แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดไหล่หินหลวง บ.ไหล่หิน ม.๒ ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_9574.JPG



IMG_9579.JPG



IMG_9584.JPG



IMG_9587.JPG



พระแก้วมรกต และพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายใน พิพิธภัณฑ์ ๒ – พระแก้ว-โรงธรรม วัดไหล่หินหลวง ค่ะ



IMG_9564.JPG



รูปพระอุปคุต ประดิษฐานภายใน พิพิธภัณฑ์ ๒ พระแก้ว-โรงธรรม วัดไหล่หินหลวง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9357.JPG


IMG_9543.JPG



m2.JPG



พิพิธภัณฑ์ ๒ – พระแก้ว-โรงธรรม วัดไหล่หินหลวง ค่ะ


โรงธรรมหรือกุฏิ (กุฏิเหนือ-ใต้ ) หลังนี้กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร หลังเดิมสร้างปี พ.ศ.๙๑๖-๗ ถวายพระเถระลังกา เป็นกุฏิไม้ทั้งหลัง ต่อมา พ.ศ.๒๐๖๙ ได้สร้างโฮงเหนือ-โฮงใต้ใหม่โดยครูบามหาป่าเจ้ารูปที่ ๑ และกาลต่อมา พ.ศ.๒๔๖๒ โดยมีพระอุตมะรามาธิบดี พระยาศรีวิเลิศ พระยาแสนเต้า พร้อมหนานมณีวรรณ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ตรงกับ จ.ศ.๑๒๘๑

ใน พ.ศ.๒๕๓๓ โดยมีพระครูอภัยสุวรรณกิจ (ทอง  อนามโย จอมแปง) อดีตเจ้าอาวาส พร้อมพระครูสุนทรเสลคุณ (ชัยพร อตฺตสาโร ปะละ) รองเจ้าอาวาส โดยได้รับความอุปถัมภ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปลี่ยนส่วนบนหลังคา และได้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา(ดินขอ)  เป็นสถานที่เก็บคัมภีร์ใบลานอันเก่าแก่ของลานนาไทย ซึ่งมีพระมหาเกสรปัญโญ ได้จารึกลงในใบลานเมื่อ ๓๐๐ กว่าปีมาแล้ว ในคัมภีร์นั้นได้จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้า มีจำนวน ๙๐๐ ฉบับ ถูกเก็บใส่ถุงผ้าไว้ในตู้

คัมภีร์ที่เก็บไว้ในโรงธรรมแห่งนี้ อาทิเช่น ติกกนิบาตและคัมภีร์วีสตินิบาต ซึ่งจารด้วยตัวหนังสือธรรมล้านนา รวมทั้งคัมภีร์สภาวกัณฐีซึ่งจารเป็นภาษาบาลี จ.ศ.๑๒๐๑ (พ.ศ.๒๓๘๒) ส่วนคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดในล้านนาคือ มิลินทปัญหา

คัมภีร์เหล่านี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นหลักฐานของผู้คนในสมัยก่อนที่พึงประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม ตลอดจนการแสดงความเคารพบูชาอันยิ่งใหญ่ต่อพระพุทธเจ้า และให้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติแก่ผู้คนรุ่นหลังสืบต่อมา



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07559.JPG


DSC07560.JPG



IMG_9629.JPG



IMG_9630.JPG



IMG_9631.JPG



IMG_9632.JPG



บทสวดพุทธาภิเษก จ.ศ.๑๒๖๒
มิลินทปัญหา พ.ศ.๒๐๓๘  จ.ศ.๘๕๗
วิสุทธิมรรค พ.ศ.๒๐๗๐  จ.ศ.๘๙๑
ผ้าหอคัมภีร์
เปตวัตถุ พ.ศ.๒๐๕๗  จ.ศ.๘๗๖
มูลยมกะ พ.ศ.๒๐๔๐  จ.ศ.๘๕๙
ภายใน พิพิธภัณฑ์ ๑ – เรื่องเล่าครูบามหาป่าเจ้า วัดไหล่หินหลวง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9614.JPG


IMG_9622.JPG



IMG_9626.JPG



DSC07551.JPG


หีบพระธรรมคัมภีร์โบราณ ภายใน พิพิธภัณฑ์ ๑ – เรื่องเล่าครูบามหาป่าเจ้า วัดไหล่หินหลวง ค่ะ


IMG_9638.JPG



คัมภีร์ต่างๆ ภายใน พิพิธภัณฑ์ ๑ – เรื่องเล่าครูบามหาป่าเจ้า วัดไหล่หินหลวง ค่ะ


DSC07558.JPG


IMG_9628.JPG



อาวุธโบราณ ภายใน พิพิธภัณฑ์ ๑ – เรื่องเล่าครูบามหาป่าเจ้า วัดไหล่หินหลวง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07552.JPG


IMG_9607.JPG



ปากกระบาน ภายใน พิพิธภัณฑ์ ๑ – เรื่องเล่าครูบามหาป่าเจ้า วัดไหล่หินหลวง
ค่ะ


ปากกระบาน เป็นชนิดไม้ลงรักปิดทอง มีลายชุดเป็นรูปนางนกหรือกินรี ตรงส่วนที่เรียกว่า “ปากกระบาน” มีรูปทรงศิลปะแบบล้านนา ขนาดความกว้าง ๑๒๐ ซม. ยาว ๒๑๒ ซม. สูง ๒๗๔ ซม. ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง สันนิษฐานว่าอาจอยู่ในช่วง พ.ศ.๒๒๒๖ ใช้สำหรับใส่ศพหลวงพ่อมหาป่าเจ้า


IMG_9624.JPG


ตาลปัตร ภายใน พิพิธภัณฑ์ ๑ – เรื่องเล่าครูบามหาป่าเจ้า วัดไหล่หินหลวง ค่ะ


ตาลปัตร เป็นเครื่องบริขารชนิดหนึ่ง ภาษาถิ่นล้านนาเรียกว่า  “วี”  ด้ามตาลปัตรทำด้วยไม้แกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ สำหรับใบวี หรือตาล ใช้กระดาษสาแผ่นทองเหลือง ประมาณ ๑ เมตร กว้าง ๒๐ นิ้ว นำมาพับพลิกกลับไปกลับมาเหมือนพับพัดกระดาษ เจาะรูสำหรับร้อยเชือกทั้งสองด้าน ส่วนด้านบนผูกด้วยเชือกติดกับปลายด้ามให้แน่น ด้านล่างใช้เชือกเส้นยาวๆ ร้อยไว้ เมื่อเวลาจะใช้ก็จับแผ่นไม้ดึงออกเป็นรูปวงกลมมาทาบอีกด้านเป็นอันใช้ได้

ตาลปัตร หรือ วี นิยมใช้พิธีสวดพุทธาภิเษกหรือสวดเบิกตามประทีปในประเพณีเดือนยี่เป็ง โดยจะตั้งไว้รอบๆ อาสนะเบิก เมื่อพระสงฆ์ตั้งนะโมตัสสะอุบาสกด้านล่างก็ดึงเชือกกางใบวีออกพร้อมๆ กัน จนทึบเพื่อบังสายตาพระสงฆ์มิให้เกิดความประหม่าตื่นเต้น และสะดวกแก่การนั่งสวดตามถนัด



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07554.JPG


IMG_9603.JPG



จองคำ ภายใน พิพิธภัณฑ์ ๑ – เรื่องเล่าครูบามหาป่าเจ้า วัดไหล่หินหลวง ค่ะ



จองคำ เป็นอาสนะชนิดหนึ่ง ศิลปะแบบล้านนา กว้าง ๑๐๓ ซม. ยาว ๒๒๐ ซม. สูง ๒๕๖ ซม. สร้างด้วยไม้ลงรักปิดทองเป็นลวดลายกนกในส่วนปากกระบาน มีน้ำย้อยรอบเชิงหัว-เสาทำด้วยไม้ปิดทอง ฐานเป็นรูปแอวขัน มีห่วงสำหรับสอดคานหาม ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างอาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นคราวเดียวกับวิหารคือ พ.ศ.๒๒๒๖ เพราะการฉลองสมโภชพระพุทธรูปใหม่นั้นต้องมีจองคำ สำหรับวางเครื่องสูงคำ ป๊ดป๊าว-จ๊าวมอญหรือเครื่องทรงกษัตริย์ ประกอบด้วยป๊ดป๊าว-จ๋าวมอญ-ละแอ-บังวัน-กระบอง


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07556.JPG


IMG_9636.JPG



หอสรงน้ำพระพุทธรูป ภายใน พิพิธภัณฑ์ ๑ – เรื่องเล่าครูบามหาป่าเจ้า วัดไหล่หินหลวง ค่ะ



หอสรงน้ำพระพุทธรูป สร้างด้วยไม้สักลงรักปิดทอง หลังคาทำด้วยไม้ไผ่สานลงรัก มีรูปลายกนกสีแดง รูปแบบศิลปะล้านนา ขนาดความกว้าง ๗๗ ซม. ยาว ๑๑๕ ซม. ความสูง ๒๒๔ ซม. สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๖ มีแผ่นไม้จารึกข้อความความว่า “โภสสนำกัมโพชชะขรอมภิไสร ไทยภาษว่าปีกาบสันศักกะได้ ๑๑๘๕ ตัว มหามูลศรัทธาผู้ข้าตังหลายผาถนาขอเป็นอรหันตาเอตธคาตนอันประเสริฐอย่าคลาดคลา แม้นบ่ได้เถิงเติงยังได้ต่วนเตียวไปมา ขอหื้อเตวดานำเอาผู้ข้าตังหลายไปเกิดในตระกูลอันประเสริฐล้ำเลิศราชพราหมณาจบไถรเพทร์เป็นที่สักเสษแก่คนตังหลาย หอพระเจ้าหลังนี้เสี้ยงน้ำรัก ๔ บอก หาง ๗ เล้ม คำ ๑๒๐๐ ปลาย ๑๕ บาท สัพพะจุดเป็นเงิน ๙๐๐ บาท แล"


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9616.JPG


IMG_9612.JPG



พระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จมานมัสการพระประธานในพระวิหาร และทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง เมื่อวันที่ ๑๓ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9615.JPG


IMG_9617.JPG



IMG_9618.JPG



IMG_9620.JPG



พระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาเปิด “หอนิทรรศการ วิถีชีวิตคนไหล่หิน” และทอดพระเนตรโบราณสถานและโบราณวัตถุภายในวัด เมื่อวันที่ ๒๘ เดือน ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07548.JPG



IMG_9609.JPG



IMG_9610.JPG



รูปเหมือนพระมหาป่าเกสรปัญโญ ประดิษฐานภายใน พิพิธภัณฑ์ ๑ – เรื่องเล่าครูบามหาป่าเจ้า วัดไหล่หินหลวง ค่ะ


ครูบามหาป่าเจ้า ตำนานนักบุญเมืองเขลางค์ล้านนา สมณะต้นแบบในการฝึกสอนธุดงควัตร ๑๓ ขึ้นชื่อเรื่องสอนวิปัสนากรรมฐานอันโด่งดัง เป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง ในสมัยนั้นนับว่าครูบามหาป่าเจ้าแห่งสำนักวัดไหล่หิน ถือเป็นยอดเกจิอาจารย์ในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ในปี พ.ศ.๒๒๒๐

เป็นพระเกจิอาจารย์สายป่า สร้างเอกลักษณ์ถือหลักวินัยธุดงควัตรที่เคร่งที่สุดและความมีอิทธิฤทธิ์พิเศษประจำตัวมากมายจนเป็นที่เลื่องลือมาจวบจนปัจจุบัน มีผู้คนกราบสักการะมากมายทั่วทุกสารทิศ จึงเป็นที่มาในการก่อสร้างรูปปั้นครูบามหาป่าเจ้าองค์ใหญ่ สมกับตำนานและชื่อเสียงอันโด่งดังของครูบาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


IMG_9554.JPG



ประวัติพระมหาป่าเกสรปัญโญ วัดไหล่หินหลวง

พระมหาป่าเกสระปัญโญ รูปนี้นับเป็นพระเถระองค์สำคัญที่เกี่ยวกับวัดสูงเม่นเมืองแพร่อย่างมาก ปรากฏเรื่องราววัดสูงเม่นเมืองแพร่เคยเดินทางมาขนเอาคัมภีร์ครูบามหาป่าเกสระปัญโญวัดไหล่หินหลวงถ้ำดอยฮาง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดราว ๑๐ กิโลเมตรเศษนำขึ้นช้างพลายต่าง(นำใส่หลังช้าง) กลับเมืองแพร๋

ประวัติการถ่ายทอดพระคัมภีร์ของพระมหาป่าวัดไหล่หินหลวงของครูบาวัดสูงเม่นเมืองแพร่ ปรากฏในหลักฐานคัมภีร์สถาวกัณณี มีความที่เจรจาไว้ท้ายตำนานผูกที่ ๓ จารเมื่อ จ.ศ.๑๒๐๑ (พ.ศ.๒๓๙๘) ว่า "อุบาสกมูลศรัทธา หนานมณีวรรณค้ำชูครูบาเจ้าวัดสูงเม่นเมืองแพร่มาเมตตาในวัดป่าหินแก้วกล้างริมยาวไชยวรรณแล" คำจารในสถาวกัณณีฉบับดังกล่าวแสดงว่าการคัดตำนานจากต้นฉบับของพระมหาป่าเกสระปัญโญร้อยกว่าปี และเป็นสมัยที่ผ่านเข้ามาถึงสมัยเจ้าวงศ์ ๗ ตนครองเมืองนครลำปางแล้ว ปัจจุบันคงเหลือแต่ต้นฉบับที่คัดไว้นี้ไว้ที่วัดไหล่หิน ตัวจริงคงจะไปอยู่ที่วัดสูงเม่นเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๒

ประวัติพระมหาป่าเกสระปัญโญ วัดไหล่หินหลวง คู่กับประวัติมหาปัญโญ วัดพระธาตุลำปางหลวง คือ เป็นพระองค์พี่และองค์น้อง เดิมพี่น้องทั้งสองคนนี้เป็นสามเณรจำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุเสด็จ เป็นชาวบ้านแม่แก้ เขตตำบลลำปาง ต่อมาสามเณรองค์พี่ได้ไปศึกษาที่วัดป่าซางเมืองลำพูน เป็นสามเณรที่มีความผิดแปลกไปจากสามเณรรูปอื่นๆ ตรงที่ว่าเงียบขรึม ท่องบ่นธรรมคัมภีร์โดยไม่ยอมออกเสียง เหมือนกับสามเณรรูปอื่น และชอบเขียนตัวอักษรบนใบลาน

ความเงียบขรึมของสามเณรเกสระนี้เองที่ทำให้เจ้าอธิการวัดป่าซางเฮือก ลำพูน วิตกกังวลเรื่องการเทศน์ เกรงว่าจะแข่งกับสามเณรอื่นที่มีความขยันไม่ได้ในการท่องบ่นพระธรรมกันเจื่อยแจ้ว ในระหว่างพรรษาหนึ่ง เจ้าอธิการได้มอบธรรมเวสสันดรชาดกให้ท่องบ่น ก็มิเห็นสามเณรรูปนั้นท่องบ่น ครั้งถึงวันเทศกาลออกพรรษาแล้ว มีการตั้งธรรมหลวง สวดเบิก และเทศนาจับสลาก เจ้าผู้ครองนครลำพูนจัดได้กัณฑ์มหาพนและตรงกับเวรสามเณรเกสระ เจ้าอธิการมีความวิตกกังวลมากที่สุด แต่ปรากฏว่าสามเณรเกสระสามารถเทศน์ได้โดยปากเปล่าโดยมิต้องอาศัยการอ่าน เทศน์ได้ถูกต้อง

นอกจากนี้เวลามีการรวบรวมคัมภีร์ต่างๆ ที่กระจัดกระจาย เชือกผูกหลุดหลายคัมภีร์ใบลานปะปนกันหลายผูก สามเณรรูปนี้ก็สามารถรวบรวมปะติดได้อย่างคล่องแคล่วเก็บเรียบร้อยเข้าที่เดิมซึ่งเป็นวิธีสอบปฏิภาณแบบหนึ่ง เจ้าอธิการซึ่งก็ทรงทราบแต่บัดนั้นว่า “สามเณรเกสระ มีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งเหนือกว่าสามเณรรูปอื่นๆ เป็นที่เลื่อมใสตั้งแต่มาอยู่ที่วัดป่าซางเมืองลำพูน”

พระมหาป่าเกสระปัญโญ ซึ่งในคำจารึกบนแผ่นไม้ในการสร้างพระวิหาร ในปี พ.ศ.๒๒๒๖ ประวัติศาสตร์พื้นฐานปริยัติที่ได้จากลำพูน แต่ท่านก็เป็นพระที่ถือธุดงค์วัตรจนมีชื่อเป็นพระมหาป่ารูปหนึ่งของวัดไหล่หิน ผลงานของพระมหาป่า เกสระปัญโญ แห่งวัดไหล่หินหลวง เป็นที่แพร่หลายด้วยการจารใบลานไว้มาก ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่ทางศักราชจารึก สมัยพระมหาป่าเกสระปัญโญ สร้างพระวิหารวัดไหล่หินหลวงในปี พ.ศ.๒๒๒๖ และความสมบูรณ์เป็นอย่างมากจนถึงปัจจุบันนี้

เรื่องพระมหาป่าเกสระในพงศาวดารเหนือเมืองเถิน ได้อ้างถึงมหาป่าเจ้าหล้า (วัดไหล่หิน) ซึ่งเป็นองค์เดียวกันนี้ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุลำปางหลวงเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๗ มีศิษย์ร่วมครูที่นับถือติดต่อกัน คือวัดปงยางคก วัดศรีกลางเวียง ได้วางกฎธรรมเนียมไว้ว่า วัดทั้งสามแห่งนี้จะต้องปฏิบัติเยี่ยมเยียนกันเมื่อใครเจ็บไข้ได้ป่วย นอกจากนี้ยังมีวัดที่ถือมีครูเดียวกัน คือวัดห้วยเกี๋ยง วัดดอนเหิง (วัดร้างดอนเหิงปัจจุบัน) วัดป่าตาล วัดหนองแลก และวัดห้างนา ทั้งนี้ถือเอาวัดเมืองเถินเป็นต้นเค้า

นอกจากนั้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ ได้มีการพบวัดที่ครูบามหาป่าไปสร้างไว้ที่เมืองม้า เขตปกครองพิเศษ ประเทศพม่า ติดกับเมืองลา เส้นทางที่จะออกไปสู่สิบสองปันนา ประเทศจีน วัดดังกล่าวชื่อว่า “วัดราชสัณฐานเชียงตุ้ง) ซึ่งลักษณะของเจดีย์มีลักษณะคล้ายคลึงกับวัดไหล่หินหลวง และมีตำนานเรื่องเล่าของครูบามหาป่าที่เหมือนกัน และผู้คนแถวนั้นจะเรียกครูบามหาป่าว่า “ครูบาซาน” (ซาน แปลว่า เหาะเหินเดินอากาศได้)



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-8 04:20 , Processed in 0.036993 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.