรคัมภีรญาณ
๙. พ่อหนานแสง พิมสาร
๑๐. แม่ธิดา สุทธิพงษ์
๑๑. แม่นางบัวหลวง ณ ลำพูน
๑๒. เด็กหญิงตุมมา พิมสาร
๑๓. นางแสงหล้า สุภายอง

ซึ่งทุกรูปและทุกคนได้ถึงแก่มรณภาพและถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว

บรรพชา
ท่านได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ในวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๕ ณ วัดป่าเหียง ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน โดยมีเจ้าอธิการแก้ว ขตฺติโย เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท
เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านได้กลับมารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดป่าเหียง ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๑ โดยมีเจ้าอธิการแก้ว ขตฺติโย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฮอม โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุรินฺโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และท่านได้นามฉายาว่า “พฺรหฺมจกฺโก”

การปฏิบัติธรรม
ท่านครูบาพรหมา ได้รับโอวาทจากพระอุปัชฌาย์ว่า “ถ้าฮักตั๋ว ก็จงตั้งใจ๋ปฏิบัติธรรม” ท่านจึงฝักใฝ่ในการปฏิบัติธรรมตลอดมา จนกระทั่งวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๔ ท่านครูบาได้ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรที่เงียบสงบเรื่อยๆ จนทั่วภาคเหนือ ไปจนถึงเขตแดนประเทศพม่าและประเทศลาว ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากนานัปประการ บางครั้งก็เกือบเอาชีวิตไม่รอด แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อด้วยความมุ่งมั่นที่จะเดินตามรอยพระยุคลบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับว่าท่านเป็นพระภิกษุรูปแรกที่ออกเดินธุดงค์ในภาคเหนือ รวมเวลาเดินธุดงค์ทั้งสิ้น ๒๕ ปี ท่านครูบาเป็นนักปฏิบัติธรรมที่เสมอต้นเสมอปลายต่อข้อวัตรปฏิบัติเสมอมา เช่น การบิณฑบาตเป็นวัตร การฉันอาหารมื้อเดียวเป็นวัตร การอยู่ป่าเป็นวัตร การอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร เป็นต้น

นิสัยใจคอ
ท่านเป็นผู้ที่มีนิสัยใจคอเยือกเย็น ชอบความสงบสงัด ไม่เคยทะเลาะเบาะแว้งกับใคร และไม่เคยติฉินนินทาใคร แม้ใครจะติฉินนินทาว่าร้ายท่านอย่างไร ท่านก็เฉยไม่โกรธ ยิ่งกว่านั้นท่านยังอำนวยอวยพรให้แก่ผู้ที่ติฉินนินทาเป็นการให้อภัยทาน

ด้านการเผยแผ่ศาสนา
ท่านเป็นผู้ที่ใฝ่ใจทั้งใจด้านปริยัติและปฏิบัติ เห็นได้จากเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านได้จัดตั้งสำนักศาสนศึกษาเปิดสอนนักธรรมขึ้น และเปิดสอนบาลีขึ้นอีกในปีถัดมา จากนั้นท่านได้จัดตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐานขึ้นตามลำดับ จนทำให้วัดได้รับการยกฐานะเป็น “วัดพัฒนาตัวอย่าง” จากกรมการศาสนา เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ และได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์ เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ นอกจากนี้ท่านยังได้ออกไปอบรมศรัทธาประชาชนในที่ต่างๆ ทั้งได้จัดพิมพ์หนังสือธรรมะแจกจ่ายให้กับศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก


IMG_6797.JPG



IMG_6800.JPG



วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพ พรรณี ทรงนำเสด็จพระราชอาคันตุกะ พระเจ้ากรุงเดนมาร์ค และพระราชินีอินกริด เสด็จมานมัสการพระพุทธบาทตากผ้า

และเสด็จเยี่ยมประชาชนที่มารอเฝ้าชมพระบารมีอยู่รอบๆ บริเวณวิหารพระพุทธบาท โดยเสด็จออกจากประตูทิศใต้ ดำเนินไปถึงศาลาการเปรียญตะวันตก เสด็จเข้าไปพักผ่อนพระราชอิริยาบถและทรงเสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ ที่นั้น พร้อมกับได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งทางวัดได้จัดทูลเกล้าถวาย แล้วเสด็จกลับพระราชตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์เชียงใหม่


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6914.JPG



IMG_5389.JPG


รอยบาตรองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานข้าง พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นหลุมคล้ายก้นบาตร


IMG_4978.JPG


IMG_6902.JPG



IMG_6770.JPG



มณฑปครอบรอยเท้าพระอรหันต์ อายุ ๗ ขวบ
ประดิษฐานข้าง พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า   


IMG_6764.JPG


IMG_6762.JPG



รอยเท้าพระอรหันต์ อายุ ๗ ขวบ
วัดพระพุทธบาทตากผ้า รอยเท้านี้เป็นรอยเท้าพระอรหันต์อายุ ๗ ขวบ ที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามายังสถานที่แห่งนี้ และได้อธิษฐานเหยียบเป็นรอยไว้บนหินนี้ มีขนาดยาวประมาณ ๑๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๕ เซนติเมตร ทางวัดได้ลงรักปิดทองไว้อย่างสวยงาม


IMG_5010.JPG



IMG_5015.JPG


IMG_5024.JPG



รูปเหมือนหลวงปู่เทพโลกอุดร และ พระอรหันต์ ๗ ขวบ
ประดิษฐานข้าง พระวิหารจตุรมุข วัดพระพุทธบาทตากผ้า



คำไหว้หลวงปู่เทพโลกอุดร

พุทฺโธ พุทฺธัง อรหัง พุทฺโธ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-21 20:53 , Processed in 0.064461 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.