แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดเจดีย์หลวง (โชติอาราม) อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุส่วนคางเบื้องซ้าย) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

รูปภาพพระธาตุ

ภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง



Picture-598.jpg


หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ จ.มุกดาหาร , หลวงปู่วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
หลวงปู่อ่อนศรี อ.บ้านแพง จ.นครพนม , หลวงพ่อพระมหาทองอินทร์ กุสลจิตโต วัดสันติธรรม จ.เชียงใหม่

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-600.jpg


หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปุคุสันติวัฒนา จ.อุดรธานี , หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย
หลวงปู่คำตัน ฐิตธัมโม วัดป่าด่านศรีสำราญ จ.หนองคาย , แม่ชีแก้ว เลียงล้ำ บ้านห้วยทราย จ.มุกดาหาร

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-601.jpg


หลวงปู่เจิ่น สิริจันโท วัดป่าหนองเชง จ.อุดรธานี , หลวงปู่สิงห์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
หลวงปู่สาม อกิณจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์ , หลวงปู่เจี้ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จ.ปทุมธานี

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-602.jpg


หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์ , หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดแก้วชุมพล จ.สกลนคร
หลวงปู่บุญมี สิริธโร วัดป่าวังเวง จ.มหาสารคาม , หลวงปู่เขียน ฐิตวีโล วัดรังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-603.jpg


หลวงปู่ชาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น , หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.อยุธยา , หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร วัดถ้ำผาผึ้ง จ.เชียงใหม่

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)



Rank: 8Rank: 8

รูปภาพพระอรหันตธาตุ

ภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง




DSC09783.jpg


พระธาตุพระสีวลี และพระธาตุพระโมคคัลลานะ (เรียงจากซ้าย - ขวา)

  

DSC09784.jpg


พระธาตุพระอรหันต์ (เรียงจากซ้าย - ขวา)


Picture-604.jpg



พระอรหันต์ ๑๓ พระองค์ และพระธาตุพระอรหันต์ (เรียงจากซ้าย - ขวา)



Rank: 8Rank: 8

รูปภาพพระบรมสารีริกธาตุ

ภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง



DSC09782.jpg


พระบรมสารีริกธาตุสีต่างๆ และพระบรมสารีริกธาตุสีขาวหม่น (เรียงจากซ้าย - ขวา)


DSC09781.jpg


พระธาตุสีต่างๆ ๕ พระองค์ และพระบรมสารีริกธาตุสีขาว (เรียงจากซ้าย - ขวา)


DSC09785.jpg


พระบรมสารีริกธาตุ กลม เล็ก ใหญ่ และพระบรมสารีริกธาตุวรรณะเมล็ดข้าวสารหัก (เรียงจากซ้าย - ขวา)


DSC09786.jpg


พระบรมสารีริกธาตุวรรณะใสดุจเพชร และพระบรมสารีริกธาตุวรรณะใส (เรียงจากซ้าย - ขวา)


DSC09787.jpg


พระบรมสารีริกธาตุวรรณะเมล็ดถั่วหัก และพระบรมสารีริกธาตุสีน้ำตาล (เรียงจากซ้าย - ขวา)


DSC09788.jpg


พระบรมสารีริกธาตุสีงาช้าง และพระบรมสารีริกธาตุสีงาช้างองค์ใหญ่ (เรียงจากซ้าย - ขวา)



DSC09789.jpg


อาโปธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุวรรณะเมล็ดช้างสารหัก (เรียงจากซ้าย - ขวา)


DSC09790.jpg


พระบรมสารีริกธาตุวรรณะเมล็ดข้าวสาร และพระบรมสารีริกธาตุสีน้ำตาลอ่อน (เรียงจากซ้าย - ขวา)


Rank: 8Rank: 8

Picture-616.jpg


พระอุโบสถ (หลังเก่า) วัดเจดีย์หลวง ตั้งอยู่ด้านหลังวัด ด้านทิศตะวันตกของพระบรมธาตุเจดีย์และวิหารหลวง เป็นพระอุโบสถสถาปัตยกรรมทรงล้านนาดั้งเดิมขนาดเล็กแบบพื้นเมืองเชียงใหม่ ก่ออิฐฉาบปูน เครื่องบนมีโครงสร้างเป็นเครื่องไม้ หลังคาทำเป็นชั้นลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาขนาดเล็กและบาง หน้าบันด้านหน้าแกะสลักไม้สักเป็นลายพรรณพฤกษาแบบพื้นเมือง ฐานก่ออิฐฉาบปูน มีขนาด ๑๗ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดขึ้น ๓ ด้าน คือ ด้านข้างสองด้าน

สร้างเมื่อปีมะแม พุทธศักราช ๒๔๒๖ ปฏิสังขรณ์เมื่อปีชวด พุทธศักราช ๒๔๙๑ และด้านหน้าบริเวณรอบๆ พระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระอัฐิของผู้ตาย ปัจจุบันพระอุโบสถหลังนี้ไม่ได้ใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว ได้เลิกใช้งานตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๒๒ เพราะคับแคบเกินไปค่ะ


Picture-618.jpg



Picture-619.jpg



พระเจ้าทันใจ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-620.jpg


DSC09757.jpg



วิหารพระนอน หรือพระพุทธไสยาสน์ วัดเจดีย์หลวง เดิมเป็นวิหารที่ก่ออิฐถือปูน และเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๑ ทำพิธีถอนเอาฤกษ์เพื่อทำการบูรณะวิหารพระนอนใหม่ทั้งหลังทั้งหมดให้แล้วเสร็จทันสมโภชพระวิหารหลวงค่ะ


Picture-621.jpg



Picture-622.jpg



IMG_1028.JPG


IMG_1057.JPG



IMG_1061.JPG



พระนอน หรือพระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานภายใน วิหารพระนอน วัดเจดีย์หลวง เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่คู่กับพระบรมธาตุเจดีย์ แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใดและใครเป็นผู้สร้าง พระนอนองค์นี้สร้างด้วยอิฐฉาบปูนปิดทองเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ได้บูรณะใหม่ทำเป็นสีทองสำเร็จแทน มีพุทธลักษณ์งดงามมากและมีขนาดใกล้เคียงพระอัฏฐารส หันเศียรสู่ทางทิศใต้ หันพระพักตร์เข้าหาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ด้วย สูง ๑.๙๓ เมตร ส่วนยาว ๘.๗๐ เมตร อยู่ห่างจากพระบรมธาตุเจดีย์ไปทางทิศตะวันตก ๑๑.๖๐ เมตร ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-623.jpg



IMG_1040.JPG


IMG_1031.JPG



IMG_1037.JPG



พระพุทธรูป ๒ องค์ ประดิษฐานด้านข้าง พระนอน ภายใน วิหารพระนอน วัดเจดีย์หลวง ค่ะ  


Rank: 8Rank: 8

DSC09752.jpg



วิหารหลังเล็ก วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


DSC09755.jpg



รูปพระมหากัจจายนะ วัดเจดีย์หลวง ประดิษฐานภายใน วิหารหลังเล็ก อยู่ห่างจากพระบรมธาตุเจดีย์ไปทางทิศเหนือ (คณะหอธรรม) ๔๖.๐๗ เมตร ก่อด้วยอิฐปานปูนทาสีทอง สูง ๓.๗๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๓.๒๘ เมตร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่เชื่อว่ามีความเก่าแก่พอๆ กับพระนอนค่ะ   


Picture-626.jpg


IMG_1083.JPG



ปัจจุบันรูปพระมหากัจจายน์มีอยู่ ๒ องค์ อีกองค์สร้างใหม่ อยู่ติดวิหารพระพุทธไสยาสน์ เมื่อก่อนอยู่หน้าวัดติดกับวัดพันเตา ย้ายไปไว้ติดกับพระพุทธไสยาสน์ ปี ๒๕๓๘ ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-629.jpg


กุฏิสุจิณโณ วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๑ ค่ะ


Picture-631.jpg


กุฏิสมเด็จ วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ ค่ะ


Picture-639.jpg


โรงเรียนสามัคคีวิทยาทาน วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Picture-652.jpg



มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา วัดเจดีย์หลวง ค่ะ

วัดเจดีย์หลวง เป็นแหล่งศูนย์กลางการบริหารคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตในภาคเหนือ เริ่มตั้งแต่สมัยพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท ช่วงปี พ.ศ.๒๔๗๑ – ๒๔๗๔) โดยเฉพาะการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมและบาลีในปี พ.ศ.๒๔๓๔ ได้มีการตั้งมหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา มีโรงเรียนสาธิตวิทยาเขตล้านนาระดับมัธยม ๑-๖ และอุดมศึกษา รวมทั้งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเมตตาศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนแบบให้เปล่าเปิดโอกาสให้เยาวชนที่เรียนดีแต่ยากจนได้ศึกษาในระดับมัธยมต้น (ม.๑-๓) ดำเนินการนับแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา


Picture-650.jpg



หอสมุด ฟ.เยสเปอร์เซ่น วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ โดยมูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่งค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC09748.jpg


หอธรรม พิพิธภัณฑ์วัดเจดีย์หลวง ๙๐ ปี พระพุทธพจนวราภรณ์ สร้างเพื่อถวายเป็นอนุสรณ์ พระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) และในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ ทั้งนี้ในการก่อสร้างตกลกว่าจะให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี ให้ทันกำหนดการเปิดใช้ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ อันเป็นวันทำบุญอายุครบ ๙๐ปี พระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ แต่เอาเข้าจริงกว่าจะแล้วเสร็จและส่งมอบอาคารให้ทางวัดได้ ก็ล่วงเลยมาถึงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑ ค่ะ


DSC08765.jpg



ประวัติหอธรรม พิพิธภัณฑ์วัดเจดีย์หลวง ๙๐ ปี พระพุทธพจนวราภรณ์ วัดเจดีย์หลวง


เมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๗ พระเจ้าติโลกราชได้สร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่พร้อมทั้งให้สร้างหอธรรม (หอพระไตรปิฏก) ไว้ทางด้านเหนือขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ คือสังฆาวาสหอธรรมและทางด้านใต้ในเขตพุทธาวาส แต่ที่มีหลักฐานอาคารหอธรรมสืบทอดมาให้เห็นทุกวันนี้ คืออาคารหอธรรมที่คณะหอธรรมตรงกับซุ้มจระนำมุขด้านทิศเหนือพระบรมธาตุเจดีย์ ต่อมา ในปีพ.ศ.๒๕๑๕ มีการบูรณะซ่อมแซมใหม่ เมื่อถึงปี พ.ศ.๒๕๓๐ ทางวัดได้ทำการรื้อถอนหอธรรมออกไปสร้างในที่ใหม่ ณ มุมวัดด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เพื่อเอาพื้นที่สร้างกุฏิสมเด็จ ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนในการก่อสร้างและวางศิลาฤกษ์ทำการก่อสร้างเมื่อ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๐

ต่อมาวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ได้รื้อถอนพร้อมกับถมสระสร้างอาคารพระพุทธพจนวราภรณ์ อาคารเรียนและหอประชุมขนาดใหญ่ ๓ ชั้น ทางวัดจึงรื้อถอนอาคารรุจิวงศ์ออกเอาพื้นที่สร้างหอธรรม/พิพิธภัณฑ์หลังใหม่แบบจตุรมุขสองชั้น ชั้นล่างเป็นพิพธภัณฑ์เนื้อที่ใช้สอย ๔๐ ตารางเมตร ชั้นสองเป็นหอธรรมเนื้อที่ใช้สอย ๗ ตารางเมตร เป็นอาคารแบบ "กุฏาคาร" คือเรือนยอดหรือปราสาท ศิลปสถาปัตยกรรมพื้นบ้านล้านนาประยุกต์ แล้วเสร็จ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๑ สิ้นค่าก่อสร้าง ๔,๕๐๐๐,๐๐๐ บาท ทางวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ให้การสนับสนุนทุนทรัพย์ ๓ ล้าน นอกจากนั้นทางวัดเป็นผู้จัดหา (ตามสัญญาจะต้องสร้างเสร็จทัน ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐)

วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ เวลา ๐๙.๐๐ น. พระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลในการสร้างหอธรรมและพิพิธภัณฑ์ให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์

วัดเจดีย์หลวงเป็นแหล่งสะสมรักษา/ค้นพบพระคัมภีร์ใบลาน/วรรณกรรมสำคัญๆ จำนวนมาก อาทิ โคลงเมืองเป้า, โคลงปทุมลังกา, โคลงมังทรารบเชียงใหม่, โครงอมราพิสวาท, (มณี พยอมยงค์-พิธีบวงสรวง/ประวัติวัดโชติการาม-๒๕๓๓) และตู้พระธรรมเก่าแก่มีค่าอีกมาก รวมทั้งหนังสือวรรณกรรมต่างๆ/ตำนานต่างๆ ที่พระมหาหมื่น วุฑฒิญาโณ แห่งวัดเจดีย์หลวง นักประวัติศาสตร์/นักปราชญ์คนสำคัญของเชียงใหม่/ล้านนาไทย/ปริวรรตต้นฉบับคัมภีร์เก่า/เขียนหรือแต่งหนังสือขึ้นใหม่รวบรวมไว้จำนวนมาก


Rank: 8Rank: 8

Picture-656.jpg


สำนักงานโครงการบูรณะพระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ค่ะ



img_lotus2.png


ติดต่อสอบถาม/ร่วมบริจาค


โทร. ๐๕๓-๘๑๔๑๑๙, ๘๑๔๓๐๙, ๘๑๔๓๐๘, ๐๘๙-๙๙๙๙๓๘๐



ขอโมทนาบุญสำหรับทุกท่านที่ร่วมทำบุญด้วยนะคะ



IMG_0688.JPG



IMG_0950.JPG


IMG_0818.JPG



การเดินทางมากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง วันนี้ก็ขอสิ้นสุดการเดินทางด้วยการกราบนมัสการลาพระพุทธรูปและพระบรมธาตุเจดีย์ก่อนออกจากวัดเลยนะคะ สวัสดีค่ะ   


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-28 04:39 , Processed in 0.179663 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.