แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดเจดีย์หลวง (โชติอาราม) อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ , พระบรมธาตุส่วนคางเบื้องซ้าย) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-623.jpg



IMG_1040.JPG


IMG_1031.JPG



IMG_1037.JPG



พระพุทธรูป ๒ องค์ ประดิษฐานด้านข้าง พระนอน ภายใน วิหารพระนอน วัดเจดีย์หลวง ค่ะ  


Rank: 8Rank: 8

Picture-620.jpg


DSC09757.jpg



วิหารพระนอน หรือพระพุทธไสยาสน์ วัดเจดีย์หลวง เดิมเป็นวิหารที่ก่ออิฐถือปูน และเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๑ ทำพิธีถอนเอาฤกษ์เพื่อทำการบูรณะวิหารพระนอนใหม่ทั้งหลังทั้งหมดให้แล้วเสร็จทันสมโภชพระวิหารหลวงค่ะ


Picture-621.jpg



Picture-622.jpg



IMG_1028.JPG


IMG_1057.JPG



IMG_1061.JPG



พระนอน หรือพระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานภายใน วิหารพระนอน วัดเจดีย์หลวง เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่คู่กับพระบรมธาตุเจดีย์ แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใดและใครเป็นผู้สร้าง พระนอนองค์นี้สร้างด้วยอิฐฉาบปูนปิดทองเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ได้บูรณะใหม่ทำเป็นสีทองสำเร็จแทน มีพุทธลักษณ์งดงามมากและมีขนาดใกล้เคียงพระอัฏฐารส หันเศียรสู่ทางทิศใต้ หันพระพักตร์เข้าหาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ด้วย สูง ๑.๙๓ เมตร ส่วนยาว ๘.๗๐ เมตร อยู่ห่างจากพระบรมธาตุเจดีย์ไปทางทิศตะวันตก ๑๑.๖๐ เมตร ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

Picture-616.jpg


พระอุโบสถ (หลังเก่า) วัดเจดีย์หลวง ตั้งอยู่ด้านหลังวัด ด้านทิศตะวันตกของพระบรมธาตุเจดีย์และวิหารหลวง เป็นพระอุโบสถสถาปัตยกรรมทรงล้านนาดั้งเดิมขนาดเล็กแบบพื้นเมืองเชียงใหม่ ก่ออิฐฉาบปูน เครื่องบนมีโครงสร้างเป็นเครื่องไม้ หลังคาทำเป็นชั้นลด ๒ ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาขนาดเล็กและบาง หน้าบันด้านหน้าแกะสลักไม้สักเป็นลายพรรณพฤกษาแบบพื้นเมือง ฐานก่ออิฐฉาบปูน มีขนาด ๑๗ เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดขึ้น ๓ ด้าน คือ ด้านข้างสองด้าน

สร้างเมื่อปีมะแม พุทธศักราช ๒๔๒๖ ปฏิสังขรณ์เมื่อปีชวด พุทธศักราช ๒๔๙๑ และด้านหน้าบริเวณรอบๆ พระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระอัฐิของผู้ตาย ปัจจุบันพระอุโบสถหลังนี้ไม่ได้ใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว ได้เลิกใช้งานตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๒๒ เพราะคับแคบเกินไปค่ะ


Picture-618.jpg



Picture-619.jpg



พระเจ้าทันใจ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

รูปภาพพระบรมสารีริกธาตุ

ภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง



DSC09782.jpg


พระบรมสารีริกธาตุสีต่างๆ และพระบรมสารีริกธาตุสีขาวหม่น (เรียงจากซ้าย - ขวา)


DSC09781.jpg


พระธาตุสีต่างๆ ๕ พระองค์ และพระบรมสารีริกธาตุสีขาว (เรียงจากซ้าย - ขวา)


DSC09785.jpg


พระบรมสารีริกธาตุ กลม เล็ก ใหญ่ และพระบรมสารีริกธาตุวรรณะเมล็ดข้าวสารหัก (เรียงจากซ้าย - ขวา)


DSC09786.jpg


พระบรมสารีริกธาตุวรรณะใสดุจเพชร และพระบรมสารีริกธาตุวรรณะใส (เรียงจากซ้าย - ขวา)


DSC09787.jpg


พระบรมสารีริกธาตุวรรณะเมล็ดถั่วหัก และพระบรมสารีริกธาตุสีน้ำตาล (เรียงจากซ้าย - ขวา)


DSC09788.jpg


พระบรมสารีริกธาตุสีงาช้าง และพระบรมสารีริกธาตุสีงาช้างองค์ใหญ่ (เรียงจากซ้าย - ขวา)



DSC09789.jpg


อาโปธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุวรรณะเมล็ดช้างสารหัก (เรียงจากซ้าย - ขวา)


DSC09790.jpg


พระบรมสารีริกธาตุวรรณะเมล็ดข้าวสาร และพระบรมสารีริกธาตุสีน้ำตาลอ่อน (เรียงจากซ้าย - ขวา)


Rank: 8Rank: 8

รูปภาพพระอรหันตธาตุ

ภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง




DSC09783.jpg


พระธาตุพระสีวลี และพระธาตุพระโมคคัลลานะ (เรียงจากซ้าย - ขวา)

  

DSC09784.jpg


พระธาตุพระอรหันต์ (เรียงจากซ้าย - ขวา)


Picture-604.jpg



พระอรหันต์ ๑๓ พระองค์ และพระธาตุพระอรหันต์ (เรียงจากซ้าย - ขวา)



Rank: 8Rank: 8

รูปภาพพระธาตุ

ภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง



Picture-598.jpg


หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ จ.มุกดาหาร , หลวงปู่วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
หลวงปู่อ่อนศรี อ.บ้านแพง จ.นครพนม , หลวงพ่อพระมหาทองอินทร์ กุสลจิตโต วัดสันติธรรม จ.เชียงใหม่

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-600.jpg


หลวงปู่พวง สุวีโร วัดป่าปุคุสันติวัฒนา จ.อุดรธานี , หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย
หลวงปู่คำตัน ฐิตธัมโม วัดป่าด่านศรีสำราญ จ.หนองคาย , แม่ชีแก้ว เลียงล้ำ บ้านห้วยทราย จ.มุกดาหาร

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-601.jpg


หลวงปู่เจิ่น สิริจันโท วัดป่าหนองเชง จ.อุดรธานี , หลวงปู่สิงห์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
หลวงปู่สาม อกิณจโน วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์ , หลวงปู่เจี้ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จ.ปทุมธานี

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-602.jpg


หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์ , หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดแก้วชุมพล จ.สกลนคร
หลวงปู่บุญมี สิริธโร วัดป่าวังเวง จ.มหาสารคาม , หลวงปู่เขียน ฐิตวีโล วัดรังสีปาลิวัน จ.กาฬสินธุ์

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-603.jpg


หลวงปู่ชาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต จ.ขอนแก่น , หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.อยุธยา , หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร วัดถ้ำผาผึ้ง จ.เชียงใหม่

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)



Rank: 8Rank: 8

รูปภาพพระธาตุ

ภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง



Picture-591.jpg


หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย ,   หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบึ้ง จ.เลย

หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก จ.หนองคาย   ,  หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-592.jpg


หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่  , หลวงปู่เทศก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู , หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-595.jpg


หลวงปู่ทวด ราษบุรณาราม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี  , ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง จ.ลำพูน
หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม จ.อุดรธานี , หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Picture-596.jpg



หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี , หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร
(เรียงจากซ้าย - ขวา)


Picture-597.jpg


หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบุูรพาราม จ.สุรินทร์ , หลวงปู่บุญจันทร์ วัดป่าสันติกาวาส จ.อุดรธานี
หลวงปู่ตื้อ อาจารธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม , หลวงปู่อ่อน ญาณศิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี

(เรียงจากซ้ายขวาบน – ซ้ายขวาล่าง)


Rank: 8Rank: 8

DSC09773.jpg



Picture-590.jpg



รูปเหมือนพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ประดิษฐานด้านหน้าธรรมาสน์ ภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง สร้างเป็นแท่นฐานคอนกรีตสูง ๘๕ เซนติเมตร วัดรอบได้ ๓.๔๐ เมตร ประดับลวดลายพื้นบ้านล้านนา สำหรับเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหุ่นขี้ผึ้งเท่าตัวจริงของพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ซึ่งเจ้าภาพคือ คุณฐาวรา หวั่งลี ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๔๙ ค่ะ   


DSC09771.jpg



เล็บ ทันตธาตุ พระเกศา พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี ประดิษฐานด้านหน้า รูปเหมือนของพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

DSC09759.jpg


DSC09776.jpg



Picture-589.jpg



ตรงกลางห้องโถงของวิหารจตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง สร้างเป็นธรรมาสน์ปราสาท ฐานคอนกรีต (เฉพาะฐาน สูง ๑.๓๓ เมตร) โครงสร้างข้างบนเป็นไม้วัดรอบได้ ๔.๘๐ เมตร สูง ๔.๒๓ เมตร ศิลปะแบบพื้นถิ่นล้านนา  

ภายในธรรมาสน์ประดิษฐานบุษบกบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอีกชั้นหนึ่ง รอบๆ ฐานบุษบกจะเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนขนาดเล็กของพระอาจารย์สายหลวงปู่มั่นหลายรูป พร้อมทั้งอัฐิธาตุของแต่ละท่านที่ได้กลายเป็นพระธาตุแล้วบรรจุไว้ในมณฑป และรูปเหมือนของพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ประดิษฐานภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


DSC09779.jpg


DSC09778.jpg



อัฐิธาตุของพระสงฆ์สุปฏิปันโน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แต่ละท่านที่ได้กลายเป็นพระธาตุแล้วบรรจุไว้ในมณฑป ประดิษฐานภายใน วิหารจัตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ   



Rank: 8Rank: 8

Picture-586.jpg


วิหารจตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง หลังนี้ มีฐานคอนกรีตเสริมเหล็กสูง ๑.๒๐ เมตร โครงสร้างด้านบนเป็นไม้สักและไม้มีค่าทั้งหมด หลังคาวิหารทำเป็นลักษณะกุฎาคารหรือปราสาทยอด ๓ ชั้น ส่วนยอดปราสาทติดตั้งฉัตรทองเหลืองแบบพม่า ห้องโถงวิหารที่ตั้งธรรมาสน์ใช้เสาไม้กลม ๘ ต้นค้ำยันเพดาน เสาแต่ละต้นสูง ๖ เมตร วัดรอบเสาได้ ๔๐ เซนติเมตร ใช้เสาไม้เหลี่ยมจำนวน ๕๓ ต้นรองรับ อเสและคร่าวสำหรับประกอบฝาข้อสองสลับลูกกรง เสาแต่ละต้นสูง ๓.๐๐ เมตร วัดเสารอบได้ ๒๐ เซนติเมตร ประดับด้วยลวดลายฉลุปิดทอง ปูพื้นด้วยกระเบื้องเซรามิค ขนาด ๖ X ๖ นิ้ว สีภายในวิหารใช้โทนสีแบบโบราณออกน้ำตาลแดง เพดานประดับด้วยลายดอกบัวติดกระจกสีค่ะ


Picture-587.jpg


ประวัติวิหารจตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง

เป็นปูชนียสถานประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุพระสงฆ์สุปฏิปันโน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วิหารหันหน้าสู่ทิศตะวันออก มีบันไดทอดลงสู่ลานประทักษิณด้านทิศตะวันตกองค์พระธาตุเจดีย์หลวง ได้ทำการฉลองสมโภชถวายเป็นสมบัติพระศาสนาในวันที่ ๑๓ - ๑๔ มกราคม ๒๕๔๙

วางศิลาฤกษ์เพื่อทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ อันเป็นวันทำบุญอายุครบ ๘๗ ปี ของพระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร โดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัวญาณ สัมปันโน) และพระพุทธพจนวราภรณ์ เป็นประธานร่วมในการวางศิลาฤกษ์ คุณฐาวรา หวั่งลี เป็นเจ้าภาพให้ความอุปถัมภ์ในการก่อสร้างที่ต้องใช้ทุนทรัพย์ ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท ระยะก่อสร้าง ๑ ปี ขนาดของอาคารกว้าง ๑๐.๕๐ เมตร ยาว ๑๐.๕๐ เมตร

วิหารจตุรมุขบูรพาจารย์ เป็นศิลปสถาปัตยกรรมแบบพื้นบ้านล้านนาลำปางจำลองแบบมาจากมณฑปจตุรมุขวัดปสนุกใต้ (กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนไว้เป็นวัดปงสนุกเหนือ อันเป็นวัดพี่วัดน้องในชุมชนเดียวกัน เพียงแต่แยกเป็นเหนือ/ใต้) ซึ่งเป็นวัดประจำชุมชนปงสนุก ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ชุมชนปงสนุกนี้เป็นชาวโยนกเชียงแสน ที่ถูกกวาดต้อนมาสมัยเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ ๒ (พระเจ้าดวงทิพย์) บริเวณชุมชนปงสนุกนี้ เคยเป็นวัดเก่าแก่สืบมาแต่ครั้งพระเจ้าอนันตยศโอรสพระนางเจ้าจามเทวี ชาวโยนกเชียงแสนได้ฟื้นฟูขึ้นเป็นวัดอีกครั้ง ต่อมาในสมัยเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ ๗-๘ (ราว พ.ศ.๒๔๗๙-๒๔๓๐) พระอาโนชัยธรรม จินดามุนี (ครูบาโน) จึงได้สร้างมณฑปจตุรมุขอันเป็นสถาปัตยกรรมทรัพย์สิน "ทางศรัทธา" ชั้นเยี่ยมของเมืองลำปาง

แต่วิหารจตุรมุขบูรพาจารย์สร้างให้มีขนาดใหญ่กว่ามณฑปต้นแบบ คือ กว้าง ๑๐.๕๐ เมตร ยาว ๑๐.๕๐ เมตร และส่วนที่สร้างให้แตกต่างจากต้นแบบก็คือ มุขด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวนั้น ได้ทำทางลดระดับยาว ๙ เมตร กว้าง ๒.๘๐ เมตร ปูด้วยกระเบื้องเซรามิคเชื่อมต่อทอดลงสู่ลานประทักษิณของพระธาตเจดีย์หลวงมี "มอม" สัตว์ในโบราณคดีของล้านนาอยู่ ๒ ข้าง ทางขึ้น (มอม สัตว์ในจินตนาการกลายพันธุ์) พร้อมทั้งทำหลังคากันแดดกันฝนลดหลั่นเป็นชั้นๆ ดูงามกลมกลืนอย่างลงตัว


DSC09758.jpg


รูปปั้นตัวมอม บันไดทางขึ้น/ลง วิหารจตุรมุขบูรพาจารย์ วัดเจดีย์หลวง ค่ะ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-5 21:05 , Processed in 0.066654 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.