แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 5867|ตอบ: 7
go

วัดพระธาตุหมื่นครื้น บ.วังหม้อพัฒนา ม.๑๑ ต.ต้นธงชัย อ.เมือง จ.ลำปาง [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_9426.JPG



วัดพระธาตุหมื่นครื้น

บ.วังหม้อพัฒนา  ม.๑๑  ต.ต้นธงชัย  อ.เมือง  จ.ลำปาง

[พระบรมธาตุเจดีย์]



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9277.JPG


IMG_9276.JPG



IMG_9274.JPG



การเดินทางไปวัดพระธาตุหมื่นครื้น วัดพระธาตุหมื่นครื้น ตั้งอยู่ เลขที่ ๖๑๐/๒ บ้านวังหม้อพัฒนา หมู่ ๑๑ ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากมณฑปหลวงพ่อเกษมเขมโก ประมาณ ๕๐๐ เมตร ค่ะ



IMG_9329.JPG



IMG_9506.JPG



IMG_9508.JPG



ประตูทางเข้า/ออก ประดับด้วยรูปปั้นสิงห์คู่ วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ


IMG_9316.JPG



IMG_9511.JPG



ป้ายชื่อ วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ


1.jpg



กำแพงวัด วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9310.JPG



ฐานวิหาร วัดพระธาตุหมื่นครื้น ห้ามสุภาพสตรีขึ้นบนวิหาร ค่ะ


IMG_9347.JPG



IMG_9358.JPG



IMG_9474.JPG



IMG_9483.JPG



ฐานชุกชี วิหาร วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ


IMG_9363.JPG



ชิ้นส่วนพระพุทธรูปเก่า ประดิษฐานบนฐานชุกชี วิหาร วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9449.JPG



IMG_9447.JPG



IMG_9445.JPG



IMG_9470.JPG



IMG_9419.JPG



IMG_9406.JPG



IMG_9408.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุหมื่นครื้น ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธาตุของพระโมคคัลลาน์ คาดว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา พ.ศ.๑๒๒๓ ค่ะ



IMG_9433.JPG



ประวัติวัดพระธาตุหมื่นครื้น



(แหล่งที่มา : เว็บบ้านเมือง. วัดพระธาตุหมื่นครื้น. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.banmuang.co.th/2014/04/วัดพระธาตุหมื่นครื้น/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗))


วัดพระธาตุหมื่นครื้น ตั้งอยู่เลขที่ ๖๑๐/๒ บ้านวังหม้อพัฒนา หมู่ ๑๑ ต.ต้นธงชัย อ.เมือง จ.ลำปาง วัดพระธาตุหมื่นครื้นเป็นวัดที่ตกหล่นหายไปจากทะเบียนของกรมการศาสนา จากการพิสูจน์ทางวัตถุของกรมศิลปากรทราบว่า มีการบูรณะหลังสุดผ่านมาประมาณ ๖๐๐ ปีเศษ มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ปีขึ้นไป พิสูจน์จากหลักฐานอิฐเก่าๆ ที่พบในวัด คาดว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเมื่อ พ.ศ.๑๒๒๓
เป็นวัดที่มีวิหารและเจดีย์มีอายุเก่าแก่ถึง ๑,๓๔๒ ปี จัดเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง

องค์เจดีย์ประธานภายในวัดได้รับการขุดแต่งทางโบราณคดีในปี พ.ศ.๒๕๓๘ มีการกำหนดอายุจากหลักฐานที่ขุดพบอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ และได้รับการบูรณะส่วนองค์เรือนธาตุในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ส่วนยอดได้รับการออกแบบและต่อเติมจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๔๖ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.๒๕๔๑ สิ่งสำคัญในวัดคือ เจดีย์องค์ประธานภายในวัด เป็นศิลปะแบบล้านนา พระธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในท้องถิ่นและทั่วไป

ตามประวัติความเป็นมาของวัดพระธาตุหมื่นครื้น ก่อนหน้านี้สภาพของวัดพระธาตุหมื่นครื้นซึ่งมีเหลือเพียงพระธาตุเก่าๆ ชำรุดทรุดโทรม เป็นป่าทึบรกชัฏ มีบุคคลเข้าไปจับจองถือครองเป็นกรรมสิทธิ์อยู่รอบๆ ฐานของพระธาตุออกไปทั้ง ๔ ทิศ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๖ อาจารย์สันทัด มูลเครือคำ (วิปัสสนาจารย์) ได้ขอซื้อที่ดินด้านทิศเหนือพระธาตุฯ จากพ่อเฒ่าสุข และแม่เฒ่าคำ ปิงกัณฑ์ เนื้อที่จำนวน ๑ ไร่ ๒ งาน ๖๐ ตารางวา ในราคาสมัยนั้นเป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท เพื่อมาใช้เป็นที่ทำไร่ทำสวน เป็นเวลานานถึง ๒๐ ปี

จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๖ จึงมีลูกศิษย์มาขอฝึกวิปัสสนากรรมฐานเรื่อยมา แต่เนื่องจากพื้นที่คับแคบไม่สะดวกต่อการปฏิบัติธรรมวิปัสนากรรมฐาน อีกทั้งมีคนสนใจปฏิบัติเพิ่มขึ้น อาจารย์สันทัดจึงได้ขอซื้อที่ดินจากนายศรีนุช มูลเครือคำ เพื่อขยายพื้นที่รองรับผู้ปฎิบัติในปี พ.ศ.๒๕๒๘ เป็นเงินอีก ๑๖,๐๐๐ บาท

ต่อมาในปี ๒๕๓๑ อาจารย์สันทัด มีดำริต้องการให้วัดพระธาตุหมื่นครื้นมีฐานะเป็นวัดได้สมบูรณ์ดังเดิม จึงไปแจ้งกับศึกษาธิการอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง ขอจดทะเบียนวัดพระธาตุหมื่นครื้นขึ้นเป็นวัดร้าง โดยทำนิติกรรมที่ดินของอาจารย์สันทัดเองให้เป็นโฉนด และยกให้เป็นสมบัติของวัดร้างพระธาตุหมื่นครื้นด้วย ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๓ อาจารย์สันทัด มูลเครือคำ พร้อมด้วย พระภิกษุยรรยงศ์ สะท้านไตรภพ (พล.ต.ต.ยรรยงศ์ สะท้านไตรภพ) พระวิชัย อภิฌาโต และพระวัชร วชิโร พร้อมคณะศรัทธา ได้นำเรื่องยกฐานะขึ้นกราบเรียนพระครูศิริเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสวัดเจดีย์ซาวหลัง ตำแหน่งเจ้าคณะตำบลในขณะนั้น พร้อมใจกันซื้อที่ดินจากลุงไป๋ ปันสาร ในราคา ๑๔๕,๐๐๐ บาท เพื่อขยายพื้นที่ของวัดให้พอเพียงพร้อมจะได้ยกฐานะให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ต่อไป และได้ทำการปลูกสร้างอาคารพร้อมเสนาสนะอื่นๆ มาตามลำดับจนในเวลาต่อมา

และในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๓๕ ยอดเจดีย์หักปักจมดินเหลือส่วนฐานของยอดเจดีย์พ้นดินขึ้นมาและมองเห็นจานโบราณใบใหญ่ เมื่อทางราชการและคณะศรัทธาได้ร่วมกันรื้อยอดพระธาตุได้พบกับพระธาตุสัณฐานต่างๆ จำนวน ๓๐๑ องค์ (พระบรมสารีริกธาตุหลายองค์และพระธาตุของพระโมคคัลลาน์ด้วย) แก้วประดับจำนวน ๗๙ เม็ด พระพุทธรูปปางสะดุ้งมารจำนวน ๓ องค์ พิมพ์พระทำด้วยเงินแท้อีกจำนวนหนึ่ง ปัจจุบันทางกรมศิลปากรได้เก็บรักษาไว้ที่วัดเจดีย์ซาวหลัง

จากนั้นคณะศรัทธารวมและพระสงฆ์ ได้ร่วมกันพัฒนาบูรณะโดยทำหนังสือขออนุญาตกรมศิลปากรเพื่อขออนุญาตก่อสร้างและต่อเติมจนเป็นองค์พระธาตุเจดีย์ที่สมบูรณ์ วัดพระธาตุหมื่นครื้นได้รับการรับรองจดทะเบียนยกฐานะเป็นวัดโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ และร่วมกันจัดงานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและงานบุญประเพณีประจำปีวัดพระธาตุหมื่นครื้นขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๔๖

โดยวันที่ ๑๕-๑๖  มีนาคม ๒๕๔๖ ทำพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและสาวกของพระพุทธเจ้า พร้อมพระพุทธรูป รวมทั้งสิ่งของต่างๆ ที่ฝากไว้วัดพระเจดีย์ซาวหลัง เพื่อนำมาให้คณะศรัทธาได้สักการบูชาที่วัดพระธาตุหมื่นครื้น จากนั้นทำพิธีบวงสรวงองค์เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยนายชินกร ไกรลาศ วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๖  พระครูบามนตรี ธมมเมธี วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี อ.เด่นชัย จ.แพร่ อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุ


เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ นายสาคร วงค์สมุทร เจ้าหน้าที่สำนักงานศิลปากรที่ ๗ น่าน ได้เข้าทำการสำรวจขุดดินบริเวณโดยรอบวิหารและเจดีย์ของวัดพระธาตุหมื่นครื้น ต.ต้นธงชัย อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งมีอายุเก่าแก่ ๑,๓๔๒ ปี ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๒๒๓ เพื่อบูรณะ และขุดสำรวจศึกษาชั้นวัฒนธรรม ภายหลังได้เกิดพังทลายลงมาช่วงพายุฝนถล่มเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๔ จนทำให้โครงสร้างที่ทำด้วยอิฐมอญเก่าแก่หล่นลงมาแตกเสียหายเป็นจำนวนมาก และต่อมากรมศิลปากรได้อนุมัติงบประมาณในการบูรณะเกือบ ๕ ล้านบาท เพื่อบูรณะซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว

ซึ่งจากการขุดสำรวจระหว่างบูรณะวิหารและเจดีย์ พบโบราณวัตถุหลายรายการ และพบแนวกำแพงแก้วโบราณ เศษวัตถุโบราณหลายชนิด ทั้งเศษกระเบื้องดินเผาสมัยโบราณ แต่ยังไม่สามารถจะระบุได้ว่าอายุมากเท่าไร มีเครื่องปั้นดินเผาบางชิ้นเป็นต้นตำรับเครื่องปั้นของจังหวัดลำปาง และลวดลายทุ่งเตาไห คาดว่าน่าจะอยู่สมัยล้านนาตอนต้น นอกจากนี้ยังพบไหโบราณและตะปูจีน คาดว่าน่าจะอยู่ในสมัยอยุธยา เพราะสมัยนั้นการตอกหรือยึดสิ่งของต่างๆ ชาวอยุธยาจะนิยมใช้ตะปูจีน และยังพบลำตัวของพระพุทธรูปเก่าขนาดใหญ่ พร้อมแจกันที่คล้ายจะบรรจุกระดูกไว้ข้างใน

จากการที่พบแนวกำแพงแก้ว ซึ่งกำแพงแก้วที่พบแค่ ๑ จุด ก็ทำให้ทราบว่าแนวกำแพงแก้วอยู่ห่างจากพระเจดีย์ประมาณ ๓ เมตร เจ้าหน้าที่จึงได้ขุดเพิ่มเป็นทางยาวเพื่อหาแนวเขตว่ามีการก่อสร้างกำแพงแก้วไว้โดยรอบวิหารและเจดีย์เป็นวงกว้าง หรือจะมีการก่อสร้างไว้เฉพาะบริเวณโดยรอบพระเจดีย์แห่งเดียว ซึ่งต่อมาได้ขุดหาแนวกำแพงแก้วโดยรอบได้หมดแล้ว ซึ่งแนวกำแพงแก้วที่ขุดโดยรอบด้านหลังได้เลยออกไปนอกเขตวัด บริเวณด้านหลังพระธาตุ ซึ่งเป็นที่ดินของเอกชน ซึ่งทางวัดจะได้ทำการเจรจาขอบริจาคให้เป็นที่ของทางวัดฯ ต่อไป

นอกจากนี้แนวกำแพงแก้วยังมีฐานของซุ้มประตูให้เห็นอยู่ทั้ง ๓ ด้าน คือด้านหน้า ด้านหลัง และด้านซ้ายทางทิศเหนือ พระอธิการอินคำ อินทังกุโร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหมื่นครื้น กล่าวด้วยความยินดีว่า โชคดีที่สามารถขุดพบแนวกำแพงแก้วได้ทั้งหมดแล้ว ซึ่งถ้าต้องบูรณะซ่อมแซมจัดสร้างขึ้นมาใหม่ ก็จะสามารถถอดแบบนำมาบูรณะให้คล้ายกับของเดิมได้มากที่สุด แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปนานหลายปีทางวัดก็ยังหาปัจจัยมาสร้างกำแพงแก้วขึ้นใหม่ยังไม่ได้ เพราะต้องใช้งบดำเนินการสูงมาก

จวบจนมีคณะศรัทธานำโดย นายสุริยะวิชัย ตั้งฎีกาสุข นางตรีคณา บุรพเกียรติ์ นายรัฐเขต บุรพเกียรติ์ บรรณาธิการบทความนิตยสารแม็กซิม บริษัทจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ นายยุทธการ บุรพเกียรติ์ หัวหน้าฝ่ายข่าว บริษัท เขลางค์นครเคเบิลทีวี จำกัด และ น.ส.วรรษมน บุรพเกียรติ์ ได้ร่วมกับคณะศรัทธาวัดพระธาตุหมื่นครื้น เป็นเจ้าภาพในการก่อสร้างกำแพงวัดพระธาตุหมื่นครื้น ซึ่งการก่อสร้างกำแพงวัดพระธาตุหมื่นครื้นได้ดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๕ และได้สร้างกำแพงวัดอย่างต่อเนื่องจนแล้วเสร็จในต้นเดือนมกราคม ๒๕๕๗ ระยะเวลาในการดำเนินการและก่อสร้าง ๑ ปี ๑๐ เดือน

โดยได้สร้างกำแพงวัดใหม่ทั้งด้านหน้าและด้านข้างของวัดฯ โดยด้านหน้ามีความยาว ๖๙ เมตร สูง ๒.๕๐ เมตร และด้านข้างมีความยาว ๙๘ เมตร สูง ๒.๕๐ เมตร รวมจำนวนความยาวที่ก่อสร้าง ๑๖๗ เมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกำแพงวัด จำนวนทั้งสิ้น ๑๔๐,๐๐๐ บาท และได้ประดับโคมไฟและใส่หลอดไฟแสงสว่างรอบกำแพงวัด ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๖๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท) ซึ่งหลังจากก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ทางคณะศรัทธาได้จัดงานทำบุญถวายกำแพงแก้วที่สร้างขึ้นมาใหม่อย่างสวยงามให้แก่ทางวัด ท่ามกลางความปลาบปลื้มชื่นชมยินดีดีใจของบรรดาคณะศรัทธาชาวบ้านในท้องถิ่นที่มาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9460.JPG



จุดธูป เทียน ถวายดอกไม้ ลูกแก้วจักรพรรดิ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ค่ะ สาธุ สาธุ



IMG_9413.JPG



IMG_9477.JPG



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุหมื่นครื้น พร้อมกันเลยนะคะ

(กล่าวนะโม ๓ จบ) อะปะเรนะ สะมะเยนะ ทุฏโฐนะระมะนาธิโป เอกะโทณัญจะ ธาตูนัง โลเก ปะติฏฐิตัง ปูชิตา นะระเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9386.JPG



ศาลา วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ


IMG_9499.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน ศาลา วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ


IMG_9502.JPG



รูปพระมหาอุปคุตเถระ ประดิษฐานภายใน ศาลา วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ


IMG_9496.JPG



รูปเหมือนหลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ประดิษฐานภายใน ศาลา วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ



IMG_9378.JPG


ศาลาการเปรียญ วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ


IMG_9383.JPG


หอระฆัง-หอกลอง วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ


IMG_9489.JPG


IMG_9495.JPG



บ่อน้ำ วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ


IMG_9399.JPG



กู่อัฐิ วัดพระธาตุหมื่นครื้น ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9335.JPG



IMG_9297.JPG



IMG_9371.JPG



IMG_9373.JPG



                                                       ขันติโสรัจจะ คือ ธรรมทำให้งาม

                                                       ๑. สติ คือ ความระลึกได้

                                                       ๒. โสรัจจะ คือ ความเสงี่ยม , ธรรมอันทำให้งาม

                                                       ๓. ขันติ คือ ความอดทน


การเดินทางมาวัดพระธาตุหมื่นครื้น วันนี้ขอจากกันด้วยภาพบรรยากาศภายในวัดและป้ายคติธรรมเลยนะคะ สวัสดีค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        •  วัดพระธาตุหมื่นครื้น ม.๑๑ บ.วังหม้อพัฒนา ต.ต้นธงชัย อ.เมือง จ.ลำปาง
        •  เว็บบ้านเมือง. วัดพระธาตุหมื่นครื้น. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://www.banmuang.co.th/2014/04/วัดพระธาตุหมื่นครื้น/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗)

หมายเหตุ  
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทาน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-5 23:41 , Processed in 0.054318 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.