แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 9945|ตอบ: 25
go

วัดพระบาทอุดม ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ (รอยพระพุทธบาท , พระบรมธาตุเจดีย์) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_1182.JPG



IMG_1210.JPG



วัดพระบาทอุดม

ม.๓  ต.เวียง  อ.ฝาง  จ.เชียงใหม่

[รอยพระพุทธบาท , พระบรมธาตุเจดีย์]



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1508.JPG



IMG_1515.JPG



การเดินทางไปวัดพระบาทอุดม สามารถใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๗ (เชียงใหม่-ฝาง) มุ่งหน้าสู่ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ๑๕๗ กิโลเมตร เลี้ยวเข้าเทศบาลซอย ๙ ชุมชนพระนางสามผิว หมู่ที่ ๓ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ค่ะ



IMG_1511.JPG



IMG_1509.JPG



ท่าน้ำพระนางสามผิว อยู่ถนนทางเข้า/ออก วัดพระบาทอุดม ค่ะ


ตามตำนานท่าน้ำพระนางสามผิว เล่าว่าในครั้งอดีตกาล สมัยที่พระเจ้าฝาง-พระนางสามผิว ครองเมืองฝางอยู่นั้น พระนางสามผิวได้เสด็จพระราชดำเนินลงมาสรงน้ำที่ท่าน้ำแห่งนี้เป็นประจำ

ด้วยเหตุนี้เทศบาลตำบลเวียงฝาง นำโดยนายฐานิศร์ กมลรัตนา นายกเทศมนตรีได้จัดสรรงบประมาณ มาปรับปรุงพัฒนาสถานที่แห่งนี้ ด้วยงบประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาท ให้เป็นเขตอภัยทาน เป็นปอดของคนเมืองฝาง มีความสวยงาม เป็นหน้าตาของเมืองฝาง

ได้ทำบุญถวายไทยทานแด่พระสงฆ์ ๙ รูป ๙ วัด ในเขตเทศบาลตำบลเวียงฝาง ในวันเสาร์ที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๖ และได้มอบไว้เป็นสมบัติของมหาชนคนเมืองฝาง สมควรที่พวกเราจะช่วยกันบำรุงรักษาดำรงไว้ให้ยาวนานสืบไป


IMG_1506.JPG



IMG_1004.JPG



ถนนทางเข้า/ออก วัดพระบาทอุดม ค่ะ


IMG_1502.JPG



ป้ายชื่อ วัดพระบาทอุดม (น้ำบ่อซาววา) ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1050.JPG



IMG_1044.JPG



ซุ้มประตูทางเข้า/ออกด้านข้าง วัดพระบาทอุดม ค่ะ



IMG_1009.JPG



DSC01407.JPG



IMG_1026.JPG



IMG_1041.JPG



รูปปั้นพญานาค ซุ้มประตูทางเข้า/ออกด้านข้าง วัดพระบาทอุดม ค่ะ



IMG_1088.JPG



IMG_1087.JPG



ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วัดพระบาทอุดม ค่ะ

เดี๋ยวเราเข้าไปภายในวัดพระบาทอุดมกันเลยนะคะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01429.JPG



IMG_1082.jpg



IMG_1078.JPG



IMG_1100.JPG



วิหาร วัดพระบาทอุดม ค่ะ



IMG_1103.JPG



IMG_1277.JPG



รูปปั้นสิงห์คู่ ประดับบันไดทางขึ้น/ลงด้านหน้า วิหาร วัดพระบาทอุดม ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01439.JPG



DSC01437.JPG



IMG_1143.JPG



พระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดพระบาทอุดม ค่ะ


DSC01447.JPG


DSC01448.JPG



DSC01449.JPG



DSC01450.JPG



จิตรกรรมฝาผนังภาพพระพุทธเจ้า เสวยพระชาติเป็น พระเวสสันดร ภายใน วิหาร วัดพระบาทอุดม ค่


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติ

ภายใน วิหาร วัดพระบาทอุดม



IMG_1146.JPG



DSC01460.JPG



พุทธประวัติ ตอน "เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงออกผนวช"



DSC01468.JPG



พุทธประวัติ ตอน "ผจญมาร"

...แม่ธรณีผุดขึ้นมาช่วยพุทธองค์บิดเกศาเกิดเป็นมหาสมุทรขับไล่พญามารและพญามารก็ปราชัยแก่พระบารมี



DSC01479.JPG



พุทธประวัติ ตอน

"บัวเหนือน้ำบัวใต้น้ำ"

...ทรงพิจารณาหาทางที่จะสั่งสอนและทรงเห็นความแตกต่างในระดับสติปัญญาของคนสี่ระดับ


จำพวกที่ ๑ ในระดับสูงนั้นเป็นผู้มีปัญญาสูงเพียงได้ฟังหัวข้อธรรมก็จะเข้าใจในทันทีเปรียบเหมือนดอกบัวเปี่ยมน้ำพอได้รับแสงอาทิตย์ก็จะบาน


จำพวกที่ ๒ ในระดับรองลงมา เป็นผู้ฉลาดพอควร เมื่อได้ฟังคำอธิบายซ้ำก็จะเข้าใจ เปรียบเหมือนดอกบัวที่โผล่เหนือน้ำ จะบานในวันต่อไป


จำพวกที่ ๓ ในระดับลงมาฉลาดเล็กน้อย พอจะสอนเข้าใจต้องใช้เวลานานพอควร เปรียบเหมือนดอกบัวใต้น้ำลึกอีกหลายวันจึงจะโผล่เหนือน้ำ


จำพวกที่ ๔ เป็นผุู้โง่ทึบ เปรียบบัวก้นสระไม่อาจเรียนรู้ อาจจะตกเป็นอาหารของเต่าปลาเสีย



DSC01465.JPG


พุทธประวัติ ตอน "ผจญพญาภุชงค์"

...พญาภุชงค์ทรงสำแดงเดชกลายเป็นพญานาคพันภูเขาขัดขวางทางเดินของพุทธองค์และในที่สุดก็ยอมถวายคารวะอภิวาท



DSC01469.JPG



พุทธประวัติ ตอน "ผจญอฬวะกะยักษ์"

...ทรงแสดงธรรมโปรดจนยักษ์เลื่อมใสศรัทธาถวายคารวะอภิวาท



DSC01471.JPG



พุทธประวัติ ตอน "องคุลิมาล"

....องคุลิมาลตะโกนก้องให้หยุด พุทธองค์ทรงตรัสว่า เราหยุดแล้วท่านสิยังไม่หยุด...ทรงแสดงธรรมกลับใจองคุลิมาล



DSC01470.JPG



พุทธประวัติ ตอน "ช้างนาฬาคีรี"

...ทรงแผ่เมตตาบารมี ช้างนาฬาคีรี ซึ่งถูกมอมเหล้าก็สร่างเมาทันที



DSC01441.JPG



พุทธประวัติ ตอน "วันมาฆบูชา ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต"


...เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงโอวาทปฎิโมกข์ (การไม่ทำความชั่วทั้งปวง, การบำเพ็ญแต่ความดี, การทำจิตของตนให้ผ่องใส) แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ อันเป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา หรือหัวใจของพระธรรม แก่พระอรหันต์เอหิภิกขุผู้เป็นทั้ง ๑,๒๕๐ รูป ที่มาประชุมพร้อมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย ในวันเพ็ญเดือน ๓



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1260.JPG



IMG_1118.JPG



IMG_1135.JPG



IMG_1234.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระบาทอุดม ภายในประดิษฐานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค่ะ


IMG_1214.JPG



ประวัติความเกี่ยวข้องเจ้าหลวงเมืองฝางคนแรกกับถ้ำตับเตา

และวัดพระบาทอุดม โดยสังเขป



(แหล่งที่มา : หนังสือประวัติวัดพระธาตุจอมคีรี (ฉบับภาษาเมือง) เรียบเรียงโดย เจ้าอธิการสันติ  อติชาคโร อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมคีรี, หน้า ๑๖-๒๑.)


พระเจ้ากาวิโลรส ได้โปรดให้เจ้ามหาวงศ์ แม่ริมภรรยาชื่อ แม่เจ้ากัลยา น้องชายชื่อ เจ้าคำตั๋น กับบุตรชื่อ เจ้าแก้วมุงเมือง ขึ้นไปปกครองเมืองฝาง แทนพระยาสุริโยยศ และตั้งให้เจ้ามหาวงศ์ เป็นเจ้าหลวงเมืองฝาง เจ้าหลวงเมืองฝางมหาวงศ์ พร้อมด้วยคนสนิทมีพระยาพิทักษ์ ท้าวเสมอใจ ท้าวธนู กับราษฎรประมาณ ๒๕ หลังคาเรือน พร้อมกับนิมนต์พระเกษระปรมาติกาจารย์เป็นเจ้าคณะสงฆ์อีกหลายรูปด้วย เพื่อจะตั้งศาสนาไว้ที่เมืองฝางอีก

ขบวนการอพยพของเจ้าหลวงเมืองฝาง มหาวงศ์ครั้งนี้ เป็นขบวนการอพยพที่ใหญ่โตมาก มีขบวนการช้างที่เกณฑ์ถึง ๔๖ เชือก ส่วนตัวอีก ๔ เชือก รวมช้าง ๕๐ เชือก และขบวนการหาบหามอีกเป็นอันมาก ทั้งพวกครัวเรือนที่อพยพขึ้นมา ก็ต้องจุงวัวควายไปด้วย เพื่อไว้ใช้งานเวลาทำไร่ไถนา

ขบวนการนี้ออกจากเชียงใหม่ โดยผ่านทางเมืองพร้าว พระยาเขื่อนคำ เจ้าเมืองพร้าว ได้ต้อนรับ และทำพิธีผูกมือรับขวัญ เจ้าหลวงมหาวงศ์ อย่างครึกครื้นขบวนการนี้ ได้พักอยู่เมืองพร้าวได้หลายคืน จึงได้เดินทางออกไปฝางต่อไป โดยเดินทางผ่านมาทางถ้ำตับเตาอันเป็นปูชนียสถาน อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพของชาวเมืองฝาง

พระยาสุริโยยศได้นำเอาชาวฝาง มาคอยต้อนรับ ณ ที่นั้น และได้จัดทำพิธีต้อนรับดังนี้ คือจุดธูปเทียนสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำพิธีบวงสรวงเสื้อบ้านเสื้อเมือง ภาคเหนือเรียกว่าเจนบ้านเจนเมือง แล้วตีฆ้องตีกลอง ยิงปืนใหญ่ ๑ นัด แล้วเคลื่อนขบวนเดินทางไปบ้านแม่สูนหลวง แล้วหยุดพักบ้านแม่สูนหลวง ได้ทำพิธีต้อนรับอีก คือมีการทำบุญตักบาตรทำพิธีเรียกขวัญ และพระยาสุริโยยศได้เกณฑ์ชาวเมืองฝาง ทำทางจากบ้านแม่สูนหลวงไปจนถึงเมืองฝาง

ปีที่เจ้าหลวงมหาวงศ์แม่ริมขึ้นไปครองนั้น เป็นปี พ.ศ.๒๔๒๖ นับถึงปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๒๒) นี้ รวมได้ ๙๖ ปีแล้ว เจ้าหลวงมหาวงศ์ได้จัดการปกครองเมืองฝาง โดยได้แบ่งออกเป็นแคว้นๆ คือแบ่งออกเป็นตำบลตำบลหนึ่งๆ นั่นเอง ตำบลหนึ่งเรียกว่าแคว้นหนึ่ง โดยมีพ่อแคว้นเป็นหัวหน้า พ่อแคว้นนี้ภายหลังเรียกว่า “พ่อแคว่น” คือกำนัน นั่นเอง ทั้งหมดแบ่งเป็น ๗ แคว้นด้วยกัน คือ ๑ แคว้นในเวียง ๒  แคว้นม่อนปิ่น  ๓ แคว้นแม่สาว  ๔ แคว้นแม่นาวาง  ๕ แคว้นแม่สูน  ๖ แคว้นแม่งอน  ๗ แคว้นแม่ทะลบ

การนับถือศาสนาในสมัยนั้น คือพุทธศาสนา แต่ก็มีการทางพิธีไสยศาสตร์ แบบลัทธิของพราหมณ์ปนอยู่ด้วย การนับถือผีสางก็ปะปนอยู่บ้าง แต่ก็ยังยึดพระพุทธศาสนาเป็นหลักใหญ่ ดังนั้น เมื่อมีการตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นหลักแหล่ง ต้องมีการทำนุบำรุงการพระศาสนา และทำนุบำรุงบูรณะวัดวาอารามที่เก่าแก่ที่มีอยู่ให้เจริญขึ้น เช่น วัดพระบาทอุดม และปูชนียสถานสำคัญ คือ ถ้ำตับเตา และพระธาตุสบฝาง เป็นต้น


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1036.JPG



จุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ ลูกแก้วจักรพรรดิ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ค่ะ สาธุ สาธุ


IMG_1126.JPG


เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระบาทอุดม พร้อมกันเลยนะคะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)   
        
วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ มีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้น จงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์ และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01472.JPG



IMG_1115.JPG



วิหารครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระบาทอุดม ค่ะ



IMG_1191.JPG



พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานภายใน วิหารครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระบาทอุดม ค่ะ



IMG_1187.JPG



IMG_1163.JPG



IMG_1149.JPG



IMG_1174.JPG



รอยพระพุทธบาทอุดม วัดพระบาทอุดม  ได้จำลองขึ้นมา รอยเดิมเหยียบลงแผ่นหินได้มาจากเมืองฮังฮุ้ง ประเทศพม่า กาลต่อมาถูกหัวขโมยลักไปอย่างไร้ร่องรอย

(แหล่งที่มา : นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ๑ ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์, หน้า ๒๓.)


IMG_1175.JPG



ประวัติรอยพระพุทธบาทอุดม

วัดพระบาทอุดม



(แหล่งที่มา : พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๙ กรกฎาคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๒ (พิมพ์ครั้งที่ ๑).  กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๒๓๑.)



“ ท่านเจ้าอาวาสก็ได้เข้ามาเล่าประวัติให้ฟังว่า รอยพระพุทธบาทแห่งนี้ได้นำมาจากเขารังรุ้ง โดยยกหินมาทั้งก้อน แต่ได้ถูกขโมยไปเสียครึ่งหนึ่ง ทางวัดเลยตกแต่งใหม่ ตามที่เห็นในปัจจุบันนี้

ส่วนคำว่า “อุดม” นั้นมาจาก พระเจ้าอุดมสิน ซึ่งเป็นเจ้าเมืองฝางกับ พระนางสามผิว พระมเหสี ว่ากันว่าในแต่ละวัน พระนางจะมีผิวสามสีสลับเปลี่ยนกันไป และทรงมีพระสิริโฉมงดงามมาก จนข่าวความสวยงามนี้ ล่วงรู้ไปถึงกษัตริย์ประเทศพม่า ทรงต้องการพระนาง จึงยกทัพมาเพื่อชิงตัว ทำศึกสงครามกันอยู่ ๓ ปี ปรากฏว่าเจ้าเมืองฝางแพ้ศึก พระองค์กับพระนางสามผิวจึงฆ่าตัวตาย โดยกระโดดลงไปในบ่อน้ำที่อยู่หน้าวัด ปัจจุบันจึงเรียกว่าบ่อน้ำนี้ว่า “บ่อน้ำวังซาว”


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_1229.JPG



IMG_1233.JPG



วิหารครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดพระบาทอุดม ค่ะ



DSC01421.JPG



IMG_1062.JPG



DSC01422.JPG



ศาลาการเปรียญ วัดพระบาทอุดม ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-12-1 00:47 , Processed in 0.130021 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.