ประวัติพระอธิการบัณฑิต จิณณปุญโญ (บัณฑิต ฤชาปกรณ์) อดีตเจ้าอาวาส วัดพระธาตุศรีสามรักษ์ (ห้วยตีนตั่ง)
ชื่อ พระอธิการบัณฑิต ฉายา จิณณปุญโญ นามสกุล ฤชาปกรณ์
อายุ ๗๘ ปี ๒๘
พรรษา นักธรรมชั้นเอก
สถานเดิม
ชื่อ นาย บุญส่ง กอหา เกิดวัน พฤหัสบดี ที่ ๒๕ เดือน ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๕ บ้านดอนใหญ่ ต.ท้ายสะแก อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี บิดาชื่อ นาย คำ กอหา มารดาชื่อ นาง มั่น กอหา อาชีพ ทำนา มีพี่น้องร่วม ๖ คน คือ
๑. นาง ปิ่น กอหา
๒. นาย ปราโมทย์ ก่อนิธิ (เสียชีวิต)
๓. นาย ประเสริฐ เคียนทอง (เสียชีวิต)
๔. นาย บุญส่ง กอหา (นามเดิม)
(พระอธิการบัณฑิต จิณณปุญโญ ฤชาปกรณ์)
๕. นาย สุวัฒน์ กอหา (เสียชีวิต)
๖. นาย กลิ่น จุไร (เสียชีวิต)
ชีวิตในวัยเด็กเรียนจบโรงเรียนวัดดอนใหญ่ ชั้นป.๔ เข้าเกณฑ์เป็นทหารได้รับใช้ชาติเป็นทหารอยู่สังกัดเสนารักษ์ ค่ายจักรพงษ์ (ปราจีนบุรี) ช่วงรับราชการก็ได้ศึกษาต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และรับใช้ชาติบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง จึงได้รับความไว้วางใจจากผู้ใหญ่หลายท่านให้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญและได้ติดยศเป็นพันโท จนมาถึงช่วงที่มีการปฏิวัติ ท่านก็ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี พอประเทศชาติบ้านเมืองสงบลงบ้างแล้ว ท่านก็ตัดสินใจลาออกจากราชการทหาร และหันมาประกอบอาชีพเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ถึง ๔ สำนักพิมพ์ มีนิตยสารรายเดือน สยามรัฐ พิมพ์ไทยร่วมสมัย ฯลฯ
ในชีวิตสมรสได้สมรสกับนางสำลี ดีพา และมีบุตรธิดาด้วยกัน ๖ คน ซึ่งก่อนที่ท่านจะบวชนั่นเกิดป่วยขึ้นกะทันหัน ต้องรักษาตัวอยู่นาน และได้อธิษฐานจิตบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง ถ้าหายจากโรคที่เป็นอยู่ จะขอบวชอุทิศตนให้กับพระพุทธศาสนาสืบไป จนกระทั่งปีพ.ศ.๒๕๒๖ อาการป่วยที่เป็นอยู่ก็หายทุเลาเบาบางลง ท่านจึงตัดสินใจบวชทันทีตามที่ได้อธิษฐานจิตเอาไว้
อุปสมบท
เมื่ออายุ ๕๐ ปี ณ พัทธสีมาวัดเขาลาดวนาราม ต.ห้วยแห้ง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เมื่อวันที่ ๑๔ เดือน กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๒๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. มีพระครูพิพัฒคีรีเขต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุด ปคุโณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปุย สิลคุโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ช่วงที่อยู่ในวัดใหม่ๆ นั้นอาการป่วยยังไม่ทรงตัว ท่านจึงบำบัดรักษาด้วยการนั่งวิปัสสนากรรมฐานเจริญสมาธิและปัญญาปฏิบัติตามธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์และพระอาจารย์ จนอาการป่วยดีแล้วท่านจึงย้ายมาอยู่ที่วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ เขตพระโขนง กรุงเทพ ไม่นานนักท่านก็ออกเดินธุดงค์มายังภาคเหนือ และอยู่จำพรรษาที่วัดพระธาตุดอยคำ จ.เชียงใหม่
จนกระทั่งมีนายทหารคนหนึ่งได้นิมนต์ท่านให้มายังวัดดอยเวียง (ห้วยตีนตั่ง) แห่งนี้ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๙ เนื่องจากวัดแห่งนี้เป็นวัดร้างและเป็นวัดเก่ามาก่อน ท่านจึงได้เดินทางมาที่วัดแห่งนี้พร้อมกับพระอีกรูปหนึ่ง อยู่มาจนกระทั่งวันหนึ่งขณะที่ท่านนั่งเจริญสมาธิอยู่นั้น ก็เกิดนิมิตองค์พระนเรศวรขึ้นมา ในนิมิตนั้นพระองค์ทรงบอกเล่าถึงความเป็นมาถึงความยากลำบากของพระองค์ รวมถึงชาวเขาชนเผ่าน้อยใหญ่ที่ได้ช่วยพระองค์ในการศึกสงครามในอดีต ตั้งแต่นั้นมาตัวท่าน(หลวงปู่)ก็ตั้งใจแน่วแน่พร้อมแรงศรัทธาอันแรงกล้าที่จะพัฒนาบำรุงก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่ และช่วยพัฒนาส่งเสริมชาวไทยภูเขาอย่างจริงใจจริงจังตั้งแต่นั้นมาร่วม ๒๐ กว่าปี