แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: Mr_Romeo
go

วัดพระธาตุจอมแตง ม.๑๑ ต.สันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-108.jpg



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุจอมแตง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๘ เมตร สูง ๑๕ เมตร บูรณปฏิสังขรณ์เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๕ เป็นพระธาตุทรงล้านนาโบราณ ปฏิสังขรณ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ เป็นแบบโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปกรแล้ว มีพระเจดีย์ ๒ องค์ โดยมีลักษณะการตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน องค์หนึ่งเป็นองค์ใหญ่และอีกหนึ่งองค์เป็นองค์เล็ก ลักษณะเป็นศิลปะแบบเหลี่ยม มีจำนวนจากฐานองค์พระเจดีย์ขึ้นไปถึงฐานยอดพระเจดีย์มี ๙ ชั้น ครับ



Picture-107.jpg


Picture-106.jpg



Picture-105.jpg



ซุ้มพระพุทธรูป พระเจดีย์องค์เล็ก วัดพระธาตุจอมแตง ครับ  


Rank: 8Rank: 8

Picture-092.jpg


Picture-091.jpg



อุโบสถ วัดพระธาตุจอมแตง กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างเมื่อ ๒๕๒๘ เป็นการก่อด้วยอิฐถือปูนหลังคาโครงสร้างไม้ มุงด้วยกระเบื้อง และได้รับบูรณปฏิสังขรณ์ภายในและเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาใหม่ และได้มีการฉลองปอยหลวง ๓ วัน ๓ คืน ผูกพัทธสีมา ฝังลูกนิมิต เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๙ ครับ


Picture-112.jpg


วัดพระธาตุจอมแตง บางช่วงก็ถูกทิ้งร้าง ทำให้พระพุทธรูปองค์ศักดิ์สิทธิ์ คือ พระพุทธรูปฝนแสนห่า พระสิงห์หนึ่ง พระประธานในอุโบสถ อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านได้ถูกขโมยไป ต่อมาบางช่วงก็ปรับปรุง มีทั้งพระสงฆ์ ราชการ ฆราวาส และศรัทธาประชาชนได้ร่วมกันบูรณะมาจนกระทั่งทุกวันนี้

สิ่งก่อสร้างที่ได้ทำการรื้อออก และได้สร้างขึ้นมาใหม่ เช่น กุฏิ ศาลาการเปรียญ ศาลาบำเพ็ญบุญ บันได ราวรอบลานพระธาตุ เป็นต้น หลักฐานสำคัญบางส่วนที่เป็นฐานบริเวณพระธาตุที่ก่อด้วยก้อนอิฐเก่าๆ ตอนนี้ถูกปิดด้วยการสร้างฐานลานพระธาตุที่สร้างขึ้นมาใหม่ สามารถดูได้จากช่องที่เปิดไว้ด้านล่างของฐานที่ต่อเติมขยายออกมาครับ


รายนามผู้มีหน้าที่รับผิดชอบและเจ้าอาวาส วัดพระธาตุจอมแตง ที่ปรากฏชัดเจนจนถึงปัจจุบัน
รูปที่ ๑-๓ พระพม่าไม่ปรากฏนาม                                           พ.ศ. ๒๓๘๕ – ๒๔๕๔
รูปที่ ๔    เจ้าอธิการจันตา            อดีตเจ้าคณะตำบลริมเหนือ     พ.ศ. ๒๔๕๕ – ๒๔๗๐
รูปที่ ๕    พระอธิการตื้อ  วุฒิธัมโม                                         พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๘๘
รูปที่ ๖    พระครูอุดมวุฒิคุณ         อดีตเจ้าคณะอำเภอแม่ริม        พ.ศ. ๒๔๘๘ – ๒๔๙๕
รูปที่ ๗    พระครูสุภัทรคุณ           อดีตเจ้าคณะตำบลสันโป่ง       พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๕๑๐
รูปที่ ๘    พระครูอมรธรรมประยุต   อดีตเจ้าคณะอำเภอแม่ริม        พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๑๗
รูปที่ ๙    พระครูวุรุฬห์ธรรมโกวิท  อดีตเจ้าคณะตำบลสันโป่ง       พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๒๑
รูปที่ ๑๐  พระครูปิยธรรมภาณี                                               พ.ศ. ๒๕๒๑ – ๒๕๔๘
รูปที่ ๑๑  พระสุระ  วิสุทธิญาโณ    รักษาการเจ้าอาวาส               พ.ศ. ๒๕๔๘ – ปัจจุบัน



Rank: 8Rank: 8

Picture-114.jpg


Picture-089.jpg



บันไดนาคทางขึ้น/ลง อุโบสถ - พระบรมธาตุจอมแตง วัดพระธาตุจอมแตง ครับ



Rank: 8Rank: 8

Picture-078.jpg


ถึงวัดพระธาตุจอมแตง แล้วครับ


Picture-079.jpg



พระพุทธรูป
ประดิษฐานใต้ต้นโพธิ์ วัดพระธาตุจอมแตง ครับ



Rank: 8Rank: 8

Picture-074.jpg



ป้ายชื่อทางเข้า ศาลกรมหลวงชุมพรฯ อยู่ด้านขวา ซุ้มประตูทางเข้า/ออก วัดพระธาตุจอมแตง ครับ


Picture-075.jpg


เมื่อเราขับรถตรงเข้ามาเรื่อยๆ จะเจอถนนทางแยก ทางตรง จะไปวัดพระธาตุจอมแตง ส่วนทางแยกด้านขวา ที่มีป้ายสีน้ำเงินลูกศรชี้ ทางเข้าศาลกรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งเดี๋ยวเราจะไปกราบนมัสการพระบรมธาตุจอมแตงก่อน แล้วค่อยมาศาลกรมหลวงชุมพรฯ ทีหลังนะครับ


Picture-077.jpg



เราจะไปวัดพระธาตุจอมแตง ก็ขับรถข้ามสะพาน ตรงไปตามถนนนี้เรื่อยๆ เลยครับ



Rank: 8Rank: 8

Picture-073.jpg


ซุ้มประตูทางเข้า/ออก วัดพระธาตุจอมแตง ครับ


วัดพระธาตุจอมแตง ตั้งอยู่ เลขที่ ๕๐ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ วัดแห่งนี้มีเนื้อที่จำนวน ๒๓ ไร่ ๓ งาน ๒๕ ตารางวา  ตามโฉนดเลขที่ ๙๓๖๒ และมีที่ธรณีสงฆ์มีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๒ งาน ๙๓ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๒๙๕๘๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๒๘ งวดที่ ๖ ประจำปี ๒๕๒๗ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๖ ตอนที่ ๙ วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๒๘ กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ และทางกรมศิลปกรได้มาสำรวจขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เป็นเจดีย์พระธาตุจอมแตงเป็นปูชนียสถาน ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๗๑ ตอนที่ ๓ วันที่ ๕ มกราคม ๒๔๙๗

สภาพถนนหนทางในอดีตนั้นเป็นเพียงถนนคนเดินและเป็นดินลูกรัง ช่วงฤดูฝนไม่สามารถนำยานพาหนะขึ้นมาได้ เนื่องจากรถยนต์ไม่สามารถขึ้นมาได้และสภาพถนนเป็นดินเหนียวและเป็นลูกรัง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาโดยการสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กจากถนนสายใหญ่ (โชตนาเชียงใหม่ - ฝาง กิโลเมตรที่ ๒๕) ถึงบริเวณเขตพุทธาวาส ประมาณ ๕๐๐ เมตร


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2025-1-9 03:10 , Processed in 0.063458 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.