แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 7979|ตอบ: 11
go

พระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (พระพุทธบาทน้ำจาง) อุทยานแห่งชาติแม่ปิง อ.ลี้ จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC01256.JPG


พระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (พระพุทธบาทน้ำจาง)

อุทยานแห่งชาติแม่ปิง อ.ลี้ จ.ลำพูน

[รอยพระพุทธบาทเกือกแก้ว ๔ รอย]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 8 กุมภาพันธ์ 2566)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3631.JPG



บ่อน้ำทิพย์ พระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (พระพุทธบาทน้ำจาง) อุทยานแห่งชาติแม่ปิง



IMG_3617.JPG



IMG_3402.JPG



IMG_3383.JPG



IMG_3380.JPG



DSC01224.JPG



DSC01205.JPG



การเดินทางมากราบนมัสการพระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (พระพุทธบาทน้ำจาง) อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ขอจบการเดินทางด้วยภาพบรรยากาศภายในหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป. ๙ (ผาดำ-ผาแดง) สวัสดีค่ะ


--------------------


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • พระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (พระพุทธบาทน้ำจาง) อุทยานแห่งชาติแม่ปิง อ.ลี้ จ.ลำพูน  
        • คุณอมรเทพ มาติ เจ้าหน้าที่อุทยานประจำหน่วยพิทักษ์ฯ ที่ ๙ (ผาดำ-ผาแดง)
        • เจ้าหน้าที่
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
        
พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.
        • ประวัติศาสตร์เมืองเถินประตูสู่ล้านนา. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://thoenpark.com/ประวัติศาสตร์-เมืองเถิน/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘)
        • สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ (EFEO) และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (SAC). ตำนานเมืองเถิน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.efeo.fr/lanna_manuscripts/node/267. (วันที่ค้นข้อมูล : ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘)


**หมายเหตุ :


ท่านใดประสงค์จะนำรูปภาพหรือเนื้อหาบทความไปใช้ประโยชน์ที่อื่น สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากข้าพเจ้าก่อน


และได้โปรดกรุณาให้เครดิตอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มา : เว็บแดนนิพพาน และกรุณาอย่าลบหรือครอบตัดเครดิตแหล่งที่มาบนรูปภาพ “Photo by Dannipparn.com”


(ป.ล. หากว่ากระทู้บทความนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยในความผิดพลาดต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปไว้ ณ ที่นี้ด้วย และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3658.JPG



ตำนานรอยพระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง


จาก ตำนานเมืองสังฆะเติ๋น



เป็นเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวถึงความเป็นมาที่สำคัญของ “เมืองเถิน” ซึ่งตำนานนี้เก็บไว้ที่วัดพระบาทวังตวง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง กล่าวถึงพระอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระยาวัว “อุสุภราช” ที่กำเนิดแก่แม่วัวและพ่อวัวแดง ที่อาศัยอยู่ ณ เชิงเขาด้านตะวันออกของแม่น้ำวัง

เมื่อตอนที่จะประสูติพระยาวัวนั้น แม่วัวทรงครรภ์ได้สิบเดือน เดินทางรอนแรมมาสู่ป่าร่มรื่นที่อยู่ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำวัง แต่พระยาวัวมีกำลังน้อย จึงค่อยๆ เดินไปอย่างช้าๆ พักแรมตามที่ต่างๆ มาจนถึงบริเวณมีน้ำสะบัด ณ เชิงดอยแห่งหนึ่ง ได้ขึ้นไปพักแรมบนยอดดอยนั้น พอตกกลางคืน พระยานาคสองตัวที่อยู่เชิงดอยแสดงอิทธิฤทธิ์ให้เกิดเสียงกัมปนาทเขาถล่ม แม่วัวจึงพาพระยาวัวหนีไปอยู่อโยธยา

ต่อมาเมื่อพระยาวัวได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ได้เสด็จมายังทุ่งที่เรียกว่า “ทุ่งยังแล” ประทับอยู่ ณ พระแท่น พร้อมด้วยชาวอโยธยามากมาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยแต่อดีตชาติ เป็นป่าที่อุดมไปด้วยสัตว์ ทรงปรารถนาที่จะประดิษฐานพระเกศาธาตุ ณ ตรงนี้

ในเวลานั้นมีพระยายักษ์ใหญ่ ๓ ตน เฝ้ารักษาขุมแก้ว เงิน คำ ในป่านั้น ตนหนึ่งรักษาขุมคำด้านทิศตะวันออก อีกตนหนึ่งรักษาขุมแก้วด้านทิศเหนือ อีกตนหนึ่งรักษาขุมเงินด้านทิศตะวันตก พระยายักษ์ทั้งสามเป็นสหายกัน ไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ เมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมา ก็พากันมาฟังพระธรรมเทศนา

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นทางเหนือข้ามลำน้ำเรียบสู่ที่ประชุมอันเป็นบริเวณที่มีลำน้ำสบกัน ทรงเข้านิโรธสมาบัติ โดยมีพระอรหันต์สาวกรวมอยู่ ๕๐๐ องค์ พระอานนท์ได้ทูลขอประดิษฐานเกศาธาตุ มีพระแก้วสีขาว เขียว เหลือง แดง หม่น และริ้ว ทางอโยธยารับด้วยกระบอกไม้ลวกสามกระบอก

ส่วนพระยายักษ์ทั้งสาม ซึ่งเฝ้าปรนนิบัติอยู่ก็ร่ายอาสนะด้วยดอกไม้อันสวยงาม นำพระรูปแก้ว พระรูปเงิน และพระรูปคำ การรองรับของพระธาตุได้สร้างพระอุโมงค์บรรจุพระธาตุ และสร้างพระเจดีย์ไว้หลายแห่ง เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จสู่สถานที่แม่วังที่แม่วัวเคยพาพระยาวัวมาแวะพัก พระสานุศิษย์ก็อัญเชิญพระธาตุอุ้มร่องมาประดิษฐานตรงนั้น จึงชื่อว่า “อุ้มรอ” หรือ “อุ้มลอง” จนมาถึงปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น “อุ้มลอง”

อีกสถานที่แห่งหนึ่งที่พระยาวัวเคยนอน ก็เรียกว่า ม่อนวัวนอน ส่วนสถานที่พระยานาคสองตัวเคยแสดงอภินิหาร ทำให้พระยาวัวและแม่วัวต้องหนีไปนั้น พระยานาคทั้งสองเกรงกลัวบารมีก็แต่งดอกไม้มาถวาย ณ สถานที่นั้น สถานที่ที่แม่วัวและลูกวัวเคยตื่นต้อง (ต้อง หมายถึง ขยับเขยื้อนตัวหรือดิ้น เรียกว่า วังตวง)

อีกสถานที่หนึ่งอันเป็นสถานที่แม่วัวเข้ามากินน้ำเรียกว่า แม่ปิ๊ก และวกย้อนกลับมาพักนอน ณ ที่เดิม (คำว่า "กลับ" ตรงกับภาษาท้องถิ่นว่า "ปิ๊ก" ต่อมาเพี้ยนเป็น "พริก" ซึ่งต่อมาเรียกว่า แม่พริก เป็นชื่อของ อ.แม่พริก จ.ลำปางในปัจจุบันนี้)


ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทางเหนือสู่บ้านสระ ๗ หลับ มีพวกลัวะมาเฝ้าอุปัฏฐาก สถานที่นั้นจึงเรียกว่า แพะน้อยป่าแดง ผากองสุมแดง เมืองเกาะลัวะ ทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้ที่พระบาทวังตวง และพระบาทเจ้าแพะน้อยป่าแดง แล้วเสด็จไปยังหริภุญไชยต่อไป

ส่วนบริเวณป่าไม้อันเป็นที่ประสูติและสัมพันธ์กับการนอนแรมของพระยาวัวนั้น ดังกล่าวได้มีการทำนายว่า ต่อไปจักเจริญรุ่งเรืองด้วยผู้คนมากมาย ย่อมมีข้อเบาะแว้งต่างๆ ต้องอาศัยพระสงฆ์คอยตักเตือน เรียกว่า สังฆเต๋อน หรือเมืองเติ๋นต่อมา (เมืองเถินในปัจจุบันนี้)


--------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ประวัติศาสตร์เมืองเถินประตูสู่ล้านนา. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :http://thoenpark.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%99/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘))


IMG_3789.JPG



ตำนานรอยพระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง


จาก ตอนท้ายตำนานเมืองเถิน



โบราณต่ำนวายนามเมืองสังฆเติน วัดแม่วะหลวง ต.แม่วะ อ.เถิน จ.ลำปาง แปลโดย ปู่หนานหวัน

“a. นโม ตสฺสตฺถุ ฯ ตสฺส ภควา อันว่าพระพุทธเจ้า ชาติปางเมื่อได้เกิดมา โคนอุสุภราชา เป็นพระยางัวอุสุภราช ปพฺพเตน อสยํ อันอาศัยซึ่งในม่อนดอยอัน ๑ มโนรมฺเม เป็นที่อันถูกเนื้อพึงใจม่วนเพราะยิ่งนัก ปางนั้นพระก็จึงเสด็จมาจากทุ่งยางมารอดข้างแม่น้ำวัง พระก็มายั้งอยู่ม่อนดอยอัน ๑ มีทิศหนวันออกข้างแม่น้ำอันนั้น พระก็มาปุจฉาเจียรจากับด้วยมหาอานนทเถรเจ้าว่า ดูกรอานนท์ ภายข้างแม่น้ำทั้งวันตกด้านเหนือยังมีดงป่าอัน ๑ ราบเพียงดีงามนัก…

z. …แลนักบวชหญิงชายทั้งหลายอันเกิดมาร่วมศาสนาพระพุทธเจ้า เพื่อหื้อได้พํ่าเพ็งทานศีลภาวนาไปไจ้ๆ ตามสติกำลังแห่งตน บ่ควรดีประมาทลาสาแท้แล ตามจารีตประเพณีแห่งมหาเถรเจ้าตนชื่อว่า มังคลาจารย์เจ้า กล่าวไว้ว่า ครั้นใคร่หื้อวุฒิจำเริญแก่บ้านเมืองที่นี้ จงเอากันปฏิบัติรักษายังพระธาตุเจ้าทั้ง ๓ ดวง ทั้งพระบาทวังตวงแลพระบาทแพะน้อยป่าแดง ตามประเพณีอย่าได้ขาดเทอะ ก็เที่ยงจักสมริทธีดั่งใจแท้สงสัยชะแล…”

------------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ (EFEO) และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (SAC). ตำนานเมืองเถิน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.efeo.fr/lanna_manuscripts/node/267 . (วันที่ค้นข้อมูล : ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘))

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01254.JPG



DSC01246.JPG



IMG_3705.JPG



IMG_3609.JPG



IMG_3622.JPG



DSC01247.JPG



IMG_3554.jpg



DSC01244.JPG



DSC01248.JPG



IMG_3654.JPG



DSC01249.JPG



IMG_3649.JPG



IMG_3730.JPG



รอยพระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (รอยพระพุทธบาทน้ำจาง)
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง

เป็นรอยพระพุทธบาทเกือกแก้วเบื้องขวา ๔ รอย ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ปรากฏรอยนิ้ว ประทับบนเนินหินขนาดใหญ่ เหยียบประทับอยู่คนละแห่ง ไม่ซ้อนกัน มีลักษณะของพระบาทขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ส้นพระบาทและขอบรอยฝ่าพระบาทที่เหยียบลงไปมองเห็นได้ชัดเจน เป็นรอยประทับตามธรรมชาติแบบเดิมๆ

ซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาทที่ชาวแม่พริกมีความเลื่อมใสศรัทธามาก แม้จะเดินทางยากลำบากเพียงใด พระภิกษุสงฆ์และคณะศรัทธาชาวบ้านตำบลแม่พริก อ.แม่พริก จ.ลำปาง ก็มากราบไหว้และมีงานประเพณีสรงน้ำรอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี


4.JPG



ประวัติรอยพระพุทธบาทน้ำจาง

อุทยานแห่งชาติแม่ปิง



ตามตำนานเมืองเถินเล่าไว้ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับรอยพระพุทธบาทวังตวง อ.แม่พริก แล้วจึงเสด็จไปทางทิศตะวันตกจนถึงป่าแดง ซึ่งมีบ้านของชาวละว้าอยู่ ๗ หลังคาเรือน พวกละว้าขอพระเกศาธาตุจากพระองค์ แต่พระองค์ไม่ให้ เพราะกลัวว่าจะรักษาไว้ไม่ได้ จึงประทับรอยพระพุทธบาทไว้บนเนินหิน (พระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ในป่าห้วยแม่พริก ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีทั้งรอยไปและรอยกลับ ได้แก่ รอยพระบาทน้ำจาง นั่นเอง)

ตามตำนานเขาบอกว่า รอยไปและรอยกลับ แต่เมื่อผู้เขียน (พระชัยวัฒน์ อชิโต วัดท่าซุง) เดินทางเข้าไปถึง จึงพบว่า เป็นรอยพระพุทธบาทสี่รอย ที่พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกกุสันโธ เป็นต้น ประทับไว้ในลักษณะ พระบาทเกือกแก้วเบื้องขวา ทั้ง ๔ รอย ซึ่งปรากฏว่าเป็นรอยเดิมๆ ยังไม่มีการตกแต่งใดๆ ทั้งสิ้น


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๑ มกราคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๒๙๖-๒๙๗.)


IMG_3767.JPG



IMG_3990.JPG



คำนมัสการพระพุทธบาท
(ว่านะโม ๓ จบ) ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะปาทัง ตัง ปาทะ วะลัญชะนะ มะหัง สิระสา นะมามิฯ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3479.1.JPG



จากนั้นเดินตรงไปตามทาง


DSC01237.JPG



เจอลำห้วย (ตอนทางคณะไปลำห้วยไม่มีน้ำ) ให้เดินข้ามลำห้วย



DSC01238.JPG



IMG_3517.JPG



จากนั้นเดินเท้าเข้าไปอีกไม่ไกล ประมาณ ๕ นาที จะเจอศาลาครอบรอยพระพุทธบาทอยู่ท่ามกลางป่าเขา


IMG_3680.JPG


IMG_3639.JPG



ศาลาครอบรอยพระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (รอยพระพุทธบาทน้ำจาง) อุทยานแห่งชาติแม่ปิง


DSC01260.JPG



IMG_3529.JPG



DSC01258.JPG



ป้ายรอยพระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (พระพุทธบาทน้ำจาง)

พระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (พระพุทธบาทน้ำจาง) ประดิษฐานอยู่ในเขตหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป. ๙ (ผาดำ-ผาแดง) อุทยานแห่งชาติแม่ปิง อ.ลี้ จ.ลำพูน ถ้าเข้าทางอุทยานฯ ทางด้านนี้เขาเรียกว่า "รอยพระพุทธบาทน้ำจาง"

และอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติแม่พริก ท้องที่บ้านห้วยขี้นก-บ้านปางยาว ต.แม่พริก อ.แม่พริก จ.ลำปาง ถ้าใช้เส้นทางเข้าทาง อ.แม่พริก จ.ลำปาง จะลำบากมากกว่านี้ เพราะต้องเดินข้ามเขาสูงขึ้นมา รอยพระพุทธบาทนี้ ชาวแม่พริกเขาเรียกกันว่า "รอยพระพุทธบาทขุนแม่พริก"


(หมายเหตุ: คำว่า "แพะ" (ภาษาเหนือ) หมายถึง ป่าละเมาะ และคำว่า "หน้อย" (การออกเสียงในภาษาเหนือ) หมายถึง น้อย)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3371.JPG



เส้นทางไปพระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (พระพุทธบาทน้ำจาง)


ระยะทางห่างจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์ฯ ที่ ๙ (ผาดำ-ผาแดง) ประมาณ ๒-๓ กิโลเมตร และใช้เวลาในการเดินทางด้วยเท้าประมาณ ๔๐ นาที



IMG_3423.JPG



จากที่ทำการหน่วยพิทักษ์ฯ ที่ ๙ (ผาดำ-ผาแดง) เดินอ้อมไปด้านหลังที่ทำการหน่วย เดินเข้าป่าและเลี้ยวแยกขวา



DSC01233.JPG



จากนั้นเดินตรงไปตามทาง จนเจอขอนไม้ใหญ่ ให้เดินข้ามขอนไม้



DSC01234.JPG



และเดินเลี้ยวแยกซ้าย (ตามลูกศรชี้)


IMG_3446.1.JPG



จากนั้นเดินตรงไปตามทาง



IMG_3473.JPG



เจอทางแยก ให้เดินเลี้ยวขวา (ตามลูกศรชี้)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3346.JPG



หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป. ๙ (ผาดำ-ผาแดง)



IMG_3348.JPG



DSC01203.JPG



ป้ายหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป. ๙ (ผาดำ-ผาแดง) สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


IMG_3355.JPG



IMG_3362.JPG



ที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป. ๙ (ผาดำ-ผาแดง)



IMG_3368.JPG



เมื่อทางคณะมาถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป. ๙ (ผาดำ-ผาแดง) แล้ว ได้ติดต่อคุณอมรเทพ มาติ เจ้าหน้าที่อุทยานประจำหน่วยพิทักษ์ฯ ที่ ๙ (ผาดำ-ผาแดง) เพื่อสอบถามเส้นทางไปพระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (พระพุทธบาทน้ำจาง)

แต่เนื่องจากเส้นทางในป่าสลับซับซ้อน สำหรับคนที่ไม่เคยไปมาก่อน ทำให้ทางคณะหลงป่าประมาณ ๑ ชั่วโมง หลังจากออกจากป่าแล้ว คุณอมรเทพ เจ้าหน้าที่อุทยานรับทราบ จึงยินดีเป็นคนนำทางให้


ข้าพเจ้าในนามคณะตามรอยพระพุทธบาท เว็บแดนนิพพาน ดอทคอม กราบขอบพระคุณคุณอมรเทพ เจ้าหน้าที่อุทยานประจำหน่วยพิทักษ์ฯ ที่ ๙ (ผาดำ-ผาแดง) และเป็นเจ้าหน้าที่นำทางให้คณะไปพระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (พระพุทธบาทน้ำจาง)

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3288.JPG



IMG_3292.JPG



IMG_3293.JPG



IMG_3299.JPG



IMG_3301.JPG



IMG_3310.JPG



IMG_3312.JPG



IMG_3325.JPG



IMG_3334.JPG



ทางเข้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป. ๙ (ผาดำ-ผาแดง)

ระยะทาง ๒ กิโลเมตร ซึ่งบุคคลภายนอก ห้ามเข้าตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น. เป็นต้นไป "ผู้ใดฝ่าฝืน มีโทษปรับ"


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3264.1.JPG



IMG_3269.JPG



IMG_3275.JPG



การเดินทางไปหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป. ๙ (ผาดำ-ผาแดง)


เมื่อมาถึงที่ทำการอุทยานฯ แล้ว ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๗ ไปอีกประมาณ ๓ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวแยกซ้ายเข้าสู่ถนนทางหลวงชนบท ลพ.๔๐๔๐ กิโลเมตรที่ ๐



IMG_3270.JPG



IMG_3280.JPG



ถนนทางหลวงชนบท ลพ.๔๐๔๐ ทางไปหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป. ๙ (ผาดำ-ผาแดง) ระยะทาง ๘ กิโลเมตร


IMG_3284.JPG



IMG_3290.JPG



เลี้ยวแยกซ้ายเข้าสู่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป. ๙ (ผาดำ-ผาแดง)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3073.JPG



๔. กิจกรรมการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติแม่ปิง


๔.๑ เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

๔.๑.๑ เส้นทางเดินป่าระยะไกล

.....เส้นที่ ๑ ทุ่งกิ๊ก – น้ำตกก้อน้อย – น้ำตกก้อหลวง มีระยะทางไปกลับประมาณ ๑๖ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๒ วัน ๑ คืน

.....เส้นที่ ๒ น้ำตกก้อน้อย – ป่าสนพระบาทยางวี – จุดชมวิวผาแดงหลวง
มีระยะทางไปกลับประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๕ ชั่วโมง

.....เส้นที่ ๓ น้ำตกก้อน้อย – ป่าสนพระบาทยางวี – ถ้ำยางวี
มีระยะทางไปกลับประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๘ ชั่วโมง

๔.๑.๒ เส้นทางเดินป่าระยะใกล้


.....เส้นที่ ๑ เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ผาตูบ มีระยะทางประมาณ ๑,๑๓๕ เมตร อยู่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง มีลักษณะเด่นในเรื่องของสังคมป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ลักษณะของหน้าผาหินที่มีกล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่ตามหน้าผา และจุดชมวิวผืนป่าบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง

.....เส้นที่ ๒ ทุ่งกิ๊กแดนมหัศจรรย์
มีระยะทางประมาณ ๒,๐๐๐ เมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง มีลักษณะเด่นในเรื่องสังคมทุ่งหญ้า สังคมป่าเต็งรัง

๔.๒ กิจกรรมเล่นน้ำตก


อุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม โดยเฉพาะน้ำตกก้อหลวง ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม มีแอ่งน้ำสีเขียวมรกต สามารถลงเล่นน้ำได้ โดยในช่วงฤดูร้อน นักท่องเที่ยวจะนิยมมาเล่นน้ำตก เพื่อคลายความร้อนและชมความสวยงามของน้ำตก

๔.๓ กิจกรรมดูนก


อุทยานแห่งชาติแม่ปิง สามารถดูนกได้ตลอดทั้งปี แต่ในช่วงฤดูหนาวป่าจะสามารถพบเห็นนกได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น นกหัวขวานใหญ่สีดำ เหยี่ยวต้นแดง นกกระทาทุ่ง เหยี่ยวแมลงปอขาแดง ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของนักดูนกจากทั่วทั้งประเทศ

จุดดูนกที่น่าสนใจ คือ เส้นทางระหว่างทางเข้าทุ่งกิ๊ก บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป. ๓ (ทุ่งกิ๊ก) และบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : แผ่นพับประวัติอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ได้รับความอนุเคราะห์เอกสารจาก ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว)


IMG_3079.JPG



ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม


๑. เบอร์โทรติดต่อ : 06-1375-3500 , 09-3158-3568

๒. E-mail :
Maeping-1@hotmail.com



IMG_3084.JPG



ศาลเจ้าพ่อดอยงาม อุทยานแห่งชาติแม่ปิง


IMG_3074.JPG



แผนที่แสดงตำแหน่งพระพุทธบาทแพะน้อยป่าแดง (พระพุทธบาทน้ำจาง)

ตั้งอยู่ในเขตบริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ปิงที่ มป. ๙ (ผาดำ-ผาแดง)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-23 02:57 , Processed in 0.059077 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.