แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 8803|ตอบ: 16
go

วัดพระธาตุดอยกวางคำ ม.๕ ต.ทุ่งหัวช้าง อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_8794.2.JPG



วัดพระธาตุดอยกวางคำ

ม.๕ ต.ทุ่งหัวช้าง อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน

[พระบรมธาตุเจดีย์ , รอยพระบาทพระมหาเถระ ,

รอยมือ-รอยเท้าพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 15 ธันวาคม 2566)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8349.1.JPG



การเดินทางไปวัดพระธาตุดอยกวางคำ

ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ (ลำพูน-ลี้) โดยมีเส้นทางแยกเข้าสู่อำเภอทุ่งหัวช้าง ๒ เส้นทาง ดังนี้

๑. เข้าทางแยกแม่เทย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๑๙ (บ้านแม่เทย-ทุ่งหัวช้าง)


๒. เข้าทางแยกแม่อาว ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘๔ (บ้านแม่อาว-ทุ่งหัวช้าง) ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร ถึงอำเภอทุ่งหัวช้าง


IMG_8363.1.JPG



เมื่อถึงอำเภอทุ่งหัวช้าง มุ่งหน้าสู่บ้านแม่ปันเดง ตำบลทุ่งหัวช้าง


IMG_8374.JPG



เลี้ยวเข้าแยกบ้านโป่งแดง ถนนชัยยะวงศาพัฒนา ไปอีก ๔ กิโลเมตร ถึงวัดพระธาตุดอยกวางคำ


IMG_8371.JPG



ป้ายทางเข้าถนนชัยยะวงศาพัฒนา

วัดพระธาตุดอยกวางคำ ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งแดง-สัญชัย หมู่ที่ ๕ ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ๕๑๑๖๐ ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๗) วัดพระธาตุดอยกวางคำมี พระสมุห์สง่า สนฺตจิตโต เป็นเจ้าอาวาส


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8377.JPG



ถนนทางขึ้นพระธาตุ วัดพระธาตุดอยกวางคำ



IMG_8798.2.JPG



ระชำระหนี้สงฆ์ หน้าตัก ๔ ศอก (พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์) ประดิษฐานข้างถนนทางขึ้นพระธาตุ วัดพระธาตุดอยกวางคำ อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๗


IMG_8394.JPG



บันไดนาคทางขึ้น วัดพระธาตุดอยกวางคำ


IMG_8411.JPG



IMG_8408.JPG



IMG_8587.JPG



บันไดนาค
ทิศตะวันออก วัดพระธาตุดอยกวางคำ


IMG_8385.JPG



เสาไฟประติมากรรมหงส์ ประดับข้างถนนทางขึ้นพระธาตุ วัดพระธาตุดอยกวางคำ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8439.JPG



ทางเข้าเขตพุทธาวาส วัดพระธาตุดอยกวางคำ


“ยินดีต้อนรับและขอบคุณที่มาเยือน”



IMG_8780.JPG



IMG_8781.JPG



รูปปั้นกวางคู่ ประดับทางเข้าเขตพุทธาวาส วัดพระธาตุดอยกวางคำ



IMG_8586.JPG



กำแพงหินแบบธรรมชาติ กำหนดอาณาเขตพุทธาวาส วัดพระธาตุดอยกวางคำ



IMG_8421.JPG



วิหาร วัดพระธาตุดอยกวางคำ



IMG_8570.JPG



IMG_8578.1.JPG



IMG_8581.JPG



พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ๒ องค์ (พระพุทธรูปปางมารวิชัยและปางสมาธิ) ประดิษฐานด้านหน้าประตูทางเข้าวิหาร วัดพระธาตุดอยกวางคำ  


IMG_8590.1.JPG



พระประธานและพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในวิหาร วัดพระธาตุดอยกวางคำ

.....วันที่ทางคณะเดินทางมาวัดพระธาตุดอยกวางคำเป็นวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ หรือวันลอยกระทง พ.ศ.๒๕๕๗ มีคณะศรัทธาจำนวนมากมาร่วมทำบุญที่วัด


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8789.JPG



พระเจดีย์ชัยยะวงค์ษามหาโพธิสัตว์อนุสรณ์ (พระธาตุดอยกวางคำ) วัดพระธาตุดอยกวางคำ



IMG_8794.JPG



IMG_8751.JPG



IMG_8680.JPG



IMG_8776.JPG



IMG_8777.JPG



IMG_8759.JPG



พระเจดีย์ชัยยะวงค์ษามหาโพธิสัตว์อนุสรณ์ (พระธาตุดอยกวางคำ) วัดพระธาตุดอยกวางคำ


ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการสร้างของพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๐๐ โดยหลวงปู่ได้สร้างพระเจดีย์ครอบเขาพญากวางและกระดูกพญากวางคำโพธิสัตว์ไว้เป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย

เนื่องจากสมัยก่อนพุทธกาล สถานที่นี้เป็นสถานที่ที่หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาเคยเสวยชาติเป็นพญากวางคำโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี และละสังขารลง ณ สถานที่แห่งนี้ (ปัจจุบันคือ สถานที่ตั้งของพระธาตุดอยกวางคำ อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน)

และได้มีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยกวางคำ ทุกแรม ๘ ค่ำ เดือนพฤษภาคม เป็นประจำทุกปี


IMG_8671.JPG



คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(ว่านะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8794.3.JPG



ประวัติพระธาตุดอยกวางคำ


จากหนังสือประวัติพระธาตุดอยกวางคำ



ครั้งพุทธกาลแต่เดิมมา (สมัยสมเด็จพระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า) ณ ขุนห้วยโป่งแดงในปัจจุบัน เวลาบ่ายคล้อย มีกวางฝูงหนึ่งประมาณสิบกว่าตัว ได้ออกหากินตามประสาสัตว์โลก โดยการนำของจ่าฝูง คือ พญากวางคำ (เหตุที่เรียกว่า พญากวางคำ ก็เพราะว่าเป็นกวางพระโพธิสัตว์ ตัวใหญ่ สีเหลืองดุจทองคำ)


ในขณะเดียวกันนั้น ก็มีพรานล่าเนื้อสองกลุ่มออกล่าสัตว์ กลุ่มหนึ่งมาทางทิศเหนือ อีกกลุ่มหนึ่งมาทางทิศใต้ ได้มาเจอพญากวางคำกับฝูงกวางกำลังออกหากินอยู่พอดี ด้วยความเป็นจ่าฝูง โดยสัญชาตญาณแห่งโพธิสัตว์ ที่จะให้บริวารพ้นภัยอันตรายจากกลุ่มนายพราน

พญากวางคำอันมีสติปัญญาว่องไวและความเสียสละ จึงตัดสินใจหลอกล่อนายพรานเนื้อทั้งสองกลุ่มให้สนใจติดตามตัวเองแต่ผู้เดียว โดยพญากวางคำมุ่งหน้าวิ่งหลอกล่อพรานขึ้นไปบนเขาที่อยู่ใกล้ที่สุด คือ พระธาตุดอยกวางคำปัจจุบัน เพื่อให้พ้นและห่างจากบริวารที่หากินอยู่ โดยไม่ห่วงตัวเอง ไม่หวั่นเกรงต่อความตายในขณะนั้น

บนจอมเขาขุนห้วยโป่งแดงที่พญากวางคำกำลังวิ่งขึ้นไปนั้น มีพระเถระรูปหนึ่งออกเดินธุดงค์โปรดสัตว์โลก มาพักปักกลดจำศีลภาวนาอยู่บนจอมเขา ขณะนั้นกำลังทำวัตรสวดมนต์พระอภิธรรมอยู่

พญากวางคำได้วิ่งหนีนายพรานล่าเนื้อมาเจอพระมหาเถระสวดมนต์พระอภิธรรมอยู่ จึงได้หยุดยืนฟัง และพิจารณาว่าเสียงนี้เหมือนเคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ไพเราะมาก จิตจึงเกิดความเพลิดเพลินหลงใหลติดในเสียงสวดมนต์ของพระมหาเถระ ลืมว่ากำลังวิ่งหนีกลุ่มพรานอยู่ ไม่สนใจไม่กลัวความตายว่าจะมาถึงตัว

พรานล่าเนื้อทั้งสองกลุ่มได้วิ่งไล่พญากวางขึ้นมาบนจอมเขา เพราะเห็นรูปร่างลักษณะใหญ่โตสวยงาม พญากวางหยุดอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหว ก็ใช้ธนูยิงใส่พญากวางทันทีโดยไม่ลังเล และไม่ทันสังเกตว่ามีพระธุดงค์ปักกลดอยู่ใกล้ๆ (หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาได้เมตตาบอกว่า ด้วยบารมีบุญเก่าแต่เดิมมาและอานิสงส์ที่จิตติดในเสียงสวดมนต์เป็นธรรมของพระพุทธเจ้า)

ในขณะนั้นพญากวางคำไม่รู้สึกตัวว่าถูกยิงเสียชีวิต แต่รู้ตัวว่าเหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา ก็ได้อุบัติจุติเกิดเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นตาวติงสา (ดาวดึงส์) มีประสาทวิมานกว้างได้สิบสองโยชน์ สูงสิบสองโยชน์ และมีเทพธิดานางฟ้าเป็นบริวารอีกเป็นพันองค์


ส่วนพรานล่าเนื้อทั้งสองกลุ่มก็ได้แบ่งเนื้อกวาง โดยไม่ได้สนใจพระธุดงค์ที่ปักกลดสวดมนต์อยู่ ส่วนหนังของกวางนั้น พรานได้เอาไปตากไว้บนก้อนหินใกล้ๆ กับเขาลูกนี้ (ปัจจุบันกลายเป็นแท่นหินหนังกวาง อยู่ห่างจากวัดไม่ไกลนัก หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาได้เมตตาพาชาวบ้านไปดูและยืนยันด้วยองค์ท่านเอง)

ส่วนหัวของกวาง พรานได้นำไปคั่ว ปัจจุบันคือบ้านหัวขัว แต่หลวงปู่ฯบอกว่า “บ้านหัวขัว” ไม่ถูก ต้องเป็น “หัวคั่ว” เพราะพรานเอาหัวกวางมาคั่วที่นี่ ปัจจุบันนี้ชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็นภาษาล้านนาว่า “หัวขัว” (หัวสะพาน) ก็เป็นจริงอย่างที่หลวงปู่ฯบอก


เพราะชาวบ้านได้ไปขุดลอกลำเมืองข้างวัดม่วงคำ ในสมัยที่องค์ท่านได้บูรณะวัดม่วงคำ ปัจจุบันได้ไปเจอกระดูกกะโหลกกวางฝังอยู่ จึงนำไปให้หลวงปู่ฯพิจารณา ท่านบอกว่า ใช่ เป็นกระดูกส่วนหัวพญากวางคำ (น่าเสียดาย มิได้มีใครสนใจเก็บรักษาไว้ จึงได้สูญหายไปในที่สุด)

พระมหาเถระนั้น เมื่อสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติกรรมฐานแล้ว จึงได้มาเทศน์โปรดสั่งสอนบอกกล่าวให้กลุ่มพรานที่กำลังแบ่งเนื้อพญากวางคำ และได้ชี้บอกพรานทั้งหลายว่า “สูทั้งหลายทำบาปมากแล้ว สูรู้ไหมว่ากวางที่สูยิงนั้น มิใช่กวางธรรมดาทั่วไป แต่เป็นพญากวางคำโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ได้พาบริวารออกหากิน ต่อไปภายหน้าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าอีกต๋นหนึ่ง”

แล้วเทศน์โปรดพรานเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หันมาทำบุญรักษาศีล โดยการให้นำศีลห้าไปปฏิบัติ พรานทั้งหมดเมื่อฟังพระมหาเถระเทศน์จบ ก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย พรานจึงขอรับศีลห้าไปปฏิบัติ แล้วพร้อมใจกันนำอาวุธทั้งหมดถวายพระมหาเถระ เพื่อบูชาพระธรรมคำสอนของพระมหาเถระและบูชาศีลห้า (
หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาจึงบอกว่าดอยลูกนี้คือ ดอยศีลห้า)

เมื่อกลุ่มพรานมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแล้ว จึงนึกถึงพระคุณของพระมหาเถระ กลุ่มพรานจึงได้ขอให้พระมหาเถระทำสัญลักษณ์ไว้ให้เป็นอนุสรณ์ตัวแทนของพระมหาเถระ เพื่อเขาจะได้สักการบูชาต่อไปในวันข้างหน้า


พระมหาเถระจึงได้อธิษฐานจิตเหยียบรอยเท้าไว้บนหิน ให้พรานรักษาและได้มากราบไหว้สักการบูชาต่อไป พระมหาเถระได้เล็งเห็นว่าในอนาคต ณ สถานที่แห่งนี้ คงจะดำรงอายุสืบทอดพระพุทธศาสนาในอนาคตข้างหน้า พระมหาเถระจึงได้ขอเอาเขาพญากวางโพธิสัตว์จากพรานไว้

หลังจากพรานกลับกันไปหมดแล้ว พระมหาเถระจึงได้นำเขาพญากวางคำที่ได้ขอมาจากพราน อธิษฐานจิตฝังเขาพญากวางคำไว้ตรงจุดสูงสุดของจอมเขา แลัวทำสัญลักษณ์ไว้ โดยการนำเอาหินสามก้อนมาวางไว้เป็นรูปสามเหลี่ยม (ปัจจุบัน
หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาได้สร้างพระธาตุครอบตรงหินสามก้อนที่ฝังเขาพญากวางคำ)

พรานทั้งสองพวก จึงได้แยกย้ายกันกลับ อีกพวกหนึ่งไปทางทิศใต้ อีกพวกหนึ่งไปทางทิศเหนือ พอไปได้สักระยะหนึ่ง ทั้งสองพวกจึงมาคิดทบทวนคำบอกของพระมหาเถระว่า กวางตัวนี้ไม่ใช่กวางธรรมดา แต่เป็นพญากวางคำโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี วันข้างหน้าจักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า


เมื่อพรานทั้งสองพวกคิดได้ จึงปรึกษาพร้อมใจกันไม่กินเนื้อพญากวางคำ แล้วพร้อมใจกันนำเอาเนื้อพญากวางคำมากองรวมกันไว้ทั้งหมด แล้วแยกย้ายกันกลับ ปัจจุบันเนื้อพญากวางคำ ได้กลายเป็นหินหมด และหลวงปู่ฯได้ให้ไปเก็บเอามารักษาไว้บนวัด เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นเป็นอนุสติเตือนใจ

ในสมัยที่องค์หลวงปู่มาเจอรอยพระบาท แล้วให้ชาวบ้านกะเหรี่ยงมาช่วยสร้างให้เป็นวัดขึ้น จึงได้บอกให้ชาวบ้านไปดูจุดที่พรานนำเนื้อพญากวางคำกองไว้ ไม่ห่างจากวัดพระธาตุดอยกวางคำไปเท่าใดนัก

ความเป็นมาที่องค์หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาได้มาก่อสร้างบูรณะวัดพระธาตุดอยกวางคำในปัจจุบัน ให้เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านใช้ทำบุญ ทำพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา สร้างบารมีเพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาขององค์สัพพัญญูพระพุทธเจ้าให้ถึง ๕,๐๐๐ วษานั้น มีเหตุอยู่ตามที่องค์หลวงปู่ได้เมตตาเล่าให้ผู้บันทึกฟังว่า...

เมื่อประมาณหกสิบปีที่ผ่านมา ในสมัยที่ท่านได้ติดตามพระครูบาเจ้าศรีวิชัยมาบูรณะซ่อมแซมวัดพระธาตุหัวขัว ห่างจากวัด
พระธาตุดอยกวางคำไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๕ กิโลเมตร เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่พอสมควร ในเขตอำเภอทุ่งหัวช้าง

มีอยู่วันหนึ่งชาวบ้านหัวขัวได้เล่าให้ท่านฟังว่า ได้ไปหาเห็ดบนดอยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดพระธาตุหัวขัวประมาณห้ากิโลเมตร ได้ไปเจอรอยเท้าอยู่บนหินบนดอยลูกนั้น และได้เล่าบอกต่อๆ กันไปให้พระเณรที่ติดตามมาช่วยพระครูบาเจ้าศรีวิชัยบูรณะพระธาตุหัวขัวฟัง

พระภิกษุสงฆ์ที่มาช่วยงานครูบาศรีวิชัย ก็ได้ไปเที่ยวดูก็ไปเจอจริงๆ ตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน แล้วพระภิกษุสงฆ์หมู่นั้น ก็เอามาล้อองค์หลวงปู่ฯว่า “บ่อจั้ยเป๋นรอยพระบาทพระพุทธเจ้า เป๋นรอยติ๋นของตุ๊วงศ์” (ไม่ใช่รอยเท้าพระพุทธเจ้า แต่เป็นรอยเท้าของครูบาวงศ์เอง) เหตุที่หลวงปู่ฯถูกล้อเลียนนั้น เพราะท่านชอบเก็บตัวอยู่องค์เดียว ไม่สุงสิงกับหมู่พวก


ตั้งแต่นั้นมา ถ้าวันไหนว่างจากงานซ่อมแซมบูรณะวัดพระธาตุหัวขัว องค์หลวงปู่ฯมักจะขึ้นไปกราบรอยพระบาท บางครั้งขึ้นไปกราบไปที่เดิม ไม่มีรอยพระบาท หายังไงก็ไม่เจอ วันหลังขึ้นไปใหม่ไปที่เดิม ปรากฏว่ามีรอยพระบาทอยู่ที่เดิม เป็นอยู่อย่างนี้หลายครั้ง

เหตุการณ์อย่างนี้องค์หลวงปู่เมตตาบอกกับผู้บันทึกว่า เป็นเหตุอย่างนั้น เพราะเทวดาที่รักษารอยพระบาทเอาซ่อน คือบังตาไม่ให้เห็น องค์หลวงปู่จึงเกิดแรงบันดาลใจให้ท่านอยากจะสร้างที่ครอบรอยพระบาทขึ้นมา

หลังจากนั้นมา องค์หลวงปู่จึงขึ้นไปกราบสักการะอีกครั้ง ในตอนนี้ท่านได้เก็บเอาก้อนหินบริเวณรอบรอยพระบาท มาก่อทำเป็นรั้วให้ดูเรียบร้อยสะอาดงามตาแก่ผู้มากราบไหว้ทีหลัง และเพื่อป้องกันเวลาขึ้นมากราบวันหลัง รอยจะมิได้ถูกเทวดาซ่อนอีก

และท่านได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้ารอยเท้านี้เกี่ยวข้องผูกพันกับท่าน เป็นรอยพระบาทจริง ไม่ได้ถูกสร้างหรือมนุษย์ทำขึ้น และเป็นบุญของท่านที่จะได้บูรณะก่อสร้างที่ครอบรอยพระบาท ก็ขอให้ได้สร้างที่ครอบรอยพระบาทแล้วเสร็จภายในระยะเวลาเพียงเจ็ดวันเท่านั้น

พออธิษฐานจิตเสร็จ ท่านบอกว่า ได้ยินเสียงดอยครางสั่นสะเทือน คือเทวดาที่รักษารอยพระบาทรับรู้เป็นพยาน และอนุโมทนาสาธุการในเจตนาจะบูรณะ การอธิษฐานจิตขององค์ท่านเป็นจริงตามคำอธิษฐานของท่าน ท่านได้ทำการก่อสร้างที่ครอบรอยพระบาทแล้วเสร็จภายใน ๗ วันพอดี


ในระหว่างที่ทำการก่อสร้างนั้น หลวงปู่ฯสร้างเองทั้งหมด ไม่มีใครช่วยท่านเลย และท่านไม่ได้จำวัตรที่รอยพระบาทนี้ ท่านยังคงจำวัตรที่วัดพระธาตุหัวขัว หลังจากท่านฉันเช้าเสร็จแล้ว ก็เดินเท้าขึ้นมาทำงานที่รอยพระบาท พอตกเย็นตะวันตกดิน ท่านก็เดินทางกลับมาจำวัตรที่วัดพระธาตุหัวขัวตามเดิม เป็นอย่างนี้ทุกวัน (ครบ ๗ วัน)

ท่านจึงตั้งชื่อรอยพระบาทนี้ว่า “พระบาททันใจ” ถ้าใครมีปัญหาอะไร ก็ให้มาอธิษฐานขอที่รอยพระบาทนี้ ศักดิ์สิทธิ์เร็วทันใจ ท่านเมตตาบอกสั่งไว้ ปัจจุบันทางวัดได้สร้างรอยพระบาทจำลองครอบของแท้ไว้อีกชั้นหนึ่ง

หลังจากที่สร้างครอบรอยพระบาทเสร็จแล้ว และช่วยครูบาเจ้าศรีวิชัยบูรณะวัดพระธาตุหัวขัวจนแล้วเสร็จ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาจึงได้นำพาชาวบ้านหัวขัว โป่งแดงสัญชัย ตัดถนนขึ้นสู่ดอย ตรงกับที่ได้สร้างบันไดนาคในปัจจุบัน


และได้ขุดสร้างทางเป็นวงกลมขึ้นสู่ดอยอีกสายหนึ่ง จึงเรียกติดปากชาวบ้านแต่ก่อนว่า “วัดดอยวง” เรียกตามลักษณะของถนนที่เป็นวงกลมขึ้นดอย และได้สร้างพระธาตุขึ้นหนึ่งองค์ สร้างพระวิหารอีกหนึ่งหลัง เสนาสนะ กุฏิ พร้อมต่อประปาภูเขานำไปใช้ในวัดและในหมู่บ้านโป่งแดง-สัญชัยจนถึงปัจจุบัน

หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาท่านผูกพันกับวัดพระธาตุดอยกวางคำนี้มาก ถึงกับออกปากว่าสถานที่นี้คือ ป่าช้าของพ่อ ความหมายคือ ท่านได้เกิดเป็นกวาง คือ พญากวางคำ แล้วได้มาสิ้นชีวิต ณ สถานที่แห่งนี้


ประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๓ หลวงปู่ได้สร้างพระวิหารขึ้น ๑ หลัง มีหลวงพี่ปั๋น ปามจฺโจ ดูแลอยู่ จนพระวิหารสร้างเสร็จแล้ว หลวงปู่ก็ได้ไปบูรณะวัดม่วงคำ ห่างจากวัดพระธาตุดอยกวางคำไปทางทิศเหนือประมาณ ๒ กิโลเมตร ท่านปั๋นฯ ก็ได้ไปช่วยดูแลจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๔๓ หลังจากหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาท่านได้ละสังขาร พระสมุห์สง่า สนฺตจิตโต ได้มาดูแลรักษาและบูรณะวัดพระธาตุดอยกวางคำต่อจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุดอยกวางคำ ทุกแรม ๘ ค่ำ เดือนพฤษภาคมของทุกปี

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : หนังสือประวัติพระธาตุดอยกวางคำ. ประวัติตำนานพระพุทธบาทดอยกวางคำ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.danpranipparn.com/web/pratttas/pratta17mini11.html. วันที่ค้นข้อมูล ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗)

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8685.JPG



IMG_8790.JPG



IMG_8686.JPG



พระพุทธรูปปางเรือนแก้ว ประดิษฐานภายในซุ้มตรงกลางที่บันไดนาคทางขึ้น พระเจดีย์ชัยยะวงค์ษามหาโพธิสัตว์อนุสรณ์ (พระธาตุดอยกวางคำ) วัดพระธาตุดอยกวางคำ


IMG_8692.JPG



รูปพญากวางคำโพธิสัตว์ ประดิษฐานภายในซุ้มด้านล่างฐานองค์พระพุทธรูปที่บันไดนาคทางขึ้น พระเจดีย์ชัยยะวงค์ษามหาโพธิสัตว์อนุสรณ์ (พระธาตุดอยกวางคำ) วัดพระธาตุดอยกวางคำ


IMG_8792.JPG



IMG_8779.JPG



บันไดนาคทางขึ้น พระเจดีย์ชัยยะวงค์ษามหาโพธิสัตว์อนุสรณ์ (พระธาตุดอยกวางคำ) วัดพระธาตุดอยกวางคำ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8748.JPG



IMG_8739.JPG



พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานภายในซุ้มพระเจดีย์ชัยยะวงค์ษามหาโพธิสัตว์อนุสรณ์ (พระธาตุดอยกวางคำ) วัดพระธาตุดอยกวางคำ โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธธรรมน้ำใจ"


IMG_8703.JPG



IMG_8744.JPG



พระพุทธธรรมน้ำใจ วัดพระธาตุดอยกวางคำ


IMG_8716.JPG



IMG_8710.JPG



IMG_8733.JPG



IMG_8730.JPG



พระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐานบนมุมฐานเขียงทั้งสี่ทิศ พระเจดีย์ชัยยะวงค์ษามหาโพธิสัตว์อนุสรณ์ (พระธาตุดอยกวางคำ) วัดพระธาตุดอยกวางคำ


IMG_8738.JPG



ฉัตรสัปทน ประดับมุมกำแพงแก้วทั้งสี่ทิศ พระเจดีย์ชัยยะวงค์ษามหาโพธิสัตว์อนุสรณ์ (พระธาตุดอยกวางคำ) วัดพระธาตุดอยกวางคำ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8598.JPG



มณฑปครอบรอยพระบาทพระมหาเถระ วัดพระธาตุดอยกวางคำ


IMG_8609.JPG



IMG_8606.JPG



รอยพระบาทพระมหาเถระ ประดิษฐานภายในมณฑปครอบรอยพระบาทพระมหาเถระ วัดพระธาตุดอยกวางคำ



IMG_8616.JPG



IMG_8618.JPG



รอยพระบาทพระมหาเถระ วัดพระธาตุดอยกวางคำ

โดยพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน
ได้ทำการก่อสร้างที่ครอบรอยพระบาทด้วยองค์ท่านสร้างเองทั้งหมด แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน หลวงปู่จึงตั้งชื่อรอยพระบาทนี้ว่า “พระบาททันใจ”

และท่านได้เมตตาบอกสั่งไว้ว่า ถ้าใครมีปัญหาอะไร ก็ให้มาอธิษฐานขอที่รอยพระบาทนี้ ศักดิ์สิทธิ์เร็วทันใจ ปัจจุบันทางวัดได้สร้างรอยพระบาทจำลองครอบของแท้ (รอยเดิม) ไว้อีกชั้นหนึ่ง


IMG_8600.JPG



P1.1.jpg



คำนมัสการรอยพระบาทพระมหาเถระ
(ว่านะโม ๓ จบ) สาธุ สาธุ สาธุ อะหังนะมามิ พระอะระหันต๋าเถระ บาทะ วะรัง สิระสา นะมามิ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8623.JPG



ตำนานรอยพระบาทพระมหาเถระ


จากหนังสือชัยวงศาปูชนียาลัย



ในสมัยพระพุทธเจ้ากกุสันธะ มีพระมหาเถระเจ้าองค์หนึ่ง ธุดงค์ไปตามป่าเขา และไปสถิตอยู่บนดอย (ปัจจุบันนี้เรียกว่า ขุนห้วยโป่งแดง) พระมหาเถระเจ้าก็บำเพ็ญเมตตาภาวนาอยู่ในระยะใกล้รุ่ง ท่านก็สวดมาติกาและอภิธรรม ณ ที่นั้น

ในขณะที่ท่านกำลังสวดอยู่ มีพรานเนื้อกลุ่มหนึ่งไปล่าหาเนื้อในป่าก็ไปพบ พญากวาง เมื่อพญากวางตัวนั้นเห็นพรานเนื้อหมู่นั้น ก็กลัวพวกพรานทั้งหลาย ก็โดดขึ้นไปบนจอมเขา พอไปถึงบริเวณที่ใกล้พระมหาเถระสวด พญากวางก็ได้ยินเสียงพระมหาเถระเจ้า ก็ดักนิ่งฟังอยู่ มันเข้าใจว่าคำนี้เป็นคำของพระพุทธเจ้า มันก็ฟังอยู่ถูกใจมาก

ส่วนพวกพรานเนื้อติดตามเข้ามาไม่ใกล้ไม่ไกลกวางตัวนั้นเท่าไร ก็เห็นกวางตัวนั้น แต่ว่าเขาไม่เห็นพระมหาเถระเจ้า หมอพรานก็ยกธนูยิงกวางตัวนั้น ลูกธนูก็ถูกใส่กวาง ส่วนพญากวางก็ไม่รู้ว่าถูกยิง เพราะว่ากำลังฟังเทศน์เพลินอยู่

เมื่อพระมหาเถระสวดจบ พญากวางก็ลืมตาขึ้นนึกว่า สาธุยินดีซึ่งธรรมะของพระพุทธเจ้า เมื่อรู้ตัวก็เป็นเทวบุตรอยู่ชั้นฟ้าดาวดึงษา อยู่ปราสาทวิมานทองคำสูง ๑๒ โยชน์ กว้าง ๑๒ โยชน์ อยู่เสวยบุญเป็นเทวบุตร ตายจากชั้นฟ้าก็ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ พยายามสร้างบารมีอยู่จนกว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในภายหน้า

ในขณะที่หมอพรานยิงกวางตาย พระมหาเถระเจ้าก็เดินไปดูกวางตัวนั้นและทักว่า “หมอพรานทั้งหลาย ยิงกวางตัวนี้ทำไม กวางตัวนี้ไม่ใช่กวางธรรมดาสามัญ เป็นพญากวางกำลังฟังเทศน์อยู่ เจ้าก็มายิงมันตาย เดี๋ยวนี้พญากวางก็ไปเกิดเป็นเทวบุตรอยู่ชั้นฟ้าดาวดึงษาโน้นแล้ว พวกเจ้าทั้งหลายนี้ ทำไมไม่มีความเมตตา ยิงกวางตัวนี้ตายไป”

ส่วนพวกพรานทั้งหลายก็นมัสการกราบไหว้พระมหาเถระเจ้า และขอให้พระมหาเถระเจ้ายกโทษแก่พวกเขาทั้งหลาย เพราะความไม่รู้ โดยบอกว่า “ข้าพเจ้าทั้งหลายก็เป็นหมอพรานต้องล่าสัตว์ เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องอยู่อย่างนี้แหละ”

พระมหาเถระเจ้าก็สวดเรื่องบาปกรรมทั้งหลายให้หมอพรานฟัง แล้วก็ให้หมอพรานทั้งหลายรับศีล ๕ พวกพรานทั้งหลายก็กลัวบาปกลัวโทษกลัวกรรม และตั้งใจว่าจะทิ้งธนูเสียหมดทุกคน พร้อมขอรับเอาศีล ๕ กับพระมหาเถระเจ้า แล้วก็ขออนุญาตพระมหาเถระเจ้าว่า

“ข้าพเจ้าได้ยิงกวางตายเสียแล้ว ข้าพเจ้าขออนุญาตเอาชิ้นเนื้อกวางไปกิน แต่ว่าต่อไปจะไม่ทำอีก”


พระมหาเถระเจ้าก็ว่า “ตามใจเถอะ”

หมอพรานทั้งหลายก็ปาดเนื้อกวางตัวนั้นออกเป็นชิ้นๆ แล้วก็ปัน (แบ่ง) ให้แก่พรรคพวกเดียวกันคนละชิ้น ส่วนเขากวางและกระดูกกวาง พระมหาเถระเจ้าก็ขอเอาไปบรรจุไว้ในอุโมงค์หลุมลึก ๔ ศอก ที่ข้างวัดนั้น ต่อมาวัดนั้นก็เรียกว่า วัดกวางคำ จนถึงปัจจุบัน (ปัจจุบันนี้เรียกว่า
วัดพระธาตุดอยกวางคำ)

ส่วนชิ้นเนื้อพญากวางที่หมอพรานหาบไป ต่างคนต่างคิดว่าเราจะทำอย่างไร กวางนี้เขาฟังเทศน์ เราจะกินเนื้อเขาก็จะไม่ดี เราเอาบรรจุรวมไว้เป็นจุดเป็นกองเสียในเนินดอยที่นี่ดีกว่า ดังนั้นพวกหมอพรานต่างคนต่างเอาเนื้อชิ้นเนื้อกวางกองไว้ ชิ้นเนื้อนั้นก็เป็นหินมาจนถึงทุกวันนี้

บริเวณบนจอมเขานั้น หมอพรานทั้งหลายก็ขอพระมหาเถระเจ้าให้ประทับรอยพระบาทไว้ พระมหาเถระเจ้าก็เหยียบรอยพระบาทไว้ให้พวกพรานทั้งหลาย ได้ไหว้และสักการบูชาต่อไปจนถึงในยุคปัจจุบันนี้


-----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : พระอ่อนแก้ว ชัยยะเสโน, พระพงษ์ศักดิ์ คัมภีรธัมโม และคุณธนกร สุริยนต์. (๒๕๔๔, ๑ พฤษภาคม). ชัยวงศาปูชนียาลัย (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. สัมพันธ์พาณิชย์, หน้า ๒๖-๒๗.)

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 03:22 , Processed in 0.043010 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.