แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ ม.๔ ต.แม่ลาน อ.ลี้ จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_0210.JPG



IMG_0216.JPG



รอยพระบาทพระเจ้าอโศกมหาราช ประดิษฐานภายในมณฑปพญาธรรมมิกราชป๋าระมี ๓๐ ตั้ส วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


IMG_0200.JPG



รอยพระบาทพระเจ้าอโศกมหาราช วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ

เป็นรอยพระบาทเบื้องซ้ายของพระเจ้าอโศกมหาราช ขนาดกว้าง ๑ ศอก ยาว ๓ ศอก ลึก ๑-๒ นิ้ว ค้นพบโดย พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน) เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗ ปัจจุบันมีการแต่งที่นิ้วพระบาทและได้ทาสีทองทับไปแล้ว


IMG_0213.JPG



คำบูชาพระพุทธบาทดอยถ้ำ
(ตั้งนะโม ๓ จบ) สาธุอะหังนะมามิ พุทธะปะต๊ะว๊ะลัง ปับปัดตาคูหา กะกุสันโท โกนาก๊ะ นะโมกัสสะโป โกต๊ะโม ปัญจะสะหัสสะ พุทธะสาสะนังเจติยะธาตุ ปะต๊ะว๊ะลัง อะหังวันทามิ สัพปะตา อะหังวันตามิ สิระสา


IMG_0202.JPG



ประวัติการค้นพบรอยพระบาทพระเจ้าอโศกมหาราช

วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ



ครั้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ ได้มีราษฎรชื่อ นายอิน ตามูล (นายอิน ควายเฒ่า) ได้มาเลื่อยไม้และหาของป่า และได้มาพบรอยพระบาทโดยบังเอิญ จึงได้นำเรื่องดังกล่าวไปปรึกษาคนแก่ในหมู่บ้าน และได้ตกลงกันนำเรื่องดังกล่าวไปปรึกษา หลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน) และได้กราบอาราธนานิมนต์ท่านมาดูรอยพระบาทดอยถ้ำ

เมื่อท่านมาถึงได้ตั้งจิตอธิษฐาน (วาไม้) พบว่า รอยพระบาทที่เจอ เป็นรอยพระบาทของพระเจ้าอโศกมหาราช


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติความเป็นมาพระพุทธบาทดอยถ้ำ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ)


IMG_0207.JPG



รูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม ประดิษฐานภายในมณฑปพญาธรรมมิกราชป๋าระมี ๓๐ ตั้ส วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


IMG_0418.JPG



รอยพระบาท ประดิษฐานใกล้มณฑปพญาธรรมมิกราชป๋าระมี ๓๐ ตั้ส วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


IMG_0416.JPG



IMG_0414.JPG



IMG_0420.JPG



รอยพระบาท
วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


IMG_0423.JPG



IMG_0192.JPG



รูปปั้นกุมภัณฑ์ ผู้รักษาพระบาท วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0407.JPG



IMG_0424.JPG



เสาอโศก วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


สร้างโดย พระป่านิกร ชยฺยเสโน วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย เป็นประธาน พร้อมศิษยานุศิษย์ เมื่อวันพุธที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๒



IMG_0183.JPG



IMG_0220.JPG



ศาลาประสูติ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


สร้างโดย พระป่านิกร ชยฺยเสโน วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย เป็นประธาน พร้อมศิษยานุศิษย์ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๔


IMG_0186.JPG



จิตรกรรมฝาผนังภาพพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าประสูติ ภายในศาลาประสูติ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


IMG_0433.JPG



จิตรกรรมฝาผนังภาพเสาอโศก
ภายในศาลาประสูติ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ

เสาอโศกที่พระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิปราบชมพูทวีป พระเจ้าอโศกธรรมิกราช หลังพุทธกาล ๒๑๘ ปี ได้สร้างเสาอโศกครอบแท่นที่พระพุทธเจ้าประสูติ มีหัวราชสีห์ ๔ หัว แผ่อำนาจไปในทิศทั้ง ๔


IMG_0241.1.JPG



บันไดทางขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0247.JPG



IMG_0439.JPG



วิหารครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


IMG_0430.JPG



ประวัติวิหารครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ  


พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา และพระป่านิกร
ชัยยะเสโน เป็นประธาน พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ และคณะศรัทธาบ้านแม่กองวะทุกคน ได้สร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทดอยถ้ำนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ ถึงวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๑

ทำการฉลองสมโภช เมื่อวันที่ ๒-๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๑ ตรงกับวันขึ้น ๘-๑๐ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ จุลศักราช ๑๕๖๑ ปีขาล (เสือ) โดยได้นิมนต์พระสงฆ์ ๔๕ หัววัด มาร่วมทำบุญฉลอง ได้ถือเอาเดือน ๙ เหนือ ขึ้น ๘ ค่ำ เป็นประเพณีสรงน้ำรอยพระพุทธบาทดอยถ้ำแห่งนี้

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ได้นิมนต์หลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนามาสรงน้ำรอยพระพุทธบาทดอยถ้ำ โดยได้นิมนต์พระเถระมา ๑๐๘ รูป ฉลองสมโภช

ขอบุญกุศลนี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เข้าสู่พระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เทอญ


---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติวิหารครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ และหนังสือ “กึ๊ดหาเมืองสร้อย” ที่ระลึกในงานประเพณีขึ้นไหว้สาสรงน้ำพระบรมธาตุ ปอยหลวงศาลาสามพระครูบาเจ้า วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก วันที่ ๔-๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒, หน้า ๕๓.)


IMG_0261.JPG



IMG_0252.JPG



พระประธานและพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในวิหารครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ



IMG_0274.JPG



IMG_0264.JPG



รอยพระพุทธบาท ประดิษฐานภายในวิหารครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ



IMG_0266.JPG



IMG_0267.JPG



IMG_0258.JPG



IMG_0263.JPG



รอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ

เป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ หรือองค์ปัจจุบัน) ปรากฏรอยนิ้ว ขนาดกว้าง ๒ คืบ ยาว ๒ ศอกกว่า ลึก ๑ คืบกว่า ส้นพระบาทและขอบรอยฝ่าพระบาทที่เหยียบลงไปมองเห็นได้ชัดเจน

ค้นพบเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗ โดยพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน) ปัจจุบันมีการแต่งที่นิ้วพระบาทและได้ทาสีทองทับไปแล้ว


IMG_0269.JPG



IMG_0277.JPG



คำบูชาพระพุทธบาทดอยถ้ำ

(ตั้งนะโม ๓ จบ) สาธุอะหังนะมามิ พุทธะปะต๊ะว๊ะลัง ปับปัดตาคูหา กะกุสันโท โกนาก๊ะ นะโมกัสสะโป โกต๊ะโม ปัญจะสะหัสสะ พุทธะสาสะนังเจติยะธาตุ ปะต๊ะว๊ะลัง อะหังวันทามิ สัพปะตา อะหังวันตามิ สิระสา


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

1.JPG


ประวัติความเป็นมาพระพุทธบาทดอยถ้ำ

วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ

บ้านแม่กองวะ หมู่ที่ ๔ ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน



IMG_0018.JPG



เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกจากป่าเชตวันมหาวิหารในช่วงออกพรรษา ได้เสด็จโปรดสัตว์มายังชมพูทวีป และได้เสด็จมายังจอมดอยถ้ำที่นี้ เมื่อชาวละว้าทราบเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จ จึงนำเปลือกก่อและข้าวมธุปายาสมาถวาย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงฉันข้าวมธุปายาสไม่หมด จึงให้พระอานนท์นำข้าวมธุปายาสไปเททิ้ง ต่อมาข้าวมธุปายาสได้กลายเป็นพระธาตุหิน


ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปที่อื่น ก็ทรงเทศน์โปรดชาวละว้า และชาวละว้าได้ทูลขอรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าไว้เป็นพุทธบูชา พร้อมทูลขอรอยพระบาทของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นอุบาสกอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า ถือไม้เท้ากับรองเท้าไปตามหลัง

ต่อมาในยุคสมัยพระครูบาเจ้าศรีวิชัยและพระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี ได้ส่งคนมาค้นหารอยพระพุทธบาท แต่ไม่เจอ ครั้นในปี พ.ศ.๒๕๐๗ ทางการได้สร้างเขื่อนภูมิพล ทำให้น้ำท่วมในเขตอำเภอดอยเต่าและอำเภอฮอด ทำให้ราษฎร ๔ หมู่บ้าน คือ บ้านท่าครั่ง บ้านหนองบัวคำ บ้านชั่ง และบ้านน้อย ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ณ บ้านแม่กองวะ หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนในปัจจุบัน

IMG_0019.JPG



ต่อมาวันหนึ่งได้มีราษฎรชื่อ นายอิน ตามูล (นายอิน ควายเฒ่า) ได้มาเลื่อยไม้และหาของป่า และได้มาพบรอยพระบาทโดยบังเอิญ จึงได้นำเรื่องดังกล่าวไปปรึกษาคนแก่ในหมู่บ้าน และได้ตกลงกันนำเรื่องดังกล่าวไปปรึกษา พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน) และได้กราบอาราธนานิมนต์ท่านมา เมื่อท่านมาถึงได้ตั้งจิตอธิษฐาน (วาไม้) พบว่า รอยพระบาทที่เจอ เป็นรอยพระบาทของพระเจ้าอโศกมหาราช

และท่านได้ให้ชาวบ้านค้นหารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งเวลาเพล ได้มีนายอ้ายพบรอยพระพุทธบาท และพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาจึงได้ตั้งจิตอธิษฐาน ก็พบว่าเป็นรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า จึงให้ชาวบ้านนำก้อนหินมาก่อล้อมรอบรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า และรอยพระบาทของพระเจ้าอโศกมหาราชไว้


และได้นำคณะศรัทธาสักการบูชาด้วยน้ำขมิ้นส้มป่อย และได้สั่งไว้ว่า "ประเพณีปี๋ใหม่เมือง วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ให้มาสรงน้ำรอยพระพุทธบาท อย่าให้ขาด"

คณะศรัทธาได้นิมนต์ท่านมาก่อสร้างวิหารครอบรอยไว้ ท่านบอกว่า "ยังไม่ถึงเวลา ถึงเวลาแล้ว เจ้าของเขาจะมาเอง ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน เจ้าของเขายังไม่มา"

IMG_0028.JPG



ต่อมาจนถึง พ.ศ.๒๕๓๖ ได้มีบริษัทนายทุนมาสัมปทานหินที่ดอยถ้ำ ชาวบ้านจึงได้นำเรื่องไปปรึกษาพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา และขอหนังสือรับรอง จนนายทุนเลิกล้มไป


ต่อมาคณะศรัทธาบ้านแม่กองวะ นำโดย นายทึก ถาเขา ได้เดินทางไปช่วยงานท่านพระป่านิกร ชัยยะเสโน (วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย อ.สามเงา จ.ตาก) ได้นำเรื่องรอยพระพุทธบาทที่ดอยถ้ำมาปรึกษา และบอกว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาแห่งวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม มาค้นพบเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗

จึงได้นิมนต์ พระป่านิกร ชัยยะเสโน เพื่อมาดูแลและสร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทไว้ และได้ลงมือก่อสร้าง เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ ถึงวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๑ และได้ทำการฉลองสมโภช เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๑ ตรงกับเดือน ๙ เหนือ ขึ้น ๑๐ ค่ำ และได้มีประเพณีสรงน้ำพระพุทธบาทดอยถ้ำเป็นประจำทุกปี และได้สร้างหลายอย่างจนถึงปัจจุบัน


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติความเป็นมาพระพุทธบาทดอยถ้ำ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ)


IMG_0036.JPG




ป้ายข้อความหนังสือจากครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา

ส่งถึง นายอำเภอลี้

วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๗



เจริญพร มายังท่านนายอำเภอลี้ และท่านนายศึกษาอำเภอลี้

ทราบเนื่องด้วย พระพุทธบาทและดอยถ้ำนี้ อาตมาได้รู้จากครูบาเจ้าศรีวิชัยและครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี บอกว่าในบริเวณดอยถ้ำนั้น ตามตำนานโบราณว่า จะมีรอยพระพุทธบาทอยู่ตามนั้น ได้มีศรัทธาชาวบ้านแม่ก๋องวะพาไปดู ก็มีรอยพระพุทธบาทจริง และอีกอย่างหนึ่ง ครูบาเจ้าศรีวิชัยว่า มีพระฤาษีตาไฟอยู่ในถ้ำรักษาพระบาทอยู่ อยู่ไปเลย ไม่ให้ใครรบกวนพระพุทธบาท ถ้าใครทำลายจะมีเรื่องร้ายแรง

ฉะนั้น อาตมาก็สั่งให้ศรัทธาบ้านแม่ก๋องวะรักษาไปเลย เดี๋ยวนี้อาตมาได้มารู้ข่าวว่าจะมีบริษัทมาทำเหมืองที่นั้น อาตมาและคณะศรัทธาบ้านแม่ก๋องวะ ไม่กล้าอนุญาตให้ทำ เพราะกลัวอันตรายภายหน้า อีกอย่างหนึ่ง กลัวรอยพระพุทธบาทจะสูญหาย เพราะเป็นของโบราณ อย่างใดก็ดี ขอท่านนายอำเภอลี้พิจารณาดูเถิด

นาม

ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา

วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม




IMG_0443.JPG



IMG_0392.JPG



ธาตุมหาเถระรอยพระอานนท์ ประดิษฐานด้านหลังวิหารครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


IMG_0411.JPG



IMG_0442.JPG



ธาตุมหาเถระรอยพระอานนท์ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ

โดยมี พระป่านิกร ชยฺยเสโน วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย เป็นประธาน พร้อมศิษยานุศิษย์ ได้สร้างเจดีย์ครอบรอยพระบาทของพระอานนท์เถรเจ้าไว้ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0279.JPG



IMG_0250.JPG



ศาลาชัยยะเสน วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


ความยาว ๒๑ เมตร สร้างโดย พระป่านิกร ชยฺยเสโน วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย เป็นประธาน พร้อมศิษยานุศิษย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔


IMG_0243.JPG



IMG_0244.JPG



IMG_0245.JPG



IMG_0246.JPG



พระพุทธรูปชำระหนี้สงฆ์ ประดิษฐานภายในศาลาชัยยะเสน วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


4.JPG



พระพุทธรูปชำระหนี้สงฆ์ ๔ องค์ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


คณะศิษยานุศิษย์ของพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ได้ร่วมกันสร้างองค์พระชำระหนี้สงฆ์ หน้าตัก ๔ ศอก ๙ นิ้ว จำนวน ๔ องค์ ถวายไว้ ณ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๘


IMG_0283.JPG



บันไดทางขึ้นนมัสการรอยพระพุทธหัตถ์และพระแท่นผาเอียง วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0310.JPG



IMG_0304.JPG



รอยพระพุทธหัตถ์และพระแท่นผาเอียง (แท่นแสดงธรรมพระพุทธเจ้า) วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ



IMG_0325.JPG



IMG_0299.JPG



IMG_0292.JPG



พระแท่นผาเอียง (แท่นแสดงธรรมพระพุทธเจ้า) วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ

(หมายเหตุ : ห้ามนั่งบนพระแท่นผาเอียง)


IMG_0326.JPG



IMG_0343.JPG



IMG_0328.JPG



IMG_0329.JPG



รอยพระพุทธหัตถ์ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ

ประทับบนก้อนหินใหญ่ เป็นรอยพระหัตถ์เบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรากฏรอยนิ้วมือทั้ง ๕ นิ้ว อย่างชัดเจน ปัจจุบันรอยพระพุทธหัตถ์ทาสีทองทับเรียบร้อยแล้ว โดย พระป่านิกร ชยฺยเสโน


IMG_0338.JPG



คำไหว้รอยพระพุทธหัตถ์และพระธาตุทันใจ

(ว่านะโม ๓ จบ) นะโม นะมะ หัตถะสุขัง โก๋ธะมัง ใจยะจักขุ (๓ จบ)



IMG_0285.JPG



IMG_0320.JPG



บันไดทางขึ้นนมัสการพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้าและพระธาตุทันใจ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ

(หมายเหตุ : ห้ามผู้หญิงมีครรภ์ มีรอบเดือนหรือประจำเดือนขึ้น)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0388.JPG



IMG_0389.JPG



พระธาตุทันใจ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ

สร้างโดย พระป่านิกร ชยฺยเสโน วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย เป็นประธาน พร้อมศิษยานุศิษย์ เมื่อวันอังคารที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๖ เดือน ๘ เหนือ แรม ๑๒ ค่ำ เวลา ๙.๒๘ น. แล้วยกยอดเวลา ๑๘.๒๘ น. วันเดียวกัน


IMG_0354.JPG



IMG_0349.JPG



IMG_0359.JPG



IMG_0387.JPG



พระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


ขนาดหน้าตัก ๙ ศอก ๙ นิ้ว ภายในประดิษฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างโดย พระป่านิกร ชยฺยเสโน พร้อมศิษยานุศิษย์ เริ่มสร้างวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗


9.1.jpg



ประวัติพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


พระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า พระป่านิกร ชยฺยเสโน พร้อมศิษยานุศิษย์ เริ่มสร้างวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ วางหินศิลา ทอง เงิน เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘ สวดสมโภชหัวใจพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า (มหาสมัยสูตร) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๘

บรรจุพระหฤทัยหัวใจพระพุทธเจ้า เมื่อวันพุธที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๘ (เดือน ๕ เป็ง มาฆบูชา) ยกฉัตร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๘ (เดือน เป็ง ๖) และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๘

สร้างอุทิศถวายแด่ หลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา และหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) และพระมหาเถรจารย์ในเขตล้านนาสุวรรณ พุทธรูปัง ตานัง นิพพานัง ปรมังสุขัง

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ)


IMG_0313.JPG



ป้ายประวัติพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0382.JPG



IMG_9952.JPG



IMG_9959.JPG



สถูปพระธาตุปฐมมงคลสามสิบแปด วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ



IMG_9961.JPG



IMG_9967.JPG



สถูปพระธาตุปฐมมงคล ๓๘ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


บนยอดสถูปเจดีย์ภายในประดิษฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างโดย พระป่านิกร ชยฺยเสโน พร้อมศิษยานุศิษย์ ได้ถวายเป็นพุทธบูชา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๔



IMG_9973.JPG



IMG_9970.JPG



IMG_9957.JPG



พระธาตุพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


เจดีย์ทั้ง ๕ องค์นี้ ภายในประดิษฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างโดย พระป่านิกร ชยฺยเสโน พร้อมศิษยานุศิษย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗



IMG_9977.JPG



พระประธานและพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในสถูปพระธาตุปฐมมงคล ๓๘ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ




IMG_9987.JPG



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน) ประดิษฐานภายในสถูปพระธาตุปฐมมงคล ๓๘ วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ



IMG_9991.JPG



IMG_9993.JPG



พระพุทธรูปปางนาคปรก วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0370.JPG



IMG_0369.JPG



IMG_0373.JPG



IMG_0391.JPG



การเดินทางมาวัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ ขอจบการเดินทางด้วยภาพวิวทิวทัศน์บนดอยถ้ำ และคำสอนของพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน) จากป้าย "ครูบาเจ้าวงศ์สั่งไว้" สวัสดีค่ะ


IMG_0104.JPG



ป้าย "ครูบาเจ้าวงศ์สั่งไว้" วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3447.JPG



คำสอนพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา

วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน



เกิดมาได้พึ่งพุทธศาสนาถือว่าเป็นผู้โชคดี พระภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี เด็กวัดก็ดี ศรัทธา (อุบาสก อุบาสิกา) ก็ดี ที่ได้มาพึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม วัดวา ครูบาอาจารย์ (พระสงฆ์) ซึ่งผู้รู้ถือว่าเป็นโชคดี ได้ประโยชน์ ต้องดีอกดีใจ ถ้าไม่มีโชค ไม่มีบุญ ก็จะได้ตกอยู่ในอเวจีมหานรก ถ้าไม่ได้อยู่ในอบายภูมิ ก็จะได้เป็นสัตว์เดรัจฉาน

มนุษย์เราแตกต่างกันที่บุญกุศล คนเราเกิดมาเป็นมนุษย์ไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกันอย่างไร บุญกุศลมีมากบ้าง มีพอประมาณบ้าง มีนิดเดียวบ้างก็มี คนที่มีบุญกุศลมากก็ต้องขวนขวายกระทำบุญ บุญน้อยก็ยิ่งขวนขวายเข้าไปอีก ยิ่งถ้าไม่มีบุญก็ต้องรีบเร่งหมั่นกระทำเอา


หมั่นทำอะไร หมั่นทำบุญ ทำทาน ถือศีลภาวนา หมั่นดูแลรักษา พระพุทธเจ้า พระธรรม ครูบาอาจารย์ (พระสงฆ์) ต้องทำจิตใจให้มั่นคง ให้ระลึกนึกถึงทุกเช้าทุกเย็น

ต้องรู้ทางแห่งบาปกรรมและบุญกุศล ถ้าไม่มีบุญก็ไม่ได้เข้ามาอยู่ในวัด อย่างที่ผ่านมาบางคนก็ว่ามาอยู่ในสนุกมาก กินข้าวเสร็จแล้วก็นอน แล้วก็เล่น อันนั้นคือการมาอยู่เพื่อทำบาป การทำบาปนั้น พระภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี เกียจคร้านไม่เรียนหนังสือหนังหา ไม่ทำวัตรสวดมนต์ ภาวนาก็ไม่ภาวนา อันนั้นบาปก็จะหนักขึ้น


นึกว่าบวชเข้ามาแล้ว จะทำให้พ้นความทุกข์ยากลำบาก ไม่พ้นหรอก จะต้องย้อนกลับไปเกิดเป็นวัว ควาย ช้าง ม้า หรือเป็นสัตว์อะไรก็ไม่รู้ ถ้าอยากจะพ้นความทุกข์ยากลำบาก หนีจากการเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็ต้องขวนขวายสร้างนิสัยให้เกิดความขยันหมั่นเพียรด้วยตนเอง

การที่ศรัทธา (พุทธบริษัท) อยากจะพ้นจากความยากลำบากนั้น ทางแห่งบาปกรรมอยู่ที่ไหน ทางแห่งบุญกุศลอยู่ทางไหน ต้องหมั่นขยันเรียนแล้วจะได้พบเส้นทางนั้นในตำรับตำรา ถ้าไม่ขยันเรียนก็จะถือ (คิด) ว่าเป็นของเล่น ไม่รู้จักทางบุญ ทางบาป


จะให้ครูบา (หลวงปู่) บอกกล่าวทุกอย่างนั้นก็บอกสอนไม่หมดหรอก จะติดตามไปสอนทุกรูปทุกคนก็ไปไม่ได้ จะให้ได้ก็ดังเช่นขณะนี้ ที่ได้แต่ชี้หนทางให้ ให้จำไว้ทุกคน พระภิกษุก็ต้องขยัน สามเณรก็ต้องขยัน จะได้พ้นจากบาปกรรมความทุกข์ยากลำบาก

ศาสนาจะเจริญได้ก็ด้วยศรัทธาพุทธบริษัท ๔ ทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดความสุข ทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดบุญบารมี ทำให้วัดวาศาสนารุ่งเรือง การที่วัดวาศาสนาจะรุ่งเรืองนั้น ก็เพราะศรัทธาพุทธศาสนิกชน


พระภิกษุก็คือพุทธศาสนิกชน สามเณรก็คือพุทธศาสนิกชน เด็กวัดก็คือพุทธศาสนิกชน อุบาสก อุบาสิกา ฆราวาสก็คือพุทธศาสนิกชน ฆราวาสบางคนนั้นบุญบารมีมากกว่าพระภิกษุสามเณรก็มี ไม่มีบุญบารมีเลยก็มี พระภิกษุสามเณรนี้ก็นับว่ามีบุญอยู่หน่อยแล้ว แต่ไม่ได้ระลึกถึงบุญอันนั้น

ทำอย่างไรจึงจะได้บุญกุศลเยอะ ก็ต้องหมั่นดูแลรักษา “วัตร” ให้ดี สามเณรจะต้องเชื่อฟังพระภิกษุ เด็กวัดจะต้องเคารพเชื่อฟังสามเณรและพระภิกษุ ถ้าไม่เคารพเชื่อฟังใครเลยก็จะไม่มีครูบาอาจารย์


เป็นศิษย์พระพุทธเจ้าจริงๆ ต้องรู้หน้าที่ อยากเป็นศิษย์พระพุทธเจ้าจริงๆ ก็จะต้องเชื่อฟังครู อุปัฏฐากวัดวา ใครมีงานก็ต้องพิจารณาให้ดี ใครดูแลอะไรต้องนึกได้ทุกเช้าเย็น การเรียนหนังสืออย่างหนึ่ง การภาวนาอย่างหนึ่ง การท่องสวดมนต์อย่างหนึ่ง จะต้องนึกถึงทุกคราว เวลาที่จะว่างเว้นสำหรับการละเล่นจะไม่มีเลยทุกค่ำเช้า ถ้าอดหลับอดนอนไม่ไหวก็หลับนอน การหลับนี้ก็หลับไม่นานสัก ๓-๔ ชั่วโมงก็ตื่น

อดีต “ครูบา” เมื่อครั้งยังเป็นเด็กวัด เมื่อครั้งครูบา (หลวงปู่) ยังเป็นเด็กวัดนั้น ไม่เหมือนสมัยนี้หรอก ต้องตื่นก่อนครูบาอาจารย์จะตื่น ตื่นขึ้นมาเอาถังน้ำไปตักน้ำในห้วย กลับมาตักน้ำใส่คนโท น้ำเก่าเททิ้งเปลี่ยนเอาน้ำใหม่ใส่ เปลี่ยนน้ำให้ครูบาอาจารย์ แล้วก็เปลี่ยนน้ำของพระพุทธ พระธรรม ประเคนจนเสร็จหมด เอาอาสนะของครูบาอาจารย์มาปูตรงที่ท่านจะสอนหนังสือ เสร็จแล้วกราบ นั่งทบทวนตำราเรียนอยู่ตรงนั้น

วัตรที่แท้จริง อย่างที่มาอยู่นี้เขาเรียกว่า วัดห้วยต้ม วัดนาทราย วัดนาเลี่ยง อันนี้ไม่ใช่ “วัตร” อาจจะใช่ “วัด” แต่ไม่เป็น “วัตร” ที่แท้จริง


วัตร คือ การดูแลวัดวาศาสนา เรียนหนังสือก็เป็นวัตร เขียนหนังสือก็เป็นวัตร อุปัฏฐากพระพุทธ พระธรรม ก็เป็นวัตร กิจวัตร “กิจจะ” คือ ให้มีกิจนิสัย ถ้ามี “กิจวัตร” ตื่นเช้าขึ้นมาก็ปฏิบัติ ต้องกวาด ต้องตักน้ำ ต้องเรียนหนังสือ ภาวนาสวดมนต์ นี่คือ กิจวัตร เป็นวัตรทั้งหมด

ส่วนฆราวาสนอกวัด มี “วัตร” ต้องมาตักบาตร ก็ต้องมาทุกเช้า ถ้าอยากให้มากขึ้น ต้องมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ภาวนาทุกเย็น มาสวดมนต์ไหว้พระทุกเย็น อันนี้คือ วัตร เป็นกิจวัตร ไม่ใช่เข้ามาวัดเปล่าๆ (ต้อง) มีวัตร คือ การดูแลรักษา

ให้จดจำที่ครูบาสั่งสอน ถ้าอยากเป็นคนดี มีบุญ มีกุศล ก็ต้องเชื่อฟังครูบาอาจารย์ ไม่ลบหลู่ท่าน ต้องเคารพยำเกรง เมื่อครูบายังอยู่นี่ก็มีเวลาสั่งสอนได้เพียงครั้งคราวเท่านั้น พอได้ยินได้ฟังก็ขอให้จดจำ ถ้าครูบาจากไปจะมีใครมาสั่งสอนดังเช่นครูบา ถ้าเชื่อฟังพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ บุญบารมีทั้งหลายเหล่านั้นก็จะคุ้มครองปกปักรักษา คนที่ไม่เชื่อฟังฝืนคำสั่งสอนพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ เมื่อคราวที่เป็นพ่อคนแม่คน ลูกตัวเองก็จะยิ่งไม่เชื่อฟังยิ่งกว่าอีก สอนยากมาก

อยากเป็นคนดี ก็ขอให้นึกถึงบุญทานอย่างหนึ่ง ศีลอย่างหนึ่ง ภาวนาอย่างหนึ่ง
ทั้งสามอย่างนี้จะได้ช่วยตนก็จะได้ถึงสุข บาปกรรมที่ทำให้ลำบากอยู่ขณะนี้เป็นกรรมที่ได้กระทำไว้แต่ชาติก่อน ผู้ที่ได้ประกอบกรรมดีในภพนี้ ชาตินี้ ก็จะได้พบกับความสุขในภพชาติต่อๆ ไป


ด้วยอานุภาพของศีลหรือศีลบารมีนั้น ถ้าเราตายจากโลกนี้ไป เวรกรรมจะหมดไป บาปกรรมก็จะไม่มี ถ้าจะมีก็เป็นกรรมเก่า กรรมใหม่ก็จะไม่มี เราจะไม่สร้างเวรและปลูกบาปกรรมใหม่แล้ว ถ้ายังทำอีกก็เป็นการปลูกสร้างบาปกรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องรับกรรมเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ เช่นกัน ยิ่งนานวันก็ยิ่งเพิ่มขึ้น

ต้องคำนึงถึงการได้มาวัดวา ซึ่งได้จุดประกายแสงสว่างขนาดนี้แล้ว ครูบาพยายามทำให้แสงสว่างเกิดขึ้น คนที่เคารพเชื่อฟังครูบาก็ได้ช่วยกันทำให้แสงสว่างเกิดขึ้น คนที่ไม่เคารพเชื่อฟังครูบากลับทำให้แสงสว่างนั้นมืดดับลงไปอีก


ให้เป็นผู้นำชี้ทางสวรรค์แก่ญาติของตน การที่ได้มาอยู่วัดก็ควรที่จะสามารถเป็นผู้นำได้บ้าง เป็นผู้นำอะไร นำพ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ทำบุญให้ทาน ชี้ทางแสวงบุญ ทางสวรรค์ ตัวผู้นำเองต้องหมั่นสร้างบุญกุศล รู้จักข่มจิตใจ ถ้าไม่รู้จักละเว้น ก็จะไม่ได้อะไรเลย ถ้ารู้จักการละเว้นได้ก็จะดีมาก

pngegg.5.3.2.png



(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายครูบาเจ้าวงศ์สั่งไว้ ภายในวิหารสมเด็จพระมหามุนี วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ)


-------------------

ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • วัดพระพุทธบาทดอยถ้ำ อ.ลี้ จ.ลำพูน
         • หนังสือ “กึ๊ดหาเมืองสร้อย” ที่ระลึกในงานประเพณีขึ้นไหว้สาสรงน้ำพระบรมธาตุ ปอยหลวงศาลาสามพระครูบาเจ้า วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก วันที่ ๔-๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒


**หมายเหตุ :


ท่านใดประสงค์จะนำรูปภาพหรือเนื้อหาบทความไปใช้ประโยชน์ที่อื่น สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากข้าพเจ้าก่อน


และได้โปรดกรุณาให้เครดิตอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มา : เว็บแดนนิพพาน และกรุณาอย่าลบหรือครอบตัดเครดิตแหล่งที่มาบนรูปภาพ “Photo by Dannipparn.com”


(ป.ล. หากว่ากระทู้บทความนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยในความผิดพลาดต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปไว้ ณ ที่นี้ด้วย และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 03:35 , Processed in 0.066027 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.