แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 21166|ตอบ: 23
go

วัดพระธาตุสุนันทา (ดอยแม่หม้าย) ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC03646.jpg



วัดพระธาตุสุนันทา (ดอยแม่หม้าย)

ต.แม่หอพระ  อ.แม่แตง  จ.เชียงใหม่  

[พระเกศาธาตุ]



Rank: 8Rank: 8


DSC03576.jpg


วัดพระธาตุสุนันทา (ดอยแม่หม้าย) ตั้งอยู่ ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ธรณีสงฆ์ของวัดพระธาตุสุนันทา มี ๕๓ ไร่ ๘๓ ตารางวา

อาณาเขตติดต่อวัด
ทิศตะวันออก  จด  บ้านราษฎร
ทิศตะวันตก    จด  บ้านราษฎร
ทิศเหนือ        จด  ถนนเชียงใหม่-พร้าว
ทิศใต้            จด  ป่าสงวน


การเดินทางไปวัดพระธาตุสุนันทา ดูข้อมูลแผนที่จากเว็บ google ได้ตามลิงค์นี้ครับ

https://www.google.com/maps/place/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2/data=!4m2!3m1!1s0x30da107ec2fa86ed:0x121f1f30adbffa27?gl=TH&hl=th


DSC03571.jpg



ทางขึ้น/ลง วัดพระธาตุสุนันทา มี ๒ ทาง คือ บันไดนาค และทางขึ้นโดยรถ ครับ

ประวัติบันไดนาคทางขึ้น/ลง วัดพระธาตุสุนันทา สร้างโดยครูบาสิงห์โต กิตติโสภโณ และครอบครัวรุ่งเรืองธัญญา เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๐


Rank: 8Rank: 8


DSC03574.jpg


DSC03577.jpg



ศาลาพระพุทธรูป อยู่ด้านซ้าย ป้ายชื่อ วัดพระธาตุสุนันทา ครับ


Rank: 8Rank: 8

DSC03636.jpg



DSC03630.jpg



พระธาตุสุนันทา วัดพระธาตุสุนันทา ครับ


DSC03647.jpg



ประวัติพระธาตุสุนันทา วัดพระธาตุสุนันทา (ดอยแม่หม้าย)

เดิมชาวบ้านเรียกว่า "พระธาตุแม่หม้าย" ประวัติของพระธาตุองค์นี้ ได้จากตำนานพระเจ้าเลียบโลก และผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบกันมาว่า ได้บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าไว้หนึ่งเส้นในเขตเมืองแกน สถานที่นั้นชื่อ "แม่หอเด็ด" เรียกนามตามชาวบ้าน ซึ่งทำมณฑปและอาสนะถวายพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ที่ติดตามเสด็จ และได้เด็ดไม้ (กิ่งไม้ใบไม้) จึงเรียกกันว่า "แม่หอเด็ด" ปัจจุบันเรียกว่า "แม่หอพระ"

..... ในกาลต่อมา พระเจ้ากรุงอังวะ ได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และเมืองหริภุญชัย ชาวบ้านรู้ข่าวจึงพากันหนี พระยาเหียร พานางจามเทวี บุตรีของตนหนีไปนครสวรรค์ ส่วนนางสุนันทา ซึ่งสามีเป็นทหารรักษาการอยู่หน้าด่านเมืองดล ผู้ซึ่งมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงได้นำเอาแก้วแหวนเงินทอง มาฝังไว้ ณ ที่ใกล้ๆ กับสถานที่ที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า และได้สร้างเจดีย์ขึ้นครอบไว้ ชาวบ้านเห็นว่านางไม่มีสามี เข้าใจว่านางเป็นหม้าย จึงเรียกสืบกันมาว่า "พระธาตุแม่หม้าย"

..... กาลล่วงมาจนถึง วันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๔๔๔ แรม ๘ ค่ำ ปีฉลู ครูบามโนชัย และคณะศรัทธา ได้
ทำการบูรณะพร้อมบรรจุพระธาตุอรหันต์ แก้ว แหวน เงิน ทอง และได้จารึกแผ่นเงินประมาณ ๑ เมตร ไว้ในพระธาตุ เป็นหลักฐาน

......ต่อมา พระธาตุองค์นี้ชำรุดมาก ครูบาสิงห์โต กิตติโสภโณ (พระสักขี ไชยา) ได้บูรณะขึ้นอีกครั้งหนึ่ง วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๖ แรม ๘ ค่ำ ปีระกา และได้บรรจุ แก้ว แหวน เงิน ทอง พร้อม พระธาตุอรหันต์อีกจำนวนหนึ่ง และได้เปลี่ยนชื่อจาก "พระธาตุแม่หม้าย" เป็น "พระธาตุสุนันทา แม่หอพระ" ตั้งแต่นั้นมา

  

Rank: 8Rank: 8

DSC03633.jpg




ประวัติพระธาตุสุนันทา วัดพระธาตุสุนันทา (ดอยแม่หม้าย) (ต่อ)

......ในส่วน ตำนานเมืองเกศคันธนคร (เมืองแกน) พระมหาหมื่น วุฑฒิญาโน คัดเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๐ แปลโดย คุณสงวน โชติสุขรัตน์ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๓ มาจากต้นฉบับเดิมเป็นอักษรธรรม ซึ่งคัดลอกมาจากหนังสือตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๒ โดย พระชัยวัฒน์ อชิโต หน้า ๑๗๔-๑๗๖ และข้าพเจ้าค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เรียบเรียงใหม่ ว่า...

“สมัยหนึ่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสาวกได้เสด็จมาถึง บ้านธัมมิละ พอชาวบ้านทั้งหลายรู้ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง จึงได้ตกแต่งอารามในร่มไม้ยาง แล้วจึงนิมนต์พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นั้น ๓ วัน เพื่อได้ถวายไทยทานและอาหาร พร้อมกับทำอาสนะถวาย

เมื่อพระพุทธองค์สถิตสำราญอยู่บนอาสนะนั้นแล้ว จึงผินพระพักตร์ไปทางทิศอุดรทอดพระเนตรเห็น เขาวิบูลม่อนจอมหด (คือม่อนหินไหล) ท่านครูบาขาวปี คงจะทราบประวัติดี ถึงได้ขึ้นไปสร้างพระธาตุไว้บนยอดเขาที่สูงที่สุดเป็นอันดับ ๓ ของประเทศ) และ แม่น้ำสงัด (ปัจจุบันเรียกว่า “แม่น้ำงัด”) เพราะที่แห่งนั้นราบเตียนดี

ในขณะนั้น พระองค์ทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์จึงกราบทูลถามถึงเหตุนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์จึงตรัสตอบว่า ในสถานที่นี้ควรไว้ศาสนา แล้วจึงได้ประทานพระเกศา ๑ เส้น ให้บรรจุไว้จะมีชื่อว่า อุโมงคอาราม ต่อไปข้างหน้าเรียกว่า ศรีคมคำแสนทอง

ต่อมาพระองค์เสด็จไปถึงเขาแห่งหนึ่งบ้านธัมมิละ ได้ประทับอยู่ใต้ร่มไม้ชมพู่ต้นหนึ่งที่อยู่ริมห้วย เวลานั้น พระยาธัมมิละ, ขุนอ้ายบ่อทอง, กับ ขุนอุตระกาจแก้ว ได้เข้าไปถวายภัตตาหารกับน้ำเมี่ยง (น้ำชา) และผลมะตูม

ในขณะนั้น พระองค์จึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า ในที่นี้ควรไว้ที่ศาสนา แล้วจึงได้ประทานพระเกศา ๑ เส้น บรรจุไว้ที่นั้นให้ชื่อว่า เจรุวรรณอาราม เรียกนามตามที่มีผู้เอาน้ำเมี่ยงและมะตูมเข้าไปถวาย และทำมณฑปด้วยเด็ดไม้แลใบไม้ กาลข้างหน้าจะเรียกชื่อว่า เมืองเกศคันธนคร ต่อไปจึงเรียกว่า เมืองแกน (ปัจจุบันนี้อยู่ที่ ต.ช่อแล อ.แม่แตง)

ส่วนที่ลำห้วยนั้น เรียกว่า “แม่หอเด็ด” ต่อไปข้างหน้าจะเรียกว่า “แม่หอพระ” “(บ้านแม่หอพระ ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง) ขณะนั้นขุนอ้ายและขุนตระพร้อมด้วยคนทั้งหลายจึงกราบทูลขอบรรจุพระเกศาไว้ที่นั้น

พระองค์จึงทรงตรัสว่า ต่อไปข้างหน้าถ้าพระองค์นิพพานไปล่วงแล้วได้สองพันปลาย ท้าวพระยาทั้งหลายจึงจะคิดสร้างได้ และบ้านเมืองก็จะเจริญรุ่งเรืองไปด้วยบุญบารมีของพระองค์ที่ได้ตรัสโปรดธัมมิละและขุนทั้งหลายที่ไปตักน้ำห้วยฝ้ายมาให้พระองค์สรง

ขณะนั้นพระองค์ทรงทอดพระเนตรไปเห็นต้นไม้ยังแลต้นหนึ่งอยู่ริมแม่น้ำระมิงค์ดูพุ่มพวงสวยงาม สถานที่นั้นก็ราบเตียนดียิ่งสมควรจะได้ตั้งศาสนา พระอานนท์จึงกราบทูลถามว่า พระองค์จะเสด็จไปสู่ที่ต้นไม้ยังแลหรือพระพุทธเจ้าข้า?

พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่า เธอจงพาพระสงฆ์ทั้งหลายไปเถิด แล้วพระองค์จึงเอาน้ำสระเกศเกล้ากับฝ่าพระบาทแก้ว ให้พระอานนท์และภิกษุทั้งหลายนำมาไว้ริมต้นไม้ยังแลนั้น

ฝ่ายขุนจอมใจเด็ดกับภรรยาที่มีชื่อว่า สุนันทา เข้ามากราบนมัสการพระอานนท์กับพระภิกษุทั้งหลาย แล้วได้ทำอาสนะที่ประทับและเอาน้ำเย็นมาถวาย แล้วขุนจอมใจเด็ดกับผู้คนทั้งหลายช่วยกันขุดเป็นหลุมกว้าง ๕ ศอก ลึก ๕ วา

พอเสร็จแล้วก็เอา ธาตุน้ำพระเกศ กับ ฝ่าพระบาท ลงบรรจุไว้แล้วปิดด้วยหินและอิฐแล้วให้ชื่อว่า “อุปางาม” ขณะนั้น ขุนจอมใจเด็ด, ขุนอ้าย, ขุนอุตระกาจแก้ว ประณมหัตถ์ขึ้นนมัสการว่า จะขอสร้างและก่อพระธาตุให้เป็นฐานขึ้น

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ต่อไปในกาลข้างหน้า ถ้าตถาคตปรินิพพานไปแล้วได้สองพันปลาย ท่านทั้งหลายจึงควรสร้างพระธาตุนี้ แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จไปซ้อนรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าที่ล่วงไปแล้ว ๓ พระองค์ ณ “ดงปาย” (สถานที่นี้น่าจะเป็นพระพุทธบาทสี่รอย)

ขุนจอมใจเด็ด, ขุนอ้าย, ขุนอุตระกาจแก้ว พอได้บรรจุพระธาตุไว้แล้ว ต่างก็มีความชื่นชมยินดียิ่งนัก ชวนกันสักการบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียนทุกวันคืนมิได้ขาด คนเหล่านี้เมื่อตายไปแล้ว ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อหมดบุญแล้วก็ได้มาเกิดในเมืองเกศคันธนคร เมื่อพุทธศักราช ๒๐๕๐ จะได้สร้างพระธาตุ บางคนก็ได้บวชเป็นพระภิกษุ บางคนจะได้เป็นอุปราช บางคนจะได้เป็นอุบาสกอุบาสิกา

แล้วจะได้ประชุมสงฆ์สร้างพระธาตุความเจริญรุ่งเรืองจะเกิดขึ้นในเมืองนี้ เมืองเกศคันธนครนี้ ให้ชื่อตามเหตุที่พระองค์ได้ฉันภัตตาหารกับไว้เกศาฝ่าพระบาท และน้ำสระพระเกศเกล้าของพระองค์ ตามที่พระยาธัมมิละได้ถวายน้ำเมี่ยงกับผลมะตูม

เมืองจึงได้ชื่อว่า เมืองคั่งแค้น (ชาวเหนือเรียกว่า เมืองกั่งแก้น แล้วต่อมาก็เรียกว่า เมืองแกน) กับพระยาธัมมิละทำอาสนะและที่ประทับให้แก่พระอรหันต์ด้วยใบไม้แลเด็ดไม้นั้น ได้ชื่อว่า แม่หอพระ ส่วนกุศลเมื่อผู้ใดได้สร้าง พระธาตุจอมหด, พระธาตุม่อนจอมหิน และฝ่าพระบาทแก้ว ผู้นั้นจะได้เกิดร่วมกับพระรัตนตรัย จะได้ถึงพระอรหันต์แลนิพพานในที่สุด...”

ตามตำนานเล่าไว้เพียงเท่านี้ พอสรุปได้ว่า สถานที่พระพุทธเจ้าประทานพระเกศาธาตุบรรจุไว้มีชื่อว่า อุโมงคอาราม และ จารุวรรณอาราม ส่วนน้ำที่สระพระเศียรและฝ่าพระบาทของพระองค์ คงจะกลายเป็นพระธาตุ แล้วให้บรรจุไว้มีชื่อว่า อุปางาม รวม ๓ แห่งด้วยกัน

ต่อมาครั้นมาถึงสมัยเจ้าเมืองอังวะ รู้ว่าบ้านเมืองเชียงใหม่และเมืองหริภุญชัยอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวน้ำและทรัพย์สิน จึงยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่และเมืองหริภุญชัยไว้เป็นเมืองขึ้นของตน ส่วนพระยารามเหียรเจ้าเมืองอโยธยารู้ข่าวว่าเจ้าเมืองอังวะจะมาตีเมืองเชียงใหม่และเมืองหริภุญชัย  จึงรีบนำทหารม้าเร็วมารับพระนางจามเทวีและข้าทาสบริวารลงไปยังเมืองนครสวรรค์

ส่วนแม่นางสุนันทาซึ่งเป็นภริยาขุนจอมใจเด็ดไม่ยอมตามไป ก็ได้ขึ้นมาสักการะองค์พระธาตุที่เป็นที่นับถือของตนและชาวบ้านที่จะร่วมกันสร้างก็มีเหตุให้ต้องหยุดไปก่อน เพราะมีสงครามเกิดขึ้น โดยสามีของแม่นางต้องไปตั้งด่านรบกับข้าศึก แม่นางสุนันทาก็รำพึงคร่ำครวญถึงสามีของตนที่ต้องไปรบ พอครองสติได้ก็เก็บทรัพย์สินทั้งหลายแลของมีค่า รวมทั้งแก้วแหวนเงินทองใส่กระบอกใส่ไหนำให้บริวารช่วยกันไปฝังในอุโมงค์ (ถ้ำ) ที่ใกล้กับที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า


เมื่อปิดเรียบร้อยแล้ว แม่นางจึงอธิษฐานวานอินทร์ พรหม ยมราช แม่ธรณีให้ปกป้องรักษา หากได้เกิดภพใดชาติใดขอให้ได้พบพระพุทธศาสนา และได้สร้างธาตุสมดังตั้งใจพร้อมกับสามีทุกชาติไป หลังจากนั้นแม่นางก็พาข้าทาสบริวารนำก้อนหินทับถมกันให้เป็นรูปพระธาตุขึ้น แล้วสักการะแล้วก็จากที่แห่งนั้นไป

ครั้นต่อมา หลังจากเจ้าเมืองอังวะยกทัพกลับ สงครามสงบ ขุนจอมใจเด็ดก็กลับบ้านไม่พบภริยาของตน ก็ออกตามหาจนทั่วไม่เจอ คิดว่านางเสียชีวิตไปแล้ว จึงพาพวกบริวารขึ้นไปสักการบูชาองค์พระธาตุที่พวกตนนับถือ พร้อมอธิษฐานกราบไหว้ให้บ้านเมืองอยู่ดีมีสุขตลอดถึงลูกหลาน และขอให้ตนได้พบพระพุทธศาสนา ได้สร้างพระธาตุ และพบภริยาของตนทุกภพทุกชาติเทอญ

เมื่อถึง พ.ศ.๒๐๕๐ บ้านเมืองเริ่มเจริญรุ่งเรือง ข้าวน้ำอุดมสมบูรณ์ทุกอย่าง จึงได้ประชุมสงฆ์และชาวบ้านเพื่อที่จะสร้างองค์พระธาตุที่ก่อด้วยหินที่ทรุดโทรมไปแล้ว จึงสละเงินทองช่วยกันสร้างองค์พระธาตุขึ้นมาใหม่ แล้วใส่ชื่อสืบกันมาว่าแม่หม้ายได้สร้างไว้ จึงเรียกว่า “พระธาตุแม่หม้าย”

เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๔ ปีฉลู แรม ๘ ค่ำ องค์พระธาตุก็ได้ทรุดโทรมอีก ท่านครูบามโน มโนชัย ท่านก็ได้บูรณะขึ้นมาใหม่ แต่ก็ยังใช้ชื่อ “พระธาตุแม่หม้าย” เหมือนเดิมตามความเชื่อที่เรียกกันว่าแม่หม้ายเป็นผู้สร้าง

ครั้นต่อมาเมื่อวันพุธที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ปีระกา แรม ๓ ค่ำ พระธาตุก็เริ่มทรุดโทรมลงอีก ท่านครูบาสิงโต  กิตติโสภโณ (พระสักขี  ไชยา) ได้มาบูรณะอีกครั้ง  พร้อมทั้งได้ศึกษาประวัติของพระธาตุแม่หม้ายอย่างละเอียด พบว่าผู้เริ่มสร้างไม่ใช่แม่หม้าย และเห็นว่าชื่อนี้ไม่ค่อยเหมาะสม จึงพิจารณาว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดพระธาตุสุนันทาแม่หอพระ” และได้บูรณะพัฒนาวัดมาจนถึงปัจจุบันนี้



Rank: 8Rank: 8

DSC07524.jpg



คุณบุษกร จิตติมิต อุบาสิกาผู้อุปัฏฐากที่มีความศรัทธาและผูกพันกับวัดพระธาตุสุนันทา ได้ติดต่อข้าพเจ้ามาทางอีเมลว่า อยากจะเพิ่มเติมข้อมูลและเรื่องราวต่างๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธาตุสุนันทาตั้งแต่วัดยังไม่ได้เริ่มการบูรณะจนถึงสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปัจจุบันนี้ ลงในเว็บแดนนิพพาน ดอทคอม

ข้าพเจ้าได้มีโอกาสพูดคุยและสนทนาเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับวัดพระธาตุสุนันทากับคุณบุษกร ซึ่งทุกครั้งที่ได้สนทนาก็รู้สึกตื่นเต้นไปด้วยทุกครั้งเกี่ยวกับเรื่องราวปาฏิหาริย์ของพระธาตุสุนันทา ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้ หนึ่งในนั้นคือตัวข้าพเจ้าเองด้วย เมื่อเป็นเช่นนั้น ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าของคุณบุษกร จิตติมิต และคณะ จึงได้พยายามรวบรวมข้อมูลของบุคคลสำคัญต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องตั้งแต่วัดเริ่มมีการบูรณะจนเป็นวัดพระธาตุสุนันทาในปัจจุบันนี้


และนำข้อมูลต่างๆ ส่งมาให้ข้าพเจ้าอีกที เพื่อจะได้นำมาลงในเว็บแดนนิพพาน ดอทคอม ซึ่งข้าพเจ้าก็ขอเป็นตัวแทนถ่ายทอดความรู้สึกและเรื่องราวเกี่ยวกับวัดพระธาตุสุนันทา เผยแพร่ออกไป เพื่อให้เรื่องราวต่างๆ เล่านี้ยังคงถูกสืบต่อไปรุ่นสู่รุ่นและจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตราบจนครบ ๕๐๐๐ วัสสาแล


ทีมงาน เว็บแดนนิพพาน ดอทคอม ขอโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก คุณบุษกร จิตติมิต และคณะ มา ณ โอกาสนี้ครับ

ช่วงแรกข้าพเจ้าขอเล่าประวัติพระธาตุสุนันทา วัดพระธาตุสุนันทา ซึ่งเป็นฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษโคยคุณบุษกร จิตติมิต และคณะ จากนั้นจะเป็นคำสัมภาษณ์ต่างๆ ของผู้อุปัฏฐากวัดพระธาตุสุนันทา ที่ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวัดพระธาตุสุนันทาครับ



Rank: 8Rank: 8

DSC03644.jpg



ประวัติพระธาตุสุนันทาวัดพระธาตุสุนันทา ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย คุณบุษกร จิตติมิต และคณะ

Blessing – wishing you all who are here to make merit for Wat Phrathat Sunantha have virtue in this life and the next life, free from physical suffering, free from mental suffering, become happiness, be in contact with Buddhism in every life and finally reaching nirvana. All good deeds I have had in my mind, built, and made may become virtue to you all. Sukhang Yawa Nippanang Paramang Sukkhang

Good deeds must be done, bad deed must be avoided. We know what is good and what is bad because we are the Lord Buddha descendants. May I remind you that if you do good things you will earn good things in return on the other hand do bad things you will earn bad things in return.


On the land where located Wat Phrathat Sunantha is a sacred ground is enshrined Lord Buddha hair and bone relics together with the relics of Arahans as written on the fan palm book aged 394 years old which is covered by a glass bell jar. It records the past events and over-thousand-year-old stories. It was found during the restoration of the pagoda on Saturday 12th January 1901 of the eight day the waning moon in Cow’s year by master Phra Krun Ba Mano Manochai. After the restoration had finished, the local villagers also add the valuable matter into the pagoda, Phrathat Sunantha. They engraved on the silver sheets and pray “Wishing a person with virtue mind has an opportunity to foster as it was foretold by the Lord Buddha – after the nipphana of the lord Buddha, at the end of two thousand years, this place will be prosperous again. People who believe in Buddhism will return by the Buddha’s influence.

Later on 25th December 1992, Master Phra Khru Nanthachetiyaphiban (To Kittisophano) together with his laymen, mother Aree Wasanamonthon and children had a chance to worship and pray in front of Phrathat Sunantha, and offered to foster the holy ground for the benefit of the Buddhism. Their wishes gave them strong mind power. It was when a sudden great crash of thunder occurred in a clear sky. Since then Phra Khru Nanthachetiyaphiban made the decision to reside at this pagoda. He informed the heavenly beings to inspire the Buddhists and forefathers no matter if they are the nobles, rich or poor from any nations, groups, or countries. Wishing them to be able to realize with their mind to come together to create this place to be prosperous and carry on the Buddhism until reaching five thousand years as mentioned by Lord Buddha.




Rank: 8Rank: 8

DSC03639.jpg



คำสัมภาษณ์ของคุณแม่อารีย์ วาสนามณฑล โยมอุปัฏฐากคนสำคัญของวัดพระธาตุสุนันทา ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวัดพระธาตุสุนันทา ว่า...

“คุณแม่รู้จักครูบาโต (พระครูนันทเจติยาภิบาล) มาตั้งแต่ครูบาอยู่วัดในเมือง คือวัดกู่คำ เมื่อครูบา ปรารภว่า ต้องการที่สงบสำหรับการปฏิบัติธรรม คุณแม่จึงพาครูบามากราบพระเกศาธาตุ เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๕ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้รับการบูรณะ และชาวบ้านแม่หอพระเรียกว่า พระธาตุแม่หม้าย แต่ที่แห่งนี้เป็นที่สงบ และยังไม่มีวัด ครูบาจึงอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเทวดาฟ้าดิน ขอให้มีนิมิตหมายให้ครูบามั่นใจว่าที่นี่จะสามารถเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธศาสนา ในขณะนั้นท้องฟ้าใสกระจ่าง แต่กลับมีเสียงฟ้าผ่า ครูบาจึงตั้งจิตขอความแน่ใจให้ฟ้าผ่า ๓ ครั้ง ปรากฏว่ามีครั้งที่ ๒ และ ๓ ซึ่งคุณแม่กล่าวว่า ในครั้งที่ ๓ ฟ้าผ่าลงข้างรถ เล่าแล้วยังอัศจรรย์ใจ

ดังนั้นครูบาจึงเริ่มมาจำพรรษาอยู่ที่นี่เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ โดยสร้างกระต๊อบด้วยใบตองตึง และพัฒนาวัดจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ คุณแม่เห็นวิริยะอุตสาหะของครูบา จึงมีความศรัทธายิ่งขึ้น ความมีเมตตาของครูบาที่สามารถรักษาโรคด้วยตำรายาโบราณที่ได้ศึกษาจากพ่อครู ตั้งแต่ครั้งครูบาเป็นสามเณร ความมีเมตตาของครูบาที่ดูแลวัด เพื่อให้วัดได้เป็นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนทั้งทางโลกและทางธรรม ปัจจุบันคุณแม่เป็นโยมอุปัฏฐากที่ช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของวัดที่มีความสุขจนถึงทุกวันนี้”

baUChom-1.png



คำสัมภาษณ์ของคุณนาวาอากาศเอกสิทธิพร เกสจินดา โยมอุปัฏฐากคนสำคัญอีกท่านหนึ่งของวัดพระธาตุสุนันทา ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวัดพระธาตุสุนันทา ว่า...

นาวาอากาศเอกสิทธิพร เกสจินดา ผู้บังคับการกองบิน ๔๑ จังหวัดเชียงใหม่ รู้จักวัดพระธาตุสุนันทา เมื่อปลายปี ๒๕๕๐ เนื่องจากได้พบพี่มาโนช ขณะโดยสารเครื่องบินกลับกรุงเทพฯ หลวงพี่มาโนชแนะนำให้ไปกราบครูบาโต วัดพระธาตุสุนันทา เมื่อมีโอกาสไปที่วัดได้พบคุณแม่อารีย์ วาสนามณฑล ผู้การฯ จึงตั้งเจตนาถวายปัจจัยเป็นค่าน้ำ ค่าไฟให้กับวัดทุกๆ เดือน ตลอดที่รับราชการที่จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้เมื่อทราบว่าครูบามีความตั้งใจสร้างกุฏิรับรองพระเถระ ตลอดจนผู้ปฏิบัติธรรม ผู้การฯ จึงร่วมสมทบจนกระทั่งกุฏิเสร็จเรียบร้อย

ปัจจุบันเมื่อวัดมีงาน ผู้การฯ ได้จัดส่งหน่วยแพทย์และหน่วยมิตรประชามาบริการประชาชนที่วัดพระธาตุสุนันทาเป็นประจำ ผู้การเล่าว่า สิ่งที่ประทับใจคือ ได้ทราบว่าที่พระธาตุสุนันทาเมื่อคราวที่บูรณะได้พบแผ่นเงินจารึกเรื่องราวและประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งโบราณที่มีอดีตยาวนาน ซึ่งขณะที่ครูบาโตสามารถทำนุบำรุงให้เจริญยิ่งขึ้น และมีผู้จัดทำเรื่องราวของวัดพระธาตุสุนันทาเผยแผ่ลงในเว็บไซต์ จึงยินดีสนับสนุนเพื่อให้วัดเป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไป ซึ่งจะเป็นการจรรโลงพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นต่อไป”





Rank: 8Rank: 8

DSC07530.jpg



คำสัมภาษณ์ของคุณบุษกร จิตติมิต โยมอุปัฏฐากที่มีความศรัทธาต่อครูบาโตและวัดพระธาตุสุนันทา ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวัดพระธาตุสุนันทา ว่า...

คุณบุษกร จิตติมิต รับราชการที่โรงเรียนสิรินทร จังหวัดสุรินทร์ รู้จักวัดพระธาตุสุนันทา เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๕๐ จากเพื่อน ว่าจะไปทำบุญที่วัดพระธาตุสุนันทา เมื่อได้ยินคำว่า พระธาตุสุนันทา ขณะที่ตั้งเจตนาจะทำบุญอุทิศให้กับคุณแม่ จึงขอโอนปัจจัยไปถวายครูบา เพราะคุณแม่จบการศึกษาจากโรงเรียนการเรือน วังสวนสุนันทา เมื่อมีโอกาสมาจังหวัดเชียงใหม่ในเดือนตุลาคม ๒๕๕๐ จึงได้มาที่วัดพระธาตุสุนันทา เมื่อเข้าสู่บริเวณวัดรู้สึกคุ้นเคย และเมื่อมายืนที่บันไดนาคได้เล่าให้คุณจิรภา วาสนามณฑล ว่า ที่แห่งนี้เคยเห็นมาในความฝัน แต่เห็นเป็นงูสีขาวขนาดใหญ่มากที่นี่ คุณจิรภา จึงเล่าว่า มีตำนานในวัดเล่าถึงพญานาคที่บันไดว่าได้บำเพ็ญเพียรจนกลายร่างเป็นสีขาว

เมื่อสอบถามว่าที่วัดมีสระน้ำโบราณหรือไม่ เพราะเคยเห็น ซึ่งครูบาเล่าว่า เคยมีสระน้ำโบราณ เหลือเพียงร่องรอยและมีน้อยคนที่จะทราบ และที่ประทับใจคือ ครูบาโตได้เตือนเรื่องอุบัติเหตุ และครูบาโตได้จุดเทียนชีวิตเพื่อเป็นกำลังใจ ซึ่งครูบาได้นำอิฐโบราณมารองที่ฐานเทียนในคืนวันนั้น ถึงแม้จะอยู่ที่สุรินทร์กลับได้เห็นอิฐโบราณที่เป็นฐานรองเทียนอย่างชัดเจน และเล่าลักษณะให้คุณจิรภา ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ที่เชียงใหม่ก็เป็นที่รู้สึกแปลกใจกับทุกคน
เนื่องจากอธิบายได้ราวกลับมาพบด้วยตนเอง

และเมื่อพบกับเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดอุบัติเหตุรุนแรง กลับสามารถผ่านมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ และสุดท้ายปรากฏว่ารถที่จอดไว้ในสาธารณะถูกรถคันอื่นถอยมาครูดเป็นรอยเพียงเล็กน้อย ทำให้รู้สึกโล่งใจ เรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้รู้สึกว่าเป็นบุคคลที่โชคดีที่ได้พบเห็น และได้เชื่อในเรื่องราวที่เกิดขึ้นด้วยตนเองในสิ่งที่ถือว่าเป็นปาฏิหาริย์ในชีวิต”


Rank: 8Rank: 8

DSC03629.jpg



จุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ ลูกแก้วจักรพรรดิ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้  ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ครับ สาธุ สาธุ


DSC03646.jpg


เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุสุนันทา (ดอยแม่หม้าย) พร้อมกันเลยนะครับ

คำไหว้พระธาตุสุนันทา

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) อะหัง วันทามิ สิระสา โคตะ มัสสะ เกสา ธาตุโย อิมัสสะมิง ฐาเน สุปะติฏฐิตา อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ ธาตุโย เอเตนะ มะมะ ปุญเญนะ สะทา โสตถี ภะวัณตุเม  

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-23 00:50 , Processed in 0.054776 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.