แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดถ้ำดอกคำ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ (รอยพระพุทธหัตถ์ , รอยประทับนั่ง , พระธาตุเจดีย์) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_7732.JPG



IMG_7898.JPG



ก้อนผาลูกที่เป็นฐานเจดีย์หน้าวิหาร ลูกที่ถัดจากฐานเจดีย์ และที่อยู่ข้างบนคล้ายเพดานนั้น มีความเชื่อว่าเป็นก้อนผาที่ยักษ์เอาขว้างตามหลังพระพุทธเจ้าค่ะ



IMG_7754.JPG


IMG_7750.JPG



ช่องรูก้อนหิน ใต้ฐานพระธาตุเจดีย์ วัดถ้ำดอกคำ ค่ะ


IMG_7758.JPG



IMG_7735.JPG



รูปปั้นกุมภัณฑ์ อยู่ด้านหน้าพระธาตุเจดีย์และถ้ำดอกคำ วัดถ้ำดอกคำ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7734.JPG



IMG_7772.JPG



DSC05197.JPG



วิหาร ภายใน ถ้ำดอกคำ วัดถ้ำดอกคำ ค่ะ


DSC05174.JPG



IMG_7776.JPG



IMG_7779.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน วิหาร ถ้ำดอกคำ วัดถ้ำดอกคำ ค่ะ



IMG_7882.JPG


IMG_7861.JPG



DSC05180.JPG



บันไดทางขึ้นสักการะรอยประทับพระที่นั่ง อยู่ด้านข้างวิหาร วัดถ้ำดอกคำ ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC05182.JPG



IMG_7858.JPG



IMG_7792.JPG



IMG_7849.JPG



IMG_7852.JPG



รอยประทับพระที่นั่ง (รอยก้นพระพุทธเจ้า) ประดิษฐานภายใน วิหาร ถ้ำดอกคำ วัดถ้ำดอกคำ
มีส่วนยาวที่สุด ๒๕.๒ เซนติเมตร กว้างที่สุด ๑๖๕ เซนติเมตร ลึกที่สุด ๗๖ เซนติเมตร ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC05177.JPG



DSC05176.JPG



IMG_7788.JPG



รูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ประดิษฐานภายใน วิหาร ถ้ำดอกคำ วัดถ้ำดอกคำ ค่ะ


คำขอขมา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)   
        มหาเถเร  ปะมาเทนะ  ทวาระตะเย  นะกะตัง  สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะตุ  โน  ภันเต

      “กรรมที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้ล่วงเกินต่อ ท่านพ่อแม่ ครูอาจารย์ องค์พระหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ทั้งที่เจตนา หรือพลั้งเผลอ ด้วยความขลาดเขลา ขอองค์พระหลวงปู่มั่นโปรดเมตตา งดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น แก่ลูกด้วยเทอญ”


IMG_7787.JPG




ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



(แหล่งที่มา : ป้ายประวัติข้อมูลหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากศูนย์ปฏิบัติธรรมภูริทตฺโต (ศิริพรหมรังสี) ภายใน วัดถ้ำดอกคำ)


ชื่อเดิม คือ "มั่น แก่นแก้ว" เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เป็นบุตรของนายคำด้วง นางจันทร์ แก่นแก้ว มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๙ คน ท่านเป็นบุตรคนแรก เป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดงแข็งแรงสติปัญญาดีเลิศ

อายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักวัดคำบง พออายุได้ ๑๗ ปี ลาสิกขาออกไปช่วยงานทางบ้านตามคำบิดาขอร้อง ครั้นอายุได้ ๒๒ ปี เข้าอุปสมบทสังกัดธรรมยุติกนิกาย ณ วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๖ โดยมีพระอริยกวี(อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทา ชยเสนโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ขนานนามมคธว่า ภูริทตฺโต แปลว่า ผู้ให้ปัญญา ผู้แจกจ่ายความฉลาด

ท่านได้เข้าฝึกปฏิบัติธรรม วิปัสสนากับหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ณ. วัดเลียบ  จ.อุบลราชธานี จนกระทั่งท่านได้ออกจาริกเดินธุดงค์ตามสถานที่ต่างๆ หลังออกพรรษาแล้วได้ศึกษาธรรมะจากพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันทเถร จันทร์) วัดบรมนิวาส กทม. แล้วออกจาริกไปอีกหลายสถานที่จนกระทั่งถึงที่ถ้ำไผ่ขวาง ถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายก

ต่อมาท่านได้มาทางภาคเหนือได้จำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ ๑ พรรษา ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส เป็นพระครูวินัยธร และพระอุปัชฌาย์ ท่านจำใจรับตำแหน่ง เพราะเห็นแก่ท่านเจ้าคุณอุบาลี (สิริจันทเถร  จันทร์) ผู้นิมนต์ที่เป็นอาจารย์ของตน ขณะที่ท่านกำลังอาพาธเป็นโรคมะเร็งที่กระดูกขา แต่ต่อมาท่านได้สละตำแหน่งลาภสักการะทั้งปวงที่เป็นตัวถ่วงความสำเร็จการปฏิบัติที่เข้าถึงแก่นแท้ของธรรม ท่านธุดงค์เข้าป่าอาศัยอยู่ตามดอยมูเซอ ถ้ำเชียงดาว ถ้ำพวง ฯลฯ แล้วออกไปพำนักตามสถานที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง จนได้รับความกระจ่างแจ่มชัดในพระธรรมวินัยสิ้นความสงสัยในสัตถุศาสน์

พอถึงปี พ.ศ.๒๔๗๘ ท่านได้บรรลุอรหันตผล ณ. วัดถ้ำดอกคำ ต.น้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ จากนั้นท่านธุดงค์ไปดอยนะโม ได้พบและพูดกับลูกศิษย์คือ หลวงปู่ขาว อนาลโย ว่า "ผมหมดงานที่จะทำแล้ว ถ้าผมอยู่ก็คงสานกระบุงตระกร้าพอช่วยเหลือพวกท่านและลูกศิษย์ลูกหาได้บ้างเท่านั้น"

ต่อมาพระธรรมเจดีย์ (พนฺธุโล  จูม) เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ ได้นิมนต์ท่านให้นิวัติกลับอีสาน เดินทางโดยรถไฟจากเชียงใหม่ไปนครราชสีมา โดยพำนักที่วัดป่าสาลวัน แล้วลงจำพรรษาที่วัดป่าบ้านนามน ตำบลนาใน จังหวัดสกลนคร พอพระภิกษุมาอยู่ศึกษากับท่านมากเข้า ท่านจึงดำริว่าจะย้ายที่จำพรรษาไปที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร พอเข้ามาลงหลักปักฐานที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เรียบร้อยแล้ว ท่านได้ทุ่มเทสอนอุบายการหลุดจากความยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งทั้งปวง แก่ลูกศิษย์ทั้งหลายโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ศิษยานุศิษย์ของท่านแพร่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นสุดยอดพระอรหันต์แห่งยุคเป็นต้นแบบพระกรรมฐาน ที่ยึดมั่นในหลักพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ท่านสำเร็จปฏิสัมภิทานุศาสน์ ๔ อย่าง คือ

๑. อัตถปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในอรรถ
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในธรรม
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในภาษา
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือแตกฉานในปฏิภาณ

โดยปฏิปทาที่ท่านยึดมั่นมาตลอดชีวิตนั้นคือ ธุดงควัตร เป็นผู้มีความจริงจังในการงานตั้งแต่วัยเยาว์ ธุดงควัตรข้อสำคัญที่ท่านยึดมั่นมาตลอดจนวาระสุดท้ายของชีวิต สรุปโดยดังนี้

๑. ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุลนับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา
๒. ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตรมาฉันเป็นนิตย์
๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตรใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักจึงงด
๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้รับสมัญญานามจากบรรดาลูกศิษย์ว่าเป็น "พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน" เป็นผู้มีประวัติงดงามเป็นฐานที่พึ่งอันมั่นคงตลอดจนเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจของเหล่าศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ตลอดเวลาในเพศบรรพชิตได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีอันจะหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยากยิ่ง

วาระสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ เวลา ๐๒.๒๓ น. สิริอายุ ๗๙ ปี ๕๖ พรรษา ซึ่งต่อมาอัฐิของท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุ


IMG_7780.JPG



รูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม ประดิษฐานภายใน วิหาร ถ้ำดอกคำ วัดถ้ำดอกคำ ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC05185.JPG



IMG_7829.JPG



ถ้ำดอกคำสถานที่ปฏิบัติธรรม วัดถ้ำดอกคำ ค่ะ


DSC05195.JPG



IMG_7865.JPG



พระพุทธรูปปางไสยาสน์ (พระนอน) ประดิษฐานภายใน ถ้ำดอกคำ วัดถ้ำดอกคำ ค่ะ


IMG_7843.JPG



IMG_7869.JPG



IMG_7871.JPG



หลวงพ่อเงินล้าน ประดิษฐานภายใน ถ้ำดอกคำ วัดถ้ำดอกคำ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7883.JPG



DSC05189.JPG



DSC05188.JPG



DSC05190.JPG



IMG_7877.JPG



IMG_7953.JPG



IMG_7825.JPG



รอยพระพุทธหัตถ์ (รอยนิ้วมือพระพุทธเจ้า) วัดถ้ำดอกคำ ประดิษฐานบนหน้าผาทางขวามือเวลาเดินเข้าถ้ำ มีรอยนิ้วมือ ๔ นิ้ว มีส่วนที่สูงที่สุดประมาณ ๑ เมตร กว้างที่สุด ๑ เมตร เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณว่า “รอยนิ้วมือพระพุทธเจ้าและรอยมือพระพุทธเจ้ามีรอยลงรักปิดทองมาแต่โบราณ”

ถัดจากรอยพระพุทธหัตถ์มาทางซ้าย มีถ้ำแยกไปอีกแห่งหนึ่ง เป็นที่บรรจุดอกบัวคำ มีรอยแตกลึกลงไป ผู้ใจบุญเอาอัฐิปล่อยลงไปถือว่าเป็นการทำบุญส่วนหนึ่ง โดยเล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นที่บรรจุดอกบัวคำค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7885.JPG



จุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ พลอยพุทธบูชา ลูกแก้วจักรพรรดิ และปิดทอง เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ค่ะ สาธุ สาธุ


IMG_7904.JPG



IMG_7808.JPG



คำบูชาพระธาตุและพระพุทธหัตถ์


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)   

       อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต  เจติยัง          สัพพัง  สัพพัตถะฐาเน  สุปะติฏิฐิตัง  
       พุทธะสารีรังกะธาตุง  มหาโพธิง         พุทธะรูปัง  คันธะกุฏิง  จะตุททิสา
       สะหัสเส  ธัมมะขันเธ  สัพเพตัง          ปาทะเจติยัง  สักการะรัง
       อะหัง  วันทามิ  ธาตุโย                    อะหัง  วันทามิ  สัพพะโส
       อิจเจตัง  ระตะนัตตะยัง                    อะหัง  วันทามิ  สัพพะทา

       ข้าพเจ้าขอโอกาสกราบไหว้บูชา พระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธหัตถแห่งพระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นที่พึ่งอันประเสริฐได้มาประดิษฐานแล้วในพระสถูปเจดีย์ทั้งหลายเหล่านี้
       ๑ พระพุทธรูปปฏิมา  ๑ พระคันธกุฎี   ๑ พระบาทเจดีย์  ๑ ด้วยการสักการะเหล่านี้

       ข้าพเจ้าขอโอกาสกราบไหว้บูชา พระธรรมทั้งแปดหมื่นสี่พันธัมมะขันธ์ด้วยการสักการะเหล่านี้
       ข้าพเจ้าขอโอกาสกราบไหว้บูชา พระบรมธาตุแห่งพระอรหันต สาวกทั้งหลายเหล่านั้น

       ด้วยการสักการะเหล่านี้ ขอจงเป็นกุศลเป็นนิสัยปัจจัยตามส่งให้จิตของข้าพเจ้าสืบไป...



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC05207.JPG



รูปปั้นเอกอัครมหาบูรพปรมาจารย์ ชีวกโกมารภัจจ์ ประดิษฐานภายใน ถ้ำดอกคำ วัดถ้ำดอกคำ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ ค่ะ


DSC05208.JPG



IMG_7956.JPG



IMG_7965.JPG



IMG_7790.JPG



IMG_7958.JPG



ประตูลอดบาป ภายใน ถ้ำดอกคำ วัดถ้ำดอกคำ เมื่อเดินเข้าไปทางซ้ายมือ ด้านล่างมีช่องผากว้างประมาณคนออกไปได้ เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณว่า “ประตูลอดบาป” ถือว่าคนใดทำบาปมักจะออกไปไม่ได้ บางทีจะคิด คือไปก็ไม่ได้ จะกลับมาก็ไม่ได้ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC05206.JPG



IMG_7864.JPG



IMG_7809.JPG



IMG_7890.JPG



IMG_7834.JPG



DSC05202.JPG



บรรยากาศภายใน ถ้ำดอกคำสถานที่ปฏิบัติธรรม วัดถ้ำดอกคำ ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7859.JPG



IMG_7702.JPG



DSC05211.JPG



IMG_7920.JPG



DSC05216.JPG



DSC05219.JPG



หลังจากนั้นเราเดินออกจากถ้ำดอกคำ ไปจุดชมวิว วัดถ้ำดอกคำ กันต่อเลยนะคะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 03:29 , Processed in 0.048465 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.