แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดไหล่หินหลวง บ.ไหล่หิน ม.๒ ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC07603.JPG



e.JPG



อนุสรณ์ “หมาพราน” อยู่ที่กำแพงแก้ว ด้านซ้ายมือส่วนหน้าของวิหาร วัดไหล่หินหลวง ค่ะ


ประวัติอนุสรณ์ “หมาพราน” ตามความเป็นจริงแต่ดั้งเดิมเล่ากันว่า มีหมาตัวหนึ่งเกิดที่หมู่บ้านไหล่หินนี้ มีความสามารถในการล่าสัตว์ ชอบติดตามชาวบ้านเข้าป่าล่าสัตว์เสมอ และชาวบ้านก็มักจะมีโชคลาภล่าสัตว์ได้เป็นจำนวนมากเมื่อมีหมาตัวนี้ไปด้วย  เมื่อได้สัตว์มาก็นำมาแบ่งให้วัด และแจกจ่ายให้ชาวบ้านด้วยกัน

ต่อมาหมาตัวนี้ได้เสียชีวิตลงเนื่องจากการต่อสู้กับเสือ ด้วยความระลึกถึงในคุณงามความดีและความซื่อสัตย์ของหมาตัวนี้ที่มีต่อคนในหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงช่วยกันสร้างอนุสรณ์ไว้บนกำแพงวัดไหล่หิน ต่อมาเมื่อมีการออกป่าล่าสัตว์ได้มีการไปบนบานกับหมาพรานที่กำแพงวัดว่าถ้าได้สัตว์มาจะแบ่งเอามาถวายวัดส่วนหนึ่ง ก็มักจะล่าสัตว์ได้ตามต้องการทุกครั้ง ชาวบ้านจึงถือว่าหมาพรานตัวนี้เป็นหมาศักดิ์สิทธิ์



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07582.JPG



วิหารโบราณ วัดไหล่หินหลวง ค่ะ


ประวัติวิหารโบราณ วัดไหล่หินหลวง วิหารเป็นสถานที่ปลูกสร้างแห่งหนึ่งอยู่ในบริเวณวัด ไม่ใหญ่โตมากนัก เดิมเป็นไม้ไม่ปรากฏพ.ศ.และผู้สร้าง ต่อมาพระมหาป่าเกสรปัญโญ พร้อมด้วยเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงได้สร้างวิหารหลังปัจจุบันเป็นวิหารทรงล้านนา ฝีมือช่างชาวเชียงตุง เมื่อ พ.ศ.๒๒๒๖ จ.ศ.๑๐๔๕ ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๙ เมตร ในสมัยก่อนใช้วิหารเป็นที่ปฏิบัติกิจทางศาสนา  

ต่อมา พ.ศ.๒๔๙๖ สมัยพระอธิการแก้ว สุทฺธสีโล ได้บูรณะเป็นบางส่วน ได้เปลี่ยนหลังคามุงด้วยไม้เปลี่ยนเป็นกระเบื้อง ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๓ โดยมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้อุปถัมภ์ในการบูรณะ

DSC07597.JPG


DSC07595.JPG



อนึ่ง มีจารึกที่ท้องขื่อในวิหารหน้าพระประธานเป็นอักษรธรรมล้านนา แสดงถึงปีที่สร้างวิหารวัดไหล่หินนี้ว่า “จ.ศ.๑๐๔๕ (พ.ศ.๒๒๒๖) ตั๋วปี๋ก๋าไก๋ เดือน ๔ เพ็ญเม็ง ๔ ไตเต่าสะง้า (มะเมีย) พระมหาเกสระปัญโญเจ้า เป็นประธานกับทั้งศิษยานุศิษย์ทั้งหลายได้อัญเชิญพระสงฆ์เจ้าได้ปกแป๋งเสลารัตนปัพพตารามหลังนี้แล ศรัทธานักบุญทั้งหลายมวลชุคนจุ๋งอนุโมทนาเต๊อะ” เขียนจัดทำป้ายและตั้งชื่อ เสลารัตนปัพพตาราม โดยเจ้าอธิการจันทร์ตา จนฺทรํสี(อุรา) เจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลไหล่หินใน พ.ศ.๒๕๐๗

DSC07594.JPG


IMG_9439.JPG



IMG_9440.JPG



อนึ่ง เสาคู่หน้าพระประธานต้นขวาภายในวิหาร ใช้ไม้มันหมู มีปูนพอกไว้ ฝีมือช่างเมืองเชียงตุง ศิลปะล้านนา มีลวดลายละเอียดสวยงาม เมื่อพิจารณารูปทรงโดยรวมและการวางผังประกอบลักษณะสถาปัตยกรรมทั้งหมดแล้ว จะพบว่ามีบางส่วนเป็นฝีมือช่างชาวไทใหญ่ อาทิ ลวดลายปูนปั้นปิดท้องไม้ หน้าบันมีลวดลายสะทาน (ปูน) การปั้นเป็นแบบไทใหญ่ผสมพื้นเมืองตลอดทั้งหน้าบัน เรื่องราวและรูปประกอบลวดลายท้องไม้ซึ่งติดประดับหน้าบันเป็นเรื่องป่าหิมพานต์ มีรูปกวาง ช้าง และสัตว์อื่นๆ ประกอบลายเครือเถาวัลย์

IMG_9497.JPG



จากคำบอกเล่าของชาวบ้านอาวุโสบ้านไหล่หินและพระภิกษุอาวุโสที่เคยไปวัดไหล่หินเล่าว่า สมัยก่อนศาลาคดหรือวิหารคดที่เป็นกำแพงล้อมรอบพระวิหาร ดังที่เห็นในปัจจุบันนี้ยังไม่มี มีแต่กำแพงกั้นเตี้ยๆ กั้นวิหารด้านหน้าโดยรอบเท่านั้น สำหรับตัวศาลาคดเริ่มสร้างเมื่อ ๓๐–๔๐ ปีมานี้เอง แม้ตัววิหารก็เพิ่งจะมาบูรณะในเวลาก่อนหน้าสร้างศาลาคดไม่กี่สิบปี

IMG_9486.JPG



IMG_9418.JPG



ดังนั้นรูปแบบและรูปทรงจึงเป็นแบบสมัยใหม่ขัดกับของเก่าซึ่งเป็นตัววิหารดั้งเดิม ซึ่งเมื่อมีการบูรณะแล้วจึงมีความคิดว่าควรจะมีการบูรณะตัววิหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนของหลังคา เพราะอยากให้สวยงามแบบใกล้เคียงกันกับของใหม่ ในเวลาต่อมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ ชาวบ้านจึงรวบรวมทุนช่วยกันเปลี่ยนหลังคาและช่อฟ้าเสียใหม่ให้เป็นแบบรัตนโกสินทร์

ดังนั้นจึงจะเห็นว่าตัววิหารดูแปลกที่ส่วนบนเป็นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะตัวลำยองและนาคสะดุ้ง ซึ่งนาคสะดุ้งนั้นทางเหนือจะไม่ทำ แต่ของเดิมที่วิหารนี้เป็นไม้ปาดเรียบ เฉพาะตัวลำยองบนสันหลังคามีรูปนกสดายุขนาดใหญ่เคลือบดินเผา บางส่วนของหลังคาจะมีรูปนกเคลือบสวยงาม รูปนกเขาเกาะเป็นแถวที่หลังคาส่วนบน ส่วนช่อฟ้าเป็นรูปปากนกไม่มีการเปลี่ยนแปลง หน้าบันวิหารเป็นลายปูนปั้นแบบดั้งเดิม และส่วนล่างทั้งหมดยังเป็นแบบเก่าแก่



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9414.JPG



IMG_9418.JPG



DSC07644.JPG



DSC07631.JPG



DSC07633.JPG



DSC07632.JPG



DSC07593.JPG



รูปแบบวิหารโบราณ วัดไหล่หินหลวง เป็นฝีมือช่างชาวเชียงตุง ซึ่งเป็นกลุ่มบ้านเมืองเดียวกับเชียงแสน รูปแบบวิหารจึงคล้ายกับวิหารที่พบแถบเมืองเชียงแสน ซึ่งต่างไปจากสกุลช่างลำปางหรือเชียงใหม่ คือเป็นวิหารขนาดเล็ก ๕ ห้อง ๒ ห้อง ด้านหน้าเปิดโล่ง ด้านข้างเป็นผนังไม้เพียงครึ่งเดียวตามแบบวิหารโถงล้านนา ส่วนอีก ๓ ห้องหลัง ก่อผนังอิฐถือปูนปิดทึบเพื่อเป็นห้องท้ายวิหารสำหรับประดิษฐานพระประธานซึ่งตั้งบนฐานชุกชี หลังคาของวิหารมีการซ้อนหรือลดชั้นพฤกษา เป็นต้น

ลวดลายหน้าบันด้านหน้าของวิหาร เป็นศิลปะแบบล้านนาที่เก่าแก่มาก เป็นไม้แกะสลักเป็นรูปดอกบัว ต้นโพธิ์ กินนร กินนรี และสัตว์ป่าหิมพานต์อีกจำนวนมาก เช่น กวาง นกยูง และสิงโต ถือเป็นลวดลายหน้าบันที่งามที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ

ภายในวิหาร เปิดให้เห็นโครงสร้างเครื่องบนไม่มีฝ้าเพดาน ซึ่งเป็นระบบเสาและคานรับน้ำหนักหรือระบบ “ขื่อม้าดั่งไหม” ตามที่ชาวล้านนาเรียกขานกัน ทำให้เราสามารถศึกษาถึงเทคนิคเชิงช่างในการเข้าเดือยเข้าไม้ การยึดเกาะกันของโครงสร้างเครื่องบนที่เป็นไม้แทบทุกชิ้นมีการตกแต่งด้วยภาพลายทองหรือลายคำทั่วไป มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่บนแท่น นอกจากนี้วิหารแห่งนี้ยังเป็นแบบฉบับของวิหารอื่นๆ ในยุคต้นๆ ภายในวิหารยังคงใช้เป็นสถานที่ในการจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธเจ้า ประดับประดาด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงาม จึงเป็นที่สนใจแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดลำปาง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07592.JPG


DSC07590.JPG



IMG_9423.JPG



IMG_9445.JPG



พระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานภายใน วิหารโบราณ วัดไหล่หินหลวง ค่ะ  


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07596.JPG


DSC07589.JPG



IMG_9434.jpg



พระพุทธรูป ๒ องค์ ประดิษฐานด้านข้าง พระประธาน ภายใน วิหารโบราณ วัดไหล่หินหลวง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9453.JPG



IMG_9444.JPG



รูปเหมือนพระมหาป่าเกสรปัญโญ ประดิษฐานด้านข้าง พระประธาน ภายใน วิหารโบราณ วัดไหล่หินหลวง ค่ะ


พระมหาป่าเกสรปัญโญ วัดไหล่หินหลวง  พ.ศ.๒๑๗๓-๒๒๙๕ พระมหาป่าเจ้ารูปที่ ๒ ธำรงพระไตรปิฏก จารคัมภีร์ใบลานได้มากที่สุดในแคว้นลานนาไทย เป็นพระนักปฏิบัติ เป็นผู้นำในการพระศาสนา และพระอริยบุคคลแห่งนครลำปาง รูปเหมือนปั้นขนาดเท่าตัวจริง ซึ่งปั้นโดยลุงเป็ง ในสมัยที่เป็นเจ้าอาวาส โดยมีเจ้าฟ้าจากเมืองเชียงตุงเป็นผู้อุปถัมภ์สร้างวัดถวายให้

IMG_9442.JPG


คำไหว้ครูบาพระมหาป่าเกสรปัญโญ
มะหันต๋า  มัฌชิมา  รัสสะก๋า  ปัจจุระวัณณา  อะหังวันตามิ  สัพป๊ะตา



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9427.JPG


DSC07591.JPG



พระบฏ และจิตรกรรมฝาผนังภาพพระพุทธเจ้า ภายใน วิหารโบราณ วัดไหล่หินหลวง ค่ะ  


IMG_9432.JPG



DSC07587.JPG



หีบคัมภีร์ ภายใน วิหารโบราณ วัดไหล่หินหลวง ค่ะ  



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07619.JPG


DSC07614.JPG



DSC07608.JPG



IMG_9517.JPG



IMG_9495.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์  ประดิษฐานด้านหลัง วิหารโบราณ วัดไหล่หินหลวง ค่ะ  



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9492.JPG


DSC07613.JPG



DSC07607.JPG



DSC07609.JPG



DSC07622.JPG



IMG_9481.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดไหล่หินหลวง ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ป๋าต๊ะกิน๊ะ (ส่วนเบื้องฝ่าพระพุทธบาท) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระอรหันต์ ๒ รูป คือ พระกุมารกัสสปเถระและพระเมฆิยเถระ เมื่อ พ.ศ.๒๑๘ ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC07606.JPG



DSC07628.JPG



ตำนานและประวัติพระบรมธาตุเจดีย์  วัดไหล่หินหลวง



จากตำนานเล่ากันว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแก่พระอรหันต์ ๒ รูป คือพระกุมารกัสสปเถระ และ พระเมฆิยเถระ ให้บรรทุกบนหลังช้าง เพื่อนำไปบรรจุที่พระธาตุวัดลำปางหลวง เพื่อที่จะไปเมืองยาวโดยผ่านเส้นทางสายนี้ แต่เมื่อช้างในขบวนแห่พระธาตุกำลังจะผ่านเนินเขาลูกนี้ ช้างกลับหยุดอยู่ ณ บริเวณนั้น ควาญช้างทำอย่างไรช้างก็ไม่ยอมไป ผู้นำในขบวนแห่ขณะนั้นจึงตั้งอธิษฐานว่า ถ้าสถานที่แห่งนี้มีบุญบารมีเป็นที่สถิตพระธาตุแล้ว ขอให้แสดงสัญญาณให้ปรากฏ พลันก็ปรากฏรังสีรุ่งโรจน์ขึ้น ณ บริเวณซึ่งตั้งพระธาตุเจดีย์ปัจจุบันนี้ โดยพระอรหันต์ ๒ องค์ คือ พระกุมารกัสสปะ และพระเมฆิยะเถระเจ้า ได้ก่อพระธาตุเจดีย์สูง ๔ ศอก เมื่อ พ.ศ.๒๑๘ โดยสร้างเป็นอาราม และมีผู้ดูแลตลอด

จนถึง พ.ศ.๙๑๖ มีพระเถระธุดงค์มาจากลังกาทวีป ได้มาเห็นพระธาตุเจดีย์เกิดความเลื่อมใสศรัทธาได้สร้างยังอาศรมอยู่ปฏิบัติยังพระธาตุ ได้ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ลังกาด้านทิศอีสานขององค์พระธาตุ และได้ปลูกต้นลานทางทิศอุดร ชาวเมืองได้สร้างกุฏิถวายพระเถระ ด้านทิศทักษิณขององค์พระธาตุ

ต่อมา พ.ศ.๑๑๖๓ พระยาธรรมรักษ์ได้สร้างพระธาตุเจดีย์สูง ๑๕ ศอก ปีพ.ศ.๑๑๖๖ เกิดปฐวีหวั่นไหวทำให้องค์พระธาตุหักลงมา พ.ศ.๑๓๔๙ เกิดอสุนีบาตผ่าลงมายังองค์พระธาตุล้มลงมาอีก ปีพ.ศ.๑๙๓๐ โดยมีเจ้าจุทธะวงค์ ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ใหม่

และต่อมา พ.ศ.๒๒๒๖ (จ.ศ.๑๐๔๕)  โดยมีพระมหาป่าเกสระปัญโญ พร้อมด้วยเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง ได้บูรณะองค์พระธาตุ ขนาดฐานกว้าง ๕ เมตร สูงประมาณ ๑๐ เมตร เป็นพระธาตุที่มีรูปปั้น ๑๒ นักษัตรรอบองค์พระธาตุสำหรับผู้เกิดทั้ง ๑๒ ปีเกิด

พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีครูบาปวงคำ พร้อมพ่อผู้ใหญ่น้อยป้อ ครุขยัน ได้สร้างรั้วล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน

พ.ศ.๒๕๕๒ โดยมีกรมศิลปากรได้บูรณะฉาบปูนใหม่ทั้งองค์ในสมัยพระครูอภัยสุวรรณกิจ (ทอง อนามโย จอมแปง) เจ้าอาวาส และพระครูสุนทรเสลคุณ (ชัยพร อตฺตสาโร ปะละ) รองเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลไหล่หิน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-5 11:18 , Processed in 0.075713 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.