แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดเจดีย์หลวง (โชติอาราม) อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุส่วนคางเบื้องซ้าย) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-554.jpg


Picture-643.jpg



Picture-641.jpg



พระพุทธรูปต่างๆ และร่วมทำบุญตักบาตรพระประจำวันเกิด ประดิษฐานด้านหน้า บันไดนาคทางขึ้น/ลง พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

IMG_0793.JPG



Picture-552.jpg


DSC09802.jpg



Picture-553.jpg



พระคงเจดีย์หลวง ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำมุขด้านทิศเหนือ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง เป็นพระพุทธรูปแบบล้านนาตอนปลาย ผนังด้านหลังมีรูปต้นพระศรีมหาโพธิ์ค่ะ


IMG_0729.JPG



IMG_0741.JPG



พระพุทธเฉลิมสิริราช (พระแก้วหยกเชียงใหม่) ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำมุขทิศตะวันออก พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง เป็นพระพุทธรูปแบบสิงห์ ๓ สมาธิราบ ปางตรัสรู้ พระหัตถ์ขวาวางทับพระหัตถ์ซ้ายทอดไว้เหนือพระเพลา พระเมาลีตูม มีเม็ดพระศกขมวดก้นหอย สังฆาฏิเล็ก/ยาวพาดพระอังสา แนบพระวรกายลงถึงพระนาภี ด้านพระปฤษฎางค์พาดลงถึงพระอาสน์ สูง ๗๐ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๕๒ เซนติเมตร หนัก ๙๙.๓ กิโลกรัม ค่ะ

Picture-644.jpg



ประวัติพระพุทธเฉลิมสิริราช (พระแก้วหยกเชียงใหม่)

ช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๔๐ มีมหามงคลสมัยในบ้านเมือง คือ ๒๕๓๔ พระธาตุเจดีย์หลวงครบ ๖๐๐ ปี, ๑๒ เมษายน ๒๕๓๙ เชียงใหม่ครบ ๗๐๐ ปี, ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชสมบัติครบ ๕๐ ปี คณะสงฆ์วัดเจดีย์หลวง ที่มีพระธรรมดิลก (จันทร์ กุสโล) เจ้าอาวาสเป็นประธาน พร้อมด้วยศรัทธาประชาชนชาวเชียงใหม่ จึงมีมติสมานฉันท์เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๓๗ ให้สร้างพระพุทธรูปหยกประดิษฐานไว้ ณ ซุ้มจระนำมุขตะวันออกพระธาตุเจดีย์หลวงที่พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เคยประดิษฐานอยู่ในโอกาสสำคัญนี้

พระราชธรรมเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ และนางรัตนา สมบุญธรรม เจ้าของโรงเรียนมนตเสรี สำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการ อุปถัมภ์จัดหาหยกสีเขียวจากเมืองแวนคูเวอร์ประเทศแคนาดา มาสร้างเป็นพระหยกครั้งนี้

๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๗ เวลา ๑๒.๓๙ น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจิมหยก ณ วัดธรรมมงคล ๙ ธันวาคม ๒๕๓๗ ลงมือแกะสลักที่โรงงานบ้านจ้อง ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตามหุ่นต้นแบบพุทธศิลป์ "พระคงเจดีย์หลวง" ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ซุ้มจระนำด้านทิศเหนือองค์พระธาตุเจดีย์หลวง ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ สร้างเสร็จสมบูรณ์

๒๕ มีนาคม ๒๕๓๘ เวลา ๐๘.๐๐ น. อัญเชิญพระพุทธรูปหยกไปประดิษฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงพระราชทานนามพระพุทธรูป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า “พระพุทธเฉลิมสิริราช” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์พระราชทานนามพระพุทธรูป ทรงเจิม ทรงพระสุหร่าย

๒๘ มีนาคม ๒๕๓๘ เวลา ๐๗.๐๐ น. อัญเชิญพระพุทธเฉลิมสิริราชจากวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่โดยทางรถยนต์ เวลา ๑๖.๕๔ น. ถึงสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ ประดิษฐาน ณ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ ๑ คืน ๒๙ มีนาคม เวลา ๑๖.๐๖ น. อัญเชิญสู่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

๑-๙ เมษายน ๒๕๓๘ ฉลองสมโภชพระธาตุเจดีย์หลวง/พระพุทธเฉลิมสิริราช ๓ เมษายน ๒๕๓๘ ภาคเช้า นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานสมโภชภาคค่ำเวลา ๑๙.๕๙ น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัยพิธีมหาพุทธาภิเษกสมโภช มีสมเด็จพระราชาคณะ/พระเถรานุเถระ ๖๐๐ รูป นั่งสมาธิภาวนาแผ่เมตตารอบองค์พระธาตุเจดีย์หลวง

๒๐ เมษายน ๒๕๓๘ เวลา ๑๐.๕๕ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีอัญเชิญพระพุทธเฉลิมสิริราชขึ้นประดิษฐาน ณ ซุ้มจระนำมุขด้านทิศตะวันออกองค์พระธาตุเจดีย์หลวง



Rank: 8Rank: 8

Picture-627.jpg


Picture-648.jpg



Picture-647.jpg




ประวัติพระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง




พระธาตุเจดีย์หลวง เป็นพระเจดีย์เก่าแก่อายุกว่า ๖๐๐ ปี สูงที่สุดในอาณาจักรล้านนาไทย สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๔ สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ.๑๙๒๙-๑๙๔๔) สืบเนื่องมาจากได้มีพ่อค้าไปค้าขายที่เมาะตะมะกลับมายังเชียงใหม่ และได้มานอนพักผ่อนที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่วัดแห่งนี้ ก็ปรากฏมีรุกขเทวดาออกมาจากต้นไม้ใหญ่นั้นบอกว่า ตนเองคือ พญากือนา ได้มาเป็นรุกขเทวดาที่นี่ สาเหตุที่ไม่ได้ไปเป็นเทวดา เพราะสมัยยังมีพระชนม์ชีพท่านชอบคล้องช้างป่า ต้องมีการทรมานช้าง เลยไม่ได้เป็นเทวดา จึงได้บอกให้พ่อค้าคนนั้นไปบอกกับพญาแสนเมืองมา ผู้เป็นพระโอรสและครองเมืองเชียงใหม่อยู่ในขณะนั้น ให้มาสร้างเจดีย์ขึ้นกลางเมืองเชียงใหม่ และให้สร้างให้สูงใหญ่จนสามารถมองเห็นได้โดยรอบถึง ๒๐๐๐ วา (ประมาณ ๔ กิโลเมตร) เพื่ออุทิศให้พญากือนาจะได้หลุดพ้นจากการเป็นรุกขเทวดาเสียที เมื่อพญาแสนเมืองมาได้รับทราบจึงสร้างเจดีย์ขึ้นองค์แรก สร้างอยู่ ๑๐ ปี ยังไม่แล้วเสร็จ ท่านก็เสด็จสวรรคคตเสียก่อน

ต่อมาปี พ.ศ.๑๙๕๑ พระนางติโลกจุฑา พระมเหสีของพระเจ้าแสนเมืองมา ผู้สำเร็จราชการแทนยุวกษัตริย์สามฝั่งแกน พระราชโอรสให้ทรงก่อสร้างต่อจากหน้ามุขององค์พระเจดีย์ขึ้นไปนาน ๔ ปี จึงแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๑๙๕๕ เป็นพระเจดีย์ที่มีฐาน ๔ เหลี่ยมกว้างด้านละ ๒๐ วา ส่วนสูง ๓๙ วา สามารถมองเห็นได้แม้อยู่ไกล ๒,๐๐๐ วา แต่ไม่ได้สูงตามที่พญากือนาได้มาเข้าฝันไว้

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๒๒-๒๐๒๔ สมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ.๑๙๘๕-๒๐๓๐) รู้จุดประสงค์ของพญากือนาว่าต้องการให้สร้างให้สูงมาก จึงได้สร้างองค์ใหญ่ครอบดังที่เห็นในปัจจุบันนี้ มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือเลยทีเดียว ในขณะที่สร้างครอบนั้น พระเจ้าติโลกราชได้สั่งไว้ว่า ขอให้สร้างยอดเจดีย์เป็นกระพุ่มยอดอันเดียวกัน ก็คือมียอดเดียวไม่ใช่ ๕ ยอด เสริมสร้างพระเจดีย์ใหม่นี้มีส่วนสูง ๔๕ วา ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๒๘ วา โดยให้ทำการปรับปรงดัดแปลง/ผสมผสานด้านสถาปัตยกรรมโครงสร้าง/รูปลักษณ์ทรงพระเจดีย์เสียใหม่ให้เป็นแบบ "พุทธศิลปสถาปัตยกรรมล้านนาผสมโลหะ ปราสาทลังกาและทรงเจดีย์แบบพุกามพม่า"


ที่สำคัญก็คือได้ดัดแปลงซุ้มจระนำมุขเจดีย์ด้านทิศตะวันออกให้เป็นซุ้มและแท่นฐานที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ตลอด ๘๐ ปี ที่พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ.๒๐๑๑-๒๐๙๑ ก็ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวง ๑ ปี ประดิษฐาน ณ ซุ้มจระนำมุขตะวันออกของพระธาตุเจดีย์หลวงอีก ๗๙ ปี ปัจจุบันซุ้มจระนำมุขตะวันออกเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเฉลิมสิริราช (พระแก้วหยกเชียงใหม่) ที่สร้างเมื่อสมโภช ๖๐๐ ปี พระธาตุเจดีย์หลวง เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘

ปี พ.ศ.๒๐๕๕ สมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์รัชกาลที่ ๑๑ แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๓๘-๒๐๖๘) ทำการบูรณะอีกครั้ง ด้วยการขยายฐานให้ใหญ่ขึ้น/เสริมฐานและกำแพงแก้วให้แข็งแรงมั่นคงกว่าเดิม

ต่อมาปี พ.ศ.๒๐๘๘ สมัยพระนางเจ้าจิรประภามหาเทวี รัชกาลที่ ๑๕ ราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ.๒๐๘๘-๒๐๘๙) ได้เกิดพาฝนตกหนักแผ่นดินไหว ทำให้พระเจดีย์หักพังทลายลงเหลือเพียงครึ่งองค์ สุดที่จะทำการซ่อมแซมบูรณะให้ดีดังเดิมได้ จึงถูกทิ้งร้างเป็นเจดีย์ปรักหักพังมานานกว่า ๔ ศตวรรษ

๔ มิถุนายน ๒๕๓๓ รัฐบาลโดยกรมศิลปากร ได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริษัทศิวกรการช่าง จำกัด ทำการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์หลวงใช้ทุนบูรณะ ๓๕ ล้านบาท แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๓๕ พระธาตุเจดีย์หลวงเมื่อบูรณะแล้ว ฐานกว้างด้านละ ๖๐ เมตร ทั้ง ๔ ด้าน สูง ๔๒ เมตร  

Picture-638.jpg


ในหนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ แปลโดย ศ.ร.ต.ท.แสง  มนวิฑูร พิมพ์เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๐๑ หน้า ๑๐๔-๑๐๕-๑๑๖-๑๒๐ และหน้า ๑๓๔ กล่าวถึงเจดีย์หลวงไว้ดังนี้

"จุลศักราช ๒๘๙ (พ.ศ.๑๘๗๔) พระเจ้าแสนภู โปรดให้สร้างเมืองเชียงแสน ต่อมาอีก ๔ ปี ทรงสร้างมหาวิหารขึ้นในท่ามกลางเมืองเชียงแสน" มหาวิหารที่ว่านี้ คือวัดและเจดีย์หลวงองค์ที่ ๑ อยู่ในวัดพระเจ้าตนหลวง เมืองเชียงแสน ราชธานีอาณาจักรโยนก

"พระเจ้าแสนเมืองมาพระชนมายุ ๓๙ ปี ครองราชย์สมบัติได้ ๑๖ ปี พระองค์ทรงเริ่มสร้างเจดีย์หลวงกลางเมืองเชียงใหม่ สร้างยังไม่เสร็จ พระองค์ก็เสด็จสวรรคต พระราชินีผู้เป็นอัครมเหสีของพระองค์ได้โปรดให้ทำยอดพระธาตุเจดีย์หลวงจนแล้วเสร็จ"

"พระธาตุเจดีย์หลวงเมื่อสร้างเสร็จ (พระเจ้าติโลกราชสร้างเสริมให้สูงใหญ่ขึ้น) เรียบร้อยแล้ว มีระเบียบกระพุ่มยอดเป็นอันเดียว

"พ.ศ.๒๐๕๕ พระราชา (พระเมืองแก้ว) พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งหลายเอาเงินมาทำกำแพงล้อมพระธาตุเจดีย์หลวงกำแพงนั้นมีถึง ๓ ชั้น ได้เงิน ๒๕๔ กิโลกรัม แล้วเอาเงินจำนวนนั้นแลกเปลี่ยนเป็นมูลค่าทองคำด้วยเงินจำนวนนั้น ได้ทองคำจำนวน ๓๐ กิโลกรัม แล้วแผ่เป็นแผ่นทึบหุ้มองค์พระธาตุเจดีย์ เมื่อรวมกับจำนวนทองคำที่หุ้มพระเจดีย์อยู่เดิม ได้น้ำหนักทองคำถึง ๒,๓๘๒.๕๑๗ กิโลกรัม"




Rank: 8Rank: 8

IMG_0924.JPG



IMG_0634.JPG



IMG_0649.JPG



IMG_0677.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง ภายในประดิษฐานบรรจุพระเกศาธาตุ พระบรมธาตุส่วนคางเบื้องซ้าย และพระบรมสารีริกธาตุต่างๆ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค่ะ   


IMG_0776.JPG



ประวัติวัดเจดีย์หลวง



ในสมัยพญามังรายได้โปรดให้พญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหงมาช่วยเลือกทำเลการสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น โดยพ่อขุนรามคำแหงทรงเห็นว่า ตรงกลางระหว่างดอยสุเทพทางทิศตะวันตกกับแม่น้ำปิงทางทิศตะวันออกนั้นเป็นทำเลที่ดี ผังเมืองแห่งนี้จึงได้รับอิทธิพลมาจากพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัส และวัดเจดีย์หลวงเป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่กลางใจเมืองเชียงใหม่

วัดนี้สร้างขึ้นมาในสมัยพญาแสนเมืองมา กษัตริย์มังราย (พ.ศ.๑๙๒๙–๑๙๔๔) องค์ที่ ๗ กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๒๐๒๒–๒๐๒๔) การที่ถูกเรียกชื่อว่า “วัดเจดีย์หลวง” เนื่องจากมีพระบรมธาตุเจดีย์องค์ใหญ่ (คำว่าหลวง หมายถึงใหญ่) ในปี พ.ศ.๒๔๗๑ พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ ซึ่งเป็นองค์สุดท้าย แห่งวงศ์ทิพจักร/ทิพช้าง (พ.ศ.๒๔๕๒–๒๔๘๒) ได้อาราธนาพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสกรุงเทพฯ ขึ้นมาบูรณะและพัฒนาวัดเจดีย์หลวงในช่างปี พ.ศ.๒๔๗๑–๒๔๗๔ โดยทำการรวม ๓ สังฆาวาส เข้ากับ ๑ สังฆาวาส เป็นอันเดียวกัน (ยกเว้นสังฆาวาสพันเตาที่แยกไปเป็นวัดพันเตา) เรียกชื่อ "วัดเจดีย์หลวง" ตามโบราณเรียกขานกัน

ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๗๑–๒๔๘๑ นั้น นับเป็นทศวรรษแห่งการปรับปรุงและพัฒนาวัด กล่าวคือมีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพังแผ้วถางป่าที่ขึ้นคลุมเสนาสนะโบราณสถานต่างๆ ออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนะใหม่จนเป็นวัดที่สมบูรณ์ มีภิกษุสงฆ์สามเณรอยู่ประจำ จัดตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรมจนกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ และผลงานที่เป็นรูปธรรมดังกล่าวจึงทำให้วัดเจดีย์หลวงได้เลื่อนฐานะขึ้นเป็น "พระอารามหลวงชั้นตรี" ชนิด "วรวิหาร" เป็น "วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร" เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๑ เป็นต้นมา ได้รับยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้รับพัดเกียรติคุณรับรอง พ.ศ.๒๕๑๔


พระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง มีความสำคัญ ๒ ประการ คือ
๑. เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ที่อยู่ใจกลางเมือง
๒. เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

ลักษณะของพระบรมธาตุเจดีย์ วัดเจดีย์หลวง เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ซ้อนกัน บนฐานชั้นบนที่เห็นเป็นช่องๆ นั้นเดิมเป็นรูปปั้นช้างประดับอยู่โดยรอบ ถัดขึ้นไปเป็นเรือนธาตุสี่เหลี่ยม มีมุขยื่นออกมา มุขด้านทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธเฉลิมสิริราช (พระแก้วหยกเชียงใหม่) ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตด้วย ในซุ้มจระนำด้านอื่นๆ มีพระพุทธรูปแบบล้านนาตอนปลายประดิษฐานอยู่ ด้านหลังมีผนังวาดรูปต้นพระศรีมหาโพธิ์



Rank: 8Rank: 8

Picture-548.jpg


Picture-549.jpg



ศาลาพระสีวลี วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


คำอาราธนาพระสีวลี

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) สีวะลี  จะ  มหาเถโร  เทวะตานะระปูชิโต  โสระโห  ปัจจะยา  ทิมหิ  สีวะลี  จะ  มหาเถโร  ยักขา เทวาภิปูชิโต  โสระโห  ปัจจะยา  ทิมหิ  อะหังวันทามิ  ตังสะทา



Rank: 8Rank: 8

Picture-540.jpg


Picture-541.jpg



ศาลารูปเหมือนพระเดชพระคุณหลวงปู่จันทร์ กุสโล เจ้าอาวาส วัดเจดีย์หลวง รูปที่ ๗ สร้างในโอกาสทำบุญอายุครบ ๘๔ ปี (๗ รอบ) วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-529.jpg


วิหารพระทันใจ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Picture-531.jpg


Picture-530.jpg



พระทันใจพุทธเพชรมงคลประทานพร หรือ หลวงพ่อเงินทันใจ ประดิษฐานภายใน วิหารพระเจ้าทันใจ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


คำบูชาพระพุทธรูปหลวงพ่อทันใจ “พระทันใจพุทธเพชรมงคลประทานพร” “หลวงพ่อเงินทันใจ”
(นะโม ๓ หน แล้วว่า ๓ จบ) ตะมะหัง ขิปปะจิตตะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ขิปปะจิตตะ พุทธัง เมสิ ระสา อะภิปูชะยามิ ขิปปะจิตตะ พุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวะตุเม  ขิปปะจิตตะ พุทธานุภาเวนะ สะทา มะหาลาโภ ภาวะตุเม  ขิปปะจิตตะ พุทธานุภาเวนะ สะทา มะหายะโส  ภาวะตุเม



Rank: 8Rank: 8

Picture-528.jpg


กุฏิจันทกุสลานุสรณ์ ๘๔ วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ค่ะ


Picture-535.jpg



ด้านหน้ากุฏิจันทกุสลานุสรณ์ ๘๔ วัดเจดีย์หลวง มีป้ายคำกลอนของพระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) แต่งเมื่อ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๙ กล่าวว่า...


ชีวิตที่ผ่านมา ๘๙ ปี


๘๙ ปี ที่ผ่านล่วงแล้ว    เหมือนฝัน
ชีวิตทุกทุกวัน             แต่งแต้ม
แต่ละเรื่องแต่ละอัน      ต่างล่วง ลับนา
ดุจดอกไม้หลังแย้ม      เหี่ยวแห้งโรยรา
โอ้. ชีวิตคิดแล้ว          ใจหาย
๘๙ ปี ผ่านไปง่ายดาย   หมดแล้ว
นึกนึกน่าเสียดาย         ชีวิต
ใจวูบใจอ่อนแป้ว         ชีวิตน้อยนิดเดียว
อยากจะอยู่ในโลกนี้     นานนาน
อยู่กับศิษย์ลูกหลาน     ใหญ่น้อย
อยู่แล้วสุขสำราญ        สงบจิต
อยู่ได้จนเกินร้อย         นั่นแท้ความประสงค์



Rank: 8Rank: 8

Picture-526.jpg



ศาลาการเปรียญ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ



Picture-545.jpg



Picture-546.jpg



พระพุทธรูปประธาน ประดิษฐานภายใน ศาลาการเปรียญ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-519.jpg



Picture-521.jpg



กุฏิแก้วนวรัฐ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ

ประวัติกุฏิแก้วนวรัฐ วัดเจดีย์หลวง เป็นกุฏิหลังแรกของวัด สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง เจ้าแก้วนวรัฐสร้างถวายเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๑ เป็นอาคารไม้สองชั้น หันหน้าไปสู่วิหารทางทิศเหนือ มี ๓ มุข มุขกลางคือ มุขจามรี มุขตะวันตก คือมุขราชบุตร (วงศ์ตะวัน) สร้างเสริมใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ ส่วนมุขตะวันออกคือ มุขแก้วนวรัฐ อันเป็นส่วนของกุฏิแก้วนวรัฐ เมื่อสร้างครั้งแรกปูพื้นด้วยประดานไม้สักเชื่อมต่อกันทั้ง ๓ มุข มุงด้วยกระเบื้องดินของพื้นเมือง ในปลายปี พ.ศ.๒๕๓๗ ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่ทั้งหลัง โดยทายาทของเจ้าแก้วนวรัฐพร้อมด้วยญาติมิตรเจ้านายฝ่ายเหนือ



Picture-524.jpg



กุฏิชินะทัตต์ วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ ค่ะ


Picture-550.jpg


กุฏิมหาเจติยาสามัคคี วัดเจดีย์หลวง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ ค่ะ


Picture-523.jpg


หอระฆัง วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-9-29 03:48 , Processed in 0.076756 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.