- สมัครสมาชิกเมื่อ
- 2009-1-22
- เข้าสู่ระบบล่าสุด
- 2025-1-22
- สิทธิ์ในการอ่าน
- 150
- เครดิต
- 0
- โพสต์
- 5078
- สำคัญ
- 4
- UID
- 13
|
| | | | แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-24 07:31 โดย pimnuttapa
ความหมายในส่วนโครงสร้างโลหะปราสาททิพยวิมานคำ แห่งเมืองปงยั้งม้า วัดพระธาตุบ้านปง
๑. หลังคา ๑ ชั้น หมายถึง โครงสร้างหลักของพระพุทธศาสนา อันประกอบด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนยอดสุดเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
๒. ซุ้มปราสาท ๒๘ ซุ้ม หมายถึง พุทธบัลลังก์ หรือ สถานที่ประดิษฐานพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ อันได้แก่
๒.๑ พระตัณหังกรพุทธเจ้า ผู้เป็นวีรบุรุษยิ่งใหญ่
๒.๒ พระเมธังกรพุทธเจ้า ผู้มีพระยศใหญ่
๒.๓ พระสรณังกรพุทธเจ้า ผู้ทรงเกื้อกูลแก่โลก
๒.๔ พระทีปังกรพุทธเจ้า ผู้ทรงพระปัญญาสว่างไสว
๒.๕ พระโกณทัญญะพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระประมุขของหมู่ชน
๒.๖ พระมงคลพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นบุรุษประเสริฐ
๒.๗ พระสุมนะพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นปราชญ์ มีพระทัยดี
๒.๘ พระเรวัดพุทธเจ้า ผู้ทรงเพิ่มพูนความยินดี
๒.๙ พระโสภิตพุทธเจ้า ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระคุณ
๒.๑๐ พระอโนมทัสพุทธเจ้า ผู้ทรงเยี่ยมยอดในหมู่ชน
๒.๑๑ พระปทุมพุทธเจ้า ผู้ทรงทำให้โลกสว่าง
๒.๑๒ พระนารทพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นสารถีประเสริฐ
๒.๑๓ พระปทุมุตตระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นหลักของสัตว์
๒.๑๔ พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบ
๒.๑๕ พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้เลิศในโลกทั้งปวง
๒.๑๖ พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้เป็นชนประเสริฐ
๒.๑๗ พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้ทรงประกอบด้วยพระกรุณา
๒.๑๘ พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้ทรงขจัดความมืด
๒.๑๙ พระสิทธัตถะพุทธเจ้า ผู้ไม่มีบุคคลเสมอในโลก
๒.๒๐ พระติสสะพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
๒.๒๑ พระปุสสะพุทธเจ้า ผู้ทรงประธานธรรมอันประเสริฐ
๒.๒๒ พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
๒.๒๓ พระสิขีพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสนาเกื้อกูลแก่สัตว์
๒.๒๔ พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ทรงประทานความสุข
๒.๒๕ พระกกุสันธะพุทธเจ้า ผู้นำของหมู่สัตว์
๒.๒๖ พระโกนาคมนะพุทธเจ้า ผู้ทรงละความชั่วอันเป็นข้าศึก
๒.๒๗ พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยสิริ
๒.๒๘ พระโคตมะพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าในวงศ์ศากยะ
๓. สัตตกัณฑ์ หรือสัตบริกัณฑ์ หมายถึง ทิวเขาทั้ง ๗ ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ อันได้แก่ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัศ เนมินธร วินตกะ และอัสกัณ ตามคติจักรวาลของไทยที่ได้รับมาจากอินเดียในอดีต สำหรับในล้านนา เป็นคำเรียกเชิงเทียนรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ทำด้วยไม้แกะสลักและสลักปิดทองงดงามมีที่สำหรับปักเทียนไล่จากยอดถึงฐานทั้งสองด้านรวม ๗ ที่ และถือว่าเป็นเครื่องสักการะชั้นสูง
๔. บันได ๔ ทิศ กล่าวคือ รสธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลึกซึ้งกินใจเป็นที่ซาบซึ้งแก่คนและเทวดาทั้งหลาย เป็นที่น่าใคร่ชวนใจเข้าไปสดับตรัสฟังยิ่งนัก
๕. โลกุตระภูมิ ๑๑ อันประกอบด้วย เทวดา ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน ล้อมรอบปราสาทและฐาน
๖. ฐาน ๔ เหลี่ยม นัยยะแห่งธรรมะจตุราริยสัจ ๔ อันประกอบด้วยทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค
๗. ฐาน ๘ เหลี่ยม นัยยะแห่งธรรมะอัฏฐาริยมรรค ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ, สัมมาสังกัปโป, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันโต, สัมมาอาชีโว, สัมมาวายาโม, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ
๘. ทางขึ้น – ลง ๑ ทาง นัยยะแห่งธรรมะเอการิยมรรค คือมัชฌิมปฏิปทา (ทางสายกลาง)
๙. ยอดฉัตร จำนวน ๑๗ ยอด คือนัยยะแห่งสติปัฏฐาน ๔ , สัมมัปธาน ๔, โลกุตระธรรม ๔ รวมทั้งหมด ๑๗ ยอด อันเป็นส่วนแห่งยอดธรรมที่จะสามารถทำให้พ้นจากสังสารวัฏฏสงสารนี้ได้
| | | | |
|
|