แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 6177|ตอบ: 12
go

วัดพระธาตุดอยน้อย บ.สันทราย ม.๑ ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_8052.JPG



วัดพระธาตุดอยน้อย

บ.สันทราย  ม.๑  ต.เวียงตาล  อ.ห้างฉัตร  จ.ลำปาง

[พระบรมธาตุเจดีย์]



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7870.JPG



IMG_7874.JPG



IMG_7879.JPG



IMG_7882.JPG



IMG_7887.JPG



การเดินทางไปวัดพระธาตุดอยน้อย ใช้เส้นทางถนนไฮเวย์ลำปาง-เชียงใหม่ หมายเลข ๑๑ ขับรถเลี้ยวไปทางหลวงชนบทหมายเลข ลป.๒๐๒๐ ไปทางหมู่บ้านสันทราย หมู่ที่ ๑ ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง วัดพระธาตุดอยน้อยจะอยู่ใกล้กับโรงเรียนบ้านสันทรายค่ะ



IMG_8080.JPG



IMG_8077.JPG



ป้ายชื่อ วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ


IMG_8206.JPG



IMG_7987.JPG



บันไดนาคทางขึ้น/ลง และประตูทางเข้า/ออก วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7888.JPG



IMG_7896.JPG



IMG_7906.JPG



วิหารพระเจ้าทองทิพย์ (พระเจ้าตองติ๊บ) วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ



IMG_7917.JPG


รูปปั้นพญานาค บันไดนาคทางขึ้น/ลง วิหารพระเจ้าทองทิพย์ (พระเจ้าตองติ๊บ) วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ


IMG_8180.JPG



IMG_8117.JPG



IMG_8110.JPG



IMG_8129.JPG



IMG_8127.JPG



มณฑปประดิษฐาน
พระเจ้าทองทิพย์ ภายใน วิหารพระเจ้าทองทิพย์ (พระเจ้าตองติ๊บ) วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ


คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน

(ว่านะโม ๓ จบ) อัคคีบุปผา ชิโนทัตตวา อะสิติ กับปะโก อะภิรูโป มหาปัญโญ ทาเรนโต ปิตะกัตตะยัง นิพพานัง ปะระมังสุขัง


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8168.JPG



IMG_8170.JPG



IMG_8147.JPG



IMG_8151.JPG



พระพุทธรูปปางไสยาสน์ (พระนอน) ประดิษฐานด้านหลัง มณฑปประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์ ภายใน วิหารพระเจ้าทองทิพย์ (พระเจ้าตองติ๊บ) วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ



IMG_8154.JPG


IMG_8152.JPG



IMG_8132.JPG



IMG_8166.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานด้านหลัง มณฑปประดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์ ภายใน วิหารพระเจ้าทองทิพย์ (พระเจ้าตองติ๊บ) วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7920.JPG



IMG_7944.JPG



IMG_7950.JPG



IMG_8056.JPG



IMG_7960.JPG



IMG_8040.JPG



IMG_8060.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ (พระธาตุดอยน้อย) วัดพระธาตุดอยน้อย ภายในประดิษฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8021.JPG



ตำนานพระธาตุดอยน้อย

วัดพระธาตุดอยน้อย



(แหล่งที่มา : หนังสือตำนานพระธาตุดอยน้อย วัดพระธาตุดอยน้อย. ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔.)


ก่อนที่จะพบพระธาตุเจ้าองค์คำ (พระบรมสารีริกธาตุ) นั้น ในสมัยก่อนพอถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำของทุกเดือน ชาวบ้านสันทราย (บ้านทรายคำเดิม) ได้เห็นรัศมีแสงสว่างปรากฏขึ้นที่วัดดอยน้อย ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ชาวบ้านเมื่อเห็นปาฏิหาริย์เช่นนั้น จึงตกลงกันมานิมนต์พระอาโนจัย เจ้าอาวาสวัดปงสนุก ขึ้นไปพักที่วัดดอยน้อย เพื่อเตรียมตัวนิมนต์พระและประกาศเชิญชวนชาวบ้านใกล้เคียงทุกหมู่บ้านทุกอารามให้จัดหาเครื่องไทยทาน พร้อมทั้งตุงเหล็ก ตุงทอง ตุงเงิน และตุงทราย

ต่อมาในวันพุธ เดือน ๘ ขึ้น ๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๕๗  (พ.ศ. ๒๔๓๙) ตรงกับปีเม็ด (ปีมะแม) จึงได้เชิญเจ้าพระยาแขว่นและเจ้านายที่อยู่ใกล้เคียงให้มาร่วมงาน จากนั้นได้จัดทำเครื่องไทยทานและตุงทั้ง ๔ ถวายแด่ท้าวจตุโลกบาล ทั้ง ๔ ทิศ อันมี ท้าวธตรฎฐ์ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศตะวันออก ท้าววุรุฬหกผู้เป็นใหญ่ด้านทิศใต้ ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณผู้เป็นใหญ่ด้านทิศเหนือ รวมทั้งท้าวมหาพรหม ครูบาอาจารย์ โดยร่วมกันอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายขอให้ดลบันดาลให้รู้ที่อยู่แห่งองค์พระธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หลังจากที่ได้อาราธนาเสร็จแล้ว พระอาโนจัยและพระภิกษุทั้งหลายที่ไปร่วมกับเจ้าแขว่นรวมทั้งชาวบ้านหญิงชายได้ลงมือขุดค้น รื้อถอนรากไม้และเศษอิฐแล้วนำมาคัดแยกแต่ละชนิด แล้วนำมารวมกันจดลงทะเบียนแยกเป็นประเภทอิฐ หิน และขุดค้นเรื่อยมาจนถึงวันพุธ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๘ ชาวบ้านบ้านแม่ปุ้มได้ขุดพบขุมยนต์ซึ่งก่อไว้ด้วยคอนกรีต จึงงัดแงะแล้วทุบจนแตก จึงเห็นเป็นเรืออยู่ภายใน  

ภายในเรือนั้นประดิษฐานด้วยเจดีย์ทองคำ ภายในบรรจุพระธาตุเจ้าองค์คำ (หรือพระบรมสารีริกธาตุ) มี ๖ สี คือ ขาว เหลือง แสด แดง ชมพู และส้ม ลักษณะเท่าเมล็ดข้าวเปลือกบ้าง เมล็ดข้าวสารหักครึ่งบ้าง เท่าเมล็ดงาหรือเมล็ดผักกาดก็มี นับรวมกันได้ ๓๒๒,๒๐๐ พระองค์ จึงได้นำมารวมกันและนำไปประดิษฐานที่วัดดอยน้อย

ต่อมาในวันรุ่งขึ้น วันพฤหัสบดี แรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ค่ำ หมู่ศรัทธาทั้งหลายได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างหอประถาขึ้น เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงอัญเชิญพระธาตุเจ้าองค์คำไปประดิษฐานไว้ในหอประถาที่สร้างนั้น และได้จัดพิธีสรงน้ำพระธาตุเจ้าองค์คำด้วยน้ำสุกันโททะกะ (น้ำขมิ้นส้มป่อย) และขัดสีพระธาตุเสร็จแล้วเริ่มสรงน้ำตั้งแต่ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ (ภาคเหนือเรียกว่าออก ๘ ค่ำ เดือน ๘) จนถึงวันพุธ ขึ้น ๑๓ ค่ำ  เดือน ๙ ปีเป้า (ปีฉลู)

จากนั้นขึ้น ๑๓ ถึง ๑๕ ค่ำ ได้อัญเชิญเอาพระธาตุเจ้าองค์คำเข้ามาในเวียงละกอน ให้พระองค์เจ้าหลวงนรธนันชัยสุขวดี ได้สักการบูชาสรงน้ำและได้อัญเชิญพระธาตุเจ้าองค์คำแบ่งบางส่วนประดิษฐานไว้ที่วัดปงสนุก (ดอยปงสนุกเดิม) ในพิธีสรงน้ำครั้งนี้ พระเมืองแก้ว (เจ้าบุญเลิศ) เกิดศรัทธาพระธาตุเจ้าองค์คำและได้การขอศีลแล้วให้ทานจตุปัจจัยพร้อมทั้งถวายผอบทองคำ รองรับเอาพระธาตุเจ้าองค์คำส่วนที่อัญเชิญไว้ที่ปงสนุก ในขณะที่ถวายนั้นเกิดมีเมฆ มีลม เสียงฟ้าร้อง ฟ้าแลบดั่งสนั่น บนท้องฟ้ามืดมิดไปทั่ว ซึ่งเป็นสักขีแก่เจ้านายที่ถวายทานในวันเพ็ญเดือน ๙ วันนั้น

รุ่งขึ้น (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙) พระอาโนจัย ได้อัญเชิญพระธาตุเจ้าองค์คำกลับไปยังวัดดอยน้อย  ในระหว่างทางเมื่อมาถึงหนองกระทิง มีท้าวเมืองมิ่งและคณะพระภิกษุประกอบด้วยเจ้าอาวาสวัดน้ำโท้ง วัดท่าขัว วัดหนองร่อง วัดหนองกระทิง และศรัทธาญาติโยมได้จัดทำตกแต่งเครื่องอัฐบริขาร เพื่อนมัสการพระธาตุเจ้าองค์คำอันประกอบด้วย ตุง ช่อ ฉัตรขาว และช้างทำด้วยขี้ผึ้งประดับด้วยเงิน ท้าวมิ่งเมืองได้ถวายแก้ว (อัญมณี) ซึ่งมีรัศมีหลายสี ๑๔ เม็ด

ในขณะที่น้อมถวายมีสิ่งอันแปลกประหลาดเป็นที่อัศจรรย์ฟ้าฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก  เมื่อท้าวเมืองมิ่งและคณะพระภิกษุสงฆ์และศรัทธาญาติโยมได้เข้าทำการสักการบูชาและสรงน้ำพระธาตุเจ้าองค์คำเสร็จเรียบร้อย พอฟ้าฝนขาดเม็ดลง พระอาโนจัย ก็ได้อาราธนาพระธาตุเจ้าองค์คำออกจากที่นั่น เมื่อมาถึงบ้านหนองหล่ม  หนองหมู ในเวลานั่นศรัทธาและพุทธบริษัททั้งหลายมีเจ้านายขุนตานและชาวบ้านห้างฉัตรได้เข้ามากราบนมัสการและร่วมสรงน้ำพระธาตุเจ้าองค์คำในวันนั้นด้วย เมื่อมาถึงบ้านสันทรายได้อัญเชิญพระธาตุเจ้าองค์คำเข้าสู่วัดสันทราย

ในวันแรม ๒-๔ ค่ำ ศรัทธาทั้งหลายได้พร้อมเพรียงกันเป็นประธาน ครูบาอินต๊ะจักรกับครูบาญาณะ เจ้าอาวาสวัดสันทราย เป็นกรรมการควบคุมดูแลพระธาตุเจ้าองค์คำและพิธีการต่างๆ ที่จัดขึ้น จนถึงแรม ๕ ค่ำ คนทั้งหลายอันมีเจ้ามหาวงศ์และพระยาแขว่นบ้านปันง้าวเป็นประธานซึ่งได้จัดตกแต่งเครื่องไทยทานมา เพื่อน้อมถวายพระธาตุเจ้าองค์คำ

ขณะที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวอาราธนาได้มีมหาเมฆโห่ร้องคืดคือดังฝนตกในบริเวณงานพิธีโดยทั่วไป แล้วจึงได้แห่องค์พระธาตุเจ้าเข้าสู่วัดดอยน้อย และขออาราธนาพระธาตุเจ้าเข้าสู่วัดดอยน้อย และขออาราธนาพระธาตุเจ้าองค์คำขึ้นสู่กีรีอันที่เป็นพระพุทธบาทสัณฐานในมาตสีมา (พัทธสีมา) ที่วัดดอยน้อย แล้วในขณะนั้นมีม้าขี่ที่นั่งเจ้านายขุนตาลได้ฟ้อนถวายสาธุการพระธาตุเจ้าองค์คำ แล้วทำพิธีวางศิลาฤกษ์และเริ่มก่อสร้างพระธาตุดอยน้อยขึ้นใหม่


ในการวางศิลาฤกษ์พระธาตุดอยน้อยตามบันทึกและแปลเป็นภาษาไทยดังนี้  ได้ยกเอาพระธาตุเจ้าองค์คำผัตตะศีล (ประทักษิณาวัตร) ๓ รอบแล้ว พระอาโนจัย ได้แบ่งพระภิกษุเป็น ๔ เหล่า ให้ตั้งอยู่ทั้ง ๔ ด้าน ได้สวดปริตะมังการะทั้ง ๕ (สวดเจริญพุทธมนต์ทั้ง ๕) และสวดมหาสมัย และสวดปัจจุทามังการะ ๓ จบ และสวดแก้วยอดแสงเดือน และได้สมมุติท้าวทั้ง ๕ คน มี พระยาแขว่น พระมหาวงศ์เป็นพระอินทร์ พระยานนวังเป็นท้าวธตรฎฐ์ผู้เป็นใหญ่อยู่ทิศตะวันออก เจ้านายขุนตานเป็นท้าววุรุฬหกผู้เป็นใหญ่อยู่ทิศใต้ อาจารย์คนหนึ่งเป็นพระยาวิรูปักษ์ผู้เป็นใหญ่อยู่ทิศตะวันตก อาจารย์อีกคนหนึ่งให้เป็นท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณผู้เป็นใหญ่ด้านทิศเหนือ

จากนั้นนำพระธาตุเจ้าองค์คำยกใส่มือท้าวทั้ง ๕ คน และให้ยืนอยู่รับรองเอาพระธาตุเจ้าองค์คำลงวางท้องสะเปา (สำเภา) ระหว่างก้อนเส้าแก้ว ๓ ก้อน ก่อด้วยดินและอิฐปิดฝามิดชิด และเผาคอนกรีตให้ยึดมั่น และให้ท้าวปะภามากุตั๋ง หยอดก้อนเส้าแก้ว ๓ ก้อน โดย

ก้อนที่ ๑ ได้แก่ พระเจ้ากกุสันธะ (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑)
ก้อนที่ ๒ ได้แก่ พระเจ้าโกนาคมนะ (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒)
ก้อนที่ ๓ ได้แก่ พระเจ้ากัสสปะ (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓)

ให้ก่อด้วยปูนอิฐตั้งยอดก้อน ๑ ถึง ๒ ชื่อ ตะติยะกะตัง และก่อขึ้นยังธรณี และตั้งร้านช้างขึ้น ๓ ชั้น ใช้ผ้าสำลีทับ ๓ ชั้น และตั้งแท่นแก้วปูหนังจำมะขัน (อาสนะทำด้วยหนัง) ตั้งรังสีแล้วใส่ไตรพระเจ้ากกุสันธะ ตั้งรังสีพระเจ้าโกนาคมนะ ตั้งรังสีพระเจ้ากัสสปะ แล้วใส่กาบบัวตั้งธรรมมะกะระเน คือหม้อคว่ำ ให้ตั้งขันธ์แก้วทั้ง ๓ ตั้งรังสีคอหล่อ แล้วตั้งฝาบาตร ตั้งสรณะคือพระภิธรรมา ๗ รูป ถือฝาบาตรมูลกันตัง ถือไม้เท้า

การก่อสร้างพระธาตุเจ้าขึ้นใหม่ในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงในวันอังคาร แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ปียี่ (ปีขาล) จุลศักราช ๑๒๘๘ (พ.ศ. ๒๔๗๐)

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยน้อย วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี

ผู้ติดต่อประสานงาน หลวงพ่อสุเชษฐ  สิริสาโร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยน้อย โทร. ๐๘๘-๔๑๘๘๑๔๕


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8028.JPG



จุดธูป เทียน ถวายดอกไม้ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ค่ะ สาธุ สาธุ



IMG_7962.JPG



IMG_8061.JPG



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระธาตุดอยน้อย วัดพระธาตุดอยน้อย พร้อมกันเลยนะคะ

(กล่าวนะโม ๓ จบ)
วันตามิเกษา ธาตุโย กุนะโส กุณามาปาเกวิตาตุโย โกตะนัง มะหาอะนันตะ มะหาโมคคะลานะเถนะ มะหาอุบาลี มะหาเถนะ อะหังวันตามิ สัปปะตา อะหังวันตามิ ธาตุโยฯ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8070.JPG



กรุเก็บพระพุทธรูปองค์เล็ก อยู่ใกล้ พระธาตุดอยน้อย วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ


IMG_8042.JPG



IMG_8084.JPG



IMG_8086.JPG



IMG_8088.JPG



รูปสมมุติ
ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ทิศ ได้แก่ ท้าวธตรฎฐ์ (ผู้เป็นใหญ่อยู่ทิศตะวันออก) ท้าววุรุฬหก (ผู้เป็นใหญ่อยู่ทิศใต้) พระยาวิรูปักษ์ (ผู้เป็นใหญ่อยู่ทิศตะวันตก) ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณ (ผู้เป็นใหญ่ด้านทิศเหนือ) อยู่ทั้งสี่ทิศ พระธาตุดอยน้อย วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ


IMG_8075.JPG



ฉัตรสัปทน ประดับมุมทั้งสี่ทิศ บนกำแพงแก้ว พระธาตุดอยน้อย วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ


IMG_8044.JPG



IMG_8091.JPG



กู่อัฐิและรูปเหมือนครูบาใจ๋ อุตตมา อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยน้อย อายุ ๘๘ ปี พรรษา ๖๖ พรรษา ค่ะ


IMG_8176.JPG


IMG_8182.JPG



รายชื่อเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยน้อย เท่าที่ทราบนาม ดังนี้
๑. ครูบาใจ๋  อุตตมา
๒. ครูบาปวน  กาวิชัย
๓. หลวงพ่อสุเชษฐ  สิริสาโร  พ.ศ. ๒๕๔๗ - ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๗)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7902.JPG



IMG_7907.JPG



IMG_7892.JPG



IMG_7901.JPG



โบสถ์ มหาอุด วัดพระธาตุดอยน้อย เป็นโบราณสถาน ห้ามผู้หญิงเข้าค่ะ



IMG_7976.JPG



IMG_7974.JPG



บ่อน้ำโบราณ วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8101.JPG



IMG_8103.JPG



รูปพระแม่กวนอิม มหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ


IMG_7990.JPG


IMG_8008.JPG



IMG_8009.JPG



IMG_8013.JPG



ศาลเจ้าพ่อขุนตาล วัดพระธาตุดอยน้อย ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:24 , Processed in 0.039442 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.