แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 11476|ตอบ: 15
go

วัดพระธาตุจอมแตง ม.๑๑ ต.สันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-094.jpg



วัดพระธาตุจอมแตง

ม.๑๑  ต.สันโป่ง  อ.แม่ริม  จ.เชียงใหม่  

[พระเกศาธาตุ]



Rank: 8Rank: 8

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        •  วัดพระธาตุจอมแตง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
        •  หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูปิยธรรมภาณี (ศรีมูล ปิยธัมโม) คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธาตุจอมแตง รวบรวม ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐, หน้า ๒๖-๓๒.
        •  ศาลกรมหลวงชุมพรฯ
อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
        •  และทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญครั้งนี้  

หมายเหตุ  
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทาน


Rank: 8Rank: 8

Picture-123.jpg


Picture-126.jpg



ลูกตอร์ปิโดแบบ ๔๕ จ. อยู่ด้านหน้า ศาลกรมหลวงชุมพรฯ ครับ


ลูกตอร์ปิโดแบบ ๔๕ จ. เป็นลูกตอร์ปิโด ขนาด ๔๕ เซนติเมตร จ.หมายถึง หัวรบมีดินระเบิดใช้ในยามสงครามสร้างประเทศเดนมาร์ก กองทัพเรือรับไว้ใช้ราชการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ราคาลูกละ ๖,๐๐๐ บาท ติดตั้งประจำเรือยามฝั่ง ร.ล.ตราด, ร.ล.ภูเก็ต, ร.ล.ปัตตานี ระยะยิงไกลสุด ๑๐ กิโลเมตร ตั้งความลึกได้ ๑ - ๙ เมตร ความเร็ว ๓๐ – ๔๐ น็อต (ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง) ความยาวประกอบหัวรบ ๕,๘๔๒ มิลลิเมตร น้ำหนักพร้อมยิง ๖๙๔ กิโลกรัม


Picture-124.jpg



ยุทโธปกรณ์ ที่ใช้ในกองทัพเรือ อยู่ด้านหน้า ศาลกรมหลวงชุมพรฯ ครับ


Picture-120.jpg



อาคารเอนกประสงค์เทิดพระเกียรติ “กรมหลวงชุมพร” อยู่ด้านข้าง ศาลกรมหลวงชุมพรฯ ครับ


Picture-137.jpg



การเดินทางมากราบนมัสการพระบรมธาตุจอมแตง วัดพระธาตุจอมแตง และแวะกราบไหว้กรมหลวงชุมพร ที่ศาลกรมหลวงชุมพรฯ วันนี้ก็ขอจบการเดินทางเพียงเท่านี้เลยนะครับ สวัสดีครับ


Rank: 8Rank: 8


Picture-076.jpg


หลังจากเราไปกราบนมัสการพระบรมธาตุจอมแตง วัดพระธาตุจอมแตง เสร็จเรียบร้อยแล้ว เดี๋ยวเราจะไปศาลกรมหลวงชุมพรฯ กันต่อเลยนะครับ


Picture-119.jpg


Picture-128.jpg



ศาลกรมหลวงชุมพรฯ เปิดเวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ครับ



Picture-134.jpg



Picture-135.jpg



พระรูปกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ภายใน ศาลกรมหลวงชุมพรฯ ครับ


คำไหว้กรมหลวงชุมพรฯ
  (กล่าวนะโม ๓ จบ) โอม ชุมพรจุติ อิทธิพลัง กะระนังสุขโข นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะพะกะสะ มะอะอุ (ท่อง ๓, ๕ หรือ ๙ จบ)


Picture-132.jpg



บันทึกของเสด็จในกรมหลวงชุมพร เขตตอุดมศักดิ์ ภายใน ศาลกรมหลวงชุมพร ครับ

“ เจอบันทึกนี้ให้เอาคำต่อไปนี้ของกู ไปประกาศให้คนรู้ว่า กู กรมหลวงชุมพร เขตตอุดมศักดิ์ ผู้เปนโอรสของ พระปิยะมหาราช ขอประกาศให้พวกมึงรับรู้ไว้ว่า แผ่นดินสยามนี้บรรพบุรุษได้เอาเลือดเอาเนื้อ เอาชีวิตเข้าแลกไว้ ไอ้ อี มันผู้ใด คิดบังอาจทำลายแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ฤา กระทำทุจจริต ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม จงหยุดการกระทำนั้นเสีย โดยเร็วก่อนที่กูจะสั่งหาร ผลาญสิ้นทั้งโคตรให้หมดเสนียด ของแผ่นดินสยามอันเป็นที่รักของกู ตราบใดที่คำว่า “อาภากร”  ยังยืนหยัดอยู่ในโลก กู จะรักษาแผ่นดินสยามของกู ลูกหลานทั้งหลาย แผ่นดินใดให้เรากำเนิดมา แผ่นดินใดให้ที่ซุกหัวนอนให้ความร่มเย็นเปนสุข มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น ”




Rank: 8Rank: 8

Picture-080.jpg



ศาลาการเปรียญ วัดพระธาตุจอมแตง กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ เป็นอาคารก่อด้วยอิฐถือด้วยปูน ลักษณะอาคาร ๒ ชั้น หลังคาเป็นโครงไม้ มุงด้วยกระเบื้องลอนครับ


Picture-081.jpg


หอรัะฆัง วัดพระธาตุจอมแตง ครับ


Picture-083.jpg


Picture-115.jpg



กุฏิสงฆ์ วัดพระธาตุจอมแตง ครับ


Picture-116.jpg


Picture-117.jpg



กู่อัฐิต่างๆ
ภายใน วัดพระธาตุจอมแตง ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-096.jpg


ศาลาบำเพ็ญบุญกุศล วัดพระธาตุจอมแตง สร้างด้วยคอนกรีตครับ


Picture-110.jpg



ระฆัง วัดพระธาตุจอมแตง ครับ


Picture-082.jpg



Picture-084.jpg



ศาลาพระพุทธรูป วัดพระธาตุจอมแตง ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-099.jpg


Picture-098.jpg



รอยพระพุทธบาทจำลอง วัดพระธาตุจอมแตง ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-101.jpg



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระบรมธาตุจอมแตง วัดพระธาตุจอมแตง พร้อมกันนะครับ

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) โสภะคะวา อิติอะระหัง โสกะคะวา สัมมาสัมพุทโธ เจติยา สะปะสัทธาตุ โยนิจจัง พุทธะเกสา สัมพุทเธนะ ปะติฏฐิตา อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโสฯ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



Rank: 8Rank: 8

Picture-093.jpg



ประวัติวัดพระธาตุจอมแตง  




ตามหนังสือแม่ริมระบือ บันลือแม่สา และหนังสือที่มีหลวงปู่พระครูสุภัทรคุณ (หลวงปู่คำปัน สุภัทโท) อดีตเจ้าคณะตำบลบ้านโป่ง ได้แต่งไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ ได้กล่าวไว้ว่า

จากการได้สืบประวัติและการเล่าสืบๆ ต่อกันมาว่า วัดแห่งนี้ได้มีประวัติเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล กล่าวคือ ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงอธิษฐานประทับรอยพระบาทซ้อนลงไปเป็นรอยที่ ๔ ณ พระพุทธบาทสี่รอย ต่อจากนั้นพระองค์ก็ได้เสด็จมาตามไหล่เขาจนบรรลุถึงเขาลูกหนึ่งซึ่งเป็นที่อยู่ของฝูงแรด (ดอยขี้แรดหรือเขาขี้แรด) ห่างจากดอยขี้แรดไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๑ กิโลเมตร

มีพวกล๊วะปลูกบ้านอาศัยอยู่และทำไร่ทำสวนใกล้ๆ กับเชิงเขานั้น เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงบนเขาขี้แรดพร้อมเหล่าสาวกเป็นเวลาใกล้เที่ยง ขณะนั้นมีล๊วะสองตายายกำลังทำสวนอยู่ที่เชิงเขา ได้เห็นพระองค์เสด็จมากับพระสาวก ก็เกิดปลื้มปิติมาก จึงได้หอบหิ้วเอาแตงกวาขึ้นไปถวาย เมื่อพระองค์รับแตงกวาเหล่านั้นมาแล้ว ก็ทรงถวายแก่พระสาวกกันจนครบ ด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์บารมีของพระองค์ได้ทรงอธิษฐานลูกแตงกวาไว้ ๑ ลูก


หลังจากนั้นพระองค์ไดทรงโปรดสัมโมทิยคาถาด้วยพระโอษฐ์อันมีเสียงพระสุระเสียงอันไพเราะแก่ล๊วะสองตายาย เมื่อล๊วะสองตายายลากลับแล้ว พญาแรดพร้อมหมู่บริวารที่พากันอาศัยอยู่ตามเชิงเขาก็ถือโอกาสพากันมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงโปรดอนุเคราะห์ด้วยพระเมตาธรรม เมื่อพญาแรดและบริวารกลับไปแล้ว พระพุทธองค์ทรงตั้งจิตอธิษฐานถอนพระเกศาใส่ลงไปในลูกแตงกวาที่เหลือ และทรงกระทำอาการแย้มพระโอษฐ์ เหล่าพระสาวกได้เห็นเช่นนั้นก็พากันทูลถามว่าเหตุใดพระองค์ทรงกระทำอาการเยี่ยงนั้น พระองค์ก็ตรัสว่าต่อไปภายภาคหน้า สถานที่นี่จะชื่อว่า “พระธาตุจอมแตง”

กล่าวถึงล๊วะสองตายายได้เล่าเรื่องที่ตนพบเห็นพระพุทธเจ้าให้ลูกหลานฟัง ลูกหลานได้ฟังก็ดีใจพากันส่งเสียงร้องเพื่อให้รู้กันทั่วเลยเกิดมีเสียงโกลาหลเป็นการใหญ่ ต่อมาหมู่บ้าน นี้จึงได้ชื่อว่า “บ้านสันลัวะออ” ได้ชักชวนกันจะไปเฝ้าพระพุทธองค์ เมื่อไปถึงปรากฏว่า พระพุทธองค์ได้เสด็จไปแล้วคงพบแต่แตงกวาที่ใส่พระเกศาไว้เท่านั้น พวกล๊วะเหล่านั้นต่างก็ยกแตงกวามาตั้งไว้ในที่อันควรเพื่อกราบบูชาโดยขุดหลุมลึก ๑ คาวุธ แล้วสร้างมณฑปครอบไว้ ทุกๆ วันพระจะพากันมาไหว้สวดมนต์ภาวนา


จากประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้ปรากฏผู้สร้างวัดที่ชัดเจน สันนิษฐานกันว่าประมาณปี พ.ศ.๒๒๗๕ ได้มีพระมหาเถระ ๒ รูป เดินทางมาจากประเทศ ได้มาบำเพ็ญบารมีธรรมที่แห่งนี้ และได้ชักชวนชาวบ้านที่อยู่ไม่ไกลจากที่นี่ ร่วมกันสร้างเจดีย์ครอบมณฑปเดิมที่มีความทรุดโทรมปรักหักพังเอาไว้ มณฑปนั้นมีขนาดกว้าง ๒ เมตร ยาว ๒ เมตร สูง ๔ เมตร ติดกระจกแบบศิลปะพม่าซึ่งมีลักษณะเป็นประตูโขงทั้ง ๔ ด้าน แต่ละด้านจะมีรูปเทพพนม นางกินรี รูปสิงห์ รูปมอม ก่อเป็นรูปทรงเจดีย์อยู่ด้านบน ไปประดับไปด้วยแก้วอย่างวิจิตรงดงาม เจดีย์ที่ครอบมณฑปนั้นปัจจุบันได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาหลายครั้ง

ตามคำบอกเล่าของพ่อหนานอินทร์จักร ถาวร ลูกของพ่อขุนสันโป่งประสิทธิ์ ถาวร ได้เล่าว่า สมัยพ่อหนานยังเป็นเด็กเล็กๆ นั้น พ่อแม่จะพากันขึ้นมาจำศีลภาวนาทุกวันพระ ยังจำได้ว่าพระเจดีย์เก่าแก่ มีความสวยงาม ประดับประดาด้วยแก้วสีสันลวดลายดี แต่ว่าถูกพวกมนุษย์ใจบาปพากันมาเจาะค้นหาทรัพย์สมบัติจนมีแต่รูโพรงไปทั่วเจดีย์จวนล้มมิล้มแหล่ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๔๕ ได้มีพระอินทร์ตา เจ้าอาวาสวัดเจดียสถาน พร้อมด้วยพ่อขุนสันโป่งประสิทธิ์ถาวร พ่อหนานคำ พร้อมด้วยผู้เฒ่าผู้แก่จำนวนมาก จึงได้มาร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ใหม่ โดยการรื้อพระธาตุเพื่อสร้างพระธาตุองค์ใหม่ แต่รื้อไปรื้อมา ประตูโขงได้ล้มลงมาทับพระปานจนมรณภาพ เลยเก็บศพไว้ เมื่อสร้างพระเจดีย์เสร็จแล้ว ก็ได้จัดฉลอง ๗ วัน ๗ คืน พร้อมกับทำบุญปลงศพพระปาน การฉลองครั้งนี้ได้จัดทำกันที่วัดเจดียสถาน โยงด้ายสายสิญจน์มาที่วัดพระธาตุจอมแตง

ต่อมาประมาณ พ.ศ.๒๔๗๐ ได้มีนายม่องแอ๋ (อีกชื่อหนึ่งว่า ม่องกี่) เป็นชาวพม่าแต่มีถิ่นฐานบ้านช่องอยู่ที่เชียงใหม่ แต่มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ได้มาทำการปฏิสังขรณ์และมาสร้างวิหารเป็นตึก ได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นไว้เป็นที่บูชาอีก ๔ องค์ พร้อมกับได้สร้างบันไดขึ้นถึงบริเวณปากประตูวิหาร และได้มีการจัดงานฉลองในเดือน ๖ ใต้ เดือน ๘ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ซึ่งตรงกับงานบุญประเพณีสรงน้ำพระธาตุ แต่ต่อมาด้วยความไม่สะดวกในเดือน ๖ ใต้ เดือน ๘ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ตรงกับช่วงฤดูฝน ทำให้ยากลำบากแก่สาธุชนทั้งหลาย จึงได้ทำการเลื่อนการทำบุญประเพณีสรงน้ำพระธาตุมาเป็นเดือน ๓ ใต้ เดือน ๕ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ จนถึงทุกวันนี้ และได้มีเจ้าแม่ดารารัศมี มาจัดพิธีทำบุญทอดจุลกฐิน นำเอาฝ้ายมาปั่น มาทอ มาเย็บ มาย้อมที่วัด ที่ท่านพระครูอภัยสารทะเป็นประธานในการรับผ้าจุลกฐิน

ตั้งแต่นั้นมาจึงได้มีพระมาประพฤติปฏิบัติธรรมตลอดมา ทั้งที่เป็นพระเดินธุดงค์พระเกจิอาจารย์นำลูกศิษย์มาร่วมกันปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ครูบาอินทรจักรรักษา วัดน้ำบ่อหลวง ครูบาพรหมมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เป็นต้น ได้มาเพื่อปฏิบัติธรรมเจริญพระกรรมฐาน


พ.ศ.๒๕๐๗ กรมชลประทานได้ทำการขุดคลอดชลประทานผ่านเขตหน้าวัด ซึ่งเป็นวัดร้างที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ และด้วยความลาดชันของบริเวณดังกล่าว จึงทำให้บริเวณของตัวพระธาตุนั้นได้ทรุดตัวลงไปเรื่อยๆ จนมาถึงช่วงที่พระเดชพระคุณอมรธรรมประยุตเจ้าคณะอำเภอแม่ริมในขณะนั้น (พ.ศ.๒๕๔๙ ปัจจุบันที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่) พร้อมด้วยคณะสงฆ์จึงได้มาร่วมกันพัฒนาวัดที่มีความทรุดโทรม เพื่อใช้ในกิจของพระพุทธศาสนาสืบมาจวบจนถึงปัจจุบันนี้)

ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๓ ท่านพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูอมรธรรมประยุต ร่วมด้วยคณะสงฆ์ในอำเภอแม่ริม มีพระครูวิรุฬธรรมโกวิท อดีตรองเจ้าคณะอำเภอแม่ริม จังหวัดเจดียสถาน และหลวงปู่คำปัน สุภัทโท อดีตเจ้าคณะตำบลสันโป่ง วัดสันโป่ง ได้ร่วมกับชาวบ้านศรัทธาประชาชนได้มาช่วยกันรื้อวิหารหลังเก่านั้น แล้วสร้างวิหารหลังใหม่เป็นแบบจัตุรมุข เสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖ พร้อมด้วยการจัดงานฉลองและเปลี่ยนการจัดงานสรงน้ำพระธาตุจากเดือน ๖ ใต้ เดือน ๘ เหนือ มาเป็นเดือน ๓ ใต้ เดือน ๕ เหนือ ตั้งแต่บัดนั้นมา

พ.ศ.๒๕๒๑ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้พระศรีมูล ปิยธัมโม มารักษาการเจ้าอาวาส วัดพระธาตุจอมแตง ตั้งแต่นั้นมาจึงได้มีผู้ดูแล มีพระสงฆ์มาจำพรรษาตลอดมาโดยมิขาด



Rank: 8Rank: 8

Picture-095.jpg


พระบรมธาตุเจดีย์ (พระบรมธาตุจอมแตง) วัดพระธาตุจอมแตง ประดิษฐานบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ


พระบรมธาตุเจดีย์ ด้านบนเจดีย์มีลักษณะเป็นรูประฆังคว่ำ ต่อจากนั้นมียอดพระเจดีย์ปลายแหลมเป็นชั้นๆ ปล่องๆ ทรงกลมขึ้นไป ด้านบนมียอดฉัตรทำด้วยโลหะ ๗ ชั้น เจดีย์นี้ได้มีการสร้างอันเก่าแก่ที่นับว่าเป็นปูชนียวัตถุและโบราณสถาน มีด้านทิศตะวันออกติดกับอุโบสถ

ที่ว่าเป็นปูชนียวัตถุนั้น ก็เพราะว่ามีประวัติศาสตร์ได้กล่าวว่า ชาวบ้านได้ถือเอาองค์พระเจดีย์นั้น อันมีพระเกศาของสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ในลูกแตงที่พระองค์เสด็จมาในสมัยพุทธกาล พระองค์ได้ทรงอธิษฐานพระเกศาไว้ในลูกแตง ชาวบ้านจึงได้สร้างเป็นสถูปครอบลูกแตงไว้ เพื่อบูชาสักการะ


อนึ่งหากปีใด ดินฟ้าอากาศวิปริตแปรปรวน เกิดฝนแล้งไม่ตกตามฤดูกาล ชาวบ้านก็จะพากันสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ รักษาอุโบสถศีล และได้นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ทำบุญตักบาตร ฝนก็จะตกลงมาตามความต้องการ เป็นเหตุให้ข้าวกล้าไร่นามีความอุดมสมบูรณ์ นี้คือความอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน

วัดนี้ถึงแม้ว่าจะได้รับการดูแลรักษา การก่อสร้าง การจัดงานเป็นประจำทุกปีมานานมากแล้วตั้งแต่บรรพบุรุษที่ผ่านมาทุกๆ รุ่น แต่ไม่มีพระภิกษุสามเณรเข้ามาจำพรรษาหรือมีมาจำพรรษาแต่ไม่นาน เพราะเนื่องจากว่าวัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง และห่างไกลจากหมู่บ้าน ทำให้ยากลำบากต่อพระสงฆ์ที่จะเข้ามาจำพรรษาในวัดแห่งนี้ การจำพรรษาในช่วงฤดูฝนนั้นมีความยากลำบากแก่การเดินทางไปรับอาหารบิณฑบาต ไม่มีน้ำดื่มอุปโภคบริโภค ไม่มีกุฏิพักอาศัย ทำให้ไม่สะดวกในการจำพรรษาของพระสงฆ์ ฉะนั้นวัดแห่งนี้จึงได้รับการดูแลจากคณะสงฆ์ของอำเภอแม่ริมเป็นสำคัญ

และเมื่อเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนามาถึง คณะสงฆ์อันมีพระมหาเถระ มีเจ้าคณะอำเภอแม่ริม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีนายอำเภอแม่ริม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส จะได้นิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีกรรม และนำพาชาวบ้าน ศรัทธาประชาชน ศิษยานุศิษย์จำนวนมากมาร่วมทำบุญและทำความสะอาด ถางหญ้าไม่ให้รกรุงรังแก่สถานที่ และได้มีการกำหนดให้มีการจัดงานสรงน้ำพระธาตุ ตักบาตรข้าวสาร เป็นงานประจำปีของอำเภอแม่ริม เพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์ที่จะเข้ามาจำพรรษาและมาปฏิบัติธรรมบำเพ็ญภาวนาในสถานที่แห่งนี้

หลังจากพระครูปิยธรรมภาณี (ศรีมูล ปิยธัมโม) ได้เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสแห่งนี้เป็นต้นมา วัดแห่งนี้ได้มีพระสงฆ์มาจำพรรษาตลอดเรื่อยมาโดยไม่ขาด และได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งด้านศาสนกุศล ศาสนวัตถุ และศาสนธรรม จนมีความเจริญรุ่งเรืองจนถึงทุกวันนี้




‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-9 00:24 , Processed in 0.042380 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.