แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระธาตุเสด็จ บ.เสด็จ ม.๕ ต.เสด็จ อ.เมือง จ.ลำปาง [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_0207.jpg



IMG_0235.jpg



IMG_0375.jpg



มณฑปพระพุทธบาทจำลอง วัดพระธาตุเสด็จ ค่ะ


IMG_0239.jpg



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน มณฑปพระพุทธบาทจำลอง วัดพระธาตุเสด็จ ค่ะ


IMG_0393.jpg



IMG_0390.jpg


พระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานภายใน มณฑปพระพุทธบาทจำลอง วัดพระธาตุเสด็จ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0127.jpg



IMG_0439.jpg



วิหารพระนางจามเทวี วัดพระธาตุเสด็จ ค่ะ


IMG_0126.jpg



วิหารพระนางจามเทวี วัดพระธาตุเสด็จ หลังเดิมสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏชัด  หลังปัจจุบันเป็นวิหารศิลปะรุ่นตระกูลสล่า  บูรณะในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยคณะอุบาสิกาในจังหวัดลำปาง  นำโดย แม่เลี้ยงป้อม  บริบูรณ์ ค่ะ


IMG_0347.jpg



IMG_0224.jpg



วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุเสด็จ สร้างในสมัยพระเจ้าหอคำดวงทิพย์เจ้าครองนครลำปาง  ลำดับที่ ๓  ในปี พ.ศ.๒๓๖๖ บูรณะในปีพ.ศ. ๒๕๐๐ นำโดยแม่เลี้ยงเต่า  จันทรวิโรจน์ ภายในประดิษฐานพระประธานองค์ใหญ่ ปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน เสาภายในวิหารประดับด้วยลายเขียนทองงดงามค่ะ


IMG_0200.jpg



IMG_0187.jpg



วิหารพระพุทธ หรือวิหารสุวรรณโคมคำ  วัดพระธาตุเสด็จ เป็นวิหารพื้นเมือง  เครื่องไม้ศิลปะล้านนาไทย  เป็น ๑ ใน ๑๐ ของวิหารเครื่องไม้ ที่ยังหลงเหลืออยู่ในภาคเหนือ หลังคาจั่วฐานเตี้ยตามแบบของวิหารล้านนาสกุลช่างลำปาง ลักษณะเดิมวิหารแห่งนี้เป็นวิหารเปิดโล่ง แต่เมื่อครั้งบูรณะในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้สร้างผนังปิดทึบแล้วเจาะช่องหน้าต่างเป็นช่องลูกกรงแต่ยังคงเค้าเดิมไว้ทุกประการ ไม่มีการประดับตกแต่งมากนัก มีการซ่อมแซมเปลี่ยนป้านลมเป็นคอนกรีต และหล่อคอนกรีตรับฐานเสาเนื่องจากผุพังมาก แต่ยังคงลักษณะรูปทรง และสีคล้ายของเดิม แบบแผนในการประกอบเครื่องไม้นับว่าเป็นตัวอย่างที่เหลือน้อยมาก ควรแก่การรักษาไว้อย่างเคร่งครัดค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0278.jpg



รูปพระมหากัจจายนเถระ วัดพระธาตุเสด็จ ค่ะ


IMG_0269.jpg



หอเจ้าปู่แจ้ วัดพระธาตุเสด็จ ค่ะ


IMG_0272.jpg



หอเสื้อวัด  วัดพระธาตุเสด็จ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0260.jpg



IMG_0264.jpg



อุโบสถ วัดพระธาตุเสด็จ ค่ะ


IMG_0251.jpg



IMG_0253.jpg


ต้นโพธิ์เก่าแก่  วัดพระธาตุเสด็จ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0445.jpg



IMG_0357.jpg



IMG_0160.jpg



ฉัตรสัปทน ประดับทั้งสี่มุม กำแพงแก้ว พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุเสด็จ ค่ะ


IMG_0364.jpg



ห้ามนั่ง ยืน เดินผ่าน ฐานเสาสุวรรณหงส์ อยู่ใต้พระธาตุเสด็จ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0275.jpg



จุดธูป เทียน ถวายดอกไม้ ลูกแก้วจักรพรรดิ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา  และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ค่ะ สาธุ สาธุ


IMG_0285.jpg



IMG_0181.jpg



คำไหว้พระธาตุเสด็จ


สาธุ สาธุ  เจติเย  รัมเม  นะระเทเวหิ  ปูชิตาวะ   ลัคคะนิ ชินะธาตุโย  อะหัง  วันทามิ  สิระสา

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ


IMG_0182.jpg


ตี ๑ ที สาธุ ...



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0219.jpg



ประวัติวัดพระธาตุเสด็จ (ต่อ)

การบูรณะปฏิสังขรณ์เจดีย์วัดพระธาตุเสด็จในยุคหลัง

ครั้งที่ ๑ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ องค์เจดีย์เกิดการผุผังลงหากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดการเสียหาย  พระสีหสุวรรณวิสุทธิ์  เจ้าคณะจังหวัดลำปาง  วัดเชียงราย  พระครูอินทรวิชัย  เจ้าคณะอำเภอเมืองลำปาง วัดคะตึกเชียงมั่น  พระครูอุตรวงศ์ธาดา  วัดหมื่นกาด  พระอธิการแก้วมา  อภิชโย  เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเสด็จ  ขุนไตรกิตยานุกูล  ข้าหลวงภาค ๕  นายอำเภอเมืองลำปาง  ศึกษาธิการอำเภอเมืองลำปาง  แม่เลี้ยงเต่า  จันทรวิโรจน์  พร้อมด้วยเศรษฐีและคหบดีชาวลำปางเป็นผู้ร่วมกันอุปถัมภ์การบูรณะ

ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐  พระครูรัตนาคม  เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเสด็จ พร้อมด้วยคณะสงฆ์  พุทธศาสนิกชน  เศรษฐีและคหบดีชาวลำปางร่วมกันบูรณะได้ทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยาม มกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธียกยอดฉัตรเจดีย์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๒


ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘  พระครูรัตนาคม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเสด็จ พร้อมด้วยคณะศิษยานุศิษย์ และคณะศรัทธาวัด โดยมีคุณงามนิจ  เรืองศร  คหปตานี จากกรุงเทพมหานคร  พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันอุปถัมภ์การบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยลงรักปิดทองและหุ้มทองจังโกทั่วทั้งองค์ให้เหลืองอร่ามอยู่จนทุกวันนี้ และได้ทูลเชิญพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามกุฎราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธียกยอดฉัตรเจดีย์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓


IMG_0186.jpg



การเสด็จพระราชดำเนินของพระราชวงศ์

พ.ศ.๒๔๙๙  พระองค์เจ้าจุมพฎพงศ์  บริพัตร เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมชมและนมัสการโบราณสถานที่วัดพระธาตุเสด็จ โปรดให้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมของเก่า  และโปรดให้จัดหาตำแหน่งภัณฑาคาริกสำหรับดูแลพิพิธภัณฑ์  วัดพระธาตุเสด็จ  ๑  ตำแหน่ง

พ.ศ.๒๕๒๒ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร  เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีบรรจุพระสารีริกธาตุและยกยอดฉัตรเจดีย์  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๒


พ.ศ.๒๕๔๓ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินยกยอดฉัตร เจดีย์  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๕๔๓

พ.ศ.๒๕๔๕ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร  เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์พร้อมด้วยหม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา ทรงประกอบพิธีสืบพระชะตาและถวายสังฆทาน เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๕


IMG_0310.jpg



ลำดับเจ้าอาวาสวัดพระธาตุเสด็จ

รูปที่ ๑  พระอธิการปัญญา  ธมมปญโญ   ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๕ – ๒๔๘๙
รูปที่ ๒  พระครูรัตนาคม                       ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๐ – ๒๕๔๔
รูปที่ ๓  พระครูโสภิตพัฒนานุยุต            ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕ – ปัจจุบัน



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0196.jpg



ประวัติวัดพระธาตุเสด็จ (ต่อ)

พระเจ้าหอคำดวงทิพย์บูรณะพระธาตุเสด็จ

ในสมัยพระเจ้าหอคำนครลำปาง  พระเจ้าหอคำทิพย์พระโอรสลำดับที่ ๔ ของเจ้าฟ้าชายแก้ว  ราชวงศ์เชื้อเจ็ดตน  เป็นเจ้าปกครองนครลำปางลำดับที่ ๓ สืบต่อจากเจ้าน้อยธรรมลังกา (พระเจ้าช้างเผือก) พระเชษฐาที่ไปเป็นเจ้าเมืองปกครองเชียงใหม่ลำดับที่ ๒ ต่อจากพระเจ้ากาวิละพระเจ้าหอคำดวงทิพย์  เป็นกษัตริย์ราชวงศ์เชื้อเจ็ดตนปกครองนครลำปางแผ่สุวรรณบัลลังก์ไปทั่วเขต คามภาคเหนือถึงเมืองเชียงตุงได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงสุวรรณเกี๋ยงคำ  เจ้าหญิงแห่งนครเชียงตุง  เคยร่วมรบเอาเมืองเชียงแสนมาจากพม่า

ในสมัยราชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าหอคำดวงทิพย์คุมทัพล้านนา ช่วยกองทัพอังกฤษรบกับพม่า  ยุคนั้นเป็นยุคบัตราสถาปนาตำแหน่ง  สัตตราจาเจื่องเจ้าอันเป็นเค้าอยู่ล้านนา  ให้พระเจ้าหอคำดวงทิพย์  เป็นใหญ่แก่ล้านนาทั้งมวล ได้ทรงบูรณะเจดีย์วัดพระธาตุเสด็จในปี พ.ศ.๒๓๖๒  โดยขอความร่วมมือกับประชาราษฎร์  นักปราชญ์ พระสงฆ์ รวบรวมทองเหลือง  ทองแดง และทองคำบูรณะรอยร้าวขององค์พระธาตุและบุด้วยแผ่นทองฉลุลวดลาย  เรียกว่า  ทองจังโก  และได้ทรงสร้างกำแพงแก้วและมหาศาลา  เพื่อให้เป็นที่พักอาศัยของผู้คนที่มาทำบุญเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในพระ พุทธศาสนา

พงศาวดารหอคำนครลำปาง  กล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและเศรษฐกิจในยุคที่พระเจ้าหอคำดวงทิพย์บูรณะพระธาตุเสด็จ ใน พ.ศ.๒๓๖๒ ว่า “ภายหน้าแต่นั้น  สภาวะบ้านเมืองทั้งเมืองก็เจริญรุ่งเรือง  กิจกรรมบำเพ็ญบริบูรณ์ทุกประการเศรษฐกิจมั่งคั่งเพิ่มพูนทั้งโภคทรัพย์  หมากพลู  ยาสูบพรั่งพร้อมผลผลิตทางการเกษตรพืชผลนาไร่ทั่วประเทศเขตความเพิ่มพูนทุกประการ


เมื่อศักราช ๑๑๘๔ ปี สี (ปีมะโรง) เจ้ามหาอภยะสีหราชเจ้า (ดวงทิพย์) ได้บำเพ็ญกุศลหื้อทานยังมหาอัฐบริขารหลวงในวัดเสด็จ  ตามจารีตประเพณี ทักษิณาวัตร  สามรอบ  นมัสการที่เท้าห้าแห่งก็ทอดพระเนตรเห็นยังมหาธาตุเจดีย์เก่าแก่คร่ำคร่ามีรอยผุผังหลายแห่งก็มีศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงได้ปรึกษาหารือกับเสนาอำมาตย์ราชเทวี และนักปราชญ์ว่าเราปรารถนาที่จะประกอบการมหากุศลปวารณาที่จะบูรณะพระธาตุเสด็จ  กษัตรามีวาจาสันนี้แล้ว  ครั้นรุ่งขึ้นก็นิมนต์ยังเจ้าสมณพราหมณ์ผู้เจริญด้วยศีลจริยาวัตรปรึกษาเรื่องจะบูรณะเจดีย์วัดพระธาตุเสด็จเป็นทองสุกปลั่งตั้งแต่ยอดรอดธรณี พระสังฆเจ้าเจริญอนุโมทนากถาว่า คำปรารถนาแห่งมหาอุปราชาเจ้าขอจงอุดมด้วยสัมฤทธิ์ผลทุกประการด้วยเถิด”

ใน พ.ศ.๒๓๖๖ ได้ทรงสร้างวิหารสุวรรณโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ พร้อมกับสร้างพระประธานในวิหาร และเขียนลวดลายประดับเสาวิหารด้วยการลงรักปิดทอง  วิหารนี้จึงเรียกชื่อตามสถาปัตยกรรมลานนาว่า  วิหารลายคำ  พงศาวดารเจ้าเจ็ดตนกับหอคำมงคลกล่าวถึงตอนที่พระเจ้าหอคำดวงทิพย์  สร้างวิหาร สุวรรณโคมคำวัดพระธาตุเสด็จว่า “ตราบต่อเท้าอักขระป๋าเวณีเดือนห้าเป็งมารอดแล้ว เจ้าก็เอารี้พลโยธาอากะราชเทวีราชมนตรีภายใต้ทั้งภายนอกและภายในเสด็จแล้ว เจ้าก็แต่งห้างเครื่องครัวทาน มีมหาอัตถะบริขารตานตุงแป้นสองผืน ปูชายังภะคะวาต๋น สร้างใหม่ภายมหาวิหาร  เจ้าก็เปิกบาย  แลจำศีลกิ๋นตานโอกาสหยาดน้ำยังมหาวิหารอันต๋นได้สร้างใหม่จิ่งใส่จื่อว่า วิหารโคมคำ พระพุทธรูปเจ้าต๋นสร้างใหม่  ใส่ชื่อว่า พระพุทธรูปพระธาตุเสด็จ  ก็มีวันนั้นแล”

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของวัดพระธาตุเสด็จนับตั้งแต่การบรรจุพระบรมธาตุโดยพระอรหันต์ ๗ องค์ และเจ้าเมืองศรีนครชัย การค้นหาพระธาตุดอนโพยงของพระมหาเถระเจ้าจากเมืองพม่า การก่อสร้างเป็นเจดีย์ในสมัยเจ้าหาญแต่ท้อง การบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคแผ่นดินไหว ใน พ.ศ.๒๓๔๙ สมัยพระเจ้าหอคำดวงทิพย์ หลังจากนั้นแล้วเจดีย์พระธาตุเสด็จเมื่อเกิดชำรุดก็ได้รับการบูรณะเรื่อยมาในสมัยหลวงพ่อพระ ครูรัตนาคม (แก้วมา อภิชโย) เป็นเจ้าอาวาสดังจะได้กล่าวต่อไป




บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0178.jpg



ประวัติวัดพระธาตุเสด็จ (ต่อ)

เจ้าหาญแต่ท้องสร้างเจดีย์

พุทธศักราช ๑๙๙๒  สมัยของเจ้าเมืองทรงพระนามว่า หาญเทศท้องหรือหาญแต่ท้อง  เจ้าเมืองผู้ถือกำเนิดในนครลำปางอันเป็นยุคจักรวงษ์ท้องถิ่น  มีพระมหาเถระ  ๒ รูปเดินทางมาจากประเทศพม่านำสรถาจารึก  มาเพื่อบูชาพระบรมธาตุ เมื่อไปบูชาพระธาตุลัมภกัปปะนครแล้ว  ได้เดินทางมาที่ตำบลดอนปละหลวงนี้และเที่ยวไต่ถามชาวบ้านถึงพระธาตุเหนือ เมืองที่ชื่อพระธาตุดอนโพยงแต่ก็ไม่มีใครทราบ  มีชาวบ้านคนหนึ่งแนะนำให้ไปถามคนที่มีอายุมากที่สุดในหมู่บ้าน  เป็นโหราจารย์ (มัคทายกวัด) คาดว่าคงจะทราบเรื่องนี้ดี

พระเถระจึงเดินทางไปพบชายชราคนนั้น  และไต่ถามถึงพระธาตุดอนโพยง ชายชราคนนั้นตอบว่าไม่ทราบ  แต่มีสถานที่แห่งหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า ดอนโพง  ไม่ใช่ดอนโพยง  เป็นป่าช้าสำหรับฝังศพของชาวบ้าน และตรงนั้นมีต้นขะจาวใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง  เวลากลางคืนของวันพระ ๘ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ จะมีดวงไฟพุ่งเป็นแสงสว่างดวงใหญ่ออกจากต้นขะจาวนี้ ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นแสงผีโพงที่มากินซากศพ ขอพระคุณเจ้าจงไปพิจารณาดูเถิด  พระเถระจึงให้ชายชราพาเดินทางไปยังดอนโพงทันทีที่ถึงได้พิจารณาดูตามบัดถาจารึกและแน่ใจว่าเป็นที่ประดิษฐานพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า  จึงห้ามชาวบ้านไม่ให้นำซากศพมาฝัง ณ  บริเวณนี้อีก  

ชาวบ้านบางส่วนไม่เชื่อจึงตำหนิพระมหาเถระว่าเอาป่าช้ามาเป็นวัด  พระมหาเถระจึงชี้แจงให้ชาวบ้านว่าขอให้เชื่อตามจารึกที่อาตมานำมาจากลังกานี้เถิดและชักชวนชาวบ้านเก็บกวาดแผ้วถาง  ทำราชวัตรและบูชาด้วยข้าวตอกดอกไม้  ประพรมด้วยน้ำขมิ้นส้มป่อย พร้อมกับอธิฐานว่า หากพระสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่  ณ ที่แห่งนี้จริงขอเทพบุตรผู้รักษาพระจงแสดงพระสรีริกธาตุของพระพุทธเจ้าให้เกิดปาฏิหาริย์ได้เห็นดุจเมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่เถิด

จากนั้นพระรัศมีธาตุของพระพุทธเจ้าก็แสดงปาฏิหาริย์ไหลหลั่งเป็นดวงไฟดวง ใหญ่พุ่งเป็นแสงสว่างออกจากต้นขะจาวเกิดเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก  พระเถระทั้งสองจึงประกาศแก่ชาวบ้านว่าพระธาตุของพระพุทธเจ้ามีในที่แห่งนี้ จริง  หลังจากชาวบ้านได้ชื่อชมบารมีของพระสารีริกธาตุจนเกิดปีติยินดียิ่งแล้ว  ครั้นรุ่งขึ้นได้เดินทางมาที่ดอนโพยงเพื่อจะถวายอาหารคาวหวานแก่พระเถระแต่ไม่พบพระเถระทั้งสอง  ออกตามหาที่ไหนก็ไม่พบจึงไปแจ้งแก่เจ้าเมือง ชื่อหาญแต่ท้อง  

พอเจ้าเมืองทราบว่ามีพระธาตุที่ดอนโพยงก็เกิดปีติเลื่อมใสยิ่งนัก  จึงตรัสสั่งให้ชาวเมืองจัดการโค่นต้นขะจาวก่ออิฐรอบตอต้นขะจาวต้นนั้นเป็นแท่นเป็นองค์เจดีย์  แล้วสร้างวิหารขึ้น ๑ หลัง  ทางทิศตะวันออก  ป่าวประกาศ  ชักชวนชาวเมืองพร้อมพระสงฆ์องค์เจ้ามาสักการะบูชาพระบรมธาตุเป็นเวลา  ๗ วัน พระบรมธาตุจึงแสดงปาฏิหาริย์ให้ชาวเมืองได้เห็นเป็นอัศจรรย์


เกิดแผ่นดินไหวแท่นเจดีย์ทรุด

พ.ศ. ๒๓๔๙ ตรงกับเดือนยี่เหนือขึ้น ๑๐ ค่ำ   วันพฤหัสบดี  เกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหวทำให้แท่นเจดีย์ที่ทำนั้นทรุดโทรมลงมา พระยาลัวะ  เจ้าเมืองศรีนครชัย  พร้อมทั้งพระสงฆ์มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน  ก็จัดการหล่อเหล็กยาว  ๕ ศอก  ทำเป็นไส้กลางและก็เสริมสร้างเป็นองค์เจดีย์พระธาตุขึ้น  แล้วสร้างฉัตรทองคำเพิ่มอีก ๒ รวมเป็น  ๕ และทำเป็นซีเหล็ก  ๑๓  ล้อมอีก  ๒๑๕๐ เล่ม  ฉัตรทองเหลืองปักตรงมุมอีก  ๔ มุมๆ ละ ๑ ฉัตร รวมพระธาตุเสด็จกว้าง   ๗ วา สูง ๑๕ วา และประกาศเชิญชวนประชาชนมาฉลองสมโภชกัน  ๗ วัน  ๗ คืน ในวันเพ็ญเดือน ๓ (เดือนเหนือ  ๕ เหนือ)  ซึ่งเป็นประเพณีการจัดงานเทศกาลประจำปีมาจนปัจจุบัน



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0172.jpg



ประวัติวัดพระธาตุเสด็จ (ต่อ)

พระอรหันต์และเจ้าเมืองบรรจุพระธาตุ

เมื่อจุลศักราช ๒๑๙  มีพระอรหันต์ ๗ องค์เดินทางมาจากชมพูทวีป เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุ และได้เชิญชวนเจ้าพระยามหากษัตริย์มาชุมนุมกันถึง  ๕ พระองค์  และตั้งทัพรักษาอยู่ห้าแห่งแห่งที่ ๑ เรียกว่า  เวียงชัย  แห่งที่ ๒ เรียกว่าอริยะ แห่งที่ ๓ เรียกว่าอางละ แห่งที่ ๔ เรียกว่า รี  แห่งที่ ๕ เรียกว่าเวียงสูง  ต่อจากนั้นพระมหากษัตริย์ ทั้ง ๕ พระองค์ ก็ให้ไพร่พลประชาราษฎร์ขุดหลุมลึก  ๑๕  ศอกและก่อรอบด้วยก้อนอิฐทองคำ สูง ๑๒ ศอก และทำแท่นแก้วด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการ มีความสูง ๗ ศอก  และทำราชสีห์ทองคำ ๑ ตัว  สูง  ๗ ศอก  

และทำผอบแก้วเพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุและนำผอบนั้นใส่ไว้ในท้องราชสีห์ตัว นั้น แล้วหุ้มเป็นอุโมงค์กว้าง  ๗ วา และก่ออิฐหลังราชสีห์ตัวนั้นสูง ๑๒ ศอก และก่ออิฐทองคำสูงอีก  ๑๒  ศอก ก่อขึ้นมาจนถึงผิวดินและถมด้วยหินและดินแล้วนำต้นขะจาวมาปลูกไว้ตรงกลาง ๑ ต้น  และนำแก้วแหวนเงินทองที่เหลือก่อเป็นเสาโคมคำ  ขนาดใหญ่ลำตาล  สูง  ๙ วา และนำแก้วแหวนใส่ไว้ไหฝังบูชาในทิศทั้ง  ๔  และตั้งสัจจะอธิฐานว่า  “คนไม่มีบุญอย่าเอาข้าวของไป ท้าวพระยาเจ้าเมืองผู้มีบุญญาธิการจักมายกยอพระพุทธศาสนาก็อนุญาตให้สร้าง  (พระเจดีย์)  ได้ พระธาตุดอนโพยง  นี้จักเจริญรุ่งเรือง  ๒ ที ๓ ที ครั้นถ้วนสามจักเป็นเจดีย์ทองคำไปตลอดพระพุทธศาสนายุกาล”  หลังจากอธิฐานแล้วจึงบูชาสักการะเป็นระยะเวลา  ๗ วัน  ๗ คืนแล้วกลับไปสู่ที่อยู่ของตน


พระนางจามเทวีเสด็จมานมัสการ

ต่อมา พ.ศ.๑๒๒๓ พระนางจามเทวีกษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัย เสด็จมายังดอยเขางาม  หรือเขลางค์บรรต  เพื่อจะสร้างพระนครขึ้นใหม่ให้เจ้าอนันตยศพระโอรสพระองค์เล็กทรงปกครองโดย สร้างพระนครใหม่บริเวณที่ราบลุ่มของดอยเขางาม ตามคำแนะนำของมหาพรหมฤาษี  แล้วตั้งชื่อพระนครที่สร้างขึ้นใหม่ว่า  ศรีนครชัย  เนื่องจากเป็นนครที่มีชัยภูมิทำเลที่ดี  พร้อมกับสถาปนาเจ้าอนันตยศเป็นพระยาปกครองเมือง  ทรงพระนามว่า  อินทาเกิงกร หลังจากเสด็จสิ้นจากการสร้างพระนครแล้ว พระนางจามเทวีได้เสด็จไปนมัสการพระธาตุลัมภกัปปะนคร  (พระธาตุลำปางหลวง) แล้วมานมัสการพระธาตุดอนโพยง (พระธาตุเสด็จ) ที่ตำบลดอนปละหลวงและได้ทอดพระเนตรพระธาตุแสดงปาฏิหาริย์  ทรงเกิดปีติยินดี และทรงศรัทธาเลื่อมใสยิ่งนัก



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:13 , Processed in 0.045623 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.