แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 1350|ตอบ: 13
go

วัดเมืองแปง ม.๑ ต.เมืองแปง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_9103.3.JPG



วัดเมืองแปง

ม.๑ ต.เมืองแปง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

[พระบรมธาตุเจดีย์ , รอยพระพุทธบาท]

---------------------


(ข้อมูล ณ : 16 มกราคม 2567)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_8899.jpg



ขอจบการเดินทางด้วยภาพพระพุทธบาทเมืองแปง พ.ศ.๒๕๕๓ และภาพน้ำพุร้อนเมืองแปง สถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติของตำบลเมืองแปง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดเมืองแปง สวัสดีค่ะ

L54 .3.png




ภาพ ณ พระพุทธบาทเมืองแปง พ.ศ.๒๕๕๓



502.jpg


501.jpg



500.jpg



498.jpg



499.jpg



ณ พระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง ถ่ายภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓


S__31670347.jpg



S__31670359.jpg



S__31670361.jpg



S__31670349.jpg



น้ำพุร้อนเมืองแปง

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวน้ำพุร้อนธรรมชาติของบ้านเมืองแปง ตำบลเมืองแปง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่กลางขุนเขา บรรยากาศเงียบสงบท่ามกลางธรรมชาติ เป็นบ่อน้ำร้อนขนาดใหญ่ มีอุณหภูมิร้อนสูงประมาณ ๑๐๐ องศาเซลเซียส

----------------------


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         • วัดเมืองแปง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน   
         • พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๕๐, ๙ ธันวาคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๔ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.
         • นิตยา หล้าพรม (ครูแอน). ประวัติศาสตร์ศึกษา : ประวัติวัดเมืองแปง (วัดศรีดอนชัย), ๒๗ กันยายน ๒๕๕๑. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/212182 และประวัติศาสตร์ศึกษา : รอยพระพุทธบาท บ้านเมืองแปง, ๒๗ กันยายน ๒๕๕๑. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/212299 (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๓ มกราคม ๒๕๖๗)
         • สยามทูเว็บดอทคอม. ประวัติวัดเมืองแปง (ศรีวิชัย). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://khnasngkpai.siam2web.com//?cid=872594 (วันที่ค้นข้อมูล : ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖)         
         • รัศมี ชูทรงเดช ฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยา. วัดเมืองแปง. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://db.sac.or.th/anthroarchives/subfile.php?s_page=0&c_id=99&s_id=143&ss_id=&f_id=382&sf_id=158 (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๕ มกราคม ๒๕๖๗)

**หมายเหตุ :


ท่านใดประสงค์จะนำรูปภาพหรือเนื้อหาบทความไปใช้ประโยชน์ที่อื่น สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากข้าพเจ้าก่อน


และได้โปรดกรุณาให้เครดิตอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มา : เว็บแดนนิพพาน และกรุณาอย่าลบหรือครอบตัดเครดิตแหล่งที่มาบนรูปภาพ “Photo by Dannipparn.com”


(ป.ล. หากว่ากระทู้บทความนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยในความผิดพลาดต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปไว้ ณ ที่นี้ด้วย และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9002.1.JPG



ก้อนหินนี้มีลักษณะคล้ายรอยเท้าเล็กๆ อยู่บนก้อนหิน หรืออาจจะเป็นรอยเท้าสัตว์ก็ได้ ไม่ทราบที่มาแน่ชัด แต่มีมานานแล้ว

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ ก้อนหินนี้ตั้งอยู่ในศาลาครอบรอยพระพุทธบาท และปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๖๖ ก้อนหินนี้ได้ถูกย้ายจากที่ตั้งเดิมมาอยู่ที่ข้างบันไดทางขึ้นศาลาครอบรอยพระพุทธบาท


IMG_9002.JPG


ก้อนหินไม่ทราบที่มาแน่ชัด อยู่ที่ข้างบันไดทางขึ้นศาลาครอบรอยพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง



IMG_8960.JPG


IMG_8902.JPG



กุฏิสงฆ์ ณ พระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง


ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๖๖) พระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง มีพระภิกษุประจำ ๑ รูป


IMG_8894.JPG


IMG_8896.JPG



IMG_8992.JPG



IMG_8891.JPG



IMG_8886.JPG



IMG_8875.JPG



IMG_9044.JPG



บรรยากาศบริเวณโดยรอบพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

S__31670363.1.jpg



ประวัติรอยพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง


เรียบเรียงโดย นิตยา หล้าพรม (ครูแอน)



รอยพระพุทธบาทนี้ มีมาแต่สมัยที่พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้จาริกมายังสุวรรณภูมิ ได้ผ่านมายังบ้านเมืองแปง ในสมัยนั้นมีชื่อว่า เมืองทาผาน้อย ได้เสด็จมาพักยังเหนือก้อนหินก้อนหนึ่ง ซึ่งมีรอยประทับอยู่ตราบทุกวันนี้ โดยชาวบ้านที่นี่เรียกว่า ห้วยพระนอน (คือลักษณะคล้ายรูปคนนอนตะแคงเหนือก้อนหิน)

พอรุ่งขึ้นก็เสด็จออกจากที่นี่ ได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้เหนือก้อนหินก้อนหนึ่ง ก่อนจะเสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือทางตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง ที่นี่พระพุทธองค์พักนอน ในภาษาเมืองเหนือจึงเรียกว่า บ้านยั้งเมิน และบ้านอมลอง


คือ พระพุทธองค์ได้ลองอมเมี่ยงที่ชาวบ้านได้นำมาถวาย แล้วพระองค์ได้ทรงคายคำเมี่ยงออกที่บ้านอังคาย ก่อนจะเสด็จผ่านเข้าเชียงใหม่ เช่น พระพุทธบาทสี่รอย พระพุทธบาทตากผ้า ที่จังหวัดลำพูน เป็นต้น

รอยพระพุทธบาทที่ทรงประทับที่นี่ มีขนาดความกว้าง ๖๗ เซนติเมตร ความยาว ๑๐๗ เซนติเมตร ค้นพบโดย นายพรานบุญ ที่อพยพมาจากถิ่นอื่น ได้เข้ามาล่าสัตว์ในแถบนั้น ได้เจอต้นมะม่วงต้นหนึ่ง มีลักษณะลำต้นขาดกลางลำ เหมือนโดนมีดตัดทั้งที่ลำต้นใหญ่มากจึงแปลกใจ โดยมีความเชื่อว่าเหมือนอย่างคนหมายอะไรบางอย่างไว้

พรานบุญจึงได้เดินดูโดยรอบจึงพบรอยพระพุทธบาทนี้ แล้วได้กลับไปบอกชาวบ้านมาดูแล้วชวนกันสร้างศาลาครอบไว้ โดยไม่มีหลักฐานพุทธศักราชอ้างอิงถึงวันสร้าง และมีการบูรณะมาตามลำดับ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๗-๒๕๑๘ ได้บูรณะอีกครั้งหนึ่ง

จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ ช่วงเดือนเมษายน จึงเกิดไฟไหม้ทำให้ตัวอาคารศาลาทั้งหลังไหม้หมด เหมือนดั่งจะชี้ชัดซึ่งรอยพระพุทธบาทที่ซ่อนอยู่ในเนื้อปูน ที่ชาวบ้านได้ตกแต่งไว้อย่างดี จนแทบไม่ปรากฏเห็นรอยเดิม จึงเป็นเหตุให้บุคคลถิ่นอื่นที่มาเที่ยวสงสัย ได้เอาหินทุบขอบรอบๆ รอยพระบาทเสียหาย พอไฟไหม้ปูนที่ฉาบรอยพระพุทธบาทก็หลุดออกหมด คงเหลือแต่รอยเดิมให้เห็นอย่างเด่นชัด

ชาวบ้านจึงได้ประชุมลงมติ สร้างศาลาหลังใหม่ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ แล้วเสร็จพร้อมกับฉลอง เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ เพื่อเก็บไว้เป็นปูชนียสถานให้ระลึกถึงพุทธคุณของพุทธองค์สืบไป


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : นิตยา หล้าพรม (ครูแอน). ประวัติศาสตร์ศึกษา : รอยพระพุทธบาท บ้านเมืองแปง, ๒๗ กันยายน ๒๕๕๑. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/212299 (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๓ มกราคม ๒๕๖๗)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9015.JPG


IMG_8956.JPG



IMG_8918.JPG



IMG_8922.JPG



IMG_9017.JPG



รอยพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง


เป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเหยียบประทับบนก้อนหิน ปรากฏรอยนิ้วชัดเจน มีขนาดกว้าง ๓๗ เซนติเมตร ยาว ๗๘ เซนติเมตร มีขนาดรอยพระบาทใกล้เคียงกับที่พระพุทธบาทบ้านป่ายาง ม.๓ ต.แม่นาเติง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้าย   

อ้างอิงจากหนังสือตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๔ หน้า ๑๓ โดยพระชัยวัฒน์ อชิโต กล่าวว่า “พระที่นำทางเล่าประวัติว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมา ได้บรรทมที่บนเขา แล้วมาประทับรอยพระพุทธบาทรอยนี้ และเสด็จต่อไปที่เมืองปาย ตนเองเคยเห็นแสงพระธาตุเสด็จลอยในบริเวณนี้ด้วย”


------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๕๐, ๙ ธันวาคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๔ (พิมพ์ครั้งที่ ๑). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๑๓.)


L54 .3.png



***(หมายเหตุ : สนใจติดตามข้อมูล พระพุทธบาทบ้านป่ายาง เพิ่มเติมได้ที่เว็บแดนนิพพาน @ http://www.dannipparn.com/thread-157-1-2.html)



S__31670364.4.jpg



คำนมัสการพระพุทธบาท

(ว่านะโม ๓ จบ) ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะปาทัง ตัง ปาทะ วะลัญชะนะ มะหัง สิระสา นะมามิฯ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

S__31670327.jpg



S__31670362_0.jpg



IMG_8946.JPG



ภายในศาลาครอบรอยพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง


IMG_8936.JPG



IMG_9023.JPG



IMG_8927.JPG



IMG_9009.JPG



IMG_8910.JPG



พระประธานและพระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในศาลาครอบรอยพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง



IMG_8932.JPG



IMG_8925.JPG



IMG_8951.JPG



S__31670333.jpg



IMG_8920.JPG



ก้อนหินพระพุทธบาทเมืองแปง ประดิษฐานภายในศาลาครอบรอยพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

S__31670365.jpg


S__31670331.jpg



IMG_8986.JPG



ศาลาครอบรอยพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง



S__31670330.jpg


S__31670366.jpg



IMG_9007.JPG



IMG_8973.JPG



IMG_8978.JPG



IMG_8982.JPG



ศาลาครอบรอยพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง

โดย พระอธิการอภิภูพงษ์ ฐิตธมฺโม เจ้าอาวาสวัดเมืองแปง เป็นประธานในการก่อสร้างบูรณะศาลาหลังนี้ และสร้างบันไดทางขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาท เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9051.JPG


IMG_9052.1.jpg



ทางเข้าพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง อยู่เยื้องตรงข้ามกับโรงเรียนบ้านเมืองแปง


IMG_9053.JPG



IMG_9049.JPG



IMG_8880.JPG



ทางเข้าพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง ระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร



IMG_8877.JPG



IMG_8873.JPG



ป้ายพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง



IMG_9028.JPG



IMG_9024.JPG



บันไดทางขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาทเมืองแปง วัดเมืองแปง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

S__31670345.jpg



IMG_9066.JPG



อนุสาวรีย์พระครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดเมืองแปง ผู้บูรณะสร้างพระธาตุวัดนี้เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑

L55.png



**(สนใจติดตามข้อมูล พระครูบาเจ้าศรีวิชัย
เจ้าอาวาสวัดบ้านปาง รูปที่ ๑
ได้ที่: http://www.dannipparn.com/thread-1485-1-1.html)



IMG_9064.JPG


รูปเหมือนพระครูบาเจ้าศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย) วัดเมืองแปง



คำนมัสการพระครูบาเจ้าศรีวิชัย
(ตั้งนะโม ๓ จบ) อะยังวุจจะติ สิริวิชะยะจะนะ จะ มหาเถโร อุตตะมัง สีลัง นะระเทเวหิ ปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภา ภะวันตุเม อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ สิระสา อะหัง วันทามิ สัพพะโส สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิฯ

(ดังข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไปนี้ พระมหาเถระเจ้ารูปใด ผู้มีนามว่าศรีวิชัย ผู้มีศีลอันอุดม ผู้อันนรชนและเหล่าทวยเทพทั้งหลายบูชาแล้ว ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาลทั้งปวง ด้วยการนอบน้อมนั้นเป็นปัจจัย ขอลาภอันใหญ่จงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขออภิวาทซึ่งพระมหาเถระเจ้ารูปนั้นตลอดกาลทั้งปวง ข้าพเจ้าขออภิวาทซึ่งพระมหาเถระเจ้ารูปนั้นด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขออภิวาทซึ่งพระมหาเถระเจ้ารูปนั้นโดยประการทั้งปวง สาธุ สาธุ สาธุ (ดีละ ดีละ ดีละ) ข้าพเจ้าขออนุโมทนาฯ กราบ)



IMG_9071.JPG


IMG_9101.JPG



กุฏิเจ้าอาวาส วัดเมืองแปง


ภายในกุฏิประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ คือพระพุทธรูปสำริด รุ่นสิงห์ จำนวน ๓ องค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา ชนิดสำริด ได้ถูกอัญเชิญมาจากพระพุทธบาทเมืองแปง


IMG_9096.JPG


หอระฆัง วัดเมืองแปง



IMG_9091.JPG



ศาลาราย วัดเมืองแปง


IMG_8867.JPG


หลังจากนั้นเราจะไปกราบนมัสการพระพุทธบาทเมืองแปง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดเมืองแปงมากนักต่อเลยนะคะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9068.1.JPG



IMG_9073.JPG



ประวัติพระบรมธาตุ (ครูบาเจ้าศรีวิชัย) วัดเมืองแปง



เรียบเรียงโดย พระอภิภูพงษ์ ฐิตธมฺโม เจ้าอาวาสวัดเมืองแปง



พระบรมธาตุองค์นี้ มีมาก่อนที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยจะมาบูรณะ เนื่องจากเดิมที่นี่คือวัดร้าง โดยมีพระธาตุองค์เดิมอยู่ก่อนแล้ว ไม่มีหลักฐานอ้างอิงว่าสร้างเมื่อใด แต่มีมาก่อนพ.ศ.๒๔๖๘

แต่ก็มีสิ่งสำคัญอยู่หลายอย่าง เช่น หินสีมา อยู่ที่หน้าพระวิหารหลังปัจจุบันทางทิศเหนือ มีเก้าก้อน ปัจจุบันถูกทับถมไปเหลือก้อนเดียว มีพระพุทธรูปเก่าแก่ คือ พระสิงห์หนึ่ง พระเพชร และพระพุทธรูปอีกองค์ไม่รู้จักชื่อว่าเป็นพระปางไหน

เมื่อก่อนพ.ศ.๒๔๖๘ เดิมวัดเมืองแปงได้ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านเมืองแปงในปัจจุบัน และได้ย้ายจากที่ตั้งเดิมขึ้นมาอยู่ที่นี่ (คือสถานที่ตั้งของวัดเมืองแปงในปัจจุบัน) ตามคำบอกของครูบาเจ้าศรีวิชัย

เนื่องจากครูบาเจ้าศรีวิชัยมีลูกศิษย์ชื่อว่า พระนุ อินทนนท์ หรือพระอินทนนท์ มาจำพรรษา ณ เวลานั้น จึงได้ย้ายวัดขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ และได้สร้างพระธาตุครอบองค์เดิมเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑-๒๔๗๔ ก็แล้วเสร็จ

ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้บรรจุพระบรมธาตุหรือพระธาตุไม่รู้ได้ รู้แต่คำบอกเล่าจาก อุ๊ยอิ่นแก้ว ซึ่งเล่าให้อาตมา พระอธิการอภิภูพงษ์ ฐิตธมฺโม ว่าตอนนั้นอุ๊ยอายุซาวปลาย (อายุ ๒๐ ปลาย) (ตอนนี้ พ.ศ.๒๕๕๕ อุ๊ยอิ่นแก้วอายุได้ ๑๐๐ กว่าปีแล้ว) อุ๊ยทัน

ครูบาท่านเอาแอ๊บ (คือ ภาชนะใส่ของที่มีฝาปิดมิดชิด ขนาดไม่ใหญ่) ยาวประมาณศอกใส่ในเจดีย์ ข้างในไม่รู้ว่ามีอะไร แต่ที่อุ๊ยบอกคือ อุ๊ยอิ่นแก้วได้อุ้มพระพุทธรูปใส่ในเจดีย์ คือพระคู่บ้านคู่เมืองของบ้านเมืองแปง คือพระสิงห์หนึ่งกับพระเพชร และอีกองค์ไม่ระบุชื่อ ใส่ทางทิศตะวันตกของพระธาตุด้วย

พระธาตุองค์นี้มีมาแต่เดิม ผู้เฒ่าผู้แก่ต่างก็เห็นแสงพระธาตุลอยไปมาระหว่างดอยกองมูกับห้วยพระนอนและองค์พระธาตุนี้บ่อยๆ ในความเห็นส่วนตัวของอาตมา (พระอธิการอภิภูพงษ์ ฐิตธมฺโม) ก็สันนิษฐานได้ว่า ต้องมีพระบรมธาตุหรือพระธาตุปัจจุบันอยู่แน่นอน

หลังจากท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยมาบูรณะสร้างครอบพระธาตุเจดีย์แล้วเสร็จ จนถึง พ.ศ.๒๕๒๔ ก็มีการบูรณะพระธาตุอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมาก โดยมี ลุงบุญดี (บ้านสบสา) เป็นผู้รับเหมาบูรณะ

จากนั้นก็อยู่มาจนถึง พ.ศ.๒๕๕๔ อาตมากับญาติโยมพิจารณาแล้วเห็นว่าองค์พระธาตุทรุดโทรมแตกร้าวยุบตัวลง องค์พระธาตุได้เอียงไปทางทิศตะวันออกทางพระวิหาร สำรวจดูพบว่า ฐานมีรอยแตกร้าว ได้ปรึกษากรมศิลปากรก็บอกว่า ไม่มีงบประมาณ เนื่องจากพระธาตุไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้อย่างถูกต้อง เพียงแต่รับรู้ไว้ว่าเป็นของเก่าที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยท่านได้สร้างเอาไว้เท่านั้น

ในความรู้สึกของอาตมาเองเห็นว่า “สรรพสิ่งมีเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป” หากว่าพระธาตุครูบาเจ้าไม่ได้รับการบูรณะแล้ว คงไม่พ้นล้มลงไม่วันใดก็วันหนึ่งเป็นแน่ จึงได้ตั้งใจคิดจะบูรณะ และยังขาดงบประมาณ เนื่องจากทางวัดไม่มีปัจจัยเพียงพอ จะด้วยบุญบารมีของครูบาเจ้าศรีวิชัยส่งเสริมหรือเจ้าอาวาสองค์ก่อนๆ นำทาง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาพระพุทธศาสนาก็ไม่รู้ได้

หลังจากอาตมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองแปง ได้บูรณะวัดมาตามลำดับ หลังฝังลูกนิมิตแล้วเสร็จ ได้มีโยมจากกรุงเทพฯ ชื่อว่า คุณสมสมร อมรมุนีพงศ์ ได้มาแสดงความจำนงที่จะสนับสนุนในความคิดของอาตมา ได้มาทอดกฐินครั้งแรกของวัดที่ถูกต้องตามพุทธวินัย ณ พุทธสีมาแห่งนี้ ได้แสดงความจำนงให้เอาปัจจัยบูรณะพระธาตุของครูบาเจ้า

อาตมา
พระอธิการอภิภูพงษ์ ฐิตธมฺโม ในนามเจ้าอาวาสวัดเมืองแปง ได้เริ่มบูรณะพระธาตุ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๔ โดยสร้างครอบองค์เดิมของครูบาเจ้า มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วน แต่ยังคงรักษารูปเดิมบางส่วนไว้ เพราะเนื่องจากปูนหมดอายุ ไม่มีคานเหล็กรองรับ องค์พระธาตุเดิมจึงเอียง

ทางวัดจึงมีการเสริมเหล็กคานรัดรอบองค์พระธาตุและเสริมองค์พระธาตุให้ใหญ่ขึ้น สูงกว่าองค์เดิมอีกหกเมตร ทาสีทองใหม่ จากเดิมทาด้วยสีขาว ฐานเป็นสี่เหลี่ยมก็ทำเป็นบัวคว่ำบัวหงาย โดยที่อาตมาดูแลการก่อสร้างด้วยตัวเองตามกำลัง เพื่อให้องค์พระธาตุมั่นคงสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาสืบไป

อาตมาได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเพิ่มอีก ๔ แห่ง คือ

๑. บรรจุที่เอวของพระเจดีย์ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้

๒. บรรจุที่ด้านสี่เหลี่ยมของพระเจดีย์ด้านทิศใต้ โดยโยมชื่อ รณฤทธิ์ ศรีพันธ์ นำมาถวาย

๓. บรรจุที่กึ่งกลางบัวหงายของพระเจดีย์ด้านทิศตะวันออก โดยอาตมาได้พระบรมสารีริกธาตุมาจาก อุ๊ยอุ่นเรือน พรมพันธ์ เป็นพระบรมสารีริกธาตุจากดอยกองมูเดิม ที่ครูบาสม โสภโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดเมืองแปง ได้เก็บรักษาไว้

๔. บรรจุที่ปลายยอดของพระเจดีย์อีกสององค์ โดยอาตมาได้มาจาก ร้านสุชาติ ตลาดวโรรส (กาดหลวง) จ.เชียงใหม่

พระบรมธาตุองค์นี้ จึงเป็นที่บรรจุทั้งพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง และของมีค่าควรเมืองคือแก้วมุงเมือง เป็นของโยมพ่ออุ๊ยอิ่นแก้ว พร้อมกับของมีค่าของชาวบ้านที่รวบรวมกันมาใส่ไว้อีกด้วย


----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : ป้ายประวัติพระบรมธาตุ (ครูบาเจ้าศรีวิชัย) วัดเมืองแปง)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-27 23:46 , Processed in 0.061914 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.