แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 9608|ตอบ: 13
go

วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) อ.สารภี จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุคางเบื้องขวา) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC01623.jpg



วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ)  

ม.๑  ต.ท่าวังตาล  อ.สารภี  จ.เชียงใหม่  

[พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุคางเบื้องขวา]



Rank: 8Rank: 8

DSC01655.jpg


วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ ๑ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่มาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร การเดินทางเข้าถึงโดยเส้นทางถนนสายเกาะกลาง - หนองหอย มีแนวเลียบบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตั้งอยู่นอกเขตเมืองโบราณเวียงกุมกาม ปรากฏในแผนที่ภูมิประเทศจากภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผ่นที่ทหาร มาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ ลำดับชุด L7๐๑๗ ระวาง ๔๗๔๖ ๑ จังหวัดเชียงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ ๑-RTSD ที่ประมาณพิกัดกริด ๔๗ QMA ๙๙๙๗๓ หรือประมาณละติจูด ๑๘ องศา ๔๕ ลิปดา ๐๒ พิลิปดาเหนือ และลองติจูด ๙๘ องศา ๕๙ ลิปดา พิลิปดาเหนือ และลองจิจูดค่ะ


DSC01972.jpg



วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ปัจจุบันเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา และประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๗ ตอนที่ ๔๑ ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๒๓ วัดมีเนื้อที่รวม ๑ ไร่ ๘๓ ตารางวา สภาพแวดล้อมของวัดโดยทั่วไปมีแนวสายแม่น้ำปิงอยู่ใกล้เคียงทางด้านตะวันตก โดยรอบเป็นชุมชนบ้านเรือนอาศัยอยู่กระจัดกระจาย มีร้านค้าย่อยและสถานประกอบการธุรกิจ/บริการไม่หนาแน่น โดยเฉพาะตามเส้นทางแนวถนนสายเกาะกลาง - หนองหอย ที่ผ่านวัดทางทิศเหนือและตะวันตก ทิศตะวันออกและทิศใต้เป็นเขตบ้านเรือนและสวนลำไยของเอกชนค่ะ



DSC00467.jpg


DSC00469.jpg



ป้ายชื่อ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำหลวง) ค่ะ


DSC00468.jpg


DSC00503.jpg



ผังรูปแบบการก่อสร้างวัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) วัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขอบเขตวัดเจดีย์เหลี่ยม แวดล้อมด้วยกำแพงวัดทั้ง ๔ ด้าน มีทางเข้า/ออกหลักทางด้านหน้าและด้านหลังของวัด

ตำแหน่งที่ตั้งวัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ปัจจุบันอยู่ในบริเวณพื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือของเวียงกุมกาม วัดที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง คือ วัดพญามังราย-พระเจ้าองค์ดำ (ร้าง) และวัดธาตุขาว (ร้าง) ทางตะวันออกเฉียงใต้



Rank: 8Rank: 8

DSC01961.jpg



DSC01968.jpg



วิหาร วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ


DSC00473.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานด้านหน้า ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วิหาร วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระประธานอุโบสถ วัดเจดีย์เหลี่ยม ที่นำมาประดิษฐานไว้ที่นี้ชั่วคราว เนื่องจากทางวัดกำลังบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถอยู่ค่ะ


DSC01653.jpg


DSC01644.jpg



DSC01648.jpg



พระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC00477.jpg


DSC00478.jpg



จิตรกรรมฝาผนัง ภายใน วิหาร วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ



DSC00479.jpg



ลายแกะสลักรูปพรรณพฤกษาบานประตูทางเข้า/ออก ด้านหน้า วิหาร วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ


DSC01611.jpg


ด้านหลัง วิหาร วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ


DSC00510.jpg


DSC01635.jpg



พระพุทธรูป รูปเหมือนหลวงปู่ทวด สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี และครูบาเจ้าศรีวิชัย ประดิษฐานด้านหลัง วิหาร วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01962.jpg


DSC01965.jpg



DSC01963.jpg



DSC01626.jpg



อุโบสถ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือตอนหน้าวิหารค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC00480.jpg


หอเทพารักษ์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ



DSC00482.jpg


DSC00481.jpg



กุฏิสงฆ์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ค่ะ


DSC00486.jpg



ร่วมทำบุญตักบาตรพระประจำวันเกิด และทำบุญต่างๆ กับทางวัด ภายใน วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ


DSC00485.jpg



จุดขึ้นรถม้านำเที่ยวเวียงกุมกาม วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ



DSC00520.jpg



กุฏิ และจุดขึ้นรถนำเที่ยวเวียงกุมกาม วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) อยู่ด้านทิศใต้วิหารห่างออกมาบริเวณมุมตะวันตกเฉียงใต้ของวัดค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01609.jpg


พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ประดิษฐานบรรจุพระเกศาธาตุและพระบรมธาตุส่วนคางเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค่ะ


28032007329.jpg


ลักษณะทางศิลปะสถาปัตยกรรมพระเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม ซึ่งถือเป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงการรับอิทธิพลรูปแบบการก่อสร้างพุทธศาสนสถานจากแค้วนล้านนา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมณฑปสี่เหลี่ยมลด ๕ ชั้นคล้ายทรงปิรามิด สร้างก่ออิฐฉาบปูนขาว ฐานล่างเป็นแบบเขียงสี่เหลี่ยมใหญ่ (เฉพาะตอนล่างก่อด้วยศิลาแลง) ล้อมรอบด้วยขอบเขตกำแพงแก้วทั้ง ๔ ด้าน ขนาด ๑๗.๔๕ คูณ ๑๗.๔๕ เมตร

ตัวมณฑปก่อสร้างเป็นชั้นของห้องสี่เหลี่ยม บนชั้นย่อเก็จบัวคว่ำและหน้ากระดานท้องไม้ลูกแก้ว จำนวน ๕ ชั้น ขนาดลดหลั่นกันขึ้นไป มณฑปแต่ละชั้นทำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปางต่างๆ ด้านละ ๓ ซุ้ม รวมทั้งหมด ๖๐ ซุ้ม

ที่มุมฐานเขียงทั้ง ๔ ตั้งประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นลอยตัวรูปสิงห์ นั่งชันขาหน้าหันหน้าเหลียวออก ตอนกลางระหว่างสิงห์แต่ละด้านสร้างเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางต่างๆ ในรูปแบบศิลปะแบบพม่า-พุกาม ที่นิยมทำซุ้มประกอบด้วยข้างซ้ายและขวา ตกแต่งกรอบและซุ้มด้วยลวดลายปูนปั้นพรรณพฤกษาแบบก้านดอกใบเกี่ยวกับสอดลอยตัว และลอยตามผ้านูนต่ำ และแบบพญานาค ๒ ตัวหางพันสลับชั้นกันขึ้นไป มุมตอนบนทั้ง ๔ ของมณฑปแต่ละชั้นประดับเจดีย์จำลอง ตกแต่งลายปูนปั้นยอดประดับฉัตรโลหะ รวมจำนวน ๒๐ องค์ ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

DSC01618.jpg


ประวัติพระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ)



วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) สร้างขึ้นในสมัยพญามังราย ปฐมกษัตริย์ผู้สถาปนาเมืองเชียงใหม่ ชื่อดั้งเดิมของพระเจดีย์เหลี่ยมเรียกกันว่า “กู่คำ” ประวัติความเป็นมาของพระเจดีย์เหลี่ยมหรือกู่คำ มีที่มาจากหลักฐานเอกสารหลายฉบับด้วยกันที่สำคัญ ได้แก่

ตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลก กล่าวว่า...สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จขึ้นไปทางทิศเหนือ ไกลประมาณ ๑๐,๐๐๐ วา ทรงบรรลุถึงบ้านลัวะแห่งหนึ่ง ทรงพบม่าน (พม่า) ผู้หนึ่ง นำหมากสดและพลูเหลืองซ้อนกันถวายแก่พระพุทธเจ้า ทรงรับแล้วก็เสวยหมากพลูนั้น พระองค์โปรดคอมชีชา (บางฉบับว่าทีชา เข้าใจว่าหมายถึงเสวย) เถิด” พระพุทธองค์ทรงรับแล้วก็เสวยหมากพลูนั้น ม่านผู้นั้นก็นำข้าวน้ำมาถวายแก่พระพุทธเจ้า ในเวลานั้นพระอาทิตย์กำลังจะเที่ยง

พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ที่นั้น ๑ วัน ตรัสแก่พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชว่า “เมื่อตถาคตมาถึงที่นี้มีม่านผู้หนึ่งได้นำเอาหมากสดกับพลูถวายตถาคต แล้วบอกว่า “ ท่านจงค้อมชีชาเถิด ต่อไปภายภาคหน้าบ้านนี้จะได้ชื่อว่า “บ้านชีชาง” ต่อไปจะแปรว่า “เวียงกุมกาม” พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชจึงกราบทูลว่า “สถานที่นี้ควรตั้งศาสนาไว้แล”


แล้วกราบทูลขอพระเกศาธาตุจากพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ก็ทรงใช้พระหัตถ์ขวาลูบพระเศียร ได้พระเกศาธาตุ ๑ องค์ ทรงประทานแก่เขาทั้งหลายคือแก่พระอรหันต์ พระเจ้าอโศกราช และลัวะทั้งหลาย แล้วลัวะและม่านผู้นั้นก็ขุดหลุมลึก ๑๐๐ ศอก กว้าง ๑๐๑ ศอก อัญเชิญพระเกศาธาตุบรรจุในกระบอกไม้รวก นำเข้าใส่ในผอบทองคำใหญ่ ๗ กำมือ อัญเชิญลงไปบรรจุในก้นหลุมที่ขุดนั้นม่านผู้นั้นสร้างพระเจดีย์ครอบก่อสูง ๒ ศอก (บางฉบับว่า ๑๐๑ ศอก) เป็นที่หมายพระบรมธาตุ

แล้วพระพุทธองค์ทรงสั่งว่า “เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว จงนำเอาธาตุกระดูกคางข้างขวาของตถาคต มาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เถิด” พระอรหันต์ พระเจ้าอโศกราช พระอินทร์ และพระอานนท์ นอนพักแรมอยู่ในสถานที่นั้น (คือพระเจดีย์เหลี่ยม อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ปัจจุบัน)

DSC01630.jpg



ตามหลักฐานเอกสารตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และโคลงนิราศหริภุญชัย กล่าวถึงวัดนี้ว่าแต่เดิมชื่อวัดกู่คำ กู่ หมายถึง พระเจดีย์ คำ หมายถึง ทองคำ ที่พญามังรายปฐมกษัตริย์ของแคว้นล้านนาทรงโปรดให้ก่อสร้างสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๓๑ ตามข้อความในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และพงศาวดารโยนกตรงกันดังนี้ “เจ้ามังรายจึงหื้อไปเอาดินหนองต่าง มาก่อเจดีย์กู่คำไว้ในกุมกาม ให้เป็นที่บูชาแก่ชาวบ้านเมืองทั้งหลาย เมื่อจุลศักราช ๖๕๐ (พ.ศ.๑๘๓๑) ปีชวด สัมฤทธิศก….” พิจารณาว่าน่าจะเป็นวัดที่พญามังรายโปรดให้สร้างอุทิศแด่พระมเหสี

ศิลาจารึกหลักที่ พย. ๒๑ จารึกสถานที่ประดิษฐานพระธาตุ จ.ศ.๘๘๕ - ๘๙๐ (พ.ศ.๒๐๖๖ - ๒๐๗๑) อักษรไทยล้านนา และอักษรธรรมล้านนาภาษาไทย หินทรายสีแดงรูปใบเสมาหักชำรุดอยู่ที่วัดศรีโสมคำ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีตัวอักษรปรากฏอยู่ด้านเดียว จำนวนไม่น้อยกว่า ๘ บรรทัด ในบรรทัด ๕ อ่านได้ความว่า “กู่คำกูมกามไว้ธาตุดู (ก) คางขวา ไว้ธาตุมือขวาทั้งมวลใต้มหาเจดีย์หลวงเชียง (ใหม่)” ในบรรทัดที่ ๕ ของจารึกดังกล่าว ระบุไว้ชัดเจนว่าพระเจดีย์เวียงกูมกาม (กุมกาม) เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนกระดูกกรามข้างขวาของพระพุทธเจ้า ซึ่งน่าจะเป็นความเชื่อดั้งเดิมของผู้คนในล้านนาที่มีมานานแล้วก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๑


โคลงนิราศหริภุญชัย เป็นเอกสารร่วมสมัยล้านนาในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งประเสริฐ ณ นคร สันนิษฐานว่าเรื่องนี้ น่าจะจดไว้เป็นตำนานเมื่อราวพุทธศักราช ๒๐๖๐ เป็นการบรรยายชมสถานที่วัดวาอารามตามระยะทางจากเมืองเชียงใหม่ผ่านเวียงกุมกาม เพื่อไปมนัสการพระธาตุหริภุญชัยที่เมืองลำพูน (หริภุญชัย) โดยผู้ประพันธ์เดินทางออกจากเมืองเชียงใหม่ผ่านวัดพระสิงห์แวะไหว้พระพุทธสิหิงค์ ผ่านวัดทุงยู วัดศรีเกิด วัดผาเกียร (ชัยพระเกียรติ) ผ่านข้างกุฏาราม (เจดีย์หลวง) วัดอูปแป้น ไหว้หอพญามังราย และวัดเจดีย์หลวง ไหว้พระอัสดารส ไหว้พระเจ้ามรกตและยักขราชกุมภัณฑ์คู่ผ่าวัดเจ็ดลิน วัดฟ่อนสร้อยและวัดเชียงสง ออกทางประตูเชียงใหม่ จากนั้นเดินทางผ่านวัดพันง้อม วัดกุฏีคำ (ธาตุคำ) วัดน่างรั้ว (ยางกวง) ผ่านประตูเมืองชั้นที่สอง ชมเกวียนผ่านอุทยาน ถึงเวียงกุมกาม วัดกู่คำ (วัดเจดีย์เหลี่ยม) ไปยังเมืองลำพูน ในโคลงบทที่ ๔๕ กล่าวพรรณนาลักษณะของ “กู่คำ” หรือพระเจดีย์เหลี่ยมดังนี้

" อารามรมเยศเมิ้น มังราย

นาม กู่คำ หลวงหลาย เช่นท้าว

หกสิบสยบภูยาย ยังรอด งามแย่

แปลงคู่นุชน้องน้าว นาฏโอ้โรทา "


ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่า “...เจ้ามังรายจึงหื้อไปเอาดินหนองต่างมาก่อเจดีย์กู่คำวันนั้นแล...”

ตำนานมูลศาสนา ได้กล่าวเรื่องราวเกี่ยวกับเจดีย์กู่คำไว้ตอนหนึ่ง ในเรื่องพญามังรายเสด็จไปประทับที่เวียงกุมกาม ว่า “...ถัดนั้น พญามังรายออกมาตั้งอยู่กุมกาม แปงบ้านซู่ ๓ แห่ง แห่ง ๑ ว่าบ้านคง แห่ง ๑ ว่าบ้านคง แห่ง ๑ ว่าบ้านลุ่ม แห่งหนึ่งว่าบ้านแหมนั้น ค็อยู่เสวิยสัมปัตติ ค็ยินดีในสาสนาพระพุทธะเจ้าจักใคร่กะทำบุญอันใหย่เปนต้นว่าส้างเจดีย์นั้น จิ่งหื้ออมาตย์ทั้งหลายหาหินมาแล้ว หื้อก่อเปน ๔ เลี่ยม แลด้านหื้อมีรูปพระเจ้า ๑๔ ตนแล้ว หื้อใส่คำแต่ยอดลงมาดูงามนัก กับทังอัฐบริขารแก่สังฆะเจ้าวันนั้นแล...”  

พิจารณาจากหลักฐานเอกสารที่ยกมาข้างต้น จะเห็นว่าในเรื่องอายุสมัยของการสร้างกู่คำ (เจดีย์เหลี่ยม) นั้น หลักฐานเอกสารทุกฉบับรับรองต้องกันว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพญามังรายก่อนการสร้างเมืองเชียงใหม่



28032007331.jpg


การซ่อมบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ได้รับการซ่อมบูรณะในปีพ.ศ.๒๔๔๕ โดยพญามังรายตะก่า - หม่องปันโย ที่ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงโยนการวิจิตรต้นสกุลพระราชทานอุปโยคิน ผู้เป็นคหบดีค้าไม้ชาวพม่าที่ได้รับช่างสัมปทานตัดชักไม้สักในเขตภาคเหนือของบริษัทบอมเบย์ - เบอร์มาร์ และบริษัทบอร์เนียวในสมัยตอนปลายรัชกาลที่ ๕ และตั้งบ้านเรือนใช้เป็นที่ทำการด้วยที่หัวฝายท่าวังตาล บนฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิง หรือทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในเขตละแวกใกล้เคียงกันกับวัดค่ะ



Rank: 8Rank: 8

DSC01625.jpg



ซุ้มพระพุทธรูป ตอนกลางฐานเขียง พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) สถาปัตยกรรมแบบพม่าสร้างใหม่คราวซ่อมบูรณปฏิสังขรณ์ระยะ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมาค่ะ


DSC01631.jpg


DSC00505.jpg



ซุ้มพระพุทธรูป ชั้นแรก พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ


DSC01632.jpg


DSC00493.jpg



ซุ้มพระพุทธรูป ชั้นที่สอง พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ


DSC01633.jpg


DSC00494.jpg



ซุ้มพระพุทธรูป ชั้นที่สาม พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ตกแต่งลวดลายศิลปะพม่า คราวซ่อมบูรณะสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ ค่ะ  


DSC01633-1.jpg


DSC00495.jpg



ซุ้มพระพุทธรูป ชั้นที่สี่ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ


DSC01615.jpg


ซุ้มพระพุทธรูป ชั้นที่ห้า พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC01634.jpg


DSC00497.jpg



ส่วนเครื่องยอด พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ


ส่วนเครื่องยอด พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ทำเป็นแบบเจดีย์จำลองลดชั้นทรงสี่เหลี่ยม ๓ ชั้น รองรับส่วนปลียอดลักษณะบัวทรงสี่เหลี่ยม ยอดประดับฉัตรโลหะลายฉลุปิดทอง สันหลังคาด้านหลังมีเครื่องยอดตกแต่ง เป็นครีบรูปสามเหลี่ยมปั้นปูนเป็นลายไม้ - ดอกไม้ ที่กรอบซุ้มทำเป็นแบบบัวสี่เหลี่ยม ๒ ตอน คั่นด้วยชั้นลูกแก้วรองรับส่วนปลีสี่เหลี่ยม ที่ตกแต่งลายปูนปั้นประดับด้วยกระจกเคลือบตะกั่วสี (แก้วอังวะ) ในส่วนต่างๆ ส่วนยอดสุดประดับฉัตรฉลุโลหะปิดทองค่ะ



DSC00490.jpg


DSC00491.jpg


DSC00504.jpg


DSC00502.jpg


DSC00501.jpg



ซุ้มพระพุทธรูปปูนปั้นตอนกลางฐานเขียง พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ  


DSC00500.jpg


รูปปั้นสิงห์ บนมุมฐานเขียงตอนล่าง พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์เหลี่ยม (กู่คำ) ค่ะ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-23 00:49 , Processed in 0.058004 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.