แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ม.๑ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_6421.JPG



095.jpg



เขาพระสุเมรุ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระธาตุหริภุญชัย



IMG_7468.JPG



ประวัติเขาพระสุเมรุ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร



เขาพระสุเมรุ ไม่ปรากฏประวัติการก่อสร้างชัดเจน แต่พบหลักฐานจากภาพถ่ายเก่าว่า ตั้งอยู่หน้าหอพระไตรปิฎก ของวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ มาแต่โบราณ


รูปแบบสถาปัตยกรรมประกอบด้วยฐานเขียงกลมซ้อนกัน ๓ ชั้น รองรับท้องไม้ประดับด้วยลูกแก้วอกไก่และกรอบช่องกระจก เหนือขึ้นไปเป็นบัวหงายขึ้นรับเขาพระสุเมรุ ซึ่งประกอบด้วยสัตตบริภัณฑ์คีรี และมหานทีสีทันดร จำลองด้วยแผ่นทองสำริดดุนนูน ศิลปะหริภุญไชย เป็นลวดลายต้นไม้ เทพยดา สัตว์ป่า และเหล่าอสูรซ้อนเหลื่อมกัน ๗ ชั้น ชั้นบนสุดประดับด้วยไพชยนต์มหาปราสาทซึ่งเปรียบเสมือนที่ประทับของพระอินทร์


เขาพระสุเมรุนี้ สร้างขึ้นตามคติความเชื่อเรื่องแกนกลางของโลกและจักรวาล ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียในยุคพระเวทย์ ต่อมาได้แพร่หลายเข้ามาในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นับถือพุทธศาสนาและเชื่อว่าน่าจะแผ่เข้ามายังอาณาจักรล้านนาพร้อมพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติเขาพระสุเมรุ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร)



IMG_6464.JPG



IMG_6443.JPG



IMG_7532.JPG



หอธรรม (หอพระไตรปิฎก) วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระธาตุหริภุญชัย


IMG_7523.JPG



ประวัติหอธรรม วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร



หอธรรมหรือหอพระไตรปิฎกนี้ มีประวัติการก่อสร้างปรากฏตามหลักฐานศิลาจารึกพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (ลพ. ๑๕) ว่าสร้างโดยพระเมืองแก้ว กษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และพระราชมารดาในปี พ.ศ.๒๐๕๓ โดยในครั้งนั้นพระองค์ทรงได้โปรดให้สร้างพระไตรปิฎกและพระพุทธรูปทองคำมาประดิษฐานในหอธรรมที่สร้างขึ้นด้วย
        
ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นอาคาร ๒ ชั้น หันหน้าไปทางทิศตะวันตก แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกเก็จ ๒ ชั้น ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อาคารชั้นล่างก่ออิฐถือปูน มีบันไดทางขึ้นทอดยาวขึ้นไปสู่อาคารชั้นบน ซึ่งเป็นเครื่องไม้ ตกแต่งไม้โครงสร้างด้วยการแกะสลักลายพันธุ์พฤกษาปิดทองล่องชาด ผนังอาคารตกแต่งด้วยลายฉลุไม้ปิดทองล่องชาดประดับกระจก หลังคามุงด้วยกระเบื้องโลหะ

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติหอธรรม วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร)



IMG_7528.JPG



หอกลอง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7502.JPG



IMG_7483.JPG



IMG_6327.JPG



วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของพระธาตุหริภุญชัย มีพระพุทธเป็นพระประธานในวิหาร สร้างสมัยพระเมืองเกษเกล้า (กษัตริย์องค์ที่ ๑๒ ในราชวงศ์มังราย) วิหารหลังนี้มีการสร้างบูรณะโดย พระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย

และต่อมามีการบูรณะอีกครั้งเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ โดยพระสุเมธมังคลาจารย์ (อมร อมรปญฺโญ ป.ธ.๗) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร พร้อมคณะศรัทธาทั้งหลาย


IMG_6344.JPG



ภายในวิหารพระพุทธ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


IMG_6346.JPG



IMG_6351.JPG



พระพุทธและพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในวิหารพระพุทธ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

พระพุทธ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ประทับนั่งแบบขัดสมาธิราบ ลงรักปิดทอง ศิลปะล้านนา


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7419.JPG



IMG_6155.JPG



IMG_6149.JPG



IMG_6145.JPG



พิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระธาตุหริภุญชัย เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ ๕๐ ปี สร้างโดยคณะศรัทธาธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ด้านในพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น ๒ หมวด คือ หมวดพระพุทธรูปโบราณ และหมวดเครื่องไม้ เปิดให้เข้าชมด้านในทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์และวันอังคาร



IMG_6176.JPG



วิหารพระบาทสี่รอย วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระธาตุหริภุญชัย ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอยจำลอง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ สร้างโดยพระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย


IMG_6194.JPG



IMG_7436.JPG



พระพุทธบาทสี่รอยจำลอง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ประดิษฐานภายในวิหารพระบาทสี่รอย วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


IMG_7435.JPG



พระพุทธรูปปางสมาธิ ประดิษฐานภายในวิหารพระบาทสี่รอย วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7394.JPG



IMG_6092.JPG



IMG_6107.JPG



วิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระธาตุหริภุญชัย มีพระเจ้าทันใจเป็นพระประธานในวิหาร สร้างบูรณะโดย พระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย


IMG_6114.JPG



ภายในวิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


IMG_6123.JPG



พระเจ้าทันใจและพระพุทธรูปต่างๆ
ประดิษฐานภายในวิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

พระเจ้าทันใจ เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร สร้างสมัยพระเจ้าติโลกราช สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยคราวเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุหริภุญชัย เมื่อปีพุทธศักราช ๑๙๘๖ ฐานชุกชีกับกรอบซุ้มประดิษฐานพระเจ้าทันใจประดับด้วยกระจกสี


IMG_6137.JPG



ราชสักการะหริภุญชยพาหน วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

092.jpg



IMG_6054.JPG



IMG_6058.JPG



วิหารพระเจ้าแดง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของวิหารพระเจ้าทันใจ มีพระเจ้าแดง (หรือพระเจ้ากลักเกลือ) เป็นพระประธานในวิหาร


IMG_6074.JPG



ภายในวิหารพระเจ้าแดง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


IMG_6072.JPG



IMG_6071.JPG



IMG_6066.JPG



พระเจ้าแดง
(พระเจ้ากลักเกลือ) ประดิษฐานภายในวิหารพระเจ้าแดง วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

สร้างตามตำนานที่เชื่อว่า ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาฉันลูกสมอ ณ สถานที่นี้ โดยทิ้งกลักเกลือ ณ บริเวณที่ตั้งวิหารในปัจจุบัน จึงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระเจ้ากลักเกลือ หรือพระเจ้าบอกเกลือ

เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ ทาสีผ้าห่มคลุมด้วยสีแดง ชาวบ้านจึงนิยมเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "พระเจ้าแดง"

สันนิษฐานว่าพระองค์นี้คงจะสร้างขึ้นมาทดแทนองค์เดิมที่พังทลายลงตั้งแต่สมัยพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ หรือพญาแก้ว (พระเมืองแก้ว) (กษัตริย์องค์ที่ ๑๑ ในราชวงศ์มังราย)


IMG_6076.JPG



IMG_6078.JPG



ศาลเจ้าพ่อสุริโย วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิห
าร


IMG_6084.JPG



หินศิลา วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

ซึ่งทางวัดนำหินศิลานี้มาจากวัดดอนแก้ว อ.เมือง จ.ลำพูน สันนิษฐานว่านำมาพร้อมกับอัญเชิญพระพุทธรูปศิลา ๓ องค์ มาประดิษฐานที่วัดพระธาตุหริภุญชัย เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6022.JPG



IMG_6028.JPG



IMG_7350.JPG



IMG_6048.JPG



สุวรรณเจดีย์ (เจดีย์ปทุมวดี) วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์ที่มีรูปแบบลักษณะการก่อสร้างแบบเดียวกับเจดีย์สี่เหลี่ยมหรือเจดีย์กู่กุดที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน

องค์เจดีย์ มีฐานกว้างประมาณ ๖ เมตร สูงประมาณ ๑๔ เมตร สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ เป็นเจดีย์ทรงปราสาท มีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนขึ้นไปห้าชั้น แต่ละชั้นประดับซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน ด้านละ ๓ ซุ้ม ชั้นละ ๑๒ ซุ้ม รวมทั้งสิ้น ๖๐ ซุ้ม

ภายในซุ้มจะประดิษฐานพระพุทธรูปดินเผาประทับยืนประทับอยู่ ซึ่งมีร่องรอยของการลงรักปิดทอง ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่องค์ ส่วนบนสุดของเจดีย์เป็นกลีบบัวปูนปั้นหุ้มด้วยโลหะแผ่น ส่วนยอดปลายสุดทำเป็นกรวยแหลมเรียวยาวขึ้นไป


สุวรรณเจดีย์องค์นี้มีพระพิมพ์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงของเมืองลำพูนบรรจุอยู่ภายใน คือ พระเปิม


IMG_6046.JPG



IMG_6047.JPG



IMG_6049.JPG



พระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืน ปางประทานอภัย ศิลปะหริภุญไชย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ประดิษฐานภายในซุ้มจระนำ สุวรรณเจดีย์ (เจดีย์ปทุมวดี) วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


IMG_6039.JPG



ประวัติสุวรรณเจดีย์ (เจดีย์ปทุมวดี) วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร



ตำนานกล่าวว่า สร้างโดยพระนางปทุมวดี อัครมเหสีของพระเจ้าอาทิตยราช พร้อมกับพระเจ้าอาทิตยราชทรงสร้างพระธาตุหริภุญชัยในราว พ.ศ.๑๖๐๗ ส่วนตำนานมูลศาสนาระบุเพิ่มเติมว่าในครั้งนั้นทรงโปรดฯ ให้ประดับทองคำบริเวณส่วนยอดของเจดีย์ จึงได้ชื่อว่า สุวรรณเจดีย์

สุวรรณเจดีย์ เป็นเจดีย์ก่ออิฐแต่ฐานก่อด้วยศิลาแลง มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมซ้อนเหลื่อมกัน ๓ ชั้น รองรับเรือนธาตุที่มีซุ้มจระนำซ้อนลดหลั่นกัน ๕ ชั้น ภายในซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนแสดงปางประทานอภัย ศิลปะหริภุญไชย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เมืองหริภุญไชยมีความเจริญอย่างสูงสุดทั้งด้านการค้า ศาสนา และศิลปะวิทยาการ  

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติสุวรรณเจดีย์ (เจดีย์ปทุมวดี) วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร)


IMG_7338.JPG


IMG_7337.JPG



IMG_7341.JPG



พระพุทธรูปศิลา ๓ องค์ ประดิษฐานบนฐานเขียงสุวรรณเจดีย์ (ปทุมวดีเจดีย์) วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชรทั้ง ๓ องค์ ซึ่งทางวัดได้อัญเชิญมาจากวัดดอนแก้ว อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6006.JPG



IMG_5999.JPG



IMG_5991.JPG



วิหารพระนอน วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของวิหารพระเจ้าละโว้ ข้างวิหารพระเจ้าพันตน และมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์เป็นพระประธานในวิหาร สันนิษฐานว่าสร้างสมัยพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ หรือพญาแก้ว (พระเมืองแก้ว) (กษัตริย์องค์ที่ ๑๑ ในราชวงศ์มังราย)


IMG_6009.JPG



IMG_6018.JPG



พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ประดิษฐานภายในวิหารพระนอน วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7291.JPG



IMG_5933.JPG



IMG_5939.JPG



IMG_5901.JPG



วิหารพระเจ้าละโว้ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระธาตุหริภุญชัย มีพระละโว้เป็นพระประธานในวิหาร สร้างบูรณะโดย พระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย


IMG_5944.JPG



IMG_5972.JPG



ภายในวิหารพระเจ้าละโว้ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร



IMG_5959.JPG



IMG_5955.JPG



พระละโว้ ประดิษฐานภายในวิหารพระเจ้าละโว้ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร สร้างบูรณะโดยพระเจ้ากาวิละ (พระบรมราชาธิบดีกาวิละ) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑ และเครือญาติ เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๔


IMG_7398.JPG



IMG_6185.JPG



วิหารพระพันตน วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารพระเจ้าละโว้ มีพระเจ้าพันตนเป็นพระประธานในวิหาร และภายในประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวนมาก สันนิษฐานว่าสร้างสมัยพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิ หรือพญาแก้ว (พระเมืองแก้ว) (กษัตริย์องค์ที่ ๑๑ ในราชวงศ์มังราย)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6214.JPG



IMG_6125.JPG



IMG_7399.JPG



IMG_6243.JPG



IMG_6216.JPG



หอยอ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประจำทิศทั้งสี่ด้านของพระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ (พระบรมราชาธิบดีกาวิละ) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑ และเครือญาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๔ ในคราวสมัยพระเจ้ากาวิละมาบูรณะรั้วล้อมองค์พระธาตุใหม่พร้อมกับให้สร้างฉัตรหลวงตั้งไว้ที่มุมทั้งสี่ของรั้วที่ล้อมองค์พระธาตุ

ซึ่งสัตติบัญชร (รั้วหอก) ดั้งเดิมนั้น พระเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้นที่เมืองเชียงแสน แล้วนำมาจากเชียงแสนเพื่อรายล้อมองค์พระธาตุหริภุญชัย


IMG_6158.JPG



IMG_6240.JPG



IMG_6249.JPG



IMG_6277.JPG



IMG_6293.JPG



ซุ้มกุมภัณฑ์ ประจำทิศทั้งสี่มุมพระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


IMG_7490.JPG



IMG_6222.JPG



IMG_6311.JPG



IMG_6275.JPG



IMG_7412.JPG



ฉัตรหลวง ประจำทิศทั้งสี่มุมพระธาตุหริภุญชัย วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ (พระบรมราชาธิบดีกาวิละ) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๙


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ประวัติวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (ต่อ)

l28.png




๔. ยุคบูรณะต่อยอดพระธาตุหริภุญชัยให้สูงเสียดฟ้า         


IMG_7368.JPG



เมื่อปีพุทธศักราช ๑๗๒๒ ในสมัยของพระเจ้าสรรพสิทธิ์ ได้เป็นผู้ครองนครลำพูน ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสองค์พระธาตุหริภุญชัย พระองค์ทรงสร้างโกศทองเสริมต่อขึ้นอีก ๑ ศอก รวมเป็น ๔ ศอก แล้วสร้างมณฑปองค์หนึ่งสูงได้ ๒๔ ศอก ครอบมณฑปองค์เดิมที่พระยาอาทิตยราชสร้างไว้ ซึ่งเสริมต่อขึ้นอีก ๒ วา รวมเป็น ๕ วา

ครั้งปีพุทธศักราช ๑๘๑๙ พระยามังราย ผู้ครองนครเชียงราย ได้ชัยชนะครองนครลำพูน ก็ทรงมีพระราชศรัทธาในพระธาตุหริภุญชัยเช่นเดียวกัน พระองค์โปรดให้ก่อเจดีย์ครอบมณฑปที่พระยาสรรพสิทธิ์สร้าง เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงกลมมีความสูงถึง ๗๐ ศอก (ครอบมณฑปเดิมอีก ๑๐ วา รวมเป็น ๑๕ วา) ตลอดทั้งองค์เจดีย์ได้มีการหุ้มด้วยแผ่นทองจังโกฎก์หุ้มตั้งแต่ฐานจนถึงยอด

เมื่อพระยากือนาขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้ปฏิบัติตามราชประเพณีที่จะต้องทำนุบำรุงพระบรมธาตุเช่นที่พระบูรพกษัตริย์ทุกพระองค์ทรงปฏิบัติสืบต่อกันมา พระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานปล่อยช้างพลายมงคลเชือกหนึ่งชื่อ “ผู้ไชยหนองแขม” ให้ออกไปหาดินแดนถวายพระธาตุ โดยกำหนดเอาตามเส้นทางที่ช้างเชือกนี้ออกหากินได้ดินแดนถวายแก่องค์พระธาตุมากมาย ดังนี้

“...ช้างเชือกนั้นก็กระหวัดแปรไปทิศใต้ฟากน้ำแม่ระมิงค์ด้านตะวันตกไปถึงสบล้องงัวเฒ่า เกี้ยวไปข้ามสบแม่ทาน้อยแผวแสน ข้าวน้อย (ฉางข้าวน้อย) ฟากน้ำแม่ทาฝายตะวันตกถึงหนองสร้อยและสบห้วยปลายปืน แล้วไปกิ่วปลีดอยละคะแล้วถึงบ้านยางเพียง ไปดอยถ้าโหยด ดอยเก็ดสอง ขุนแม ขุนกอง ลงไปถึงแม่ขุนยอด


ไปม่อนมหากัจจายน์ฝายเวียงทะมอฝายตะวันตก เกี้ยวขึ้นมาทาง แปหลวงมาผีปันน้ำ ถึงกิ่วขามป้อมหินฝั่งถึงขุนแม่อี่เราะแล้วไปถึงขุนแม่ลาน ลงมาแม่ออนล่องแม่ออนมาถึงสบแม่ออน แล้วกินผ่าเวียงกุมกาม กลับมาถึงป่า จรดกับปล่อยตอนแรก”  

ลุถึงในสมัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้เรืองนามในล้านนาไทย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุหริภุญชัย เพราะทรงเคารพนับถือว่าเป็นสถูปเจดีย์อันสำคัญในล้านนาไทย กล่าวคือ


เมื่อปีพุทธศักราช ๑๙๘๖ พระองค์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การก่อสร้าง และอาราธนาพระมหาเมธังกรให้เป็นนวกัมมาธิฏฐายีควบคุมการก่อสร้าง ได้เสริมต่อพระบรมธาตุสูงขึ้น ๘ วา จากเดิมซึ่งสูงอยู่แล้ว ๑๕ วา รวมเป็น ๓๒ วา ฐาน ๑๒ วา ๒ ศอก ฉัตร ๗ ชั้น แก้วบุษน้ำหนัก ๒๓๐ เฟื้อง

ทั้งได้นำทองจังโกฎก์ (หรือทองจังโก คือทองแดงปนนาคทำเป็นแผ่น) หุ้มองค์พระบรมธาตุตั้งแต่ฐานถึงยอด สิ้นทองจังโกฎก์ ๑๕,๐๐๐ แผ่น การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปีดับเป้า (ปีฉลู) เดือน ๘ (เหนือ) ออกค่ำ (แรมหนึ่งค่ำ) วันพุธ พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒๑ ชื่อ อุตราสาฬห

จนถึงปีรวายยี (ปีขาล) จุลศักราช ๘๐๘ พระพุทธศาสนาล่วงแล้วได้ ๑๙๙๐ ปี เดือนวิสาขะ ออก ๓ ค่ำ วันอังคาร ไทยยกสง้านับได้ ๖ เดือน จึงสำเร็จบริบูรณ์ พระเจดีย์องค์นี้ตีนฐานมน กว้าง ๑๒ วาครึ่ง สูงแต่ใจกลางขึ้นไป ๓๒ วา มีฉัตร ๗ ใบ เมื่อเสร็จแล้วก็โปรดให้มีการสวดพระปริตรมงคลคาถาและพุทธาภิเษกฉลองอบรมพระมหาเจดีย์องค์นี้ และจัดให้มีการมหรสพฉลอง ๗ วัน ๗ คืน  



๕. ยุครัตนโกสินทร์สู่ปัจจุบัน


IMG_5738.JPG



ยุครัตนโกสินทร์ ในช่วงก่อนหน้านั้น วัดกลายเป็นวัดร้างไปชั่วระยะหนึ่ง เนื่องจากกษัตริย์ในยุคนั้นๆ มัวยุ่งอยู่กับการทำศึกกับพม่า และล้านนาไทยก็เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกพม่าและมอญร่วม ๒๐๐ กว่าปี  

จวบจนกระทั่ง เมื่อปี
พุทธศักราช ๒๓๑๗ พระเจ้ากาวิละ ได้ยึดอาณาจักรล้านนาไทยกลับคืนมาจากพม่า และในปี พ.ศ.๒๓๔๘ พระเจ้ากาวิละได้ทรงสถาปนาพระอนุชาของพระองค์ทั้ง ๒ คือ คำฟั่นและบุญมาขึ้นเป็น

พระยาคำฟั่น ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนเป็นองค์แรก ส่วนองค์เล็กเป็นเจ้าบุญมา ทรงทำหน้าที่เป็นพระมหาอุปราช และเจ้าทั้งสองได้ช่วยกันบูรณะและพัฒนาวัดพระธาตุหริภุญชัยให้เจริญและมั่นคง

องค์พระธาตุหริภุญชัยมีรั้วทองเหลืองล้อมรอบ ๒ ชั้นทั้งสี่ด้าน รั้วดั้งเดิมนั้น พระเมืองแก้วโปรดให้นำมาจากเมืองเชียงแสน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๙ พระเจ้ากาวิละได้มาบูรณะใหม่พร้อมกับให้สร้างฉัตรหลวงตั้งไว้ที่มุมทั้งสี่ของรั้วที่ล้อมองค์พระธาตุ

ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ พระเจ้ากาวิละได้พร้อมใจกับน้องของท่านทุกคนได้ร่วมกันสร้างหอยอประจำทิศทั้ง ๔ ด้าน และได้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งเพื่อประดิษฐานไว้ในวิหารด้านเหนือพระธาตุ เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ให้ชื่อว่า พระละโว้


IMG_5743.JPG



เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๒ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐ ได้อาราธนาครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า จังหวัดลำพูน มาทำการรื้อทองจังโกที่หุ้มองค์พระธาตุมาแต่เดิมออก และทำการบูรณะใหม่โดยการหุ้มแผ่นทองเหลืององค์พระธาตุตลอดทั้งองค์ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๕๐๐

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ ได้มีการว่าจ้างช่างทองมาทำการหลอมไล่เอาทองคำแยกออกจากแผ่นทองจังโก เพื่อนำออกขายนำเงินมาเก็บเป็นสมบัติของพระธาตุ เงินส่วนหนึ่งนั้นได้มีการนำไปซื้อที่ดินบริเวณห้องแถวตลาดสดเก่ากลางเมืองลำพูน เพื่อใช้สำหรับเก็บผลประโยชน์สำหรับมาบำรุงพระธาตุ


IMG_5701.JPG



เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๘ เกิดพายุกระหน่ำอย่างแรงทำให้วิหารหลวงหลังนี้พังทลายลงมาทั้งหลัง คงเหลือเพียงพระพุทธรูปที่ประดิษฐานบนแท่นแก้วองค์ที่อยู่ด้านเหนือเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่คงสภาพที่สมบูรณ์ จึงมีการก่อสร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๐ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๗๒


106.jpg



พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้สร้างศาสนสมบัติไว้กับพุทธศาสนาในที่ต่างๆ ทั่วแคว้นแดนล้านนาไทยจนนับไม่ถ้วน เฉพาะที่วัดพระธาตุหริภุญชัยแห่งนี้ ท่านครูบาเจ้าได้สร้างวิหารไว้ถึง ๕ หลังด้วยกัน คือ

๑. วิหารอัฏฐารส  
๒. วิหารพระพุทธ  
๓. วิหารพระเจ้าละโว้  
๔. วิหารพระเจ้าทันใจ
๕. วิหารพระมหากัจจายนะ  

พระครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย นักบุญแห่งล้านนาไทย มรณภาพ เมื่อวันอังคารที่ ๒๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๑ ปีขาล เวลาเที่ยงคืน ๕ นาที ๓๐ วินาที รวมสิริอายุ ๖๐ ปี ๘ เดือน ๑๐ วัน   


๖. เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


S__42131468.jpg



รายนามลำดับเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร

ปี พ.ศ. เจ้าอาวาสยุคต้นๆ ไม่ทราบว่าแต่งตั้งเมื่อไร ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน ต่อไปนี้เป็นรายนามเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ทั้งหมดเท่าที่ทราบนาม ดังนี้  
         
๑. พระมหาราชโมฬีสารีบุตร  (ไม่ทราบปี พ.ศ.)

๒. พระราชโมฬี  (ไม่ทราบปี พ.ศ.)    
         
๓. พระคัมภีร์ คมฺภีโร  (ไม่ทราบปี พ.ศ.)   
         
๔. พระวิมลญาณมุนี  พ.ศ.๒๔๗๖-๒๔๘๖
         
๕. พระครูจักษุธรรมประจิตร  พ.ศ.๒๔๘๖-๒๔๘๙  
      
๖. พระสุเมธมังคลาจารย์ (อมร อมรปญฺโญ ป.ธ.๗)  พ.ศ.๒๔๘๙-๒๕๓๓

๗. พระเทพมหาเจติยาจารย์ (ไพบูลย์ ภูริวิปุโล)  พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๕๖

๘. พระราชปัญญาโมลี (จำรัส ทตฺตสิริ) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๕๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพรัตนนายก เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙ และเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร. ประวัติวัด. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.hariphunchaitemple.org/modules.php?name=Content&pa=list_pages_categories&cid=11. (วันที่ค้นข้อมูล : ๑ มกราคม ๒๕๕๗))  

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-5 21:38 , Processed in 0.089229 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.