แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 2438|ตอบ: 5
go

อานิสงค์ผู้ถวายกฐิน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 1

อานิสงส์ผู้ถวายกฐิน  + {, P4 J5 D% P8 o1 S! l
- r# i& t! M1 |2 M. _& A
[p=30, null, left]
( `: f' s, m6 y            กฐินเป็นกาลทานที่มีระยะเวลาเพียงเดือนเดียว และวัดหนึ่งๆ จะรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นพระบรมพุทธานุญาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระองค์เอง กฐินจึงมีอานิสงส์มาก  ต้องมีการ เตรียมแจ้งข่าว แก่หมู่ญาติหรือสหสามัคคีร่วมกัน ผู้ถวายกฐินต้องรู้พระวินัย ต้องกระทำพิธีถวายผ้ากฐินในพระอุโบสถ โดยสงฆ์ทุกรูปต้องญัตติ ต้องตั้งเจตนาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปในวัดนั้น จึงจะได้อานิสงส์แก่ผู้ถวายโดยแท้จริง ดังเช่น1 O0 e, f2 q  m2 W0 f- c- B; k
            ในสมัย พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้า ความว่า : มีเศรษฐี ๔ คน ที่เคยเกิดเป็นเทวดาและมนุษย์ เวียนเกิดสับเปลี่ยนกันไป มีรูปงาม ปัญญาดี มียศ มีบริวาร มีวิมานสีทองดั่งสีของจีวร ที่อาศัยสุขสบายเป็นสัปปายะ เศรษฐีทั้ง ๔ ได้แก่ ชฏิละเศรษฐี เมณฑกะเศรษฐี โชติกะเศรษฐี และปุณณะเศรษฐี ได้ทอดกฐินสม่ำเสมอ และหมั่นทำบุญกุศลไม่ขาดสาย พร้อมทั้งเจริญศีล ภาวนา เมื่อมาเกิดในสมัยของสมเด็จพระสมณโคดมพุทธเจ้า ท่านเศรษฐีได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์% x, _5 t, n' x; j+ {
            บุญกุศลอื่นๆ นอกจากการทอดกฐินแล้ว ท่านเศรษฐีได้เคยปฏิบัติ ดังนี้อย่างสม่ำเสมอ0 O8 C' a: i% G/ o$ N/ B4 P- c5 T- x
            ชฏิละเศรษฐี          ชอบทำบุญด้วยการสละทรัพย์มากมาย
5 N6 \0 r  z) W4 A4 ~3 M            เมณฑกะเศรษฐี     ทำถนนถวายวัด ให้ความสะดวกแก่สงฆ์
% R/ J: E4 H" V" A; a) W5 V: f/ r            โชติกะเศรษฐี        ชอบสร้างวัด
( v4 Q8 o* ]8 s  f! i2 U& c            ปุณณะเศรษฐี        ปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาในบริเวณอาราม! p3 y  z: X$ ?4 j% l* ~/ I6 D+ R

* y2 V' U( F- l  m& hนิทานกฐินครั้งโบราณกาล5 r  a$ T  J+ T9 o, T

9 }! ?1 _" d' W) S0 Y            กฐินตามเรื่องของ โบราณจารย์ท่านกล่าวไว้ มีกฐินบูด กฐินเน่า กฐินเศร้าหมอง กฐินบริสุทธิ์ เป็นคำพูดของผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวมาปรัมปรา ท่านยกนิทานมาเล่าว่า มีมหาเศรษฐีคนหนึ่ง มีสมบัติมากมาย มีเงิน ๘๐ โกฏิ จะทอดกฐิน ขณะถวายกฐินได้ประกาศเชิญเทวดา ไม่ว่าจะเป็นอากาศเทวา หรือภุมเทวา ให้มาอนุโมทนากฐินของเขา วันนั้นมีเทวดาองค์หนึ่งมาอนุโมทนากฐิน พอมาจวนจะถึงวัด (วัตร) มีต้นไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง บังเอิญมีบุรุษผู้หนึ่งอยู่ใต้ต้นไทรนั้น ได้ยินเสียงเทวดาจรกล่าวชวนรุกขเทวดาที่ต้นไทรให้ไปอนุโมทนากฐินของมหาเศรษฐี แต่รุกขเทวดาที่ต้นไทรบอกให้เทวดานั้นไปก่อนเถิด เมื่อนุโมทนาแล้ว เป็นอย่างไรให้กลับมาเล่าให้ฟังด้วย ปรากฏว่า! h& i  L, S3 x, V, Y
            กฐินกองที่ ๑ เมื่อเทวดาไปอนุโมทนา ปรากฎว่า เจ้าของกฐินและคณะศรัทธา แจกสุรายาเมา ผู้มาร่วมงานเมามายส่งเสียงอึกทึกครึกโครมไม่เกิดความสงบสงัด ไม่ปฏิบัติตามธรรม พอถวายกฐินและอนุโมทนาแล้ว เทวดาจรกลับมา บุรุษผู้นั้นยองอยู่คอยฟังข่าวจากเทวดาจร รุกขเทวดาถามว่า กฐินของมหาเศรษฐี เป็นอย่างไรบ้าง เทวดาจรกล่าวว่าเป็น "กฐินบูด" ทำไมจึงบูด เพราะมีการดื่มเหล้าเมายาเอิกเกริก เฮฮา โกลาหล ไม่มีความสงบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม แล้วเทวดาก็จากไปบุรุษผู้นี้นำเรื่องนี้มาเล่าให้เศรษฐีฟัง เศรษฐีเสียใจ ตั้งใจจะทำกฐินใหม่อีกครั้ง
; ?4 j9 G& a% l( H& L2 K" Z; O0 d. N            กฐินกองที่ ๒ คราวนี้ในงานกฐินไม่มีเหล้ายาเมามาเกี่ยวข้อง แต่มีการฆ่าวัว ฆ่าควาย ฆ่าหมู ฆ่าไก่ กันอย่างใหญ่โต เพื่อเลี้ยงดูผู้มาร่วมงานให้อิ่มหนำสำราญ โดยไม่คิดว่าการกระทำเช่นนั้น เป็นบาป เป็นกรรม เมื่อถึงคราวทอดกฐิน เศรษฐีให้รางวัลบุรุษคนนั้นให้ไปคอยดักฟังว่าเทวดาท่านจะกล่าวถึงงานกฐินครั้งนี้ว่าอย่างไร บุรุษผู้นั้นไปคอยดักฟังที่ต้นไทรต้นเก่า เมื่อถึงเวลาประกาศให้เทวดาไปอนุโมทนา รุกขเทวดาก็ไม่ไป แต่ขอให้เทวดาจรไปแล้วให้กลับมาเล่าให้ฟัง เทวดาจรกลับมาบอกว่า เป็น "กฐินเน่า" เพราะมีการฆ่าสัตว์ นำมาเลี้ยงกันมากมาย บุรุษผู้ดักฟังกลับไปเล่าให้เศรษฐีฟัง เศรษฐีเสียใจอีก ก็จะทำกฐินอีกเพื่อแก้ไข เนื่องจากยังไม่พ้นเขตกฐินกาล. `/ _9 e4 h) d- r
            กฐินกองที่ ๓ เศรษฐีรีบทำกฐินอย่างรีบด่วนเนื่องจากกลัวจะไม่ทันกับกาลสมัย คราวนี้เกิดอารมณ์โทสะ ดุด่าว่ากล่าวทาสกรรมกรต่างๆ นานา เนื่องจากไม่ทันใจ มีโทสะ ความโกรธอยู่ในจิต ใครทำอะไรให้ก็ไม่ถูกใจ เมื่อถึงเวลาทอดกฐิน แม้ไม่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่มีสุรายาเมา แต่มีเสียงดุด่าว่ากล่าวผู้อื่น เศรษฐีให้รางวัลบุรุษผู้นั้นให้ไปคอยดักฟังข่าวจากเทวดาว่าจะพูดเกี่ยวกับตนอย่างไรบ้าง เทวดาจรมาชวนรุกขเทวดาที่ต้นไทรอีก แต่รุกขเทวดาไม่ไป  ขอให้เทวดาจรกลับมาเล่าข่าวให้ฟัง เมื่ออนุโมทนาแล้ว เทวดาจรกลับมาบอกว่า กฐินคราวนี้สมบูรณ์ทุกอย่าง แต่เสียอย่างเดียว เป็น "กฐินเศร้าหมอง" เพราะจิตใจของเศรษฐี เจ้าภาพกฐินไม่บริสุทธิ์ เศร้าหมองด้วยความโกรธ บุรุษผู้นั้นไปบอกเศรษฐีตามที่ได้ยินมา เศรษฐีเสียใจยิ่ง เพราะทำกฐินมา ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่กฐินครั้งใดบริสุทธิ์เลย จึงกระทำกฐินอีกเป็นครั้งที่ ๔
  G( N( {9 o3 V* n, a- G& a3 f6 p9 W            กฐินกองที่ ๔ เศรษฐีกระทำความดี มีอารมณ์สดชื่น แจ่มใส ไม่โกรธใคร ไม่นำสุรายาเมามาเกี่ยวข้อง ไม่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เมื่อถึงเวลาทอดกฐิน ก็ประกาศ เชิญเทวดามาอนุโมทนาอีก คราวนี้เทวดาจรกลับไปเล่าให้รุกขเทวดาฟังว่า คราวนี้ "กฐินบริสุทธิ์" บุรุษผู้นั้นกลับมาเล่าให้เศรษฐีฟัง เศรษฐีดีใจ มีความสุข ได้อานิสงส์ของการทำกฐินคราวนี้ สมบูรณ์เต็มที่ สมความปรารถนา ทุกประการ
+ Y( x* p8 a* z6 j9 ~8 R
" `% m/ L7 C4 @9 W. D            อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับอานิสงส์กฐิน คือ ในสมัยครั้งศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีบุรุษยาจกเข็ญใจไร้ที่พึ่งชาวเมืองพาราณสี ชื่อ "ติณบาล" อาศัยอยู่กับเศรษฐีผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์นับได้ ๘๐ โกฏิ โดยยอมตนเป็นคนรับใช้รักษาไร่หญ้าให้เศรษฐี  เพื่อแลกกับอาหารที่หลับนอน เขามีความคิดว่า "ตัวเราเป็นคนยากจนเช่นนี้ เพราะไม่เคยทำบุญอันใดไว้ในชาติปางก่อน มาชาตินี้จึงตกอยู่ในฐานะผู้รับใช้คนอื่น ไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติติดตัวแม้แต่น้อย" เมื่อคิดได้ดังนี้ เขาจึงแบ่งอาหารที่เศรษฐีให้ออกเป็นวันละ ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งถวายแก่พระภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต อีกส่วนหนึ่งเอาไว้สำหรับตนเอง ไว้บริโภค ด้วยเดชกุศลผลบุญนั้น ท่านเศรษฐีเกิดสงสาร จึงเพิ่มอาหารให้อีก ๒ ส่วน เขาได้แบ่งอาหารนั้นออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่หนึ่ง ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ ส่วนที่สอง แจกทานแก่คนยากจน ส่วนที่ ๓ เอาไว้บริโภคเอง เขาทำอยู่เช่นนั้นเป็นเวลาช้านาน, Q0 x: Z2 Z! r7 B
            ต่อมาเป็นวันออกพรรษา เหล่าชนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาต่างพากันทำบุญกฐินเป็นการใหญ่ แม้ท่านเศรษฐีก็เตรียมการจะถวายกฐิน จึงประกาศให้ประชาชนทั้งหลายทราบโดยทั่วกันว่า สิริธรรมเศรษฐี จะได้ทำบุญกฐิน ติณบาลได้ยินเกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจทันทีว่า "กฐินทานนี้แหละจะเป็นทานอันประเสริฐ" เข้าไปถามเศรษฐีว่า กฐินทานมีอานิสงส์อย่างไร เศรษฐีตอบว่า "กฐินทานมีอานิสงส์มากมายนัก สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสสรรเสริญว่าเป็นทานอันประเสริฐ" ติณบาลได้ยินดังนั้นเกิดความโสมนัสปลาบปลื้มเป็นอันมาก จึงพูดกับเศรษฐีว่า "กระผมมีความประสงค์จะร่วมอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานครั้งนี้ด้วยท่านจะเริ่มงานเมื่อใด" เศรษฐีตอบว่า "เราจะเริ่มงานเมื่อครบ ๗ วัน นับจากวันนี้ไป"3 W" O! L- l: E, G" x6 R
            ติณบาลได้ฟังก็ดีใจยิ่งนัก เขามีความศรัทธายินดีเต็มใจที่จะร่วมทำบุญกฐินนี้ด้วย แต่ตนเองเป็นคนยากจน ไม่มีเงินทองข้าวของเครื่องใช้จะอนุโมทนากับเศรษฐี จะมีแต่ก็ผ้าผืนเดียวที่นุ่งอยู่ ในที่สุดก็ตัดสินใจ เปลื้องผ้าที่นุ่งอยู่ไปซักฟอกให้สะอาด เอาใบไม้มาเย็บนุ่งแทนผ้า แล้วเอาผ้านั้นไปเร่ขายในตลาด ชาวตลาดพากันหัวเราะลั่น เมื่อเห็นอาการนั้น ติณบาลประกาศว่า "ท่านทั้งหลายหยุดก่อน อย่าหัวเราะข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้ายากจน ไม่มีผ้าจะนุ่ง จะขอนุ่งใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น ชาติหน้าจะนุ่งผ้าทิพย์" ในที่สุด เขาขายผ้านั้นได้ในราคา ๕ มาสก (๑ บาท) แล้วนำไปอนุโมทนากับเศรษฐี ก็พอดีกับบริวารกฐินทุกอย่างบริบูรณ์ เว้นแต่ขาดด้ายเย็บผ้าอย่างเดียวสำหรับเย็บไตรจีวร เศรษฐี ได้นำเงินนั้นซื้อด้ายเย็บไตรจีวร
& A! X# p- K% e2 o            ในกาลครั้งนั้นเกิดโกลาหลไปทั่วในหมู่ชนตลอดจนเทพเทวาในสรวงสวรรค์ ต่างพากันแซ่ซ้องสรรเสริญ ทานของติณบาล เสียงสาธุการ ความเสียสละในทานของติณบาล ดังลั่นเข้าไปถึงพระราชวัง พระเจ้าพาราณสี ทรงทราบเหตุผล รับสั่งให้นำติณบาล ให้เข้าเฝ้า แต่ติณบาลไม่กล้าเข้ามาเพราะไม่มีผ้านุ่ง พระองค์ทรงตรัสถามความเป็นมาของเขาโดยตลอด ให้ราชบุรุษนำผ้าสาฎกราคาแสนตำลึงไปพระราชทานแก่ติณบาล นอกจากนั้นได้พระราชทานบ้านเมือง ทรัพย์สมบัติ ช้าง ม้า วัว ควาย ทาสี ทาสา เป็นอันมาก และโปรดให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐี ในเมืองพาราณสี มีชื่อว่า "ติณบาลเศรษฐี" จำเดิมแต่นั้นเป็นต้นไป
, G$ z# z$ t! o            กาลต่อมา ติณบาลเศรษฐี เมื่อดำรงชีวิตอยู่พอสมควร แก่ อายุขัยแล้ว ก็จุติไปจากโลกมนุษย์ ไปปฏิสนธิเป็นเทพบุตรในดาวดึงส์สวรรค์เสวยทิพยสมบัติอยู่ในวิมานแก้ว สูง ๕ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร) มีนางเทพอัปสร หนึ่งหมื่นเป็นบริวาร ส่วนสิริธรรมเศรษฐี ครั้นจุติจากโลกมนุษย์แล้ว ไปปฏิสนธิในดาวดึงส์สวรรค์ มีนางฟ้าเป็นบริวาร เช่นเดียวกับ ติณบาลเศรษฐี ดังนี้5 }6 r& W$ t/ F6 W1 a
            นี่คือ อานิสงส์ของกฐินทานที่ติณบาลได้ตั้งใจกระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ในทานมัยในเขตบุญของพระพุทธศาสนา
; s6 \8 H' q- X            กฐิน เป็นเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ โดยเฉพาะในเรื่องของทานมัยที่เป็นไปถูกต้องตามพระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นการสร้างมหากุศลของจิตที่เป็น “ญาณ” รู้ถูกต้องตามพระพุทธธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า คำว่า “บุญ” หมายถึง มหากุศลตั้งแต่กามาวจรมหากุศล รูปาวจรมหากุศล อรูปาวจรมหากุศล โลกุตตรมหากุศล คำว่า “กิริยา” หมายถึง มหากิริยาจิตของพระอรหันต์ คำว่า “วัตถุ” หมายถึง วัตถุธรรม ๗๒ ได้แก่ : จิต ๑ เจตสิก ๕๒ นิปผันนรูป ๑๘ นิพพาน ๑  วัตถุในภาษาโลก แปลว่า ที่ตั้ง หรือวัตถุสิ่งของ แต่ในภาษาธรรม หมายถึง บุคคลผู้มีจิต เจตสิก รูป (มนุษย์ เทวดา พรหม) ผู้สามารถสร้างบุญมหากุศลนี้ได้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคลไปตามลำดับจนถึงพระอรหันต์ แม้สัตว์เดรัจฉานก็สามารถสร้างบุญมหากุศลได้  สร้างมหากุศลเก็บเป็นมหาวิบาก ส่งผลให้ได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา การจะถึงกระแสโลกุตตระ ต้องเปลี่ยนภพภูมิเป็นมนุษย์หรือเทวดาเสียก่อน การจะพัฒนาไปสู่กระแสโลกุตตระได้นั้น จะต้องน้อมนำกระแสธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าสู่จิต  แล้วจิตจะพัฒนาไปสู่กระแสโลกุตตระ โดยมีพระผู้มีพระภาคเจ้า (พระพุทธพจน์)  เป็นผู้นำไป มิใช่เราจะปฏิบัติได้เอง หรือเราจะมีตัวรู้ผุดขึ้นมาเอง หรือปฏิบัติไปตามคำสอนของอาจารย์ที่มิได้นำพุทธธรรมมาสอน แล้วเราจะเข้าถึงธรรมได้อย่างไร การปฏิบัติโดยปราศจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ล้วนนำไปสู่อบายภูมิ ทั้งสิ้น
$ J# K( y5 Z! f( R0 k8 |
1 J' t- j$ e( q0 l4 n& |/ p6 j5 w

Rank: 1

โมทนาสาธุ ครับใกล้เวลาจะออกพรรษาแล้ว ตั้งใจจะร่วมทำบุญกฐินสักกอง

Rank: 1

ปีนี้ตั้งใจจะทำบุญร่วมกับกฐินพระราชทานค่ะ รายละเอียดตาม Link นี้เลยค่ะ' ]5 d/ ?5 [- k* e/ E0 f
http://www.dhammathai.org/webbokboon/dbview.php?No=2505

Rank: 1

โมทนาด้วยครับ
" m- W+ s" m8 i& F2 G& m" C* d! k

Rank: 1

Rank: 1

อนุโมทนาสาธุครับ สาธุ
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:09 , Processed in 0.028557 second(s), 14 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.