- สมัครสมาชิกเมื่อ
- 2009-1-22
- เข้าสู่ระบบล่าสุด
- 2025-1-22
- สิทธิ์ในการอ่าน
- 150
- เครดิต
- 0
- โพสต์
- 5078
- สำคัญ
- 4
- UID
- 13
|
| | | |
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ [พระบรมธาตุส่วนกลางกระหม่อม องค์ที่ ๒ , เป็นที่ประทับยืนตรัสพยากรณ์เมืองเชียงใหม่ด้วย]
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดพระธาตุดอยสุเทพ” นั้น เป็นวัดที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ มีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นราชวรวิหารเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ตั้งอยู่บนดอยสุเทพทางด้านทิศตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ (สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๓,๐๕๑ฟุต) เลขที่ ๑๒๔ บ้านดอยสุเทพ หมู่ที่ ๙ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๖ ไร่ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย
อนึ่ง วัดแห่งนี้สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย นอกจากนั้น ยังมีความสำคัญต่อจิตใจของประชาชนชาวเชียงใหม่ในฐานะที่เป็นศาสนสถานอันควรเคารพแล้ว ยังมีความสำคัญทางด้านการศึกษาอีกด้วย คือมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลี อีกทั้งวัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากเหล่าเจ้านายผู้ครองเมืองเชียงใหม่มาโดยตลอด
ตำนานพระเจ้าเลียบโลก กล่าวว่า...หลังจากองค์สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จมาจากหริภุญชัย (ลำพูน) แล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จมาที่ดอยสุเทพ เมื่อเสด็จขึ้นไปสถานที่นี้ ซึ่งเป็นที่ราบเสมองามยิ่งนัก อันมีทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้นได้ทอดพระเนตรแล้วก็ทรงรู้แจ้งด้วยอนาคตังสญาณ จึงตรัสแก่พระสารีบุตรว่า
“ดูก่อน...สารีบุตร หลังจากพระตถาคตนิพพานไปแล้ว พระธาตุแห่งตถาคตจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้” ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ตรงไปทางแม่น้ำปิง ตรัสพยากรณ์กับพระสารีบุตรต่อไปอีกว่า
“ดูรา...สารีบุตร ทิศตะวันออกแห่งภูเขานี้ ต่อไปจักมีพระราชาเสนาอำมาตย์ทั้งหลายจะมาตั้งบ้านเมืองอยู่ ณ ที่นี้ สถานที่นี้จักกลายเป็นมหานครอันยิ่งใหญ่ ศาสนาของพระตถาคตจักมาประดิษฐานตั้งมั่นอยู่ และจักปรากฏรุ่งเรืองจำเริญเป็นอันมาก เมืองนี้จักมีชื่อว่า “อภินวนคร” (เชียงใหม่) เพราะพระองค์ได้ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่นักบวชพม่า ๒ องค์ และจะเกิดมีมหาอาราม ๘ แห่ง ได้แก่ บุปผาราม (วัดสวนดอก), เวฬุวันอาราม (วัดป่าหกหรือวัดป่าไผ่ ได้แก่วัดกู่เต้า), วัดบุพพาราม, วัดอโศการาม (วัดป่าแดง), พีชชอาราม (วัดหลวงศรีเกิด), สังฆาราม (วัดเชียงมั่น), นันทอาราม (วัดนันทา) และโชติอาราม (วัดเจดีย์หลวง) ในแต่ละแห่งพระองค์ได้ประทานเกศาธาตุเพื่อประดิษฐานแห่งละ ๑ องค์”
| | | | |
|
|