แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 20784|ตอบ: 37
go

วัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8


DSC00558.jpg


วัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  

[พระเกศาธาตุ , รอยพระพุทธบาทยังหาไม่พบ]

                      อันพระธาตุดอยคำนั้นล้ำค่า                สถิตอยู่คู่พารามานานหลาย
                      เป็นปูชนียสถานพรรณราย                  ปวงทวยเทพกราบไหว้แต่ไรมา
                      เป็นสถานศักดิ์สิทธิ์มหิทธ์ยิ่ง                เพราะเป็นมิ่งชาวพุทธสุดจักหา
                      บรรจุพระบรมธาตุจอมศาสดา              ประสาทให้ด้วยหัตถาของพระองค์
                      เราชาวไทย ต่างกราบไหว้ด้วยใจภักดิ์    ช่วยปกปักป้องไว้ให้สูงส่ง
                      ช่วยเสริมต่อก่อให้สวยช่วยจรรโลง        เพื่อดอยคำให้ดำรงอยู่คู่ดินฟ้าเอย

ตำนานพระเจ้าเลียบโลก
กล่าวว่า...สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปพักประทับนอนที่ภูเขาลูกเล็กลูกหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันตก พระองค์ประทับอยู่ใต้ต้นมะขามใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งใหญ่ประมาณ ๘ กำ สูง ๑๕ ศอก ทรงประทับอยู่เมตตาในที่นั้นตลอดราตรี ในกลางคืนนั้นเทพยดาทั้งหลายก็โสมนัสยินดี จึงบันดาลให้ฝนเงิน ฝนทองคำตกลงมาบูชาพระพุทธองค์ ครั้นสว่างขึ้นมา แก้ว เงิน ทองคำ เหล่านั้นก็หายเข้าไป สู่ใต้ภูเขาลูกเล็กนั้นสิ้น เป็นไปเพราะพุทธานุภาพ เหตุนั้นภูเขาลูกนั้นจึงได้ชื่อว่า “ดอยเขาคำหลวง” (พระธาตุดอยคำ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่)

แล้วพวกเทพยดาทั้งหลายก็กราบทูลขอรอยพระบาทจากพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสว่า “สถานที่นี้ ไม่มีที่จะไว้รอยพระบาทตถาคต” พอรุ่งสว่างดีแล้วก็เสด็จไปทางทิศตะวันออก ทรงพบก้อนหินหนึ่งงดงามยิ่ง ทรงประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงทอดพระเนตรดูสถานที่แห่งนั้น แล้วทรงรำพึงว่า “สถานที่นี้ ต่อไปภายหน้าจักเป็นมหานครเมืองใหญ่ จักเป็นที่อยู่แห่งกษัตริย์และคนทั้งหลาย ศาสนาตถาคตจะมาดำรงอยู่ในเมืองที่นี้ เป็นที่รุ่งเรืองยิ่ง จักปรากฏชื่อเสียงไปทั่วทิศ ในเมืองนี้จะมีอารามใหญ่อยู่ ๘ หลัง เหมือนดังที่เคยนั่งภาวนาที่โสฬสสถาน ๑๖ แห่งในเมืองลังกาทวีปนั้นเถิด” ทรงรำพึงเช่นนี้แล้ว
เสด็จลุกขึ้นแล้วทรงเหยียบรอยพระบาทไว้เหนือหินที่ประทับนั่ง ส่วนรอยพระพุทธบาทที่กล่าวในตำนานนั้นได้จมหายไปในพื้นดิน โดยมีเทพเจ้ารักษาไว้ ซึ่งในกาลเบื้องหน้าจักขึ้นมาปรากฏแก่มหาราชทั่วไป




Rank: 1

อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 08:20 โดย pimnuttapa

  

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :

• พระครูสุนทร เจติยารักษ์ (หลวงพ่อพิณ) เจ้าอาวาส วัดพระธาตุดอยคำ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
• วัดพระธาตุดอยคำ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
• หนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (คัดลอกจาก หนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง. นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง ๒๕๔๐-๒๕๔๕. พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕. หน้า ๑๕๑-๑๕๒, ๒๘๑-๒๘๒.)
• และทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญในครั้งนี้

หมายเหตุ   
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทานค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 08:21 โดย pimnuttapa


DSC00578.jpg

สำหรับการเดินทางมากราบนมัสการพระบรมธาตุ วัดพระธาตุดอยคำ ก็ขอจบการเดินทางเพียงเท่านี้นะคะ สวัสดีค่ะ   



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-6-24 23:23  

DSC00590.jpg

อุโบสถ วัดพระธาตุดอยคำ ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 08:17 โดย pimnuttapa


DSC00585.jpg

พระพุทธรูปองค์ใหญ่ "พระพุทธนพีสีพิงครัตน์” วัดพระธาตุดอยคำ ค่ะ   

ประวัติความเป็นมาพระพุทธนพีสีพิงครัตน์


พระพุทธนพีสีพิงครัตน์ เป็นพระพุทธรูปสิงห์หนึ่ง ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๒ เมตร สูง ๑๗ เมตร ประดิษฐานอยู่บนวัดพระธาตุดอยคำ ตำบลแม่เหี้ย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จัดสร้างโดยทายาทเจ้าแม่อินหวัน ณ เชียงใหม่ รวมทั้ง ผู้มีจิตศรัทธาในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง พุทธสมาคมจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับเจ้าภาพ ได้จัดงานฉลองสมโภชพุทธาภิเษกพระพุทธรูป เมื่อวันที่ ๗-๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๔

พระพุทธนพีสีพิงครัตน์ ริเริ่มสร้างโดย ทายาทของเจ้าแม่อินหวัน ณ เชียงใหม่ โดยเจ้าแม่ได้ล่วงลับไปเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ (สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี) หลังจากนั้นประมาณ ๗-๘ วัน เจ้ากุลวงศ์ ผู้เป็นทายาทคนหนึ่งได้ฝันว่า เจ้าแม่ขอให้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ ณ ที่สูงเพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาจากระยะไกลได้ ในฝันเจ้ากุลวงศ์ ได้ถามเจ้าแม่ว่าท่านให้ชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่าอย่างไรดี เจ้าแม่ตอบว่า แล้วแต่ลูกจะเห็นสมควร เจ้ากุลวงศ์ตอบไปทันทีโดยไม่ได้คิดมาก่อนว่า จะให้ชื่อว่า พระพุทธนพีสีพิงครัตน์ (มีความหมายว่า พระพุทธรูปอันเป็นแก้วที่ประเสริฐของเมืองเชียงใหม่) และเมื่อเจ้ากุลวงศ์ได้เล่าเรื่องความฝันให้พี่น้องฟัง ทุกคนต่างปีติศรัทธาเห็นชอบการจัดสร้างพระพุทธรูป และได้รวบรวมเงินเป็นค่าจัดสร้าง ๔๕๐,๐๐๐ บาท

ต่อมาเจ้ากุลวงศ์ได้ไปนมัสการท่านพระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอเมืองเชียงใหม่ ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนดอก และปรารภเรื่องการจัดสร้างพระพุทธรูป ท่านได้แนะนำให้สร้างไว้บนพระธาตุดอยคำ เพราะเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ที่บนสูง จะเป็นศรีสง่าแก่จังหวัดเชียงใหม่ไปในอนาคต และท่านพระครูได้มีเมตตาติดต่อขออนุญาตก่อสร้างจากกองบิน ๔๑ เชียงใหม่ และกระทรวงกลาโหมตามลำดับ

สำหรับตำแหน่งการก่อสร้าง เป็นมูลดินสูงทิศตะวันตกหน้าวัดพระธาตุดอยคำ ซึ่งเป็นที่ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ได้ปลูกที่พักสำหรับดูแลคนงาน ระหว่างที่ท่านคุมการสร้างวิหารและซ่อมแซมวัดพระธาตุดอยคำ การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๓๑ แล้วเสร็จต้นปี พ.ศ.๒๕๓๔ และมีงานฉลองสมโภชพุทธาภิเษกตามจารีตวัฒนธรรมประเพณีล้านนาไทย เมื่อวันที๗-๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๔

ผู้ควบคุมการก่อสร้างพระพุทธรูป คือคุณชัยพันธ์ ประภาสวัต ซึ่งสำเร็จด้านปติมากรรม จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ต่อมามีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคค่าก่อสร้าง เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมาก อาทิคุณสุรีย์พร คองประเสริฐ บริจาค ๑๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างลานหน้าพระพุทธรูป และครอบครัวคุณเกรียง เฉลิมสุภาคุณ ออกทุนทรัพย์เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างฉัตรถวายองค์พระซึ่งเมื่อนำฉัตรขึ้นกางถวายได้ระยะหนึ่ง มีพายุพัดฉัตรตกลงมาชำรุด จึงได้ซ่อมแซมแล้วนำไปประดับหน้าพระพุทธรูปแทน สำหรับงบประมาณในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ รวมเป็นจำนวนประมาณหนึ่งล้านนาบาทเศษค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 08:17 โดย pimnuttapa

  
DSC00589.jpg

อนุสาวรีย์พระแม่เจ้าจามเทวี บรมราชินี ศรีสุริยวงศ์ องค์บดินทร์ ปิ่นธานีหริภุญชัย วัดพระธาตุดอยคำ ค่ะ   

ประวัติอนุสาวรีย์พระแม่เจ้าจามเทวี บรมราชินี ศรีสุริยวงศ์ องค์บดินทร์ ปิ่นธานีหริภุญชัย ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๓๘ ได้มีพิธีเททองหล่อพระอนุสาวรีย์พระเจ้าจามเทวี ณ ลานวัดพระธาตุดอยคำ และมีพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ พร้อมๆ กับทางวัดหุ้มทรงพระเจดีย์ และบูรณะพระพุทธรูปองค์ใหญ่ "พระพุทธนพีสีพิงค์" ซึ่งปัจจุบันมีผู้มาสักการะเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปีค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 08:16 โดย pimnuttapa

  
DSC00586.jpg

ศาลาพระแม่เจ้าจามเทวี วัดพระธาตุดอยคำ อีกแห่งหนึ่งค่ะ   

ประวัติพระแม่เจ้าจามเทวี วีรสตรีปฐมกษัตริย์กษัตริย์แห่งหริภุญชัย พระแม่เจ้าจามเทวีขึ้นครองราชย์นครหริภุญชัย ระหว่าง พ.ศ. ๑๒๐๒ - ๑๒๓๑ เป็นปฐมกษัตริย์และเป็นต้นราชวงศ์จามเทวี พระองค์ได้ทำการบูรณะรอยพระพุทธบาท พระบรมธาตุเจดีย์ และวัดวาอารามต่างๆ ทรงบำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์ไว้กับพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย นับจำนวนอารามที่พระแม่เจ้าจามเทวี ได้ทรงสร้างไว้แต่ครั้งอยู่ละโว้ (ลพบุรี) สร้างอารามที่สุโขทัย ละโว้ สวรรคโลก นครงามฟ้า นครสุวรรณบรรพต นครชุมรุม เรื่อยมาจนถึง นครพิสดาร หริภุญชัย ระมิงค์ เขลางค์ แปร รวมได้ ๒,๕๐๐ วัด สร้างกุฏิได้ ๑๐,๐๐๐ หลัง

เมื่อพระแม่เจ้าจามเทวีพระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา (พ.ศ. ๑๒๓๖) ได้สละเพศลาผนวชเป็นชีผ้าขาวแล้วก็ยุติการสร้าง บำเพ็ญธรรมอย่างเดียว ทั้งพระชนนีปทุมวดี และพระเกษวดี และแม่เลี้ยงก็ออกบวชด้วย แม่ชีจามเทวีได้ถึงแก่มรณะ เมื่อ พ.ศ.๑๒๗๔ พระชนมายุ ๙๘ พรรษา บวชเป็นชีขาวได้ ๓๘ พรรษา ยังความทุกข์โศกเศร้าแก่พศกนิกรมหาชนทั่วนครหริภุญชัยในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่งค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-6-24 23:10  

DSC00588.jpg

หอระฆังอนุสรณ์ ๒๐๐ ปี วัดพระธาตุดอยคำ ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 08:16 โดย pimnuttapa


DSC00587.jpg

อนุสาวรีย์พระฤาษีวาสุเทพ วัดพระธาตุดอยคำ ค่ะ   

ประวัติพระฤาษีวาสุเทพ ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ลูกยักษ์บวชเป็นพระฤาษีนามว่า วาสุเพทฤาษีแล้ว ฤาษีตนนี้ได้ไปตั้งอาศรมอยู่หลังดอยสุเทพ ตัวปู่แสะอาศัยอยู่บริเวณวัดฝายหินและตัวย่าแสะได้อยู่รักษาถ้ำดอยคำไว้ หลังจากที่ปู่แสะและย่าแสะได้ตายไป วาสุเทพฤาษีจึงเป็นผู้ดูแลถ้ำดอยคำพร้อมกับพระบรมธาตุสืบต่อมา พิธีการเซ่นสรวงบูชาดวงวิญญาณของปู่แสะย่าแสะก็ยังคงมีอยู่ จนกระทั่งปี พ.ศ.๑๑๗๖ วาสุเทพฤาษีองค์ที่ ๘ ได้ทารกเพศหญิงซึ่งมีลักษณะของผู้มีบุญญาธิการมาเลี้ยงไว้ ๑ คน โดยให้ชื่อว่า “วี” เมื่อนางเติบโตขึ้นเป็นพระแม่เจ้าผู้มีสิริโฉมงดงาม พระแม่เจ้าจามเทวียังได้ครองนครหริภุญชัย (เมืองลำพูน) อีกด้วย เมื่อวาสุเทพฤาษีสิ้นไปแล้ว พระแม่เจ้าจามเทวีจึงรับภาระการรักษาดูแลพระบรมธาตุและถ้ำดอยคำสืบต่อมาค่ะ




‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-6-26 07:41 , Processed in 0.051632 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.