แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดเจดีย์เจ็ดยอด ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:54 โดย pimnuttapa



DSC09894.jpg

ราชายตนะเจดีย์ วัดเจ็ดยอด ค่ะ

ราชายตนะเจดีย์ อยู่ทางทิศใต้ของโพธิบัลลังก์ เมื่อพระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขสมาบัติใต้ร่มไม้มุจจลินท์ (ไม้จิก) ครบ ๗ วันแล้ว พระองค์ทรงเสด็จย้ายไปประทับนั่งใต้ต้นราชายตนะพฤกษ์ (ไม้เกด) ซึ่งอยู่ทางทิศทักษิณของต้นมหาโพธิ์ ในเวลาเช้าพระอินทร์ได้นำเอาผลสมอเข้าไปถวายพระองค์ พระองค์ทรงเสวยวิมุตติสุข ณ ที่นี่ถึง ๘ วัน จากการขุดแต่งทางโบราณคดีปี พ.ศ. ๒๕๔๕ นอกกำแพงแก้วมหาวิหารเจ็ดยอด พบฐานอาคารก่ออิฐรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง ๘.๗๐ เมตร สูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ไม่พบกระเบื้องมุงหลังคาและเครื่องบนหลังคา ฐานอาคารนี้ควรเป็นฐานของเจดีย์ และเนื่องจากถูกไถทำลาย จึงไม่พบลักษณะสถาปัตยกรรมด้านบน



DSC09892.jpg

พระพุทธรูปประจำที่ราชายตนะเจดีย์ ได้แก่ พระพุทธรูปประทับนั่งยืนพระหัตถ์รับผลสมอค่ะ   


DSC09909.jpg

อชปาลนิโครธ วัดเจ็ดยอด ค่ะ

อชปาลนิโครธ อยู่ทางทิศตะวันออกของโพธิบัลลังก์ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ได้ ๗ วัน ได้เสด็จออกจากร่มไม้มหาโพธิ์ ไปประทับนั่งขัดสมาธิใต้ต้นอชปาลนิโครธ (ต้นไทร) อันเป็นที่อยู่อาศัยของคนเลี้ยงแกะ ทรงเสวยวิมุตติผล สมาบัติสุข ณ ที่นี่เป็นเวลา ๑ สัปดาห์


จากการขุดแต่งทางโบราณคดี ปีพ.ศ.๒๕๔๖ บริเวณพื้นที่ด้านทิศตะวันออกนอกกำแพงแก้วมหาวิหารเจ็ดยอดและตรงที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ซึ่งทางวัดได้กำหนดไว้ในอดีตว่าเป็นอชปาลนิโครธ ไม่พบหลักฐานซากอาคาร คงใช้ต้นไม้ใหญ่ที่มีอยู่นี้เป็นสัญลักษณ์แทน


DSC09900.jpg

พระพุทธรูปประจำที่อชปาลนิโครธ ได้แก่ พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิยกพระหัตถ์ขวาห้ามมารค่ะ   


DSC09908.jpg

ซากโบราณสถาน บริเวณด้านหน้า อชปาลนิโครธ วัดเจ็ดยอด ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:50 โดย pimnuttapa

  

DSC09939.jpg

รัตนจงกรม วัดเจ็ดยอด ค่ะ

รัตนจงกรม คือสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จมาจงกรม หลังจากได้แสดงกตัญญูธรรมโดยการเพ่งต้นโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นก็เสด็จเดินจงกลมระหว่างที่ประดับอยู่ ณ โพธิบัลลังก์ รวม ๗ วัน จากการขุดแต่งทางโบราณคดีปี พ.ศ. ๒๕๔๕ พบแนวก่ออิฐมีลักษณะเป็นทางเดินอยู่ ๒ แห่ง ทางด้านทิศเหนือของโพธิบัลลังก์ แห่งแรกเป็นทางเดินปูอิฐสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑.๕๐ เมตร ยาว ๔.๒๐ เมตร แห่งที่สองเป็นทางเดินรูปหกเหลี่ยม กว้าง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๒๕.๕๐ เมตร ยกขอบผนังทางเดินสูง ๑.๒๐ เมตร จากพื้นก่ออิฐติดกำแพงแก้วออกมาทั้งสองข้าง หันด้านหน้าซึ่งเป็นระเบียงมีบันไดนาคไปที่โพธิบัลลังก์



DSC09937.jpg

พระพุทธรูปประจำที่รัตนจงกรมได้แก่ พระพุทธรูปทำท่าเดินจงกรม โดยยกพระบาทขวาหย่อนพระหัตถ์ทั้งสองแนบข้างทั้งสองค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:49 โดย pimnuttapa


DSC00337.jpg

รัตนฆรเจดีย์ วัดเจ็ดยอด ค่ะ

รัตนฆรเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์ ในสัปดาห์ที่ ๔ เทวดาได้เนรมิตเรือนแก้วขึ้นในทิศพายัพของโพธิบัลลังก์ เพื่อให้พระพุทธองค์ ประทับนั่งพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกตลอด ๗ วัน ปัจจุบันเป็นเจดีย์ทรงปราสาท บนฐานประทักษิณขนาดกว้าง ๑๐.๕๐ เมตร ยาว ๑๐.๗๐ เมตร ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว สันนิษฐานว่าเดิมอาจเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็ก หรือใช้พระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์ ต่อมาได้สร้างเจดีย์ก่ออิฐให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า บันไดทางขึ้นทางด้านทิศตะวันออกของเจดีย์องค์นี้ สร้างทับอยู่บนกำแพงแก้ว



DSC09942.jpg

พระพุทธรูปประจำที่รัตนฆรเจดีย์ ได้แก่ พระพุทธรูปปางสมาธิค่ะ

  

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:49 โดย pimnuttapa

  

DSC09932.jpg

อนิมิสเจดีย์ วัดเจ็ดยอด ค่ะ

อนิมิสเจดีย์ เป็นสถานที่พระพุทธองค์ทรงเกิดทิพยจักขุญาณ หลังจากออกจากสมาบัติไปประทับยืน ณ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์ ทรงพิจารณาทศบารมีธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสรู้มา เพื่อสำนึกในกตัญญูธรรมทรงลืมพระเนตรเพ่งต้นโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลา ๗ วัน เป็นสถูปรูปทรงมณฑปตั้งอยู่บนฐานทักษิณ ขนาดกว้าง ๑๐.๔๐ เมตร ยาว ๑๐.๖๐ เมตร ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว มีระเบียงล้อมรอบ เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุทรงแปดเหลี่ยม ประกอบด้วยซุ้มจระนำขนาดใหญ่ ๔ ซุ้ม ทำเป็นคูหาลึกเข้าไปสลับกับซุ้มตื้นๆ ส่วนเหนือเรือนธาตุขึ้นไปชั้นหนึ่งทำเป็นซุ้มโค้งเล็กๆ จำนวน ๘ ซุ้ม ซ้อนอยู่เหนือซุ้มที่อยู่รอบๆ เรือนธาตุ สำหรับอนิมิสเจดีย์นี้ เป็นส่วนหนึ่งในสัตตมหาสถานที่ได้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราชเมื่อ พ.ศ. ๙๙๘

สันนิษฐานว่า เดิมคงเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็ก เพื่อใช้พระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์ ต่อมาได้สร้างเจดีย์ก่ออิฐให้ใหญ่ขึ้น มีฐานเบียดติดกับกำแพงแก้ว และมีบันไดทางขึ้นอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ทำให้ต้องก่อปิดประตูทางเข้าออกทางด้านทิศเหนือ แล้วให้ไปใช้ประตูที่มุมกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือแทน



DSC09979.jpg

ซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปประจำ อนิมิสเจดีย์ วัดเจ็ดยอด ได้แก่ พระพุทธรูปยืนถวายเนตรโดยลืมพระเนตรทั้งสอง หย่อนพระหัตถ์ทั้งสองลงซ้อนกันที่ท้องน้อยค่ะ   


DSC09930.jpg

พระพุทธรูปประจำที่อนิมิสเจดีย์อีกองค์หนึ่ง วัดเจ็ดยอด ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:48 โดย pimnuttapa

  

DSC00318.jpg

พระประธาน ประดิษฐานภายใน ซุ้มจระนำ มหาสถูปบรรจุพระอัฐิและอังคารธาตุพระญาติโลกราช วัดเจ็ดยอด ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:48 โดย pimnuttapa

  

DSC00317.jpg

มหาสถูปบรรจุพระอัฐิและอังคารธาตุพระญาติโลกราช มีลักษณะเจดีย์ทรงปราสาท มีขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมรูปทรงเจดีย์ ซึ่งนิยมสร้างกันมากในสมัยราชวงศ์มังราย ลักษณะโดยทั่วไปขององค์สถูปประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อเก็จประกอบด้วยลวดบัวและคั่นด้วยลูกแก้วแบบฐานทรงบัลลังก์รองรับส่วนเรือนธาตุ ซึ่งทำเป็นซุ้มจระนำประกอบอยู่ทั้ง ๔ ด้าน ส่วนเหนือเรือนธาตุขึ้นไป เป็นฐานบัวคว่ำหรือบัวถลารองรับส่วนบนซึ่งทำเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา ประกอบด้วยฐานเขียงและลวดบัวซ้อนกันขึ้นไปรองรับปล้องไฉนค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:47 โดย pimnuttapa

  

DSC09931.jpg

มหาสถูปบรรจุพระอัฐิและอังคารธาตุพระญาติโลกราช วัดเจ็ดยอด ค่ะ   


ประวัติมหาสถูปบรรจุพระอัฐิและอังคารธาตุพระญาติโลกราช วัดเจ็ดยอด


ในสมัยพระเจ้าศรีสุธรรมติโลกราชสวรรคตแล้ว พระเจ้าชังรายัตตราช (พระเจ้ายอดเชียงราย) ผู้เป็นราชโอรส พระองค์ประสูติปีชวด มีพระชนมายุได้ ๓๑ พรรษา ได้เสวยราชสมบัติเมื่อปีมะแม พระองค์พร้อมด้วยพลนิกาย เสนาอำมาตย์อัญเชิญพระบรมศพของพระญาติโลกราช ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ไปด้วยรางทอง และถวายพระเพลิงที่วัดโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) ครั้นถวายพระเพลิงแล้วจึงได้ก่อสร้างสถูปเจดีย์ไว้ ณ ที่นั่น เพื่อประดิษฐานพระอัฐิธาตุ แล้วพระราชารับสั่งให้สร้างวัดตโปธาราม (วัดร่ำเปิง) อยู่ทางทิศตะวันตกของสนามบินเชียงใหม่ในปัจจุบัน เมื่อปีชวด จุลศักราช ๘๕๔

รัชสมัยต่อจากพระยอดเชียงรายคือ พระเมืองแก้ว พระองค์ได้รับพระนามว่า “พระเจ้าสิริธรรมจักรติลกปนัดดาธิราช” เมื่อครองราชย์เมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงวัดเจ็ดยอดสืบต่อมา ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา สร้างสถูปเจดีย์ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามมากมายที่วัดเจ็ดยอด พระองค์ทรงถวายที่ดินแก่วัดสร้างอุโบสถและผูกพัทธสีมาใหม่ บูรณะหอเฑียรธรรม เมื่อแล้วเสร็จทรงโปรดให้มีการฉลองเป็นการใหญ่ และเมื่อพระเมืองแก้วเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๐๖๘ พระเมืองเกษเกล้าได้เสวยราชย์ต่อมา และทรงโปรดให้ตั้งอธิบดีสงฆ์วัดเจ็ดยอดเป็นพระสังฆราช




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:47 โดย pimnuttapa

  

DSC09922.jpg

พระแก่นจันทน์ ประดิษฐานภายใน มณฑปพระแก่นจันทน์ วัดเจ็ดยอด ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-10-4 03:18  

DSC09921.jpg

มณฑปพระแก่นจันทร์แดง วัดเจ็ดยอด ฐานล่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง ๕.๗๐ เมตร ยาว ๖ เมตร ประกอบด้วยลวดบัวซ้อนกันขึ้นไปรองรับส่วนเรือนธาตุ ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม แต่ละด้านของเรือนธาตุทำเป็นซุ้มโค้งเจาะทะลุถึงกันทั้ง ๔ ด้าน เหนือส่วนธาตุชำรุดมาก แต่ก็พอสังเกตได้ว่ามีการทำเป็นยอดทรงมณฑปซ่อนขึ้นไปคล้ายกับมณฑปราสาทหรือกู่ ซึ่งนิยมสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปหรือพระบรมสารีริกธาตุ เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างไว้ภายในวิหาร สำหรับมณฑปพระแก่นจันทร์แดงนี้ก็เช่นเดียวกัน ตำแหน่งที่ตั้งของมณฑปอยู่ภายในวิหาร โดยสังเกตได้จากส่วนฐานของอาคารซึ่งยังเห็นได้ชัดเจน

ประวัติมณฑปพระแก่นจันทน์ วัดเจ็ดยอด แห่งนี้ไม่ปรากฏประวัติความเป็นมา แต่มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกล่าวเอาไว้ในราชการของพระเมืองแก้ว ได้มีการอัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก่นจันทร์แดงออกจากวัดบุปผาราม (สวนดอก) ไปประดิษฐานไว้ในธรรมเสนาบดีวิหารวัดเจ็ดยอดเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๘ ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่พระเมืองแก้วสวรรคตค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-10-4 03:16  

DSC09920.jpg

อุโบสถ ประดิษฐานด้านหน้า มณฑปพระแก่นจันทน์ วัดเจ็ดยอด ค่ะ

ประวัติอุโบสถ วัดเจ็ดยอด ในสมัยพญาเมืองแก้ว โปรดให้สร้างอุโบสถขึ้นในปี พ.ศ. ๒๐๕๔ ต่อมา พ.ศ. ๒๐๖๘ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก่นจันทร์จากเมืองพะเยามาประดิษฐานอุโบสถหลังนี้ ปัจจุบันขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๐.๕๕ เมตร ศิลปะล้านนา สร้างขึ้นบนฐานเดิมของอุโบสถเก่า ซึ่งมีลานประทักษิณขนาดกว้าง ๑๖.๒๐ เมตร ยาว ๔๖.๖๕ เมตร ยกพื้นสูงล้อมรอบด้วยกำแพงเตี้ยโดยรอบ มีทางขึ้นอยู่ทางด้านข้างด้านทิศใต้และทางขึ้นหลักที่บันไดด้านหน้าทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าอุโบสถหลังใหม่นี้ น่าจะสร้างขึ้นเมื่อครั้งพระเจ้ากาวิละมาบูรณปฏิสังขรณ์ในช่วงต้นรัตนโกสินทน์ ด้านหลังอุโบสถเป็นมณฑปพระแก่นจันทน์สร้างขึ้นภายหลัง

‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-11-5 21:53 , Processed in 0.063413 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.