แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดเจดีย์หลวง (โชติอาราม) อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุส่วนคางเบื้องซ้าย) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-540.jpg


Picture-541.jpg



ศาลารูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงปู่จันทร์ กุสโล เจ้าอาวาส วัดเจดีย์หลวง รูปที่ ๗ สร้างในโอกาสทำบุญอายุครบ ๘๔ ปี (๗ รอบ) วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-548.jpg


Picture-549.jpg



ศาลาพระสีวลี วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


คำอาราธนาพระสีวลี

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) สีวะลี  จะ  มหาเถโร  เทวะตานะระปูชิโต  โสระโห  ปัจจะยา  ทิมหิ  สีวะลี  จะ  มหาเถโร  ยักขา เทวาภิปูชิโต  โสระโห  ปัจจะยา  ทิมหิ  อะหังวันทามิ  ตังสะทา



Rank: 8Rank: 8

IMG_0924.JPG



IMG_0634.JPG



IMG_0649.JPG



IMG_0677.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง ภายในประดิษฐานบรรจุพระเกศาธาตุ พระบรมธาตุส่วนคางเบื้องซ้าย และพระบรมสารีริกธาตุต่างๆ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค่ะ   


IMG_0776.JPG



ประวัติวัดเจดีย์หลวง



ในสมัยพญามังรายได้โปรดให้พญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมาช่วยเลือกทำเลการสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น โดยพ่อขุนรามคำแหงทรงเห็นว่า ตรงกลางระหว่างดอยสุเทพทางทิศตะวันตกกับแม่น้ำปิงทางทิศตะวันออกนั้นเป็นทำเลที่ดี ผังเมืองแห่งนี้จึงได้รับอิทธิพลมาจากพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส และวัดเจดีย์หลวงเป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่

วัดนี้สร้างขึ้นมาในสมัยพญาแสนเมืองมา กษัตริย์มังราย (พ.ศ.๑๙๒๙–๑๙๔๔) องค์ที่ ๗ กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๒๐๒๒–๒๐๒๔) การที่ถูกเรียกชื่อว่า “วัดเจดีย์หลวง” เนื่องจากมีพระบรมธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ (คำว่าหลวง หมายถึงใหญ่) ในปี พ.ศ.๒๔๗๑ พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ ซึ่งเป็นองค์สุดท้าย แห่งวงศ์ทิพจักร/ทิพช้าง (พ.ศ.๒๔๕๒–๒๔๘๒) ได้อาราธนาพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสกรุงเทพฯ ขึ้นมาบูรณะและพัฒนาวัดเจดีย์หลวงในช่างปี พ.ศ.๒๔๗๑–๒๔๗๔ โดยทำการรวม ๓ สังฆาวาส เข้ากับ ๑ สังฆาวาส เป็นอันเดียวกัน (ยกเว้นสังฆาวาสพันเตาที่แยกไปเป็นวัดพันเตา) เรียกชื่อ "วัดเจดีย์หลวง" ตามโบราณเรียกขานกัน

ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๗๑–๒๔๘๑ นั้น นับเป็นทศวรรษแห่งการปรับปรุงและพัฒนาวัด กล่าวคือมีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพังแผ้วถางป่าที่ขึ้นคลุมเสนาสนะโบราณสถานต่างๆ ออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนะใหม่จนเป็นวัดที่สมบูรณ์ มีภิกษุสงฆ์สามเณรอยู่ประจำ จัดตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรมจนกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ และผลงานที่เป็นรูปธรรมดังกล่าวจึงทำให้วัดเจดีย์หลวงได้เลื่อนฐานะขึ้นเป็น "พระอารามหลวงชั้นตรี" ชนิด "วรวิหาร" เป็น "วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร" เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ เป็นต้นมา ได้รับยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับพัดเกียรติคุณรับรอง พ.ศ.๒๕๑๔


พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง มีความสำคัญ ๒ ประการ คือ
๑. เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ที่อยู่ใจกลางเมือง
๒. เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

ลักษณะของพระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ซ้อนกัน บนฐานชั้นบนที่เห็นเป็นช่องๆ นั้นเดิมเป็นรูปปั้นช้างประดับอยู่โดยรอบ ถัดขึ้นไปเป็นเรือนธาตุสี่เหลี่ยม มีมุขยื่นออกมา มุขด้านทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธเฉลิมสิริราช (พระแก้วหยกเชียงใหม่) ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตด้วย ในซุ้มจระนำด้านอื่นๆ มีพระพุทธรูปแบบล้านนาตอนปลายประดิษฐานอยู่ ด้านหลังมีผนังวาดรูปต้นพระศรีมหาโพธิ์



Rank: 8Rank: 8

Picture-627.jpg


Picture-648.jpg



Picture-647.jpg




ประวัติพระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง




พระธาตุเจดีย์หลวง เป็นพระเจดีย์เก่าแก่อายุกว่า ๖๐๐ ปี สูงที่สุดในอาณาจักรล้านนาไทย สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๔ สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ.๑๙๒๙-๑๙๔๔) สืบเนื่องมาจากได้มีพ่อค้าไปค้าขายที่เมาะตะมะกลับมายังเชียงใหม่ และได้มานอนพักผ่อนที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่วัดแห่งนี้ ก็ปรากฏมีรุกขเทวดาออกมาจากต้นไม้ใหญ่นั้นบอกว่า ตนเองคือ พญากือนา ได้มาเป็นรุกขเทวดาที่นี่ สาเหตุที่ไม่ได้ไปเป็นเทวดา เพราะสมัยยังมีพระชนม์ชีพท่านชอบคล้องช้างป่า ต้องมีการทรมานช้าง เลยไม่ได้เป็นเทวดา จึงได้บอกให้พ่อค้าคนนั้นไปบอกกับพญาแสนเมืองมา ผู้เป็นพระโอรสและครองเมืองเชียงใหม่อยู่ในขณะนั้น ให้มาสร้างเจดีย์ขึ้นกลางเมืองเชียงใหม่ และให้สร้างให้สูงใหญ่จนสามารถมองเห็นได้โดยรอบถึง ๒๐๐๐ วา (ประมาณ ๔ กิโลเมตร) เพื่ออุทิศให้พญากือนาจะได้หลุดพ้นจากการเป็นรุกขเทวดาเสียที เมื่อพญาแสนเมืองมาได้รับทราบจึงสร้างเจดีย์ขึ้นองค์แรก สร้างอยู่ ๑๐ ปี ยังไม่แล้วเสร็จ ท่านก็เสด็จสวรรคคตเสียก่อน

ต่อมาปี พ.ศ.๑๙๕๑ พระนางติโลกจุฑา พระมเหสีของพระเจ้าแสนเมืองมา ผู้สำเร็จราชการแทนยุวกษัตริย์สามฝั่งแกน พระราชโอรสให้ทรงก่อสร้างต่อจากหน้ามุขององค์พระเจดีย์ขึ้นไปนาน ๔ ปี จึงแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๑๙๕๕ เป็นพระเจดีย์ที่มีฐาน ๔ เหลี่ยมกว้างด้านละ ๒๐ วา ส่วนสูง ๓๙ วา สามารถมองเห็นได้แม้อยู่ไกล ๒,๐๐๐ วา แต่ไม่ได้สูงตามที่พญากือนาได้มาเข้าฝันไว้

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๒๒-๒๐๒๔ สมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๐) รู้จุดประสงค์ของพญากือนาว่าต้องการให้สร้างให้สูงมาก จึงได้สร้างองค์ใหญ่ครอบดังที่เห็นในปัจจุบันนี้ มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือเลยทีเดียว ในขณะที่สร้างครอบนั้น พระเจ้าติโลกราชได้สั่งไว้ว่า ขอให้สร้างยอดเจดีย์เป็นกระพุ่มยอดอันเดียวกัน ก็คือมียอดเดียวไม่ใช่ ๕ ยอด เสริมสร้างพระเจดีย์ใหม่นี้มีส่วนสูง ๔๕ วา ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๒๘ วา โดยให้ทำการปรับปรงดัดแปลง/ผสมผสานด้านสถาปัตยกรรมโครงสร้าง/รูปลักษณ์ทรงพระเจดีย์เสียใหม่ให้เป็นแบบ "พุทธศิลปสถาปัตยกรรมล้านนาผสมโลหะ ปราสาทลังกาและทรงเจดีย์แบบพุกามพม่า"


ที่สำคัญก็คือได้ดัดแปลงซุ้มจระนำมุขเจดีย์ด้านทิศตะวันออกให้เป็นซุ้มและแท่นฐานที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ตลอด ๘๐ ปี ที่พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๑-๒๐๙๑ ก็ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง ๑ ปี ประดิษฐาน ณ ซุ้มจระนำมุขตะวันออกของพระธาตุเจดีย์หลวงอีก ๗๙ ปี ปัจจุบันซุ้มจระนำมุขตะวันออกเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเฉลิมสิริราช (พระแก้วหยกเชียงใหม่) ที่สร้างเมื่อสมโภช ๖๐๐ ปี พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘

ปี พ.ศ.๒๐๕๕ สมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์รัชกาลที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๓๘-๒๐๖๘) ทำการบูรณะอีกครั้ง ด้วยการขยายฐานให้ใหญ่ขึ้น/เสริมฐานและกำแพงแก้วให้แข็งแรงมั่นคงกว่าเดิม

ต่อมาปี พ.ศ.๒๐๘๘ สมัยพระนางเจ้าจิรประภามหาเทวี รัชกาลที่ ๑๕ ราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๘๘-๒๐๘๙) ได้เกิดพาฝนตกหนักแผ่นดินไหว ทำให้พระเจดีย์หักพังทลายลงเหลือเพียงครึ่งองค์ สุดที่จะทำการซ่อมแซมบูรณะให้ดีดังเดิมได้ จึงถูกทิ้งร้างเป็นเจดีย์ปรักหักพังมานานกว่า ๔ ศตวรรษ

๔ มิถุนายน ๒๕๓๓ รัฐบาลโดยกรมศิลปากร ได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริษัทศิวกรการช่าง จำกัด ทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์หลวงใช้ทุนบูรณะ ๓๕ ล้านบาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๓๕ พระธาตุเจดีย์หลวงเมื่อบูรณะแล้ว ฐานกว้างด้านละ ๖๐ เมตร ทั้ง ๔ ด้าน สูง ๔๒ เมตร  

Picture-638.jpg


ในหนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ แปลโดย ศ.ร.ต.ท.แสง  มนวิฑูร พิมพ์เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๐๑ หน้า ๑๐๔-๑๐๕-๑๑๖-๑๒๐ และหน้า ๑๓๔ กล่าวถึงเจดีย์หลวงไว้ดังนี้

"จุลศักราช ๒๘๙ (พ.ศ.๑๘๗๔) พระเจ้าแสนภู โปรดให้สร้างเมืองเชียงแสน ต่อมาอีก ๔ ปี ทรงสร้างมหาวิหารขึ้นในท่ามกลางเมืองเชียงแสน" มหาวิหารที่ว่านี้ คือวัดและเจดีย์หลวงองค์ที่ ๑ อยู่ในวัดพระเจ้าตนหลวง เมืองเชียงแสน ราชธานีอาณาจักรโยนก

"พระเจ้าแสนเมืองมาพระชนมายุ ๓๙ ปี ครองราชย์สมบัติได้ ๑๖ ปี พระองค์ทรงเริ่มสร้างเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ สร้างยังไม่เสร็จ พระองค์ก็เสด็จสวรรคต พระราชินีผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ได้โปรดให้ทำยอดพระธาตุเจดีย์หลวงจนแล้วเสร็จ"

"พระธาตุเจดีย์หลวงเมื่อสร้างเสร็จ (พระเจ้าติโลกราชสร้างเสริมให้สูงใหญ่ขึ้น) เรียบร้อยแล้ว มีระเบียบกระพุ่มยอดเป็นอันเดียว

"พ.ศ.๒๐๕๕ พระราชา (พระเมืองแก้ว) พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลายเอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวงกำแพงนั้นมีถึง ๓ ชั้น ได้เงิน ๒๕๔ กิโลกรัม แล้วเอาเงินจำนวนนั้นแลกเปลี่ยนเป็นมูลค่าทองคำด้วยเงินจำนวนนั้น ได้ทองคำจำนวน ๓๐ กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่นทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์ เมื่อรวมกับจำนวนทองคำที่หุ้มพระเจดีย์อยู่เดิม ได้น้ำหนักทองคำถึง ๒,๓๘๒.๕๑๗ กิโลกรัม"




Rank: 8Rank: 8

IMG_0793.JPG



Picture-552.jpg


DSC09802.jpg



Picture-553.jpg



พระคงเจดีย์หลวง ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำมุขด้านทิศเหนือ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง เป็นพระพุทธรูปแบบล้านนาตอนปลาย ผนังด้านหลังมีรูปต้นพระศรีมหาโพธิ์ค่ะ


IMG_0729.JPG



IMG_0741.JPG



พระพุทธเฉลิมสิริราช (พระแก้วหยกเชียงใหม่) ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำมุขทิศตะวันออก พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง เป็นพระพุทธรูปแบบสิงห์ ๓ สมาธิราบ ปางตรัสรู้ พระหัตถ์ขวาวางทับพระหัตถ์ซ้ายทอดไว้เหนือพระเพลา พระเมาลีตูม มีเม็ดพระศกขมวดก้นหอย สังฆาฏิเล็ก/ยาวพาดพระอังสา แนบพระวรกายลงถึงพระนาภี ด้านพระปฤษฎางค์พาดลงถึงพระอาสน์ สูง ๗๐ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๕๒ เซนติเมตร หนัก ๙๙.๓ กิโลกรัม ค่ะ

Picture-644.jpg



ประวัติพระพุทธเฉลิมสิริราช (พระแก้วหยกเชียงใหม่)

ช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๔๐ มีมหามงคลสมัยในบ้านเมือง คือ ๒๕๓๔ พระธาตุเจดีย์หลวงครบ ๖๐๐ ปี, ๑๒ เมษายน ๒๕๓๙ เชียงใหม่ครบ ๗๐๐ ปี, ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชสมบัติครบ ๕๐ ปี คณะสงฆ์วัดเจดีย์หลวง ที่มีพระธรรมดิลก (จันทร์ กุสโล) เจ้าอาวาสเป็นประธาน พร้อมด้วยศรัทธาประชาชนชาวเชียงใหม่ จึงมีมติสมานฉันท์เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๓๗ ให้สร้างพระพุทธรูปหยกประดิษฐานไว้ ณ ซุ้มจระนำมุขตะวันออกพระธาตุเจดีย์หลวงที่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เคยประดิษฐานอยู่ในโอกาสสำคัญนี้

พระราชธรรมเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ และนางรัตนา สมบุญธรรม เจ้าของโรงเรียนมนตเสรี สำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการ อุปถัมภ์จัดหาหยกสีเขียวจากเมืองแวนคูเวอร์ประเทศแคนาดา มาสร้างเป็นพระหยกครั้งนี้

๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๗ เวลา ๑๒.๓๙ น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจิมหยก ณ วัดธรรมมงคล ๙ ธันวาคม ๒๕๓๗ ลงมือแกะสลักที่โรงงานบ้านจ้อง ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตามหุ่นต้นแบบพุทธศิลป์ "พระคงเจดีย์หลวง" ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ซุ้มจระนำด้านทิศเหนือองค์พระธาตุเจดีย์หลวง ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ สร้างเสร็จสมบูรณ์

๒๕ มีนาคม ๒๕๓๘ เวลา ๐๘.๐๐ น. อัญเชิญพระพุทธรูปหยกไปประดิษฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงพระราชทานนามพระพุทธรูป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า “พระพุทธเฉลิมสิริราช” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์พระราชทานนามพระพุทธรูป ทรงเจิม ทรงพระสุหร่าย

๒๘ มีนาคม ๒๕๓๘ เวลา ๐๗.๐๐ น. อัญเชิญพระพุทธเฉลิมสิริราชจากวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่โดยทางรถยนต์ เวลา ๑๖.๕๔ น. ถึงสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ ประดิษฐาน ณ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ ๑ คืน ๒๙ มีนาคม เวลา ๑๖.๐๖ น. อัญเชิญสู่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

๑-๙ เมษายน ๒๕๓๘ ฉลองสมโภชพระธาตุเจดีย์หลวง/พระพุทธเฉลิมสิริราช ๓ เมษายน ๒๕๓๘ ภาคเช้า นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานสมโภชภาคค่ำเวลา ๑๙.๕๙ น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัยพิธีมหาพุทธาภิเษกสมโภช มีสมเด็จพระราชาคณะ/พระเถรานุเถระ ๖๐๐ รูป นั่งสมาธิภาวนาแผ่เมตตารอบองค์พระธาตุเจดีย์หลวง

๒๐ เมษายน ๒๕๓๘ เวลา ๑๐.๕๕ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีอัญเชิญพระพุทธเฉลิมสิริราชขึ้นประดิษฐาน ณ ซุ้มจระนำมุขด้านทิศตะวันออกองค์พระธาตุเจดีย์หลวง



Rank: 8Rank: 8

Picture-554.jpg


Picture-643.jpg



Picture-641.jpg



พระพุทธรูปต่างๆ และร่วมทำบุญตักบาตรพระประจำวันเกิด ประดิษฐานด้านหน้า บันไดนาคทางขึ้น/ลง พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

IMG_0629.JPG


จุดธูป เทียน ถวายดอกไม้ ลูกแก้วจักรพรรดิ  เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา  และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ค่ะ สาธุ สาธุ


IMG_1095.JPG


เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ และพระพุทธปฏิมากร วัดเจดีย์หลวง พร้อมกันนะคะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)   
        วันทามิ  เจติยัง  สัพพัง  สัพพัฏฐาเนสุ  ปะติฏฐิตา  สะรีระธาตุโย  เกศาธาตุโย  อะระหันตา  ธาตุโย  เจติยัง  คันทะกุฏิง  จะตุละสี  ติสสะหิสเส  ธัมมักขันเธ  สัพเพสัง  ปาทะเจติยัง  อะหังวันทามิ  ธาตุโย  วันทามิทุระโส  อะหังวันทามิ สัพพะทา  อะหัง  วันทามิ  สิระสา ฯ


ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ


Rank: 8Rank: 8

Picture-555.jpg


รูปปั้นมกรคายนาค บันไดนาคทางขึ้น/ลงทั้งสี่ทิศ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


IMG_0849.JPG


IMG_0851.JPG



รูปปั้นช้าง ประดับรอบฐานชั้นบน พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-550.jpg


มหาเจติยาสามัคคี ๒๕๒๒ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Picture-557.jpg



กุฏิพิเชฎฐ์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Picture-559.jpg


อาคารพระธรรมดิลก (จันทร์  กุสโล) วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ค่ะ



Picture-563.jpg



อาคารพุทธิโสภณ วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อ ๒๕๔๐ ค่ะ


Picture-566.jpg



กุฏิลาภศิริกุล วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อ ๒๕๓๓ ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

DSC09809.jpg



บ่อเปิง วัดเจดีย์หลวง เป็นบ่อน้ำใหญ่/ลึก ผนังบ่อก่อด้วยอิฐกันดินพังไว้อย่างดี ส่วนปากบ่อก่ออิฐฉาบปูนกว้าง ๔.๓๒ เมตร สูงกว่าระดับพื้นดิน ๘๒ เซนติเมตร ลึก ๑๐.๒๙ เมตร อยู่ห่างจากพระบรมธาตุเจดีย์ไปทางทิศใต้ ๕๗.๗๕ เมตร มีร่องรอยการบูรณะใหม่ โดยการก่ออิฐเสริมเป็นบางส่วน ซึ่งอิฐที่ใช้มีขนาดเล็กกว่าของเดิม พร้อมทั้งฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ทำหลังคาสังกะสีคลุมบ่อน้ำนี้ด้วย บ่อน้ำนี้มีมาช้านาน ไม่ทราบประวัติความเป็นมาแน่ชัด แต่น่าจะมีตั้งแต่สร้างวัดมาแล้ว เนื่องจากอิฐที่ใช้มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับอิฐเจดีย์ค่ะ


Picture-562.jpg


ประวัติบ่อเปิง วัดเจดีย์หลวง


คำว่า “เปิง” แปลว่าคู่ควร-เหมาะสม มีผู้ให้ความหมายว่า เป็นบ่อใหญ่สมกับที่ขุดขึ้นมา เพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งในสมัยพระเจ้าติโลกราช ทรงสร้างเสริมพระบรมธาตุเจดีย์ (พ.ศ.๒๐๒๒–๒๐๒๔) นั้น ทั่วทั้งวัดเจดีย์หลวงมีบ่อน้ำถึง ๑๒ บ่อ ต่อมาถูกถมไปเพื่อเอาพื้นที่สร้างอาคารสถานที่

ช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๕ สร้างซุ้มหลังคาแปดเหลี่ยมครอบบ่อเปิง เสา/โครงและเครื่องบนเป็นเหล็ก มุงด้วยกระเบื้องดินขอเคลือบสีเหลือง หลังคาเป็นแบบจตุรมุขมีช่อฟ้า เทพื้นยกสูงราว ๑๐ ซม. โดยรอบบ่อเปิง กรุอิฐด้านในและโบกปูนขอบบ่อเปิงด้านนอกเสริมสูงอีก ๕๐ ซม. ทำให้มั่นคงแข็งแรงกว่าเดิม ใช้ทุนทรัพย์ ๗๐,๐๐๐ บาท (มูลนิธิบ่อเปิงพระมหาเจติยาภิบาล ๕๐,๐๐๐ บาท ทุนบูรณะ ๒๐,๐๐๐ บาท)

นอกจากบ่อน้ำแล้ว ด้านมุมติดกำแพงวัดทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและเฉียงใต้ มีหนองน้ำอยู่ ๒ สระ ซึ่งเกิดจากการขุดเอาดินมาทำอิฐก่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ จึงถือได้ว่าเป็นของเก่าโบราณคู่กับพระบรมธาตุเจดีย์ ควรแก่การอนุรักษ์รักษาไว้อย่างยิ่ง


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-12-1 02:10 , Processed in 0.082365 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.