แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดจริญญาวนาราม (พระธาตุแสงแก้ว) ม.๘ ต.ทุ่งหัวช้าง อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

ประวัติพระธาตุแสงแก้ว

วัดจริญญาวนาราม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน



IMG_1255.1.JPG



ที่มาของชื่อ พระธาตุแสงแก้ว


พระธาตุแสงแก้ว หมายถึง พระธาตุออกแสง ชื่อเสียงจะขจรขจายไปทั่ว ตั้งชื่อโดย พระเดชพระคุณพระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน


1.5.jpg



ประวัติการเสด็จมาของพระธาตุแสงแก้ว พระกัสสปพุทธเจ้า


เรียบเรียงโดย อาจารย์จรูญ สุริยวงศ์



เรื่อง เกิดที่บ้าน นายจรูญ สุริยวงศ์ เลขที่ ๑๗ หมู่ที่ ๘ ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

ในปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๓๔ หลังจากที่คุณแม่บัวเขียว สุริยวงศ์ คุณแม่ของข้าพเจ้า (อาจารย์จรูญ สุริยวงศ์) ไหว้พระสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนาประจำวันแล้ว ท่านได้สังเกตเห็นแสงสว่างเป็นดวงเล็กๆ ขนาดหัวแม่มือได้ลอยไปมาช้าๆ มีแสงสวยคล้ายแสงหิ่งห้อย เพียงแต่มีขนาดโตกว่าหิ่งห้อยมากและไม่กระพริบเหมือนหิ่งห้อย


ดวงแสงกลมๆ นั้นลอยไปมาอยู่นานพอสมควร ทำให้ในห้องโถงบ้านสว่างไสว พอมองเห็นอะไรได้ ท่านรู้สึกแปลกใจว่าเป็นอะไรกันแน่ แต่ใจก็มิได้นึกกลัว ท่านได้ตั้งสติพนมมือกล่าวคำอธิษฐานเบาๆ ว่า สาธุ ถ้าหากสิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นนี้ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอได้โปรดสำแดงอภินิหารด้วยเถิด

หลังคำอธิษฐาน ดวงแสงกลมๆ ได้ขยายขนาดประมาณผลส้ม แล้วเปล่งประกายแสงพวยพุ่งออกมาหลายสีสวยงาม ท่านเองถึงกับตะลึงงันไปชั่วขณะ ท่านก็ส่งเสียงเรียกปลุกให้ข้าพเจ้าและภรรยาตื่น ข้าพเจ้าสะดุ้งตื่นตกใจและรีบออกมา แต่ปรากฏว่าไม่ทันได้เห็นแสงประหลาดดังกล่าว ข้าพเจ้าถามคุณแม่ว่า อะไรครับแม่ ท่านตอบว่า ไม่ทราบ แต่น่าจะเป็นพระธาตุเสด็จ

หลายวันต่อมา ข้าพเจ้าได้ไปทำความสะอาดโต๊ะหมู่บูชา และด้พบก้อนหินลักษณะกลมขนาดเท่าหัวแม่มือ สีขาวขุ่น มีเส้นลายและจุดเล็กทั่วไป คิดว่าน่าจะเป็นลูกแก้วของเด็กชายเอก น้องชายคนเล็กของภรรยาข้าพเจ้า ที่มาจากจังหวัดสมุทรสาคร จึงได้นำออกมาจากโต๊ะหมู่บูชา ไปใส่กระป๋องรวมกับลูกแก้ว  

๓ วันต่อมา ท่านแม่ยายก็พาน้องชายกลับไปบ้านที่จังหวัดสมุทรสาคร ตอนขนของขึ้นรถ ข้าพเจ้ายังได้ถือกระป๋องใส่ลูกแก้วพร้อมทั้งก้อนหินนั้นไปส่งด้วย เป็นอันว่าก้อนหินนั้นเดินทางไปไกลถึงจังหวัดสมุทรสาครแล้ว

ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ระยะเวลาห่างกัน ๒ ปีเต็ม ได้เกิดเหตุการณ์ซ้ำสอง ในตอนดึกสงัดได้ยินเสียงคุณแม่ คือคุณแม่บัวเขียว สุริยวงศ์ เรียกปลุก ข้าพเจ้าสะดุ้งตื่นแล้วรีบลุกทันที พอโผล่พ้นประตูห้องนอนก็ต้องตะลึงงันกับแสงสว่างงดงาม รู้สึกขนลุกทั้งตัวด้วยความปิติ ดวงแสงนั้นค่อยๆ ลอยไปทางโต๊ะหมู่บูชาแล้วแสงลดขนาดลงแล้วดับไป

อีกประมาณหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ข้าพเจ้าได้ไปทำความสะอาดโต๊ะหมู่บูชา ก็ไปพบก้อนหินกลมๆ ก้อนเดิมอีก พิจารณาดูเท่าไหร่ก็เหมือนก้อนเดิม แต่ก็แปลกใจว่าได้ส่งไปจังหวัดสมุทรสาครตั้ง ๒ ปีแล้ว ทำไมมาอยู่ที่นี่อีก และหรือชะรอยว่าก้อนหินนี้จะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีแสงสว่างในคืนก่อน จึงได้นำใส่ไว้ในเบ้าเชิงเทียนบนโต๊ะหมู่บูชา        

หลายวันต่อมา ขณะที่ภรรยาของข้าพเจ้าได้ไปทำความสะอาดโต๊ะหมู่บูชาแล้วทำหน้าตื่นลงมาหา แล้วถามข้าพเจ้าว่า คุณเห็นอะไรแปลกๆ ที่โต๊ะหมู่บูชาไหม? ข้าพเจ้าเข้าใจทันทีว่าหมายถึงอะไร จึงตอบว่า เห็น ภรรยาถามอีกว่า ใช่ไหม? ข้าพเจ้าตอบว่า สงสัย


การที่ภรรยาถามว่าใช่ไหมนั้น หมายถึงพระธาตุเสด็จนั่นเอง ทั้งสองเราได้ทบทวนเหตุการณ์ครั้งที่สองที่เกิดขึ้นในบ้าน และเวลาพบเห็นก้อนหินนั้นก็เป็นเวลาหลังจากเหตุเกิดไม่กี่วันเช่นเดียวกัน

เพื่อคลายความสงสัย จึงตกลงกันว่าต้องนำไปถามท่านครูบาชัยยะวงศาพัฒนา เทพเจ้าของชาวเขา เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จะดีที่สุด เรารอจนลุถึงวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ (แปดเหนือ) วัดพระธาตุดอยกวางคำมีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ

ข้าพเจ้าและภรรยา พร้อมด้วยพระอธิการอมร เตชะปัญโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดจริญญาวนาราม ได้พร้อมใจกันนำพระอรหันตธาตุ ๘ องค์ และลูกแก้วประหลาดนี้ รวมเป็น ๙ องค์ ไปกราบนมัสการเรียนถามท่านครูบาชัยยะวงศาพัฒนา

ครูบาเจ้าท่านรับไปพิจารณาแล้วหลับตาครู่หนึ่ง ท่านจึงบอกว่า ทั้งหมดนี้มิใช่ก้อนหินแต่เป็นพระธาตุทั้งสิ้น ยกเว้นองค์สุดท้าย ท่านแกล้งทำเป็นนิ่งหันไปอมเมี่ยงสูบบุหรี่จนข้าพเจ้าต้องทวงถามว่า แล้วองค์สุดท้ายกลมๆ นี่ละครับเป็นพระธาตุของใคร ท่านหันกลับมามองหน้าข้าพเจ้าแล้วอมยิ้มนิดๆ (แต่ที่อยากรู้จริงๆ ก็คือองค์สุดท้ายว่าคืออะไรกันแน่)

ครูบาเจ้าได้บอกว่า นี่คือพระธาตุของพระพุทธเจ้า แต่เป็นพระพุทธเจ้าองค์ก่อนโน้นไม่ใช่องค์นี้ เรียนถามท่านอีกว่า ชื่อว่าพระธาตุอะไรครับ ท่านว่า พระธาตุแสงแก้ว

แล้วมาอยู่ที่บ้านผมได้อย่างไร ท่านตอบว่า พระธาตุนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก ท่านจะลอยไปในอากาศ มีแสงสว่างขาวนวลสวยงาม อย่างที่คนทั้งหลายเห็นกันว่าพระธาตุเสด็จ ให้บูชารักษาไว้ให้ดี วันนั้นเราทั้งสามดีใจมากที่หายข้องใจ และมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาอยู่ด้วย

จากนั้นมาอีก ๒ ปี ในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านครูบาชัยยะวงศาพัฒนา พวกเราทั้งสามคนได้นำพระธาตุไปวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม และเรียนถามท่านเพิ่มเติมว่า จะให้กระผมทำอย่างไร? ท่านตอบว่า ให้บูชารักษาให้ดี และให้สร้างพระเจดีย์ไว้ประดิษฐานในวัด ถามท่านว่า กระผมเป็นครูบ้านนอกยากจนเช่นนี้ จะมีปัญญาไหนมาสร้างพระเจดีย์ได้


ท่านตอบว่า ท่านมาหาเราก็เพราะเห็นว่าเราสร้างได้ แต่ตอนนี้ไม่ต้องทุกข์ใจ ให้บูชาไว้ร่มเย็นดี อีกหน่อยจะมีผู้มีบุญที่เคยเป็นเจ้าของเก่าเขาจะพากันมาร่วมสร้างเอง ท่านบอกด้วยเมตตายิ่ง และต่อมา พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาได้เดินทางมาชี้จุดที่จะสร้างพระเจดีย์ให้ที่อารามจริญญาวนาราม ด้วยองค์ท่านเอง  

จากวันนั้นจวบจนเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๘ ได้มี พระสมุห์สง่า สนฺตจิตโต ลูกศิษย์ของท่านครูบาชัยยะวงศาพัฒนาได้เดินทางมาหาข้าพเจ้าที่บ้านและได้ขอดูพระธาตุ อีก ๑ เดือนต่อมา เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๘ พระสมุห์สง่า สนฺตจิตโต ได้นำแบบพระธาตุที่ได้ออกแบบเอง และมาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์เริ่มดำเนินการก่อสร้าง

และข้าพเจ้า (อาจารย์จรูญ สุริยวงศ์) เป็นฝ่ายฆราวาสควบคุมดูแลการก่อสร้าง โดยมีทุนเริ่มต้นเพียง ๑ หมื่นบาทเท่านั้น จากนั้นท่านได้ชักนำท่านสัตวแพทย์สุรจิต ทองสอดแสง พร้อมคณะผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านเทคโนโลยีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานฝ่ายอุปถัมภ์การก่อสร้าง

(สำหรับองค์พระธาตุนั้น ท่านผู้รู้หลายท่านได้พิสูจน์ทดสอบเล็งญาณเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นพระธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓) ในภัทรกัปนั่นเอง)


อาจารย์จรูญ สุริยวงศ์

๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑      


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : คำบอกเล่าของอาจารย์จรูญ สุริยวงศ์ เรียบเรียงโดย เว็บแดนนิพพาน ดอทคอม ภาพถ่ายและประวัติการเสด็จมาของพระธาตุแสงแก้ว ได้รับความอนุเคราะห์เอกสารจาก อาจารย์จรูญ สุริยวงศ์)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ประวัติวัดจริญญาวนาราม  



IMG_1343.5.JPG



IMG_1257.JPG



ที่มาของชื่อ วัดจริญญาวนาราม

วัดจริญญาวนาราม ตั้งชื่อโดย อาจารย์จรูญ สุริยวงศ์ ผู้ริเริ่มการสร้างพระธาตุแสงแก้ว ซึ่งตั้งตามชื่อของ นายจริญญา พึ่งแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนในสมัยนั้น

ในอนาคต อาจารย์จรูญ สุริยวงศ์ กำลังดำเนินการขอยื่นแก้ชื่อวัดในเอกสารต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ขอเปลี่ยนจากเดิมชื่อว่า วัดจริญญาวนาราม
เป็น “วัดพระธาตุแสงแก้ว” ซึ่งอาจารย์จรูญรอให้การขออนุญาตสร้างวัดสำเร็จเสร็จเรียบร้อยก่อนตามลำดับ

ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๘) วัดจริญญาวนารามมีพระภิกษุประจำ ๒ รูป สามเณร ๑ รูป



IMG_1728.jpg



เอกสารคำขออนุญาตสร้างวัดจริญญาวนาราม   

ข้าพเจ้านายจรูญ สุริยวงศ์ อายุ ๗๐ ปี สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ อาชีพข้าราชการบำนาญ อยู่บ้านเลขที่ ๑๗ หมู่ที่ ๘ ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ๕๑๑๖๐ ขออนุญาตสร้างวัด เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ มีรายการต่อไปนี้

๑. ที่ดินที่ขออนุญาตสร้างวัดตั้งอยู่ หมู่บ้านจริญญา หมู่ที่ ๘ ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน  

๒. ที่ดินที่ขออนุญาตสร้างวัดเป็นกรรมสิทธิ์ของ ๑. นายจรูญ สุริยวงศ์  ๒. นางพาณี สุริยวงศ์

มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน โฉนด เลขที่ ๘๔๑๕ ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน  


ตามสำเนาหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินที่แนบท้ายคำขออนุญาตนี้

๓. (๑.) นายจรูญ สุริยวงศ์  (๒.) นางพาณี สุริยวงศ์ เจ้าของที่ดินตามข้อ ๒ ได้ทำหนังสือสัญญาตกลงยกที่ดินให้สร้างวัดไว้ต่อนายอำเภอทุ่งหัวช้าง และเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอทุ่งหัวช้าง เมื่อวันที่ ๑๒ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ มีเนื้อที่ ๘ ไร่ – งาน ๖๓ เศษ ๕/๑๐ ตารางวา

มีเขต
ทิศเหนือ            ยาว  ๔๐  วา  จดทางหลวง
ทิศใต้                ยาว  ๔๐  วา  .....................
ทิศตะวันออก       ยาว  ๘๐  วา  .....................
ทิศตะวันตก         ยาว  ๘๐  วา  .....................

ตามหนังสือสัญญาตกลงยกที่ดินให้สร้างวัดแนบท้ายคำขออนุญาตนี้


๔. จำนวนเงินและสัมภาระที่จะก่อสร้างมีอยู่แล้ว ดังนี้ เงินสด ๑๐๐,๐๐๐ บาท วัสดุก่อสร้างมีมูลค่า ๕๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งสิ้น ๑๕๐,๐๐๐ บาท

๕. ที่ตั้งวัดอยู่ห่างจากวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย

(๑) ทิศเหนือ มีวัดทุ่งเป็ด ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งเป็ด หมู่ที่ ๑ ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ระยะทางห่าง ๔ กม. มีพระภิกษุประจำ ๖ รูป สามเณร ๒ รูป

(๒) ทิศใต้ มีวัดทุ่งหัวช้าง ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งหัวช้าง หมู่ที่ ๓ ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ระยะทางห่าง ๓ กม. มีพระภิกษุประจำ ๓ รูป สามเณร ๔ รูป

(๓) ทิศตะวันออก มีวัด -  ตั้งอยู่ที่บ้าน -  หมู่ที่ -  ตำบล -  อำเภอ -  จังหวัด -  ระยะทางห่าง - กม. มีพระภิกษุประจำ - รูป สามเณร - รูป

(๔) ทิศตะวันตก มีวัดหนองป่าตึง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองป่าตึง หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ระยะทางห่าง ๒.๔๐ กม. มีพระภิกษุประจำ ๓ รูป สามเณร ๒ รูป

ตามแผนที่แสดงที่ตั้งวัดที่แนบท้ายคำขออนุญาตนี้


๖. เมื่อข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้สร้างวัดแล้ว จะจัดการก่อสร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุตามแผนผังที่กรมการศาสนาให้ความเห็นชอบแล้ว โดยจะทำการปลูกสร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุให้แล้วเสร็จ พร้อมที่จะเป็นที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ได้  

๗. เมื่อได้ประกาศตั้งเป็นวัดแล้ว จะได้รับการบำรุงส่งเสริมและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในการประกอบศาสนกิจในหมู่บ้าน จำนวน ๑,๐๐๐ คน

๘. ในระหว่างทำการก่อสร้างวัด ข้าพเจ้ายินยอมปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองและเจ้าคณะฝ่ายสงฆ์ทุกประการ และเมื่อปลูกสร้างเสร็จแล้วจะได้รายงานขอตั้งวัดตามกฎกระทรวงต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

                                 ผู้ยื่นคำขอ

(นายจรูญ สุริยวงศ์)



IMG_1730.jpg



ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อความคำขออนุญาตสร้างวัดดังกล่าวข้างต้นเป็นความจริง

(ลงชื่อ)  นายบุญยก วงศ์ษา  ผู้ใหญ่บ้านจริญญา

(ลงชื่อ)  นางริวร วงค์ษา  สมาชิกสภาเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง


(ลงชื่อ)  นายเมืองแก้ว เชียงตา  สมาชิกสภาเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง


ความเห็นของเจ้าคณะอำเภอทุ่งหัวช้าง
เห็นสมควรสนับสนุน
(ลงชื่อ)  พระครูสิริสุตาภิมณฑ์
เจ้าคณะอำเภอทุ่งหัวช้าง
วันที่ ๑๑ เดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗


ความเห็นของนายอำเภอทุ่งหัวช้าง
เห็นสมควรอนุญาต
(ลงชื่อ)  นายโยธิน ประสงค์ความดี
นายอำเภอทุ่งหัวช้าง
วันที่ ๑๒ เดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗


ความเห็นของผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด
เห็นสมควรอนุญาต
(ลงชื่อ)  นายสุรชัย ขยัน
ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลำพูน
วันที่ ๒๔ เดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗


ความเห็นของเจ้าคณะจังหวัดลำพูน

เห็นสมควรอนุญาต
(ลงชื่อ)  พระราชปัญญาโมลี
เจ้าคณะจังหวัดลำพูน
วันที่ ๒๔ เดือน ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗


ความเห็นของผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน
ควรอนุญาต
(ลงชื่อ)  นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์
รองผู้ว่าราชการจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน
วันที่ ๑๒ เดือน มกราคม พ.ศ.๒๕๕๘


IMG_1738.JPG



แผนที่สังเขปที่ตั้งวัดจริญญาวนาราม หมู่ที่ ๘ ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : คำบอกเล่าของอาจารย์จรูญ สุริยวงศ์ เรียบเรียงโดย เว็บแดนนิพพาน ดอทคอม และหนังสือเอกสารคำขออนุญาตสร้างวัดจริญญาวนาราม ได้รับความอนุเคราะห์เอกสารจาก อาจารย์จรูญ สุริยวงศ์)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1343.JPG



IMG_1486.JPG



IMG_1231.JPG



IMG_1370.JPG



IMG_1496.JPG



IMG_1333.JPG



DSC00976.JPG



DSC00977.JPG



เจดีย์รัตนชัยยะมงคล (พระธาตุแสงแก้ว) วัดจริญญาวนาราม


ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓) ในภัทรกัป บรรจุไว้ที่คอระฆังพระเจดีย์องค์ใหญ่


และพระเจดีย์องค์เล็ก ๘ องค์ ล้อมรอบทั้งสี่ทิศพระเจดีย์องค์ใหญ่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ หรือองค์ปัจจุบัน) ในภัทรกัป พระอรหันตธาตุ พระพุทธรูป พระเครื่อง และวัตถุมงคลต่างๆ


โดย พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้มาบริกรรมชี้จุดสถานที่ให้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์
ที่อารามจริญญาวนารามด้วยองค์ท่านเอง และท่านยังได้บอกอีกว่า สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ากัสสปะ พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ ในภัทรกัป(คือสถานที่ตั้งของพระธาตุแสงแก้วในปัจจุบัน)


IMG_1372.JPG



DSC00979.JPG



IMG_1387.JPG



IMG_1237.JPG



เจดีย์รัตนชัยยะมงคล (พระบรมธาตุรัตนชัยยะมงคล) วัดจริญญาวนาราม


เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พระธาตุแสงแก้ว" เป็นพระเจดีย์เก้ายอดองค์ใหญ่ ขนาดฐานกว้าง ๒๐ เมตร สูง ๒๐ เมตร ติดกระจกรอบทั้งองค์พระเจดีย์ มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ มีซุ้มพระพุทธรูป ๓ องค์ และรูปเหมือนพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาประดิษฐานอยู่ที่ฐานองค์พระเจดีย์ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีรูปปั้นพญานาคประดับทางขึ้นที่กำแพงแก้ว ๘ ตัว และรูปปั้นยักษ์กุมภัณฑ์ประดับนอกกำแพงแก้ว


เริ่มดำเนินการก่อสร้างพระเจดีย์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๘ โดย พระสมุห์สง่า สนฺตจิตโต (เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยกวางคำ อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน) ลูกศิษย์ของหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ท่านได้ออกแบบรูปแบบก่อสร้างพระเจดีย์และเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการสร้างพระเจดีย์


อาจารย์จรูญ สุริยวงศ์ เป็นฝ่ายฆราวาสควบคุมดูแลการก่อสร้างพระเจดีย์ และท่านสัตวแพทย์สุรจิต ทองสอดแสง พร้อมคณะผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านเทคโนโลยีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานฝ่ายอุปถัมภ์การก่อสร้างพระเจดีย์



IMG_1671.3.JPG



พระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานบรรจุไว้ที่คอระฆังเจดีย์รัตนชัยยะมงคล (พระเจดีย์องค์ใหญ่) วัดจริญญาวนาราม



IMG_1376.JPG



คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(ว่านะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ



IMG_1694.JPG



ขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต สาธุ สาธุ สาธุ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1130.1.JPG



การเดินทางไปวัดจริญญาวนาราม (พระธาตุแสงแก้ว)

ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ (ลำพูน-ลี้) โดยมีเส้นทางแยกเข้าสู่อำเภอทุ่งหัวช้าง ๒ เส้นทาง ดังนี้

๑. เข้าทางแยกแม่เทย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๑๙ (บ้านแม่เทย-ทุ่งหัวช้าง)


๒. เข้าทางแยกแม่อาว ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘๔ (บ้านแม่อาว-ทุ่งหัวช้าง)



IMG_9372.JPG



เมื่อถึงอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน มุ่งหน้าสู่บ้านจริญญา หมู่ที่ ๘ ตำบลทุ่งหัวช้าง



IMG_9378.JPG



ป้ายทางเข้า วัดจริญญาวนาราม


IMG_1145.JPG



IMG_1149.JPG



IMG_1192.JPG



IMG_1612.JPG



ทางเข้า วัดจริญญาวนาราม ระยะทาง ๑ กิโลเมตร


IMG_1605.JPG



ป้ายพระธาตุแสงแก้ว วัดจริญญาวนาราม



IMG_1609.JPG



วัดจริญญาวนาราม (พระธาตุแสงแก้ว) ตั้งอยู่ที่บ้านจริญญา หมู่ที่ ๘ ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๘ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๘ ไร่ ๖๓ เศษ ๕ ส่วน ๑๐ ตารางวา


IMG_1618.JPG



IMG_1599.JPG



รูปปั้นเทพพนมยืน ประดับสองข้างถนนทางเข้า วัดจริญญาวนาราม


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 04:52 , Processed in 0.053252 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.