แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 5964|ตอบ: 23
go

วัดแสนตอง ม.๙ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ (รอยพระชานุ , รอยพระพุทธบาท) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_4043.jpg


IMG_4086.jpg


IMG_4075.jpg



วัดแสนตอง

บ.เหล่าแสนตอง  ม.๙  ต.สะเมิงใต้  อ.สะเมิง  จ.เชียงใหม่  

[รอยพระชานุ (หัวเข่า) , รอยพระพุทธบาท

บนดอยหลังวัดแสนตอง]



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3920.jpg



การเดินทางไปวัดแสนตอง  ดูข้อมูลแผนที่จากเว็บ ezymaps ได้ตามลิงค์นี้ค่ะ
http://www.ezymaps.com/view_deta ... nk=y&Browser=Chrome


IMG_3720.jpg



IMG_3910.jpg



ถนนทางเข้า/ออก วัดแสนตอง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3917.jpg



วัดแสนตอง  ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านเหล่าแสนตอง หมู่ที่ ๙ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อ ๕ ไร่ ๓ งาน

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ         จดที่ ธรณีสงฆ์ของวัด
ทิศใต้             จดทาง สาธารณประโยชน์
ทิศตะวันออก    จดทาง สาธารณประโยชน์
ทิศตะวันตก      จดที่ เอกชน


IMG_3914.jpg



ประตูทางเข้า/ออก วัดแสนตอง ค่ะ


IMG_3921.jpg



รูปปั้นสิงห์ ประดับประตูทางเข้า/ออก วัดแสนตอง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

b.jpg



ภายใน วัดแสนตอง ค่ะ

ประวัติวัดแสนตอง


(แหล่งทีี่มา : วัดแสนตอง. ประวัติวัดแสนตอง. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : (http://watsandtong.blogspot.com/2009/11/blog-post_2578.html#links. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒ เมษายน ๒๕๕๗))


วัดแสนตอง สร้างเมื่อพ.ศ.๑๓๐๐ (สันนิษฐานจากบันทึกใบลานของวัดแสนตอง) โดยหม่องอูหน่า ชาวไทยใหญ่ ได้อพยพพร้อมด้วยบริวารจากเมืองตวน เมืองหาง ประเทศพม่า มาตั้งถิ่นฐานที่ริมแม่น้ำสะเมิง ในสมัยนั้นยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและป่าสงวน ใครจะอยู่ที่ไหนตามใจชอบเมื่อตั้งตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นั้นมีประชากรเพิ่มมากขึ้น และประชากรทั้งหมดต่างมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

หม่องอูหน่าจึงคิดจะสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน จึงขอบริจาคปัจจัยจากชาวบ้าน แต่เนื่องด้วยสมัยนั้นเป็นสังคมเกษตรกรรมจึงไม่มีปัจจัยมากพอที่จะสร้างวัดได้ ชาวบ้านจึงร่วมกันบริจาคเครื่องประดับที่นำติดตัวมา ส่วนมากเป็นทองคำ เมื่อได้ทองคำ หรือ “ตอง” ในภาษาเหนือแล้วจึงนำมาชั่ง ในสมัยนั้นมีเครื่องชั่งอยู่ชนิดหนึ่งมีลักษณะสั้นกว่าเครื่องชั่งในปัจจุบัน ในเครื่องชั่งนั้นจะมีอยู่สิบขีด (ไม่ทราบหน่วย) เมื่อชั่งได้สิบขีดจะเท่ากับหนึ่งพัน ชาวบ้านจึงช่วยกันชั่งทองคำจนหมด รวมแล้วได้หนึ่งแสนพอดี ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด “แสนตอง” นั่นเอง

เมื่อดำเนินการสร้างวัดแล้ว ได้นำเอาทองคำหลอมหล่อเป็นพระประธานในวิหาร ส่วนเครื่องประดับที่เหลือก็มาหลอมรวมกัน แล้วนำมาหล่อเป็นและพุทธรูปปางต่างๆ มีขนาดตั้งแต่หนึ่งนิ้วไปจนถึงสามสิบนิ้ว โดยเฉพาะขนานหนึ่งนิ้วมีเป็นจำนวนมาก เมื่อเสร็จแล้วชาวบ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะมีประเพณีประจำวัด คือ ประเพณีสรงน้ำพระเจ้าแสนตอง โดยยึดเอาวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนเก้าเหนือ (ป๋าเวณีเก้าเป็ง) หรือในช่วงเดือนมิถุนายน และได้ถือเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่องานสรงน้ำพระเสร็จลง สามเณรจะมีหน้าที่เก็บพระพุทธรูปเข้าเก็บไว้ที่เดิม สมัยนั้นเล่ากันว่า เณรน้อยจะนำพระพุทธรูปองค์เล็กๆ มาใช้แทนเงินในการเล่นขายของ ต่อมาพระพุทธรูปองค์เล็กๆ เหล่านั้นค่อยหายไปทีละองค์สององค์ พระพุทธรูปในวัดแสนตองได้รับความเคารพบูชาจากประชาชนชาวสะเมิงเป็นอย่างมาก เมื่อถึงประเพณีสงกรานต์ของทุกปี จะมีขบวนแห่พระสิงห์ของวัดแสนตองจากหน้าวัดไป รอบๆ ตัวอำเภอ แล้วจะมีพิธีสรงน้ำพระสิงห์ที่หน้าที่ว่าการอำเภอสะเมิง

พอมาถึงปีพ.ศ.๒๕๓๔ พระพุทธรูปถูกขโมยไปจำนวนสี่องค์ แต่คนร้ายไม่สามารถนำไปทั้งหมด ได้นำไปทิ้งที่หนองน้ำท้ายตลาดสดเทศบาลตำบลสะเมิงใต้จำนวนสององค์ และอีกหลายครั้งที่มีคนพยายามจะขโมยพระ แต่ด้วยปาฏิหาริย์ของพระพุทธรูปจึงไม่สามารถนำไปได้ หลังจากนั้นจึงทำกรงเหล็กล้อมไว้เพื่อความปลอดภัย

IMG_3856.jpg



เจ้าอาวาสวัดแสนตอง เท่าที่ทราบนาม


รูปที่ ๑ ครูบาม่อน

รูปที่ ๒ ครูบาโปธิ
รูปที่ ๓ ครูบาปัญญา
รูปที่ ๔ พระบุญปั๋น
รูปที่ ๕ พระต๋าคำ
รูปที่ ๖ พระอิ่นแก้ว (พ.ศ.๒๔๘๙ – พ.ศ.๒๔๙๖)
รูปที่ ๗ พระบุญสม จิตฺธมฺโม (พ.ศ.๒๔๙๗ – พ.ศ.๒๕๐๐)
รูปที่ ๘ พระบุญปั๋น พุทฺธสโร (พ.ศ.๒๕๐๑ – พ.ศ.๒๕๑๐)
รูปที่ ๙ พระสมุห์ศรีรัตน์ จนฺทธมฺโม (พ.ศ.๒๕๑๑ - ๒๕๒๖)
รูปที่ ๑๐ พระติ๊บ (พ.ศ.๒๕๒๘ - ๒๕๒๙)
รูปที่ ๑๑ พระณรวย (พ.ศ.๒๕๓๐)
รูปที่ ๑๒ พระอธิการอ้าย จตฺตสงฺวโร (พ.ศ.๒๕๓๒ – ๒๕๕๑)
รูปที่ ๑๓ พระมนตรี รตนปุตฺโต (พ.ศ.๒๕๕๑ – ๒๕๕๓) พ.ศ.๒๕๕๔ พระมนตรีได้ลาสิกขาแล้ว




บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3796.jpg



IMG_3870.jpg



IMG_3927.jpg



วิหาร วัดแสนตอง ค่ะ


IMG_3853.jpg



พระเจ้าแสนตอง (ถูกเก็บรักษาไว้ในกรงเหล็กเพื่อความปลอดภัย) และพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดแสนตอง ค่ะ


IMG_3857.jpg


รูปพระภิกษุ อดีตเจ้าอาวาสวัดแสนตอง ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดแสนตอง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3833.jpg



IMG_3831.jpg



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ระเบียงคด วัดแสนตอง ค่ะ


IMG_3826.jpg



IMG_3828.jpg



รูปพระอุปคุตปางจกบาตร วัดแสนตอง ค่ะ


IMG_3878.jpg



รูปพระพิฆเนศ วัดแสนตอง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3816.jpg



ต้นโพธิ์ วัดแสนตอง ค่ะ


IMG_3860.jpg



รูปโคพระโพธิสัตว์ วัดแสนตอง ค่ะ



h.jpg



กุฏิ วัดแสนตอง ค่ะ


IMG_3872.jpg



ศาลาราย วัดแสนตอง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3820.jpg



IMG_3803.jpg



ศาลาเก็บของ และศาลาพักร้อน วัดแสนตอง ค่ะ


IMG_3925.jpg



สวนหย่อม วัดแสนตอง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3936.jpg



ทางคณะเมื่อมาถึงวัดได้สอบถามเส้นทางไปกราบนมัสการรอยพระชานุ (หัวเข่า) และรอยพระพุทธบาท บนดอยหลังวัดแสนตอง กับ พระจีรยุทธ จารุธัมโม พระภิกษุ วัดแสนตอง ท่านได้เมตตาชี้ทางไปให้กับคณะและเล่าความเป็นมาให้ฟัง


ทางคณะตามรอยพระพุทธบาท เว็บแดนนิพพาน กราบขอขอบพระคุณพระจีรยุทธ จารุธัมโม เป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ  


IMG_3823.jpg



IMG_3938.jpg



IMG_3941.jpg



เดี๋ยวเราเดินทางไปกราบนมัสการรอยพระชานุ (หัวเข่า) และรอยพระพุทธบาท บนดอยหลังวัดแสนตองกันเลยนะคะ เริ่มต้นจากการเดินไปด้านหลังวัดแสนตองค่ะ




บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3944.jpg



IMG_3945.jpg



IMG_3735.jpg



จากนั้นเราก็เดินเท้าไปด้านหลังวัด ทางไปสำนักปฏิบัติธรรม “ธรรมศิลป์” ค่ะ


IMG_3949.jpg



IMG_3950.jpg



และ เลี้ยวซ้ายเข้าป่า ตรงบริเวณหน้าประตูทางเข้าสำนักปฏิบัติธรรม “ธรรมศิลป์” ค่ะ




บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-12-1 04:27 , Processed in 0.080433 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.