แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 7079|ตอบ: 15
go

วัดศรีเกิด (พีชชอาราม) ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-793.jpg



วัดศรีเกิด (พีชชอาราม)

ถ.ราชดำเนิน  ต.พระสิงห์  อ.เมือง  จ.เชียงใหม่  

[พระเกศาธาตุ]



Rank: 8Rank: 8

Picture-756.jpg


วัดศรีเกิด ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนิน เขตตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ติดกับสถานีตำรวจและอยู่ตรงข้ามวัดทุงยูและอยู่ใกล้ๆ กับวัดพระสิงห์ เป็นวัดที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ค่ะ


การเดินทางไปวัดศรีเกิด ดูข้อมูลแผนที่จากเว็บ google ได้ตามลิงค์นี้ค่ะ

https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94/data=!4m2!3m1!1s0x30da3a9be99e743b:0x32491ccaefba088e?gl=TH&hl=th


Picture-757.jpg



ประตูทางเข้า/ออก วัดศรีเกิด ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC08777.jpg


Picture-771.jpg



วิหาร วัดศรีเกิด สร้างเมื่อปีพ.ศ.๒๓๕๒ แต่ปัจจุบันได้มีการบูรณะจนเปลี่ยนรูปแบบไปมากแล้วค่ะ



Picture-768.jpg


รูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม ประดิษฐานภายใน ซุ้ม ด้านหน้ากำแพง วิหาร วัดศรีเกิด ค่ะ


DSC08779.jpg


บ่อน้ำโบราณ อยู่ด้านหน้า วิหาร วัดศรีเกิด ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC08769.jpg


DSC08775.jpg




พระเจ้าแข้งคม บรรจุพระบรมสารีริกธาตุประมาณ ๕๐๐ องค์ พร้อมกับพระพุทธรูปแก้วทองและเงินไว้ในเศียรพระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดศรีเกิด ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

DSC08771.jpg



ประวัติพระเจ้าแข้งคม วิหาร วัดศรีเกิด

พระเจ้าแข้งคม เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มากองค์หนึ่งของล้านนา ลักษณะของพระพุทธรูปแข้งคมมีความแตกต่างจากแบบแผนของศิลปะล้านนาที่มีมาแต่เดิมอย่างเห็นได้ชัดคือ พระชงฆ์เป็นสัน (แข้งคม) พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรโปน พระโอษฐ์หนา ขอบพระโอษฐ์ซ้อนกัน ๒ เส้น มีไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง สังฆาฏิเป็นแผ่นขนาดใหญ่ยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายเป็นริ้วพับซ้อนกัน พระหัตถ์ขวาวางอยู่กึ่งกลางพระชงฆ์ นิ้วพระหัตถ์ยาวไม่เสมอกัน ลักษณะดังกล่าวนี้สามารถเปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ ๒ ที่มีอิทธิพลของศิลปะเขมรแบบบายนและศิลปะอยุธยาเข้ามาปะปนอยู่ด้วย จากลักษณะหน้าแข้งพระพุทธรูปทำเป็นสันขึ้นมา จึงเรียกว่า “พระเจ้าแข้งคม”

กล่าวไว้ว่า ในปีพ.ศ.๒๐๒๗ ปีเถาะ วันพุธ ขึ้น ๓ ค่ำเดือน ๘ พระเจ้าสิริธรรมจักรพรรดิพิลกราชาธิราช (พระเจ้าติโลกราช) กษัตริย์นครเชียงใหม่ล้านนา รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์มังราย ทรงมอบภาระให้สีหโคตเสนาบดีและมหาอำมาตรหล่อพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ โดยมีทองสัมฤทธิ์หนักประมาณสามสิบสามแสน (๓,๓๐๐,๐๐๐) ประมาณ ๓,๙๖๐ กิโลกรัม ขนาดหน้าตักกว้าง ๙๔ นิ้ว (๒.๓๙ เมตร) สูง ๑๑๒ นิ้ว (๒.๘๕ เมตร) โดยมีลักษณะเหมือนพระพุทธรูปแบบลวปุระ (ศิลปะแบบลพบุรี) หล่อที่วัดป่าตาลมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของนครเชียงใหม่ ครั้นหล่อเสร็จแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประมาณ ๕๐๐ องค์ พร้อมกับพระพุทธรูปแก้วทองและเงิน จากหอพระธาตุส่วนพระองค์มาบรรจุไว้ในเศียรพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้

วัดป่าตาลมหาวิหาร มีพระเถระชื่อ ธรรมทินนะ เป็นเจ้าอาวาส เป็นเจ้าคณะและเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย พระเจ้าธรรมจักรพรรดิพิกมลราชาธิราช ครองราชย์สมบัติได้ ๔๕ ปี ก็สวรรคต ในปีมะแม รวมสิริอายุได้ ๗๘ ปี พระเจ้าแข้งคมประดิษฐานอยู่ที่วัดป่าตาลมหาวิหารนานได้ ๓๑๕ ปี (ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๐๒๗ - ๒๓๔๒) ต่อมาพ.ศ.๒๓๔๒ ปีมะแม เดือน ๓ ออก ขึ้น ๗ ค่ำ วันพฤหัสบดี สมเด็จปวัตตสีหลวงมหาโพธิรุกขาพิชชาราม (ครูบานันทา) เจ้าอาวาสวัดศรีเกิด ร่วมกับสมเด็จเชษฐาบรมพิตราธิราช (หนานกาวิละ) ผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้นำน้ำพุทธาภิเษกมหาสุริยวงศ์กษัตราธิราชเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์ พระวงศานุวงศ์ ไพร่ฟ้าพลเมือง ได้อาราธนา (นิมนต์) พระเจ้าแข้งคม จากวัดร้างป่าตาลวรวิหาร นอกแจ่งกู่เมืองมาประดิษฐานไว้ในวิหาร วัดศรีเกิด ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบันนี้



DSC08773.jpg



ความคมทั้ง ๕ ที่ปรากฏในองค์ของพระเจ้าแข้งคม คือ พระโมลี พระนาสิก พระหนุกา พระณง และพระหัตถ์ มีผู้ให้ความหมายว่า หมายถึง เวสารัชชกรณธรรม คือธรรมที่ทำให้ความกล้าหาญ ๕ อย่างคือ

๑. สัทธา        คือ  ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ โดยใช้สติปัญญาด้วยเหตุแห่งความเชื่อ ไม่เชื่อแบบงมงาย
๒. ศีล            คือ  การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ทำตนให้เป็นคนที่มีระเบียบวินัย
๓. พาหุสัจจะ  คือ  การพยายามศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเสมอและต้องรู้จริง
๔. วิริยะรัมภะ คือ  การมีความเพียร ความพยายามมุ่งมั่น ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคต่างๆ
๕. ปัญญา      คือ  การรอบรู้สิ่งที่ควรรู้ และวิทยาการอันเป็นประโยชน์แก่ตนเองอันจะพึงขวนขวาย โดยใช้สติปัญญาศึกษาให้รอบรู้อย่างแท้จริง


ทั้งหมดนี้หลวงพ่ออาจารย์พุทธทาส อธิบายว่า หัวข้อธรรมทั้ง ๕ ข้อนี้ ปัญญาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด


Rank: 8Rank: 8

Picture-778.jpg



รูปภาพครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ภายใน วิหาร วัดศรีเกิด ค่ะ   


Picture-780.jpg


รูปเหมือนพระครูขันตยาภรณ์ (คำ ขันติโก) ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดศรีเกิด ค่ะ


Picture-783.jpg



ธรรมาสน์ ภายใน วิหาร วัดศรีเกิด ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-758.jpg


ด้านหลัง วิหาร วัดศรีเกิด ค่ะ


Picture-759.jpg


Picture-760.jpg



ซุ้มพระพุทธรูป ด้านหลัง วิหาร วัดศรีเกิด ค่ะ  


Rank: 8Rank: 8

Picture-770.jpg


DSC08780.jpg




อุโบสถ วัดศรีเกิด ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-787.jpg


ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ วัดศรีเกิด ต้องใช้ท่อเหล็กค้ำยันกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ค่ะ


ประวัติต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ วัดศรีเกิด


ประวัติบอกเล่าว่า เมื่อสมัยพญามังรายอยู่เวียงกุมกาม (ในเขตอำเภอสารภี) ยังมีพระมหาเถระเจ้าคณะหนึ่งนำพระบรมธาตุพระพุทธเจ้ามาตั้งลังกาสิงหลถวายแด่พญามังราย มีพระบรมสารีริกธาตุสิบสององค์ พญามังรายบรรจุไว้ในพระเจดีย์กานโถมองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งบรรจุไว้ในพระเมาลีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ แล้วพญามังรายถวายทองคำห้าร้อยฝากเจ้ามหาเถระไปบูชาพระศรีมหาโพธิ์ในเมืองลังกา

เสร็จการทั้งปวงแล้ว พระมหาเถรเจ้าทั้ง ๔ องค์ ก็กลับเมืองลังกา และนำเอาทองคำอันพญามังรายฝากไปนั้นบูชาพระศรีมหาโพธิ์ แล้วสัตยาธิษฐานว่า ผู้ข้าทั้งหลายจักเอาศาสนาพุทธเจ้าไปตั้งในเมืองล้านนา ผีว่าจักรุ่งเรื่องดังความปรารถนา ขอให้ต้นศรีมหาโพธิ์ตกลงเหนือจีวรของข้า แต่ครั้นสิ้นคำอธิษฐานแล้ว พระเถระทั้ง ๔ ก็ได้เมล็ดมหาโพธิ์ ๔ ผล พระมหาเถระเจ้าจึงนำมาสู่ล้านนาไทยและถวายแด่พญามังราย พญามังรายได้นำไปปลูกไว้ยังพันนาทะกาน (ปัจจุบันเรียกว่า เวียงท่ากาน) ต้นหนึ่ง อีกต้นหนึ่งถวายพระชนนีนาถผู้ชื่อว่า นางเทพคำขยาย นำไปปลูกไว้แทนไม้มะเดื่อที่อารามกานโถม อีกต้นหนึ่งนำไปปลูกที่เมืองฝาง อีกต้นหนึ่งนำไปปลูกที่ต้นน่าง น่าจะเป็นวัดรั้วนางในปัจจุบันนี้

ในสมัยของพระยาสามฝั่งแกน มีพระมหาญาณคัมภีระ ชาวเชียงใหม่ พร้อมทั้งคณะเดินทางไปศึกษาประเทศลังกา เมื่อศึกษาจบแล้วได้นำพระไตรปิฎกกับไม้ศรีมหาโพธิ์กลับมา สมัยพระยาติโลกราชเสวยราชเมืองเชียงใหม่ ได้นำไม้ศรีมหาโพธิ์นั้นปลูกที่วัดป่าแดงหลวงและวัดโพธาราม (วัดเจ็ดยอดในปัจจุบัน) ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่วัดศรีเกิดนั้น เชื่อกันว่าเป็นไม้ศรีมหาโพธิ์ที่พระมหาเถระเจ้าคณะนั้นนำมาจากประเทศลังกา แต่ยังไม่พบหลักฐานว่าได้นำมาปลูกในวัดศรีเกิดเมื่อใด



Picture-761.jpg



Picture-762.jpg



ซุ้มพระพุทธรูป ประดิษฐานรอบกำแพง ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ วัดศรีเกิด ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-795.jpg



พระบรมธาตุเจดีย์
วัดศรีเกิด บรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ค่ะ


ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์ วัดศรีเกิด จากตำนานพระเจ้าเลียบโลก

(แหล่งที่มา : นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ๑ ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์, หน้า ๑๕๓.)



กล่าวว่า  พระพุทธเจ้าเสด็จไปสู่ทิศใต้ ทรงประทับนั่งอยู่ที่แห่งหนึ่ง มีลัวะสองคนเอามะม่วง ๒ ผลมาถวายพระพุทธเจ้า ลัวะทั้งหลายก็นำมะปราง มะขุน (ส้มซ่า) และข้าวซ้อมมืออันขาวงามมาถวายแก่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์เสวยแล้ว พวกเขาก็เอาส้มป่อยและน้ำหอมถวาย พร้อมทั้งน้ำสำหรับสรงและน้ำสำหรับชำระล้างพระหัตถ์ พระพุทธองค์ก็ทรงสรงน้ำและสระพระเกศา ก็ประทับอยู่ทรงแสดงพระธรรมเทศนาสั่งสอนพวกลัวะทั้งหลายตลอด ๓ วัน ๓ คืน

แล้วทรงพยากรณ์ว่า “ต่อไปภายภาคหน้าคนทั้งหลายจะมาสร้างอารามขึ้น ณ สถานที่นี้เป็นอารามใหญ่จักปรากฏชื่อว่า “พิชอาราม” แล้ว
พระเจ้าอโศกราชก็ทูลขอพระเกศาธาตุอัญเชิญบรรจุไว้ในสถานที่นั้น (วัดหลวงศรีเกิด อ.เมือง จ.เชียงใหม่)


Picture-803.jpg


ประวัติวัดศรีเกิด  


วัดศรีเกิด หรือเรียกว่า วัดปิ๊ดจาราม หรือพัชราม วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่มีชื่อปรากฏในโครงราศหริภุญชัย เมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๓๔๓ ซึ่งสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าอาจมีชื่อว่า วัดหลวงโพธิรุกขพิชชาราม เพราะปรากฏในศิลาจารึกคราวอัญเชิญพระเจ้าแข้งคมเข้ามาประดิษฐานในวิหาร ครั้งสมัยพระบรมราชาธิบดีกาวิละได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เพราะวัดวาอารามต่างๆ ที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่นอกกำแพงเมือง เนื่องจากเป็นระยะที่พม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ และพระบรมราชาธิบดีกาวิละทรงจัดย้ายพระพุทธรูปพระเจ้าแข้งคมจากวัดป่าตาลน้อยมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีเกิด และสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ.๒๑๔๐ ต่อมาได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อปีพ.ศ.๒๔๗๘

Picture-794.jpg


ประวัติวัดศรีเกิด (ต่อ)

วัดศรีเกิด ตั้งอยู่กำแพงชั้นใน เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่งในนครพิงค์ก่อนพญามังรายจะมาสร้างเวียงใหม่แห่งนี้ ตามปรากฏในคัมภีร์พื้นเมืองนครเชียงใหม่ว่า พญามังรายให้ข้าบริวารแผ้วถางป่างในบริเวณที่จะสร้างเวียง พบรูปกุมภัณฑ์เก่าแก่อยู่ในป่า (เชียงใหม่เป็นเมืองร้างมาแต่เดิม) ข้าบริวารบางหมู่จะทำลาย บางหมู่ก็นำเรื่องไปทูลพญามังราย แต่พญามังรายทรงห้ามไว้ แล้วจึงใช้อำมาตย์ท่านหนึ่งนำเครื่องบรรณาการไปถวายพญาลั้วะที่บนดอยอุชุปัพพัตตะ เพื่อถามวิธีบูชาผีกุมภัณฑ์ พญาลั้วะก็บอกวิธีปฏิบัติ หลังจากนั้นพญามังรายก็ทำตาม สำหรับบริเวณที่ตั้งของวัดศรีเกิดแห่งนี้เป็นวัดมาก่อนหรือไม่นั้นยังไม่พบหลักฐาน

หลังจากที่พญามังรายสร้างเวียงเสร็จแล้ว ก็ได้รับยกย่องเท่ากับว่าเป็นเมืองหลวง บรรดาเมืองต่างๆ ก็เกรงเดชานุภาพพากันนำเครื่องราชบรรณาการมาขอสวามิภักดิ์อันได้แก่ เมืองหงสาวดี เมืองอังวะ เมืองเชียงตุง เมืองเชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน เชียงของ เขลางค์ฯ ซึ่งทั้งหมดนี้เรียกว่า แคว้นล้านนาไทย พญามังรายประทับอยู่เมืองนครพิงค์จนสวรรคต เมื่อปีกุน พ.ศ.๑๘๕๕ รวมพระชนมายุได้ ๗๒ ปี จากนั้นก็มีเชื้อพระวงศ์สืบสมบัติสันติวงศ์ดำรงต่อๆ กันมาดังนี้

พระเจ้าคราม พระเจ้าแสนภู พ่อขุนน้ำท่วม พระเจ้าคำฟู พระเจ้าผายู พระเจ้ากือนา พระเจ้าแสนเมืองมา พระเจ้าสามฝั่งแกน พระยาติโลกราช พระยอดเชียงรายเสวยราชตั้งแต่พ.ศ.๒๐๓๑ ปีมะแม ถึงพ.ศ.๒๐๓๙ พระเจ้าปนัดดาติโลกราช (พระเมืองแก้ว) เสวยราชตั้งแต่พ.ศ.๒๐๔๐ - ๒๐๖๙ ปีมะโรง ในระหว่างนี้มีนักกวีแต่งนิราศหริภุญชัยปรากฏชื่อวัดศรีเกิด ในบทที่ ๑๒ ว่า

ทุงยู                   สิริเกิดใกล้   ผาเกียร
สามสีอาวาสเจียร  จิ่มไหว้
กุศลที่ทำเพียบ      พบราช       เดียวเอย
มิใช่จงห้องได้      แต่พื้นนรา    สาดล

ตามที่ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร อธิบายว่า โครงนิราศหริภุญชัยแต่งขึ้นประมาณพ.ศ.๒๐๒๕ - ๒๐๖๐ เป็นเอกสารแสดงว่า วัดศรีเกิดมีอายุนานหลายร้อยปี แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้าง ในวัน เดือน ปีไหน และเมื่อไร






‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-12-1 02:59 , Processed in 0.050846 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.