แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 7107|ตอบ: 11
go

พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ ม.๕ ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

1.JPG



พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ

ม.๕ ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 31 มกราคม 2566)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4558.jpg



การเดินทางไปพุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ  


ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ (สายลี้-ลำพูน) เข้าเขตอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน ผ่านอำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง จนถึงอำเภอลี้ ระยะทาง ๑๐๕ กิโลเมตร จนถึงประมาณกิโลเมตรที่ ๔๖-๔๗ หรือแยกทางเข้าวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม แล้วเลี้ยวแยกขวาเข้าถนนทางหลวงชนบท ลพ.๓๐๑๗



IMG_4963.JPG



IMG_4961.JPG



ไปตามถนนทางหลวงชนบท ลพ.๓๐๑๗ เส้นทางเดียวกันกับไปองค์การบริหารส่วนตำบลนาทราย อำเภอลี้ โดยห่างจากอำเภอลี้ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดลำพูน ๑๒๐ กิโลเมตร และมุ่งหน้าสู่บ้านแม่หว่างต้นผาง หมู่ที่ ๕ ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน



IMG_4970.JPG



ทางเข้า พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ ระยะทาง ๒ กิโลเมตร



IMG_4974.JPG



ป้ายพุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ



IMG_4977.JPG



IMG_4981.JPG



ถนนอบจ.ลพ.๕๖๐๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาทราย หมู่ที่ ๕ ซอย ๑ เข้าสู่พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


IMG_4986.JPG



IMG_4988.JPG




IMG_4991.JPG



IMG_5009.JPG



IMG_5012.JPG



ไปตามถนนอบจ.ลพ.๕๖๐๕ และเลี้ยวแยกขวา ไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึงพุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5016.JPG



พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ ตั้งอยู่ที่บ้านแม่หว่างต้นผาง หมู่ที่ ๕ ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

สร้างเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ โดยมีพระอาจารย์ป่านิกร ชยฺยเสโน วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย อ.สามเงา จ.ตาก เป็นประธาน

ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๘) พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะมีพระภิกษุประจำ ๑ รูป คือ พระสมหมาย เตชปญฺโญ


IMG_5019.JPG



DSC01418.JPG



ที่มาของชื่อ พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ

ตั้งตามชื่อพระพุทธบาทพญานกแควะ ด้วยเหตุสถานที่แห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

และเป็นสถานที่อาศัยอยู่ของนกแควะจำนวนมาก พญานกหรือผู้นำนกหลายร้อยตัวมาจิกกินน้ำและพักอาศัยอยู่สถานที่แห่งนี้ประมาณ ๓ เดือน ในช่วงเข้าพรรษา และพอออกพรรษานกพวกนี้ก็จะบินหนีไป และพอเข้าพรรษาหน้าก็จะบินกลับมาพักอาศัยอยู่สถานที่นี้อีก ๓ เดือน เหมือนเดิมเป็นประจำทุกปีในสมัยก่อน ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "พระพุทธบาทนกแควะ" จนถึงปัจจุบันนี้


IMG_5014.jpg



IMG_5022.JPG



ซุ้มทางเข้า พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


IMG_5025.JPG



รูปปั้นสิงโต ประดับซุ้มทางเข้า พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5041.JPG



IMG_5044.JPG



DSC01421.JPG



วิหารครอบรอยพระพุทธบาท พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


IMG_5043.jpg



IMG_5134.1.JPG



ประวัติการสร้างวิหารครอบรอยพระพุทธบาทและพระธาตุเจดีย์  

พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


...บัดนี้หมายมี พระอาจารย์ป่านิกร ชัยยะเสโน เป็นเก๊าเป็นประธาน พร้อมด้วย อันเต๋วะศิษย์ โยม และศรัทธาบ้านแม่หว่างต้นผาง ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ทันใจและวิหารครอบรอยพระพุทธบาท เมื่อวันพุธที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ เดือน ๖ เหนือ ออก ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๗๑ ปีกัดเป้า



DSC01422.JPG



ภายในวิหารครอบรอยพระพุทธบาท พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ



IMG_5118.JPG



พระประธาน ประดิษฐานภายในวิหารครอบรอยพระพุทธบาท พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


IMG_5113.JPG



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน) ประดิษฐานภายในวิหารครอบรอยพระพุทธบาท พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


IMG_5200.JPG



ภาพวาดพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน) ภายในวิหารครอบรอยพระพุทธบาท พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


IMG_5252.JPG



IMG_5255.JPG



ฆ้อง พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ

คณะสายบุญทุ่งดอกบัวตอง ถวายเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5183.JPG



IMG_5167.JPG



DSC01425.JPG



รอยพระพุทธบาทพญานกแควะ ประดิษฐานภายในวิหารครอบรอยพระพุทธบาท พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ



IMG_5120.jpg



IMG_5160.JPG



IMG_5189.JPG



IMG_5241.JPG



IMG_5149.JPG



IMG_5141.JPG



รอยพระพุทธบาทพญานกแควะ พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ

เป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้ายของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ หรือองค์ปัจจุบัน) ค้นพบโดยชาวบ้านแม่หว่างต้นผางประมาณหลายร้อยปีมาแล้ว

ครั้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๓ ชาวบ้านตำบลนาทรายได้กราบอาราธนานิมนต์พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน) มาดูรอยพระพุทธบาท เมื่อท่านมาถึงได้ตั้งจิตอธิษฐาน (วาไม้) พบว่า รอยพระพุทธบาทนี้เป็นรอยของพระพุทธเจ้าจริง

ปัจจุบันมีการตบแต่งที่นิ้วพระบาทไปแล้วและได้ทาสีทองทับ ส่วนฝ่าพระบาทและส้นพระบาทชำรุดเสียหายมาก เนื่องจากในสมัยก่อนชาวบ้านบางคนไม่เคารพนับถือและไม่เชื่อว่ารอยพระพุทธบาทนี้เป็นรอยของพระพุทธเจ้าจริง เมื่อเวลามาทำไร่ทำนาบริเวณนี้ก็จะมาลับมีดบนก้อนหินรอยพระพุทธบาท จึงทำให้รอยพระพุทธบาทได้รับความเสียหาย มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก



IMG_5230.JPG



IMG_5248.JPG



คำนมัสการรอยพระพุทธบาทพญานกแควะ
(กล่าวนะโม ๓ จบ)
โยน๊ะก๊ะ ปุเร ป๋าต๊ะวะรัง อะหังวันทามิ สัพพะทา เยจ๊ะบาทา อะตีจะจา เยจ๊ะบาทา อานาคะต๋า ปัจจุปันนา จ๊ะเยจ๊ะบาทา อะหังวันทามิ สัพพะทา



IMG_5156.JPG



IMG_5381.1.JPG



ประวัติพระพุทธบาทพญานกแควะ



ณ บ้านแม่หว่างต้นผาง หมู่ที่ ๕ ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สมัยก่อนประมาณหลายร้อยปีมาแล้ว มีชาวบ้านแม่หว่างต้นผางได้เดินทางไปไร่ไปนาตามปกติ ก็บังเอิญเห็นรอยคล้ายพระพุทธบาท อยู่ในป่าดงดิบซึ่งมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านก็สังเกตเห็นว่า นกแควะจะมาจิกกินน้ำและพักอยู่ตรงนั้นประมาณ ๓ เดือน ซึ่งเป็นช่วงเข้าพรรษาพอดี และพอออกพรรษานกพวกนี้ก็จะหนีไป ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจของชาวบ้านที่พบเห็น

และชาวบ้านจึงเชื่อว่าสถานที่แห่งนี้ น่าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีหินคล้ายรอยพระพุทธบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็มีนกมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และพวกชาวบ้านก็เลยตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า “พระพุทธบาทนกแควะ”

และเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๐๓ ท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา แห่งวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ซึ่งตอนนั้นได้นิมนต์ท่านครูบามาสร้างฝายหลวงและเสาอินทขิล ณ ที่บริเวณบ้านแม่หว่างลุ่ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งบริเวณนั้นจะมีแม่น้ำหลักๆ ๓ สายมารวมกัน ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลำห้วยแม่แต๊ะ

ซึ่งตอนนั้นได้มีชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่ได้เล่าให้ท่านครูบาฟังว่า มีรอยพระพุทธบาทที่บนเขาหมู่บ้านแม่หว่างต้นผาง และชาวบ้านได้กราบอาราธนานิมนต์ท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาไปดูรอยพระพุทธบาทด้วย ครั้งนี้ชาวบ้านก็หามแห่ท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาไปเป็นขบวนเต็มป่าประมาณ ๑๐๐ กว่าคน ซึ่งมีทั้งคนหนุ่มคนเฒ่า  

พอไปถึงท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาท่านก็เดินรอบรอยพระพุทธบาท ท่านก็ยืนตั้งจิตอธิษฐาน แล้วเอาไม้มาอธิษฐานว่า ถ้าเป็นรอยพระพุทธบาทจริง ขอให้ไม้ที่ท่านเอามาถวายนั้นให้ยาวออกไป แล้วท่านก็เอาไม้ไปแตะที่รอยพระพุทธบาท ปรากฏว่าไม้ที่ท่านเอามาถวายนั้นยาวประมาณ ๑ นิ้ว

ชาวบ้านที่เห็นก็ตะลึงว่ารอยพระพุทธบาทนี้เป็นรอยของพระพุทธเจ้าจริง ซึ่งในวันนั้นท่านครูบาก็พาลูกศิษย์ อุบาสก อุบาสิกา ร่วมสวดมนต์ด้วย และท่านครูบาได้ปรารภกับชาวบ้านว่า ให้ชาวบ้านช่วยกันดูแล เพราะเป็นรอยของพระพุทธเจ้าจริง

และชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่ก็กราบอาราธนานิมนต์ให้ท่านครูบามาช่วยสร้างพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทให้ด้วย ซึ่งท่านครูบาก็ตอบว่า ไม่ใช่หน้าที่ของกู วันข้างหน้าจะมีผู้เป็นเจ้าของช่วยกันสร้างให้

ผู้เฒ่าที่เดินทางไปกับท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาที่มีชีวิตและเสียชีวิตแล้ว (ตามที่จำได้)

๑. คุณพ่อพร ลอดวิชัย บ้านแม่หว่างต้นผาง อายุ ๘๙ ปี มีชีวิตอยู่

๒. คุณพ่ออุ้ยฟู ไชยปัญญา บ้านแม่หว่างต้นผาง อายุ ๗๙ ปี มีชีวิตอยู่

๓. คุณพ่อหนานป้อ จอมเมา บ้านแม่หว่างต้นผาง อายุ ๗๖ ปี มีชีวิตอยู่

๔. คุณพ่อต่อม คำหนิ้ว บ้านแม่หว่างต้นผาง อายุ ๗๒ ปี มีชีวิตอยู่

๕. คุณพ่อศรีนวล คุณหงส์ บ้านแม่หว่างต้นผาง เสียชีวิตแล้ว

๖. คุณพ่อหนานทน สานา บ้านแม่หว่างต้นผาง เสียชีวิตแล้ว

๗. คุณพ่อบัว จี๋ทา บ้านแม่หว่างต้นผาง เสียชีวิตแล้ว

นอกจากนั้นคนเฒ่าคนแก่จำไม่ได้เพราะนานมาแล้ว

แล้วต่อมาอีก ๑๐ ปี ประมาณ พ.ศ.๒๕๑๓ (ตุ๊ปั๋น วิริยะธมฺโม) ลุงหนานปั๋น เมืองตาแก้ว ปัจจุบันอายุ ๗๔ ปี ซึ่งตอนนั้นท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดแม่หว่างต้นผาง ซึ่งท่านเป็นคนบ้านฮั่ว ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดแม่หว่างต้นผางได้ ๒ พรรษา ก็ได้ยินชาวบ้านเล่ากันว่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่ที่ป่าท้ายบ้านทางทิศตะวันตก จึงได้กราบอาราธนานิมนต์ท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาไปดูรอยพระพุทธบาทนกแควะอีกครั้งหนึ่ง

ซึ่งในตอนนั้น ได้ร่วมเดินทางกับคนเฒ่าคนแก่ประมาณ ๔-๕ คน (จำชื่อไม่ได้) พอไปถึงท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาก็ตั้งจิตอธิษฐานอีกครั้งหนึ่งว่า ถ้าเป็นรอยพระพุทธบาทจริง ขอให้ไม้ที่ท่านถวายนั้นยาวออกไปอีก ปรากฏว่าไม้ที่ท่านถวายนั้นยาวออกไปอีก เท่าปี พ.ศ.๒๕๐๓

แล้วท่านก็พูดกับตุ๊ปั๋นและชาวบ้านที่ไปว่า ท่านไม่ได้มาสร้างหรอก ตุ๊ปั๋นนั่นแหละที่จะมาฟื้นฟูรอยพระพุทธบาทนี้ พอไม่นานนัก (ตุ๊ปั๋น วิริยะธมฺโม) ก็ลาสิกขาก่อน ก็เลยไม่ได้สร้าง ชาวบ้านก็เลยไม่มีผู้นำที่จะไปดูแลเอาใจใส่ รอยพระพุทธบาททรุดโทรมไปมาก

และก่อนที่ท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาท่านยังไม่ได้มรณภาพนั้น ท่านได้สั่งลูกศิษย์ลูกหาว่า “มีรอยพระพุทธบาทนกแควะที่บ้านแม่หว่างต้นผางให้พากันไปสร้างไว้สักการบูชาสืบไป”

พอดีเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ โดยการนำของท่าพระป่านิกร ชยฺยเสโน (ชัยยะเสโน) เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย พร้อมด้วย

๑. หลวงพ่อธรรม อุปนนฺโท (รักษาการเจ้าอาวาสวัดแม่หว่างต้นผาง)

๒. พระอาจารย์ติ๊บ เจ้าอาวาสวัดนาทราย

๓. พระสมหมาย เตชปญฺโญ

และศรัทธาญาติโยมที่ร่วมเดินทางด้วย

๑. คุณพ่อหนานป้อ จอมเมา

๒. คุณพ่อแก้ว ปันยะ

๓. คุณพ่อต่อม คำหนิ้ว

๔. คุณผดุงเกียรติ ด้วงอ้าย

๕. คุณพ่อน้อย บุญตัน

ได้พากันไปดูรอยพระพุทธบาทนกแควะที่สภาพเก่าและเสื่อมโทรมไปมาก ท่านพระป่านิกร ชัยยะเสโน ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์ของท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ท่านมีบารมีมาก ท่านก็ได้ทำสมาธิตั้งจิตอธิษฐานเหมือนกับท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาว่า ถ้าเป็นรอยพระพุทธบาทจริง ขอให้ไม้ที่ท่านถวายนั้นยาวออกไป และปรากฏว่าไม้ที่ท่านถวายนั้นก็ยาวออกไปจริงๆ

ท่านจึงได้บอกกับลูกศิษย์ลูกหาที่ร่วมเดินทางว่าจะสร้างพระวิหารครอบรอยพระพุทธบาทตามที่ท่านครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาได้สั่งไว้ เพื่อให้ประชาชนได้ไหว้สักการบูชาและสืบสานตามรอยพระพุทธบาทต่อไป

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เอกสารประวัติและรูปภาพโบราณพระพุทธบาทนกแควะ อ้างอิง ตำนานรอยพระพุทธบาทนกแควะ จากหนังสือตามรอยพระพุทธบาท (เล่ม ๑) หน้า ๒๕ โดยพระชัยวัฒน์ ตรีโท ของรอยพระพุทธบาทในจังหวัดลำพูน ข้อที่ ๑๓)


IMG_5409.JPG



DSC01469.JPG



พระสมหมาย เตชปญฺโญ  

พระภิกษุสงฆ์ผู้ดูแลพุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5097.JPG



IMG_5070.JPG



IMG_5092.JPG



IMG_5095.JPG



IMG_5270.JPG



IMG_5103.JPG



พระธาตุเจดีย์ทันใจ ประดิษฐานด้านหลังวิหารครอบรอยพระพุทธบาท พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ



IMG_5059.JPG



IMG_5076.JPG



IMG_5078.JPG



IMG_5073.JPG



พระธาตุเจดีย์ทันใจ พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ

ภายในประดิษฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุไว้ สร้างโดย พระอาจารย์ป่านิกร ชัยยะเสโน พร้อมคณะศิษยานุศิษย์และศรัทธาบ้านแม่หว่างต้นผาง เมื่อวันพุธที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓


DSC01433.JPG



คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(ว่านะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5284.JPG



DSC01437.JPG



IMG_5294.JPG



วิหารจตุรมุข พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


กำลังก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ประจำทั้ง ๔ ทิศ



IMG_5303.JPG



IMG_5305.JPG



IMG_5307.JPG



IMG_5302.JPG



พระพุทธรูปปางมารวิชัย ๔ องค์ ประดิษฐานภายในวิหารจตุรมุข พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5325.JPG



DSC01452.JPG



พระพุทธรูปปางนาคปรก พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


IMG_5104.JPG



IMG_5250.JPG



หอพระอุปคุต พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


IMG_5066.JPG



IMG_5257.JPG



เสื้อวัด พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


IMG_5258.JPG



ที่ตั้งเครื่องสักการบูชาพระฤาษี ๖ องค์ พุทธสถาน
พระพุทธบาทพญานกแควะ

รายนามพระฤาษี ๖ องค์ (เรียงจากซ้าย-ขวามือ) คือ เจ้าสุพรหมฤาษี เจ้าฤาษีสัตตะเขางาม เจ้าฤาษีดอยแลใสสอง เจ้าฤาษีผาช่อง เจ้าฤาษีสุเทวะ เจ้าฤาษีพุทธลิขิตตะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01439.JPG



IMG_5308.JPG



IMG_5317.JPG



ศาลาปฏิบัติธรรม พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


DSC01451.JPG



IMG_5350.JPG



IMG_5372.JPG



พระประธานและพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในศาลาปฏิบัติธรรม พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ



IMG_5358.JPG



IMG_5360.JPG



ผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ ประดิษฐานภายในศาลาปฏิบัติธรรม พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ



DSC01449.JPG



IMG_5353.jpg



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย) และพระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี (วัดพระพุทธบาทผาหนาม อ.ลี้ จ.ลำพูน) (เรียงจากขวา-ซ้ายมือ) ประดิษฐานภายในศาลาปฏิบัติธรรม พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ



IMG_5376.JPG



รูปภาพพระครูบาบุญศรี อภิปุณฺโณ (วัดพระมหาบรมธาตุเจ้าดอยเกิ้ง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่) ภายในศาลาปฏิบัติธรรม พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


IMG_5375.JPG


รูปภาพพระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร ภายในศาลาปฏิบัติธรรม พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5330.JPG



IMG_5331.JPG



ศาลา พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


(หมายเหตุ : ห้ามผู้หญิงเข้าศาลา)


IMG_5010.JPG



IMG_5031.JPG



IMG_5028.JPG



ศาลาอเนกประสงค์ พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


IMG_5326.JPG



ศาลากลางสระน้ำ พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ



IMG_5312.JPG



IMG_5062.JPG



ศาลาพักร้อน พุทธสถานพระพุทธบาทพญานกแควะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 03:51 , Processed in 0.055827 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.