แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดกานโถม (ช้างค้ำ) บ.ช้างค้ำ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC00774.jpg



างเข้าไปยังจุดแรกที่ค้นพบเวียงกุมกาม วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC00779.jpg


จุดแรกที่ค้นพบเวียงกุมกามในพ.ศ.๒๕๒๗ วัดกานโถม ค่ะ


DSC00780.jpg



ประวัติวัดกานโถม

(โบราณสถานกลุ่มแรก อยู่ทางด้านทิศใต้)



ในสมัยพระเจ้ามังรายมหาราชยังครองเวียงกุมกามอยู่ คือประมาณปีพ.ศ.๑๘๓๑ ได้มีพระเถระชาวลังกา จำนวน ๕ รูป ซึ่งนำโดยพระมหากัสสปะ ได้จาริกมาจากกรุงสุโขทัยขึ้นไปจนถึงเวียงกุมกามบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ต้นมะเดื่อใหญ่ เมื่อพระเจ้ามังรายมหาราชทรงทราบ พระองค์ก็ได้เสด็จไปนมัสการพระเถระ แล้วทรงสนทนาธรรมกับพระมหาเถระ พระมหาเถระเจ้าได้ถวายพระธรรมเทศนาเรื่อง "ปัฏฐังคุลีชาดก" คือชาดกที่เกี่ยวกับอานิสงส์พระหัตถ์พระพุทธรูป เมื่อพระเจ้ามังรายได้สดับฟังก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงโปรดให้สร้างพระอารามถวายแก่พระเถระ

ขณะเดียวกันพระองค์ทรงหล่อพระพุทธรูปสำริดขึ้น ๕ องค์ เป็นพระนั่ง ๓ องค์ และพระยืน ๒ องค์ โดยมีองค์หนึ่งสูงใหญ่เท่าพระองค์จริงของพระเจ้ามังรายมหาราช สำหรับพระพุทธรูปองค์นั่งนั้นเท่าที่สืบค้นทราบได้ในปัจจุบันมีเพียง ๑ องค์เท่านั้นคือ พระประธานที่ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดช้างค้ำ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองสำริดปางมารวิชัย ลักษณะเป็นพระสิงห์ สกุลช่างเชียงใหม่ที่มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ส่วนพระพุทธรูปยืน ๑ องค์นั้น ปัจจุบันยังประดิษฐานอยู่ในมณฑปวัดพระเจ้ามังราย (วัดกาละคอด หรือ วัดคานคอด)


จากเอกสารพงศาวดารโยนก ระบุว่าพญามังรายโปรดให้สร้างวัดกานโถมขึ้นในราวปีพ.ศ.๑๘๓๓ ประกอบด้วยฐานเจดีย์มีฐานกว้าง ๑๒ เมตร สูง ๑๘ เมตร ทำซุ้มคูหาที่ทิศใช้พระพุทธรูปซ้อนเป็นสองชั้น ชั้นล่างไว้พระพุทธรูป ๔ องค์ ชั้นบนไว้พระพุทธรูปยืนองค์หนึ่ง มีรูปอัครสาวกโมคคัลลานะ สารีบุตร และพระอินทร์ รูปพระแม่ธรณีไว้สำหรับพระพุทธรูปด้วย หลังจากที่พระเจ้ามังรายมหาราชได้สร้างพระอารามและหล่อพระพุทธรูปทองสำริดแล้ว ก็พอดีเวลานั้นพระองค์ท่านกำลังทรงเตรียมการจะกรีฑาทัพเสด็จไปตีเมืองรามัญ (เมืองมอญหรือเมืองหงสาวดี) แต่ก่อนที่พระองค์จะยกทัพไปนั้น พระองค์ทรงตั้งสัตยาธิษฐานเอาไว้ว่า “หากพระองค์ยกทัพไปตีประเทศรามัญในครั้งนี้และได้รับชัยชนะต่อพญารามัญแล้ว กลับมาจะสร้างพระวิหารให้เป็นที่สถิตแก่พระพุทธรูปสำริดทั้ง ๕ องค์นั้น” (สันนิษฐานว่าทรงกระทำพิธีบวงสรวงที่หอพระเจ้ามังราย)

พระองค์ทรงยกกองทัพไปทางแม่สะเรียง ข้ามแม่น้ำคงไปถึงแม่น้ำอาสา ตั้งทัพอยู่ที่นั่น ครั้งนั้นพระเจ้าหงสาวดีชื่อ สุตตโสม รู้ข่าวว่าพระเจ้ามังรายมหาราชมาตั้งทัพอยู่ในแคว้นแดนตน ประกอบกับได้ยินอานุภาพศักดาของกองทัพอันกล้าหาญของพระองค์ พระเจ้าสุตตโสมก็มีความเกรงกลัวไม่คิดจะต่อสู้แต่อย่างใด จึงได้แต่งเสนาอำมาตย์อันเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการออกไปถวายพระเจ้ามังรายมหาราช ขอเจริญพระราชไมตรีด้วยพร้อมกันนั้นได้ทรงถวายพระราชธิดาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “พระนางปายโค” หรือ “ตะละแม่ศรี” ให้เป็นบาทบริจาริกาแด่พระเจ้ามังราย พระเจ้ามังรายมหาราชทรงน้อมรับด้วยไมตรีอันดียิ่ง พระเจ้าสุตตโสมจึงได้จัดส่งพระราชธิดาพร้อมด้วยข้าทาสชาย หญิง ช้างม้าอย่างละ ๕๐๐ ถวายแด่พระเจ้ามังรายมหาราช พระองค์ทรงรับแล้วเสด็จยกกองทัพกลับเวียงกุมกามและได้ทรงอภิเษกพระนางปายโคไว้ในที่พระราชเทวี

เมื่อพระเจ้ามังรายมหาราชเสด็จกลับเวียงกุมกามแล้ว พระองค์ได้ทรงโปรดให้ช่างไม้คนโปรดของพระองค์ชื่อ “นายช่างกานโถม” ซึ่งขณะนั้นพระองค์ได้สถาปนาให้เป็น “หมื่นเจตรา” ออกไปครองเมืองรอย (ได้เปลี่ยน ชื่อเป็นเมืองเชียงแสนในเวลาต่อมา) คิดอ่านสร้างพระวิหารขึ้นมา โดยปรุงตัวไม้ส่วนต่างๆ ของวิหารจนสำเร็จรูปขึ้นที่เมืองเชียงแสน จากนั้นก็ขนย้ายลงมาสร้างพระวิหารที่เวียงกุมกาม โดยพระเจ้ามังรายมหาราชทรงโปรดให้ตั้งชื่อพระวิหารตามชื่อของช่างไม้คนโปรดว่า “วิหารกานโถม” ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงซากของวิหารที่หันหน้าลงสู่ทิศตะวันตกของแม่น้ำปิงสายเก่า

จากการศึกษาของอาจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล ได้เสนอว่าเวียงกุมกามน่าจะสร้างขึ้นในปีพ.ศ.๑๘๓๗ และเชื่อว่าน่าจะเป็นชุมชนโบราณมาก่อนตั้งแต่สมัยหริภุญชัย เนื่องจากมีการขุดพบพระพิมพ์ดินเผาศิลปะสมัยหริภุญชัยระหว่างการขุดค้นที่วัดกานโถมในปีพ.ศ.๒๕๒๗

พื้นที่ประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม ปัจจุบันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พื้นที่สันนิษฐานว่าเป็นเขตของเวียงกุมกาม มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม กว้างยาวประมาณ ๘๕๐ คูณ ๖๐๐ เมตร ภายในพื้นที่พบหลักฐานของแนวกำแพงเมือง คู่น้ำ-คูดิน และกลุ่มโบราณสถาน ซึ่งกรมศิลปากรได้เข้ามาทำการขุดค้นตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๒๗ โดยได้รับการสำรวจขึ้นทะเบียนและทำการบูรณะขุดแต่งเป็นระยะจนถึงปัจจุบัน

DSC01943.jpg


ผังรูปแบบการก่อสร้างวัดกานโถม (ช้างค้ำ)   อาจแบ่งโบราณสถานของวัดได้ ๒ กลุ่ม ที่พิจารณาว่ามีอายุของการก่อสร้างในระยะต่างกัน ๒ สมัย คือ

กลุ่มแรก อยู่ทางด้านทิศใต้ เป็นกลุ่มสร้างขึ้นในระยะก่อนสมัยการสร้างเวียงกุมกามของพญามังราย อันเป็นกลุ่มโบราณสถานที่พบพระพิมพ์แบบหริภุญชัย และกรมศิลปากรขุดแต่ง-บูรณะในปีพ.ศ.๒๕๒๗ ซึ่งเราสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดกานโถมเดิม ประกอบไปด้วย ฐานวิหารและเจดีย์แปดเหลี่ยม หันด้านหน้าของอาคารไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นรูปแบบการวางผังที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการวางผังของงานสถาปัตยกรรมล้านนาโดยทั่วไป

ส่วนกลุ่มที่สอง อยู่ทางด้านทิศเหนือ เป็นโบราณสถานซึ่งเป็นเป็นพระเจดีย์และพระวิหารที่ใช้ประโยชน์ของวัดในปัจจุบัน ที่สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก พิจารณาว่าน่าจะเป็นรูปแบบของวัดที่สร้างในสมัยเวียงกุมกาม วิเคราะห์ตามจารึกที่กล่าวถึงชื่อวัดกานโถม (พ.ศ.๒๐๔๒) อันเป็นวัดที่สืบเนื่องมาตั้งแต่รัชกาลพญามังราย ที่นายช่างกานโถมได้ปรุงเครื่องไม้จากเมืองเชียงแสนมาสร้างวิหาร วัดกานโถม แต่ทั้งสองกลุ่มนั้นมีรูปแบบการก่อสร้างแบบมีเจดีย์ตั้งอยู่ตอนหลังวิหารเช่นเดียวกัน


DSC01219.jpg



วัดกานโถม มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และประกอบไปด้วยงานสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่ง ในตำนานมีการกล่าวถึงการบูชาต้นไม้เดื่อศักดิ์สิทธิ์ก่อนการสร้างเวียงกุมกาม แสดงให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้อาจจะเป็นศูนย์กลางของชุมชนมาตั้งแต่อดีต จากการเข้าไปปฏิบัติงานขุดแต่ง-บูรณะโบราณสถานของกรมศิลปากรในปีพ.ศ.๒๕๒๗ ได้พบชิ้นส่วนของศิลาจารึกจำนวน ๕ ชิ้น สลักบนศิลาทรายแดง บริเวณซากวิหาร วัดกานโถม

จากการศึกษาของดร.ฮันส์ เพนธ์ ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศของสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สรุปว่า ศิลาจารึกทั้ง ๕ ชิ้นนี้ เดิมคงเป็นจารึกอยู่ในหลักเดียวกันและจารึกในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน แต่ต่อมาได้กระจัดกระจายออกจากกันไม่สามารถนำมาประกอบรวมกันได้ และมีส่วนที่ขาดหายไปหลายชิ้น ทั้งนี้เนื่องจากเดิมซากโบราณสถานดังกล่าวเป็นเนินดินสูง และได้มีการไถปรับพื้นที่ฝังอยู่ในดินทั่วไปเมื่อประมาณ ๖๐ กว่าปีมาแล้ว

DSC00137.jpg



ชิ้นส่วนของจารึกทั้ง ๕ ชิ้น ปรากฏว่ามีลักษณะอักษรแบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ


๑. อักษรมอญ ซึ่งเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด ประมาณว่ามีอายุที่จารึกขึ้นในราว พ.ศ.๑๗๕๐-๑๘๕๐


๒. อักษรที่มีลักษณะระหว่างอักษรมอญกับอักษรไทย ซึ่งนับได้ว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญมากที่สุดที่ยังไม่เคยปรากฏพบในที่แห่งใดมาก่อน เป็นลักษณะของอักษรที่แสดงวิวัฒนาการในช่วงเวลาที่คนไทยยืมอักษรมอญมาเปลี่ยนแปลงเป็นอักษรไทยใหม่ๆ เพื่อใช้เขียนเป็นภาษาไทย ประมาณว่าจารึกในราว พ.ศ.๑๘๒๐-๑๘๖๐ นับเป็นอักษรไทยยุคต้นที่ยังไม่เคยพบที่ใดมาก่อน


๓. อักษรสุโขทัยและฝักขามรุ่นแรก เป็นจารึกครั้งหลังสุดก่อนประมาณ พ.ศ.๑๙๔๐




Rank: 8Rank: 8

DSC00751.jpg


DSC01944.jpg



ฐานสถูปเจดีย์ ทรงมณฑปบนฐานลานปทักษิณเตี้ย วัดกานโถม อยู่ด้านหลังวิหารโถงและซุ้มประสาท สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันตกตามคติการก่อสร้างวัดแบบพม่าดั้งเดิม ภายใต้รากฐานของสถูปเจดีย์ขนาดเล็ก-วิหาร ได้ขุดพบพระพิมพ์ดินเผา สกุลช่างหริภุญชัยที่เป็นพระสามหอม พระคง พระสิบสองจำนวนหนึ่ง (รวมๆ ประมาณ ๖ ปี๊บจากคำบอกเล่า) ค่ะ


DSC01218.jpg


ลักษณะของการกระจายพระพิมพ์ดินเผา ที่ฝังอยู่สถูปเจดีย์ขนาดเล็ก-วิหาร วัดกานโถม ตรวจสอบชั้นดินทางโบราณคดีพบว่า กลุ่มดินเผาดังกล่าวเป็นสิ่งที่อยู่มาก่อน และไม่มีความสัมพันธ์กับการก่อสร้างวัดกานโถมและสถูปเจดีย์หลักฐานดังกล่าว ค่อนข้างจะแน่ชัดและเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า ก่อนที่พญามังรายจะมาสร้างเวียงกุมกามในบริเวณแห่งนี้เคยเป็นชุมชนสมัยหิริภุญชัยมาก่อนอย่างน้อยพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมา ค่ะ


DSC00749.jpg


ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ ได้หน่อจากต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ วัดกานโถม (วัดช้างค้ำ) อาจารย์ อมร บุญชัย ปลูกเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๓๐ ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC00745.jpg


กรุของมีค่าสมัยโบราณ วัดกานโถม (วัดช้างค้ำ) พึ่งค้นพบเมื่อพ.ศ.๒๕๓๐ โดยปลูกต้นไม้ไว้เป็นเครื่องหมายลายแทง อยู่บริเวณใกล้ ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ได้หน่อจากศรีมหาโพธิ์ วัดกานโถม (วัดช้างค้ำ) ค่ะ


DSC01945.jpg


31122010024.jpg



บ่อน้ำทิพย์ กำเนิดขึ้นแต่พ.ศ.ใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นพร้อมกับวิหารวัดกานโถมแห่งนี้ ขุดพบเมื่อพ.ศ.๒๕๒๖ ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC00785.jpg


DSC00786.jpg



หอพญามังราย วัดกานโถม (วัดช้างค้ำ) ค่ะ


DSC00783.jpg


รูปพ่อขุนมังรายมหาราช ประดิษฐานภายใน หอพญามังราย วัดกานโถม (วัดช้างค้ำ) ค่ะ


พระคาถาบูชา พ่อขุนเม็งรายมหาราช
(กล่าวนะโม ๓ จบ) สาธุ สาธุ สาธุ อะหัง พันเต มะมะมาติปินัง อิวะ มหาพรหม ราชานังปาหัง วันทามิ (๓ จบ)



Rank: 8Rank: 8

DSC00781.jpg


ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ วัดกานโถม (วัดช้างค้ำ) ที่ได้อัญเชิญเมล็ดมาจากเมืองลังกาแต่ครั้งโบราณกาลค่ะ  


ประวัติต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ วัดกานโถม (วัดช้างค้ำ)  ได้อัญเชิญเมล็ดมาจากเมืองลังกาโดยองค์พระสงฆ์พร้อมสาวก กล่าวแก่พญามังรายว่า “อาตมาได้อัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์จากลังกาวงศ์มาเพื่อให้มหาบพิตรได้ลงรากฝังลึกไว้ ณ เวียงกุมกามแห่งนี้ ครั้งพญามังรายได้สดับรับฟังดังนั้นแล้วก็เกิดปีติยินดียิ่ง จึงได้ลงมือปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ ณ บัดนั้น”



DSC00787.jpg


พระพุทธรูป และรูปเหมือนหลวงปู่ทวด ประดิษฐานใต้ ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ วัดกานโถม (วัดช้างค้ำ) ค่ะ


DSC01170.jpg


DSC01175.jpg



DSC00772.jpg



DSC01174.jpg



เชิญร่วมทำบุญต่างๆ กับทางวัด ภายใน วัดกานโถม (วัดช้างค้ำ) ค่ะ



DSC00771.jpg



จุดขึ้นรถนำเที่ยวของเวียงกุมกาม วัดกานโถม(ช้างค้ำ) ค่ะ



จุดขึ้นรถนำเที่ยวของเวียงกุมกาม วัดกานโถม(ช้างค้ำ) ปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชมโบราณสถาน ณ เวียงกุมกาม แล้วบริเวณเวียงกุมกามตามวัดต่างๆ ไม่สนับสนุนให้ขับรถยนต์ผ่านเนื่องจากอาจจะกระทบกับโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังกำลังขุดไม่พบ และเนื่องจากเขตเวียงกุมกามถนนไม่กว้างมากนัก จึงไม่สะดวกขับรถยนต์เพื่อชมโบราณสถานต่างๆ ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะมาลงจุดนี้แล้วทางเวียงกุมกามจะมีรถบริการนำเที่ยวทั้งแบบรถม้าและรถราง ซึ่งจะมีผู้อยู่อาศัยบริเวณแถวนี้เป็นไกด์นำเที่ยวโบราณสถานต่างๆ ในเวียงกุมกาม แต่จะไม่ครบทุกวัด



Rank: 8Rank: 8

DSC00763.jpg



ศาลา วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ



DSC00764.jpg



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ศาลา วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ



DSC01165.jpg


หอเทวดา (กู่วัด) วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ



DSC01930.jpg


อาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ



DSC00768.jpg



กุฏิ และโรงครัว วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

DSC00773.jpg


เดี๋ยวเราจะไปเที่ยวชมส่วนบริเวณจัดแสดงชุมชนเมืองโบราณสมัยล้านนากันต่อเลยนะคะ


DSC01956.jpg


ชุมชนเมืองโบราณสมัยล้านนา วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ   


DSC01954.jpg


DSC01178.jpg



บ้านสมัยล้านนาโบราณ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ลักษณะจะเป็นบ้านที่ยกใต้ถุนสูง มีบันไดทางขึ้น/ลง ๒ ด้าน คือด้านหน้าและด้านหลังบ้าน ภายในจะมีลักษณะเปิดโล่งค่ะ


DSC01179.jpg


หิ้งพระประจำบ้าน และเครื่องใช้ของโบราณต่างๆ ภายใน บ้านสมัยล้านนาโบราณ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

DSC01188.jpg



DSC01194.jpg


DSC01191.jpg



DSC01196.jpg



ตู้เก็บเครื่องใช้โบราณต่างๆ โบราณวัตถุที่ขุดพบในเวียงกุมกาม และรูปภาพวัดต่างๆ ในเวียงกุมกาม ภายใน บ้านสมัยล้านนาโบราณ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01187.jpg



ห้องรับแขก ภายใน บ้านสมัยล้านนาโบราณ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ



DSC01180.jpg



DSC01182.jpg




DSC01181.jpg



DSC01200.jpg



ห้องนอน ภายใน บ้านสมัยล้านนาโบราณ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01186.jpg


DSC01184.jpg



ห้องครัว อยู่ด้านหลังสุดของบ้านสมัยล้านนาโบราณ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC01192.jpg



บริเวณทานข้าว ภายใน บ้านสมัยล้านนาโบราณ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) จะมีสำรับข้าวโบราณตั้งไว้ และมีผ้าพื้นเมืองล้านนาแขวนไว้ค่ะ


DSC01189.jpg



วัตถุดิบที่ใช้ทอผ้า และเครื่องมือเกี่ยวกับการเก็บข้าวต่างๆ ภาษาเหนือเรียกว่า กระติบข้าว มีหลายขนาดตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ ภายใน บ้านสมัยล้านนาโบราณ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC01190.jpg


รูปภาพการดำเนินชีวิตค้าขายของคนล้านนาสมัยก่อน ติดอยู่เสาบ้าน ภายใน บ้ายสมัยล้านนาโบราณ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-24 04:10 , Processed in 0.109310 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.