แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 14170|ตอบ: 23
go

วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ม.๘ ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_3959.1.JPG



วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

ม.๘ ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน

[รอยพระพุทธบาท , พระบรมธาตุเจดีย์ ,

พระบาทกบ , วัดพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 15 กุมภาพันธ์ 2567)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4573.JPG



การเดินทางไปวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ (สายลี้-ลำพูน) เข้าเขตอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน ผ่านอำเภอป่าซาง อำเภอบ้านโฮ่ง จนถึงอำเภอลี้ ระยะทาง ๑๐๕ กิโลเมตร


และเดินทางต่อมาด้านทิศใต้อีกประมาณ ๑๐ กิโลเมตร จนถึงบริเวณกิโลเมตรที่ ๔๖-๔๗ แล้วเลี้ยวแยกขวาเข้าสู่ทางหลวงชนบท ลพ. ๓๐๑๗ หรือทางเข้าวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ไปอีก ๕.๔ กิโลเมตร ถึงวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



IMG_4585.JPG



แยกเข้าสู่ถนนทางหลวงชนบท ลพ. ๓๐๑๗ หรือทางเข้าวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ระยะทาง ๕.๔ กิโลเมตร



DSC01379.JPG



วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตั้งอยู่ เลขที่ ๔๙๙ บ้านพระบาทห้วยต้ม หมู่ที่ ๘ ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน


IMG_4541.JPG


IMG_4543.JPG



ป้ายวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_4447.JPG



ประตูทางเข้า (บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_4448.JPG



รูปปั้นสิงห์คู่ ประดับหน้าประตูทางเข้า (บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_4320.JPG



ประตูทางเข้า (บริเวณด้านหน้าวิหารรอยพระพุทธบาท) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_4347.JPG



IMG_4348.JPG



รูปปั้นสิงห์คู่ ประดับหน้าประตูทางเข้า (บริเวณด้านหน้าวิหารรอยพระพุทธบาท) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_4314.JPG



รูปปั้นเสือ ประดับบนกำแพงอยู่ด้านข้างรูปปั้นสิงห์หน้าประตู วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01265.3.jpg



แผนผังวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


๑. เจดีย์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
๒. มณฑปภูมิพล (พระเจ้าเก้าตื้อจำลอง)
๓. มณฑปพระเขี้ยวแก้ว
๔. หอพระไตรปิฎก
๕. หอระฆัง
๖. เสาล่อฟ้า
๗. วิหารพระเจ้าเก้าตื้อจำลอง (แม่ธรณี)
๘. วิหารรอยพระพุทธบาท
๙. กุฏิเจ้าอาวาส
๑๐. อุโบสถ
๑๑. กุฏิพระภิกษุ-สามเณร
๑๒. โรงเรียนปริยัติธรรม
๑๓. โรงครัว
๑๔. พิพิธภัณฑ์
๑๕. น้ำบ่อทิพย์
๑๖. ศาลาพระประจำวันเกิด
๑๗. สำนักงานเจ้าคณะตำบล
๑๘. ศาลเจ้าแม่กวนอิม
๑๙. ฐานจงกรมของหลวงปู่
๒๐. วิหารพระมหาสังกัจจายน์
๒๑. สระน้ำ
๒๒. ศาลเจ้าวัดคุ้มบ้านคุ้มเมือง
๒๓. พระบาทกบ
๒๔. วิหารพระ ๑๐๘ นิ้ว
๒๕. ศาลาตักบาตร
๒๖. วิหารแก้ว
๒๗. กุฏิศรัทธานิมิต
๒๘. เวียงแก้ว
๒๙. ศาลารับแขก
๓๐. พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01310.JPG



มณฑปภูมิพล (พระเจ้าเก้าตื้อจำลอง) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


DSC01312.JPG



DSC01314.JPG



พระเจ้าเก้าตื้อจำลอง ประดิษฐานภายในมณฑปภูมิพล วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



IMG_4430.JPG



IMG_4443.JPG



วิหารพุทธศิลาปัญญาวงษ์ (วิหารพระมหาสังกัจจายน์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗


IMG_4433.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ และรูปพระสังกัจจายน์ ประดิษฐานภายในวิหารพุทธศิลาปัญญาวงษ์ (วิหารพระมหาสังกัจจายน์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3818.JPG



DSC01277.JPG



ศาลา ๕ ครูบา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_3832.JPG



พระพุทธรูปปางสมาธิ ประดิษฐานภายในศาลา ๕ ครูบา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


DSC01278.JPG



รูปเหมือน ๓ ครูบา (คือ พระครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา พระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี) (เรียงจากขวามือ-ซ้ายมือ) ประดิษฐานภายในศาลา ๕ ครูบา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



DSC01351.1.JPG



ป้ายคำไหว้หลวงปู่ครูบาเจ้าทั้ง ๕ องค์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

หลวงปู่ครูบาเจ้าทั้ง ๕ องค์ ได้แก่ ครูบาเจ้าชัยยะลังก๋า ครูบาเจ้าศรีวิชัย ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี ครูบาเจ้าพรหมจักร และหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา


IMG_3831.JPG



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ประดิษฐานภายในศาลา ๕ ครูบา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



คำไหว้ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
(นะโม ๓ จบ แล้วว่า) สาธุ อะหัง นะมามิ พระอาจาริเยนะ พระศรีวิชัยยาชนะ ภิกขุภาวะ มหาเถระ ศีละ วันต๋า กะต๋า ปุญญัง นานา ประฏิ สะขาลา วะระ พุทธะ ศาสนา อะระหัตตะ โพธิ สัตโต๋ คุณโณ สิระสา นะมามิ โรคะ ภัยยัง วินาสันตุเม


IMG_3828.JPG



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี ประดิษฐานภายในศาลา ๕ ครูบา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



คำไหว้ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
(นะโม ๓ จบ แล้วว่า) สาธุ อะหัง นะมามิ พระอภิชัยยา ชะนะ ภิกขุ เสตะ เถระ ศีลวันทา นะวะโล กุตตะระ ธรรมะ ปัณฑิตตั๋ง กะตั๋ง ปุญญัง ประฏิ สะขาระวะระพุทธะ ศาสนัง อะระหัตตะ โพธิสัตโต๋ คุณโณ เมนาโถ สิระสา นะมามิ


IMG_3825.JPG



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ประดิษฐานภายในศาลา ๕ ครูบา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


คำไหว้หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
(นะโม ๓ จบ แล้วว่า) สาธุ อะหัง นะมามิ พระชัยยะวงศาภิกขุ อะริเยนะ อังคะละ วิชัยโย บัณฑิตโต๋ ทะสะปาระมีโย ทะสะอุประปาระมีโย ทะสะ ปะระมัตถะปาระมีโย กะตังปุญญังโน เมนาโถ เมนาถัง สิระสา นะมามิฯ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4422.JPG



DSC01304.JPG



DSC01306.JPG



วิหารพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


พิพิธภัณฑ์นี้ สร้างถวายโดย คุณวัชระ ตันตรานนท์ และครอบครัว



DSC01308.JPG



ภายในวิหารพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



IMG_3816.JPG



รูปปั้นพญานาคและรูปปั้นโคคู่ ประดับบันไดทางขึ้นด้านหน้าวิหารพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



IMG_3840.JPG



DSC01280.JPG



รูปเหมือนเอกอัครมหาบูรพปรมาจารย์ ชีวกโกมารภัจจ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

ในสมัยพุทธกาลท่านเป็นหมอรักษาพระพุทธองค์


IMG_3843.JPG


พระคาถาบูชาท่านปู่
ชีวกโกมารภัจจ์
(ตั้งนะโม ๓ จบ) โอม นะโม ชีวะโก สิระสา อะหัง กรณิโก สัพพะสัตตานัง โอสะถะ ทิพพะมันตัง ปะภาโส โกมาระวัตโต ปะกาเสสิ วันทามิ ปัณฑิโต สุเมธะโส อะโรคา สุมะนา โหมิ

L55.1.png



คาถารักษาโรค

“ นะอะนะวะ โรคาพยาธิ วินาสสันติ ”


(พระคาถาบทนี้มีอานุภาพป้องกันสรรพโรคทั้งปวงได้ แต่มีโรคหนึ่งที่รักษาไม่หาย คือ โรคที่เกิดแต่ผลแห่งวิบากกรรม (กมฺมวิบากกรรม))


IMG_3838.JPG



ขอเชิญร่วมทำบุญห่มผ้าองค์พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย ภายในวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



*(หมายเหตุ : สนใจติดตามข้อมูล พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย เพิ่มเติมได้ที่เว็บแดนนิพพาน @ http://www.dannipparn.com/thread-1477-1-1.html)


IMG_4365.JPG



ขอเชิญร่วมทำบุญพระพุทธรูปหินหยกเขียว ชำระหนี้สงฆ์ และบำรุงวัดต่างๆ ตามจิตศรัทธาได้ ในวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_4420.jpg



ศาลาพิธี วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



IMG_4415.JPG



พระแก้วมรกตจำลอง เครื่องทรงฤดูหนาว และรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม ประดิษฐานด้านหน้าศาลาพิธี วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



IMG_4419.JPG



รูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



IMG_3834.JPG



รูปองค์สี่หูห้าตา (พระอินทร์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_3837.JPG



คำไหว้สี่หูห้าตา (พระอินทร์)

สาธุ อหัง นะมามิ พระอินทร์            

อากาเสจะ พุทธทิปังกะโร

นะโม พุทธายะ อิอะระณัง อะระหัง            

กุสะลาธัมมา สัมมาสัมพุทโธ

ทุสะนะโส นะโมพุทธายะ พระโสนามะ        

ยักโข เมตตา มหาลาภา

ปิยังมะมะ ทันตะ ปริวาสะโภ วาสุนี            

หะเต โหนตุ ชัยยะมังคลานิ


สวดทุกวัน กันไฟไหม้ ฟ้าผ่า อันตรายต่างๆ ชนะภัยทั้งปวง บรรเทาทุกข์ เวทนา จากการเจ็บป่วย และเป็น มหาโชค มหาลาภ แก่ผู้ที่บูชากราบไหว้ ดีนักแล.      



DSC01272.JPG



DSC01274.JPG



ตำนานเรื่องเล่าของ สี่หู ห้าตา จากนิทานพื้นบ้าน



กาลครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีชายหนุ่มกำพร้าผู้หนึ่ง ฐานะยากจน ขัดสนมาก แต่ยังมีที่ทำกินเพียงน้อยนิดไว้สำหรับปลูกข้าว มีอยู่ปีหนึ่งดูเหมือนว่า ฝนฟ้าจะไม่เป็นใจให้ชายหนุ่มมากนัก ต้นข้าวที่ปลูกไว้ แห้งตายมากพอสมควร แต่ก็ยังเหลืออยู่บ้าง

มีพระอินทร์บนสวรรค์อีกท่านหนึ่ง ซึ่งมองเห็นชีวิตและความเป็นอยู่ของชายหนุ่มผู้นี้ พระอินทร์ผู้ศักดิ์ คิดอยากจะลงมาช่วยเหลือชายหนุ่มกำพร้า ให้พ้นจากความทุกข์ยาก จึงแปลงร่างมาปรากฏเป็นสัตว์ประหลาดตัวหนึ่ง ซึ่งมีหู สี่หู มีตาอีกห้าดวง ในโลกมนุษย์ไม่มีสัตว์ประเภทนี้เลยก็ว่าได้

และสัตว์ประหลาดตัวนี้ ได้มาทำลายต้นข้าวที่ยังเหลืออีกส่วน บังเอิญชายหนุ่มซึ่งได้มาพบเห็น ต้นข้าวที่ถูกทำลาย ก็เกิดความโมโหขึ้นมาทันที คิดจะฆ่าสัตว์ตัวนี้ แต่ก็ไม่มีอาวุธใด และพยายามหาวิธีจะกำจัดให้พ้นๆ ไป แต่ก็ไม่รู้จะทำด้วยวิธีใดอีก

ระยะเวลาผ่านไปจนกระทั่ง ชายหนุ่มจับสัตว์ประหลาดได้ จึงพามายังที่พัก เป็นกระท่อมหลังเล็กๆ ได้ผูกไว้ติดกับต้นเสา พอตกเย็นใกล้จะถึงหัวค่ำ ชายหนุ่มก็ได้หาอาหารที่มีอยู่ ตามประสาคนจน พอมีพอกิน และให้อาหารสัตว์ตัวนั้น มันก็ไม่ยอมกินอาหารแต่อย่างใด

แต่มันทำตัวดูเหมือนว่ากำลังหนาวจัด คงต้องการความอบอุ่นมาก ชายหนุ่มจึงหาฟืน แล้วก็ก่อไฟให้มัน จนระยะเวลาผ่านไป ชายหนุ่มรู้สึกง่วงนอนมาก จึงคิดจะกลับไปนอนพักผ่อน พอหันมาอีกทีเห็นสัตว์ประหลาดตัวนั้น กำลังจับถ่านไฟแดงที่ร้อนจัด กินเข้าไปอย่างไม่รู้สึกร้อนแต่อย่างใด

จนกระทั่งชายหนุ่มเผลอหลับไป มารู้สึกตัวอีกทีก็สว่างพอดี และยังรู้สึกงงอยู่มาก ที่ได้พบสัตว์แปลกประหลาดตัวนี้ แต่ยังพบความแปลกประหลาดมากไปกว่านั้นอีก ที่ชายหนุ่มต้องตกตะลึงมากคือสัตว์ตัวนั้นกินถ่านไฟ ซึ่งไม่เคยพบเจอมาก่อน และยังขับถ่ายออกมาเป็นทองคำแท้อีก ชายหนุ่มกำพร้าจึงร่ำรวยขึ้นมาเรื่อยๆ...

ชายหนุ่มจึงกลับมาทบทวนความคิดอีกครั้ง เออ!.... ดีนะ ที่เราไม่ได้ฆ่าสัตว์ประหลาดตัวนั้น มิเช่นนั้นเราคงไม่มีทรัพย์สมบัติมากมายอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่าชายหนุ่มกำพร้าผู้นี้ ก็ยังมีความเมตตาอยู่บ้าง ถึงแม้ต้นข้าวที่ถูกทำลายจนเกิดความเสียหายจนโมโหมาก แต่ก็ยังคิดจะละเว้นชีวิตให้สัตว์ตัวนั้น

นิทานเรื่องนี้ อ้างอิงมาจากเรื่องเล่าของหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) อยากให้ทุกคนหมั่นรักษาศีล ภาวนาให้มากๆ และมีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ้าคนเรายึดถือสิ่งเหล่านี้ได้ ชีวิตเราจะพบแต่ความสุขตลอดกาล.

--------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายตำนานเรื่องเล่าของ สี่หู ห้าตา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม)


IMG_3813.JPG



DSC01270.1.JPG



รูปปั้นเสือ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


DSC01270.JPG



DSC01269.JPG



ประวัติเสือถูกยิง วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



เสือตัวนี้เป็นเสือที่บำเพ็ญเพียร ได้จำศีลอยู่ในป่า แต่ถูกนายพรานล่าสัตว์ยิง เสือตัวนี้เลยวิ่งหนีมาที่ พระบาทตะเมาะ จากนั้นเสือตัวนี้ก็ตาย แล้วกลายเป็นก้อนหิน

ด้วยบุญบารมีของหลวงปู่ ท่านได้ไปนมัสการพระบาทตะเมาะ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้พบก้อนหินก้อนนี้ เนื่องด้วยสภาพแวดล้อม และความเก่าแก่ของก้อนหิน ทำให้หินก้อนนี้ มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์เหมือนเสือแล้ว

หลวงปู่จึงได้เชิญเสือตัวนี้มาช่วยดูแลวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม และท่านได้ให้ช่างแกะสลักเป็นรูปเสือใหม่ โดยท่านจะไม่ทิ้งรอยที่เสือถูกยิง เราจะเห็นว่ามีรอยถูกยิงอยู่ข้างหลัง

มีคนเฒ่าคนแก่ที่เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ที่มาปฏิบัติธรรมในวัด ได้เล่ากันว่า เห็นเสือออกมาในช่วงกลางคืน แต่พอเดินเข้าไปดูเสือก็หายไป

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติเสือถูกยิง วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม)


**(หมายเหตุ : สนใจติดตามข้อมูล วัดพระพุทธบาทตะเมาะ เพิ่มเติมได้ที่เว็บแดนนิพพาน @ http://www.dannipparn.com/thread-973-1-1.html)

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01281.JPG



IMG_3810.JPG



IMG_4364.JPG



DSC01299.JPG



วิหารพระเมืองแก้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


วิหารนี้เป็นสถานที่ประดิษฐานสรีระสังขารของพระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา หรือหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา) อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม โดยคณะศรัทธาวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม สร้างถวาย



IMG_4369.JPG



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ประดิษฐานด้านหน้าวิหารพระเมืองแก้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม  



IMG_4374.JPG



ภายในวิหารพระเมืองแก้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



DSC01302.JPG



DSC01301.JPG



IMG_4381.JPG



พระประธาน (พระพุทธรูปปางเปิดโลก) ประดิษฐานภายในวิหารพระเมืองแก้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



IMG_4411.JPG



คำขอขมาพระรัตนตรัย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)


       สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ



IMG_4384.JPG



IMG_4409.JPG



สรีระสังขารพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม) ประดิษฐานภายในวิหารพระเมืองแก้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



2.2.2.1.JPG



ภาพวาดพระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา, หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา) เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม รูปที่ ๑


พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ชาตะ วันอังคาร ปีฉลู (ปีเป้า) ที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖ มรณภาพ วันพุธ ที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๓ (ตรงกับวันวิสาขบูชาในปีนั้น) ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก) จ.เชียงใหม่ สิริอายุรวมได้ ๘๗ ปี ๖๑ พรรษา


นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๙ ที่หลวงปู่ได้เข้ามาทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จนกระทั่งมรณภาพในปี พ.ศ.๒๕๔๓ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เป็นเวลาถึง ๕๔ ปี



IMG_4412.JPG



คำไหว้หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา

(ว่านะโม ๓ จบ) สาธุ อะหัง นะมามิ พระชัยยะวงศาภิกขุ พระอาจาริเยนะ อังคะละวิชัยโย ปัญฑิตโต ทะสะปาระมีโย ทะสาอุปะปาระมีโย ทะสะปะระมัตถะปาระมีโย กะตัง ปุญญังโน เมถาโถ เมนาโถ เมนาถัง สิระสา นะมามิ



IMG_3447.1.JPG



ประวัติของพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา

(พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์)

วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน


จากหนังสือชัยวงศาปูชนียาลัย



พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา นามเดิมมีชื่อว่า ด.ช.ชัยวงศ์ ต๊ะแหงม เกิดเมื่อ วันอังคารที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ (เดือน ๕ ใต้) ปีฉลู ณ บ้านก้อหนอง ม.๒ ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน บิดาชื่อ พ่อน้อยจันทะ ต๊ะแหงม มารดาชื่อ แม่บ่อแก้ว เป็นบุตรคนที่ ๓

ด.ช.ชัยวงศ์ อยู่กับพ่อแม่ เจริญอายุขึ้นมาถึง ๑๒ ปี ก็ได้ไปอยู่วัดแม่ปิงเหนือ (วัดก้อท่า) ขณะนั้นมีพระภิกษุนามว่า พุทธิมา ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า เป็นเจ้าอาวาส ได้อยู่กับหลวงน้าพุทธิมาราว ๔ เดือน หลวงน้าพุทธิมาก็ได้พาไปช่วยสร้างพระธาตุเกศสร้อย (แก่งสร้อย)

ซึ่ง ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้ไปทำการบูรณะก่อสร้างอยู่ ด.ช.ชัยวงศ์ ได้ช่วยแรงย่ำดินปั้นดินจี่ (อิฐดินเผา) อยู่เป็นเวลา ๓ เดือน ระหว่างนั้นก็ได้พบกับพระครูบาชัยลังก๋า ซึ่งไปนั่งหนักเป็นประธานสร้างพระธาตุเกศสร้อยด้วย และได้มอบตัวเป็นศิษย์

พระครูบาชัยลังก๋า จึงได้ให้ ด.ช.ชัยวงศ์ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพุธที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๘ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ (เดือน ๖ ใต้) ณ วัดแก่งสร้อย ต.มืดกา อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ (ปัจจุบันคือวัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก) โดยมีพระครูบาชัยลังก๋า เป็นพระอุปัชฌาย์ ตั้งชื่อให้ว่า “ชัยยะลังก๋าสามเณร”

เมื่องานก่อสร้างวัดพระธาตุเกศสร้อยเสร็จแล้วไปส่วนใหญ่ ท่านพระครูบาชัยลังก๋า ได้พาสามเณรชัยยะลังก๋าออกเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ จนถึงเมืองตื๋น (รวมเวลาเดินธุดงค์ได้ ๔ ปี) ระหว่างทางก็ได้แวะไปกราบรอยพระพุทธบาทห้วยช้างต้มด้วย ขณะนั้นยังรกร้างอยู่

เดินธุดงค์มาถึงวัดจอมหมอก ก็ได้พบกับครูบาพรหมจักร จึงได้พำนักอยู่จำพรรษากับครูบาพรหมจักรได้ ๑ พรรษา พอออกพรรษาแล้วอยู่ถึงเดือน ๕ เหนือ (เดือน ๓ ใต้) ขึ้น ๒ ค่ำ พระครูบาชัยลังก๋าก็ได้มอบสามเณรชัยยะลังก๋าให้อยู่อุปัฏฐากและศึกษาเล่าเรียนกับท่านครูบาเจ้าพรหมจักร ที่วัดจอมหมอก

จากนั้นมาก็ได้ติดตามครูบาเจ้าพรหมจักรออกเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ จนถึงเจตอังกฤษ (ปัจจุบันเป็นประเทศพม่า) ที่บ้านกะเหรี่ยงยางแปง ต.บ้านใหม่ อ.เล็งปอย จ.ผาอ่าง และอยู่จำพรรษาที่บ้านยางแปง ได้ ๑ พรรษา

อยู่มาถึงเดือน ๕ เหนือ (เดือน ๓ ใต้) ขึ้น ๘ ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๕ ปีวอก สามเณรชัยยะลังก๋ามีอายุครบ ๒๐ ปี ก็อุปสมบทที่นั่น โดยมีท่านครูบาเจ้าพรหมจักร เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระจันทร์ กับพระจัยยา เป็นพระคู่สวดกรรมวาจาจารย์ ตั้งฉายาว่า “พระชัยยะวงศาภิกษุ”

ครั้นถึงเดือน ๕ เหนือ (เดือน ๓ ใต้) แรม ๑ ค่ำ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๕ พระชัยยะวงศาก็กราบลาท่านครูบาเจ้าพรหมจักรกลับมาอยู่วัดจอมหมอก และอยู่จำพรรษาที่นั่น ได้ ๒ พรรษา

พอถึงเดือนยี่เหนือ (เดือน ๑๒ ใต้) ขึ้น ๓ ค่ำ ตรงกับวันศุกร์ที่ ๙ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ ก็ออกจากวัดจอมหมอกไปช่วยท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ ที่เชียงใหม่ ได้ ๗ เดือนก็สำเร็จ แล้วก็ลาครูบาเจ้าศรีวิชัยกลับไปจำพรรษาที่วัดจอมหมอกตามเดิม

พอออกพรรษาอยู่มาถึงเดือนยี่เหนือ (เดือน ๑๒ ใต้) ขึ้น ๓ ค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๒๙ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๘ ปีกุน พระชัยยะวงศาก็ออกจากวัดจอมหมอกไปยังวัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ เพื่อไปร่วมทำบุญฟังธรรมมหาชาติ ในงานครบอายุ ๕๘ ปี ของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ถึงเดือนยี่เหนือ (เดือน ๑๒ ใต้) แรม ๑ ค่ำ ก็กลับมาอยู่วัดจอมหมอกตามเดิม

ถึงเดือน ๗ เหนือ (เดือน ๕ ใต้) ขึ้น ๖ ค่ำ ตรงกับวันเสาร์ที่ ๒๘ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๗๙ พระสิทธิอ้าย เจ้าคณะหมวด (เจ้าคณะตำบล) เป็นเจ้าอธิการวัดดอนชัย ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ได้จัดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ๑ นาย มาเกาะเอาพระชัยยะวงศา (ขณะนั้นอุปสมบทได้เพียง ๒ พรรษา) พาไปที่วัดดอนชัย

เจ้าคณะหมวด (เจ้าคณะตำบล) ได้เรียกพระชัยยะวงศาเข้าพบ แล้วพูดมาว่า “พระวงศ์ท่านไม่ดี เพราะท่านคบคิดกับพระศรีวิชัย ไม่ลงรอยคณะสงฆ์ คือ ไม่ส่งรายชื่อให้เจ้าคณะหมวด ไม่มีใบกองเกิน และไม่มีใบสุทธิ ท่านจงสึกเดี๋ยวนี้แหละ”

แล้วพระชัยยะวงศาก็ตอบว่า “วัดจอมหมอกนี้เป็นวัดป่า เป็นวัดชั่วคราวของครูบาพรหมจักร ไม่มีทะเบียนวัด จึงไม่ได้ส่งเส้น (ชื่อ) พระ เณร เพราะกระผมอยู่องค์เดียว และระยะนี้ก็ไม่มีใบสุทธิทั่วไป ส่วนใบกองเกินนั้น กระผมก็ได้ไปคัดเลือกที่อำเภอลี้มาแล้ว ส่วนใบสุทธินี้ กระผมขอรับกับท่านเดี๋ยวนี้ไม่ได้หรือ”

เจ้าคณะหมวดก็ตอบว่า “ไม่ได้ ท่านต้องสึกให้ได้เดี๋ยวนี้” เจ้าคณะหมวดก็เอาผ้าขาวยาว ๓ ศอกมาให้นุ่ง แล้วดึงผ้าเหลืองออกทันที แล้วก็พูดว่า “ของวัดจอมหมอกมีพระพุทธรูปเป็นต้น ฉันจะยึดเอามาทั้งหมด” แล้วขับพระชัยยะวงศาผ้าขาวกลับไปวัดจอมหมอก บอกให้เวลาภายใน ๒ คืน ต้องหนี

เมื่อพระชัยยะวงศาผ้าขาวอยู่ในระยะ ๒ คืน พวกญาติโยมชาวกะเหรี่ยง คนเมือง และคนจีน ก็ได้เย็บผ้าจีวรขาวมาถวาย พระชัยยะวงศาก็รับบังสุกุลมาห่มดอง เมื่อเดือน ๗ เหนือ ขึ้น ๙ ค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ พระชัยยะวงศาก็ทำพิธีสักการบูชา สุมมาพระรัตนตรัย ก็ขอลาออกจากวัดจอมหมอก

แล้วก็เดินทางขึ้นไปตามหาครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่วัดบ้านปาง ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน เพื่อช่วยครูบาเจ้าศรีวิชัยสร้างวิหาร ได้ช่วยงานสร้างวิหารอยู่ระยะหนึ่ง

ถึงเดือน ๑๐ เหนือ (เดือน ๘ ใต้) ขึ้น ๙ ค่ำ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๘ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๙ พระชัยยะวงศาผ้าขาวก็ขอลาครูบาเจ้าศรีวิชัย จากวัดบ้านปาง เพราะพวกกะเหรี่ยงชาวเขาได้นิมนต์ท่านไปโปรดเข้าพรรษาที่บ้านดอยห้วยเปียง

ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยก็อนุญาตเพื่อไปโปรดพวกชาวเขา และให้ไปอยู่จำศีลภาวนาให้สงบในป่าเขา ถึงเมื่อคณะสงฆ์และบ้านเมืองสงบดีแล้วจึงค่อยกลับมาวัดบ้านปางเหมือนเดิม

พระชัยยะวงศาผ้าขาวก็เดินทางไปทางทิศตะวันตก ผ่านเมืองตื๋นถึงบ้านดอยห้วยเปียง เมื่อเดือน ๑๐ เหนือ (เดือน ๘ ใต้) ขึ้น ๑๓ ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๙

พวกชาวเขาและญาติโยมก็ยินดีพากันรับทำกระต๊อบในป่าหลังดอยให้อยู่จำพรรษาที่นี่ ไม่ให้ครูบาเจ้าไปไหนอีก พระชัยยะวงศาก็รับนิมนต์อยู่จำพรรษาที่วัดป่าดอยห้วยเปียง เป็นเขต ต.แม่ตื่นใต้ อ.แม่ระมาด จ.ตาก อยู่กับชาวเขา ได้ ๔ พรรษา

เมื่อเดือน ๑๒ เหนือ (เดือน ๑๐ ใต้) แรม ๖ ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๒ ก็ลาจากอรัญญวาสชาวเขาดอยห้วยเปียง กลับคืนมาเยี่ยมโยมแม่ที่บ้านก้อหนอง อ.ลี้ จ.ลำพูน แล้วเลยเดินทางต่อไปยังวัดบ้านปาง เพื่อช่วยครูบาอภิชัยขาวปีเหมียด (เก็บ) พระศพท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย บรรจุไว้ในหอเมรุ

ถึงเดือนยี่เหนือ (เดือน ๑๒ ใต้) แรม ๗ ค่ำ เป็นวันจันทร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๒ ครูบาอภิชัยขาวปีและพระชัยยะวงศาผ้าขาวก็ลาออกจากวัดบ้านปางไปอยู่บ้านกะเหรี่ยงห้วยหละและบ้านห้วยโทก ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน เป็นกำลังสำคัญในการสร้างถนนตั้งแต่บ้านห้วยหละ-บ้านห้วยโทก เป็นระยะทาง ๓ กิโลเมตร รวมเป็นเวลาได้ ๗ เดือน แล้วทำบุญฉลองถนน

จากนั้นครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีก็ลาจากบ้านห้วยหละไปอยู่ที่วัดพระบาทตะเมาะ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดเดิมของท่านครูบาอภิชัยขาวปี ส่วนพระชัยยะวงศาผ้าขาวก็อยู่จำพรรษาที่อารามสบหละ ตามคำนิมนต์ของพวกยางบ้านห้วยหละอีก ๑ พรรษา ก็พอดีปีนั้นเกิดสงครามกับญี่ปุ่น (สงครามโลกครั้งที่ ๒)

ออกพรรษาแล้วถึงเดือนยี่เหนือ (เดือน ๑๒ ใต้) เป็นวันแรม ๒ ค่ำ วันพุธที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๓ ก็ลาออกจากวัดป่าห้วยหละ เพราะมีคณะศรัทธาวัดป่าพลูมานิมนต์ให้ไปอยู่ที่ วัดป่าพลู ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน เพื่อไปสร้างกำแพงและพระวิหาร

ถึงเดือน ๙ เหนือ (เดือน ๗ ใต้) ขึ้น ๑๓ ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๔ คณะศรัทธาวัดป่าพลูได้นิมนต์ให้พระชัยยะวงศาผ้าขาวอุปสมบทต่อนิสัยขึ้นอีกใหม่ ที่วัดป่าพลู โดยมีเจ้าอธิการบุญมา (เจ้าอาวาสวัดบ้านโฮ่ง) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระจันทร์ กับพระมหาทองคำ เป็นพระคู่สวดกรรมวาจาจารย์ ให้ฉายาว่า “จันทวังโสภิกขุ”

ทางคณะสงฆ์บัญญัติให้พระจันทวังโส อยู่จำพรรษาที่วัดป่าพลู ๕ พรรษา พระจันทวังโสได้อยู่จนครบ ๕ พรรษา ในช่วงออกพรรษาก็ได้ออกจากวัดป่าพลูไปช่วยพระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีคุมงานการก่อสร้าง ที่วัดพระบาทตะเมาะ พอใกล้เข้าพรรษาก็กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าพลูตามเดิม

หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา อายุได้ ๓๓ ปี นายอำเภอลี้และคณะสงฆ์ในอำเภอลี้ ได้ให้ศรัทธาญาติโยมวัดนาเลี่ยง มานิมนต์ท่านครูบาอภิชัยขาวปี หรือหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา องค์ใดองค์หนึ่ง เพื่อไปอยู่เมตตาบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม แต่ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีไม่ยอมไป และบอกว่า “ไม่ใช่หน้าที่”

ครูบาเจ้าศรีวิชัย เคยพูดไว้ว่า “วัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้มนั้น เป็นหน้าที่ของครูบาชัยยะวงศ์องค์เดียว”

ด้วยเหตุนี้ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี จึงขอให้หลวงปู่ชัยยะวงศาพัฒนาไปอยู่โปรดเมตตาสร้างวัดพระพุทธบาทห้วยข้าวต้ม ซึ่งต่อมาภายหลังท่านได้เปลี่ยนชื่อวัดให้สั้นลง เป็น “วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม” และหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ท่านจึงได้มาอยู่จำพรรษาและบูรณะวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๙ เป็นต้นมา

นับตั้งแต่หลวงปู่ได้มาอยู่พัฒนาวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๙ ท่านก็ได้บุกเบิกปฏิสังขรณ์และก่อสร้างถาวรวัตถุหลายๆ อย่างเช่น วิหารครอบรอยพระพุทธบาท วิหารหอสวดมนต์ มณฑปพระบาทกบ ศาลายาว โรงครัว ฯลฯ โดยส่วนใหญ่ใช้วัสดุจากศิลาแลง ซึ่งหาได้ง่ายในแถบนั้น

เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๔ พวกกะเหรี่ยงได้อพยพจากป่าเข้ามาพึ่งใบบุญอยู่กับหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาเป็นจำนวนนับร้อยๆ หลังคาเรือน ก่อนที่พวกกะเหรี่ยงเหล่านี้จะมาอยู่ในหมู่บ้านห้วยต้ม หลวงปู่เคยไปโปรดเมตตาสงเคราะห์เป็นครั้งคราว

สาเหตุที่โยกย้ายกันมา เนื่องจากการไปมาติดต่อลำบาก จะมาทำบุญกับหลวงปู่สักครั้งหนึ่ง ก็สิ้นเปลืองเงินทองและเวลาเป็นอย่างมาก การอพยพมาอยู่ในระยะแรกมีความลำบาก เพราะพื้นที่บางส่วนเป็นหินศิลาแลงและแห้งแล้ง อีกประการหนึ่งพวกกะเหรี่ยงส่วนใหญ่เคยสูบฝิ่นและกินเนื้อสัตว์มาก่อน

ผู้จะมาอยู่ในหมู่บ้านนี้ หลวงปู่ให้ตั้งคำสัตย์ว่า ต้องเลิกสูบฝิ่นและเลิกกินเนื้อสัตว์ทุกคน เพราะสถานที่แห่งนี้ตามตำนานในอดีต พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาโปรด พระพุทธองค์ไม่ทรงเสวยเนื้อสัตว์ และยังได้ทรงประทับรอยพระพุทธบาทเอาไว้ด้วย จึงถือเป็นประเพณีตั้งแต่นั้นสืบมา

ผู้ที่ไม่เชื่อฟังมักจะอยู่อย่างไม่เป็นสุข มีเรื่องทุกข์ใจ ทุกข์กาย ร้อนใจ และเจ็บป่วยอยู่เสมอ กะเหรี่ยงบางคนไม่สามารถทนอยู่ได้ ก็ต้องอพยพกลับไปอยู่ที่อื่น พวกที่ทนอยู่ได้ก็ตั้งหน้าทำความดี ทำบุญให้ทาน รักษาศีลภาวนา มีความขยันขันแข็งต่อสู้อุปสรรคอันแห้งแล้งกันดารของธรรมชาติ มีชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ ไปวันหนึ่งๆ ด้วยความมุ่งมั่นศรัทธาในคำสอน

ก่อนหน้านั้นพื้นที่แถบนี้เคยมีชนชาวกะเหรี่ยงที่มีคุณธรรม มีความเชื่อฟัง ปฏิบัติตามคำสัตย์ปฏิญาณที่ได้ให้ไว้กับหลวงปู่ก็รักษาศีลภาวนา ละเว้นการกินเนื้อและเบียดเบียนสัตว์ทุกชนิด ภาวะน้ำที่เคยแห้งแล้งก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สภาพของดินตามอันแข็งกระด้าง ค่อยเปลี่ยนสภาพเป็นร่วนซุย เหมาะสมต่อการเพาะปลูกมากขึ้น เพราะผลจากการปลูกพืชหมุนเวียน ทนต่อสภาวะความแห้งแล้งได้ดี

หลังจากที่เก็บเกี่ยวพืชผลและไถกลบผืนหน้าดินเสียใหม่ ซากลำต้นพืชของเดิมก็เสื่อมสลายกลายเป็นปุ๋ยได้ดี ประกอบกับฝนฟ้าตกต้องตามฤดูมากขึ้น ทำให้พื้นที่กลับอุดมสมบูรณ์ขึ้นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป เหมือนกับพลิกแผ่นดินที่แห้งแล้งให้กลับกลายมาเป็นผืนแผ่นดินที่ชุ่มชื้นไปด้วยน้ำ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคุณธรรมความดีที่พวกเขาพยายามสร้างสรรค์และสั่งสมนั่นเอง

---------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : พระอ่อนแก้ว ชัยยะเสโน, พระพงษ์ศักดิ์ คัมภีรธัมโม และคุณธนกร สุริยนต์. (๒๕๔๔, ๑ พฤษภาคม). ชัยวงศาปูชนียาลัย (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. สัมพันธ์พาณิชย์.)



IMG_4383.JPG



IMG_4413.JPG



“ ปัจจุบันแม้ว่าหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาสิ้นไปแล้ว แต่พระบารมีของหลวงปู่ก็ยังครอบคลุมสงเคราะห์หมู่ชาวกะเหรี่ยง บรรดาศิษย์และวัดพระพุทธบาทห้วยต้มอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

.....ตราบใดที่พวกเรายังมีหลวงปู่ครูบาเจ้าอยู่ในท่ามกลางใจเสมอ ตราบนั้นความเจริญย่อมมีเกิดขึ้นในดินแดนแห่งนี้แก่ทุกคน ”



DSC01337.JPG



บูชะยะ ชะยะวงศา โลกุหาวมุตุรุโวะ  

ขอบูชาพระชัยยะวงศา ผู้ฉุดคนให้พ้นจากนรก



IMG_4401.JPG



IMG_4398.JPG



รูปเหมือนองค์เล็กพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ประดิษฐานภายในวิหารพระเมืองแก้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01287.JPG



DSC01282.JPG



ต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

เป็นต้นไม้คู่บารมีของพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ใต้ต้นไม้นี้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกรรมฐานของหลวงปู่ครูบาวงศ์


IMG_3873.JPG



DSC01286.JPG



ประวัติต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



ประวัติความเป็นมาของต้นบุนนาคต้นนี้ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ได้เล่าว่า ท่านได้ถือวัตร ปฏิบัติตามหลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ของหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา

ท่านได้ให้อนุศาสน์ เรื่องของนิสัย ๔ คือ ๑.เที่ยวบิณฑบาต ๒.นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๓.อยู่โคนไม้ ๔.ฉันยาดองด้วยน้ำ มูตรเน่า   

หลวงปู่ครูบาพรหมจักร ท่านปฏิบัติธรรมใต้ต้นไม้ ถือธุดงควัตร (อยู่โคนไม้) ท่านจะถือปฏิบัติธรรมใต้ต้นดอกบุนนาคอยู่เสมอ หลวงปู่ฯ เลยยึดถือต้นดอกบุนนาค เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของท่านมาโดยตลอด

หลวงปู่ฯ บอกว่า ต้นดอกบุนนาคเป็นไม้มงคล ต่อไปในภายภาคหน้า ต้นดอกบุนนาคจะเป็นต้นไม้ที่เปรียบเหมือนต้นโพธิ์ของพระศรีอริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้

ต่อมาหลวงปู่ฯ ก็ได้ก่อกำแพงกั้นรอบต้นดอกบุนนาค เพื่อไม่ให้คนมารบกวน ตอนท่านนั่งวิปัสสนากรรมฐาน ภายหลังท่านก็ได้สร้างเป็นซุ้มพระล้อมรอบต้นดอกบุนนาค เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นสถานที่กราบไหว้บูชาของศรัทธาญาติโยม

ประเพณีทางเหนือ จะยึดถือครูบาอาจารย์เป็นหลัก สถานที่ปฏิบัติธรรมหรือสถานที่สำคัญต่างๆ ที่ครูบาอาจารย์ได้มานั่งหรือมาปฏิบัติธรรม เขาจะให้ความเคารพกับสถานที่ต่างๆ ที่มีประวัติความเป็นมาและมีความสำคัญ

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม)


***(หมายเหตุ : สนใจติดตามข้อมูล วัดพระพุทธบาทตากผ้า เพิ่มเติมได้ที่เว็บแดนนิพพาน @ http://www.dannipparn.com/thread-1175-1-1.html)


DSC01283.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในซุ้มล้อมรอบต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_3882.JPG



IMG_3884.jpg



รูปพระสังกัจจายน์ ประดิษฐานภายในซุ้มล้อมรอบต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_3860.JPG



IMG_3868.jpg



DSC01284.jpg



ศาลเจ้าแม่กวนอิม วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_3923.JPG


IMG_3876.JPG



วิหารพระอุปคุต วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_3927.JPG



IMG_3928.JPG



IMG_3930.JPG



รูปพระอุปคุต วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_3929.JPG


คำบูชาพระอุปคุต
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)     
     อุบปะคุตโต มหาเถโร      
     สัพพะ พุทเธ นะเยตะโต
     ปะรัชชะ มะนะ
     ปะรัชชะ นานา
     คะตะโส อิทานัง
     นะอะคะโต มะมะจิตติ
     อะหัง วันทา อิทาเมนะ
     วะยัง วิธัง เสฏฐัง
     เสติ สิทธิ สีเนหัง
     นิรันตะรัง ปิยังมะมะ



IMG_3863.JPG



IMG_3855.jpg



ศาลาพรหมจักโก วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_3877.JPG



DSC01289.JPG



ศาลาใส่บาตร (ศาลาตักบาตร) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



IMG_3887.JPG



DSC01288.JPG



IMG_3904.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในศาลาใส่บาตร วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_3893.JPG



พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร และรูป
พระมหากัจจายนเถระ ประดิษฐานภายในศาลาใส่บาตร วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_3901.JPG



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าชัยยะลังก๋า อรัญญาวาสีมหาเถระ (วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย อ.สามเงา จ.ตาก) ประดิษฐานภายในศาลาใส่บาตร วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



คำไหว้ครูบาเจ้าชัยยะลังก๋า วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
(นะโม ๓ จบ แล้วว่า) สาธุ อะหัง นะมามิ พระอาริเยนะ
ชัยยะลังก๋า ภิกขุภาวะ ศีละ วันต๋า อรัญญา วาศี กะต๋าธิก๋านังวา ปุญญัง โน คุณโณ เมนาโถ สิระสา นะมามิฯ


IMG_3894.JPG



พระพุทธรูปปางถวายเนตร และรูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย) ประดิษฐานภายในศาลาใส่บาตร วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_3891.JPG



รูปเหมือนพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา ประดิษฐานภายในศาลาใส่บาตร วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม



072959adkikk15riwic5k1.jpg



วิหารพระ ๑๐๘ นิ้ว อยู่ด้านหลังศาลาใส่บาตร วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


DSC01293.JPG



ซุ้มประตูทางเข้าวิหารพระ ๑๐๘ นิ้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_3906.JPG


ภายในวิหารพระ ๑๐๘ นิ้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


DSC01295.JPG


IMG_3909.JPG



DSC01297.JPG



พระประธานและพระพุทธรูปต่างๆ และรูปเหมือนพระอริยสงฆ์ ประดิษฐานภายในวิหารพระ ๑๐๘ นิ้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


IMG_3913.JPG



จิตรกรรมฝาผนังภาพพุทธประวัติ บนซุ้มประตูภายในวิหารพระ ๑๐๘ นิ้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

คือ ภาพที่แสดงเรื่องราวพระพุทธองค์เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดา ถึงวันมหาปวารณาเสด็จลงจากดาวดึงส์โดยบันไดแก้ว บันไดทอง บันไดเงิน แล้วทรงเปิดโลก บันดาลให้ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ได้แลเห็นซึ่งกันและกัน


IMG_3919.JPG



IMG_3916.JPG



จิตรกรรมฝาผนังภาพหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา พร้อมศิษย์ชาวกะเหรี่ยงและคณะศรัทธาทั้งหลาย บนหน้าบันของซุ้มประตูทางเข้าวิหารพระ ๑๐๘ นิ้ว วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-23 00:30 , Processed in 0.102699 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.