แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 8638|ตอบ: 30
go

วัดพระธาตุจอมปิง ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปาง (พระบรมธาตุซี่โครงเบื้องซ้าย) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC04884.JPG



วัดพระธาตุจอมปิง  

.นาแก้ว  อ.เกาะคา  จ.ลำปาง

[พระบรมธาตุซี่โครงเบื้องซ้าย]



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        •  วัดพระธาตุจอมปิง  ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปาง
        •  และทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญครั้งนี้

หมายเหตุ   
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทาน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0428.JPG



IMG_0535.JPG



DSC04881.JPG



IMG_0520.JPG



IMG_0539.JPG



IMG_0515.JPG



การเดินทางมากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุจอมปิง วันนี้ก็ขอจากกันด้วยภาพบรรยากาศภายในวัดเลยนะคะ สวัสดีค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC04883.JPG



หอระฆัง วัดพระธาตุจอมปิง ค่ะ


IMG_0754.JPG



ขอเรียนเชิญร่วมทำบุญบูรณะหอระฆัง วัดพระธาตุจอมปิง


หมู่ ๘ ตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง



ด้วยคณะกรรมการและศรัทธาชาวบ้านพระธาตุจอมปิง

พิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้ทำการบูรณะใหม่

เนื่องจากหอระฆังของวัดได้ทรุดโทรมเป็นอย่างมาก

จึงขอกราบเรียนเชิญ ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมทำบุญในครั้งนี้



img_lotus2.png



ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโดยตรงได้ที่


วัดพระธาตุจอมปิง  ตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง



ขออนุภาพคุณพระศรีรัตนตรัย และบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญในครั้งนี้

จงดลบันดาลประธานพรให้ท่าน พร้อมครอบครัว จงประสบแต่ความสุข ความเจริญ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC04915.JPG



IMG_0644.JPG



IMG_0641.JPG



DSC04919.JPG



IMG_0639.JPG



ศาลเจ้าพ่อม้าขาว (พ่อหนานกัณฑิยะ) วัดพระธาตุจอมปิง  ผู้ยอมสละชีวิตเพื่อชาวเมืองจุมภิตาราม เป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไปค่ะ



IMG_0577.JPG



IMG_0579.JPG



ต้นตะเคียนทอง วัดพระธาตุจอมปิง ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0625.JPG



รูปภาพครูบาเจ้าศรีวิชัย ภายใน พิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุจอมปิง ค่ะ



IMG_0631.JPG



รูปเหมือนหลวงพ่อแก้ว จรธมฺโม (ไชยราช) อดีตเจ้าอาวาส วัดพระธาตุจอมปิง ภายใน พิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุจอมปิง ค่ะ


IMG_0629.JPG



ประวัติหลวงพ่อแก้ว จรธมฺโม (ไชยราช)



(แหล่งที่มา : เอกสารข้อมูลประวัติหลวงพ่อแก้ว จรธมฺโม (ไชยราช) ภายใน พิพิธภัณฑ์  วัดพระธาตุจอมปิง)



หลวงพ่อแก้ว จรธมฺโม (ไชยราช) เกิดเมื่อพ.ศ.๒๔๕๓ บ้านจอมปิง มีพี่น้อง ๖ คน เป็นบุตรคนที่ ๔ บิดา นายนา มารดา นางป้อ ไชยราช อายุ ๑๒ ปี ได้ร่วมก่อสร้างกำแพงวัด ซึ่งมีครูบาขาวปีเป็นผู้นำในการก่อสร้าง พ.ศ.๒๔๖๖

ด้านใต้ ด้านเหนือขาว บ้านป่าแข บ้านนาแก้ว บ้านสองแควเหนือ-ใต้ ด้านตะวันออกบ้านจอมปิงลุ่ม บ้านนาแส่ง บ้านแม่ไฮ บ้านนากิ๋มใต้  ด้านตะวันตก บ้านนากิ๋มเหนือ บ้านดอนมูล บ้านสบต๋ำ บ้านหาดปู่ด้าย

บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี เป็นลูกศิษย์ของพระแปง และได้ปรนนิบัติครูบาเจ้าสุนันต๊ะที่วัดจอมปิงลุ่ม พออายุได้ ๑๓ ปี ครูบาก็ได้เอาธรรมมหาชาดกกัณฑ์มัทรีย์  อายุได้ ๑๗ ปี ได้ไปนิมนต์ครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งมาพักอยู่วัดป่าขามในเมืองลำปาง ไปด้วยกัน ๓ คน มีพระแปง ปู่นาต่อม และสามเณรแก้วให้มาสร้างวิหารเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๐ ช่างก่อสร้างพ่อก๋องแก้ว บ้านนาแส่ง และพ่อจินา บ้านแม่ไฮ และให้เจ๊กหน่ำและเจ๊กบาง เป็นช่างหล่อฐาน

ฝนเกิดตกหนัก พระและเณรก็ขึ้นไปอยู่บนเพดาน เพราะน้ำท่วมและน้ำได้สูงขึ้นได้หนีขึ้นไปอยู่บนหลังคา และขอให้ชาวบ้านเอาเรือมารับและได้ย้ายมาอยู่วัดพระธาตุจอมปิง พอสร้างเสร็จนิมนต์พระครูบามาอยู่ ท่านก็ว่าจะให้ใครมาอยู่ก็แล้วแต่ สามเณรขอพระแปงมาอยู่ รวมทั้งพระเณร ๗-๘ องค์ (ซึ่งกุฏิหลังนี้ได้รื้อไปแล้วปัจจุบันนี้) การสร้างกุฏิยังไม่เสร็จจะสึกได้อย่างไร พระแก้วก็ได้ไปขอรับบริจาคจากชาวบ้าน สมัยนั้นค่าของเงินเป็น ๕, ๑๐, ๒๕ สตางค์ รวมได้ ๒๕ บาท

แล้วก็ไปขอกำนันก๋วนมาช่วยสร้าง ซึ่งตอนนั้นยังไม่ได้เป็นกำนัน พ่อแก่น้อยเป็นกำนัน ได้ช่วยกันสร้างจนเสร็จแล้วจึงนิมนต์ครูบาสุนันต๊ะมาอยู่และร่วมฉลอง จากนั้นพระแก้วก็ได้ลาสิกขา และก็ได้แต่งงานกับผู้หญิงบ้านสบต๋ำได้บุตร ๒ คน หลังจากนั้นก็ได้แยกทางกัน ต่อมาได้กลับมาอยู่บ้านจอมปิงได้แต่งงานใหม่อีกครั้งได้ลูก ๑ คน ชาวบ้านก็ได้ขอให้มาเป็นอาจารย์วัดได้ ๓๐ กว่าปี จนมีลูก ๓ คน ได้ลาจากอาจารย์วัดมาบวชเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓  ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมปิงถึง พ.ศ.๒๕๔๒ แล้วท่านก็ได้ลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๒


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0607.JPG



ถ้วยลายคราม ภายใน พิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุจอมปิง ค่ะ


IMG_0619.JPG



กล้องสูบยาทำจากดิน ภายใน พิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุจอมปิง ค่ะ


DSC04893.JPG



IMG_0622.JPG



IMG_0623.JPG



กลุ่มเงินตราไทยและต่างประเทศ ภายใน พิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุจอมปิง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC04890.JPG



IMG_0632.JPG



IMG_0618.JPG



IMG_0604.JPG



กลุ่มพระทำจากสำริด ภายใน พิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุจอมปิง ค่ะ


IMG_0601.JPG



เศียรพระพุทธรูปหินทรายศิลปะสุโขทัย ขุดพบที่เมืองโบราณวัดพระธาตุเชียงทอง (วัดกู่ทุ่งศาลา) ภายใน พิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุจอมปิง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC04887.JPG



IMG_0598.JPG



พิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุจอมปิง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔  เป็นที่เก็บโบราณวัตถุต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะลูกปัดหิน กระพรวนสำริดอายุหลายพันปี และยังมีสิ่งของที่น่าชมอีกค่ะ


ประวัติแหล่งโบราณคดีบ้านพระธาตุจอมปิง



(แหล่งที่มา : เอกสารข้อมูลจากวารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๔ ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ภายใน พิพิธภัณฑ์  วัดพระธาตุจอมปิง)


แหล่งโบราณคดีบ้านพระธาตุจอมปิง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ ต.นาแก้ว อ.เกาะคา จ.ลำปาง ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวัง ห่างจากตัวอำเภอเกาะคาไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ลักษณะเป็นเนินดินไม่สูงนัก บริเวณที่สูงของเนินเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมปิง

ในปี พ.ศ.๒๕๑๘ เจ้าหน้าที่ร.พ.ช.เข้ามาตัดถนนบริเวณหลังวัดพระธาตุจอมปิงได้พบโบราณวัตถุหลายชนิด เช่น โครงกระดูก กำไล กระพรวน ลูกปัดหิน และแก้ว นอกจากนั้นก็มีพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นจากการก่อสร้างบ้านของชาวบ้านเช่น ตะขอสำริด (ชิ้นส่วนประกอบของเฉลียงหรือคานหาม)

ต่อมาวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๓๑ ได้พบโบราณวัตถุอีกขณะวางท่อประปาในหมู่บ้าน ในระดับความลึกประมาณ ๑๐๐ เมตร หน่วยศิลปากรได้ออกไปสำรวจร่วมกับ นายธีรศักดิ์ คำแน่น เลขานุการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และนายศักดิ์ รัตนชัย นายกสมาคมเพื่อรักษาสมบัติวัฒนธรรมประจำจังหวัดลำปาง

โบราณวัตถุที่พบปัจจุบันเก็บรวบรวมไว้ที่วัดพระธาตุจอมปิง โบราณวัตถุเหล่านี้ขุดพบลึกประมาณ ๑-๑.๕ เมตร



โบราณวัตถุที่พบแยกตามประเภทของวัสดุที่นำมาผลิต แบ่งออกได้ดังนี้


IMG_0612.JPG



๑. ประเภทสำริด
๑.๑   กำไล ประดับด้วยลูกกระพรวนเล็กๆ แขวนอยู่โดยรอบ มีจำนวน ๓ วง
๑.๒   กำไล มีลักษณะคล้ายกำไลแขน มีลวดลายประดับ จำนวน ๔ วง
๑.๓   กำไล หรือปลอกแขน มีลักษณะทรงกระบอก สามารถปรับขนาดโดยมีรอยผ่าแยกจากกันมีลวดลายประดับที่ขอบ มีจำนวน ๑ วง
๑.๔   ชิ้นส่วนเครื่องประดับ ลักษณะรูปยาว ชำรุดเป็นท่อนประดับด้วยลูกกระพรวนเล็กๆ ทางด้านข้าง จำนวน ๒ ชิ้น
๑.๕   แหวน จำนวน ๒ วง


IMG_0611.JPG



๒. ประเภทหิน
๒.๑   กำไลลักษณะหินอ่อน จำนวน ๒ วง
๒.๒   ลูกปัดทำจากอาเกต ในตระกูลควอตซ์ มีสีดำ สีขาว สีน้ำตาล ๙ อันเป็นวงๆ สลับสี



๓. ประเภทแก้ว
๓.๑   กำไลหรือต่างหูตัดเป็นร่องบริเวณข้อกำไล สามารถหดหรือขยายได้ ในเวลาสวม จำนวน ๖ วง
๓.๒   ลูกปัดขนาดเล็กมีสีต่างๆ ได้แก่ ฟ้า เทา เหลือง และเขียว เป็นต้น



IMG_0610.JPG



๔. ประเภทกระดูก
๔.๑   ลูกปัดขนาดเล็กสีขาวขุ่น


IMG_0606.JPG



๕. ประเภทเหล็ก
๕.๑   ใบหอก มีร่องรอยคราบสนิมเกาะจับ ๒ ใบ


IMG_0608.JPG



๖. ประเภทดินเผา
๖.๑   เศษภาชนะดินเผาแบบผิวเรียบแบบรอยเชือกทาบ มีร่องรอยกรขัดมัน
๖.๒   หินดุ จำนวน ๒ อัน
๖.๓   แว จำนวน ๒ อัน

นอกจากโบราณวัตถุเหล่านี้แล้ว ยังพบชิ้นส่วนของโครงกระดูกมนุษย์ เช่น กะโหลกศีรษะ ฟัน แขน และขา เป็นต้น เมื่อพิจารณาถึงสภาพภูมิประเทศในการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ แหล่งโบราณคดีแห่งนี้แล้ว นับว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งเพราะตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำ คือแม่น้ำวัง การพบโบราณวัตถุหลายๆ ประเภท และการใช้วัสดุนาๆ  ชนิดในการผลิต ณ แหล่งโบราณคดีแห่งเดียวกันนี้นับว่าน่าสนใจมาก เพราะไม่เคยพบมาก่อนเลย สำหรับแหล่งโบราณคดีในเขตภาคเหนือตอนบน อีกทั้งโบราณวัตถุหลายรูปแบบที่ทำจากสำริด มีเทคโนโลยีในการผลิตสูง

โบราณวัตถุประเภทกำไลแก้ว ลูกปัดแก้ว และหินมีลักษณะคล้ายคลึงกับที่เคยพบในแหล่งโบราณคดีที่จังหวัดตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ รวมทั้งที่กองโบราณคดี กรมศิลปากรเคยขุดพบที่บ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน ด้วยความคล้ายคลึงกันนี้ ย่อมแสดงถึงความสัมพันธ์กันของแหล่งโบราณคดีต่างๆ ในระดับหนึ่ง

จากหลักฐานต่างๆ หลายรูปแบบที่พบ จะเห็นว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้มีความสำคัญมาก หน่วยศิลปากรที่ ๔ และโครงการสำรวจแหล่งโบราณคดีภาคเหนือ จะดำเนินการขุดค้นในปีงบประมาณ ๒๕๓๓ เพื่อศึกษาข้อมูลอย่างถูกต้องตามขั้นตอนโบราณคดี ซึ่งจะทำให้ทราบถึงลำดับอายุสมัยของโบราณวัตถุประเภทต่างๆ ตามลำดับชั้นดิน และยังผลให้เกิดการคลี่คลายปัญหาทางวิชาการเกี่ยวกับการกำหนดอายุสมัยของโบราณวัตถุแต่ละประเภทที่เคยพบมาบ้างแล้วในเขตภาคเหนือตอนบนให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น

สถาพร  ขวัญยืน หน่วยศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่




จากการสำรวจขุดกรมศิลปากรมาสำรวจแล้วไม่ดำเนินการขุด มนุษย์จอมปิงก็เป็นปริศนาต่อไป และมีการตรวจอายุมนุษย์ยุดสำริดที่นี่ อายุประมาณ ๓๐๐๐ – ๕๐๐๐ ปี พอๆ กับอายุภาพเขียนสีที่หน้าผาศาลเจ้าพ่อประตูผา

เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ครูสมคิด อินต๊ะพรม ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC04894.JPG



DSC04897.JPG



ศาลาครูบาเจ้าศรีวิชัย  สิริวิชโย นักบุญแห่งล้านนาไทย วัดพระธาตุจอมปิง ค่ะ


IMG_0588.JPG



รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย  สิริวิชโย นักบุญแห่งล้านนาไทย ประดิษฐานภายใน ศาลาครูบาเจ้าศรีวิชัย  วัดพระธาตุจอมปิง ค่ะ


IMG_0590.JPG



รูปเหมือนครูบาเจ้าอภิชัย ขาวปี ประดิษฐานภายใน ศาลาครูบาเจ้าศรีวิชัย  วัดพระธาตุจอมปิง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 03:45 , Processed in 0.060814 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.