แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 19113|ตอบ: 54
go

วัดร่ำเปิง บ.ร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเขี้ยวแก้ว) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-951.jpg


วัดร่ำเปิง

บ.ร่ำเปิง ม.๕  ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  

[พระเขี้ยวแก้ว]  


วัดร่ำเปิง หรือวัดตโปทาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านร่ำเปิง หมู่ที่ ๕ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยตั้งอยู่ทางทิศใต้วัดอุโมงค์เถรจันทร์ (สวนพุทธธรรม) มีถนนแยกจากถนนสายเชียงใหม่-ดอยสุเทพ ไปทางทิศใต้เข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร ถนนที่ผ่านวัดร่ำเปิงนี้เลยไปถึงวัดพระธาตุดอยคำ วัดร่ำเปิงอยู่ทางทิศตะวันออกของถนน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือมาทางด้านหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างถนนคันคลองชลประทานและถนนอุโมงค์-โป่งน้อย

วัดร่ำเปิง มีเนื้อที่ ๑๘ ไร่ ๓ งาน ๔๗ ตารางวา อาณาเขตวัดทิศเหนือ ติดหมู่บ้านร่ำเปิง ทิศใต้ ติดที่เอกชน ทิศตะวันออก ติดหมู่บ้านและที่เอกชน ทิศตะวันตก ติดถนนสาธารณะ


วัดประกอบด้วยอาคารเสนาสนะ และปูชนียสถานปูชนียวัตถุต่างๆ ได้แก่ เจดีย์ทรงกลม วิหารทรงล้านนา อุโบสถทรงล้านนา หอพระไตรปิฎกทรงล้านนา ศาลาการเปรียญทรงไทยประยุกต์ ศาลาหอฉันทรงไทยประยุกต์ โรงเรียนปริยัติธรรมสูงสามชั้น อาคารปฏิบัติ ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติสูงสี่ชั้น พิพิธภัณฑ์การพิมพ์พระไตรปิฎก กุฏิกรรมฐาน พระภิกษุและอุบาสก ๑๔๐ ห้อง กุฏิกรรมฐานแม่ชีและอุบาสิกา ๑๔๐ ห้อง ที่ล้อมรอบด้วยกำแพงอิฐและรอบเขตกรรมฐานชั้นในและกำแพงศิลาแลงรอบเขตกรรมฐานชั้นนอก


พระยอดเชียงรายโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๐๓๕ วัดร่ำเปิงขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อปีพ.ศ.๒๔๗๘ และกำหนดขอบเขตของวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 07:36  

Picture-837.jpg

ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วัดร่ำเปิง ค่ะ

ประวัติวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์วงศ์มังราย ครองเมืองเชียงใหม่องค์ที่ ๑๒ จ.ศ. ๘๐๔ มีพระราชโอรสอันประสูติจากพระมเหสีเพียงพระองค์เดียว คือท้าวศรีบุญเรือง เมื่อท้าวศรีบุญเรืองพระชนม์ได้ ๒๐ พรรษา มีคนเท็จทูลพระเจ้าติโลกราชว่าท้าวศรีบุญเรืองเตรียมการจะคิดกบฏ ทำให้ทรงคลางแคลงพระทัย จึงทรงโปรดให้ไปครองเมืองเชียงแสนและเชียงราย ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านในขณะนั้น

ณ เมืองเชียงรายนี้เอง ได้เป็นที่ประสูติของพระเจ้ายอดเชียงราย และโดยเหตุที่ประสูติบนยอดเขาสูงในเชียงราย (ยอดดอกบัว) ท้าวศรีบุญเรือง จึงประทานนามพระโอรสว่า “ยอดเชียงราย” ต่อมาพระเจ้าติโลกราชถูกเท็จทูลจากนางหอมุขพระสนมเอกว่า ท้าวศรีบุญเรืองเตรียมการก่อกบฏอีก จึงมีพระกระแสรับสั่งให้ปลงพระชนม์พระมเหสีเสีย และหลังจากนั้นทรงโปรดให้ราชนัดดา คือพระเจ้ายอดเชียงรายครองเมืองเชียงรายสืบต่อมา

ครั้นถึง พ.ศ. ๒๐๓๐ พระเจ้าติโลกราชเสด็จสวรรคต ราษฎรได้พร้อมใจกันอัญเชิญพระเจ้ายอดเชียงรายขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ หลังจากที่จัดการบ้านเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทรงดำเนินการสอบสวนหาผู้ที่เป็นต้นเหตุยุแหย่ให้ท้าวศรีบุญเรืองพระราชมารดาต้องสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงกำหนดโทษให้ประหารชีวิตแก่ผู้ที่เป็นต้นเหตุ แต่โดยที่พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ภายหลังที่ได้สั่งให้สำเร็จโทษผู้กระทำผิดได้แล้ว ทรงเกรงจะเป็นเวรกรรมจึงทรงดำริที่จะหาทางผ่อนคลายมิให้เป็นบาปกรรมต่อกันสืบต่อไป

ครั้งนั้นมีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาจากต่างเมืองได้ปักกลดอยู่ที่เชิงดอยคำตำบลสุเทพที่ตั้งวัดร่ำเปิงเวลานี้ ได้ทูลพระเจ้ายอดเชียงรายว่า ณ ต้นมะเดื่อได้ห่างจากที่ท่านปักกลดอยู่เท่าใดนัก ได้มีรัศมีพวยพุ่งขึ้นในยามราตรี สงสัยว่าจะมีพระธาตุประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง พระเจ้ายอดเชียงรายจึงทรงช้างพระที่นั่งอธิษฐานเสี่ยงทายว่า ถ้ามีพระบรมธาตุฝังอยู่จริง และพระองค์จะได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาไปแล้ว ก็ขอให้ช้างพระที่นั่งไปหยุด ณ ที่แห่งนั้น ทรงอธิษฐานแล้วก็ทรงช้างเสด็จไป ช้างนั้นก็ได้พาพระองค์มาหยุดอยู่ใต้ต้นมะเดื่อ พระองค์จึงให้หยุดรอบๆ ต้นมะเดื่อนั้นก็ทรงพบพระบรมธาตุพระเขี้ยวแก้วบรรจุอยู่ในผอบดินแบบเชียงแสน พระองค์จึงทรงทำพิธีสมโภช และอธิษฐานขอเห็นอภินิหารของพระบรมสารีริกธาตุนั้น จากนั้นจึงบรรจุลงในผอบทองแล้วนำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ในบริเวณนั้น ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 07:37  

Picture-836.jpg

โรงเรียนพระปริยัติธรรม อยู่ด้านหน้า ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วัดร่ำเปิง ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 07:39  

Picture-842.jpg

กุฏิ อยู่บริเวณหน้า ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วัดร่ำเปิง ค่

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:10 โดย pimnuttapa

  
Picture-838.jpg

รูปพระเจ้ายอดเชียงราย ประดับ ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วัดร่ำเปิง ค่ะ   

ประวัติชื่อวัดร่ำเปิง ตามข้อความของอาจารย์มุกดา อัยยาเสน ที่ถึ้งคำปรากฏของพระเจ้ายอดเชียงราย ว่า...


“ในขณะที่สร้างวัด พระองค์ทรงรำพึงถึงพระราชบิดาและพระราชมารดา อยากจะให้ทั้งสองพระองค์มีพระชนม์อยู่ จะได้ร่วมทำบุญในครั้งนี้ด้วย และเพื่อให้เป็นที่บูชาคุณของทั้งสองพระองค์ พระเจ้ายอดเชียงรายจึงทรงตกลงพระทัยให้ชื่อวัดที่สถาปนาขึ้นใหม่นี้ว่า “วัดร่ำเปิง” ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองเหนือ และตรงกับคำว่า รำพึง ในภาษากลางอันมีความหมายว่า คร่ำคราญ ระลึกถึง คนึงหา”



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:11 โดย pimnuttapa


Picture-840.jpg

รูปพระนางอะตะปาเทวี ปะดับ ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วัดร่ำเปิง ค่ะ   

ตำนานเรื่องพระนางอะตะปาเทวี ตามที่ได้ฟังชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมาว่า...


พระเจ้ายอดเชียงรายทรงมีมเหสีหลายองค์ แต่ทรงรักพระนางอะตะปาเทวีมาก จึงทำให้เป็นที่ริษยาของผู้อื่น พวกเขาจึงรวมกันกลั่นแกล้งจนพระเจ้ายอดเชียงรายหลงเชื่อ จึงเกลียดพระนางอะตะปาจนคิดหาวิธีฆ่า แต่จะทำออกหน้าก็ไม่ได้จึงหาอุบายขึ้น โดยครั้งหนึ่ง พระเจ้ายอดเชียงรายได้ออกไปล่าสัตว์ พบกวางตัวหนึ่งอยากได้มาก สั่งให้ล้อมไว้ไม่ให้กวางหนี ถ้ากวางหลุดออกไปทางผู้ใด ผู้นั้นต้องถูกประหาร (บางตำนานว่า พระเจ้ายอดเชียงรายยิงกวาง แต่พลาดไปถูกพระนางอะตะปาสิ้นพระชนม์) ครั้นประหารพระนางอะตะปาแล้ว พระองค์ทรงคิดได้ แล้วเกิดความสลดสังเวชใจ จึงไปนั่งคร่ำครวญ แล้วสร้างวัดขึ้นตรงข้ามกับวัดร่ำเปิง ให้ชื่อว่า วัดสังเวช เวลานี้เหลือแต่เจดีย์องค์เดียวค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-11 05:35  

Picture-847.jpg

วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ

ประวัติวัดร่ำเปิง (วัดตโปทาราม) (ต่อ)


ต่อจากยุคสมัยของพระยอดเชียงราย สภาพวัดร่ำเปิงได้ร้างมาหลายยุคหลายสมัย และเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง กองทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาครอบครองใช้เป็นที่ปฏิบัติการ ปรากฏว่าได้มีผู้ลักลอบขุดพระบรมธาตุเจดีย์ได้นำเอาพระพุทธรูปและวัตถุโบราณต่างๆ ไป อุโบสถและวิหารที่พระเจ้ายอดเชียงรายและพระมเหสีทรงสร้างขึ้นพร้อมกับวัด ได้ชำรุดทรุดโทรมแตกปรักหักพังจนสภาพต่างๆ แทบไม่หลงเหลืออยู่เลย

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลงแล้ว พวกชาวบ้านที่อพยพหลบภัยไปอยู่ที่อื่นก็ทยอยกันกลับมา สภาพวัดก็ยังขาดการบำรุงรักษาบางครั้งขาดพระจำพรรษา ถ้ามีก็เพียงรูปเดียว ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เริ่มมีการก่อสร้างวิหารขึ้นใหม่ แล้วจึงได้อาราธนาพระภิกษุชาวบ้านร่ำเปิงรูปหนึ่งชื่อ หลวงปู่จันทร์สม หรือครูบาสม มาปกครองดูแลวัดได้ระยะหนึ่ง ทำให้วิหารแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ต่อมาท่านถึงแก่มรณภาพ วัดก็ขาดพระจำพรรษาไปจนถึงปลายปี ๒๕๑๗

พระครูพิพัฒน์คณาภิบาล (ทอง สิริมงคโล) เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองมางและเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระประจำสำนักวัดเมืองมาง ได้ปฏิบัติการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยวางโครงการงานวิปัสสนากรรมฐานขึ้นอีกแห่งหนึ่ง จึงได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดร่ำเปิงหรือตโปทารามแห่งนี้ แล้วชักชวนชาวบ้านในท้องถิ่น ตลอดถึงผู้ใจบุญทั้งหลายช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ฟื้นฟูขึ้น และได้เปิดป้ายสำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดร่ำเปิง เมื่อ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยท่านพระครูพิพัฒน์คณาภิบาล (ทอง สิริมงคโล) รักษาการเจ้าอาวาส วัดร่ำเปิง (ตโปทารม) ได้อัญเชิญพระประธาน (หลวงพ่อตะโป พระประธานในพระวิหารนั้นได้อาราธนาจากวัดพระสิงห์กลับสู่วัดตโปทาราม) เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๘ ตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๑๑ ค่ำ ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และได้พัฒนาก่อสร้างถาวรวัตถุ ตลอดจนซ่อมแซมบูรณะถาวรวัตถุภายในวัดให้เจริญรุ่งเรือง

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนตำแหน่งจากพระครูชั้นพิเศษเป็นพระราชคณะที่ “พระสุพรหมยานเถร” และในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ถัดมาท่านเจ้าพระคุณพระสุพรหมยานเถรได้รับบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ณ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) จึงได้เจ้าอาวาสองค์ใหม่เป็นผู้ดูแลสืบต่อมา โดยท่านเจ้าอาวาสรูปใหม่ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของท่านเจ้าคุณฯ อดีตเจ้าอาวาสทุกประการพร้อมทั้งได้ก่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ๓ ชั้น เพื่อส่งเสริมในด้านพระอภิธรรมอีกทางหนึ่งด้วยค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:11 โดย pimnuttapa

  

Picture-849.jpg

พระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐานด้านหน้าข้างขวา วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ   


Picture-850.jpg

พระพุทธรูปปางรำพึง ประดิษฐานด้านหน้าข้างซ้าย วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:12 โดย pimnuttapa


Picture-856.jpg

พระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐานด้านหน้าข้าง ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:12 โดย pimnuttapa

  
Picture-867.jpg

ภายใน วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ



‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-12-1 01:49 , Processed in 0.049948 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.