แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 15874|ตอบ: 22
go

วัดกานโถม (ช้างค้ำ) บ.ช้างค้ำ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

31122010022.jpg



วัดกานโถม (ช้างค้ำ)  

บ.ช้างค้ำ   ม.๑๑   ต.ท่าวังตาล   อ.สารภี   จ.เชียงใหม่

[พระบรมธาตุเจดีย์]



Rank: 8Rank: 8

DSC00719.jpg


ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๑ บ้านช้างค้ำ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ขอบชายเนินที่สูงของกลุ่มบ้านเรือนที่อยู่อาศัยตอนกลางค่อนมาทางตะวันออกเวียงกุมกาม ปัจจุบันเป็นวัดในเขตศูนย์กลาง และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา สภาพแวดล้อมทั่วไปทางทิศเหนือ ตะวันตก และใต้ เป็นเขตบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของชุมชนอย่างค่อนข้างหนาแน่น ส่วนทางด้านทิศตะวันออกเป็นเขตที่ลุ่มต่ำทำนาแต่เดิม



DSC00720.jpg



DSC00742.jpg



DSC00740.jpg



วิหาร วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC00722.jpg



รูปปั้นกินนร อยู่ข้าง บันไดทางขึ้น/ลงด้าหน้า วิหาร วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ



DSC00721.jpg



รูปปั้นพญานาค อยู่ด้านซ้าย วิหาร วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC00723.jpg


DSC01935.jpg



DSC01936.jpg



DSC01938.jpg



DSC01939.jpg



DSC00724.jpg



พระพุทธรูปประธาน และพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ  


Rank: 8Rank: 8

DSC00730.jpg


ตู้กระจกเก็บอัฐบริขารต่างๆ ของพระแสงยอด ญาณธัมโม บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณนิคม จ.สกลนคร ภายใน วิหาร วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC01168.jpg



รูปภาพพระแสงยอด ญาณธัมโม อดีตเจ้าอาวาส วัดช้างค้ำ พ.ศ.๒๕๓๖ ภายใน วิหาร วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC01169.jpg



อัฐิพระแสงยอด ญาณธัมโม ภายใน วิหาร วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC00738.jpg


ตู้เก็บหนังสือพระสูตรและอรรถกถา
ภายใน วิหาร วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC00731.jpg


ตู้เก็บเครื่องใช้ และโบราณวัตถุต่างๆ ที่ขุดพบในเวียงกุมกาม แล้วนำมาเก็บรักษาไว้ ภายใน วิหาร วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC00736.jpg



ชั้นบนสุด ตู้เก็บเครื่องใช้ และโบราณวัตถุต่างๆ จะเป็นโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูปปูนปั้นสมัยโบราณ กระดิ่ง ฯลฯ ค่ะ


DSC00737.jpg



ชั้นกลาง ตู้เก็บเครื่องใช้ และโบราณวัตถุต่างๆ จะเป็นพระเครื่องสมัยโบราณ มีรูปปั้นสิงห์เล็กๆ และพระพุทธรูปปูนปั้น ฯลฯ เป็นต้น ค่ะ


DSC00733.jpg



ชั้นล่างสุด ตู้เก็บเครื่องใช้ และโบราณวัตถุต่างๆ จะเป็นเครื่องใช้โบราณต่างๆ  เช่น  เครื่องใช้ทำกับข้าว จาน หม้อดินเผา ฯลฯ เป็นต้น ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

DSC01166.jpg


DSC01918.jpg



วิหาร และพระบรมธาตุเจดีย์ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ   


วิหาร และพระบรมธาตุเจดีย์ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) เป็นโบราณสถานกลุ่มที่สองในวัด สร้างในสมัยของเวียงกุมกาม หรือระยะหลังมา คือกลุ่มวิหารใหม่และพระเจดีย์ที่สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยเฉพาะในส่วนพระเจดีย์ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมณฑลยอดระฆังที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยช่างชาวพม่าในสมัยหลัง ประมาณระยะเวลาเดียวกับการซ่อมบูรณะพระเจดีย์ของวัดเจดีย์เหลี่ยมที่ได้คงรูปทรงโครงสร้างเดิมที่เป็นเจดีย์ทรงมณฑปไว้ แต่ได้ซ่อมดัดแปลงในส่วนฐานให้มีลักษณะย่อเก็จตื้นแบบพม่า (ที่ได้พบเหรียญสมัยรัชกาลที่ ๕ และเครื่องแก้วสีในกรุที่อยู่ภายในองค์ระฆัง คราวที่องค์เจดีย์ร้าวที่ทางวัดได้ซ่อมปิดทับไว้เหมือนเดิม) รวมถึงการตกแต่งประดับใหม่ด้วยลวดลายในศิลปะพรรณพฤกษาเกี่ยวสอด รูปแบบการทำซุ้มพระ ลักษณะพระพุทธรูป ฯลฯ ส่วนวิหารของวัดปัจจุบันเป็นงานบูรณปฏิสังขรณ์ของวัดในระยะกว่า ๑๕ ปี ที่ผ่านมา



DSC01913.jpg



ประวัติวัดกานโถม (ช้างค้ำ)

(โบราณสถานกลุ่มที่สอง อยู่ทางด้านทิศเหนือ)



หลังจากที่เวียงกุมกามถูกทิ้งร้างไปนานร้อยปีนับตั้งแต่เกิดภัยสงครามและน้ำท่วมใหญ่ในระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๐ - ๒๓๑๑ เป็นต้นมา และกลับมีสภาพเป็นชุมชนอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีลักษณะเป็นชุมชนหรือสังคมเกษตรเล็กๆ มีชื่อว่า วัดช้างค้ำ


จากคำสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่เกิดในเวียงกุมกาม ได้เล่าถึงการเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในเวียงกุมกามเป็นเวลานานต่อกันถึงสามชั่วคน หากเทียบกับระยะเวลาตรงกับรัชกาลที่ ๕ หลักฐานจากฐานเจดีย์วัดกานโถมอยู่ในรุ่นเดียวกับการซ่อมแซมเจดีย์วัดกู่คำ ซึ่งถูกเปลี่ยนแปลงเป็นศิลปะพม่าเช่นกัน แสดงว่าอย่างน้อยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ในเวียงกุมกามมีผู้คนได้ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยกันแล้ว จึงมีการซ่อมแซมวัดกานโถมให้พ้นจากสภาพวัดร้าง


การซ่อมแซมเจดีย์วัดกานโถม เป็นรูปวัดช้างค้ำ ทำให้เวลาต่อมาหมู่บ้านเล็กๆ แห่งนี้ได้ชื่อว่า บ้านช้างค้ำ และเรียกชื่อวัดช้างค้ำ แทนเดิมคือวัดกานโถม เนื่องจากชาวบ้านที่ย้ายมาอยู่ใหม่ไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมาของวัดกานโถมและเวียงกุมกาม เนื่องจากเวียงกุมกามได้ถูกทิ้งรกร้างไปเป็นเวลานาน หมู่บ้านช้างค้ำมีวัดกานโถมหรือวัดช้างค้ำ เป็นวัดประจำหมู่บ้าน


ปัจจุบันเชื่อว่า วัดช้างค้ำเป็นวัดๆ เดียวกับวัดกานโถม ตามที่ได้กล่าวถึงในเอกสารประเภทตำนานพงศาวดารและเรื่องเล่าขานในท้องถิ่น วัดได้ก่อสร้างในระยะที่พญามังรายประทับและปกครองแคว้นล้านนาอยู่ที่เวียงกุมกาม โดยโปรดให้นายช่างประจำราชสำนักที่ชื่อกานโถม ไปปรุงเครื่องไม้จากเมืองเชียงแสน เพื่อให้มาสร้างวิหารไว้ที่วัดแห่งนี้ แม้ว่าได้พบจารึกที่ปรากฏชื่อวัดกานโถมหลายชิ้น ซึ่งทางวัดได้เคยเก็บรวบรวมไว้ (ปัจจุบันกระจายตัวไปอยู่ในที่ต่างๆ) ก็ไม่แน่ว่าเป็นของที่ได้ขุดพบในเขตวัดนี้ เพราะบางทีอาจมีผู้นำมาจากที่ต่างๆ ในเขตเวียงกุมกาม หรือที่อื่นๆ ก็ได้


แต่หลักฐานสิ่งก่อสร้างฐานอาคารวิหาร-เจดีย์ที่พบฝังตัวอยู่ใต้ดิน (สนามโรงเรียนวัดช้างค้ำเดิม) และกรมศิลปากรได้เข้ามาดำเนินงานขุดแต่ง-บูรณะในปีพ.ศ.๒๕๒๗ นั้นสามารถยืนยันถึงความเก่าแก่ของชุมชนในเขตพื้นที่นี้ว่าอยู่ร่วมสมัยเดียวกันกับชุมชนเมือง/แคว้นหริภุญชัย จากหลักฐานพระพิมพ์ ภาชนะดินเผา จารึกอักษรมอญ ฯลฯ อีกทั้งลักษณะรูปแบบพิเศษของการสร้างวิหารให้หันหน้าไปทิศตะวันตก อันแตกต่างจากรูปแบบการก่อสร้างของวัดอื่นๆ ในเขตเวียงกุมกามที่ส่วนใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามคติการก่อสร้างเดิม และวัดที่สร้างให้หันหน้าไปทางทิศเหนือเข้าไปสู่แม่น้ำปิงที่เคยไหลผ่านในแนวทิศเหนือตัวเวียง ซึ่งในชั้นนี้พิจารณาว่าน่าจะเป็นวัดที่สร้างหรือซ่อมแซมบูรณะในภายหลัง



รายนามเจ้าอาวาส วัดกานโถม (ช้างค้ำ) เท่าที่ทราบคือ


• ครูบาวงค์                               (พ.ศ. ๒๔๓๐ – ๒๔๓๓)

• ครูบาใจ อภิวงโส                      (พ.ศ. ๒๔๖๕ – ๒๔๖๙)

• พระหมู                                  (พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๓)

• พระสุ่ม ธมมสโร                       (พ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๔๘๐)

• เจ้าอธิการ สิงห์คำ สิริจนโท         (พ.ศ. ๒๔๘๓ – ๒๕๐๓)

• พระบุญตัน จนทวโส                  (พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๐๔)

• พระดวงดี รตนโชโต                  (พ.ศ. ๒๕๐๕)

• พระอธิการบุญมี ยสสทินโน         (พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๑๒)

• พระอธิการบุญปั๋น ปุสสธมโม       (พ.ศ. ๒๕๑๒)

• และพระแสนยอด ญาณธมโม      (พ.ศ. ๒๕๓๖)




Rank: 8Rank: 8

DSC01173.jpg



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ในสมัยที่เป็นเมืองขึ้นของพม่า พม่าได้มาสร้างหัวช้างไว้ที่พระบรมธาตุเจดีย์ทั้งสี่ด้าน เลยเรียกกันต่อมาเรื่อยๆ ว่า วัดช้างค้ำ ค่ะ  


DSC01172.jpg




ประวัติพระบรมธาตุเจดีย์ วัดกานโถม (ช้างค้ำ)


เมื่อปีพ.ศ.๑๘๓๓ พระเจ้ามังรายมหาราช ทรงดำริที่จะยกกองทัพไปตีเมืองพุกาม (เมืองอังวะของพม่า) พระองค์จึงได้ทรงตั้งสัตยาธิษฐานขึ้นว่า “หากพระองค์ทรงมีชัยชนะต่อพระเจ้าอังวะกลับมาแล้วไซร้ พระองค์ก็จักได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นที่วัดกานโถม” หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงยกกองทัพไปยังเมืองพุกาม ประเทศพม่า เมื่อพระเจ้าอังวะทราบข่าวศึกก็มีความวิตกและหวั่นไหว จึงได้จัดแต่งตั้งราชทูตอันเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระเจ้ามังราย เพื่อขอเจริญพระราชไมตรีด้วย

พระเจ้ามังรายก็ทรงรับไว้ด้วยดีและทรงขอช่างฝีมือต่างๆ จากพุกาม ได้แก่ ช่างทองคำ ช่างเงิน ช่างหล่อ ช่างเหล็ก และช่างอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อพระเจ้ามังรายยกกองทัพกลับมา พระองค์ก็ทรงแยกย้ายเอาช่างทองคำไปไว้ยังเมืองเชียงตุง เอาช่างหล่อไปไว้ยังเมืองเชียงแสน เอาช่างเหล็กและอื่นๆ ไว้ในเวียงกุมกาม ตั้งแต่นั้นมาวิชาการต่างๆ ก็เจริญขึ้นในล้านนา

เมื่อพระองค์กลับมาถึงเวียงกุมกามแล้ว จึงได้โปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นที่วัดกานโถมตามที่ได้ทรงตั้งพระราชปณิธานไว้ว่า ถ้ายกกองทัพไปตีพม่าจนได้ชัยชนะแล้วจะสร้างพระเจดีย์ แล้วจึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นในปีพ.ศ.๑๘๓๓ มีฐานกว้าง ๘ วา สูง ๙ วา และสร้างซุ้มพระพุทธรูปทั้ง ๔ ทิศ ๒ ชั้น เมื่อพระเถระได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาจากลังกา พญามังรายจึงโปรดให้อัญเชิญมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์ ชั้นล่างไว้ประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนพระเจดีย์เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดนั่งที่หล่อโดยพระเจ้ามังราย



Rank: 8Rank: 8

DSC01920.jpg


DSC00758.jpg



พระพุทธรูปปางลีลา ๑ องค์ ประดิษฐานด้านหน้า พระบรมธาตุเจดีย์ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ



DSC01917.jpg



ซุ้มพระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดกานโถม ค่ะ



DSC01926.jpg



พระพุทธรูป และเจดีย์พระธาตุประจำปีเกิดจำลอง ประดิษฐานด้านหน้า พระบรมธาตุเจดีย์ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC01924.jpg



พระพุทธรูป และรูปเหมือนหลวงปู่ทวด
(เรียงจากบน-ล่าง) ประดิษฐานด้านหน้า พระบรมธาตุเจดีย์ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ  


DSC01922.jpg



รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ประดิษฐานด้านหน้า พระบรมธาตุเจดีย์ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC01923.jpg



พระพุทธรูปปางต่างๆ และรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย
ประดิษฐานด้านหน้า พระบรมธาตุเจดีย์ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

31122010022.jpg


จุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ ลูกแก้วจักรพรรดิ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา  และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ  หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้  ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ค่ะ สาธุ สาธุ



DSC01915.jpg



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดกานโกม (ช้างค้ำ) พร้อมกันเลยนะคะ


นะโม ตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)   

         อะหัง วันทามิ อิธะ ปติฏฐิตา  พุทธะ  ธาตุโย  ตัสสานุภาเวนะ  สะทา โสตถี  ภะวันตุเม

         ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ มีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตรห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม  พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



Rank: 8Rank: 8

DSC01941.jpg



DSC00753.jpg



อุ
โบสถ
วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


อุโบสถ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ตั้งอยู่ระหว่างโบราณสถานทั้ง ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มวัดกานโถมเดิม และวัดช้างค้ำนั้น พิจารณาว่าสร้างหรือซ่อมบูรณะในระยะรัชกาลที่ ๕ หรือราว ๑๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา โดยสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เช่นเดียวกับอุโบสถของวัดศรีบุญเรือง วัดหนองผึ้ง และอีกๆ หลายวัดที่ช่างพม่าได้มาซ่อมบูรณะ
  

DSC00754.jpg


ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า อุโบสถ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC01942.jpg


รูปปั้นครุฑ อยู่ด้านหน้า อุโบสถ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC00752.jpg



DSC01940.jpg



รูปปั้นหงส์ อยู่ด้านข้าง อุโบสถ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) ค่ะ


DSC00743.jpg


DSC00744.jpg



รูปปั้นราชสีห์ อยู่ด้านหลัง อุโบสถ วัดกานโถม (ช้างค้ำ) และเราจะเห็นร่องรอยของกำแพงแก้วของอุโบสถที่เหลืออยู่ด้วยค่ะ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:28 , Processed in 0.068379 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.