แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 5570|ตอบ: 27
go

วัดพระธาตุเสด็จ บ.เสด็จ ม.๕ ต.เสด็จ อ.เมือง จ.ลำปาง [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_0157.jpg



วัดพระธาตุเสด็จ

บ.เสด็จ  ม.๕  ต.เสด็จ  อ.เมือง  จ.ลำปาง

[พระบรมธาตุเจดีย์]



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0035.jpg



IMG_0040.jpg



วัดพระธาตุเสด็จ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ ๖๑๗-๖๑๘ ถนนพหลโยธิน ลำปาง – พะเยา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑) หมู่ ๕ บ้านเสด็จ ตำบลเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง  ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ ๑๙ กิโลเมตร ค่ะ


IMG_0041.jpg



IMG_0045.jpg



จากนั้นจะเจอทางเข้าวัดพระธาตุเสด็จอยู่ด้านซ้ายของถนน เราก็ขับรถเลี้ยวซ้ายเข้าไปตามถนนลป.๔๒๐๘ ระยะทาง ๑.๔๙๐ กิโลเมตร ก็ถึงวัดพระธาตุเสด็จค่ะ



IMG_0050.jpg



IMG_0048.jpg



ซุ้มประตูทางเข้า/ออก วัดพระธาตุเสด็จ ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0059.jpg



ป้ายชื่อ วัดพระธาตุเสด็จ  ค่ะ

วัดพระธาตุเสด็จ ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเษกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และประกาศกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๗ ตอนที่ ๔๑ ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๒๓  


IMG_0450.jpg



วัดพระธาตุเสด็จ เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในชุมชน มีครัวเรือนอุปถัมภ์วัดมากกว่า ๑,๐๐๐ ครัวเรือนและเป็นวัดที่ส่วนราชการต่างๆ มาให้สถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาและทางราชการอยู่บ่อยครั้งวัดจึงเป็นศูนย์รวมของประชาชน ทั้งที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงและที่จากที่อื่น ดังนั้นจึงได้รับมอบหมายแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ  อันเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม  และขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี เช่น

พ.ศ.๒๕๓๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.บ.ต.)

พ.ศ.๒๕๓๔  ได้รับคัดเลือกเป็นวัดหน่วยสงเคราะห์พุทธมามกะ โดยกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ.๒๕๔๐  ได้รับคัดเลือกเป็นวัด ในโครงการลานวัด ลานใจ ลานกีฬา โดยกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ.๒๕๔๒  ได้รับคัดเลือกให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างโดยกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0051.jpg



IMG_0063.jpg



IMG_0453.jpg



ซุ้มประตูโขง วัดพระธาตุเสด็จ  ค่ะ


IMG_0069.jpg



IMG_0208.jpg



เดี๋ยวเราเข้าไปกราบนมัสการพระบรมธาตุเสด็จและขอพรอันประเสริฐสถานที่สำคัญภายในวัดพระธาตุเสด็จกันเลยนะคะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0073.jpg



IMG_0087.jpg



วิหารหลวง วัดพระธาตุเสด็จ  ค่ะ

วิหารหลวง เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ได้รับการบูรณะใหม่ แต่ยังคงสภาพศิลปะแบบล้านนาให้เห็นอยู่จนปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานของชาติแล้ว


IMG_0339.jpg



ภายใน วิหารหลวง วัดพระธาตุเสด็จ  ค่ะ


IMG_0408.jpg



IMG_0416.jpg



พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธสิหิงค์นครลำปาง และพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายใน วิหารหลวง วัดพระธาตุเสด็จ  ค่ะ


IMG_0429.jpg



IMG_0431.jpg



พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธสิหิงค์นครลำปาง และพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายใน วิหารหลวง วัดพระธาตุเสด็จ  ประกาศจดทะเบียนกับกรมศิลปากร ตามความใน มาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน  โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พุทธศักราช  ๒๕๐๔ และนำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อพ.ศ.๒๕๒๗ ดังนี้

๑.  พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะสมัยสุโขทัย  ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ สูงจากฐาน  ๔๒๑ เซนติเมตร ฐานสูง ๓๙ เซนติเมตร สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐– ๒๑

๒. พระพุทธรูปปางมารวิชัย  ศิลปะสมัยเชียงแสน  ทำด้วยทองสัมฤทธิ์  หน้าตักกว้าง  ๑๕๓  เซนติเมตร สูงจากฐาน ๑๗๘ เซนติเมตร  สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐–๒๑

๓. พระพุทธรูปปางมารวิชัย  สมัยสุโขทัย  ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง  ๕๕ เซนติเมตร  สูง ๑๐๙ เซนติเมตร  สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐–๒๑



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0216.jpg



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุเสด็จ  ค่ะ


IMG_0115.jpg



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุเสด็จ  เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตามตำนานพระธาตุนครลำปางเล่าว่า การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ  สถานที่แห่งนี้มีมาหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้  ๒๑๘ ปี  ตามตำนานเมืองละกอนหรือเขลางค์ อันอยู่ในตำนานพื้นเมืองและตำนานจามเทวีวงศ์  ก่อนที่จะมีการสถาปนาสร้างนครเขลางค์คู่กับนครหริภุญชัยโดยพระนางจามเทวี

วัดพระธาตุเสด็จเป็นวันน้องของพระธาตุลำปางหลวง เวลามีงานประเพณีที่วัดใดวัดหนึ่ง เช่น วัดพระธาตุเสด็จมีงานเดือน ๕ เป๋ง (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ๑๕ ค่ำ) แก้วพระธาตุของวัดพระธาตุลำปางหลวงก็จะเสด็จมาที่วัดพระธาตุเสด็จ พอวัดพระธาตุลำปางหลวงมีงานประเพณีบ้างแก้วพระธาตุของวัดพระธาตุเสด็จก็จะเสด็จไปวัดพระธาตุลำปางหลวงจะเป็นแบบนี้ทุกๆ ปีค่ะ


IMG_0141.jpg



พระบรมธาตุเจดีย์  วัดพระธาตุเสด็จ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลมฐานสี่เหลี่ยม  มีบัวมาลัยองค์ระฆัง และปล้องไฉนหุ้มทองคำจังโกทั้งองค์ ศิลปะสมัยเชียงแสน  กว้าง ๗ วา สูง ๑๕ วา สร้างในสมัยเจ้าหาญแต่ท้อง ในปี พ.ศ.๑๙๙๒  ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0128.jpg



ตำนานวัดพระธาตุเสด็จ


(แหล่งที่มา : ตำนานวัดพระธาตุเสด็จ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.watsadet.ac.th/index. ... cle&id=61&Itemid=77. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗))


เรื่องตำนานวัดพระธาตุเสด็จนี้  เกิดขึ้นสมัยเมื่อเมืองลำปางมีชื่อ  ศรีนครชัย  และ ลัมพะกัปปะนคร   ซึ่งมี  ๒ แห่งด้วยกัน วัดพระธาตุเสด็จนี้นับว่าเป็นโบราณสถานอันสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปางที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานของชาติแล้ว  ดังจะได้กล่าวถึงตำนานของวัดพระธาตุเสด็จอันมีอยู่ในใบลานดังต่อไปนี้

หลังจากพระพุทธเจ้าได้นิพพานไปได้  ๒๑๘ ปี พระยาศรีธรรมกาโศกราช   เสวยราชเป็นพระยาเจ้าเมืองอยู่ในชมพูทวีปประเทศอินเดีย  ได้ให้ท้าวพระยาทั้งหลายทำมหาเจดีย์  ๘๔,๐๐๐ ดวง  และโปรดให้ชุมนุมพระอรหันต์ทั้งหลายและให้ช่างคำได้ทำโกฏทองคำ   ช่างเงินทำโกฏเงิน  ช่างแก้วทำโกฏแก้ว  แล้วเอาพระธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ในโกฏทั้ง  ๓  แล้วทำการฉลองสักการะบูชากันเป็นการใหญ่ครบ  ๗  วัน แล้วพร้อมกันอธิฐานว่า  “เมื่อพระพุทธองค์มีพระชนม์อยู่ได้เสด็จไปสู่ที่ใดก็ขออาราธนาให้พระบรมธาตุ ไปสู่ที่นั้นเถิด” หลังจากนั้นพระธาตุของพระพุทธเจ้าก็เสด็จลอยไปทางอากาศไปสู่ที่ต่างๆ  อันสมควรที่พระพุทธองค์ทรงทำนายไว้และมาประดิษฐานอยู่ที่ดอยโผยง (ผะโหยง หมายถึง อาการที่ดวงพระธาตุเปล่งรัศมีขึ้นๆ ลงๆ ) นี้แห่งหนึ่ง (ตรงที่ตั้งวัดพระธาตุเสด็จในปัจจุบัน)

ต่อมาเมื่อจุลศักราชได้  ๒๑๙ ปี  (พ.ศ.๑๒๐๐) พระอรหันต์ ๗ องค์มาจากชมพูทวีป  ได้พากันมาบรรจุพระบรมธาตุ  และได้เชิญชวนพระยามหากษัตริย์มาชุมนุมถึง ๕ พระองค์ และตั้งทัพรักษาอยู่ห้าแห่ง แห่งแรกมีชื่อว่า  เวียงชัย  แห่งที่ ๒ เรียกว่า  อริยะ แห่งที่ ๓  เรียกว่า อางละ แห่งที่ ๔ เรียกว่า  รี  แห่งที่ ๕ เรียกว่า  เวียงสูง  ต่อจากนั้น  พระยา ๕ พระองค์ก็เอาเงินเอามาหล่อก้อนละอีดเงิน  ละอีดคำ (อิฐเงินอิฐคำ) อย่างมากมาย แล้วก็ให้คนขุดดินลึกได้  ๑๕ ศอกนับเป็นวาได้ ๓ วา  ปลายออกหนึ่งแล้วก็ก่อด้วยก้อนละอีดคำ ทำรูปราชสีห์  ๑ ตัว  สูงได้ ๗  ศอกแล้วทำขะอูปแก้ว (ผอบ) อันหนึ่งดีงามยิ่งนัก  

แล้วเอาพระธาตุพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ตรงกลาง  แล้วเอาใส่ไว้ในท้องราชสีห์คำตัวนั้น  แล้วหุ้มเป็นอุโมงค์  กว้างได้  ๗ วา แก้วก่อดินละอีด (อิฐ) หุ้มขึ้นก่อขึ้นหลังราชสีห์คำตัวนั้นได้  ๑๒  ศอก แล้วก่อกินละอีดคำขึ้นได้  ๑๒ ศอกเป็นใจกลางตรงราชสีห์อยู่นั้น  ก่อขึ้นมาจนถึงดินกว้างได้ ๑ ศอก จึงก่อหินขึ้น ๗ ศอก แล้วจึงถมดินให้ดีแล้วเอาไม้ชะจาว ๑ ต้นมาปลูกไว้ตรงกลาง  ส่วนแก้วแหวนเงินคำที่เหลือก็หล่อเป็นเสาโคมคำสูงได้ ๙ วาอก  ใหญ่เท่าลำตาล และฝังไหแก้ว  ๗ ไห ไว้บูชาอีกทั้ง ๔ ทิศ

นอกจากนั้นยังมีเงินคำเครื่องใช้เหลืออีก ๑๒  โกฏิ ให้ใส่รถลากไปฝังดอยน้อย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกแล้วพระอรหันต์ทั้ง  ๗ พระองค์กับพระยา  ๕ พระองค์  ได้ช่วยกันอธิฐานว่า  “คนไหนไม่บุญอย่าเอาข้าวของไป ท้าวพระยาองค์ใดมีบุญสมภารอันใหญ่เสวยเมืองนครชัย  กับทั้งชาวจ้าวผู้มีบุญสมภารอันใหญ่จักมายกยอพระพุทธศาสนาก็อนุญาตให้สร้างได้ พระธาตุดอนโผยงนี้จักรุ่งเรือง  ๒ ที ๓ ที ครั้งถ้วน ๓ จักเจริญเป็นเจดีย์คำตลอดไปจนสิ้นศาสนายุกาล”

เมื่อพระอรหันต์ ๗  พระองค์ และพระยา  ๕ พระองค์พร้อมด้วยเทพบุตร  ได้อธิฐานเช่นนี้แล้วก็บูชาสักการะเป็นเวลา  ๗ วัน แล้วก็กลับไปสู่ที่อยู่ของตน  ขณะที่บรรจุพระบรมธาตุนั้นเป็นจุลศักราชได้  ๒๑๙ ปี นี่เป็นเรื่องกล่าวถึงการบรรจุพระบรมธาตุ




บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0138.jpg



ตำนานวัดพระธาตุเสด็จ (ต่อ)

ต่อมาจุลศักราช ๗๗๕ (พ.ศ.๑๙๕๖) ปีมะเส็ง ขณะนั้นนางจามเทวีได้เป็นพระยาครองเมืองหริภุญชัย  พระนางจามเทวีมีพระราชโอรส ๒ พระองค์ องค์พี่ชื่อว่า มหันตยศ องค์น้องชื่อว่า อนันตยศ มีพระยาลัวะซึ่งมาเอานางพระนางจามเทวีเป็นภรรยาองค์หนึ่งแต่พระราชโอรสทั้ง ๒ พระองค์จงใจรังเกียจยิ่งนัก จึงขออนุญาตพระมารดาไปรบด้วยพวกพระยาลัวะ  ก็ได้ชัยชนะกลับมา พระนางจามเทวีก็ยกเมืองหริภุญชัยให้แก่มหันตยศลูกชายคนโต ให้ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อไป  ต่อมามหันตยศจึงได้ถามพระมารดาว่าเหตุไฉนลูกทั้งสองขี่ช้างตัวเดียวกันไปรบชนะมาด้วยกันแล้ว  แม่ไม่ให้น้องชายได้เสวยเมืองเดียวกับลูกเล่า  

นางจามเทวีได้ฟังดังนั้นก็คิดน้อยใจ จึงรับปากกับลูกชายผู้เป็นพี่ว่า  เจ้าอย่าได้น้อยใจไปเลยแม่จะหาเมืองให้น้องเจ้าได้เสวยราช  ต่อมาพระนางจามเทวีก็ได้ไหว้เจ้าสุกกะทันตะฤาษีบอกเหตุการณ์ทั้งหมดให้ทราบ  เจ้าสุกกะทันตะฤาษี  ก็ได้ชี้แจงแก่นางจามเทวีว่าหากต้องการให้ลูกชายได้เสวยราชจริงแล้ว  ก็ให้ไปหามหาพรหมฤาษีซึ่งอยู่ห่างจากที่นี้ไปทางทิศตะวันออก  ๕  หมื่น  ๖ พันวา  อยู่ดอยชื่อว่า เขางาม  เป็นสหายของเรานี้แหละให้ไปหานายพรานป่าชื่อว่า พรานเขลางค์  อยู่ตีนดอยทางทิศตะวันออกแม่น้ำวังค์นที  แล้วพรานผู้นั้นก็จักพาท่านไปหามหาพรหมฤาษี  แล้วให้เล่าเรื่องราวและแจ้งความประสงค์ให้ท่านทราบต่อไปเถิด

จากนั้นพระนางจามเทวีพร้อมด้วยพระราชโอรสและบริวารก็เดินทางมาสู่สถานที่ๆ  มหาพรหมฤาษีอยู่ดุจดังที่เจ้าสุกกะทันตะฤาษีแนะนำทุกประการ  เมื่อมาถึงสำนักมหาพรหมฤาษีแล้วมหาพรหมฤาษีก็ถามว่า  มีความประสงค์อย่างใดที่มาสู่สำนักของท่าน  นางจามเทวีก็เล่าเหตุการณ์ให้ฟังทุกประการ  มหาพรหมฤาษีก็บอกว่า  ไม่เป็นไรถ้าต้องการให้อนันตยศได้เสวยราช  เราก็จะเล็งดู (พิจารณาดู) ที่ๆ สุขเกษมสำราญให้  แล้วก็ไปสู่ดอยเบ็งกันแล้วมองไปทางทิศตะวันตกแม่น้ำวัง   เห็นต้นโพธิ์อันงดงามต้นหนึ่งจึงเนรมิตให้เป็นบ้านเป็นเมืองขึ้น  กว้างได้ ๕๐๐ วา ยาวได้ ๕๐๐ วา แล้วก็นำเอาหินก้อนหนึ่งมาไว้ตรงกลางเมือง  หินก้อนนั้นก็ปรากฏว่าเป็นผาบ่องจนถึงทุกวันนี้   

แล้วมหาพรหมฤาษีและพระนางจามเทวีก็อภิเศกเจ้าอนันตยศให้เป็นพระยาเสวยเมือง ชื่อว่า  อินทาเกิงกร  และเมืองนี้ปรากฏชื่อว่า  ศรีนครชัย   ที่มหาพรหมฤาษี  ให้ชื่อเช่นนี้  ก็เพราะพระธาตุพระพุทธเจ้าได้ประดิษฐานอยู่ทั้ง ๒  ข้างของตัวเมือง  คืออยู่ที่เมืองลัมภะกัปปะนครดวงหนึ่ง  อยู่ที่เหนือเมืองชื่อดอนโผยงหนึ่ง   พระนางจามเทวีก็ไปนมัสการสักการบูชาพระบรมธาตุในเมืองลัมภะกัปปะนครแล้วก็ไปนมัสการพระธาตุเจ้าดอนโผยงอีก   หลังจากที่พระนางได้สักการะบูชาเสด็จแล้วก็มานั่งพักผ่อนที่ใต้ร่มไม้สัก  ๒ ต้นพี่น้อง  อยู่ทิศตะวันออกพระธาตุและเห็นว่ามีร่มเงาเย็นดี  จึงได้อธิฐานว่า  ขอให้ไม้สัก ๒ ต้นนี้จงยืนนานถาวรเป็นพันๆ ปี  แล้วพระนางก็เสด็จกลับไปสู่เมืองหริภุญชัยตามเดิม (ต้นไม้สัก ๒ ต้นที่ว่านี้  ยังปรากฏต้นตออยู่จนบัดนี้  และจมอยู่ใต้ดิน)

IMG_0174.jpg



ต่อมาจุลศักราชได้ ๔๙๖ ปี (พ.ศ.๒๐๗๗ ปี) มีพระมหาเถรเจ้า  ๒  องค์มาจากเมืองพม่า  ได้นำสถรา (บัดถาจารึก) มาเพื่อจะนมัสการพระมหาธาตุเจ้า   สมัยเมือเจ้าเมืององค์ที่ชื่อว่า “หาญเทศท้อง” เสวยเมืองศรีนครชัย  เมื่อมานมัสการพระธาตุเมืองลัมภะกัปปะนครแล้ว  ก็ไปสู่เมืองศรีนครชัย  แล้วมหาเถรเจ้าทั้งสองก็ถามชาวเมืองทั้งหลายว่า   พระธาตุพระพุทธเจ้ามีเหนือเมืองไปอันชื่อว่า ดอนโผยงมีหรือไม่   ชาวบ้านเมืองก็บอกมหาเถรเจ้าว่า พวกข้าพเจ้าได้ทราบแต่ว่า  พระธาตุพระพุทธเจ้ามีอยู่ใต้เมืองลัมภะกัปปะนครเช่นนั้น   ส่วนเมืองศรีนครชัยอย่างท่านว่าไม่เคยได้ยินเลย  

มหาเถรเจ้าก็บอกให้เขารู้อีก แล้วก็เดินทางไปเสาะหาพระบรมธาตุทางเหนือเมืองต่อไป พอไปถึงบ้านกาศไหม้  ก็แวะอาบน้ำที่ท่าน้ำนั้นแล้วก็มีคนแก่ชราคนหนึ่งอยู่บ้านหมากฟ้าเดินทางพบเข้า  มหาเถรเจ้าจึงถามว่า ปู่มาจากไหน  ชายชราก็บอกว่ามาจากบ้านหมากฟ้า  มหาเถรเจ้าจึงถามว่ายังรู้จักพระธาตุอยู่ที่ใด  วัดดอนโผยงอยู่ที่ใด  ต้นไม้คะจาวอยู่ที่ใด  เคยทราบไหมชายชราคนนั้นไม่เคยเห็นและไม่เคยทราบไม่เคยได้ยินใครพูดเลยจึงตอบมหาเถรเจ้าว่า  ไม่ทราบว่าอายุได้  ๙๐ ปีแล้ว แล้วก็ยังไม่เคยได้ยินชื่อเช่นนี้เลย  

ครั้นแล้วมหาเถรเจ้าก็ถามต่อไปว่า  คนแก่ที่แก่กว่าท่านยังอยู่หรือ  ชายชราบอกว่ายังมีอยู่อีกหนึ่งเป็นอาจารย์โหราเมื่อเป็นพระเคยไปอยู่เมืองพม่า  แต่กลับมาได้ลาสิกขาเสียแล้วก็เป็นอาจารย์ (ผู้นำอุบาสกหรือไวยาวัจจกร)  อาจจะรู้เรื่องนี้ดี ชายชราจึงพามหาเถรเจ้าไปบ้านหมากฟ้า   ไปหาอาจารย์โหราคนแก่แล้วก็เล่าเหตุการณ์ให้แก่ฟังทุกอย่าง  อาจารย์โหราจึงถามว่าพระคุณเจ้าเดินทางมาพักที่ไหน  มหาเถรเจ้าก็บอกว่า   มาพักที่บ้านกาศไหม้   อาจารย์โหราก็บอกว่าที่บ้านกาศไหม้นั้นแหละ ที่ริมแม่น้ำวังค์นที  มีดอนอันหนึ่งชื่อว่า ดอนโพง  มีต้นคะจาวอยู่ต้นหนึ่ง แต่เขาไม่เคยเรียกกันว่าดอนโผยง  อย่างพระคุณเจ้าว่าเลย เขาเรียกกันว่า  ดอนโพง  ก็คือที่ๆ พระคุณเจ้าพักอยู่นั้นแหละ

มหาเถรเจ้าถามว่า  เหตุใดคนจึงเรียกกันว่า  ดอนโพง อาจารย์โหราจึงบอกว่า เนื่องจากกลางคืนมาผีโพงชอบมากินซากผีแถวนั้นเพราะเขานำผีไปฝังไว้ใกล้ๆ  กับต้นคะจาวต้นใหญ่ต้นนั้น  กลางคืนจึงมีผีโพงไปเที่ยวเกาะกิ่งเกาะกิ่งไม้คะจาวเพื่อเซาะกินผีทุกคืน ตลอดคืนยังรุ่งเขาเรียกกันว่า ดอนโพง   มหาเถรเจ้าก็ขอให้อาจารย์โหราพาไปสู่ดอนโพงเพื่อตรวจดูตรงดอนโพงให้ถูกต้องแน่นอนว่าจะเหมือนดังในบัดถาจารึกหรือไม่

จากนั้นอาจารย์โหราก็ได้พามหาเถรเจ้าทั้งสองมาดูดอนโผยงแล้ว มหาเถรเจ้าก็อ่านบัดจารึกดูก็เห็นถูกต้องแม่นยำทุกประการและต้นคะจาวก็มีกิ่งใหญ่   ๒ กิ่งมีเทพบุตรรักษาองค์ละกิ่ง  และมีกิ่งคะจาวเป็นปุ๋ย ๔๐ พะวง  ย้อยลงมาพื้นดินทั้ง  ๔ ทิศๆ ละ ๑๐ พะวง ถ้าลมมาก็กวัดแกว่งกวาดพื้นให้เกลี้ยงราบเรียบดงงามยิ่งนัก  ดุจมียามคอยกวาดรักษาอยู่เสมอ  แม้แต่หญ้าเส้นหนึ่งก็ไม่มี  เป็นสถานที่บริสุทธิ์สะอาดงดงามดี  มหาเถรเจ้าจึงบอกให้อาจารย์โหราว่านี่แหละคือสถานที่บรรจุพระบรมธาตุที่แท้จริง แล้วตั้งแต่นี้เป็นต่อไป  ขอท่านทั้งหลายอย่าได้สงสัยอะไรอีกเลย  จงเชื่อในตำนานที่เราเอามาจากลังกานี้เถิด  ขอให้ท่านทั้งหลายอย่าได้นำเอาผีมาเสีย  ณ  ที่นี้ต่อไปเลย

แล้วก็ให้อาจารย์โหราไปแจ้งข่าวให้ประชาชนทั้งหลายมา คนทั้งหลายก็พากันหลั่งไหลมาอย่างคับคั่ง  แล้วพระมหาเถรเจ้าก็แจ้งให้ประชาชนทั้งหลายทราบอีกดุจข้างต้น   คนทั้งหลายก็ไม่เชื่อและตำหนิพระมหาเถรเจ้าในทำนองที่ว่าเอาป่าช้าเป็นวัด  ครั้นแล้วมหาเถรเจ้าทั้ง ๒  องค์  ก็ทำการสักการบูชาพระธาตุพระพุทธเจ้าด้วยข้าวตอก  ดอกไม้  ธูปเทียน  แล้วอธิฐานว่า “ถ้าธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่ใต้ร่มไม้คะจาวต้นนี้  ตั้งแต่เมื่อพระอรหันต์ ๗ พระองค์  และเทพบุตรทั้งหลาย  พระยา ๕ พระองค์มาบรรจุพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าไว้ที่นี้  และให้พรหมเทพบุตรและสุภัททะเทพบุตรรักษาพระสรีระธาตุพระพุทธเจ้า มี  ณ  ที่นี้ จริงแล้ว  ขอให้เทพบุตรทั้งสองจงสำแดงพระสรีระธาตุพระพุทธเจ้าให้เกิดปาฏิหาริย์ดุจเมื่อพระพุทธองค์ยังมีพระชนม์อยู่เถิด”

จากนั้น รัศมีพระสรีระธาตุพระพุทธเจ้าก็ไหลหลั่งแต่ต้นไม้คะจาวต้นใหญ่  มีประมาณเท่าลำตาลรุ่งเรืองงามประดุจทองคำและประดุจรูปพระยานาคเกี้ยวกันสุดยอดต้นคะจาวแล้วก็เปล่งรัศมี ๖ ประการรุ่งเรืองงามยิ่งนัก  แล้วก็เสด็จขึ้นไปบนอากาศใหญ่ประมาณเท่าลูกบาตรบ้าง เท่าลูกมะพร้าวบ้าง  เท่าเดือนบ้าง เท่าดาวบ้าง มากที่สุดจะคณานับได้ตลอดคืน  คนทั้งหลายจึงได้เชื่อคำของมหาเถรเจ้า  ก็บอกข่าวให้แก่คนทั้งหลายว่า  ต่อไปเมื่อใดที่ต้นคะจาวนี้จะชราเสื่อมคลายตายลงแล้ว  ในตอนนั้นจักมีพระมหาเถรเจ้าองค์หนึ่ง  กับพระยาที่เสวยเมืองศรีนครชัยกับทั้งชาวเจ้าอริยะสงฆ์และประชาชนจักมาตัด ไม้คะจาวนี้  แล้วจะก่อเป็นพระมหาเจดีย์ครอบพระสรีระธาตุพระพุทธเจ้า  สถานที่นี้ให้รุ่งเรืองถาวรสืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป  

เมื่อพระมหาเถรเจ้ากล่าวเช่นนี้แก่ประชาชนแล้วประชาชนต่างก็ชื่นชมยินดีที่เห็นพระบรมธาตุพระพุทธเจ้าออกจากต้นคะจาว  คนทั้งหลายก็กลับไปสู่ที่อยู่บ้านเรือนของตน  ส่วนมหาเถรเจ้าก็กลับไปสู่ที่อยู่แห่งตนตามเดิม  ภายหลังประชาชนที่ต้องการจะถวายอาหารแก่พระมหาเถรเจ้าทั้ง  ๒  องค์ก็หาไหนไม่เจอ  เสาะหาตามที่ไหนๆ ก็ไม่พบ  จึงไปแจ้งข่าวแก่พระยาเจ้าเมือง  ชื่อหาญแต่ท้อง  เจ้าเมืองได้ทราบเรื่องตำนานพระสรีระธาตุพระพุทธเจ้า  ก็มีจิตใจชมชื่นยินดียิ่งนัก  จึงตรัสสั่งให้ประชาชนพลเมืองปราบพื้นที่ให้เรียบร้อยดีงามแล้ว  ก็จัดการก่อต้นไม้คะจาวต้นนั้นให้เป็นแท่นเป็นองค์เจดีย์  แล้วทำวิหารขึ้น ๑หลัง ทางด้านตะวันออก  และได้ป่าวประกาศให้ชาวเมืองศรีนครชัยตลอดทั้งภิกษุสงฆ์องค์เจ้ามาทำการสักการะบูชา พอถึงกลางคืนมาพระสรีระธาตุพระพุทธเจ้าก็เสด็จออกมาจากต้นคะจาวแสดงปาฏิหาริย์เป็นที่น่า ปีติยินดีแก่มหาชนทั่วไป  ตั้งแต่นั้นมาก็มีชื่อปรากฏเรียกกันว่า  พระธาตุเสด็จ  (คือเสด็จขึ้นๆ ลงๆ เช่นนี้)

พอถึงจุลศักราช ๑๑๖๘ (พ.ศ.๒๓๔๙) ตรงกับเดือนยี่เหนือขึ้น ๑๐ ค่ำ วันพฤหัสบดี  มหาปฐวีแผ่นดินหลวงก็หวั่นไหวเป็นการใหญ่ทำให้แท่นเจดีย์ที่ทำไว้นั้นทรุดโทรมลง  พระยาลัวะเจ้าเมืองนครชัย  พร้อมทั้งพระสงฆ์มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานก็ได้จัดการหล่อเหล็กยาว ๕ ศอก  ทำเป็นไส้กลางแล้วก็เสริมสร้างเป็นองค์พระธาตุเจดีย์ขึ้นแล้วสร้างฉัตรทองคำ เพิ่มอีก  ๒ รวมเป็น ๕ และทำซี่เหล็กล้อมอีก  ๒๑๕๐  เล่ม และฉัตรทองเหลืองปักตรงมุมอีก  ๔ มุม ๆ ละ ๑ ฉัตร รวมพระธาตุเสด็จกว้างได้  ๗ วา สูง ๑๕ วา แล้วป่าวประกาศให้ประชาชนทั้งหลายมาฉลองสมโภชกัน ๗ วัน ๗ คืนในวันเพ็ญเดือน  ๓ (เดือน ๕ เหนือ)  ซึ่งเป็นประเพณีการจัดงานเทศกาลประจำปีมาจนถึงทุกวันนี้  กล่าวถึงตำนานพระบวรธาตุเจ้าวัดพระธาตุเสด็จอันมีในใบลานเก่าแก่ก็ยุติเพียงเท่านี้



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0146.jpg



ประวัติวัดพระธาตุเสด็จ


(แหล่งที่มา : ตำนานวัดพระธาตุเสด็จ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.watsadet.ac.th/index. ... cle&id=61&Itemid=77. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗))


วัดพระธาตุเสด็จ เป็นสถานที่อันเป็นที่ตั้งวัดพระธาตุเสด็จในปัจจุบัน  เดิมเรียกว่า ดอนโพยง หรือ ดอนโพง  เพราะพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ดอนและเป็นป่าช้าสำหรับฝังซากศพของชาวบ้าน  ตอนกลางคืนจะมีหมา มีแร้งมาแทะกินซากศพ  และที่บริเวณนี้จะมีต้นขะจาวใหญ่อยู่ต้นหนึ่งในคืนวันพระ  ๘ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำจะมีดวงไฟพุ่งเป็นแสงสว่างออกไปให้ชาวบ้านได้เห็นและชาวบ้านแถวนี้เข้าใจว่าเป็นแสงของผีโพง ที่มากินซากศพตอนกลางคืน จึงเรียกชื่อสถานที่นี้ว่า  ดอนโพยง หรือ ดอนโพง

ความเชื่อในการกำหนดแผนผังวัด

แผนผังการสร้างวัดของวัดพระธาตุเสด็จ  มีลักษณะเป็นภูมิจักรวาล  คือมีพระธาตุเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมอันเป็นศูนย์กลางของวัด  มีถาวรวัตถุประเภทอื่นๆ  เช่น  วิหาร  ศาลา  กำแพงแก้ว  เป็นสถาปัตยกรรมบริวาร  มีลานเดินในวัดที่เกลี่ยลงด้วยทราย  อุปมาเป็นมหาสมุทรสีทันดร  เพื่อให้ผู้คนเดินด้วยเท้าเดินได้ช้าลง  เหมือนการเดินทางในมหาสมุทรที่กว่าจะถึงฝั่งก็กินเวลานานหลายเดือน แม้ในปัจจุบันจะมีการเทคอนกรีตทับพื้นลานเดินจนหมดแล้ว  การเดินทางมหาสมุทรในทางพระพุทธศาสนา  อุปมาด้วยการเวียนว่ายตายในวัฏฏสงสาร  ประดุจภูมิจักรวาลในทางศาสนาพราหมณ์  ที่มีภูเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้ง  ๗ มีภูมิเขาสิเนรุเป็นหลักมีภูเขาบริภัณฑ์อื่นๆอีก ๖ ลูก ป็นบริวาร  ภูเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้ง  ๗  เป็นที่สถิตของเหล่าทวยเทพ  และตั้งอยู่กลางมหาสมุทร



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0172.jpg



ประวัติวัดพระธาตุเสด็จ (ต่อ)

พระอรหันต์และเจ้าเมืองบรรจุพระธาตุ

เมื่อจุลศักราช ๒๑๙  มีพระอรหันต์ ๗ องค์เดินทางมาจากชมพูทวีป เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุ และได้เชิญชวนเจ้าพระยามหากษัตริย์มาชุมนุมกันถึง  ๕ พระองค์  และตั้งทัพรักษาอยู่ห้าแห่งแห่งที่ ๑ เรียกว่า  เวียงชัย  แห่งที่ ๒ เรียกว่าอริยะ แห่งที่ ๓ เรียกว่าอางละ แห่งที่ ๔ เรียกว่า รี  แห่งที่ ๕ เรียกว่าเวียงสูง  ต่อจากนั้นพระมหากษัตริย์ ทั้ง ๕ พระองค์ ก็ให้ไพร่พลประชาราษฎร์ขุดหลุมลึก  ๑๕  ศอกและก่อรอบด้วยก้อนอิฐทองคำ สูง ๑๒ ศอก และทำแท่นแก้วด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการ มีความสูง ๗ ศอก  และทำราชสีห์ทองคำ ๑ ตัว  สูง  ๗ ศอก  

และทำผอบแก้วเพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุและนำผอบนั้นใส่ไว้ในท้องราชสีห์ตัว นั้น แล้วหุ้มเป็นอุโมงค์กว้าง  ๗ วา และก่ออิฐหลังราชสีห์ตัวนั้นสูง ๑๒ ศอก และก่ออิฐทองคำสูงอีก  ๑๒  ศอก ก่อขึ้นมาจนถึงผิวดินและถมด้วยหินและดินแล้วนำต้นขะจาวมาปลูกไว้ตรงกลาง ๑ ต้น  และนำแก้วแหวนเงินทองที่เหลือก่อเป็นเสาโคมคำ  ขนาดใหญ่ลำตาล  สูง  ๙ วา และนำแก้วแหวนใส่ไว้ไหฝังบูชาในทิศทั้ง  ๔  และตั้งสัจจะอธิฐานว่า  “คนไม่มีบุญอย่าเอาข้าวของไป ท้าวพระยาเจ้าเมืองผู้มีบุญญาธิการจักมายกยอพระพุทธศาสนาก็อนุญาตให้สร้าง  (พระเจดีย์)  ได้ พระธาตุดอนโพยง  นี้จักเจริญรุ่งเรือง  ๒ ที ๓ ที ครั้นถ้วนสามจักเป็นเจดีย์ทองคำไปตลอดพระพุทธศาสนายุกาล”  หลังจากอธิฐานแล้วจึงบูชาสักการะเป็นระยะเวลา  ๗ วัน  ๗ คืนแล้วกลับไปสู่ที่อยู่ของตน


พระนางจามเทวีเสด็จมานมัสการ

ต่อมา พ.ศ.๑๒๒๓ พระนางจามเทวีกษัตริย์ผู้ครองนครหริภุญชัย เสด็จมายังดอยเขางาม  หรือเขลางค์บรรต  เพื่อจะสร้างพระนครขึ้นใหม่ให้เจ้าอนันตยศพระโอรสพระองค์เล็กทรงปกครองโดย สร้างพระนครใหม่บริเวณที่ราบลุ่มของดอยเขางาม ตามคำแนะนำของมหาพรหมฤาษี  แล้วตั้งชื่อพระนครที่สร้างขึ้นใหม่ว่า  ศรีนครชัย  เนื่องจากเป็นนครที่มีชัยภูมิทำเลที่ดี  พร้อมกับสถาปนาเจ้าอนันตยศเป็นพระยาปกครองเมือง  ทรงพระนามว่า  อินทาเกิงกร หลังจากเสด็จสิ้นจากการสร้างพระนครแล้ว พระนางจามเทวีได้เสด็จไปนมัสการพระธาตุลัมภกัปปะนคร  (พระธาตุลำปางหลวง) แล้วมานมัสการพระธาตุดอนโพยง (พระธาตุเสด็จ) ที่ตำบลดอนปละหลวงและได้ทอดพระเนตรพระธาตุแสดงปาฏิหาริย์  ทรงเกิดปีติยินดี และทรงศรัทธาเลื่อมใสยิ่งนัก



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 03:21 , Processed in 0.051351 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.