แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 12182|ตอบ: 10
go

วัดเวียงด้ง บ.เวียงด้ง ต.น้ำแพร่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-078.jpg



วัดเวียงด้ง  

บ.เวียงด้ง  ต.น้ำแพร่  อ.หางดง  จ.เชียงใหม่

[พระบรมธาตุเจดีย์]



Rank: 8Rank: 8

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        •  วัดเวียงด้ง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
        •  หนังสือประวัติวัดเวียงด้ง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เรียบเรียงโดยอาจารย์ชุ่ม ณ บางช้าง
          •  เทศบาลตำบลน้ำแพร่พัฒนา. วัดเวียงด้ง และอนุสาวรีย์พ่อขุนหมื่นด้งนคร. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.namphrae.go.th/travel.php?id=2. (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙)
        •  และทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญครั้งนี้  

หมายเหตุ   
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทาน





Rank: 8Rank: 8

Picture-068.jpg


เรือนจำลองของพ่อขุนหมื่นด้งนคร วัดเวียงด้ง ค่ะ  


Picture-053.jpg


กุฏิสงฆ์ วัดเวียงด้ง ค่ะ


การเดินทางมาวัดเวียงด้ง วันนี้ก็ขอสิ้นสุดการเดินทางเพียงเท่านี้ค่ะ สวัสดีค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-058.jpg



พระราชประวัติเจ้าหลวงหมื่นด้งนคร (ฉบับย่อ)


เมื่อปีพ.ศ.๑๙๓๒ พระเจ้าแสนเมืองมา พระเจ้าแผ่นดินเชียงใหม่  เสด็จประภาสป่าล่าสัตว์ ได้หลงทางไปยังป่าบ้านแม่วาง (อำเภอสันป่าตอง) ไปได้ลูกสาวนายอำเภอแม่วางเป็นชายาลับๆ ชื่อว่า "ศรีวรรณ" ต่อมาได้ให้กำเนิดลูกชายคนหนึ่งชื่อว่า "ด้ง" เพราะชอบนอนในกระด้ง

เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี พญาแสนหลวง ผู้เป็นลุงห่างๆ ได้นำหนูด้งไปกราบถวายตัวกับพระมารดาของเจ้าแสนเมืองมา

พออายุได้ ๑๖ ปี ได้เรียนจบสิ้นทางอักษรศาสตร์ นิติศาสตร์ ธรรณศาสตร์ ด้วยทรงมีพระปรีชาสามารถตั้งแต่ทรงพระเยาว์ อีกทั้งได้ศึกษาเพลงอาวุธทั้งอาวุธสั้นและยาว เมื่อเจริญพรรษาได้สยุมพร (แต่งงาน) กับนางศรีเมือง ลูกสาวพญาสามล้าน

ปีพ.ศ.๑๙๕๒ เจ้าเมืองเขลางค์ละกอนนครลำปางพิราลัยลง พระบิดาโปรดให้ไปปกครองเมืองเขลางค์ เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ได้ออกรบครั้งแรกกับทัพอยุธยาที่กรุงสุโขทัยได้รับชัยชนะอย่างงดงาม อีกทั้งได้ช่วยชีวิตพระราชบิดาให้รอดพ้นจากเงื่อมมือข้าศึก

ปีพ.ศ.๑๙๕๔ พระเจ้าแสนเมืองมา พระราชบิดาสวรรคต พระเจ้าสามฝั่งแกนขึ้นครองราชบังลังก์ เชียงใหม่ได้เกิดการแย่งชิงบัลลังก์กันระหว่างโอรสต่างมารดากันทั้ง ๑๐ พระองค์ ท้าวลูกราชโอรสองค์ที่หกได้จับพระราชบิดาเจ้าสามฝั่งแกนโดนเนรเทศไว้ที่เมืองลาดเขตไทยฬหญา แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เถลิงพระนามว่า พระเจ้าดิลกราช ในราชสมัยนี้กรุงศรีอยุธยากับแผ่นดินเชียงใหม่เกิดแย่งชิงเมืองเชลียงกัน (ปัจจุปันคือศรีสัชนาลัย) ผลัดกันครอบครองอยู่หลายครั้ง


เจ้าเมืองด้งนครได้รับโปรดเกล้าให้ครองเมืองเชลียงถึงสองครั้ง ในระหว่างเดินทัพไปมาหลายครั้ง เจ้าหมื่นด้งนครได้สร้างที่พักทัพอันแข็งแรงขึ้นแห่งหนึ่งเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านไว้ยันทัพฝ่ายใต้ ที่แห่งนี้คือเมืองด้งนคร (ปัจจุบันอยู่ คือเวียงหัวบ้านแม่กระต๋อม ตำบลสรอย ซึ่งปรากฎร่องรอยเมืองโบราณอยู่)

ปีพ.ศ.๒๐๑๑ พระเจ้าติโลกราชมีรับสั่งให้เจ้าหลวงหมื่นด้งไปช่วยราชการที่เมืองเชียงใหม่โดยมีหมายให้นำ "พระแก้วมรกต" ไปเชียงใหม่ด้วย พระแก้วมรกตนี้ตกอยู่ในเขลางค์ละกอนเมื่อปีพ.ศ.๑๙๗๘ รวมเวลาที่ประดิษฐานอยู่ในเขลางค์ละกอนนครลำปาง ๓๒ ปี

ปีพ.ศ.๒๐๑๗ ช่วงที่เจ้าหมื่นด้งนครครองเมืองเชียงชื่น พระเจ้าติโลกราชทรงทราบข่าวว่า เจ้าหมื่นด้งนครคบหากับออกญากลาโหมขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายทหารกรุงศรีอยุธยา มีการไปมาหาสู่กันเสมอ เกิดระแวงพระทัยว่าพระปิตุลาเจ้าหมื่นด้งนครจะคิดกบฏ จึงมีราชสาส์นให้มาเข้าเฝ้าที่เชียงใหม่ เจ้าหมื่นด้งนครได้ปรึกษากับพระชายาและพระราชโอรสเจ้าหาญแต่ต้อง และคณะกรมการเมืองทั้งหมดต่างก็ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์หรือขอไม่ให้เจ้าหมื่นด้งนครไปเข้าเฝ้า


หากพระเจ้าติโลกราชยกทัพมา พวกตนจะอาสาตีทัพเชียงใหม่ให้แตกพ่าย หรืออย่างน้อยที่สุดก็ป้องกันเมืองเอาไว้ได้  แต่เจ้าหมื่นด้งนครทรงยึดมั่นในความชื่อสัตย์สุจริตไม่ทำการเยี่ยงกบฏ เมื่อขึ้นไปเข้าเฝ้าที่เชียงใหม่จึงถูกจับประหารโดยไม่มีการสอบสวนความผิด

“น่าเสียดายนักรบฝีมือนามอุโฆษที่รบชนะมาทุกสารทิศจนเป็นที่ครั่นคร้ามในพระปรีชาสามารถของอริราชศตรู ต้องมายอมแพ้ต่อประกาศิตเจ้าเหนือหัวเพื่อธำรงไว้ด้วยความสัตย์ยิ่งกว่าชีวิต”




Rank: 8Rank: 8

Picture-057.jpg


อนุสาวรีย์เจ้าหลวงหมื่นด้ง ชาวตำบลสรอย – ตำบลป่าสัก ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จึงได้ร่วมจิตแรงศรัทธาตั้งจิตอธิษฐานขอพระราชานุญาติจากดวงพระองค์ท่านซึ่งสถิตในสรวงสวรรค์ เพื่อสร้างสารูปเคารพให้อนุชนรุ่นหลังได้ระลึกถึงพระบารมี พระเดชานุภาพ วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ท่านได้บำเพ็ญมาตลอดพระชนม์ชีพนั้น ให้เป็นศูนย์รวมจิตใจชาวตำบลสรอย ตำบลป่าสัก และพี่น้องประชาชนทั่วไปได้ถวายสักการบูชาเป็นที่พึ่งจิตวิญญาณตลอดไปค่ะ   


นัยแห่งสารูปพ่อขุนหมื่นด้งนคร


หัตถาพระบาทเจ้า                          ชี้ยังปฐพี
เปล่งสุรเสียงสีห์ถึงสวรรค์                แดนดินบอกไว้
เวียงด้งล้านนานี้                            กูครอง
พิทักษ์หื้อลูกหลานสูต้อง                สืบเจ่นกาลนาน
ภายหน้าหากกูต้อง                        พิลัยอาสัญห์
เป็นเวียกสูสืบสานหื้อเวียง               เกียรติก้อง
เหยียบย่างแผ่นดินห่อนหู้                แทนคุณเต๊อะนา
เป็นตายกูจักษา                             เยี่ยงว่าวีรชน



Rank: 8Rank: 8

Picture-054.jpg


อนุสาวรีย์พ่อขุนหมื่นด้งนคร วัดเวียงด้ง ค่ะ   


คำสักการะพ่อขุนหมื่นด้งนคร

แผ่นามะพ่อขุนหมื่นด้งนคร รูปะขันโต เวทนาขันโต สังขารขันโต วิญญาณะขันโต มามะทินนถาเน นามะ ถึงคะเร สัทธะมา  ถาโมโนมิ  สันธาโว  มามะนัง  สะมังโร  ยุระโถ  ยุระถะ  โมหิ  โอกา  เสติ  ถาหิ  มานิมา


Picture-059.jpg



ประวัติการก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร วัดเวียงด้ง


นับแต่อดีตแห่งราชอาณาจักรล้านนาไทย ในรัชสมัยของของพระเจ้าติโลกราชเมื่อห้าร้อยกว่าปีที่แล้ว พงศาวดารล้านนาได้บันทึกมหาวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของแม่ทัพใหญ่ "เจ้าหลวงหมื่นด้งนคร" อดีตเจ้าผู้ครองนครเขลางก์ละกอน นครลำปาง เจ้าเมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เจ้าเมืองชวนชื่น และเจ้าเมืองด้งนคร ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ได้ทรงประกอบกรณียกิจเพื่อบ้านเมืองมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงเป็นแม่ทัพเอกผู้นำทหารกล้าของราชอาณาจักรล้านนาไทย ป้องกันอริราชศัตรูผู้เข้ามารุกราน อีกทั้งได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองทั้งในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือในฐานะองค์เจ้าหลวงผู้ครองนคร ทางด้านพระศาสนาก็ทรงเป็นผู้ยึดมั่นในพระบวรพุทธศาสนา   

ในด้านการปฏิบัติพระองค์ก็ทรงเปี่ยมด้วยบารมี เป็นที่เคารพยำเกรงของทหารและศัตรู ด้วยทรงมีพระปรีชาสามารถในทุกๆ ด้านทั้งพิชัยสงคราม อักษรศาสตร์ ธรรมนูญศาสตร์ มีน้ำพระทัยอันเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ซื่อสัตย์จงรักภักดี ทรงยอมสละพระชนม์ชีพเพื่อรักษาพระเกียรติยศ ดังปรากฏในลิลิตยวนพ่าย ตอน ก่อนที่จะทรงพิราลัย (ปีพ.ศ.๒๐๑๗) ความว่า


ปัจฉิมโองการเจ้าหลวงหมื่นด้งนคร


                     "ข้าไท้ธิเบศก์               ใดใด   ก็ดี
                ตายเพื่อภักดี                    โดยซื่อพร้อม
                คือคนอยู่เป็นใน                 อธิโลก
                ปรโลกนางฟ้าล้อม             เลอศอินทร์      
                     "ทวยใดเจ้าเกื้อโภค       พูนมี
                ครั้นบ่ถวิลภักดี                  แด่เจ้า
                ชีพยืนอยู่แสนปี                 เป็นคู่   ตายนา
                ตายก็คือได้เข้า                 ก่องน้ำ นรกกานต์

แม้ว่าพระองค์ท่านจะทรงพิลาลัยมากว่า ๕๐๐ ปี แต่พระเกียรติคุณ พระปรีชาสามารถก็ยังทรงตราตึงอยู่ในใจของพี่น้องประชาชนทุกคนเสมอมา ตลอดจนในปัจจุบันพระบารมีก็ยังคงปกป้องคุ้มครอง เป็นศูนย์รวมดวงใจของผู้สักการะอยู่เสมอ ดังปรากฏเป็นที่ประจักษ์สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน



Rank: 8Rank: 8

Picture-062.jpg


Picture-063.jpg



อุโบสถ วัดเวียงด้ง สร้างเมื่อพ.ศ.๒๕๐๙ ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-078.jpg



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดเวียงด้ง พร้อมกันเลยนะคะ

(กล่าวนะโม ๓ จบ)  วันทามิ  เจติยัง  สัพพัง  สัพพัฏฐาเนสุ  ปะติฏฐิตา  สะรีระธาตุโย  เกศาธาตุโย  อะระหันตา  ธาตุโย  เจติยัง  คันทะกุฏิง  จะตุละสี  ติสสะหิสเส  ธัมมักขันเธ  สัพเพสัง  ปาทะเจติยัง  อะหังวันทามิ  ธาตุโย  วันทามิทุระโส  อะหังวันทามิ สัพพะทา  อะหัง  วันทามิ  สิระสา ฯ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อม บูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพานแม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



Rank: 8Rank: 8

Picture-074.jpg



ประวัติวัดเวียงด้ง


(แหล่งที่มา :
หนังสือประวัติวัดเวียงด้ง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เรียบเรียงโดย อาจารย์ชุ่ม ณ บางช้าง)


เมื่อจุลศักราช ๘๓๐ (๒๐๑๑) พระเจ้าติโลกราชโปรดให้เจ้าหมื่นด้งนครขึ้นมาช่วยราชการ ณ เมืองนครพิงค์ ทรงมอบอำนาจให้ตัดหัวข้าราชการชั้นอำมาตย์ได้โดยมิต้องกราบบังคมทูลให้ทรงทราบก่อน  เจ้าหมื่นทรงดำริเห็นว่าขณะนี้พระองค์ทรงมีพระชนม์ถึง ๗๘ พรรษา อยู่ในวัยชราแล้ว ทรงตั้งพระทัยว่าจะพักผ่อนให้สบายไปตลอดพระชนชีพ จึงทรงเลือกเอาพื้นที่กว้างใหญ่ทางด้านทิศตะวันตกของนครเชียงใหม่เป็นที่ประทับ ทรงสร้างคุ้มใหญ่แข็งแรงลงบนพื้นที่นั้นและทรงอนุญาตให้บริพารของพระองค์ซึ่งส่วนมากเป็นทหารมีจำนวนนับพันๆ ปลูกสร้างบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัย ให้ขุดคูและก่อกำแพงรอบบริเวณอันเป็นที่อยู่อาศัย มีทหารรักษาการณ์อย่างเข้มแข็ง ที่นั้นจึงได้ชื่อว่า เวียงด้ง คือค่ายทหารของเจ้าหมื่นด้งนคร
      
เจ้าหมื่นทรงนับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ทรงพระดำริว่าทางด้านที่พระองค์ทรงตั้งนิวาสถานอยู่นี้ไม่มีวัดแม้แต่แห่งเดียว  ครั้นจะไปทำบุญที่วัดตาลวันวิหารหรือวัดป่าตาล ซึ่งอยู่นอกประตูทางด้านทิศตะวันตก (อยู่ทางตะวันออกของวัดสวนดอก) ก็ไกลมาก จึงทรงพระดำริว่าควรสร้างพระอารามขึ้นสักแห่งหนึ่งในบริเวณเวียงด้ง จึงรับสั่งให้บริพารของพระองค์ทำอิฐและตั้งเตาเผาขึ้น ทรงจัดช่างที่มีความชำนาญในการสร้างวัดให้สร้างพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ และพระเจดีย์ขึ้นครบครันเมื่อพ.ศ.๒๐๑๒ นับเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง เก่ากว่าวัดตำหนักหรือวัดสวนขวัญ ซึ่งพระสิริมังคลาจารย์จอมปราชญ์ของล้านนาไทย สร้างหลายสิบปีนับจากปีเริ่มสร้างวัดเวียงด้งมาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลายาวนานถึง ๕๓๑ ปี
   
ต่อมาในระยะหลังๆ ตั้งแต่พ.ศ.๒๑๐๐ เป็นต้นมา อาณาบริเวณทางด้านตะวันตกของนครเชียงใหม่ กลายเป็นสมรภูมิระหว่างเจ้าถิ่นกับผู้รุกรานเรื่อยมาจนถึงพ.ศ.๒๓๔๕ เป็นเวลาเนิ่นนานกว่า ๒๐๐ ปี ทำให้พระอารามต่างๆ ทางด้านนี้กลับกลายเป็นวัดร้างและชำรุดทรุดโทรมล่วงโรยลง เนื่องจากราษฎรพากันอพยพหลบหนีภัยสงครามไปหมด วัดเวียงด้งก็เลยทรุดโทรมลง พระอุโบสถและพระวิหารพังทลายลงสิ้น ยังเหลือเพียงแต่พระเจดีย์องค์เดียว ซึ่งเป็นโบราณวัตถุแลปูชนียสถานคู่กับวัดเวียงด้งอันเป็นนิวาสถานของอดีตขุนพลล้านนาผู้เกรียงไกร เป็นอนุสรณ์ให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงบรรพบุรุษผู้เอาเลือดทาแผ่นดินนี้ไว้เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเรา เรื่องราวของผู้สร้างและประวัติเวียงด้งนครจึงยุติลงเพียงแค่นี้

หมายเหตุ  โปรดอ่านพระราชประวัติโดยละเอียดในประวัติวัดเวียงด้ง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เรียบเรียงโดย อาจารย์ชุ่ม ณ บางช้าง  หรือติดต่อที่โรงเรียนสรอยเสรีวิทยา (อ.จรัญ  สุนทราพันธ์)



Rank: 8Rank: 8

Picture-072.jpg


วิหาร - พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเวียงด้ง ค่ะ  


Picture-067.jpg



วิหาร วัดเวียงด้ง ค่ะ


Picture-064.jpg


Picture-075.jpg



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเวียงด้ง ประดิษฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย เมื่อปี ๒๔๗๖ ค่ะ


Picture-076.jpg


ประวัติวัดเวียงด้ง

(แหล่งที่มา : เทศบาลตำบลน้ำแพร่พัฒนา. วัดเวียงด้ง และอนุสาวรีย์พ่อขุนหมื่นด้งนคร. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.namphrae.go.th/travel.php?id=2. (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙))


วัดเวียงด้ง ตั้งอยู่เลขที่  ๘๑ หมู่ที่ ๑๒  ตำบลหางดง  อำเภอหางดง  จังหวัดเชียงใหม่  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่  ๑๑ ไร่  ๑  งาน  ๗๖  ตารางวา   ส.ค.๑  สร้างเมื่อพ.ศ.๒๐๑๒ โดยเจ้าหมื่นด้งนครได้ให้บริวารของพระองค์สร้างวัดขึ้น ทรงให้สร้างอุโบสถ  วิหาร  และเจดีย์ ต่อมาปี ๒๔๗๖ ท่านครูบาศรีวิชัย ได้มาทำการบูรณะวิหารและเจดีย์ขึ้นใหม่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อประมาณพ.ศ.๒๐๑๓ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๖ เมตร  ยาว ๑๒ เมตร   


อาณาเขต

ทิศเหนือ        ประมาน  ๔๐  วา        จดที่ดินเอกชน   

ทิศใต้            ประมาน   ๖๐  วา       จดที่ดินเอกชน   
ทิศตะวันออก   ประมาณ  ๘๐  วา       จดแม่น้ำ

ทิศตะวันตก     ประมาณ  ๙๗  วา       จดที่ดินเอกชน  

อาคารเสนาสนะประกอบด้วย   อุโบสถ  วิหาร   กุฏิสงฆ์   และศาลา  ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูป และเจดีย์

การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

รูปที่   ๑   พระต๋าคำ
รูปที่   ๒   พระดวงต๋า
รูปที่   ๓   พระเพ็ชรวชิรญาโณ
รูปที่   ๔   พระอธิการสมบูรณ์สีลเตโช  ตั้งแต่  พ.ศ.๒๕๐๙   เป็นต้นมา



‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-23 06:20 , Processed in 0.058767 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.