แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 10207|ตอบ: 47
go

วัดไหล่หินหลวง บ.ไหล่หิน ม.๒ ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC07618.JPG



วัดไหล่หินหลวง

บ.ไหล่หิน  ม.๒  ต.ไหล่หิน  อ.เกาะคา  จ.ลำปาง

[พระบรมธาตุเจดีย์]  



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9314.JPG


IMG_9306.JPG



IMG_9319.JPG



การเดินทางไปวัดไหล่หินหลวง ใช้เส้นทางเดียวกันกับวัดพระธาตุลำปางหลวง ห่างจากตัวจังหวัดลำปางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร หากเริ่มต้นนับระยะจากตัวเมืองลำปางแล้ว วัดไหล่หินหลวงจะอยู่ประมาณหลักกิโลเมตรที่ ๒๐ เลี้ยวซ้ายเข้าหมู่บ้านไปอีกประมาณ ๕-๖ กิโลเมตร ก็ถึงวัด และห่างจากที่ว่าการอำเภอเกาะคามาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ๖ กิโลเมตร


การเดินทางไปวัดไหล่หินหลวง ดูข้อมูลแผนที่จากเว็บ google ได้ตามลิงค์นี้ค่ะ

https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87/@18.213019,99.33848,15z/data=!4m2!3m1!1s0x0:0x3b802459b86670b4?sa=X&ved=2ahUKEwjsl_7uqNfhAhXCrI8KHQMMBFcQ_BIwFXoECAsQCA


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07532.JPG



DSC07534.JPG


ลำปางหรือเขลางค์นคร เป็นเมืองเก่าแก่คู่กับหริภุญชัย (นครลำพูน) พรั่งพร้อมไปด้วยรมณีสถานโบราณวัตถุมากมาย ควรแก่การอนุรักษ์และกราบไหว้ วัดไหล่หินหลวงเป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งในเมืองเขลางค์นครที่ควรแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง


DSC07536.JPG


DSC07537.JPG



วัดไหล่หินหลวง หรือ วัดเสลารัตนปัพพะตาราม (ไหล่หินแก้วช้างยืน) หรือเรียกสั้นๆ ว่า วัดหลวง  อยู่บนเนินเขาเล็กๆ เหนือหมู่บ้านไหล่หิน ที่มาของชื่อ ไหล่หิน (ไหล่/หล่าย คือ เนิน) โดยตั้งอยู่เลขที่ ๒๔๖ ถนนรพช. สายไหล่หินแม่ปุ้ม บ้านไหล่หิน หมู่ที่ ๒ ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

เนื้อที่วัดแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาสและสังฆาวาส โดยมีกำแพงวัดล้อมรอบ ๗ โค้ง รูปร่างคล้ายดอกบัว มีธรณีสงฆ์ประมาณ ๕๐ ไร่เศษ สันนิษฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ.๒๐๑๔ ตามคัมภีร์ใบลานที่ค้นพบในวัด ปัจจุบันสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

อนึ่ง กรมศิลปากรได้ประกาศวัดไหล่หินขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๗ ตอนที่ ๑๙๕ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๓ สิ่งที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ได้แก่ วิหารทรงล้านนา พระบรมธาตุเจดีย์ อุโบสถ ซุ้มประตู กำแพงแก้ว และหอธรรม และมีการบูรณะในปี พ.ศ.๒๕๕๒ ปัจจุบันวัดไหล่หินหลวงได้รับการดูแลรักษาโดยชุมชน และดำรงรักษาพื้นที่วัฒนธรรมสืบต่อกันมาหลายร้อยปี โดยภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญมากมาย


DSC07533.JPG


ข่วงวัฒนธรรม อยู่ด้านหน้า วัดไหล่หินหลวง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9651.jpg



DSC07567.JPG



DSC07568.JPG



DSC07579.JPG



ลักษณะเด่นของวัดไหล่หินหลวง เป็นวัดที่มีความครบถ้วนตามองค์ประกอบพุทธสถานล้านนา ประกอบด้วยกำแพงชั้นในที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ข่วงแก้ว” มีศาลาบาตรล้อมรอบ มีซุ้มประตูโขงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นประตูเข้าในพื้นที่ข่วงแก้ว ประกอบด้วยประตูรอบด้านอีกสามทิศ

ด้านในข่วงแก้วประกอบด้วยวิหารโบราณที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๒๒๖ เป็นวิหารขนาดเล็กมีลวดลายสวยงาม ด้านในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย และรูปปั้นพระมหาป่าเกสระปัญโญ ตนบุญที่สร้างวิหารหลังนี้ขึ้น

ด้านหลังวิหารเป็นที่ตั้งองค์เจดีย์ที่มีการบรรจุพระอัฐิของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ด้านใน รายล้อมด้วยรูป ๑๒ ตัวเปิ้ง (๑๒ ราศี) นอกจากนั้นยังมีโบสถ์ขนาดเล็ก สร้างขึ้นในสมัยเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางในขณะนั้น

IMG_9376.JPG



ปูชนียสถานสำคัญในเขตพุทธาวาส ได้แก่ วิหารโบราณ และองค์พระธาตุเจดีย์ ซึ่งล้อมรอบด้วยศาลาบาตร ทางด้านหน้ามีซุ้มประตูโขง ส่วนในเขตสังฆาวาส ได้แก่ โรงธรรม โครงสร้างไม้ ผนังก่ออิฐถือปูน เป็นที่เก็บรักษาหีบพระธรรม และคัมภีร์ใบลานจำนวนมาก คัมภีร์บางฉบับที่พบในวัดไหล่หินมีอายุถึงกว่าห้าร้อยปี



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07566.JPG



IMG_9364.JPG



IMG_9656.JPG



IMG_9373.JPG



IMG_9362.JPG



กำแพงโบราณ และรูปปั้นสิงห์คู่ แนวกำแพงเก่า หน้าประตูโขง และตั้งแต่หางวัลย์ ถึงป่าลานน้อย วัดไหล่หินหลวง สร้างปี พ.ศ.๒๐๕๐ สมัยพระมหาป่าเจ้า รูปที่ ๑ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07580.JPG



DSC07578.JPG



DSC07581.JPG



DSC07586.JPG



ซุ้มประตูโขง วัดไหล่หินหลวง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9408.JPG



IMG_9456.JPG



IMG_9541.JPG



DSC07637.JPG



ซุ้มประตูโขง วัดไหล่หินหลวง ประตูรูปโค้ง ก่อด้วยอิฐถือปูน ศิลปะแบบล้านนา และสถาปัตยกรรมทางศาสนาแบบเชียงแสน สร้างปี พ.ศ.๒๒๒๖ จ.ศ.๑๐๔๕ โดยมีพระมหาป่าเกสรปัญโญ พร้อมด้วยเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง บูรณะ พ.ศ.๒๔๗๗ และ ๒๕๕๓

ลวดลายรอบๆ ประตูโขงซึ่งมีการประดับตกแต่งตามส่วนต่างๆ ด้วยปูนปั้นลวดลายที่หลากหลายประกอบไปด้วยสัตว์ป่าหิมพานต์ รูปเทพต่างๆ ตามตำนาน อาทิ พญานาค กินรี นก ลายพันธุ์พฤกษา รวมทั้งตุ๊กตาดินเผารูปตัวมอมและหงส์ เป็นต้น ซึ่งมีข้อสังเกตว่าอาจได้รับอิทธิพลมาจากประตูโขงที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เพราะการใช้ลายตกแต่งแบบเดียวกันแต่การลดชั้นยอดและตกแต่งประดับมีน้อยกว่า อาจเพราะเป็นวัดที่เล็กกว่าและสร้างขึ้นหลังสมัยเวียงพระธาตุลำปางหลวงเป็นเวลาห่างกันนับร้อยปี

แต่ช่างได้เปลี่ยนลักษณะลายตกแต่งประดับยอด คือ แทนที่จะเป็นปูนปั้นทั้งหมดเช่นเดียวกับที่วัดพระธาตุลำปางหลวง กลับทำเป็นปูนปั้นเฉพาะกรอบโค้ง ซุ้มใช้วิธีก่ออิฐเป็นชั้นๆ ลดมุมลดยอดเช่นกัน แต่ลายประดับเปลี่ยนเป็นวิธีเผาเซรามิกติดประทับซึ่งทำให้ง่ายกว่า คาดกันว่าประตูโขงวัดไหล่หินนี้น่าจะสร้างพร้อมกับวิหารโดยพระมหาเกสรปัญโญ เพื่อประกอบการเน้นทางเข้าสู่วัด

ยอดประตูโขงเป็นทรงปราสาท โครงสร้างใช้แบบอิฐฉาบปูนแบบปูนน้ำอ้อย อิฐที่ใช้ก่อเป็นแผ่นขนาดใหญ่ ในสมัยนั้นประตูโขงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในยุคแรกเริ่มของเมืองลำปาง และเป็นสัญลักษณ์ของวัดไหล่หินหลวง และเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ก็ควรถอดรองเท้าก่อนผ่านประตูโขงเข้าไปค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

c.JPG


DSC07638.JPG



v.JPG



DSC07636.JPG



IMG_9413.JPG



d.JPG



ปูนปั้นลวดลายประดับตกแต่ง ซุ้มประตูโขง วัดไหล่หินหลวง เช่น สัตว์ป่าหิมพานต์ รูปเทพต่างๆ ตามตำนาน อาทิ พญานาค กินรี นก ลายพันธุ์พฤกษา รวมทั้งตุ๊กตาดินเผารูปตัวมอมและหงส์ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

k.JPG



p.jpg



o.JPG



l.JPG



ปูนปั้นลวดลายประดับตกแต่ง
ซุ้มประตูโขง วัดไหล่หินหลวง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9405.JPG



DSC07585.JPG



a.JPG



b.JPG



DSC07601.JPG



DSC07602.JPG



สองข้างประตูหางวัน ซุ้มประตูโขง วัดไหล่หินหลวง หน้าเหมือนพระพุทธเจ้า ตามโบราณเก่าแก่เล่ากันว่าเป็นสิงห์อุตตะเรค่ะ

ตามคำบอกเล่าอีกว่าประตูหางวัน สมัยก่อนทางขึ้นมาหากุฏิอยู่ทางด้านหลัง (ทิศใต้) ทางเดิมเป็นป่าหญ้า (ไม่ได้ลาดด้วยซีเมนต์) มีต้นไม้ยางเรียงกันเป็นแนวทางเดินต้นเล็กต้นใหญ่สลับกันไป ต้นมื่น ต้นนาม ต้นลานใหญ่เล็ก ต้นสารเงิน ต้นสารคำ ต้นจำคอแดงสวยงามเป็นอย่างมาก ปัจจุบันถนนได้ตัดผ่านด้านหลังวัดก็เลยเอาด้านหลังวัดเป็นด้านหน้าวัดจนตราบทุกวันนี้



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-21 20:50 , Processed in 0.050860 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.